Menu

มะกรูด

ชื่อเครื่องยา

มะกรูด

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะกรูด

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ใต้) มะหูด (หนองคาย) มะขูด มะขุน (เหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โกร้ยเชียด (เขมร)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Citrus hystrix DC.

ชื่อพ้อง

Citrus auraria Michel, Citrus balincolong (Yu.Tanaka) Yu.Tanaka, Citrus boholensis (Wester) Yu.Tanaka, Citrus celebica Koord., Citrus combara Raf., Citrus hyalopulpa Yu.Tanaka, Citrus kerrii (Swingle) Yu.Tanaka, Citrus kerrii (Swingle) Tanaka, Citrus latipes Hook.f. & Thomson ex Hook.f., Citrus macroptera Montrouz., Citrus micrantha Wester, Citrus papeda Miq., Citrus papuana F.M.Bailey, Citrus southwickii Wester, Citrus torosa Blanco, Citrus tuberoides J.W.Benn., Citrus ventricosa Michel, Citrus vitiensis Yu.Tanaka, Citrus westeri Yu.Tanaka, Fortunella sagittifolia K.M.Feng & P.Y.Mao, Papeda rumphii

ชื่อวงศ์

Rutaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบเป็นใบประกอบ แต่ลดรูปเหลือใบย่อยเพียงใบเดียว แต่ดูเหมือนมีสองใบต่อกัน ใบสดสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นมัน ใบแห้งสีน้ำตาลเขียว ผิวใบเรียบ ใบรูปไข่กว้าง  3.5-5 ซม  ยาว 4-7 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ใบหนาแข็งมีต่อมน้ำมันทั่วใบ ใบมีรสปร่าหอม รสเปรี้ยว

 

เครื่องยา ใบมะกรูด

 

เครื่องยา ใบมะกรูด

 

เครื่องยา ใบมะกรูด

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณน้ำไม่เกิน 11% v/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 17% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 3.0% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่า 0.6% v/w  ปริมาณสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มไม่น้อยกว่า 5% w/w  สารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 6% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 18% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใบมะกรูด มีรสปร่า หอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสียฟอกโลหิตระดู ขับระดู ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดปรุงอาหารดับกลิ่นคาว

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ใบมะกรูดเมื่อกลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันระเหยง่ายประมาณร้อยละ 0.08 มีองค์ประกอบหลักเป็น “แอล-ซิโตรเนลลาล”(l-citronellal) ประมาณร้อยละ 65, citronellol, citronellol acetate นอกจากนี้ยังพบ sabinene, alpha-pinene, beta-pinene, alpha –phellandrene, limonene, terpinene, cymene, linalool และสารอื่นที่พบได้แก่ indole alkaloids, rutin, hesperidin, diosmin, alpha-tocopherol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:       

ฤทธิ์ปกป้องตับ

       ศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับของใบมะกรูดในหนูขาว โดยให้สารสกัด 80% เมทานอล จากใบมะกรูด ขนาด 200 mg/kg เป็นเวลา 7 วัน ก่อนให้ยา paracetamol ขนาด 2 g/kg เป็นเวลา 5 วัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดพิษต่อตับ ซึ่งยา paracetamol จะกระตุ้นให้ตับของหนูเกิดพิษในวันที่ 5 ใช้สาร Silymarin ขนาด 100 mg/kg เป็นสารมาตรฐาน ในวันที่ 7 จะมีการตรวจประเมินการทำงานของตับ ได้แก่ ระดับเอนไซม์ตับ (ALT, AST, ALP), total bilirubin, total protein,blood serums และ hepatic antioxidants (SOD, CAT, GSH and GPx) จากการทดสอบพบว่าสารสกัดใบมะกรูดจะช่วยฟื้นฟูตับ โดยทำให้ระดับเอนไซม์ตับ และเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระของตับกลับมาอยู่ในระดับปกติได้อย่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ซึ่งการศึกษานี้สรุปได้ว่าสารสกัดใบมะกรูดมีฤทธิ์ปกป้องตับไม่ให้เกิดพิษจากยา paracetamol ได้ (Abirami, et al, 2015)

ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

     การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลองของสารสกัดบริสุทธิ์บางส่วนจากใบมะกรูด (F9) ซึ่งได้มาจากสารสกัดหยาบเฮกเซนของใบมะกรูด  ทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด Molt 4 (human acute lymphoblastic leukemia) ด้วยวิธี 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay และวิเคราะห์ผลกระทบต่อวัฎจักรเซลล์โดยวิธีโฟลไซโตเมทรี ศึกษาผลของ F9 ต่อการแสดงออกของโปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมวัฏจักรเซลล์ ทดสอบโดยวิธีเวสเทิร์นบลอท ผลการศึกษาพบว่า F9 สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ดี โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 24.5 μg/mL และความเข้มข้นต่ำซึ่งไม่เป็นพิษต่อเซลล์ที่ค่า IC20 (2.5 μg/mL) สามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์ Molt 4 เกิดการตาย (sub-G1) และสารสกัด F9 สามารถเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน p53 ในขณะที่ลดการแสดงออกของโปรตีน cyclin A, cyclin B และ cdc2 โดยขึ้นกับขนาดความเข้มข้น และระยะเวลาที่เพิ่มมากขึ้น สรุปได้ว่าสารสกัดบริสุทธิ์บางส่วน F9 จากใบมะกรูดที่ความเข้มข้นต่ำ สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด Molt4 รวมถึงยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวัฏจักรของเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเพื่อหาสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อไป (Utthawang, et al., 2017)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำ และอะซีโตน ของใบมะกรูดทั้ง 3 ชนิด (ใบสด ต้ม และทอด) โดยใช้ 3 วิธีการทดสอบ ได้แก่ ORAC, FRAP และ DPPH radical scavenging activity ผลการศึกษาพบว่าใบมะกรูดทอดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ตามด้วยใบมะกรูดสด และใบมะกรูดต้ม ตามลำดับ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีจากใบ พบสารฟลาโวนอยด์ 9 ชนิด ได้แก่ theobromine, cyanidin, myricetin, peonidin, quercetin, luteolin,  hesperetin, apigenin และ isorhamnetin โดยมีปริมาณผลรวมของสารฟลาโวนอยด์เท่ากับ 1110 ± 74.1, 556 ± 29.7 และ 1235 ± 102.5 มก. ต่อ 100 ก. แห้ง ในใบมะกรูดสด ต้ม และทอด ตามลำดับ พบปริมาณของ hesperetin สูงที่สุด ปริมาณสารโพลิฟีนอลเท่ากับ 2.0 (สด), 1.8 (ต้ม) และ 1.9 (ทอด) ก. GAEs/100 ก. สด (ชนิพรรณ, 2551)

ฤทธิ์ป้องกันการแตกหักของโครโมโซม

      ทดสอบในหนูถีบจักร โดยใช้วิธีการตรวจไมโครนิวเคลียสในเม็ดเลือดแดง เพื่อดูผลการยับยั้งการแตกหักของโครโมโซม โดยการป้อนใบมะกรูดสด ขนาด 0.2 และ 0.4 ก. แห้ง/นน. 1 กก./วัน เป็นเวลา 14 วัน และให้สารก่อมะเร็ง DMBA (40 มก./นน. 1 กก.) หรือ MMC (1 มก./นน.1 กก.) หลังจากนั้นเจาะเลือดที่เวลา 0, 24 และ 48 ชม. ผลการศึกษาพบว่าใบมะกรูดสด ขนาด 0.2 ก. แห้ง/นน. 1 กก. มีแนวโน้มในการลดการแตกหักของโครโมโซมที่เกิดจาก MMC และ DMBA ได้ไม่แตกต่างกัน ที่ 24 ชม. และ 48 ชม. ตามลำดับ สรุปได้ว่ากระบวนการประกอบอาหารโดยเฉพาะการต้มมีผลต่อการลดปริมาณสารฟลาโวนอยด์ สารโพลีฟีนอล รวมทั้งลดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะกรูด ใบมะกรูดที่ความเข้มข้น 0.2 ก./นน. 1 กก. มีผลต่อการลดจำนวนไมโครนิวเคลียส ที่เกิดขึ้นจากการชักนำของสารก่อมะเร็งชนิดตรงคือ MMC และสารก่อมะเร็งชนิดที่ต้องอาศัยเอนไซม์จากตับกระตุ้นการออกฤทธิ์คือ DMBA เล็กน้อย (ชนิพรรณ, 2551)

ฤทธิ์ลดความดันโลหิต

       ศึกษาผลของการใช้สารสกัดผสมของใบพืชวงศ์ Rutaceae ได้แก่ มะกรูด (C. hystrix), มะนาว (C. aurantifolia),  ส้มจี๊ด (C. microcarpa) และส้มจีน (C. sinensis) ต่อความดันโลหิตในหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์ Sprague Dawley โดยป้อนหนูด้วยอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันปาล์มที่ผ่านการทอดซ้ำมาแล้ว 5 และ 10 ครั้ง ทดสอบในหนูแต่ละกลุ่ม ในขนาดความเข้มข้น 15% w/w ให้ร่วมกับสารสกัดผสมจากใบของพืชกลุ่มมะนาว ในขนาดความเข้มข้น 0.15% w/w เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการให้สารสกัดผสมจากใบของพืชกลุ่มมะนาว ร่วมกับน้ำมันทอดซ้ำมาแล้ว 5 ครั้ง สามารถลดความดันโลหิต, ปริมาณ TBAR ในเลือด (ผลผลิตจากการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน), ระดับของ (ACE) angiotensin-1 converting enzyme,  thromboxane (สารที่เกิดขึ้นในขบวนการอักเสบ), ลดความหนาของเส้นเลือดเอออต้าร์  ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะน้ำมันทอดซ้ำ 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับสารสกัด นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของ heme oxygenase-1 (เกี่ยวข้องกับการทำให้หลอดเลือดขยายตัว และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ) มีระดับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)  เมื่อให้สารสกัดผสมจากใบของพืชกลุ่มมะนาว ร่วมกับน้ำมันที่ผ่านความร้อนมาแล้ว 5 ครั้ง  และ 10 ครั้ง (Siti, et al., 2017)  โดยสรุปสารสกัดผสมจากใบพืชกลุ่มมะนาว สามารถลดความดันโลหิตที่เกิดจากใช้น้ำมันปาล์มที่ผ่านการทอดซ้ำมาแล้วได้ เนื่องจากการได้รับน้ำมันที่ผ่านความร้อนมาแล้วเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation นำไปสู่ความผิดปกติของหลอดเลือด และระดับเอนไซม์ที่ควบคุมความดันเลือด โดยทำให้ระดับเอนไซม์ ACE (Angiotensin-Converting Enzyme) เพิ่มขึ้น เอนไซม์นี้จะทำหน้าที่เปลี่ยน angiotensin I ให้เป็น angiotension II (ซึ่งสาร angiotensin II จะทำให้หลอดเลือดหดตัวทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น)


การศึกษาทางคลินิก:
           น้ำมันหอมระเหยจากใบ มีฤทธิ์ป้องกันยุง 3 ชนิดคือ  ยุงลายบ้าน ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญ โดยมีฤทธิ์ป้องกันยุงกัดได้นาน 3 ชั่วโมง

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 357 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.

2. ชนิพรรณ บุตรยี่. การศึกษาชีวภาพความพร้อมและคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของฟลาโวนอยด์จากใบมะกรูดในหลอดทดลองและศักยภาพในการป้องกันการแตกหักของโครโมโซมในหนูเม้าส์โดยวิธีการตรวจไมโครนิวเคลียสในเม็ดเลือดแดง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล;2551.

3. Abirami A, Nagarani G, Siddhuraju P. Hepatoprotective effect of leaf extracts from Citrus hystrix and C. maxima against paracetamol induced liver injury in rats. Food Science and Human Wellness. 2015;4:35-41.

4. Siti HN, Kamisah Y, Iliyani MIN, Mohamed S, Jaarin K. Citrus leaf extract reduces blood pressure and vascular damage in repeatedly heated palm oil diet-Induced hypertensive rats. Biomedicine & Pharmacotherapy. 2017;87:451-460.

5. Utthawang W, Ampasavate C, Okonogi S, Rungrojsakul M, Chiampanichayakul S, Tima S, et al. Low doses of partially purified fraction of kaffir lime (Citrus hystrix DC.) leaf extract induce cell death in Molt 4 cells. Journal of Associated Medical Sciences. 2017;50(1):27-37.



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ มะกรูด

...

Other Related มะกรูด

ข้อมูล มะกรูด จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


มะกรูด ผลมะกรูด การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Sapindales วงศ์: Rutaceae สกุล: Citrus สปีชีส์: C.  hystrix ชื่อทวินาม Citrus hystrix DC.[1] ชื่อพ้อง[2] Citrus auraria Michel Citrus balincolong (Yu.Tanaka) Yu.Tanaka Citrus boholensis (Wester) Yu.Tanaka Citrus celebica Koord. Citrus combara Raf. Citrus echinata St.-Lag. nom. illeg. Citrus hyalopulpa Yu.Tanaka Citrus kerrii (Swingle) Tanaka Citrus kerrii (Swingle) Yu.Tanaka Citrus latipes Hook.f. & Thomson ex Hook.f. Citrus macroptera Montrouz. Citrus micrantha Wester Citrus papeda Miq. Citrus papuana F.M.Bailey Citrus southwickii Wester Citrus torosa Blanco Citrus tuberoides J.W.Benn. Citrus ventricosa Michel Citrus vitiensis Yu.Tanaka Citrus westeri Yu.Tanaka Fortunella sagittifolia K.M.Feng & P.Y.Mao Papeda rumphii Hassk. มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอน ๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ โดยใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ที่ผิว (hesperidium) ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ๆ สรรพคุณ

เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้องจุกเสียด กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ช่วยบำรุงผมให้เงางามแก้อาการผมร่วง การใช้ประโยชน์

ใบมะกรูดที่ใช้ปรุงอาหารในอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชาและไทย การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน น้ำมะกรูดนั้นมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้[3] มะกรูดหวาน

มะกรูดหวาน (อังกฤษ: Sweet kaffir lime ) ไม่ใช่มะกรูดแต่เป็นพืชสกุลส้มอีกชนิด[4] เป็นส้มโบราณที่มีลักษณะคล้ายมะกรูด ใบนิ่ม ผิวใบเรียบ ลักษณะใบและกลิ่นเหมือนใบส้ม ผลใหญ่กว่ามะกรูดเปรี้ยว ผลมีรสหวาน มีเนื้อเยื่อคลุมเนื้อสีขาว(Mesocarp[5]) แบบที่พบได้ในส้ม สามารถปอกและแยกออกมาเป็นกลีบได้ ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร เป็นผลไม้ท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม[6] ในวรรณคดี

สำหรับผลมะกรูดนั้นชาวไทยนิยมใช้ สระผมมาช้านาน และมีกล่าวไว้ในวรรณคดีของไทยหลายเรื่อง เช่น โคลงกำสรวล และกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท ในสมัยอยุธยา ดังนี้ เยียมาสํดอกแห้ง หฤทัย ชื่นแฮ ค่ำเช้า เยียมาเยียไกลคลาย บางกรุจ ถนัดกรูดแก้วสระเกล้า กลิ่นขจร (โคลงกำสรวล บทที่ 54) มะกรูดสองแถวทาง คิดมะกรูดนางสางสระผม แก้เกล้าเจ้าผึ่งลม กลิ่นขจรขจายเรียมสบายใจ ต้นมะกรูดสองเถื่อนถ้อง แถวพนม มะกรูดเหมือนนางสระผม พ่างเพี้ยง แก้เกล้าเจ้าผึ่งลม รวยรื่น ขจรสุคนธกลิ่นเกลี้ยง รื่นล้ำเรียมสบายฯ (กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท พระเจ้าปรรถย์) อ้างอิง

↑ "TPL, treatment of Citrus hystrix DC". The Plant List; Version 1. (published on the internet). Royal Botanic Gardens, Kew and the Missouri Botanical Garden. 2010. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013 . ↑ The Plant List: A Working List of All Plant Species, สืบค้นเมื่อ 3 October 2015 ↑ อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป. หน้า 124 – 125 ↑ http://lib3.dss.go.th/fulltext/techno_file/CF100/CF100(A15).pdf ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Fruit_anatomy#Mesocarp ↑ นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะกรูดหวาน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 130 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. โรงพิมพ์พระจันทร์ : พระนคร, 2496. แหล่งข้อมูลอื่น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มะกรูด เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มะกรูด&oldid=10889659"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ มะกรูด

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1409

ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา
ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชการศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba sp. ของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 10 ชนิด ได้แก่ดีปลี (Piper retrofractum), พริกไทย (Piper nigrum), ช้าพลู (Piper sarmentosum), มะกรูด (Citrus hystrix), ส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata), แก้ว (Murraya paniculata), เร่วน้อย (Amomum uliginosum), ขมิ้น (Curcuma longa), ขมิ้นอ้อย (Curcuma zedoaria), กระชาย (Kaempferia pandurata) ที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากดีปลี พริกไทย มะกรูด ขมิ้น และกระช...

1250

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 9...

971

ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในหนอนไหมของสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในหนอนไหมของสมุนไพรไทยผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากธรรมชาติที่สำคัญทางภาคเหนือของไทยซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพและความสวยงาม แต่ตัวหนอนไหมซึ่งให้เส้นใยไหมมักประสบปัญหาการติดเชื้อจุลชีพในฤดูฝนและฤดูร้อน ทำให้ผ้าไหมมีคุณภาพต่ำลง เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมีการใช้ฟอร์มาลีนในการทำลายเชื้อจุลชีพ แต่อาจส่งผลเสียต่อมนุษย์และสัตว์ เกิดความเป็นพิษและปนเปื้อนในตัวหนอนไหมซึ่งเมื่อนำมารับประทานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงมีการทดสอบฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อราของสมุนไพรไทย 11 ชนิดได้แก่ กะเพรา สะร...

สมุนไพรอื่นๆ

107

มังคุด
มังคุด ชื่อเครื่องยามังคุด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผลแก่ ยางจากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามังคุด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Garcinia mangostana Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Guttiferae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลกลมแป้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง เปลือกหนาแข็ง เมื่อแก่มีสีม่วงอมน้ำตาล ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แยกเป็น 4-...

111

ยอ
ยอ ชื่อเครื่องยายอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยายอบ้าน ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยายอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะตาเสือ แยใหญ่ ยอบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifolia Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกลม หรือรูปทรงกระบอกมน ขนาด 3-10 ซม. เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวไม่เรียบ มีตาเป็นตุ่มๆ รอบผล ผลสดแก่สีขาวอมเขียว หรือออกเหลือง เมื่อแก่จัดมีสีขาวและมีกลิ่นเหม็น...

135

สะแกนา
สะแกนา ชื่อเครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แก (อุบลราชธานี) แพ่ง(เหนือ) ขอนเเข้ จองแค่(แพร่) สะแก ซังแก ชื่อวิทยาศาสตร์Combretum quadrangulare Kurz. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลแห้ง ขนาด 1-2 เซนติเมตร รูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สัน ตามยาว เมล็...

83

ปวกหาด
ปวกหาด ชื่อเครื่องยาปวกหาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผงฟองที่เกิดจากการต้มแก่นมะหาดอายุ 5 ปีขึ้นไป ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะหาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กาแย ขนุนป่า ตาแป ตาแปง มะหาดใบใหญ่ หาดหนุน หาด ชื่อวิทยาศาสตร์Artocarpus lakoocha Roxb. ชื่อพ้องArtocarpus lacucha Buch.-Ham., A. ficifolius W.T.Wang, A. yunnanensis H.H.Hu, Saccus lakoocha ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &nb...

70

เทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน ชื่อเครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชีลาว, มะแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์Anethum graveolens L. ชื่อพ้องAnethum arvense Salisb., Angelica graveolens (L.) Steud., Ferula graveolens (L.) Spreng., Peucedanum graveolens (L.) Hiern, Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz, Selinum anethum Roth, Selinum graveolens ชื่อวงศ์Apiaceae (Umbelliferae) ลักษ...

85

เปล้าน้อย
เปล้าน้อย ชื่อเครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เปล้าท่าโพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Croton fluviatilis Esser ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ใบก้านใบยาว 1-3.5 มิลลิเมตร  มีขนสั้นนุ่มประปราย แผ่นใบตรงแคบยาว กว้าง 1.5 -2.44 เซนติเมตร ยาว 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้...

33

โกฐหัวบัว
โกฐหัวบัว ชื่อเครื่องยาโกฐหัวบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐหัวบัว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Ligusticum sinense Oliv. ชื่อพ้องLigusticum harrysmithii M.Hiroe, Ligusticum markgrafianum Fedde ex H.Wolff, Ligusticum pilgerianum Fedde ex H.Wolff, Ligusticum silvaticum H.Wolff, Ligusticum sinense var. sinense ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

8

กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...

95

เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต ชื่อเครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น (เถา) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด ชื่อวิทยาศาสตร์Cissus quadrangularis L. ชื่อพ้องCissus bifida Schumach. & Thonn., C. edulis Dalzell, C. quadrangula L., C. succulenta (Galpin) Burtt-Davy, C. tetragona Harv., C. tetraptera Hook.f., C. triandra Schumach. & Thonn., Vitis quadrangularis (L.) Wall. ex Wight...

ดีขนาดนี้ !! มะกรูด ลดไขมันในเลือด ห้ามพลาด | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

ดีขนาดนี้ !! มะกรูด ลดไขมันในเลือด ห้ามพลาด | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

ดีขนาดนี้ !! มะกรูด ลดไขมันในเลือด ห้ามพลาด | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

View
3 ข้อต้องรู้ !! ก่อนกินมะกรูด เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

3 ข้อต้องรู้ !! ก่อนกินมะกรูด เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

3 ข้อต้องรู้ !! ก่อนกินมะกรูด เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

View
มะกรูดดองน้ำผึ้ง สมุนไพรใกล้ตัวต้านโรค ภูมิแพ้หาย แก้ไมเกรน กรดไหลย้อน ประโยชน์ของมะกรูด|ครัวแม่ผึ้ง

มะกรูดดองน้ำผึ้ง สมุนไพรใกล้ตัวต้านโรค ภูมิแพ้หาย แก้ไมเกรน กรดไหลย้อน ประโยชน์ของมะกรูด|ครัวแม่ผึ้ง

มะกรูดดองน้ำผึ้ง สมุนไพรใกล้ตัวต้านโรค ภูมิแพ้หาย แก้ไมเกรน กรดไหลย้อน ประโยชน์ของมะกรูด|ครัวแม่ผึ้ง

View
สูตรมะกรูด น้ำส้มสายชู สมุนไพรต้านโรค สรรพคุณ กำจัดเชื้อในจมูก ในคอ ขับเสมหะ เพิ่มโอโซน|ครัวแม่ผึ้ง

สูตรมะกรูด น้ำส้มสายชู สมุนไพรต้านโรค สรรพคุณ กำจัดเชื้อในจมูก ในคอ ขับเสมหะ เพิ่มโอโซน|ครัวแม่ผึ้ง

สูตรมะกรูด น้ำส้มสายชู สมุนไพรต้านโรค สรรพคุณ กำจัดเชื้อในจมูก ในคอ ขับเสมหะ เพิ่มโอโซน|ครัวแม่ผึ้ง

View
8 สรรพคุณของมะกรูดที่คุณอาจไม่รู้ | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

8 สรรพคุณของมะกรูดที่คุณอาจไม่รู้ | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

8 สรรพคุณของมะกรูดที่คุณอาจไม่รู้ | Bergamot | พี่ปลา Healthy Fish

View
วิธีแปรรูป ผล มะกรูด แชมพู มะกรูด น้ำยาเอกประสงค์ ไว้ใช้ในครัวเรือนแบบง่ายๆ

วิธีแปรรูป ผล มะกรูด แชมพู มะกรูด น้ำยาเอกประสงค์ ไว้ใช้ในครัวเรือนแบบง่ายๆ

วิธีแปรรูป ผล มะกรูด แชมพู มะกรูด น้ำยาเอกประสงค์ ไว้ใช้ในครัวเรือนแบบง่ายๆ

View
สรรพคุณทางสมุนไพร มะกรูด/สมุนไพรริมรั้ว

สรรพคุณทางสมุนไพร มะกรูด/สมุนไพรริมรั้ว

สรรพคุณทางสมุนไพร มะกรูด/สมุนไพรริมรั้ว

View
ทำแบบนี้.!!  "มะกรูด"  ทำให้ผิวพรรณสดใส ใบหน้าเปล่งปลั่ง !! (นานาสาระ By ArinFood ) - EP.15

ทำแบบนี้.!! "มะกรูด" ทำให้ผิวพรรณสดใส ใบหน้าเปล่งปลั่ง !! (นานาสาระ By ArinFood ) - EP.15

ทำแบบนี้.!! "มะกรูด" ทำให้ผิวพรรณสดใส ใบหน้าเปล่งปลั่ง !! (นานาสาระ By ArinFood ) - EP.15

View
รีบหามาดื่มน้ำมะกรูด/สรรพคุณเพียบ ต้านมะเร็ง ช่วยฟอกเลือด ช่วยทำให้ผิวสวยเปล่งปลั่ง/สะใภ้ไทยbyสาวลาว

รีบหามาดื่มน้ำมะกรูด/สรรพคุณเพียบ ต้านมะเร็ง ช่วยฟอกเลือด ช่วยทำให้ผิวสวยเปล่งปลั่ง/สะใภ้ไทยbyสาวลาว

รีบหามาดื่มน้ำมะกรูด/สรรพคุณเพียบ ต้านมะเร็ง ช่วยฟอกเลือด ช่วยทำให้ผิวสวยเปล่งปลั่ง/สะใภ้ไทยbyสาวลาว

View
ทำไมชอบกินน้ำมะกรูด l สรรพคุณทางยาของมะกรูด l EP.68

ทำไมชอบกินน้ำมะกรูด l สรรพคุณทางยาของมะกรูด l EP.68

ทำไมชอบกินน้ำมะกรูด l สรรพคุณทางยาของมะกรูด l EP.68

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับมะกรูด
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่