Menu

เพชรสังฆาต

ชื่อเครื่องยา

เพชรสังฆาต

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ลำต้น (เถา)

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

เพชรสังฆาต

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cissus quadrangularis L.

ชื่อพ้อง

Cissus bifida Schumach. & Thonn., C. edulis Dalzell, C. quadrangula L., C. succulenta (Galpin) Burtt-Davy, C. tetragona Harv., C. tetraptera Hook.f., C. triandra Schumach. & Thonn., Vitis quadrangularis (L.) Wall. ex Wight, V. succulenta

ชื่อวงศ์

Vitaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เปลือกเถาเรียบ เถารูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เป็นข้อๆต่อกัน เห็นข้อปล้องชัดเจน ลักษณะเป็นปล้องๆ ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาว เถารสร้อน ขมคัน

 

เครื่องยา เพชรสังฆาต

 

เครื่องยา เพชรสังฆาต

 

เครื่องยา เพชรสังฆาต

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 9% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 5% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 20% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.5% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล (80%) ไม่น้อยกว่า 2.5% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 5% w/w  
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เถา รสร้อนขมคัน เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้
           ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้ ต้น แก้ริดสีดวงทวารโดยหั่นเป็นแว่น ตำผสมเกลือนำไปตาก ปั้นเป็นลูกกลอน กินครั้งละ 1 เม็ด 3 เวลา
           ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา: ใช้น้ำจากต้น หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร
           ประเทศอินเดีย: ใช้ ลำต้น เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก น้ำคั้นจากต้นกินแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้อาการผิดปกติของระดู

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           แก้ริดสีดวงทวารหนักทั้งชนิดภายในและภายนอก เถา
                  1.รับประทานสดวันละ 1 ปล้อง (6-9 เซนติเมตร) เป็นเวลา 10-15 วัน ติดต่อกัน แต่การรับประทานต้องหั่นเถาบางๆแล้วหุ้มด้วยกล้วยสุก หรือมะขามเปียก หรือใบผักกาดดอง แล้วกลืนลงไป ห้ามเคี้ยว เนื่องจากเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตอยู่มากทำให้คันคอและระคายต่อเยื่อบุในปาก
                  2.รับประทานในรูปยาผงบรรจุแคปซูล 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 5-7 วัน หรืออาจนำเถามาดองเหล้าเป็นเวลา 7 วัน แล้วรินเอาเฉพาะน้ำดื่ม

องค์ประกอบทางเคมี:
           ascorbic acid (vitamin C), lupeol, carotene, calcium oxalate

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
                ผลต่อแรงตึงตัวของหลอดเลือดดำ

                สารสกัดเพชรสังฆาตมีฤทธิ์กระตุ้นหลอดเลือดดำ ให้มีความตึงตัวเพิ่มขึ้น คล้ายกับส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์  2 ชนิด ได้แก่ ไดออสมิน 90%  และฮิสเพอริดิน 10%  ที่พบในตำรับยาแผนปัจจุบัน สำหรับใช้รักษาริดสีดวงทวาร

                ฤทธิ์ต้านการอักเสบเฉียบพลัน

                สารสกัดเมทานอลยับยั้งการบวมของใบหู และการบวมของอุ้งเท้าของหนูขาว ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี

                สารสกัดเฮกเซนที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 และสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 ลดอาการบวมของใบหูหนูที่เหนี่ยวนำด้วยสารเคมี ได้ที่เวลา 30 นาที ตรวจพบองค์ประกอบทางเคมีของสาร lupeol ในสารสกัดเฮกเซน

                ฤทธิ์แก้ปวด

                สารสกัดเมทานอลลดจำนวนครั้งที่หนูถีบจักรยืดบิดตัวจากอาการเจ็บปวดท้องเนื่องจากได้รับกรดอะซีติกที่ฉีดเข้าทางช่องท้อง และลดระยะเวลาของการเลียเท้าหลังทั้ง 2ระยะ ในการทดสอบด้วยการฉีดฟอร์มาลิน แสดว่าออกฤทธิ์แก้ปวดผ่านทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรัง (3 เดือน) ของผงแห้งส่วนเถาในหนู โดยให้ผงพืชให้หนูกิน คิดเป็น 100 เท่าของขนาดที่ใช้กับคน พบว่าไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา ชีวเคมีของซีรั่ม จุลพยาธิของอวัยวะภายใน และไม่พบความผิดปกติใดๆ

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ เพชรสังฆาต

...

Other Related เพชรสังฆาต

ข้อมูล เพชรสังฆาต จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


เพชรสังฆาต การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Vitales วงศ์: Vitaceae สกุล: Cissus สปีชีส์: C.  quadrangularis ชื่อทวินาม Cissus quadrangularis L. ชื่อพ้อง Cissus quadrangula Vitis quadrangularis เพชรสังฆาต (อ่านว่า [เพ็ด-ชะ-สัง-คาด]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cissus quadrangularis) เป็นไม้เลื้อยในวงศ์องุ่น ชื่ออื่น ๆ คือ สันชะฆาต ขันข้อ สามร้อยต่อ หรือสันชะควด เปลือกเถาเรียบ สีเขียว รูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาวมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก ในตำราสมุนไพร ใช้แก้ริดสีดวงทวารหนัก คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้ ทางภาคเหนือ ใช้น้ำจากต้น หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร ในประเทศอินเดีย ใช้ ลำต้น เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก น้ำคั้นจากต้นกินแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้อาการผิดปกติของประจำเดือน[ 1] มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และต้านอนุมูลอิสระ[ 2] มีแคโรทีนอยด์และวิตามินซีมาก[ 3] อ้างอิง[ แก้ ] ↑ [ http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=95 เพชรสังฆาต-ฐานข้อมูลเครื่องยา] ↑ Pharmacological and therapeutic activity of Cissus quadrangularis: An overview Mishra G., Srivastava S., Nagori B.P. International Journal of PharmTech Research 2010 2:2 (1298-1310) ↑ In vitro and In vivo evaluation of free radical scavenging potential of Cissus quadrangularis, Mallika Jainu1 and C.S. Shyamala Devi, African Journal of Biomedical Research, Vol. 8 (2005); 95 - 99, http://www.ajol.info/index.php/ajbr/article/viewFile/35768/59535 แหล่งข้อมูลอื่น[ แก้ ] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เพชรสังฆาต Austin, A. Jegadeesan, M. Gowrishankar, R. (2004) "Helicobactericidal Activity of Cissus quadrangularis L. Variant I"; Natural Product Sciences 10 (5): 217–219. Korean Society of Pharmacognosy. Chopra SS, Patel MR, Awadhiya R (1976). "Studies of Cissus quadrangularis in experimental fracture repair: a histopathological study". Indian Journal of Medical Research. 64 (9): 1365–1368. PMID 1010630. Jainu, Mallika; Devi, Shyamala (2003). "Tent antiulcerogenic activity of methanolic extract of Cissus quadrangularis by antioxidative mechanism". Journal of Clinical Biochemistry and Nutrition. 34 (2): 43–47. doi:10.3164/jcbn.34.43 . Kashikar, ND; Indu, George (2006). "Antibacterial activity of Cissus quadrangularis Linn". Indian Journal of Pharmaceutical Sciences. 68 (2): 245–247. doi:10.4103/0250-474X.25727. Oben, Julius; Damaris Mandob, Enyegue; Fomekong, Gilles I; Soukontoua, Yves B; Agbor, Gabriel A (2007). "The effect of Cissus quadrangularis (CQR-300) and a Cissus formulation (CORE) on obesity and obesity-induced oxidative stress". Lipids in Health and Disease. 6: 4. doi:10.1186/1476-511X-6-4. PMC 1800848 . PMID 17274828. Oben, Julius; Kuate, Dieudonne; Agbor, Gabriel; Momo, Claudia; Talla, Xavio (2006). "The use of a Cissus quadrangularis formulation in the management of weight loss and metabolic syndrome". Lipids in Health and Disease. 5: 24. doi:10.1186/1476-511X-5-24. PMC 1570348 . PMID 16948861. Analysis of the effect of Asthishrinkhla Kandaswarasa [stem juice of Cissus quadrangularis] in fracture healing in a rat model 'Dr. Deepanshu K. Mishra, Prof. Sanjeev Sharma, R.G.G.P.G. Ayu. College - Paprola' Prof. V.K. Gupta, Dr. G.C. Negi College of Vet. and Animal sciences - Palampur - Dec. 2010. การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q2157164 Wikispecies: Cissus quadrangularis APDB: 155541 BOLD: 349053 EoL: 2880476 EPPO: CIBQQ FNA: 242444305 GBIF: 7130673 GRIN: 10622 iNaturalist: 342728 IPNI: 870042-1 ITIS: 897081 NCBI: 165298 Plant List: kew-2722833 PLANTS: CIQU5 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:67898-1 Tropicos: 34000137 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=เพชรสังฆาต&oldid=10806082"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ เพชรสังฆาต

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1168

ฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของเพชรสังฆาต
ฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของเพชรสังฆาตการศึกษาฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ (hydroalcoholic extract) จากต้นเพชรสังฆาต (Cissus quadrangularis ) โดยป้อนสารสกัด ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยการฉีด 2% v/v formaldehyde ขนาด 0.1 มล. และ complete Freund's adjuvant (CFA) ขนาด 0.1 มล. ที่บริเวณอุ้งเท้าด้านหลังของหนู พบว่าสารสกัดมีผลลดการบวมของข้อที่เกิดจากการเหนี่ยวนำทั้ง 2 แบบได้ โดยขนาด 200 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุด นอกจากนี้ยังลดระดับของ Tumor necros...

1174

ฤทธิ์ลดน้ำตาลและต้านการอักเสบของเพชรสังฆาต
ฤทธิ์ลดน้ำตาลและต้านการอักเสบของเพชรสังฆาตการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลและต้านการอักเสบของลำต้นเพชรสังฆาต (Cissus quadrangularis L.) ในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเกิดการอักเสบและชักนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด nicotinamide/ streptozotocin จากนั้นทำการป้อนหนูแรทด้วยส่วนสกัด ethyl acetate จากลำต้นเพชรสังฆาต (CQSF) ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน พบว่า CQSF ป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด และค่าน้ำตาลสะสมในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน รวมทั้งช่วยปกป้องตับ ยับยั้งการอักเสบ โดยลดปริมาณ m...

248

เพชรสังฆาตช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
เพชรสังฆาตช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดลำต้นเพชรสังฆาตด้วยเอทานอล (CQE) สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลด้วยแอสไพริน สารสกัดขนาด 250, 500 และ 750 มก./กก. ให้หนูกินนาน 7 วัน ลดการเกิดแผลได้ 40, 71.2 และ 72.6% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับ ranitidine (RTD) ขนาด 30 มก./กก. ลดการเกิดแผล 71.9% ดังนั้น CQE ขนาด 500 มก./กก. เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับ ranitidine และให้ผลไม่แตกต่างกับขนาด 750 มก./กก. CQE จะลดการทำลายเนื้อเยื่อในกระเพาะ...

300

ฤทธิ์แก้ปวด
ฤทธิ์แก้ปวด ลดการอักเสบ และผลต่อหลอดเลือดดำของเพชรสังฆาตการป้อนสารสกัดเมทานอลจากเพชรสังฆาต ขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการด้วยกรดอะซีติกและฟอร์มาลิน โดยสารสกัดที่ขนาดสูง จะให้ผลดีใกล้เคียงกับการป้อนยา aspirin (300 มก./กก.) การทาสารสกัดเมทานอล ขนาด 2 มก./หู และการป้อนขนาด 70, 150 และ 300 มก./กก. มีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่หูด้วยสาร ethyl phenylpropiolate และเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่อุ้งเท้าด้วย carrageenin ได้ เมื...

321

ผลของสารสกัดเพชรสังฆาต
ผลของสารสกัดเพชรสังฆาต และตำรับยาที่มีเพชรสังฆาตเป็นส่วนประกอบต่อผู้ที่เป็นโรคอ้วนสารสกัดเพชรสังฆาต (CQR-300) และตำรับยาที่มีเพชรสังฆาตเป็นส่วนประกอบ (CORE) เมื่อนำไปทดสอบในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากนั้นได้นำสาร CQR-300 และตำรับยา CORE มาทดสอบในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่อ้วน และผู้ที่น้ำหนักปกติจำนวน 168 คน ทั้งเพศชาย และหญิง อายุระหว่าง 19 - 50 ปี BMI อยู่ในช่วง 25 - 48.7 กก./ม.2 และน้ำหนักอยู่ในช่วง 70.6 - 142 กก. โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่ม...

687

ผลของการใช้เพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารที่มีอาการเฉียบพลัน
ผลของการใช้เพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารที่มีอาการเฉียบพลันการศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร ระยะเฉียบพลัน จำนวน 570 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์ (Daflon 500 มก./เม็ด) กลุ่มที่ได้รับสมุนไพรเพชรสังฆาต (500 มก./เม็ด) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในช่วง 4 วันแรก ให้รับประทานครั้งละ 3 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร และช่วง 3 วันหลัง ได้รับครั้งละ 2 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการต่างๆ คือ...

สมุนไพรอื่นๆ

165

สารภี
สารภี ชื่อเครื่องยาสารภี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสารภี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ทรพี สร้อยพี สารภีแนน ชื่อวิทยาศาสตร์Mammea siamensis T. Anderson ชื่อพ้อง Calysaccion siamense Miq. ชื่อวงศ์Calophyllaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ดอกขนาดเล็ก ทรงกลมกลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้สีเหลือง จำนวนมาก ดอกแห้งสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ...

93

พิมเสน
พิมเสน ชื่อเครื่องยาพิมเสน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน ได้จากสารสกัดจากเนื้อไม้พืชสกุล Dryobalanops. สารสกัดจากใบพิมเสนต้น ใบหนาด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชสกุล Dryobalanops, พิมเสนต้น, หนาดหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae), พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth (วงศ์ Lamiaceae) ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ...

46

งิ้ว
งิ้ว ชื่อเครื่องยางิ้ว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้ เปลือกไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางิ้ว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)นุ่นป่า งิ้วป่าดอกขาว งิ้วดอกขาว ไกร งิ้วผา (เหนือ) ง้าวป่า (กลาง) งิ้วขาว ชื่อวิทยาศาสตร์Bombax anceps Pierre. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Bombacaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีดำ มีหนามตามแข็งขนาดใหญ่ ตามลำต้นและกิ่งก้าน เนื้อไม้ภายในมีสีเนื้ออ่อนเปรา...

32

โกฐสอ
โกฐสอ ชื่อเครื่องยาโกฐสอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากรากแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐสอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แป๊ะลี้ (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์Angelica dahurica (Hoffm.) Benth. & Hook.f. ex Franch. & Sav. ชื่อพ้องAngelica macrocarpa H.Wolff, Angelica porphyrocaulis Nakai & Kitag., Angelica tschiliensis H.Wolff, Callisace dahurica Hoffm., Thysselinum davuricum (Hoffm.) Spreng. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:    &nbs...

188

คนทา
คนทา ชื่อเครื่องยาคนทา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคนทา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะลันทา โกทา ขี้ตำตา จี้ สีเตาะ สีฟัน สีฟันคนตาย สีฟันคนทา หนามจี้ ชื่อวิทยาศาสตร์Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ชื่อพ้องAnisifolium pubescens (Wall.) Kuntze, Feroniella puberula Yu.Tanaka, Feroniella pubescens (Wall. ex Hook.f.) Yu.Tanaka, Harrisonia citrinaecarpa Elmer, Lasiolepis multijuga Benn., Lasiolepis paucijuga Benn. & R. Br., Limonia pubesc...

12

กฤษณา
กฤษณา ชื่อเครื่องยากฤษณา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้กฤษณาที่มีราลง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากฤษณา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ไม้หอม พวมพร้าว จะแน กายูกาฮู กายูการู ชื่อวิทยาศาสตร์Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte. ชื่อพ้องAquilaria malaccensis Lamk. มีชื่อพ้องว่า Aquilaria agallocha Roxb. Aquilaria subintegra Hou. Aquilaria hirta ชื่อวงศ์Thymelaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &nb...

194

สะระแหน่
สะระแหน่ ชื่อเครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สะระแหน่ต้น ต้นน้ำมันหม่อง (ไทย) หอมด่วน (พายัพ) สะแน่ (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen. ชื่อพ้องMentha × villosa Huds., Mentha x amaurophylla Timb.-Lagr., M. x benthamiana Timb.-Lagr., Mentha × billotiana Déségl. & T.Durand, M. x bolzanensis Heinr.Braun, M. x chloreilema (Briq.) Heinr.Braun, M. x chlorostachya Gand. ...

115

รางจืด
รางจืด ชื่อเครื่องยารางจืด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ราก เถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยาเขียว เครือเขาเขียว กำลังช้างเผือก หนามแน่(เหนือ) ย่ำแย้(อุตรดิตถ์) น้ำนอง คาย(ยะลา) ดุเหว่า(ปัตตานี) รางเย็น ทิดพุด แอดแอ รางจืดเถา ชื่อวิทยาศาสตร์Thunbergia laurifolia L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Thunbergiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เถาที่มีอายุมากจะมีเนื้อแข็งขนาดกลาง เ...

5

กระดอม
กระดอม ชื่อเครื่องยากระดอม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาลูกกระดอม ได้จากผลอ่อนกระดอม ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระดอม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขี้กาดง ขี้กาน้อย(สระบุรี) ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้กาลาย (นครราชสีมา) ผักแคบป่า (น่าน) มะนอยจา (ภาคเหนือ) มะนอยหก มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน) ผักขาว (เชียงใหม่) ดอม (นครศรีธรรมราช) ชื่อวิทยาศาสตร์Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr. ชื่อพ้องGymnopetalum cochinchinense ชื่อวงศ์Cucurbitaceae ลักษณะภายนอกขอ...

ริดสีดวง สลายด้วย เพชรสังฆาต [2560]

ริดสีดวง สลายด้วย เพชรสังฆาต [2560]

ริดสีดวง สลายด้วย เพชรสังฆาต [2560]

View
สโมสรสุขภาพ (15 ม.ค. 59) เพชรสังฆาต สมุนไพรพิฆาตน้ำหนัก | 9MCOT HD ช่อง30

สโมสรสุขภาพ (15 ม.ค. 59) เพชรสังฆาต สมุนไพรพิฆาตน้ำหนัก | 9MCOT HD ช่อง30

สโมสรสุขภาพ (15 ม.ค. 59) เพชรสังฆาต สมุนไพรพิฆาตน้ำหนัก | 9MCOT HD ช่อง30

View
เพชรสังฆาต เปิด...อภัยภูเบศร ช่วง เปิดเรื่อง 01 07 60

เพชรสังฆาต เปิด...อภัยภูเบศร ช่วง เปิดเรื่อง 01 07 60

เพชรสังฆาต เปิด...อภัยภูเบศร ช่วง เปิดเรื่อง 01 07 60

View
สาระยา | เพชรสังฆาต…มีดีกว่าที่คิด | EP.90

สาระยา | เพชรสังฆาต…มีดีกว่าที่คิด | EP.90

สาระยา | เพชรสังฆาต…มีดีกว่าที่คิด | EP.90

View
เพชรสังฆาต   แก้ริดสีดวงทวาร   สวนสมุนไพร โกมารภัจจ์ สหคลินิก ชัยภูมิ

เพชรสังฆาต แก้ริดสีดวงทวาร สวนสมุนไพร โกมารภัจจ์ สหคลินิก ชัยภูมิ

เพชรสังฆาต แก้ริดสีดวงทวาร สวนสมุนไพร โกมารภัจจ์ สหคลินิก ชัยภูมิ

View
เพชรสังฆาต ว่านสมุนไพรสูตรโบราณรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ดีนักแล

เพชรสังฆาต ว่านสมุนไพรสูตรโบราณรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ดีนักแล

เพชรสังฆาต ว่านสมุนไพรสูตรโบราณรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ดีนักแล

View
EP.003 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร ///  ปั้นลูกกลอนกินแก้ริดสีดวงจากเพชรสังฆาต

EP.003 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ปั้นลูกกลอนกินแก้ริดสีดวงจากเพชรสังฆาต

EP.003 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ปั้นลูกกลอนกินแก้ริดสีดวงจากเพชรสังฆาต

View
เพชรสังฆาต บำรุงกระดูก

เพชรสังฆาต บำรุงกระดูก

เพชรสังฆาต บำรุงกระดูก

View
น้ำมะระปั่นรักษาริดสีดวงให้หายภายใน 7 วัน ได้จริงหรือ? | รู้ทันข่าวลวงสุขภาพ [Mahidol Channel]

น้ำมะระปั่นรักษาริดสีดวงให้หายภายใน 7 วัน ได้จริงหรือ? | รู้ทันข่าวลวงสุขภาพ [Mahidol Channel]

น้ำมะระปั่นรักษาริดสีดวงให้หายภายใน 7 วัน ได้จริงหรือ? | รู้ทันข่าวลวงสุขภาพ [Mahidol Channel]

View
วิธีรักษาริดสีดวงทวาร |  ริดสีดวง รักษา ให้ หายขาด ด้วย เพชรสังฆาต กับ มะขาม | Rose Travel

วิธีรักษาริดสีดวงทวาร | ริดสีดวง รักษา ให้ หายขาด ด้วย เพชรสังฆาต กับ มะขาม | Rose Travel

วิธีรักษาริดสีดวงทวาร | ริดสีดวง รักษา ให้ หายขาด ด้วย เพชรสังฆาต กับ มะขาม | Rose Travel

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับเพชรสังฆาต
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่