Menu

เพกา

ชื่อเครื่องยา

เพกา

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เปลือกต้น

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

เพกา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ลิ้นฟ้า(เลย) ลิ้นก้าง ลิ้นช้าง(ไทยใหญ่) เพกา (ภาคกลาง) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน ภาคเหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ด๊อกก๊ะ ดอก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเลย์ นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Oroxylum indicum (L.) Kurz

ชื่อพ้อง

Arthrophyllum ceylanicum Miq. Arthrophyllum reticulatum Blume ex Miq. Bignonia indica L. Bignonia lugubris Salisb. Bignonia pentandra Lour. Bignonia quadripinnata Blanco Bignonia tripinnata Noronha Bignonia tuberculata Roxb. ex DC. Calosanthes indica (L.) Blume Hippoxylon indica (L.) Raf. Oroxylum flavum Rehder Spathodea indica

ชื่อวงศ์

Bignoniaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลครีมอ่อน หรือเทาอ่อน อาจแตกเป็นรอยตื้นๆ เล็กน้อย  หรือเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม มีรูระบายอากาศ กระจายอยู่ทั่วไป เปลือกหนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร เปลือกใน มีสีเขียวอมเหลือง เปลือกต้นมีรสฝาด ขม เย็น  มีกลิ่นเฉพาะ

 

เครื่องยา เปลือกเพกา

 

เครื่องยา  เปลือเพกา

 

 

เครื่องยา  เปลือกเพกา

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เปลือกต้น รสฝาด ขม เย็น ช่วยสมานแผล ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้ท้องร่วง ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต  แก้เสมหะจุกคอ  ขับเสมหะ  แก้บิด  แก้อาการจุกเสียด แก้ไข้รากสาด  แก้ฝี  รักษามะเร็งเพลิง  ขับเหงื่อ  แก้ไขข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน  ช่วยเจริญอาหาร
           แพทย์ในชนบท: ใช้ตำผสมกับเหล้าโรงพ่นตามตัวสตรีที่ทนอยู่ไฟไม่ได้ให้ผิวหนังชา ตำผสมกับน้ำส้มมดแดง และเกลือสินเธาว์ กินเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด ต้มน้ำกินเป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะจุกคอ ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต แก้บิด แก้จุกเสียด ฝนกับเหล้ากวาดปาก แก้พิษซางเม็ดสีเหลือง แก้ละออง แก้ซางเด็ก ทาแก้ปวดฝี แก้ฟกบวม นอกจากนี้เปลือกเพกาใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ แก้เบาหวาน  แก้โรคมานน้ำ  เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด  แยกเอาน้ำมันมาทาแก้องคสูตร  แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา  แก้ฟกบวม  แก้คัน เปลือกหรือแก่น ใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ และนำไปเข้ากับยาอื่นหลายตัว แก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงเลือด เป็นยาแก้พิษ ทั้งห้า (ราก ลำต้น ใบดอก และผล) มีรสฝาดขมเย็น เป็นยาสมานแผล แก้อักเสบฟกบวม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ เพื่อลมและโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย
           บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้เปลือกเพกา ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของเปลือกเพกา ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิด ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของเปลือกเพการ่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           methyl oroxylopterocarpan, baicalein, chrysin, 5,7-dihydroxy-6-methylflavone, oroxylin A, scutellarein 7-rutinoside, galangin, lapachol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

                   การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเฮกเซน, เอทิลอะซิเตต, อะซิโตน และเมทานอล ที่ได้จากเปลือกเพกา ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ใช้การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทางเคมี 5 วิธี ได้แก่ DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl)radical scavenging assay, ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay (หาความสามารถรวมในการส่งผ่านอิเล็กตรอนไปรีดิวซ์สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก), hydrogen peroxide scavenging activity, metal chelating activity (ทดสอบความสามารถในการแย่งจับกับโลหะไอออน เนื่องจากเหล็กอิสระที่มีอยู่ทั่วร่างกายสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระได้)  และ thiobarbituric acid (TBA) assay (การตรวจวัดระดับสารมาลอนอัลดีไฮ (MDA) ผลผลิตจากการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน ที่เกิดจากการทำลายของไลปิดในเยื่อหุ้มเซลล์ ระดับ MDA ที่สูงขึ้นแสดงถึงอัตราที่เซลล์ในเนื้อเยื่อต่างๆ ถูกทำลาย โดยวัดจากปริมาณสาร thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง MDA และกรดบาร์บิทูริก) ผลการตรวจสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay พบว่าสารสกัดเมทานอล และสารมาตรฐานวิตามินซี มีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH ได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 9.42±0.04 และ 12.25±0.01 µg/ml ตามลำดับ  การตรวจสอบโดยวิธี FRAP assay พบว่าค่า EC50 ของสารสกัดเมทานอล และวิตามินซี มีค่าเท่ากับ 292.31±0.06 และ 910.37 µg/ml ตามลำดับ การตรวจสอบโดยวิธี hydrogen peroxide scavenging activity พบว่าค่า IC50 ของสารสกัดเมทานอล และวิตามินซี มีค่าเท่ากับ 153.45 และ 228.97 µg/ml ตามลำดับ การตรวจสอบโดยวิธี metal chelating activity พบว่า EC50 ของสารสกัดเมทานอล มีค่าเท่ากับ 121.54 µg/ml การตรวจสอบโดยวิธี TBA assay พบว่าค่า IC50 ของสารสกัดเมทานอล และวิตามินซี มีค่าเท่ากับ 18.9788 และ 35.77 µg/ml ตามลำดับ  โดยสรุปสารสกัดเมทานอลจากเปลือกเพกามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารมาตรฐานวิตามินซีในการทดสอบทั้ง 4 วิธี คือ DPPH radical scavenging assay,FRAP assay, hydrogen peroxide scavenging activity และวิธี thiobarbituric acid (TBA) assay (Saha, et al., 2017)

          
การศึกษาทางคลินิก:

           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           เมื่อฉีดสารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1)  ให้แก่หนู  ขนาดสูงสุดที่ไม่เป็นพิษคือ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรโดยการป้อนทางปาก  พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์ 70% ในขนาด 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ไม่พบพิษ  แต่ถ้าฉีดเข้าทางช่องท้องในขนาด 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  พบว่าหนูตาย 7 ใน 10 ตัว  ส่วนการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน  โดยป้อนสารสกัดให้หนูกินทางปากขนาด 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  หรือฉีดเข้าทางช่องท้องในขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ไม่พบพิษ

 

เอกสารอ้างอิง:

Saha P, Choudhury PR, Das S, Talukdar AD, Choudhury MD. In vitro antioxidant activity of bark extracts of Oroxylum indicum (L.) vent. Asian J Pharm Clin Res. 2017;10(8):263-266.

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา    : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง               : www.thaiherbarium.com

ข้อมูลตำรับยาเลือดงาม            www.thai-remedy.com

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ เพกา

...

Other Related เพกา

ข้อมูล เพกา จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


เพกา ภาพวาด การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids อันดับ: Lamiales วงศ์: Bignoniaceae สกุล: Oroxylum สปีชีส์: O.  indicum ชื่อทวินาม Oroxylum indicum (L.) Benth. ex Kurz[ 1] or Vent.[ 2] เพกา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Oroxylum indicum) เป็นพืชในวงศ์แคหางค่าง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้: ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโด (มาเลเซีย-นราธิวาส) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า หมากลิ้นฟ้า บ่าลิ้นไม้ (เลย) เพกาเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย โดยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้เพกาจะขึ้นอยู่ในหลายประเทศ แต่ดูเหมือนจะมีแต่ชาวไทยเท่านั้นที่นำเพกามากินเป็นผัก เพกาเป็นผักที่อยู่ในหมวดดอกฝัก ลักษณะพืชทางพฤกษศาสตร์[ แก้ ] ใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้นปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวตรงข้าม เส้นใบแบบตาข่าย โดยสีของผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง ดอก ดอกช่อแบบกระจะ ก้านช่อดอกยาว สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยติดคงทนจนเป็นผล กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่บนมี 2 กลีบ เนื้อกลีบพับย่น สีแดงเลือดหมู เกสรเพศผู้มี 5 อัน โดยมี 1 อันเป็นหมันซึ่งก้านชูอับเรณูจะสั้น ส่วนอีก 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน ติดบนหลอดกลีบดอกด้านใน อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูแบบถ่าง เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ กานเรียงพลาเซนตาเป็นแบบพลาเซนตารอบแกนร่วม ผล เป็นฝักแบนขนาดใหญ่ รูปดาบ ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย คล้ายฝักหางนกยูงฝรั่ง มักออกห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ปล่อยเมล็ดที่อยู่ข้างในฝักจำนวนมากมาย ล่องลอยไปตามลม เมล็ด ลักษณะแบนสีน้ำตาลอ่อน ทั้งสองด้านมีเยื่อบางใส สีขาว โปร่งแสงคล้ายปีก ช่วยให้ล่องลอยไปตามกระแสลมได้ไกล ๆ เกิดการแพร่พันธุ์ไปทั่วทุกบริเวณโดยรอบ ฝัก ส่วนที่รับประทานเป็นผัก[ แก้ ] ยอดและดอกอ่อนสีเหลืองอ่อนเกสรแดงนั้น มีรสขมอ่อนๆ คล้ายใบยอ นำมาลวก ต้ม หรือเคี่ยวหัวกะทิข้นๆ ราดไปบนยอดดอกอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาผัดใส่กุ้งก็อร่อย นำมายำใส่กระเทียมเจียวก็มีรสชาติเยี่ยม ฝักอ่อน ที่อายุไม่เกิน 1 เดือน ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ต้องใช้เล็บมือจิกลงไปได้ จิ้มกินกับน้ำพริก นำฝักอ่อนที่ได้มาเผาไฟแรงๆ จนเปลือกพองไหม้ทั่ว ขูดลอกเอาส่วนดำที่ผิวออกให้หมด จะได้ส่วนในที่มีกลิ่นหอม หั่นเป็นชิ้นตามขวางหนา นำมาปรุงเป็นอาหารทั้งนำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นเครื่องเคียงลาบ ก้อย ใช้ทอดกินกับไข่ ใส่แกง คั่ว ยำ ผัดกับหมู หรือทำแกงอ่อมปลาดุกใส่ฝักเพกาแทนใบยอ ชาวกะเหรี่ยงนำเปลือกต้น สับให้ละเอียดใส่ลาบ ทำให้มีรสขม [ 3] คุณค่าทางโภชนาการ[ แก้ ] ในยอดอ่อน 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13.0 กรัม วิตามินบี1 0.18 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.69 มิลลิกรัมและวิตามินบี3 2.4 มิลลิกรัม นอกนั้นเป็นเถ้าและน้ำ ฝักอ่อนเพกา100 กรัม มีวิตามินซีสูงมาก ถึง484 มิลลิกรัม วิตามินเอ 8.3 กรัม มีประโยชน์ช่วยป้องกันมิให้เซลล์ร่างกายแก่เร็วเกินไป ปกป้องอนุมูลอิสระมิให้เกิดขึ้นในร่างกาย อันเป็นผลทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ หากรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินอีสูง ๆ เช่น รำข้าวในข้าวกล้อง ช่วยเสริมฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย การใช้ประโยชน์[ แก้ ] ชาวกะเหรียงใช้เปลือกต้นย้อมผ้าให้สีเขียว[ 3] สรรพคุณตามตำรายาไทย พบว่ามีการใช้เพกาตั้งแต่เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ และเมล็ด จัดเป็น "เพกาทั้ง 5" ใช้รากเป็นยาบำรุงธาตุ แก้บิด ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย เปลือกต้น มีรสฝาด เย็น ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ขับลมในลำไส้ แก้โรคบิด ท้องร่วง บำรุงโลหิต ขับน้ำเหลืองเสีย บางแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอาเปลือกต้นมาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงโลหิต การใช้รักษาฝี – นำเปลือกต้นฝนทารอบ ๆ บริเวณฝี ช่วยลดความปวดฝีได้ การใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ - นำเปลือกต้นฝนกับน้ำปูนใสทาลดอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ ราก มีรสฝาดขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เรียกน้ำย่อย เจริญอาหาร รักษาโรคท้องร่วง บิด หากนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแผลที่อักเสบ ฟกช้ำ บวม จะช่วยให้หายไปในระยะเวลาอันสั้น ฝักอ่อน นิยมรับประทานเป็นผัก ช่วยบำรุงธาตุ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และยังช่วยให้เจริญอาหาร เมล็ด สามารถใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ ยาพอกแก้โรคฝี เอา เปลือกเพกา ฝนกับน้ำสะอาด ผสมกับเมล็ดต้อยติ่ง ทาหรือพอก ดับพิษฝี แก้โรคงูสวัด ใช้รากต้นหมูหมุน (พืชตระกูลสาวน้อยปะแป้ง) เปลือกคูณ เปลือกต้นเพกา ฝนใส่น้ำทา ยาพอกแก้โรคฝี เอาเมล็ดต้อยติ่ง ผสมกับน้ำเปลือกเพกา ฝนทา หรือพอกดับพิษฝี ยาแก้พิษหมาบ้ากัด เอาใบกระทุ้งหมาบ้า ลนไฟปิดปากแผล หรือเอาเปลือกเพกา ตำพอกแผล ยาแก้ลูกอัณฑะลง (ไส้เลื่อน) ใช้รากเขยตาย เปลือกเพกา หญ้าตีนนก ทั้งหมดตำให้ละเอียด ละลายน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด ทาลูกอัณฑะ ทาขึ้น (อย่าทาลง) ยาแก้เบาหวาน ใช้ใบไข่เน่า เปลือกต้นไข่เน่า ใบเลี่ยน รากหญ้าคา บอระเพ็ด แก่นลั่นทม เปลือกเพกา รวม 7 อย่าง หนักอย่างละ 2 บาท มาต้มรับประทานครั้งละ 1 แก้วกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า - เย็น สรรพคุณทางวิทยาศาสตร์การแพทย์[ แก้ ] ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า สารสกัดฟลาโวนอยด์ที่ได้จากเปลือกต้นเพกา มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ การแพ้ (anti-inflammatory and anti-allergic) ทั้งมีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูตะเภาในหลอดทดลอง สารลาพาคอล(lapacol) ที่สกัดได้จากรากเพกา มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์5-ไลพอกซีจีเนส (5-lipoxygenase) ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนยังสามารถช่วยลดคอเรสเตอรอลในกระแสเลือดได้ ในงานสาธารณสุขมูลฐาน เมล็ดเพกาเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่กำหนดเพื่อใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำเมล็ดแก่ ประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5-3.0 กรัม) ใส่ในหม้อ เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร ต้มไฟอ่อน ๆ พอเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง จนอาการไอดีขึ้น ซึ่งเมล็ดเพกาในภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "โชยเตียจั้ว" หรือ "บักหู่เตี้ยบ" (อักษรจีน: 木蝴蝶; กระดาษบางนับพัน, ผีเสื้อไม้) ใช้เป็นส่วนผสมในจับเลี้ยง โดยใช้เมล็ดที่แห้งแล้วจะมีความบางเหมือนกระดาษสีขาวเหมือนปีกผีเสื้อ[ 4] การขยายพันธุ์[ แก้ ] เพาะเมล็ด การเพาะชำ อ้างอิง[ แก้ ] ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10 . ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10 . ↑ 3.0 3.1 ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ↑ "โชยเตียจั้ว หรือที่ไทยเราเรียกว่า ใบเพกา". เจี้ยนคัง ร้านขายยาจีนและไทย Jian Kang Chinese & Thai Herbal Products. 2014-10-10. แหล่งข้อมูลอื่น[ แก้ ] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Oroxylum indicum ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Oroxylum indicum ที่วิกิสปีชีส์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=เพกา&oldid=9882000"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ เพกา

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1250

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 9...

สมุนไพรอื่นๆ

57

ดีบัว
ดีบัว ชื่อเครื่องยาดีบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากต้นอ่อนในเมล็ดบัวหลวง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล, โช้ค (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อพ้องNelumbo caspica (Fisch.) Schipcz., Nelumbo komarovii Grossh., Nelumbo speciosa Willd., Nymphaea nelumbo ชื่อวงศ์Nelumbonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดีบัวมีรูป...

42

คำฝอย
คำฝอย ชื่อเครื่องยาคำฝอย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากกลีบดอก และเกสรแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคำฝอย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดอกคำ คำหยุม คำหยอง คำยุ่ง คำ คำยอง ชื่อวิทยาศาสตร์Carthamus tinctorius L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นกระจุก กลีบสีแดงถึงน้ำตาลแดง หลอดกลีบดอกยาว ผอม แบ่งเป็น ...

28

โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อเครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงเฮา, ชิงฮาว, แชเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์Artemisia annua L. ชื่อพ้องArtemisia chamomilla C.Winkl. ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ประกอบด้วยส่วนของลำต้น ใบ และดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก...

118

ละหุ่ง
ละหุ่ง ชื่อเครื่องยาละหุ่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากน้ำมันจากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาละหุ่ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ละหุ่งแดง (ภาคกลาง) ละหุ่งขาว มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) มะหุ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์Ricinus communis L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว หรือจุดสีน้ำตาลปนเทา เป็นลายคล้ายตัวเห็บ มีสีแตกต่างกันไปขึ้นกั...

43

คูน
คูน ชื่อเครื่องยาคูน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อในฝักแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเนื้อในฝักแก่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชัยพฤกษ์ ลมแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula L. ชื่อพ้องBactyrilobium fistula Willd., Cassia bonplandiana DC., C. excelsa Kunth, C. fistuloides Collad., C. rhombifolia Roxb., Cathartocarpus excelsus G.Don, Cathartocarpus fistula Pers., Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don, Cathartocarpus rhombifolius ชื่อวงศ์Legumonosae-Caesalpi...

73

ไทรย้อย
ไทรย้อย ชื่อเครื่องยาไทรย้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากรากอากาศ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาไทรย้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ไทรย้อยใบแหลม ไทรกระเบื้อง ไซรย้อย ไฮ จาเรย ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benjamina L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            รากอากาศ รากเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล กลมๆ ยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ รสจืด ฝาด   เครื่อง...

97

ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร ชื่อเครื่องยาฟ้าทะลายโจร ชื่ออื่นๆของเครื่องยาฟ้าทะลาย ได้จากส่วนเหนือดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฟ้าทะลายโจร ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)น้ำลายพังพอน หญ้ากันงู ซีปังฮี ชื่อวิทยาศาสตร์Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees ชื่อพ้องJusticia paniculata Burm.f. ชื่อวงศ์Acanthaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ก้านใบยาว 3-10 มิลลิเมตร แผ่นใบรูปไข่หรือรู...

13

กล้วยดิบ
กล้วยดิบ ชื่อเครื่องยากล้วยดิบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลกล้วยห่ามหรือดิบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากล้วยน้ำว้า หรือกล้วยไข่ กล้วยตีบ กล้วยหักมุก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Musa sapientum Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Musaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลดิบ เนื้อสีขาว เมื่อหั่น ฝานตากแดด  ให้แห้ง  แล้วบดเป็นผง     เครื่องยา กล้วยดิบ   ...

49

จันทน์แดง
จันทน์แดง ชื่อเครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาลักจั่น จันทน์ผา แก่นจันทน์แดง ได้จากแก่นที่มีราลงจนเป็นสีแดง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลักกะจันทน์ ลักจั่น(กลาง) จันทน์ผา ชื่อวิทยาศาสตร์Dracaena loureiroi Gagnep. ชื่อพ้องAletris cochinchinensis Lour., Dracaena saposchnikowii Regel., Draco saposchnikowii (Regel) Kuntze., Pleomele cochinchinensis Merr. ex Gagnep., Dracaena cochinchinensis ชื่อวงศ์Dracaenaceae ...

หลังรู้ความจริง!! ต้องรีบหามากิน "เพกา"(ลิ้นฟ้า) 5อาการป่วย แทบไม่ง้อยา  | Nava DIY

หลังรู้ความจริง!! ต้องรีบหามากิน "เพกา"(ลิ้นฟ้า) 5อาการป่วย แทบไม่ง้อยา | Nava DIY

หลังรู้ความจริง!! ต้องรีบหามากิน "เพกา"(ลิ้นฟ้า) 5อาการป่วย แทบไม่ง้อยา | Nava DIY

View
รีบกินด้วน!!  "เพกา / ลิ้นฟ้า"  กินชลอวัย ต้านมะเร็ง พบสรรพคุณเจ๋งๆอีกเพียบ..| Nava DIY

รีบกินด้วน!! "เพกา / ลิ้นฟ้า" กินชลอวัย ต้านมะเร็ง พบสรรพคุณเจ๋งๆอีกเพียบ..| Nava DIY

รีบกินด้วน!! "เพกา / ลิ้นฟ้า" กินชลอวัย ต้านมะเร็ง พบสรรพคุณเจ๋งๆอีกเพียบ..| Nava DIY

View
เพกา : สรรพคุณและข้อควรระวัง

เพกา : สรรพคุณและข้อควรระวัง

เพกา : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
เพกาหรือลิ้นฟ้า ขมๆนี้แหละสรรพคุณดีมาก สายสุขภาพห้ามพลาด

เพกาหรือลิ้นฟ้า ขมๆนี้แหละสรรพคุณดีมาก สายสุขภาพห้ามพลาด

เพกาหรือลิ้นฟ้า ขมๆนี้แหละสรรพคุณดีมาก สายสุขภาพห้ามพลาด

View
28 สรรพคุณของเพกาหรือลิ้นฟ้า - ชะลอวัย ต้านมะเร็ง [mcmHealth]

28 สรรพคุณของเพกาหรือลิ้นฟ้า - ชะลอวัย ต้านมะเร็ง [mcmHealth]

28 สรรพคุณของเพกาหรือลิ้นฟ้า - ชะลอวัย ต้านมะเร็ง [mcmHealth]

View
ข่าวดีท่านชายที่ นกไม่บิน นกไม่ขันไม่สู้ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปทำให้กลับมาสู้ แข็ง แรงดี สมุนไพรไทย

ข่าวดีท่านชายที่ นกไม่บิน นกไม่ขันไม่สู้ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปทำให้กลับมาสู้ แข็ง แรงดี สมุนไพรไทย

ข่าวดีท่านชายที่ นกไม่บิน นกไม่ขันไม่สู้ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปทำให้กลับมาสู้ แข็ง แรงดี สมุนไพรไทย

View
ลิ้นฟ้า คลายเส้นเอ็น เส้นยึดเอ็นตึง คลายกล้ามเนื้อแก้ปวดหลังแบบไม่ต้องไปนวด สุดยอดสมุนไพรไทยรักษาโรค

ลิ้นฟ้า คลายเส้นเอ็น เส้นยึดเอ็นตึง คลายกล้ามเนื้อแก้ปวดหลังแบบไม่ต้องไปนวด สุดยอดสมุนไพรไทยรักษาโรค

ลิ้นฟ้า คลายเส้นเอ็น เส้นยึดเอ็นตึง คลายกล้ามเนื้อแก้ปวดหลังแบบไม่ต้องไปนวด สุดยอดสมุนไพรไทยรักษาโรค

View
ลองกิน เปลือกต้นลิ้นเพกา หรือ ลิ้นฟ้า อร่อยมาก 555

ลองกิน เปลือกต้นลิ้นเพกา หรือ ลิ้นฟ้า อร่อยมาก 555

ลองกิน เปลือกต้นลิ้นเพกา หรือ ลิ้นฟ้า อร่อยมาก 555

View
ประโยชน์ 28 ข้อ ของ เพกาหรือลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านสุดมหัศจรย์ ช่วยชะลอวัย ต้านมะเร็ง(Cancer prevention)

ประโยชน์ 28 ข้อ ของ เพกาหรือลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านสุดมหัศจรย์ ช่วยชะลอวัย ต้านมะเร็ง(Cancer prevention)

ประโยชน์ 28 ข้อ ของ เพกาหรือลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านสุดมหัศจรย์ ช่วยชะลอวัย ต้านมะเร็ง(Cancer prevention)

View
MFU HERB CHANNEL l ตอนที่ 35 เพกา...สมุนไพรประจำบ้าน

MFU HERB CHANNEL l ตอนที่ 35 เพกา...สมุนไพรประจำบ้าน

MFU HERB CHANNEL l ตอนที่ 35 เพกา...สมุนไพรประจำบ้าน

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับเพกา
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่