Menu

พิกุล

ชื่อเครื่องยา

พิกุล

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ดอก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

พิกุล

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กุน แก้ว ซางดง พิกุลเขา พิกุลเถื่อน พิกุลป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi L.

ชื่อพ้อง

Imbricaria perroudii Montrouz., Kaukenia elengi (L.) Kuntze, K. javensis (Burck) Kuntze, K. timorensis (Burck) Kuntze, Magnolia xerophila P.Parm., Manilkara parvifolia (R.Br.) Dubard, Mimusops javensis Burck, M. latericia Elmer, M. lucida Poir., M. parvifolia R.Br., M. timorensis

ชื่อวงศ์

Sapotaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอก มีกลีบเลี้ยงสีน้ำตาล 8 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ กลีบดอกมี 24 แฉก เรียง 2 ชั้น ชั้นนอก ปลายชี้ออกในระดับเดียวกันเป็นรูปดาว  ชั้นใน ปลายกลีบโค้งเข้าหากัน กลีบดอกมีสีขาวนวล เกสรเพศผู้สมบูรณ์มี 8 อัน  ดอกมีกลิ่นหอมเย็น  รสฝาด หอมสุขุม

 

เครื่องยา (ดอก)พิกุล

 

เครื่องยา (ดอก)พิกุล

 

เครื่องยา (ดอก)พิกุล

 

เครื่องยา วงกลีบดอกพิกุล

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 8% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 7.0% w/w  ปริมาณสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่น้อยกว่า 27% w/w  ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่า 17% w/w  ปริมาณสารสกัดด้วยอีเทอร์ ไม่น้อยกว่า 0.5% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ดอกแห้ง ใช้เข้ายาหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ ยานัตถุ์ ยาแก้ไข้ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอและแก้ร้อนใน แก้ไข้จับ แก้ไข้หมดสติ แก้ไข้เพ้อคลั่ง แก้อ่อนเพลีย แก้หอบ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้ลม บำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต แก้ปวดตามร่างกาย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ดอกสด เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย
           ตำรายาไทยนำดอกพิกุลมาเข้าเครื่องยาไทยใน “พิกัดเกสรทั้งห้า” (ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง) “พิกัดเกสรทั้งเจ็ด” (มีดอกจำปาและดอกกระดังงาเพิ่มเข้ามา) และ “พิกัดเกสรทั้งเก้า”  (มีดอกลำดวน และดอกลำเจียกเพิ่มเข้ามา) มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย บำรุงครรภ์
           ตำรายาแผนโบราณของไทย: ดอกพิกุล จัดอยู่ใน “พิกัดจตุทิพยคันธา”คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอมดังยาทิพย์ 4 อย่าง มีดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ เหง้าขิงแครง สรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะ แก้ลมปั่นป่วน แก้พรรดึก
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ดอกพิกุล ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) มีส่วนประกอบของดอกพิกุล อยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ปรากฏรวม 2 ตำรับ คือ”ยาหอมเทพจิตร” มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย) และตำรับยาแก้ไข้ปรากฎการใช้ดอกพิกุลร่วมกับสมุนไพรอื่นๆใน “ตำรับยาเขียวหอม”  สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษสุกใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส)

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           น้ำมันหอมระเหย : ประกอบด้วย 2-phenylethanol 37.80% , methyl benzoate 13.40% , p-methyl-anisole 9.94% , 2-phenylethyl acetate 7.16% , (E)- cinnamyl alcohol 13.72% , 3-hydroxy-4-phenyl-2-butanone 4.74%

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
     
     ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

     การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดดอกพิกุลด้วยตัวทำละลาย petroleum ether, chloroform, ethyl acetate และ methanol ทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย 9 ชนิด คือ ชนิด Gram-positive bacteria ได้แก่ Bacillus cereus (MTCC-1305), Staphylococcus aureus (MTCC-96) และ Enterobacter faecalis (MTCC-5112) ชนิด Gram-negative bacteria ได้แก่ Salmonella paratyphi (MTCC-735), Escherichia coli (MTCC-729), Klebsiella pneumoniae (MTCC-109), Pseudomonas aeruginosa (MTCC-647), Proteus vulgaris (MTCC-426) และ Serratia marcescens (MTCC-86) ทดสอบด้วยวิธี agar well diffusion ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด methanol ในขนาด 500 μg/well  ออกฤทธิ์สูงสุดต่อเชื้อทุกชนิด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งต่อเชื้อ 9 ชนิด เท่ากับ 28, 30, 30, 26, 26, 25, 30, 28 และ 25 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Gentamicin ในขนาด 10 μg/well มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งเชื้อต่อเชื้อ 9 ชนิด เท่ากับ 32, 28, 32, 30, 36, 32, 24, 30 และ 32 มิลลิเมตร ตามลำดับ (Reddy, et al., 2013)
   
  
การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดดอกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 3,650 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

         

เอกสารอ้างอิง

       Reddy LJ, Jose B. Evaluation of antibacterial activity of Mimusops elengi L. flowers and Trichosanthes cucumerina L. fruits from south india. Int J Pharm Sci. 2013;5(3):362-364.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :  www.thaiherbarium.com

ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ พิกุล

...

Other Related พิกุล

ข้อมูล พิกุล จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


พิกุล ดอกพิกุล สถานะการอนุรักษ์ ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1)[1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ เคลด: แอสเทอริด อันดับ: อันดับกุหลาบป่า วงศ์: วงศ์พิกุล สกุล: Mimusops L. สปีชีส์: Mimusops elengi ชื่อทวินาม Mimusops elengi L. พิกุล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimusops elengi) เป็นไม้ยืนต้น มีดอกหอม สีขาว มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ แก้ว (เชียงใหม่) ซางดง (ลำปาง) ตันหยง (นราธิวาส) สัญลักษณ์

ต้นพิกุลเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี และเป็นต้นไม้ประจำเขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร[2] ส่วนดอกพิกุลเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดยะลา และจังหวัดลพบุรี และเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนราชินี โรงเรียนราชินีบน โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ โรงเรียนวัดราชโอรส โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม และ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พิกุลเป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลสีเหลือง รสหวานอมฝาด การปลูกเลี้ยง

ปลูกได้ในดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปัจจุบันมีการเพาะปลูกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก อ้างอิง

↑ Barstow, M. (2019). "Mimusops elengi". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T61964765A61964768. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T61964765A61964768.en . สืบค้นเมื่อ 19 November 2021 . ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-01-09 . คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พิกุล ดคกพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ภาคเหนือ กาซะลองคำ (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่) กำลังเสือโคร่ง (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) จั่น (แม่ฮ่องสอน) กระเชา (ลำปาง) ก้ามปู (ลำพูน) สัก (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะหาด (กาฬสินธุ์) กัลปพฤกษ์ (ขอนแก่น) ขี้เหล็ก (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม) สาธร (นครราชสีมา) กาฬพฤกษ์ (บุรีรัมย์) พฤกษ์ (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) กระบาก (ยโสธร) กระบก (ร้อยเอ็ด) สนสามใบ (เลย) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) มะค่าแต้ (สุรินทร์) ชิงชัน (หนองคาย) พะยูง (หนองบัวลำภู) ตะเคียนหิน (อำนาจเจริญ) รัง (อุดรธานี) ยางนา (อุบลราชธานี) ภาคกลาง ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพมหานคร) สีเสียดแก่น (กำแพงเพชร) มะตูม (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก) จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (นครปฐม) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี) ทองหลางลาย (ปทุมธานี) หมัน (พระนครศรีอยุธยา) บุนนาค (พิจิตร) ปีบ (พิษณุโลก) มะขาม (เพชรบูรณ์) พิกุล (ลพบุรี) โพทะเล (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) พญาสัตบรรณ (สมุทรสาคร) ตะแบกนา (สระบุรี) มะกล่ำตาช้าง (สิงห์บุรี) มะค่า (สุโขทัย) มะเกลือ (สุพรรณบุรี) มะพลับ (อ่างทอง) สะเดา (อุทัยธานี) ภาคตะวันออก จัน (จันทบุรี) อะราง (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี) หูกวาง (ตราด) โพ (ปราจีนบุรี) กระทิง (ระยอง) มะขามป้อม (สระแก้ว) ภาคตะวันตก ขานาง (กาญจนบุรี) แดง (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) หว้า (เพชรบุรี) โมกมัน (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) มะเดื่ออุทุมพร (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) แซะ (นครศรีธรรมราช) ตะเคียนชันตาแมว (นราธิวาส) ตะเคียน (ปัตตานี) เทพทาโร (พังงา) พะยอม (พัทลุง) ประดู่บ้าน (ภูเก็ต) อโศกเหลือง (ยะลา) อบเชย (ระนอง) สะเดาเทียม (สงขลา) กระซิก (สตูล) เคี่ยม (สุราษฎร์ธานี) ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือจัน  · ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์คือแปะ  · ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธรคือยางนา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัยคือตาล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์คือกันเกรา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระยองคือประดู่  · จังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือสิรินธรวัลลี ดคกดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ภาคเหนือ พวงแสด (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่, ลำพูน) เสี้ยวดอกขาว (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) บัวตอง (แม่ฮ่องสอน) พุทธรักษาญี่ปุ่น (ลำปาง) ประดู่บ้าน (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พะยอม (กาฬสินธุ์) ราชพฤกษ์ (ขอนแก่น) ปทุมมา (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม, สุรินทร์) สาธร (นครราชสีมา) สิรินธรวัลลี (บึงกาฬ) สุพรรณิการ์ (บุรีรัมย์) ลั่นทมขาว (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) บัวแดง (ยโสธร) อินทนิลบก (ร้อยเอ็ด) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) ชิงชัน (หนองคาย) บัวหลวง (หนองบัวลำภู) ทองกวาวเหลือง (อำนาจเจริญ) ทองกวาว (อุดรธานี) บัว (อุบลราชธานี) ภาคกลาง พิกุล (กำแพงเพชร, ลพบุรี) ชัยพฤกษ์ (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก, สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี, พิษณุโลก) บัวหลวง (ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย) โสน (พระนครศรีอยุธยา) มะขาม (เพชรบูรณ์) ดาวเรือง (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) ภาคตะวันออก เหลืองจันทบูร (จันทบุรี) นนทรี (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี, ระยอง) กฤษณาชนิด Aquilaria subintegra (ตราด) ปีบ (ปราจีนบุรี) แก้ว (สระแก้ว) ภาคตะวันตก กาญจนิการ์ (กาญจนบุรี) เสี้ยวดอกขาว (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) กัลปพฤกษ์ (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) พุทธรักษา (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) ราชพฤกษ์ (นครศรีธรรมราช) บานบุรี (นราธิวาส) ชบา (ปัตตานี) จำปูน (พังงา) พะยอม (พัทลุง) เฟื่องฟ้า (ภูเก็ต, สงขลา) พิกุล (ยะลา) เอื้องเงินหลวง (ระนอง) กาหลง (สตูล) บัวผุด (สุราษฎร์ธานี) กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเลย จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทองไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด ดคกพรรณไม้ดอกไม้ประดับ ที่กล่าวถึงในเพลงอุทยานดอกไม้ เรียงตามลำดับการกล่าวถึง ผกา จำปา จำปี กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ กรรณิการ์ ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา สร้อยทอง บานบุรี ยี่สุ่น ขจร ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง บานชื่น พุทธชาด พวงชมพู กระดังงา รสสุคนธ์ บุนนาค นางแย้ม สารภี อุบล จันทน์กะพ้อ ผีเสื้อ เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้ ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q2088434 Wikispecies: Mimusops elengi APDB: 91727 EoL: 1154218 FloraBase: 6492 FNA: 220008636 GBIF: 2883768 GRIN: 24452 iNaturalist: 347424 IPNI: 787918-1 ITIS: 505964 IUCN: 61964765 NCBI: 233715 Plant List: kew-128461 PLANTS: MIEL4 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:787918-1 Tropicos: 28700418 WCSP: 128461 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=พิกุล&oldid=10740678"
.

สมุนไพรอื่นๆ

121

ลูกจันทน์
ลูกจันทน์ ชื่อเครื่องยาลูกจันทน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหน่วยสาน ได้จากเมล็ดแห้ง (จากผลสุก) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์เทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูกจันทน์ จันทน์บ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Myristica fragrans Houtt. ชื่อพ้องAruana silvestris Burm.f., Myristica aromatica Sw., Myristica moschata Thunb., Myristica officinalis L.f., Palala fragrans (Houtt.) Kuntze ชื่อวงศ์Myristicaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &nbs...

26

โกฐก้านพร้าว
โกฐก้านพร้าว ชื่อเครื่องยาโกฐก้านพร้าว ชื่ออื่นๆของเครื่องยาโกฐก้านมะพร้าว ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้ ชื่อวิทยาศาสตร์Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong ชื่อพ้องPicrorhiza scrophulariiflora ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เหง้าแห้ง  มีลักษณะกลมยาว  ยาวประมาณ ...

192

ย่านาง
ย่านาง ชื่อเครื่องยาย่านาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี ชื่อวิทยาศาสตร์Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ชื่อพ้องCocculus triandrus Colebr., Limacia triandra ชื่อวงศ์Menispermaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

107

มังคุด
มังคุด ชื่อเครื่องยามังคุด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผลแก่ ยางจากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามังคุด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Garcinia mangostana Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Guttiferae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลกลมแป้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง เปลือกหนาแข็ง เมื่อแก่มีสีม่วงอมน้ำตาล ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แยกเป็น 4-...

139

สีเสียดไทย
สีเสียดไทย ชื่อเครื่องยาสีเสียดไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสีเสียดเหนือ สีเสียดลาว ได้จากสารที่ได้จากการนำเนื้อไม้ไปต้ม ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ขี้เสียด (เหนือ) สะเจ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (กลาง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่) สีเสียดหลวง สีเสียดลาว ชื่อวิทยาศาสตร์Acacia catechu (L.f.) Willd ชื่อพ้องAcacia catechuoides (Roxb.) Benth., Acacia sundra (Roxb.) Bedd., Acacia wallichiana DC., Mimosa catechu L.f., Mimosa c...

160

มะแว้งต้น
มะแว้งต้น ชื่อเครื่องยามะแว้งต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะแว้งต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะแค้งขม มะแค้งดำ (เหนือ อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Solanaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลรูปกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม) ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดรู...

152

เทียนสัตตบุษย์
เทียนสัตตบุษย์ ชื่อเครื่องยาเทียนสัตตบุษย์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนสัตตบุษย์ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อาหนี ชื่อวิทยาศาสตร์Pimpinella anisum L. ชื่อพ้องAnisum odoratum Raf., Anisum officinale DC., Anisum officinarum Moench, Anisum vulgare Gaertn., Apium anisum (L.) Crantz, Carum anisum (L.) Baill., Ptychotis vargasiana DC., Selinum anisum (L.) E.H.L. Krause, Sison anisum (L.) Spreng, Seseli gilliesii Hook. & Arn., Tragium an...

72

เทียนลวด
เทียนลวด ชื่อเครื่องยาเทียนลวด ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเทียนหลอด ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนลวด (bitter fennel) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์1.Foeniculum vulgare Mill subsp. piperatum (Ucr.)Beguinot , 2.Centraterum anthelminticum (Willd.) Kuntze ชื่อพ้อง1.Foeniculum piperatum ชื่อวงศ์1.Umbelliferae, 2.Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          เมล็ดรูปกรวย หรือทรงกระบอก รูป...

133

สมอพิเภก
สมอพิเภก ชื่อเครื่องยาสมอพิเภก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาผล ได้จาก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอพิเภก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลัน สมอแหน แหน แหนขาว แหนต้น สะคู้ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกลมหรือรี แข็ง กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีสัน 5 สัน ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดเดี่ยวแข็ง ผลอ่อน...

เกสรดอกพิกุล สมุนไพรเบญจเกสร  บำรุงหัวใจ  แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน

เกสรดอกพิกุล สมุนไพรเบญจเกสร บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน

เกสรดอกพิกุล สมุนไพรเบญจเกสร บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน

View
พิกุล : สมุนไพรบำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ บำรุงปอด อาการร้อนใน  ปวดศีรษะ ขับเสมหะโรคในลำคอและกามโรค

พิกุล : สมุนไพรบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงปอด อาการร้อนใน ปวดศีรษะ ขับเสมหะโรคในลำคอและกามโรค

พิกุล : สมุนไพรบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงปอด อาการร้อนใน ปวดศีรษะ ขับเสมหะโรคในลำคอและกามโรค

View
#พิกุล #สมุนไพรใกล้ตัว

#พิกุล #สมุนไพรใกล้ตัว

#พิกุล #สมุนไพรใกล้ตัว

View
ดอกพิกุล l สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต พิกัดเกสรทั้ง๙ นำมาดื่มเป็นชาพิกุล

ดอกพิกุล l สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต พิกัดเกสรทั้ง๙ นำมาดื่มเป็นชาพิกุล

ดอกพิกุล l สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต พิกัดเกสรทั้ง๙ นำมาดื่มเป็นชาพิกุล

View
ต้นพิกุล​//สมุนไพร​นอกบ้าน​ Ep.22

ต้นพิกุล​//สมุนไพร​นอกบ้าน​ Ep.22

ต้นพิกุล​//สมุนไพร​นอกบ้าน​ Ep.22

View
พิกุลสมุนไพรที่ขาดไม่ได้

พิกุลสมุนไพรที่ขาดไม่ได้

พิกุลสมุนไพรที่ขาดไม่ได้

View
ปลูกต้นนี้ต้นเดียว ทำยาได้สารพัด พิกุล ยาหอม ยาแก้ไข้ บำรุงเลือด หัว ใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์

ปลูกต้นนี้ต้นเดียว ทำยาได้สารพัด พิกุล ยาหอม ยาแก้ไข้ บำรุงเลือด หัว ใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์

ปลูกต้นนี้ต้นเดียว ทำยาได้สารพัด พิกุล ยาหอม ยาแก้ไข้ บำรุงเลือด หัว ใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์

View
ดอกพิกุล บำรุงหัวใจ

ดอกพิกุล บำรุงหัวใจ

ดอกพิกุล บำรุงหัวใจ

View
รู้แล้วทึ่ง!!คารหามาปลูก พิกุล ต้นพิกุล ดอกพิกุล ประโยชน์มากมาย

รู้แล้วทึ่ง!!คารหามาปลูก พิกุล ต้นพิกุล ดอกพิกุล ประโยชน์มากมาย

รู้แล้วทึ่ง!!คารหามาปลูก พิกุล ต้นพิกุล ดอกพิกุล ประโยชน์มากมาย

View
หลวงพ่อใน จ.ชุมพร ชูสมุนไพรไทย สมบัติชาติ ต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ | ห้องสืบสวน| 26 เม.ย. 63

หลวงพ่อใน จ.ชุมพร ชูสมุนไพรไทย สมบัติชาติ ต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ | ห้องสืบสวน| 26 เม.ย. 63

หลวงพ่อใน จ.ชุมพร ชูสมุนไพรไทย สมบัติชาติ ต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ | ห้องสืบสวน| 26 เม.ย. 63

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับพิกุล
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่