Menu

พริกไทยดำ

ชื่อเครื่องยา

พริกไทยดำ

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ผลแห้งแก่จัดแต่ยังไม่สุกทั้งเปลือก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

พริกไทย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

พริกน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper nigrum L.

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์

Piperaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลรูปกลม ผลแห้งมีผิวสีดำ ผิวนอกหยาบ มีรอยย่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 4-6 มม. เปลือกนอกสีน้ำตาลเข้มออกดำ มีรอยย่นคล้ายร่างแห ที่ขั้วมีรอยก้านผล เปลือกผลชั้นนอกและชั้นกลางลอกออกง่าย เปลือกชั้นในบางและค่อนข้างแข็ง 1 ผลมี 1 เมล็ด ผงพริกไทยดำมีสีน้ำตาล-ดำ กลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ทางยานิยมใช้พริกไทยดำมากกว่าพริกไทยล่อน

 

เครื่องยา พริกไทยดำ

 

 

เครื่องยา พริกไทยดำ

 

เครื่องยา พริกไทยดำ

 

 

เครื่องยา พริกไทยดำ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณน้ำไม่เกิน 14% v/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 7% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.5% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่า 1% v/w  ปริมาณสารอัลคาลอยด์ โดยคำนวณเทียบกับ piperine ไม่น้อยกว่า 5  % w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ เมล็ด ลดอาการท้องอืดเฟ้อ  แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ให้ผายเรอ ช่วยเจริญอาหาร ,แก้กองลม , บำรุงธาตุ , แก้ลมอัมพฤกษ์ ,  แก้มุตตกิต , แก้ลมสัตถกะวาตะ , แก้ลมอันเนื่องจากอวัยวะสืบพันธุ์ , แก้ลมมุตตฆาต (ลมที่ทำให้ท้องลั่นโครกคราก) ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย  ทำให้ตัวเย็นรู้สึกร้อนเหงื่อออกสบาย ขับปัสสาวะ กระตุ้นประสาท บำรุงธาตุ บำรุงไฟธาตุ แก้อาหารไม่ย่อย ผลและเมล็ด รักษาอาการปวดกระเพาะอาหาร อาเจียน แก้ลม จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในกระเพาะ ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ปวดฟัน แก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แก้หวัด ทำให้น้ำลายออกมาก ช่วยให้น้ำย่อยหลั่งมากขึ้น ทำให้อยากอาหาร แก้อ่อนเพลีย กษัยกร่อนแห้ง  แก้บิด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตะคริว แผลปวดเพราะสุนัขกัด ฝี สะอึก ห้ามเลือด ยาหลังคลอดบุตร ปวดศีรษะ แก้อาหารเป็นพิษ ตำรายาอินเดีย ใช้กลั้วคอ แก้เจ็บคอ ลดไข้
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้พริกไทยในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของพริกไทยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ
           ตำรายาไทยพริกไทยจัดอยู่ใน “พิกัดตรีกฎุก” แปลว่าของที่มีรสร้อน 3 อย่าง เป็นพิกัดยาที่ประกอบด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ เมล็ดพริกไทย เหง้าขิงแห้ง และดอกดีปลี มีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากวาตะ(ลม) เสมหะ และปิตตะ(ดี) ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน “พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด” คือการจำกัดจำนวนตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ผลผักชีลา ใบแมงลัก ผลกระวาน ใบโหระพา มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม ช่วยย่อยอาหาร
           พริกไทยใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในยาแผนโบราณของจีนและอินเดีย ใช้แก้หวัด ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดประจำเดือน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ลดอาการท้องอืดเฟ้อ  แน่นจุกเสียดและช่วยขับลม  ใช้ผลบดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน  รับประทานครั้งละ  0.5-1  กรัม (ประมาณ 15-20 เมล็ด) หรือ  จะใช้ผงชงน้ำดื่ม  รับประทาน  3  เวลาหลังอาหาร       

องค์ประกอบทางเคมี:
           ในผลมีน้ำมันหอมระเหยอยู่  1% - 2.5% ประกอบด้วย beta-caryophyllene (28.1%), delta-3-carene (20.2%), limonene (17%), beta-pinene (10.4%), alpha-pinene (5.8%), terpinolene, alpha-copaene, alpha-humulene, delta-cadinene, camphene  เป็นต้น และพบสาร alkaloid 5-9% โดยมีอัลคาลอยด์ piperine และ piperettine (ทำให้เกิดกลิ่นฉุนและเผ็ด) เป็นองค์ประกอบหลัก และพบอัลคาลอยด์อื่น ๆ ได้แก่ chavicine, piperyline, piperoleines A, B, C   piperanine 


การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังมดลูก

       Piperine เป็น alkaloid หลักที่พบในพืชจําพวก พริกไทย (black pepper, white pepper), ดีปลี (Piper longum) และพวกพลูต่างๆ เป็นสารที่มีผลต่อการไหลเวียนของโลหิต และระบบการหายใจ การศึกษาผลของ piperine ต่อการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังมดลูก (uterine blood flow) ในสัตว์ทดลองโดยใช้หนูขาว ทั้งในสภาวะปกติที่ไม่ตั้งท้อง และในสภาวะที่ตั้งท้องในระยะเวลาต่างๆ กัน โดยใช้หลักการของการเปลี่ยนแปลงของคลื่นเหนือเสียง (ultrasonic pulse doppler flowmeter) เป็นตัววัดการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังมดลูก ผลจากการวิจัยพบว่าเมื่อให้ piperine เข้าทางเส้นเลือดแดงในขนาดตั้งแต่ 0.5 ถึง 2.0 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวของหนูหนึ่งกิโลกรัม จะทําให้เกิดความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงยังมดลูกเพิ่มขึ้นชั่วขณะตามความดันเลือด การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกนี้จะสัมพันธ์กับขนาดของ piperine ที่สัตว์ทดลองได้รับ และเมื่อให้ยาต่างๆ แก่สัตว์ทดลองพบว่า ยา phentolamine หรือ isoptin สามารถป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงที่เกิดจาก piperine ได้ ส่วนยา propranolol, atropine หรือ reserpine ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์ของ piperine ที่ทําให้เกิดความดันโลหิตสูงน่าจะเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นผ่าน adrenergic receptor และการเพิ่มขึ้นของการขนส่งของแคลเซียม (Ca 2+) เข้าไปยังเซลล์  กลไกการออกฤทธิ์ของ piperine ต่อการขยายตัวของเส้นเลือดที่ไปยังมดลูกอาจเกิดจากฤทธิ์โดยตรงของ piperine ต่อผนังเส้นเลือด เนื่องจาก piperine มีฤทธิ์เพิ่มปริมาณของเลือดที่ไปยังมดลูก ทั้งในหนูที่ไม่ตั้งท้อง และในหนูที่ตั้งท้อง (จงจินตน์, 1987)

ฤทธิ์ระงับปวด

     ศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของพริกไทยดัวยวิธี tail immersion method โดยจุ่มหางหนูถีบจักรลงในน้ำอุณหภูมิ 45±1ºC   แล้วจับเวลาที่หนูสามารถทนต่อความร้อนได้โดยไม่กระดกหางหนี (tail-flick latencies) ผลการศึกษาพบว่า สาร  piperine ที่แยกได้จากผลพริกไทย ขนาด 5 mg/kg และสารสกัดพริกไทยด้วยเอทานอล ขนาด 15 mg/kg สามารถออกฤทธิ์ระงับความเจ็บปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยจะออกฤทธิ์หลังจากให้สารทดสอบแล้ว 120 นาที และสารสกัดพริกไทยด้วยเฮกเซน ขนาด 10 mg/kg จะออกฤทธิ์หลังจากให้สารทดสอบแล้ว 60 นาที  (p<0.05)   การทดสอบวิธี analgesy-meter โดยการเพิ่มแรงกดไปที่เท้าของหนูขาว บันทึกพฤติกรรมที่ทำให้หนูทดลองนำขาออกจากเครื่องมือ ผลการศึกษาพบว่า piperine ขนาด 10 และ 15 mg/kg จะออกฤทธิ์สูงสุดหลังให้สารทดสอบที่เวลา 30 นาที และออกฤทธิ์ต่อจนกระทั่งครบ 60 นาที, สารสกัดเอทานอล และเฮกเซน ขนาด 10 mg/kg จะออกฤทธิ์สูงสุดหลังเวลาผ่านไป 120 นาที   การศึกษาด้วยวิธี hot plate method  โดยจับเวลาที่หนูสามารถทนอยู่บนแผ่นความร้อนโดยไม่กระโดดหนี หรือยกเท้าขึ้นเลีย ผลการศึกษาพบว่า สาร  piperine ในขนาด 5 และ 10 mg/kg และสารสกัดเฮกเซน ออกฤทธิ์ลดปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยออกฤทธิ์ได้สูงสุดหลังเวลาให้สารทดสอบแล้ว 120 นาที    การทดสอบฤทธิ์ระงับปวดโดยเหนี่ยวนำให้หนูถีบจักรเกิดความเจ็บปวดจนเกิดอาการบิดงอลำตัว (writhing) ด้วยกรดอะซิติก พบว่า สาร  piperine ขนาด 10 mg/kg และสารสกัดพริกไทยด้วยเอทานอล ขนาด 15 mg/kg สามารถออกฤทธิ์ต้านอาการเจ็บปวด โดยลดจำนวนครั้งในการเกิด writhing ของหนูได้อย่างมีนัยสำคัญ (Tasleem, et al, 2014)

     ศึกษาฤทธิ์ระงับอาการปวดของสาร piperine ที่เป็นองค์ประกอบหลักในเมล็ดพริกไทยดำ ในหนูถีบจักรเพศผู้ ทดสอบด้วยวิธี writhing test โดยฉีด piperineในขนาด 30, 50 และ 70 mg/ kg เข้าทางช่องท้องของหนู หลังจากนั้น 30 นาที จึงฉีดกรดอะซิติกเพื่อเหนี่ยวนำการปวด บันทึกผลจากการบิดเกร็งของช่องท้องร่วมกับการยืดขาหลังอย่างน้อย 1 ข้าง ซึ่งแสดงถึงอาการปวด ใช้ยา indomethacin ฉีดเข้าช่องท้อง เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าสาร piperine (70 mg/ kg) และ indomethacin (20 mg/kg) สามารถยับยั้งอาการปวดได้ 89% และ 67% ตามลำดับ (p<0.001 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) ฤทธิ์ระงับอาการปวด ด้วยวิธี Tail flick assay ทดสอบโดยฉีดสาร piperine  ในขนาด 30 และ 50 mg/ kg หรือสารมาตรฐานมอร์ฟีน (5 mg/ kg) แก่หนูแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้น 50 นาที จึงนำหางหนูวางบนแผ่นรวมแสง แล้วจับเวลาเพื่อดูการยกหางหนีจากความร้อน ผลการทดสอบพบว่าสาร piperine  ทั้งสองขนาดมีฤทธิ์ในการระงับความเจ็บปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) โดยpiperine ในขนาด 30 mg/kg ออกฤทธิ์ได้ใกล้เคียงกับมอร์ฟีน 5 mg/kg ระยะเวลาที่หนูทนความร้อนได้เมื่อได้รับ piperine (50 mg/kg) และกลุ่มควบคุม เท่ากับ 17.2±0.5 และ 3.7±0.3 วินาที ตามลำดับ เมื่อให้ naloxone ขนาด 5 mg/kg พบว่าฤทธิ์ระงับปวดของ piperine ถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซน (opioid antagonist) แสดงว่ากลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดเกี่ยวข้องกับตัวรับ opioid (Bukhari , et al., 2013)

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

         สาร spathulenol จากเมล็ดพริกไทยดำ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX (ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในขบวนการอักเสบ) ได้ในระดับปานกลาง สามารถยับยั้ง COX-2 receptor ได้ 54 % ที่ความเข้มข้น 454 ไมโครโมลาร์ ในขณะที่สารบริสุทธิ์  piperine ที่แยกได้ ยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินได้  33.4% ที่ความเข้มข้น 37 ไมโครโมลาร์  สาร nonanal และ trans-2-nonenal สามารถลดกระบวนการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบจากการใช้ arachidonic acid เป็นสารเริ่มต้นได้ 50 % ที่ความเข้มข้น 0.25 ไมโครโมลาร์  (Tangyuenyongwatanaand Gritsanapan, 2014)     

       ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพริกไทยโดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้รับ diclofenac sodium เป็นยามาตรฐาน ขนาด 10 mg/kg กลุ่มที่ 2 ได้รับ saline water เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 3 ได้รับสาร piperine ขนาด 5,10 และ 15 mg/kg กลุ่มที่ 4 ได้รับสารสกัดเฮกเซนจากพริกไทยขนาด 5,10 และ 15 mg/kg  กลุ่มที่ 5 ได้รับสารสกัดเอทานอลจากพริกไทย ขนาด 5,10 และ 15 mg/kg หลังจากนั้น จึงกระตุ้นให้เท้าหนูเกิดการบวมโดยฉีด carrageenan ปริมาณ 0.1 mL เข้าที่อุ้งเท้า แล้วเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยขนาดของเท้าหนูที่บวมขึ้น ที่เวลา 30, 60 และ 120  นาที พบว่า สาร piperine ทุกขนาด  มีฤทธิ์ยับยั้งการบวม ขนาดที่ออกฤทธิ์สูงสุดคือ 15 mg/kg ที่เวลา 120 นาที สารสกัดเฮกเซนจากพริกไทย และสารสกัดเอทานอลจากพริกไทย ขนาด 10 mg/kg ออกฤทธิ์สูงสุดที่เวลา 60 นาที เช่นกัน  สารทดสอบทุกชนิดออกฤทธิ์ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม แต่มีฤทธิ์น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน (Tasleem, et al, 2014)

     การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดเอทานอลจากพริกไทย ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหลั่งจาก macrophage ของหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่าสารสกัดเอทานอลของเมล็ดพริกไทย และสารบริสุทธิ์ piperine ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางเคมีหลักในพริกไทย มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง NO โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 10.52±0.68 และ 11.48±1.58  มคก./มล. ตามลำดับ โดยออกฤทธิ์ได้ดีกว่ายามาตรฐาน (ยามาตราฐาน Indomethacin IC50 เท่ากับ 20.32±3.28 มคก./มล.) (อินทัช และคณะ, 2557)

ฤทธิ์ระงับอาการชัก

      ทดสอบโดยการฉีดสาร piperine ที่เป็นส่วนประกอบหลักของพริกไทยดำในขนาด 30, 50 และ 70 mg/ kg เข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักรเพศผู้ หลังจากนั้น 30 นาที จึงฉีด pentylenetetrazole (PTZ) ในขนาด 70 mg/kgเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการชัก ผลการศึกษาพบว่าสาร piperine ขนาด 50 และ 70 mg/ kg ทำให้ระยะเวลาก่อนเริ่มเกิดการชักหลังได้รับสารกระตุ้น (onset) ยาวนานขึ้น   และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) โดยออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน carbamazepine ขนาด 30 mg/kg และเมื่อใช้สารกระตุ้นการชักเป็น picrotoxin (15 mg/ kg, ip) พบว่าการให้ piperineขนาด 70 mg/kg และกลุ่มควบคุม ทำให้ onset ยาวนานมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เท่ากับ  878.5±3.2 และ 358.4±14.4 วินาที ตามลำดับ (p<0.001 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม)  โดยสรุปสาร piperine ที่เป็นส่วนประกอบหลักในพริกไทยดำมีฤทธิ์ต้านอาการชักได้ โดยออกฤทธิ์ผ่าน GABA-ergic pathways จึงมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในทางคลินิกในการรักษาอาการชักได้ (Bukhari , et al., 2013)

ผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้

     การศึกษาผลของ piperine ซึ่งเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ได้จากพริกไทยดำ และพืชชนิดอื่นที่ใกล้เคียง ต่อกระบวนการเรียนรู้ และความจำในหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์ ICR โดยใช้เมอร์ริสวอเทอร์เมซ (Morris water maze) ซึ่งเป็นเครื่องมือเชิงพฤติกรรมที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ และความจำในหนูทดลอง จากผลการทดสอบพบว่าการให้ piperine ทางช่องท้องหนูขาวเล็กในขนาด 5, 10 และ 20 mg/kg ต่อวันนาน 2 สัปดาห์ สารทดสอบทุกขนาดสามารถลด escape latency (ระยะเวลาที่หนูสามารถว่ายน้ำออกจากอุปกรณ์เพื่อมาเกาะที่ platform) ของหนูขาวเล็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมได้เท่ากับ 11.00±1.05, 10.00±0.43, และ 4.00±0.23 วินาที  (p<0.05) ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 32.00±4.49 วินาที และยังสามารถเพิ่ม retention time (ระยะเวลาที่หนูว่ายน้ำอยู่ในบริเวณที่เคยมี platform) ของหนูขาวเล็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 32.00±0.73, 31.00±0.62 และ 32.00±1.28 วินาที ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 19.00±0.54 วินาที นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มระดับของตัวรับนิโคตินิกอะเซติลโคลีนในสมองของหนูขาวเล็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  โดยมีค่าเท่ากับ 28.09±13.73, 19.55±2.60 และ 18.20±2.13 เฟมโตโมล/มิลลิกรัม ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 15.97±3.04 เฟมโตโมล/มิลลิกรัม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า piperine ที่เป็นส่วนประกอบที่ได้จากพริกไทยดำ และพืชชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน มีผลในการเพิ่มการเรียนรู้ และความจำในหนูขาวเล็ก และอาจมีความเกี่ยวเนื่องกับระดับตัวรับนิโคตินิกอะเซติลโคลีนที่เพิ่มขึ้นในสมองของหนูขาวเล็ก ซึ่งอาจพัฒนาให้เป็นยาเพิ่มการเรียนรู้ และความจำที่ใช้รักษาในคนต่อไปได้ (Chaiwiang, et al., 2016)


การศึกษาทางคลินิก:
รักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด

      การศึกษาทางคลินิคของยาสมุนไพรซึ่งมีขมิ้น และพริกไทยเป็นส่วนประกอบ ในผู้ป่วยโรคพยาธิตัวจี๊ดจำนวน 23 ราย พบว่าเมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาในขนาด 250 มก. วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 30 วัน และติดตามผลต่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยหายจากโรค 86.95 % ปริมาณ eosinophyll (คือเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาเมื่อมีการอักเสบ การแพ้ หรือติดเชื้อ เป็นต้น) ลดลงใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับยาสมุนไพร และกลับเป็นปกติในเวลา 4 เดือน พบฤทธิ์ข้างเคียงน้อยมาก (ชวนชื่น และอินทิรา, 1994)


การศึกษาทางพิษวิทยา:
     ควรระวังการใช้พริกไทยในขนาดสูง เพราะมีรายงานความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เมื่อให้ในขนาดสูงและติดต่อกันหลายวัน
     พิษเฉียบพลัน สารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำ เมื่อให้ทางปากในหนูถีบจักร มีค่า LD50 เท่ากับ 12.66 และ 424.38 ก./กก. นน.ตัว (คำนวณจาก นน.ผงยา) ตามลำดับ
     พิษกึ่งเรื้อรัง พริกไทยและพิเพอรีน เมื่อป้อนให้หนูขนาด 5-20 เท่า ของขนาดที่ให้ในคน พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต น้ำหนักอวัยวะ และเคมีของเลือด

     การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังของสารสกัดน้ำจากผลแห้งของพริกไทย พบว่าการป้อนสารสกัดครั้งเดียวขนาด 5,000 มก./กก. ไม่ก่อให้เกิดอาการแสดงความเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การตาย และความแตกต่างของลักษณะทางจุลกายวิภาคของอวัยวะภายใน ผลการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังโดยการป้อนสารสกัดแก่หนูขาวทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทุกวันในขนาด 300, 600 และ 1,200 มก./กก. เป็นเวลา 90 วัน ไม่พบความผิดปกติทางอาการ พฤติกรรม และสุขภาพของหนูขาวกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการชั่งน้ำหนักตัวสุดท้าย การผ่าพิสูจน์ซากสัตว์ทดลอง การชั่งน้ำหนักอวัยวะ การตรวจค่าโลหิตวิทยา ค่าเคมีคลินิกของเลือด และการตรวจจุลกายวิภาคของหนูกลุ่มทดสอบ และกลุ่มควบคุม ในวันที่ 90  และกลุ่มติดตามผล (satellite) ในวันที่ 118 พบว่าปกติ ดังนั้นการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากผลแห้งของพริกไทย ไม่ก่อพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังในหนูขาวในขนาดที่ใช้ทดสอบ (สีหรัฐ และคณะ, 2550)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. จงจินตน์  รัตนาภินันท์ชัย. ผลของ piperine ต่อการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังมดลูก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2530.

2. ชวนชื่น ไพรีพ่ายฤทธิ์, อินทิรา เอกศักดิ์. การรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ดด้วยยาผงสมุนไพร. วารสารสมุนไพร. 1994;1(1):27-33.

3. สีหรัฐ จุลรัฐธนาภรณ์,นิรัชร์ เลิศประเสริฐสุข, อัมรัตน์ ศรีสวัสดิ์, อมรณัฎฐ์ ทับเปีย, อนงค์นาฎ งามจริยาวัตร, ณัฎฐกัญญา สุวรรลิขิต และคณะ. การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน และกึ่งเรื้อรังของสารสกัดน้ำจากผลแห้งของพริกไทยในหนูขาว. วารสารสงขลานครินทร์. 2550;29 (ฉบับพิเศษ 1):109-124.

4. อินทัช ศักดิ์ภักดีเจริญ, สุนิตา มากชูชิต, อรุณพร อิฐรัตน์. การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ของสารสกัดสมุนไพรผสม. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2557;14(1):7-11.

5. Bukhari IA, Alhumayyd MS, Mahesar AL, Gilani AH. The analgesic and anticonvulsant effects of piperine in mice. Journal of Physiology and Pharmacology. 2013;64(6):789-794.
6. Chaiwiang N, Pongpattanawut S, Khorana N, Thanoi S, Teaktong T. Role of Piperine in Cognitive Behavior and the Level of Nicotinic Receptors (nAChRs) in Mouse Brain. Thai J Pharmacol. 2016;38(2):5-16.

7. Tangyuenyongwatana P, Gritsanapan W. Prasaplai: An essential Thai traditional formulation for primary dysmenorrhea treatment. TANG. 2014;4(2):10-1.

8. TasleemF, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7(Suppl 1):S461-S468.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :  www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ พริกไทยดำ

...

Other Related พริกไทยดำ

ข้อมูล พริกไทยดำ จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


บทความนี้เกี่ยวกับพืชและเครื่องเทศ สำหรับวงดนตรีที่ใช้ชื่อนี้ ดูที่ พริกไทย (วงดนตรี) พริกไทย Pepper plant with immature peppercorns การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: fruits ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliids อันดับ: Piperales วงศ์: Piperaceae สกุล: Piper สปีชีส์: P.  nigrum ชื่อทวินาม Piper nigrum L.[ 1] พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli) ลักษณะทางภูมิศาสตร์และการกระจายพันธุ์[ แก้ ] พริกไทยเป็นพืชประจำถิ่นในแถบตอนใต้ของเทือกเขากาตของรัฐเกรละในประเทศอินเดีย นอกจากนั้นยังเป็นพืชเศรษฐกิจในเขตร้อน เช่น ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตหลัก โดยเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ผลิตหลักในประเทศไทย ร้อยละ 95 ของประเทศโดย 2-3 ปีที่ผ่านมา พบโรคระบาดในพริกไทย ระบาดหนักในหน้าฝนทำให้เกษตรกรปรับเปลื่ยนไปเพาะปลูกพืชอื่นที่ให้ผลผลิตดีกว่า โดย อำเภอที่เพาะปลูกมากที่สุดในจันทบุรีคือ อำเภอท่าใหม่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[ แก้ ] ไม้เถา ประเภทไม้เลื้อย อาศัยเกาะยึดติดอยู่กับค้าง โดยใช้รากเล็กๆ ที่เจริญออกมาตามข้อของลำต้นที่เรียกว่า รากตีนตุ๊กแกหรือมือตุ๊กแก เปลือกลำต้นเมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีข้อและปล้องมองเห็นได้ชัดเจน ต้นเพศผู้และต้นเพศเมียจะอยู่ต่างต้นกัน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตามข้อของลำต้นและกิ่งแขนง ลักษณะใบรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ลักษณะคล้ายใบพลู เนื้อใบแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน ท้องใบจะเป็นสีเขียวออกเทา และมีเส้นใบนูน ส่วนหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ดอก จะออกดอกเป็นช่อ เกิดตรงข้ามกับใบในส่วนของกิ่งแขนง ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง เกสรสีขาวแกมเขียว ช่อดอกขณะอ่อนจะมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะมีสีเขียวและปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน ผล ลักษณะรูปทรงกลม เรียงบิดตัวกันอย่างหนาแน่นอยู่กับแกนของช่อ ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนและจะเข้มขึ้นตามอายุของผล ผิวของผลจะมีลักษณะเป็นมันเงาและเปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเหลือง ผลแก่สุกเต็มที่จะมีสีส้มหรือสีแดง เมื่อผลแห้งจะเป็นสีดำ เมล็ด จะมีสีขาวนวล ลักษณะแข็ง รูปร่างค่อนข้างกลม เมล็ดมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสเผ็ด การเก็บเกี่ยว 7-8 เดือนนับจากการออกดอก หรือเมื่อผลแหลืองถึงแดง การใช้ประโยชน์[ แก้ ] พริกไทยดำและพริกไทยขาว ด้านอาหาร ผลและเมล็ดพริกไทยมีรสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงรสได้ทั้งอ่อนและแก่ แกงที่ใช้พริกไทยเป็นองค์ประกอบมีหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด ฉู่ฉี่ แกงกะหรี่ แกงเลียง ทอดมัน ผัด โจ๊ก ข้าวผัด เป็นต้น[ 2] ด้านสรรพคุณทางยาพื้นบ้าน มีการใช้พริกไทยในยาอายุรเวทในแถบเอเชียใต้ ส่วนมากใช้รักษาและบรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ขับพยาธิ แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย ระงับอาการอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์ [ 3] ด้านสรรพคุณทางยาแผนตะวันตก พริกไทยดำมีสารจำพวกอัลคาลอยด์ ชื่อว่า ไพเพอรีน (piperine) มีรายงานว่ามีผลกดประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ลดไข้ ลดอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ และฆ่าแมลงได้ รวมทั้งยังมีการรรายงานว่าสารไปเปอรีนมีส่วนช่วยในการเพิ่มขึ้นของเม็ดสีในผิวหนัง สรรพคุณของพริกไทยดำในการลดความอ้วน พริกไทยดำนั้นได้รับการยอมรับและยืนยันจากทีมวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า พริกไทยดำสามารถที่จะช่วยลดความอ้วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีเยี่ยมด้วยสารประกอบที่ชื่อว่า Piperine (ไพเพอรีน) ซึ่งมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยขจัดและต่อต้านไขมันส่วนเกิน  การขยายพันธุ์[ แก้ ] พริกไทยสามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือปลูกในเรือนกระจกในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการการเพาะเมล็ด หรือการปักชำโดยอาศัยลำต้นส่วนยอดหรือส่วนอื่นๆที่ไม่แก่จนเกินไป อ้างอิง[ แก้ ] ↑ "Piper nigrum information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 2 March 2008 . ↑ อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 110 – 111 ↑ http://www.thai-restaurant.de/thai/thai-kueche_krauter_t.htm แหล่งข้อมูลอื่น[ แก้ ] การศึกษาพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย เก็บถาวร 2008-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://krataiku.com/ เว็ปไซด์ให้ความรู้เกี่ยวกับพริกไทย วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Piper nigrum ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Piper nigrum ที่วิกิสปีชีส์ ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=พริกไทย&oldid=11668492"
.

สมุนไพรอื่นๆ

188

คนทา
คนทา ชื่อเครื่องยาคนทา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคนทา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะลันทา โกทา ขี้ตำตา จี้ สีเตาะ สีฟัน สีฟันคนตาย สีฟันคนทา หนามจี้ ชื่อวิทยาศาสตร์Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ชื่อพ้องAnisifolium pubescens (Wall.) Kuntze, Feroniella puberula Yu.Tanaka, Feroniella pubescens (Wall. ex Hook.f.) Yu.Tanaka, Harrisonia citrinaecarpa Elmer, Lasiolepis multijuga Benn., Lasiolepis paucijuga Benn. & R. Br., Limonia pubesc...

198

ครั่ง
ครั่ง ชื่อเครื่องยาครั่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาครั่งดุ้น ครั่งดิบ, จุ้ยเก้ง (จีน) ได้จากสารที่ขับถ่ายจากแมลงครั่ง (ลักษณะเป็นยางหรือชัน) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์แมลงครั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccifera chinensis Mahdihassan) ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์แมลงครั่ง (ชื่อวงศ์ Lacciferidae) ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เป็นก้อนแข็งสีน้ำตาลแดง มีรูปร่างเป็นปมตะปุ่มตะป่ำต...

2

กระแจะ
กระแจะ ชื่อเครื่องยากระแจะ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพญายา ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระแจะ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พญายา(กลาง ราชบุรี) ขะแจะ (เหนือ) ตุมตัง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะนาว (มอญ)พุดไทร ชะแจะ กระแจะจัน พินิยา ฮางแกง ชื่อวิทยาศาสตร์Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem. ชื่อพ้องNaringi crenulata (Roxb.) Nicolson., Limonia crenulata ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &...

58

ดีปลี
ดีปลี ชื่อเครื่องยาดีปลี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาดีปลี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ ชื่อวิทยาศาสตร์Piper retrofractum Vahl ชื่อพ้องPiper chaba Hunter., P. officinarum ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลแห้งสีน้ำตาลแดง  ผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก  โคนโต  ปลายเล...

41

คำเงาะ
คำเงาะ ชื่อเครื่องยาคำเงาะ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคำเงาะ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คำแสด คำแงะ คำไทย คำยง มะกายหยุม ชาตี จำปู้ หมักซิตี ส้มปู้ ส้มบู๊ คำแฝด ดอกชาด แสด หมากมอง ชื่อวิทยาศาสตร์Bixa orellana L. ชื่อพ้องBixa americana Poir., B. katangensis Delpierre, B. odorata Ruiz & Pav. ex G.Do, B. purpurea Sweet, B. upatensis Ram.Goyena, Orellana americana ชื่อวงศ์Bixaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:   ...

193

ฝิ่นต้น
ฝิ่นต้น ชื่อเครื่องยาฝิ่นต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฝิ่นต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ), มะหุ่งแดง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Jatropha multifida L. ชื่อพ้องAdenoropium multifidum (L.) Pohl, Jatropha janipha Blanco, Manihot multifida ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เปลือกต้นมีผิวด้านนอกของค่อนข้างเรียบ หรือมีรอยขรุขระ...

107

มังคุด
มังคุด ชื่อเครื่องยามังคุด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผลแก่ ยางจากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามังคุด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Garcinia mangostana Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Guttiferae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลกลมแป้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง เปลือกหนาแข็ง เมื่อแก่มีสีม่วงอมน้ำตาล ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แยกเป็น 4-...

34

ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน ชื่อเครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าสด เหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นหัว(เชียงใหม่) ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa L. ชื่อพ้องAmomum curcuma Jacq., Curcuma brog Valeton, Curcuma domestica Valeton, Curcuma ochrorhiza Valeton, Curcuma soloensis Valeton, Curcuma tinctoria Guibourt, Stissera curcuma Giseke, Stissera curcuma ชื่อวง...

57

ดีบัว
ดีบัว ชื่อเครื่องยาดีบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากต้นอ่อนในเมล็ดบัวหลวง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล, โช้ค (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อพ้องNelumbo caspica (Fisch.) Schipcz., Nelumbo komarovii Grossh., Nelumbo speciosa Willd., Nymphaea nelumbo ชื่อวงศ์Nelumbonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดีบัวมีรูป...

ต้องรู้ !! พริกไทยดำ คุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง ห้ามพลาด | black pepper | พี่ปลา Healthy Fish

ต้องรู้ !! พริกไทยดำ คุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง ห้ามพลาด | black pepper | พี่ปลา Healthy Fish

ต้องรู้ !! พริกไทยดำ คุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง ห้ามพลาด | black pepper | พี่ปลา Healthy Fish

View
ป่วยด้วยโรคนี้ !! แค่กินพริกไทย สรรพคุณเพียบ..ไม่เคยมีใครบอก!! | Nava DIY

ป่วยด้วยโรคนี้ !! แค่กินพริกไทย สรรพคุณเพียบ..ไม่เคยมีใครบอก!! | Nava DIY

ป่วยด้วยโรคนี้ !! แค่กินพริกไทย สรรพคุณเพียบ..ไม่เคยมีใครบอก!! | Nava DIY

View
สมุนไพรในครัว ล้างลำไส้ : กินดี อยู่ดีกับหมอพรเทพ (11 ต.ค. 62)

สมุนไพรในครัว ล้างลำไส้ : กินดี อยู่ดีกับหมอพรเทพ (11 ต.ค. 62)

สมุนไพรในครัว ล้างลำไส้ : กินดี อยู่ดีกับหมอพรเทพ (11 ต.ค. 62)

View
สูตรปราศจากโรคภัย อายุยืน - สมุนไพรหญ้าแห้วหมู ดีปลี พริกไทยดำ งาดำ น้ำผึ้ง EP. 01  สมุนไพรอายุยืน

สูตรปราศจากโรคภัย อายุยืน - สมุนไพรหญ้าแห้วหมู ดีปลี พริกไทยดำ งาดำ น้ำผึ้ง EP. 01 สมุนไพรอายุยืน

สูตรปราศจากโรคภัย อายุยืน - สมุนไพรหญ้าแห้วหมู ดีปลี พริกไทยดำ งาดำ น้ำผึ้ง EP. 01 สมุนไพรอายุยืน

View
Nava DIY | สลายไขมัน..!! ด้วยพริกไทยดำ กับ 10 สรรพคุณที่น่าทึ่ง

Nava DIY | สลายไขมัน..!! ด้วยพริกไทยดำ กับ 10 สรรพคุณที่น่าทึ่ง

Nava DIY | สลายไขมัน..!! ด้วยพริกไทยดำ กับ 10 สรรพคุณที่น่าทึ่ง

View
"เกลือ พริกไทยดํา มะนาว" สามารถช่วยแก้ 9 อาการเหล่านี้ได้ดีกว่ายาราคาแพง

"เกลือ พริกไทยดํา มะนาว" สามารถช่วยแก้ 9 อาการเหล่านี้ได้ดีกว่ายาราคาแพง

"เกลือ พริกไทยดํา มะนาว" สามารถช่วยแก้ 9 อาการเหล่านี้ได้ดีกว่ายาราคาแพง

View
อาหารเป็นยา : พริกไทย (26 ก.ย. 59)

อาหารเป็นยา : พริกไทย (26 ก.ย. 59)

อาหารเป็นยา : พริกไทย (26 ก.ย. 59)

View
7 ประโยชน์พริกไทยดำ สรรพคุณดี จนต้องบอกต่อ

7 ประโยชน์พริกไทยดำ สรรพคุณดี จนต้องบอกต่อ

7 ประโยชน์พริกไทยดำ สรรพคุณดี จนต้องบอกต่อ

View
พริกไทยดำ ราชา แห่งสมุนไพร

พริกไทยดำ ราชา แห่งสมุนไพร

พริกไทยดำ ราชา แห่งสมุนไพร

View
"คุณน้ำผึ้ง" บุกเบิกเครื่องดื่มสมุนไพรพริกไทยดำ / ตัวแม่มาแล้ว (3/3) / 20 เม.ย. 2563

"คุณน้ำผึ้ง" บุกเบิกเครื่องดื่มสมุนไพรพริกไทยดำ / ตัวแม่มาแล้ว (3/3) / 20 เม.ย. 2563

"คุณน้ำผึ้ง" บุกเบิกเครื่องดื่มสมุนไพรพริกไทยดำ / ตัวแม่มาแล้ว (3/3) / 20 เม.ย. 2563

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับพริกไทยดำ
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่