Menu

ฝาง

ชื่อเครื่องยา

ฝาง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

แก่น

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ฝาง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Caesalpinia sappan L.

ชื่อพ้อง

Biancaea sappan (L.) Tod.

ชื่อวงศ์

Leguminosae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เนื้อไม้สีเหลืองส้ม แก่นมีสีแดง ถูกอากาศนานเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อแข็งละเอียด แก่นที่มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่าฝางเสน อีกชนิด แก่นสีเหลืองอมส้ม รสฝาดขื่น ขม เรียกว่าฝางส้ม  เครื่องยาฝางมีกลิ่นอ่อน ฝาดเล็กน้อย

 

เครื่องยา ฝางเสน


 

เครื่องยา ฝางส้ม

 

 

เครื่องยา ฝางส้ม

 

 

เครื่องยา ฝางส้ม

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
          ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 3% w/w, ความชื้นไม่เกิน 13% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 2.5% w/w ปริมาณสิ่งสกัดด้วย 50%เอทานอล ไม่น้อยกว่า 5% w/w (เภสัชตำรับเกาหลี)
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด แก่นฝนกับน้ำเป็นยาทาภายนอกในโรคผิวหนังบางชนิด ฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง น้ำต้มแก่นใช้แต่งสีแดงของน้ำยาอุทัย
           ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุว่ายาแก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ ประกอบด้วยเครื่องยาสองสิ่งคือ เปลือกมะขามป้อมและฝางเสน ปริมาณเท่ากัน ต้มน้ำกิน 4 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน กินแก้ท้องเสียอย่างแรงและบิด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.แก้ท้องร่วง ตำรายาไทยใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม ต้มกับน้ำ 500 มิลลิลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ดื่มแก้ท้องร่วง
           2.แก้น้ำกัดเท้า แก่นฝาง 2 ชิ้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้าช่วยฆ่าเชื้อ สมานแผล

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารให้สีชมพูอมส้มถึงแดง (sappan red)คือ brazilin และพบ tannin



ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง            : www.thaiherbarium.com

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ฝาง

...

Other Related ฝาง

ข้อมูล ฝาง จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


บทความนี้เกี่ยวกับพืช สำหรับอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ดูที่ อำเภอฝาง ฝาง ต้นฝางและแก่นไม้ของฝางที่ใช้ทำสมุนไพร สถานะการอนุรักษ์ ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 2.3) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae สกุล: Caesalpinia สปีชีส์: C.  sappan ชื่อทวินาม Caesalpinia sappan L. ฝาง (อังกฤษ: Caesalpinia sappan , ญี่ปุ่น: スオウ ; โรมาจิ: suō, จีน: 苏木 (植物) ) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย[1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฝาง เป็นไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน ไม่มีปมราก รากสีดำ เปลือกเป็นสัน สีน้ำตาลแกมเทา ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-8 เมตร และมีหนามโค้งโดยรอบ ใบเป็นรูปแบบใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น (เรียงสลับ) โดยมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ดอกออกตามซอกใบในลักษณะของดอกช่อตอนปลายของกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง และมีเส้นสีแดงอยู่ภายในปลาย ผลเป็นฝักแบนฝักเป็นจงอยโค้งงอ ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงสีน้ำตาลเป็นฝักแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน 2–4 เมล็ด [2] การใช้ประโยชน์

เนื้อไม้ฝางเป็นแหล่งผลิตสารสีแดงที่สำคัญ ใช้ย้อมผ้าและสิ่งทอ ในอินโดนีเซียใช้ปรุงแต่งสีเครื่องดื่มให้เป็นสีชมพู ผลมีแทนนิน เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ต้มใช้เป็นยารักษาวัณโรค ท้องเสีย เป็นยาฝาดสมาน เมล็ดเป็นยาระบาย ในฟิลิปปินส์ใช้เป็นเชื้อเพลิง และใช้ทำเครื่องใช้ต่าง ๆ แก่นไม้ฝางให้สารสีแดงจำพวกแซบพานีน และบราซิลีน [en] ผลมีแทนนิน 40% เหมาะกับการใช้ฟอกหนัง การสกัดสีจะนำเนื้อไม้มาบดแล้วต้มนาน ๆ สีจะเข้มขึ้น[3] กิ่งและแก่น ใช้ดื่มบำรุงโลหิต แก้ร้อนใน ท้องร่วง[4] ประโยชน์ทางการแพทย์

ในประเทศฮังการีมีการนำสาร Brazilin ไปใช้ในการรักษาโรคหัวใจกบซึ่งถูกสารพิษ ปรากฏว่าได้ผลที่น่าพึงพอใจ และยังพบว่าสารนี้ไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย แม้จะดื่มเข้าไปในปริมาณมาก แต่ไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกายแต่อย่างใด[1] แก่นฝางเมื่อนำมาทำเป็นยาสมุนไพรแล้ว จะมีฤทธิ์บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน บรรเทาอาการท้องร่วง ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บรรเทาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและทางปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี เช่น ในลำไส้และกระเพาะอาหาร เลือดกำเดาในจมูก เป็นต้น[1][5] อ้างอิง

↑ 1.0 1.1 1.2 บทความเรื่องสมุนไพรไม้เป็นยา : ฝาง สมุนไพรเย็น มากคุณค่าจากเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557 ↑ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของฝางจากเว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิริรุกขชาติโดยมหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2020-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 ↑ พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3: พืชให้สีย้อมและแทนนิน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 71 – 72 ↑ รุ่งรัตน์ เอียดแก้ว วุฒิพล หัวเมืองแก้ว อภิชาต ภัทรธรรม. 2555. การใช้ประโยชน์จากของป่าของราษฎรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 992 – 1001 ↑ สรรพคุณของฝางจากเว็บไซต์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สืบค้นวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 แหล่งข้อมูลอื่น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฝาง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Caesalpinia sappan ที่วิกิสปีชีส์ การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธานBiancaea sappan Wikidata: Q56088062 Wikispecies: Biancaea sappan GBIF: 2958871 IPNI: 481889-1 IRMNG: 10180629 IUCN: 34641 NCBI: 483143 Plant List: ild-39345 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:481889-1 Tropicos: 13045263 Caesalpinia sappan Wikidata: Q2717993 APDB: 63908 EoL: 703682 EPPO: CAESA FoC: 200011982 GBIF: 2958870 GRIN: 8309 iNaturalist: 190054 IPNI: 482900-1 IRMNG: 10713978 ITIS: 506349 PfaF: sappan Caesalpinia sappan Plant List: ild-956 PLANTS: CASA28 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:482900-1 Tropicos: 13027649 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ฝาง&oldid=10436974"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ ฝาง

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

650

พิษต่อเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรในตำรับยาดองเหล้าเพื่อสมรรถภาพทางเพศ
พิษต่อเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรในตำรับยาดองเหล้าเพื่อสมรรถภาพทางเพศสมุนไพรที่มีความถี่สูงสุดที่ใช้ในตำรับยาดองเหล้าเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 4 ชนิด ได้แก่ ม้ากระทืบโรง กำลังวัวเถลิง โด่ไม่รู้ล้ม และฝาง เมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3) พบว่าสารสกัด 50% และ 95% เอทานอลของกำลังวัวเถลิง โด่ไม่รู้ล้ม ฝาง และสมุนไพรผสมทั้ง 4 ชนิด มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า 80% ส่วนฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในเซลล์แมคโคฟาจ (RAW) โดยดูจากการยับยั้งการหลั่งไนตริกออ...

1308

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของฝาง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของฝางสารสกัด hydro-alcoholic จากแก่นฝาง (Caesalpinia sappan L.) ขนาด 250 และ 500 มก./กก.น้ำหนักตัว สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทจากการเหนี่ยวนำด้วยการป้อนเอทานอล หรือป้อนด้วยยา indomethacin และวิธีผูกช่วงต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก (pylorus ligation) โดยอาศัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการหลั่งเยื่อเมือกจากผนังเซลล์กระเพาะอาหาร ยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนทีเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ prostaglandin E2, cyclooxygenase-1, cyclooxygen...

237

ผลของ
ผลของ Brazilin จากฝางในการยับยั้งการสร้าง fructose 2,6-biphosplate Fructose-2,6-biphosphate (F-2,6-BP) เป็นสาร intermediate ซึ่งสำคัญในการส่งออก glucose จากตับ โดยเป็นตัวควบคุมการสร้าง glucose และ glycolysis ในตับ ซึ่งถ้ามีการส่งออก glucose จากตับมาก ทำให้เกิดภาวะในน้ำตาลในเลือดสูง การศึกษาครั้งนี้พบว่า brazilin เพิ่มการผลิต F-2,6-BP ในตับ และเพิ่มปริมาณ fructose-6-phosphate (F-6-P) และ hexose-6-phosphate (H-6-P) ระหว่างเซลล์ แต่ไม่มีผลต่อ glucose-6-phosphatase จึงช่วยลดน้ำตาลในเลือด (J E...

818

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาที่ทำจากสมุนไพรไทย 15 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง มะขามแขก หม่อน คำฝอย ดายขัด ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ย่านาง ชะเอมเทศ มะรุม หญ้าหวาน ฝาง และแป๊ะตำปึง เปรียบเทียบกับชา (Camellia sinensis ) 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง พบว่าชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาสมุนไพร เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP assays ยกเว้นชาหญ้าหวานซึ่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าชาดำและชาอ...

787

แก่นฝางช่วยรักษาข้ออักเสบ
แก่นฝางช่วยรักษาข้ออักเสบการทดลองป้อนสารสกัดเอทานอลจากแก่นฝางขนาด 1.2, 2.4 และ 3.6 ก/กก.น้ำหนักตัว หรือน้ำมันมะกอก 10 มล. (vehicle control)เป็นเวลา 10 วันติดต่อกัน ให้หนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการข้ออักเสบด้วยการฉีด collagen-II พบว่าอาการของโรคข้ออักเสบลดลงในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากแก่นฝาง โดยลดค่าดัชนีการอักเสบของข้อ (arthritis index)อาการบวม และลดสารก่อการอักเสบ ได้แก่ interleukin-1-β (IL-1β), IL-6, tumor necrosis factor-αและ prostaglandin E2 ในเลือดลง รวมทั้งลดการหลั่งcycloox...

สมุนไพรอื่นๆ

46

งิ้ว
งิ้ว ชื่อเครื่องยางิ้ว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้ เปลือกไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางิ้ว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)นุ่นป่า งิ้วป่าดอกขาว งิ้วดอกขาว ไกร งิ้วผา (เหนือ) ง้าวป่า (กลาง) งิ้วขาว ชื่อวิทยาศาสตร์Bombax anceps Pierre. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Bombacaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีดำ มีหนามตามแข็งขนาดใหญ่ ตามลำต้นและกิ่งก้าน เนื้อไม้ภายในมีสีเนื้ออ่อนเปรา...

51

ชะลูด
ชะลูด ชื่อเครื่องยาชะลูด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะลูด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูด(ปัตตานี) ชะนูด(สุราษฎร์ธานี) นูด(ภาคใต้), ขี้ตุ่น, ช้างตุ่น, ต้นธูป(อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Alyxia reinwardtii Blume var. lucida Markgr. ชื่อพ้องAlyxia nitens Kerr. หรืออาจได้จาก Alyxia schlechteri ชื่อวงศ์Apocynaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เป็นไม้เถา เนื้อแข็...

166

สารส้ม
สารส้ม ชื่อเครื่องยาสารส้ม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหินส้ม ได้จากธาตุวัตถุ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์ ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลึกก้อนใส หรือสีขาว มัวเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก หากสะตุแล้ว จะเป็นผงสีขาว (วิธีสะตุ นำสารส้มมาบดให้ละเอียด นำมาใส่หม้อดิน เอาตั้งไฟจนสารส้มละลายฟู ขาวดี จึงยกลงจากไฟ นำไปปรุงยาได้) &nbs...

96

ไพล
ไพล ชื่อเครื่องยาไพล ชื่ออื่นๆของเครื่องยาไพลเหลือง ได้จากเหง้าสดแก่จัด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาไพล ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ปูลอย ปูเลย(ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ(ภาคกลาง) ว่านปอบ(ภาคอีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber cassumunar Roxb. ชื่อพ้องAmomum cassumunar (Roxb.) Donn, Amomum montanum J.Koenig, Amomum xanthorhiza Roxb. ex Steud., Cassumunar roxburghii Colla, Jaegera montana (J.Koenig) Giseke, Zingiber anthorrhiza Horan., Zingiber cli...

62

ตูมกา
ตูมกา ชื่อเครื่องยาตูมกา ชื่ออื่นๆของเครื่องยาโกฐกะกลิ้ง ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาแสลงใจ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตูมกาขาว ขี้กา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (เหนือ) แสงเบื่อ แสลงเบื่อ แสลงโทน แสลงทม ตูมกาต้น ตึ่ง ตึ่งต้น เม็ดกะจี้ กระดุมสุนัข ถั่วพิษ กระดุมผู้สั่น ชื่อวิทยาศาสตร์Strychnos nux-blanda A.W. Hill ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Strychnaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:         &...

127

ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน ชื่อเครื่องยาส้มเขียวหวาน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มเขียวหวาน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะขุน มะเขียว มะแง มะจุก มะบาง ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มแก้วโบราณ ส้มขี้ม้า ส้มจีนเปลือกล่อน ส้มจันทบูร ส้มจุก ส้มเชียงตุง ส้มตรังกานู ส้มแป้นกระดาน ส้มแป้นเกลี้ยง ส้มแป้นขี้ม้า ส้มแป้นหัวจุก ส้มแสงทอง ส้มเหม็น ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus reticulata Blanco ชื่อพ้องC. chrysocarpa Lushington. , C. crenatifolia Lushington. , C....

94

เพกา
เพกา ชื่อเครื่องยาเพกา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพกา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลิ้นฟ้า(เลย) ลิ้นก้าง ลิ้นช้าง(ไทยใหญ่) เพกา (ภาคกลาง) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน ภาคเหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ด๊อกก๊ะ ดอก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเลย์ นราธิวาส) ชื่อวิทยาศาสตร์Oroxylum indicum (L.) Kurz ชื่อพ้องArthrophyllum ceylanicum Miq. Arthrophyllum reticulatum Blume ex Miq. Bi...

157

พิษนาศน์
พิษนาศน์ ชื่อเครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องSophora violacea var. pilosa ชื่อวงศ์Fabaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้น...

132

สมอไทย
สมอไทย ชื่อเครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสมอ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กกส้มมอ สมอ มาแน่ สมออัพยา หมากแน่ะ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia chebula Retz. ชื่อพ้องT. acuta Walp., T. gangetica Roxb., T. parviflora Thwaites, T. reticulata Roth, T. zeylanica Van Heurck & Müll. Arg., Buceras chebula (Retz.) Lyons, Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn., M. gangetica ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา &...

สรรพคุณของต้นฝางวิธีต้มฝางดื่ม

สรรพคุณของต้นฝางวิธีต้มฝางดื่ม

สรรพคุณของต้นฝางวิธีต้มฝางดื่ม

View
ฝาง : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ฝาง : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ฝาง : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
​ต้นฝางแดงหรือฝาง​เสน​ สุดยอดสมุน​ไพร​บำรุง​เลือด​

​ต้นฝางแดงหรือฝาง​เสน​ สุดยอดสมุน​ไพร​บำรุง​เลือด​

​ต้นฝางแดงหรือฝาง​เสน​ สุดยอดสมุน​ไพร​บำรุง​เลือด​

View
ฝาง น้ำต้มแก่นฝางดื่มเพื่อสุขภาพบำรุงเลือด วัตถุดิบทำน้ำยาอุทัยทิพย์ สมุนไพรไทยสรรพคุณแก้ร้อนใน

ฝาง น้ำต้มแก่นฝางดื่มเพื่อสุขภาพบำรุงเลือด วัตถุดิบทำน้ำยาอุทัยทิพย์ สมุนไพรไทยสรรพคุณแก้ร้อนใน

ฝาง น้ำต้มแก่นฝางดื่มเพื่อสุขภาพบำรุงเลือด วัตถุดิบทำน้ำยาอุทัยทิพย์ สมุนไพรไทยสรรพคุณแก้ร้อนใน

View
EP1#สมุนไพรมีดี น้ำฝางมะนาว เสริมภูมิต้านทาน "ช่วงวิกฤติ Covid-19"

EP1#สมุนไพรมีดี น้ำฝางมะนาว เสริมภูมิต้านทาน "ช่วงวิกฤติ Covid-19"

EP1#สมุนไพรมีดี น้ำฝางมะนาว เสริมภูมิต้านทาน "ช่วงวิกฤติ Covid-19"

View
อาหารเป็นยา : น้ำฝาง (6 ธ.ค. 59)

อาหารเป็นยา : น้ำฝาง (6 ธ.ค. 59)

อาหารเป็นยา : น้ำฝาง (6 ธ.ค. 59)

View
#Healthy drink อายุยืน น้ำฝางใบเตย บำรุงเลือด ล้างไต รักษาโรคกระเพาะ | KruMam Review

#Healthy drink อายุยืน น้ำฝางใบเตย บำรุงเลือด ล้างไต รักษาโรคกระเพาะ | KruMam Review

#Healthy drink อายุยืน น้ำฝางใบเตย บำรุงเลือด ล้างไต รักษาโรคกระเพาะ | KruMam Review

View
ดื่มน้ำสมุนไพร “ฝาง” 7 วัน เกิดอะไรขึ้นบ้าง? I Review เวอร์

ดื่มน้ำสมุนไพร “ฝาง” 7 วัน เกิดอะไรขึ้นบ้าง? I Review เวอร์

ดื่มน้ำสมุนไพร “ฝาง” 7 วัน เกิดอะไรขึ้นบ้าง? I Review เวอร์

View
สรรพคุณของฝางแดง

สรรพคุณของฝางแดง

สรรพคุณของฝางแดง

View
EP.009 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ฝางเสน บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้เส้นเลือดอุดตัน

EP.009 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ฝางเสน บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้เส้นเลือดอุดตัน

EP.009 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ฝางเสน บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้เส้นเลือดอุดตัน

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับฝาง
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่