-
-
พิษวิทยาของโป๊ยกั๊กการรับประทานโป๊ยกั๊กมากๆ มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและความดันหรือไม่จากคุณ ...
ดูถามตอบปัญหา
ข้อมูลสมุนไพร โป๊ยกั๊ก รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ โป๊ยกั๊ก, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ โป๊ยกั๊ก, สรรพคุณทางยาของ โป๊ยกั๊ก และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | โป๊ยกั๊ก |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | จันทร์แปดกลีบ (Chinese star anise) |
ได้จาก | ผลแก่ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | โป๊ยกั๊ก |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Illicium verum Hook. f. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Illiciaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผลเป็นกลีบโดยรอบ ทำให้มองเห็นเป็นรูปดาว มี 5-13 พู แต่ที่พบมากมักเป็น 8 พู ผลแห้งมีกลีบหนาแข็ง สีน้ำตาลเข้ม กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 1-2 เซนติเมตร หนา 0.6-1 เซนติเมตร ผิวนอกไม่เรียบ สีน้ำตาลแดง ผิวด้านในเรียบ สีน้ำตาลอ่อน มันเงา ก้านผลโค้ง ยาว 3-4 เซนติเมตร ติดที่ฐานผลตรงกลาง แต่มักหลุดไป เมล็ดรูปไข่แบน สีน้ำตาล เรียบ และเป็นเงา แต่ละพูมีเมล็ด 1 เมล็ด ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ผลมีกลิ่นหอม รสชาติเผ็ดร้อน และหวาน
เครื่องยา โป๊ยกั๊ก
เครื่องยา โป๊ยกั๊ก
เครื่องยา โป๊ยกั๊ก
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 4% w/w, ปริมาณสิ่งสกัดด้วย 50%เอทานอล ไม่น้อยกว่า 15% w/w, ปริมาณน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่า 0.4 มิลลิลิตร (ใช้เครื่องยา 10 กรัม) (เภสัชตำรับเกาหลี)
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย ผลใช้ขับลม เป็นยากระตุ้น ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย แก้ลมกองหยาบ แก้ไอ แก้เกร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้ปวดท้อง ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำนม เพิ่มการไหลเวียนโลหิต น้ำมันหอมระเหยใช้ผสมในยาผงสำหรับแก้หืด และยาสำหรับสัตว์ ใช้ผสมกับชะเอมแก้ไอ ฆ่าเชื้อโรค โดยใช้ประมาณ 1-4 หยด
ทางสุคนธบำบัด ใช้แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน บรรเทาอาการปวดข้อรูมาทอยด์ โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบ ผล ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยาสีฟัน ยาบ้วนปาก ลูกอม เครื่องดื่ม แต่งกลิ่นยา เป็นเครื่องเทศ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 5 ประกอบด้วย trans-anethole เป็นองค์ประกอบหลักร้อยละ 80-90 สารอื่นๆ ได้แก่ 1, 4 cineol, beta-bisabalone, farnescene, caryophyllene, cadinene, phellandrene, safrole, linalool, alpha-pinene
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ขับลม ขับเสมหะ มีรายงานว่า anethole ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักมีคุณสมบัติฆ่าแมลง และมีฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
1. การใช้น้ำมันหอมระเหย ถ้าใช้มากกว่า 4% อาจทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง มีรายงานว่า anethole ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของน้ำมันโป๊ยกั๊กทำให้เกิดผิวหนังอักเสบได้
2. สาร anethole และ safrole เป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นพิษต่อตับ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
โป๊ยกั้ก ผลรูปดาว (Illicium verum) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms อันดับ: Austrobaileyales วงศ์: Schisandraceae สกุล: Illicium สปีชีส์: I. verum ชื่อทวินาม Illicium verum
Hook.f. ชื่อพ้อง[1] Illicium san-ki Perr.
โป๊ยกั้ก (八角, จีนแต้จิ๋ว: boih4 gag4, /poiʔ.kak/ ) หรือ จันทน์แปดกลีบ[2] (star anise, star aniseed, badiane หรือ Chinese star anise) เป็นเครื่องเทศที่มีผลเป็นรูปดาว เป็นต้นไม้ขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารจีน ในอาหารอินเดีย อย่างในการัมมาซารา (Garam Masala) และในอาหารมลายู-อินโดนีเซีย โป๊ยกั้กเป็นส่วนผสมของผงห้าเครื่องเทศในการปรุงอาหารจีนแบบดั้งเดิม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
โป๊ยกั้กเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 18 เมตร ใบรูปใบหอกกลับถึงรูปรีแคบ โคนสอบ ปลายใบแคบเป็นแถบยาว ปลายสุดเว้าหรือแหลม ไม่ผลัดใบ ดอกเดี่ยวสีเหลือง บางครั้งแต้มสีชมพูถึงแดง ดอกรูปทรงกลมแกมรูปถ้วย กลีบดอก 10 กลีบ รูปรีกว้าง ขอบกลีบมีขน และเป็นกระพุ้ง ก้านดอกยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ผลเป็นรูปดาว มี 5–13 พู เมล็ดรูปไข่ แต่ละพูมี 1 เมล็ด อ้างอิง
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
โป๊ยกั้ก ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 3 September 2015 . ↑ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549 บรรณานุกรม
ITIS 505892 FDA Advisory on star anise "teas" ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest
บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=โป๊ยกั้ก&oldid=10782504"
.
ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร anethole จากโป๊ยกั๊กในภาวะเกิดการบาดเจ็บของปอดเฉียบพลันศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร anethole จากโป๊ยกั๊ก (Illicium verum ) โดยทำการทดลองในหนูเม้าส์ เพศผู้สายพันธุ์ BALB/C 8 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 - 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ โดยไม่มีการให้สารใดๆ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ฉีดสาร anethole ขนาด 250 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง กลุ่มที่ 3 - 7 ฉีดน้ำเกลือ และสาร anethole เข้าทางช่องท้อง ขนาด 62.5, 125, 250, และ 500 มก./กก. ตามลำดับ กลุ่มที่ 8 ฉีดยาแก้อักเสบ dexat...
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของโป๊ยกั๊ก
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของโป๊ยกั๊กศึกษาผลต้านมะเร็งของสารสกัด 50% เอทานอลจากโป๊ยกั๊กในหนูขาว โดยแบ่งหนูเป็น4 กลุ่ม หนูทุกตัวจะถูกเหนี่ยวนำให้เป็นมะเร็งที่ตับด้วยการฉีด N -nitrosodiethylamine ขนาด 200 มก./กก. เข้าทางช่องท้องหนูในสัปดาห์ที่ 4 และให้ Phenobarbital ขนาด 0.05% ในน้ำดื่ม ช่วง 6-20 สัปดาห์ของการทดลอง กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 จะป้อนสารสกัด ขนาด 10 มก./กก. ในช่วงสัปดาห์ที่ 0-20, 0-4 และ 6-20 ของการทดลองตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับสารสกัด พบว่าน้ำหนักตับของหนูในกลุ่มที่ได้รับสารส...
มะขามแขก
มะขามแขก ชื่อเครื่องยามะขามแขก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ฝัก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะขามแขก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia acutifolia Del. (Cassia senna L. Senna alexandrina P. Miller) C. angustifolia Vahl. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Caesalpiniaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ใบแห้งของมะขามแขกชนิด C. angustifolia มีสีเขียวอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวง...
จันทน์แดง
จันทน์แดง ชื่อเครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาลักจั่น จันทน์ผา แก่นจันทน์แดง ได้จากแก่นที่มีราลงจนเป็นสีแดง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลักกะจันทน์ ลักจั่น(กลาง) จันทน์ผา ชื่อวิทยาศาสตร์Dracaena loureiroi Gagnep. ชื่อพ้องAletris cochinchinensis Lour., Dracaena saposchnikowii Regel., Draco saposchnikowii (Regel) Kuntze., Pleomele cochinchinensis Merr. ex Gagnep., Dracaena cochinchinensis ชื่อวงศ์Dracaenaceae ...
ข่อย
ข่อย ชื่อเครื่องยาข่อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กักไม้ฝอย ส้มพอ ส้มพล ส้มฝ่อ ซะโยเส่ สะนาย ตองขะแหน่ ขรอย ขันตา ชื่อวิทยาศาสตร์Streblus asper Lour. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เปลือกสีเทาอมเขียว เปลือกในสีขาวหนา ผิวเรียบบาง มักมีขนอยู่โดยทั่วไป มียางขาวข้น เปลือกต้น กระพี้ มีรสเมาฝาดขม เยื่อหุ้มก...
กำแพงเก้าชั้น
กำแพงเก้าชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตากวง ตากวาง ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตากวง(นครพนม) ตากวาง กระดอเย็น(เกาะช้าง) ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia verrucosa Wight. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Celastraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถา หรือไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล ผิวสีน้ำตาลมีกระด่างขาว เนื้อไม้สีชมพู มีวงปี...
บัวเผื่อน
บัวเผื่อน ชื่อเครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัวแบ้ ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea stellata Willd. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมต...
สวาด
สวาด ชื่อเครื่องยาสวาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสวาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ป่าขี้แฮด หวาด ชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ชื่อพ้องBonduc minus Medik., Caesalpinia bonducella (L.) Fleming, Caesalpinia crista Thunb., Caesalpinia cristata Prowazek, Caesalpinia grisebachiana Kuntze., Caesalpinia sogerensis Baker f., Guilandina bonduc Griseb., Guilandina bonducella L., Guilandina gemina ชื่อวงศ์Caesalpiniaceae ...
ส้มโอ
ส้มโอ ชื่อเครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกรัยตะลอง มะขุน มะโอ ส้มมะโอ ลีมาบาลี สังอู ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus grandis (L.) Osbeck ชื่อพ้องC.maxima (Burm.f.) Merr., Citrus aurantium L. var. grandis L., C. pamplemos Risso., Aurantium maxima ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่า...
ทับทิม
ทับทิม ชื่อเครื่องยาทับทิม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาทับทิม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะเก๊า มะก่องแก้ว หมากจัง (เหนือ) พิลาขาว (น่าน) พิลา (หนองคาย) ชื่อวิทยาศาสตร์Punica granatum L. ชื่อพ้องPunica nana ชื่อวงศ์Lythraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายแหลม ยาว 2-9 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนที่ค่อนไปทาง...
มะนาว
มะนาว ชื่อเครื่องยามะนาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะนาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มมะนาว(ภาคกลาง) ส้มนาว(ภาคใต้) โกรยซะม้า(เขมร-สุรินทร์) หมากฟ้า(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle ชื่อพ้องCitrus × acida Pers., C. × davaoensis (Wester) Yu.Tanaka, C. depressa var. voangasay Bory, C. × excelsa Wester, C. hystrix subsp. acida Engl., C. × javanica Blume, C. × lima Macfad., C. × limettioides Yu....
ประโยชน์ของโป๊ยกั๊ก หรือ จันทร์แปดกลีบ | Chinese Star Anise | กินผักเป็นยา
Viewโป๊ยกั๊ก สรรพคุณดีๆที่อยากบอกต่อ กลับไปอยู่ของสมุนไพร เครื่องเทศไทย ช่วยบำรุงร่างกายและดูแลสุขภาพ
Viewประโยชน์ของโป๊ยกั๊ก (1/2) 2 ก.ย. 64 ครัวคุณต๋อย
Viewสมุนไพรจันทร์แปดกลีบช่วยทำลายเชื้อโรค,สมุนไพรจันทร์แฉกช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
Viewเริ่มรับประทานกานพลู 2 กลีบต่อวัน ดูสิว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณ
View#ลดริ้วรอย#ล้างหน้า#หน้าเนียน#Remove Deep Facial wrinkles#Herbs for Health family
View