Menu

บุนนาค

ชื่อเครื่องยา

บุนนาค

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ดอก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

บุนนาค

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

สารภีดอย (เชียงใหม่) นากบุต (ใต้) ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน) ปะนาคอ (ปัตตานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mesua ferrea L.

ชื่อพ้อง

Mesua nagassarium (Burm. f.) Kosterm.

ชื่อวงศ์

Calophyllaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
          ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 5-10 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ ซ้อนกัน รูปไข่กลับกว้าง ปลายบานและเว้า โคนสอบ เกสรตัวผู้มากกว่า 50 อัน สีเหลืองส้ม เป็นฝอย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปช้อน งอเป็นกระพุ้ง แยกเป็น 2 วง ลักษณะกลม กลีบเลี้ยงแข็งและหนา ดอกแห้ง สีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอมเฉพาะ ขนาดความยาว 1-2 เซนติเมตร เส้นรอบวง 1-6 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมเย็น รสขมฝาดเล็กน้อย

 

เครื่องยา บุนนาค

 

เครื่องยา บุนนาค

 

 

เครื่องยา บุนนาค

 

เครื่องยา บุนนาค

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
          ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 5% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.5% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล(80%) ไม่น้อยกว่า 4.5% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 2.5% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ดอก มีกลิ่นหอมเย็น รสขมเล็กน้อย เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ และขับลม แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น ชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น แก้ร้อนในกระสับกระส่าย รักษาอาการร้อนอ่อนเพลีย แก้กลิ่นสาบในร่างกาย  แก้ร้อนในกระสับกระส่าย มีกลิ่นหอมใช้อบเครื่องหอม ใช้แต่งกลิ่น เข้าเครื่องยาเป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน ดับกระหาย บำรุงโลหิต หรือบดให้เป็นผงผสมกับเนยเหลว เป็นยาพอกแก้ริดสีดวงทวาร น้ำมันหอมระเหยจากดอก มีสาร  mesuol และ mesuone มีฤทธิ์เหมือนยาปฏิชีวนะ คือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เกสร รสหอมเย็น เข้ายาหอม มีฤทธิ์ฝาดสมาน บำรุงธาตุ ขับลม บำรุงครรภรักษา ทำให้หัวใจชุ่มชื่น ชื่นใจ แก้ไข้
           ตำรายาไทยนำเกสรมาเข้าเครื่องยาไทยใน “พิกัดเกสรทั้งห้า” (ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง) “พิกัดเกสรทั้งเจ็ด” (มีดอกจำปาและดอกกระดังงาเพิ่มเข้ามา) และ “พิกัดเกสรทั้งเก้า”  (มีดอกลำดวน และดอกลำเจียกเพิ่มเข้ามา) มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย บำรุงครรภ์ นอกจากนี้บุนนาคยังจัดไว้ในพิกัดพิเศษ “พิกัดเทวตรีคันธา” (ทเวติคันธา) คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม 2 ชนิด รวมเครื่องยา 6 อย่างคือ ดอกบุนนาค รากบุนนาค แก่นบุนนาค ดอกมะซาง รากมะซาง และแก่นมะซาง มีสรรพคุณขับลมในลำไส้ แก้รัตตะปิตตะโรค บำรุงโลหิต  แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย แก้กำเดา แก้ไข้สำปะชวน ทำให้ใจชุ่มชื่น ชูกำลัง

           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา  ปรากฏการใช้ดอกบุนนาค ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) มีส่วนประกอบของดอกบุนนาค อยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ได้แก่ ”ยาหอมเทพจิตร” มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย) นอกจากนี้ตำรับยาแก้ไข้ปรากฎการใช้ดอกบุนนาคร่วมกับสมุนไพรอื่นๆใน “ตำรับยาเขียวหอม”  สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษสุกใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส)

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ดอกพบน้ำมันหอมระเหยและสารที่มีรสขม คือ mesuol และ mesuone  สารกลุ่ม coumarins สารกลุ่ม flavonoids, xanthenes

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:          

    ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ปกป้องตับ

      สารสกัดเมทานอลจากดอกบุนนาคความเข้มข้น 100 และ 200 mg/kg ในหนูเม้าส์เพศเมียสายพันธุ์วิสตาร์ โดยให้หนูดื่มน้ำที่ผสมเชื้อแบคทีเรีย  Staphylococcus aureus  เป็นเวลา 1 วัน  หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ติดตามผลค่าต่างๆ ได้แก่ ระดับเอนไซม์ตับ aspartate aminotransferase (AST) และ alanine aminotransferase (ALT) ตรวจการทำงานของไต โดยตรวจวัดระดับ creatinine phosphorkinase (CPK), alkaline phosphatase (ALKP), creatinine, urea ตรวจวัดระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ super oxide dismutase (SOD), catalase (CAT), glutathione peroxidise (GPX) และ glutathione reductase (GR) ผลการทดสอบพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของเอนไซม์ SOD และ AST พบการทำงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญของเอนไซม์ CAT,GPX, GR และ AST และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการทำงานของ CPK และ Creatinine ดังนั้นสรุปได้ว่ามีการเพิ่มระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระได้บางชนิด ส่วนการทำงานของตับและไต ยังมีผลทั้งในทางที่ดีขึ้นและลดลงได้ นอกจากนี้การทดสอบสารสกัดเอทานอลของดอกบุนนาคความเข้มข้น 100 μg/ml พบว่าสามารถยับยั้งการทำงานของ nitric oxide ซึ่งเป็นสารทำให้เกิดการอักเสบได้ 96.03% (Chahar, et al., 2013)

     ฤทธิ์ต้านการชัก

     การป้อนสารสกัดเอทานอลของดอกบุนนาคความเข้มข้น 200, 400 และ 600 mg/kg แก่หนูเมาส์ ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการชักด้วยวิธี Maximum electroshock seizure (MES) ผลการทดลอง พบว่าสารสกัดเอทานอลจากดอกบุนนาคสามารถยับยั้งการชักได้ และลดระยะเวลาที่เกิดการชักได้อย่างมีนัยสำคัญดังนี้  สารสกัดความเข้มข้น 200, 400 และ 600 mg/kg ยับยั้งได้ 100% (p < 0.01), 60% (p < 0.01) และ 100% (p < 0.001) ตามลำดับ (Chahar, et al., 2013)

     ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

     สารสกัดเมทานอลของดอกบุนนาคในหนูเมาส์ติดเชื้อ S. typhimurium ATCC 6539.2 พบว่าสารสกัดขนาด 4 mg/mouse สามารถลดอัตราการตาย และลดเชื้อแบคทีเรียในเลือด ตับ และม้าม ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบในหลอดทดลองเพื่อศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียพบว่าสารสกัดความเข้มข้น 50 μg/ml สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ 30 สายพันธุ์, Bacilllus spp., Salmonella spp., Pseudomonas spp., Streptococcus pneumonia, Sarcina lutea, Proteus mirabilis และ Lactobacillus arabinosus สารสกัดความเข้มข้น 100 และ 200 μg/ml สามารถยับยั้ง Staphylococcus ได้ 1 และ 2 สายพันธุ์ ตามลำดับ แต่มีสายพันธุ์ที่ดื้อต่อสารสกัดจำนวน  8 สายพันธุ์  และมีผลน้อยในการยับยั้ง Klebsiella, Vibrio cholera,  Escherichia coli  และ Shigella spp.

     การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดไดคลอโรมีเทนและเมทานอล (1:1 v/v) ของดอกบุนนาค ความเข้มข้น 500 และ 1000 μg/ml ทำการทดลองด้วยวิธี agar dilution-streak พบว่าสามารถต้านเชื้อได้แก่ B. cereus varmycoides, B. pumilus, B. subtilis, Bordetella bronchiseptica, Micrococcus luteus, Sta. aureus, Sta. epidermidis, E. coli, K. pneumoniae, P. aeruginosa, Str. faecalis, Candida albicans, Aspergillus niger และ Saccharomyces cerevisiae (Chahar, et al., 2013)


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง

Chahar MK, Kumar S, Geetha L, Lokesh T, Manohara KP. Mesua ferrea L.: A review of the medical evidence for its phytochemistry and pharmacological actions. African Journal of Pharmacy and Pharmacology. 2013;7(6):211-219.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com

ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ บุนนาค

...

Other Related บุนนาค

ข้อมูล บุนนาค จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


แม่แบบ:ต้งการอ้างอิง บุนนาค ต้นบุนนาคที่ Thelwatta ศรีลังกาตะวันออกเฉียงใต้ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ เคลด: โรสิด อันดับ: อันดับโนรา วงศ์: Calophyllaceae สกุล: Mesua L. สปีชีส์: Mesua ferrea ชื่อทวินาม Mesua ferrea L. ชื่อพ้อง Mesua coromandelina Wight Mesua nagassarium (Burm.f.) Kosterm. Mesua pedunculata Wight Mesua roxburghii Wight Mesua sclerophylla Thw. Mesua speciosa Choisy Mesua stylosa บุนนาค หรือ สารภีดอย หรือ นาคบุตร เป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง ดอกหอม อยู่ในวงศ์เดียวกันกับส้มป่องและติ้วแดง พบได้ในอินเดียและศรีลังกา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้น ตามริมห้วย ลำธาร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 6-700 เมตร ต้นสูงประมาณ 25-30 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 2-3 ซ.ม. ยาว 7-12 ซ.ม.ใบอ่อนจะมีสีแดง ดอกสีขาวหอมเย็น ออก เป็นกระจุก 2-1 ดอก กลีบดอกรูปไข่กลับ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย มีเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1.5 ซม.กลีบเลี้ยงกลมโค้งขนาด 1.5 ซ.ม. เป็นไม้วงศ์เดียวกับ ต้นชะมวงหรือส้มป่อง มะดะหรือมังคุดป่า ต้นติ้วแดงและ ต้นติ้วขน จัดกลุ่มอยู่ในไม้พวก Iron wood คือเนื้อแข็ง ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ต้นบุนนาคสามารถพบได้ในอินเดียและศรีลังกา ประโยชน์

ในตำรายาแผนไทย พบว่าแทบทุกส่วนของบุนนาคนำมาใช้ประโยชน์ทางยาได้หมด เนื้อไม้ - เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำหมอนรถไฟ การก่อสร้าง ด้านร่ม เป็นต้น ใบ-ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู เปลือกต้น -แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ แก่น -แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต ดอกแห้ง - เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ เมล็ด - มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่น ๆ ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย ราก - ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย เกร็ดความรู้

บุนนาคเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตร ภาพ

ใบอ่อนและดอก ใบอ่อนและดอก ผลอ่อน ผลสุก อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บุนนาค Caldecott, Todd (2006). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 0-7234-3410-7. Contains a detailed monograph on Mesua ferrea (Nagakeshara) as well as a discussion of health benefits and usage in clinical practice. Available online at https://web.archive.org/web/20101229121750/http://www.toddcaldecott.com/index.php/herbs/learning-herbs/312-nagakeshara Sriracha College: Mesua ferrea(in Thai; numerous photos) ดคกพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ภาคเหนือ กาซะลองคำ (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่) กำลังเสือโคร่ง (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) จั่น (แม่ฮ่องสอน) กระเชา (ลำปาง) ก้ามปู (ลำพูน) สัก (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะหาด (กาฬสินธุ์) กัลปพฤกษ์ (ขอนแก่น) ขี้เหล็ก (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม) สาธร (นครราชสีมา) กาฬพฤกษ์ (บุรีรัมย์) พฤกษ์ (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) กระบาก (ยโสธร) กระบก (ร้อยเอ็ด) สนสามใบ (เลย) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) มะค่าแต้ (สุรินทร์) ชิงชัน (หนองคาย) พะยูง (หนองบัวลำภู) ตะเคียนหิน (อำนาจเจริญ) รัง (อุดรธานี) ยางนา (อุบลราชธานี) ภาคกลาง ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพมหานคร) สีเสียดแก่น (กำแพงเพชร) มะตูม (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก) จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (นครปฐม) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี) ทองหลางลาย (ปทุมธานี) หมัน (พระนครศรีอยุธยา) บุนนาค (พิจิตร) ปีบ (พิษณุโลก) มะขาม (เพชรบูรณ์) พิกุล (ลพบุรี) โพทะเล (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) พญาสัตบรรณ (สมุทรสาคร) ตะแบกนา (สระบุรี) มะกล่ำตาช้าง (สิงห์บุรี) มะค่า (สุโขทัย) มะเกลือ (สุพรรณบุรี) มะพลับ (อ่างทอง) สะเดา (อุทัยธานี) ภาคตะวันออก จัน (จันทบุรี) อะราง (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี) หูกวาง (ตราด) โพ (ปราจีนบุรี) กระทิง (ระยอง) มะขามป้อม (สระแก้ว) ภาคตะวันตก ขานาง (กาญจนบุรี) แดง (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) หว้า (เพชรบุรี) โมกมัน (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) มะเดื่ออุทุมพร (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) แซะ (นครศรีธรรมราช) ตะเคียนชันตาแมว (นราธิวาส) ตะเคียน (ปัตตานี) เทพทาโร (พังงา) พะยอม (พัทลุง) ประดู่บ้าน (ภูเก็ต) อโศกเหลือง (ยะลา) อบเชย (ระนอง) สะเดาเทียม (สงขลา) กระซิก (สตูล) เคี่ยม (สุราษฎร์ธานี) ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือจัน  · ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์คือแปะ  · ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธรคือยางนา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัยคือตาล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์คือกันเกรา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระยองคือประดู่  · จังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือสิรินธรวัลลี ดคกพรรณไม้ดอกไม้ประดับ ที่กล่าวถึงในเพลงอุทยานดอกไม้ เรียงตามลำดับการกล่าวถึง ผกา จำปา จำปี กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ กรรณิการ์ ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา สร้อยทอง บานบุรี ยี่สุ่น ขจร ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง บานชื่น พุทธชาด พวงชมพู กระดังงา รสสุคนธ์ บุนนาค นางแย้ม สารภี อุบล จันทน์กะพ้อ ผีเสื้อ เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้ ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q2001737 Wikispecies: Mesua ferrea BioLib: 1150826 EoL: 2889806 EPPO: MSUFE FoC: 200014256 GBIF: 7330039 GRIN: 24194 iNaturalist: 354814 IPNI: 428832-1 NCBI: 210380 PalDat: Mesua_ferrea Plant List: tro-7801420 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:428832-1 Tropicos: 7801420 uBio: 1822310 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=บุนนาค&oldid=10754622"
.

สมุนไพรอื่นๆ

29

โกฐชฎามังสี
โกฐชฎามังสี ชื่อเครื่องยาโกฐชฎามังสี ชื่ออื่นๆของเครื่องยาโกฐจุฬารส ได้จากราก และเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐชฎามังสี (spikenard) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Nardostachys grandiflora DC. ชื่อพ้องNardostachys jatamansi (D.Don) DC., Patrinia jatamansi D.Don, Nardostachys chinensis ชื่อวงศ์Caprifoliaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:               เหง้าเป็นไม้เนื...

160

มะแว้งต้น
มะแว้งต้น ชื่อเครื่องยามะแว้งต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะแว้งต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะแค้งขม มะแค้งดำ (เหนือ อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Solanaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลรูปกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม) ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดรู...

128

ส้มจีน
ส้มจีน ชื่อเครื่องยาส้มจีน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มเกลี้ยง ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มจีน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มตรา ส้มเกลี้ยง น้ำผึ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus sinensis Osbeck. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           ผลกลม เปลือกติดเนื้อ ไม่ล่อน ผิวเปลือกหนา ไม่เรียบ สีเหลือง พบต่อมน้ำมันที่ผิวด้านนอก พบรอยที่เคยมีก้านผลติดอยู่ เนื้อผลชั้นกลางสีขาวเหลือง หรือส...

178

กุ่มน้ำ
กุ่มน้ำ ชื่อเครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Crateva religiosa G.Forst. ชื่อพ้องCrateva brownii Korth. ex Miq., Crateva hansemannii K.Schum., Crateva macrocarpa Kurz, Crateva magna (Lour.) DC., Crateva membranifolia Miq. , Crateva speciosa ชื่อวงศ์Capparaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...

189

ชิงชี่
ชิงชี่ ชื่อเครื่องยาชิงชี่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชิงชี่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระดาดป่า (ชลบุรี) ชายชู้ หมากมก (ชัยภูมิ) หนวดแมวแดง (เชียงใหม่) คายซู (อุบลราชธานี) พญาจอมปลวก กระดาดขาว กระโรกใหญ่ กินขี้ จิงโจ้ แสมซอ ค้อนฆ้อง ซิซอ เม็งซอ ราม แส้ม้าทะลาย พุงแก น้ำนอง น้ำนองหวะ เม็งซอ พวงมะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์Capparis micracantha DC. ชื่อพ้องCapparis bariensis Pierre ex Gagnep., C. billardieri DC., C. callosa Blume, C. donnaiensi...

88

ฝาง
ฝาง ชื่อเครื่องยาฝาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากแก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฝาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia sappan L. ชื่อพ้องBiancaea sappan (L.) Tod. ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เนื้อไม้สีเหลืองส้ม แก่นมีสีแดง ถูกอากาศนานเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อแข็งละเอียด แก่นที่มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่าฝาง...

26

โกฐก้านพร้าว
โกฐก้านพร้าว ชื่อเครื่องยาโกฐก้านพร้าว ชื่ออื่นๆของเครื่องยาโกฐก้านมะพร้าว ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้ ชื่อวิทยาศาสตร์Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong ชื่อพ้องPicrorhiza scrophulariiflora ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เหง้าแห้ง  มีลักษณะกลมยาว  ยาวประมาณ ...

121

ลูกจันทน์
ลูกจันทน์ ชื่อเครื่องยาลูกจันทน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหน่วยสาน ได้จากเมล็ดแห้ง (จากผลสุก) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์เทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูกจันทน์ จันทน์บ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Myristica fragrans Houtt. ชื่อพ้องAruana silvestris Burm.f., Myristica aromatica Sw., Myristica moschata Thunb., Myristica officinalis L.f., Palala fragrans (Houtt.) Kuntze ชื่อวงศ์Myristicaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &nbs...

85

เปล้าน้อย
เปล้าน้อย ชื่อเครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เปล้าท่าโพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Croton fluviatilis Esser ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ใบก้านใบยาว 1-3.5 มิลลิเมตร  มีขนสั้นนุ่มประปราย แผ่นใบตรงแคบยาว กว้าง 1.5 -2.44 เซนติเมตร ยาว 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้...

บุนนาค สมุนไพรดอกหอม ยาหอมต่างๆขาดดอกบุนนาคไม่ได้

บุนนาค สมุนไพรดอกหอม ยาหอมต่างๆขาดดอกบุนนาคไม่ได้

บุนนาค สมุนไพรดอกหอม ยาหอมต่างๆขาดดอกบุนนาคไม่ได้

View
"บุนนาค"สมุนไพรช่วยนอนหลับ เปิดตำรับ

"บุนนาค"สมุนไพรช่วยนอนหลับ เปิดตำรับ

"บุนนาค"สมุนไพรช่วยนอนหลับ เปิดตำรับ

View
ดอกบุญนาค ชูกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย

ดอกบุญนาค ชูกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย

ดอกบุญนาค ชูกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย

View
บุนนาค สมุนไพรดอกหอม ดอกสวย

บุนนาค สมุนไพรดอกหอม ดอกสวย

บุนนาค สมุนไพรดอกหอม ดอกสวย

View
บุนนาค ดอกไม้พญานาค

บุนนาค ดอกไม้พญานาค

บุนนาค ดอกไม้พญานาค

View
บุนนาค (Mesua ferrea) ต้นไม้ดอกหอม ให้ร่มเงา ดอกเหมือนไข่ดาว: Golf Garden tips

บุนนาค (Mesua ferrea) ต้นไม้ดอกหอม ให้ร่มเงา ดอกเหมือนไข่ดาว: Golf Garden tips

บุนนาค (Mesua ferrea) ต้นไม้ดอกหอม ให้ร่มเงา ดอกเหมือนไข่ดาว: Golf Garden tips

View
ต้นบุนนาค ไม้พญานาค ep21

ต้นบุนนาค ไม้พญานาค ep21

ต้นบุนนาค ไม้พญานาค ep21

View
ดอกบุนนาคอันสวยงาม EP.45

ดอกบุนนาคอันสวยงาม EP.45

ดอกบุนนาคอันสวยงาม EP.45

View
ต้นไม้มงคล - ต้นบุนนาค ลักษณะและความหมายมงคลเสริมดวง

ต้นไม้มงคล - ต้นบุนนาค ลักษณะและความหมายมงคลเสริมดวง

ต้นไม้มงคล - ต้นบุนนาค ลักษณะและความหมายมงคลเสริมดวง

View
รายการมหัศจรรย์สมุนไพร (Herbs Miracles) Part 179 บุนนาค

รายการมหัศจรรย์สมุนไพร (Herbs Miracles) Part 179 บุนนาค

รายการมหัศจรรย์สมุนไพร (Herbs Miracles) Part 179 บุนนาค

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับบุนนาค
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่