ข้อมูลสมุนไพร บัวเผื่อน รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ บัวเผื่อน, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ บัวเผื่อน, สรรพคุณทางยาของ บัวเผื่อน และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | บัวเผื่อน |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ดอก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | บัวเผื่อน |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | บัวแบ้ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Nymphaea stellata Willd. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Nymphaeaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร กลีบดอกซ้อนกัน มีราว 20 กลีบ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกเรียวยาว ปลายแหลม เกสรเพศผู้จำนวนมาก และพบก้านชูเกสรเพศผู้ ดอกไม่หอม รสฝาดหอมเย็น
เครื่องยา บัวเผื่อน
เครื่องยา บัวเผื่อน
เครื่องยา บัวเผื่อน
เครื่องยา บัวเผื่อน
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
บัวเผื่อน ถูกจัดอยู่ในพิกัดบัวพิเศษ มี 6 อย่างคือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม ตามสรรพคุณโบราณ ใช้แก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4 แก้ลม เสมหะ และโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้แช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน บำรุงครรภรักษา
ดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบในตำรับยาที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร ปี 2549) คือตำรับยาหอมเทพจิตร โดยมีดอกบัวเผื่อนร่วมกับสมุนไพรอื่นๆอีกหลายชนิดในตำรับ มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม ) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ทำให้สุขใจ สบายใจ อารมณ์แจ่มใส คลายเครียด)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
สารสกัดดอกบัวเผื่อนด้วย 20% แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ปกป้องตับหนูจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตราคลอไรด์ โดยสามารถลดระดับ ALT, AST, ALP และ bilirubin
สาร Nymphagol จากดอก ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มระดับอินซูลิน และยังเพิ่มจำนวน ? - cell ของตับอ่อน ในหนูได้
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
บัวเผื่อน บัวเผื่อน การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms อันดับ: Nymphaeales วงศ์: Nymphaeaceae สกุล: Nymphaea สปีชีส์: N. nouchali ชื่อทวินาม Nymphaea nouchali
Burm. f. ชื่อพ้อง Castalia acutiloba (DC.) Hand.-Mazz. Castalia stellaris Salisb. Castalia stellata (Willd.) Blume Leuconymphaea stellata (Willd.) Kuntze Nymphaea acutiloba DC. Nymphaea cahlara Donn, nom. inval. Nymphaea cyanea Roxb. Nymphaea edgeworthii Lehm. Nymphaea henkeliana Rehnelt Nymphaea hookeriana Lehm. Nymphaea malabarica Poir. Nymphaea membranacea Wall. ex Casp., nom. inval. Nymphaea minima F.M.Bailey nom. illeg. Nymphaea punctata Edgew. Nymphaea rhodantha Lehm. Nymphaea stellata Willd. Nymphaea stellata var. albiflora F. Henkel & al. Nymphaea stellata var. cyanea (Roxb.) Hook. f. & Thomson Nymphaea stellata var. parviflora Hook. f. & Thomson Nymphaea stellata var. versicolor (Sims) Hook. f. & Thomson Nymphaea tetragona var. acutiloba (DC.) F. Henkel & al. Nymphaea versicolor Sims Nymphaea voalefoka Lat.-Marl. ex W. Watson, nom. nud.
บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย อายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน และส่งใบดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ บัวเผื่อนมีดอกให้ชมเกือบตลอดทั้งปี เริ่มบานตอนสายและหุบตอนบ่าย ออกดอกตลอดปี บัวเผื่อนมีชื่อพื้นเมืองอื่นว่า นิลุบล นิโลบล (กรุงเทพฯ) บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง) ป้านสังก่อน (เชียงใหม่) และปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส)[1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ใบเป็นใบเดียวออกแบบเรียงสลับเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยบนผิวน้ำ ใบรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 10-25 ซม. กว้าง 8-18 ซม. ผิวใบเกลี้ยงหน้าใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนถึงสีม่วงจาง ปลายใบทู่ถึงกลมมน โคนใบเว้าลึก ฃอบใบเรียงถึงหยักตื้นๆ เส้นใบ 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ก้านใบสั้นยาวไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ ปกติยาว 0.5-2 เมตร
ดอกเป็นดอกเดี่ยว อยู่เหนือน้ำ มีสีขาวแกมชมพู ถึงอ่อนคราม กลิ่นหอมอ่อนๆ หากมีสีขาวแกมชมพูจะเรียกว่า “บัวเผื่อน” ส่วนดอกสีครามอ่อนและมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บัวผัน” บางครั้งนักวิทยาศาสตร์แยกเป็น 2 ชนิด บางครั้งว่าเป็นชนิดเดียวกันแต่มี 2 พันธุ์ แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-18 กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก รังไข่มี 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับเกสรตัวเมียรูปถ้วย ก้านดอกคล้ายก้านใบ และยาวไล่เลียกัน ผลจมอยู่ใต้น้ำหลังจากผสมเกสรแล้ว การปลูกเลี้ยง
บัวเผื่อนพบขึ้นตามหนอง บึง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อนและขอบพรุ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อหรือเหง้า ประโยชน์ทางยา
ดอก รสฝาดหอมเย็น บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไขตัวร้อน แก้ไข้ บำรุงครรภ์ เมล็ด เมื่อฝักแก่ดอกร่วงหมดแล้วเรียกว่า”โตนดบัว” มีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเมล็ดฝิ่น คั่วรับประทานเป็นอาหารได้ รสหอมมัน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง หัว ลักษณะเป็นหัวตะปุ่มตะป่ำ เหมือนโกฐหัวบัว รสหอมมัน เผ็ดเล็กน้อย บำรุงร่างกาย ชูกำลัง บำรุงครรภ์รักษา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ
ในตำรายาไทย บัวเผื่อนอยู่ในพิกัดบัวพิเศษ มี 6 อย่างคือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม ใช้แก้ไข้ แก้ลม เสมหะ และโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้แช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน บำรุงครรภ์ นอกจากนั้น ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในตำรับยาหอมเทพจิตร มีดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนผสมร่วมกับสมุนไพรอื่นๆอีกหลายชนิดในตำรับ มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น [2] อ้างอิง
↑ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549 ↑ บัวเผื่อน-ฐานข้อมูลเครื่องยา สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่3 พรรณไม้หอม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,มปป. แหล่งข้อมูลอื่น
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/animal/nonghan/index.php?q=node/152 เก็บถาวร 2013-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=บัวเผื่อน&oldid=9647948"
.
บุก
บุก ชื่อเครื่องยาบุก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากหัวใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบุก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น ชื่อวิทยาศาสตร์Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson. ชื่อพ้องAmorphophallus campanulatus ชื่อวงศ์Araceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  ...
โด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม ชื่อเครื่องยาโด่ไม่รู้ล้ม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโด่ไม่รู้ล้ม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโบ้ ตะชี โกวะ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปลาบ หญ้าไฟนกคุ่ม หญ้าสามสิบสองหาบ หนาดผา หนาดมีแคลน ชื่อวิทยาศาสตร์Elephantopus scaber Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกั...
คำเงาะ
คำเงาะ ชื่อเครื่องยาคำเงาะ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคำเงาะ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คำแสด คำแงะ คำไทย คำยง มะกายหยุม ชาตี จำปู้ หมักซิตี ส้มปู้ ส้มบู๊ คำแฝด ดอกชาด แสด หมากมอง ชื่อวิทยาศาสตร์Bixa orellana L. ชื่อพ้องBixa americana Poir., B. katangensis Delpierre, B. odorata Ruiz & Pav. ex G.Do, B. purpurea Sweet, B. upatensis Ram.Goyena, Orellana americana ชื่อวงศ์Bixaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...
คูน
คูน ชื่อเครื่องยาคูน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อในฝักแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเนื้อในฝักแก่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชัยพฤกษ์ ลมแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula L. ชื่อพ้องBactyrilobium fistula Willd., Cassia bonplandiana DC., C. excelsa Kunth, C. fistuloides Collad., C. rhombifolia Roxb., Cathartocarpus excelsus G.Don, Cathartocarpus fistula Pers., Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don, Cathartocarpus rhombifolius ชื่อวงศ์Legumonosae-Caesalpi...
มะแว้งเครือ
มะแว้งเครือ ชื่อเครื่องยามะแว้งเครือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะแว้งเครือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะแว้งเขา มะแว้งเถา แขว้งเคีย ชื่อวิทยาศาสตร์Solanum trilobatum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Solanaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลรูปทรงกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวมีลายสีขาว เมื่อสุกสีแดง) ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยงเป็น เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก...
สะแกนา
สะแกนา ชื่อเครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แก (อุบลราชธานี) แพ่ง(เหนือ) ขอนเเข้ จองแค่(แพร่) สะแก ซังแก ชื่อวิทยาศาสตร์Combretum quadrangulare Kurz. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลแห้ง ขนาด 1-2 เซนติเมตร รูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สัน ตามยาว เมล็...
ครั่ง
ครั่ง ชื่อเครื่องยาครั่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาครั่งดุ้น ครั่งดิบ, จุ้ยเก้ง (จีน) ได้จากสารที่ขับถ่ายจากแมลงครั่ง (ลักษณะเป็นยางหรือชัน) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์แมลงครั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccifera chinensis Mahdihassan) ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์แมลงครั่ง (ชื่อวงศ์ Lacciferidae) ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เป็นก้อนแข็งสีน้ำตาลแดง มีรูปร่างเป็นปมตะปุ่มตะป่ำต...
ลูกจันทน์
ลูกจันทน์ ชื่อเครื่องยาลูกจันทน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหน่วยสาน ได้จากเมล็ดแห้ง (จากผลสุก) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์เทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูกจันทน์ จันทน์บ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Myristica fragrans Houtt. ชื่อพ้องAruana silvestris Burm.f., Myristica aromatica Sw., Myristica moschata Thunb., Myristica officinalis L.f., Palala fragrans (Houtt.) Kuntze ชื่อวงศ์Myristicaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &nbs...
ขิง
ขิง ชื่อเครื่องยาขิง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก สะเอ ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber officinale Roscoe ชื่อพ้องAmomum zingiber L., Curcuma longifolia Wall., Zingiber cholmondeleyi (F.M.Bailey) K.Schum., Zingiber majus Rumph., Zingiber missionis Wall., Zingiber sichuanense ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &...
พ่อบัวเผื่อน เล่าเรื่องเสือดำเคยหาไปเล่นเพลง(เสือดำตายแล้ว) และเรื่องเป็นเพื่อนกับเสือมเหศวร
ViewKhudmalao - ขุดมาเล่า | คุณลักษณะและสรรพคุณของ - บัวเผื่อน
Viewเรื่องเล่าบัวอุบลชาติในถิ่นไทยบัวผัน บัวเผื่อน และบัวขาบ ที่สวยงามเย็นตามาก
Viewปลูกกบัวผัน บัวสี บัวเผื่อน ย้ายบัว Nymphaea Lotus plant
Viewวิธีขยายพันธุ์และวิธีปลูกบัวผัน-บัวเผื่อน เพื่อความสวยงามและความสดชื่นในบ้าน l Pai91.5
Viewดอกบัวแดงหรือบัวสาย มีประโยชน์มากรีบหามากินด่วน
Viewไม่มีใครเคยบอก..!! "บัวสาย" ( water lily)สรรพคุณยาเพียบ ถูกพบในสุสานอียิปต์กว่า 3,000 ปี | Nava DIY
View