Menu

น้อยหน่า

ชื่อเครื่องยา

น้อยหน่า

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เมล็ดจากผลสุก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

น้อยหน่า

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ มะออจ้า มะโอจ่า ลาหนัง หมักเขียบ ลาหนัง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Annona squamosa L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Annonaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แข็ง สีดำ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน ขนาดกว้าง 3-6 มม. ยาว 1 ซม. ในผลหนึ่งมีประมาณ 50-60 เมล็ด เนื้อในเมล็ดสีขาว เมล็ดมีรสเมา มัน

 

เครื่องยา น้อยหน่า(เมล็ด)

 

เครื่องยา น้อยหน่า(เมล็ด)

 

เครื่องยา น้อยหน่า(เมล็ด)

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเหา ฆ่าหิด  ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด แก้บวม  รับประทานขับเสมหะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใบสด  8-12  ใบ  หรือเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้ว (บุบพอแตก เอาแต่เนื้อในเมล็ด) ประมาณ 10-20 เมล็ด  ตำให้ละเอียด  3-5  ช้อนชา  ผสมกับน้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะพร้าว 6-10  ช้อนชา คั้นเอาเฉพาะน้ำมันมาชโลมให้ทั่วเส้นผม  ใช้ผ้าคลุมทิ้งไว้  1/2    ชั่วโมง  สระออกให้สะอาด  ทำวันละ  1  ครั้ง  ติดต่อกัน  2-3  วัน  ไข่และตัวเหาจะตาย
           การใช้ขนาดของสมุนไพร  ขึ้นอยู่กับผมยาวและผมสั้น  ถ้าผมยาวเพิ่ม  ถ้าผมสั้นลดจำนวนของสมุนไพรลงเล็กน้อย  สำหรับน้ำมันพืชก็เช่นเดียวกัน การชโลมน้ำยาบนเส้นผม  ระวังอย่าให้เข้าตา  เปลือกตา ริมฝีปาก รูจมูก เพราะจะทำให้ตาอักเสบ  และเกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน การสระน้ำยาสมุนไพรออก  ต้องสระให้สะอาดทุกครั้ง

องค์ประกอบทางเคมี:
           เมล็ดมีสาร  anonaine  alkaloid , isocorydine สารกลุ่ม acetogenin ชื่อ annonacin A

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           สารสกัดจากเมล็ด แก้ปวดและบรรเทาอักเสบ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  ยับยั้งการฟักตัวของพยาธิปากขอ

การศึกษาทางคลินิก:
           ฆ่าเหา

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ระวังอย่าให้เข้าตา  เปลือกตา ริมฝีปาก รูจมูก เพราะจะทำให้ตาอักเสบ  และเกิดอาการแสบร้อน
           สารสกัดจากเมล็ดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังมากกว่าจากใบ

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: www.phargarden.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ น้อยหน่า

...

Other Related น้อยหน่า

ข้อมูล น้อยหน่า จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


น้อยหน่า ผลน้อยหน่าเมื่อผ่าขวาง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช หมวด: พืชดอก ชั้น: พืชใบเลี้ยงคู่ อันดับ: จำปา วงศ์: กระดังงา สกุล: Annona สปีชีส์: A.  squamosa ชื่อทวินาม Annona squamosa L. น้อยหน่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona squamosa Linn.) ชื่ออื่น ๆ เช่น บักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ลาหนัง, لانوڠ (ปัตตานี), บะน้อแน่ บะแน่ (ภาคเหนือ), หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ตีบ (เขมรสุรินทร์), ទៀប, เตียบ (เขมรกัมพูชา) เป็นต้น[1] เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบได้ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

น้อยหน่าเป็นไม้ยืนต้น สูง 3–5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3–6 เซนติเมตร ยาว 7–13 เซนติเมตร ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำ มีจำนวนมาก[2] สรรพคุณ

ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าสามารถใช้ฆ่าเหา, โรคกลาก, เกลื้อน โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลาก เกลื้อน และเหาก็จะหาย ซึ่งมีวิธีรักษาเหาอยู่ 2 วิธีคือ นำใบน้อยหน่าประมาณ 3–4 ใบ มาบดหรือตำให้ละเอียดแล้วคลุกกับสุรา 28 ดีกรี เคล้าให้เข้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10–30 นาทีแล้วเอาผ้าออก ใช้หวีสาง เหาก็จะตกลงมาทันที นำใบน้อยหน่า 7–8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหา นอกจากนั้น ใบยังใช้ ขับพยาธิลำไส้ แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวมได้ ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด เป็นยาฝาดสมาน ผล ผลดิบ เป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ โรคผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู[3] ใช้เป็นสารกำจัดศัตรูพืช ในใบน้อยหน่ามีสารแอลคาลอยด์ แอนโนเนอีน (anonaine) และเรซิน (resin) ในเมล็ดมีน้ำมันอยู่ร้อยละ 45 ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง สารสกัดเมทานอลของใบน้อยหน่าเป็นพิษต่อไรทะเล และใบน้อยหน่ายังเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อนถั่วโดยมี LC50 2,089.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร[4] ดูเพิ่ม

น้อยโหน่ง ทุเรียนเทศ อ้างอิง

↑ "น้อยหน่า กับสรรพคุณที่คาดไม่ถึง". Matichon Academy. ↑ น้อยหน่า ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ↑ "น้อยหน่า". ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2022 . ↑ สุดารัตน์ หอมหวล, ยุวดี ชูประภาวรรณ และวิรัตน์ จันทร์ตรี. 2554. ฤทธิ์ฆ่าแมลงของพืชต่อเพลี้ยอ่อนถั่ว วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 ตุลาคม–ธันวาคม. หน้า 22–29. ISSN 1685-7941. แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า น้อยหน่า วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ น้อยหน่า  วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีบทความ Sugar-apple "Annona squamosa L." ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 17 March 2008 . การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q275620 Wikispecies: Annona squamosa APDB: 6481 EoL: 1054831 EPPO: ANUSQ FNA: 200008509 FoC: 200008509 GBIF: 5407099 GRIN: 3503 iNaturalist: 69973 IPNI: 72319-1 IRMNG: 10592991 ITIS: 18100 IUCN: 146787183 NCBI: 301693 NZOR: e6b4d6a6-bd80-4f80-ada7-b0bcfdc41a7b Plant List: kew-2641034 PLANTS: ANSQ POWO: urn:lsid:ipni.org:names:72319-1 Tropicos: 1600002 uBio: 447334 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=น้อยหน่า&oldid=10962531"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ น้อยหน่า

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

149

ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำของเมล็ดน้อยหน่าในขนาด 300 และ 600 มก./กก . ให้หนูขาวในระยะตั้งท้องได้ 1-5 วัน พบว่าไม่มีผลต่อ corpora lutea, การฝังตัว และตัวอ่อน และไม่มีผลต่อเยื่อบุมุดลูก แสดงว่าไม่มีผลต่อหนูซึ่งตั้งท้องได้ 1-5 วัน Phytomedicine 2002;9(7):667-72. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1255

ฤทธิ์ต้านเนื้องอกของน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่า
ฤทธิ์ต้านเนื้องอกของน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่าการวิเคราะห์ GC-MS เพื่อศึกษาองค์ประกอบในน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่าที่สกัดด้วยปิโตเลียมอีเทอร์ โดยวิธี soxhlet extraction พบว่าประกอบด้วยกรดไขมัน ได้แก่ palmitic acid (9.92%), linoleic acid (20.49%), oleic acid (56.50%) และ stearic acid (9.14%) เป็นต้น และสารกลุ่ม annonaceous acetogenins (41.00 มก./ก.) เมื่อนำน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่า ขนาด 0.5 และ 1 มล./กก. มาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเนื้องอก โดยทดลองในหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดเนื้องอกตับ (hepatoma cells) ชนิด H2...

165

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า สารสกัดใบน้อยหน่า วงศ์ Annonaceae ได้ถูกนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเมล็ดพืชและฤทธิ์ฆ่าแมลงCallosobruchus chinensis ที่เป็นศัตรูของเมล็ดพืช การสกัดแยกพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพืชได้ทั้งหมด และมีฤทธิ์ฆ่าแมลงปีกแข็งได้ 80% ที่ความเข้มข้น 0.07 มก./ มล. ซึ่งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์นี้มีฟลาโวนอล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสารสกัดใบน้อยหน่าที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่สามารถนำไ...

355

เมล็ดน้อยหน่าต้านภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
เมล็ดน้อยหน่าต้านภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติเมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 90% จากเมล็ดน้อยหน่าที่เอาไขมันออกแล้ว ขนาด 200 มก./กก. หรือป้อน quercetin จากเมล็ดน้อยหน่า ขนาด 10 มก./กก. นาน 10 วันติดต่อกัน ให้หนูถีบจักรที่ฉีด L-thyroxine (T4) เข้าช่องท้องขนาด 0.5 มก./กก. นาน 12 วันติดต่อกัน เพื่อเหนี่ยวนำให้มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ พบว่า ทั้งสารสกัดและสาร quercetin ทำให้ระดับ triiodothyroxine (T3), thyroxine (T4), เอนไซม์ glucose-6-phosphatase (G-6-Pase) ในตับ, 5′-mono-deiodinase (...

212

ฤทธิ์ลดเบาหวานของใบน้อยหน่า
ฤทธิ์ลดเบาหวานของใบน้อยหน่า ในประเทศอินเดียได้มีการใช้ใบน้อยหน่าอ่อนในการรักษาเบาหวาน จึงได้มีการศึกษาวิจัย โดยนำสารสกัดใบน้อยหน่าด้วยน้ำไปทดสอบในหนูขาวปกติ และหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin พบว่าสามารถลดน้ำตาลได้หนูปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์อาจจะผ่านการเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน อาจโดยกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น หรือทำให้ insulin จาก bound form เปลี่ยนมาเป็น free form มากขึ้น จึงเป็นผลให้อินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึ...

สมุนไพรอื่นๆ

149

อบเชย
อบเชย ชื่อเครื่องยาอบเชย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้นชั้นใน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอบเชย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมง โมงหอม เคียด กะทังหัน ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Lauraceae ชื่อวิทยาศาสตร์         Cinnamomum  spp.            1. อบเชยเทศ  หรือ  อบเชยลังกา  (Ci...

95

เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต ชื่อเครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น (เถา) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด ชื่อวิทยาศาสตร์Cissus quadrangularis L. ชื่อพ้องCissus bifida Schumach. & Thonn., C. edulis Dalzell, C. quadrangula L., C. succulenta (Galpin) Burtt-Davy, C. tetragona Harv., C. tetraptera Hook.f., C. triandra Schumach. & Thonn., Vitis quadrangularis (L.) Wall. ex Wight...

30

โกฐเชียง
โกฐเชียง ชื่อเครื่องยาโกฐเชียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตังกุย ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐเชียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Angelica sinensis (Oliv.) Diels ชื่อพ้องAngelica polymorpha var. sinensis Oliv. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้ล้มลุก รากสดอวบหนา รูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก รากแห้งรูปแกมทรงกระบอก ปลายแยกเป็นแขนง 3-5 แขนง หรือมากกว่า ย...

3

กระชาย
กระชาย ชื่อเครื่องยากระชาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า และราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีพู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงกระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อพ้องBoesenbergia cochinchinensis ( Gagnep.) Loes., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L., Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl....

182

ช้าพลู
ช้าพลู ชื่อเครื่องยาช้าพลู ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ใบ ทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาช้าพลู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักอีเลิด (อีสาน) นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง ผักอีไร (เหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ผักแค ชื่อวิทยาศาสตร์Piper sarmentosum Roxb. ชื่อพ้องPiper albispicum C. DC., P. baronii C. DC., P. brevicaule C. DC., P. lolot C. DC., P. pierrei C. DC., P. saigonense ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...

140

หนาด
หนาด ชื่อเครื่องยาหนาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหนาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Blumea balsamifera (L.) DC. ชื่อพ้องBlumea grandis DC., Baccharis salvia ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม กว...

98

มะกรูด
มะกรูด ชื่อเครื่องยามะกรูด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะกรูด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ใต้) มะหูด (หนองคาย) มะขูด มะขุน (เหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โกร้ยเชียด (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus hystrix DC. ชื่อพ้องCitrus auraria Michel, Citrus balincolong (Yu.Tanaka) Yu.Tanaka, Citrus boholensis (Wester) Yu.Tanaka, Citrus celebica Koord., Citrus combara Raf., Citrus hyalopulpa Yu.Tanaka, Citrus kerrii (Swingle) Yu...

196

ชะเอมเทศ
ชะเอมเทศ ชื่อเครื่องยาชะเอมเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก และลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะเอมเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชะเอมจีน (ทั่วไป), กำเช้า (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์Glycyrrhiza glabra L. ชื่อพ้องGlycyrrhiza brachycarpa Boiss., G. glandulifera Waldst. & Kit., G. hirsuta Pall., G. pallida Boiss. & Noe, G. pallida Boiss., G. violacea ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &...

4

กระชายดำ
กระชายดำ ชื่อเครื่องยากระชายดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชายดำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ชื่อวิทยาศาสตร์Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. ชื่อพ้องK. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle, Stahlianthus rubromarginatus ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &n...

สยบเหา!! ด้วย "ใบน้อยหน่า" วิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้ และประโยชน์ที่คนรู้น้อย| Nava DIY

สยบเหา!! ด้วย "ใบน้อยหน่า" วิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้ และประโยชน์ที่คนรู้น้อย| Nava DIY

สยบเหา!! ด้วย "ใบน้อยหน่า" วิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้ และประโยชน์ที่คนรู้น้อย| Nava DIY

View
รีบหามากิน !! 11 สรรพคุณน้อยหน่าดีต่อสุขภาพที่คุณอาจยังไม่รู้ | Sugar Apple | พี่ปลา Healthy Fish

รีบหามากิน !! 11 สรรพคุณน้อยหน่าดีต่อสุขภาพที่คุณอาจยังไม่รู้ | Sugar Apple | พี่ปลา Healthy Fish

รีบหามากิน !! 11 สรรพคุณน้อยหน่าดีต่อสุขภาพที่คุณอาจยังไม่รู้ | Sugar Apple | พี่ปลา Healthy Fish

View
ยาดีกินอร่อย สมุนไพร น้อยหน่า หรือ บักเขียบ / ๑๐๐๙ สมุนไพร เรื่องเล่าสมุนไพร บ้าน นา ป่า โคก ep.8

ยาดีกินอร่อย สมุนไพร น้อยหน่า หรือ บักเขียบ / ๑๐๐๙ สมุนไพร เรื่องเล่าสมุนไพร บ้าน นา ป่า โคก ep.8

ยาดีกินอร่อย สมุนไพร น้อยหน่า หรือ บักเขียบ / ๑๐๐๙ สมุนไพร เรื่องเล่าสมุนไพร บ้าน นา ป่า โคก ep.8

View
วิธีกำจัดเหาด้วยสมุนไพรใบน้อยหน่า..แบบบ้านๆ หาได้ง่ายใกล้ตัวเรา..#

วิธีกำจัดเหาด้วยสมุนไพรใบน้อยหน่า..แบบบ้านๆ หาได้ง่ายใกล้ตัวเรา..#

วิธีกำจัดเหาด้วยสมุนไพรใบน้อยหน่า..แบบบ้านๆ หาได้ง่ายใกล้ตัวเรา..#

View
โรคกลากเกลื้อน - สมุนไพรน้อยหน่า ใบสด5 - 8 ใบตำหรือปั่น EP.  03 น้อยหน่า

โรคกลากเกลื้อน - สมุนไพรน้อยหน่า ใบสด5 - 8 ใบตำหรือปั่น EP. 03 น้อยหน่า

โรคกลากเกลื้อน - สมุนไพรน้อยหน่า ใบสด5 - 8 ใบตำหรือปั่น EP. 03 น้อยหน่า

View
สมุนไพรขับไล่เพลี้ยและแมลง ใบน้อยหน่า เร็ว ง่าย ประหยัด I เกษตรปลอดสารพิษ

สมุนไพรขับไล่เพลี้ยและแมลง ใบน้อยหน่า เร็ว ง่าย ประหยัด I เกษตรปลอดสารพิษ

สมุนไพรขับไล่เพลี้ยและแมลง ใบน้อยหน่า เร็ว ง่าย ประหยัด I เกษตรปลอดสารพิษ

View
น้อยหน่า สมุนไพรใกล้ตัว

น้อยหน่า สมุนไพรใกล้ตัว

น้อยหน่า สมุนไพรใกล้ตัว

View
วิธีกำจัด เหา แบบง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้านเห็นผล100%ด้วยใบขี้เหล็กใบฝรั่งสูตรธรรมชาติ100%แม่ก้อยพาทำ

วิธีกำจัด เหา แบบง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้านเห็นผล100%ด้วยใบขี้เหล็กใบฝรั่งสูตรธรรมชาติ100%แม่ก้อยพาทำ

วิธีกำจัด เหา แบบง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้านเห็นผล100%ด้วยใบขี้เหล็กใบฝรั่งสูตรธรรมชาติ100%แม่ก้อยพาทำ

View
สมุนไพรใกล้ตัว น้อยหน่า

สมุนไพรใกล้ตัว น้อยหน่า

สมุนไพรใกล้ตัว น้อยหน่า

View
99.สมุนไพร น้อยหน่า ลูกแห้ง-ไฟลามทุ่ง หายภายใน 15 วัน

99.สมุนไพร น้อยหน่า ลูกแห้ง-ไฟลามทุ่ง หายภายใน 15 วัน

99.สมุนไพร น้อยหน่า ลูกแห้ง-ไฟลามทุ่ง หายภายใน 15 วัน

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับน้อยหน่า
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่