Menu

เทียนแดง

ชื่อเครื่องยา

เทียนแดง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

เทียนแดง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lepidium sativum L.

ชื่อพ้อง

Arabis chinensis Rottler ex Wight, Cardamon sativum (L.) Fourr., Crucifera nasturtium E.H.L.Krause, Lepia sativa (L.) Desv., Lepidium hortense Forssk., Lepidium spinescens DC., Nasturtium crispum Medik., Nasturtium sativum (L.) Moench, Nasturtium spinescens (DC.) Kuntze, Thlaspi sativum (L.) Crantz, Thlaspidium sativum (L.) Spach

ชื่อวงศ์

Cruciferae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดแก่แห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือแดงอมน้ำตาล ขนาดเล็ก กว้าง 1-1.4 มิลลิเมตร ยาว 2.5-2.8 มิลลิเมตร รูปไข่ ผิวมันลื่น เรียบไม่มีขน ปลายข้างที่เรียบมีลักษณะเป็นร่องตามแนวยาวสั้นๆ เปลือกเมล็ดจะพองตัวเมื่อถูกความชื้น  เมล็ด มีรสชาติเผ็ดร้อน ขมเล็กน้อย มีกลิ่นหอมหอม

 

เครื่องยา เทียนแดง

 

เครื่องยา เทียนแดง

 

เครื่องยา เทียนแดง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 0.4% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 15% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ไม่น้อยกว่า 0.15% w/w  ดัชนีการพองตัว (swelling index) ไม่ต่ำกว่า 20 (THP III)

สรรพคุณ:
           การใช้แบบพื้นบ้านของไทย: เมล็ด ใช้แก้เสมหะ แก้ลม แก้น้ำดีพิการ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมเสียดแทงสองราวข้าง  ขับน้ำนม  แก้ลักปิดลักเปิด ฟอกโลหิต
           ในตำรายาไทย: มีการใช้เมล็ดเทียนแดง ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ปรากฏการใช้ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ในการรักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย หลายกลุ่มอาการคือ
                   1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเทียนแดง อยู่ในพิกัดเทียนทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                   2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของ เทียนแดง เทียนดำ เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์ และเทียนเยาวพาณี ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ  อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
           ตำรายาไทยมีการนำมาสมุนไพรมาเข้าใน “พิกัดยาไทย” คือ การจำกัดจำนวนตัวยาหลายสิ่งหลายอย่าง นำมารวมกันเข้าเป็นหมวด โดยมีน้ำหนักของตัวยาในพิกัดนั้นเท่ากัน เทียนแดงจัดอยู่ใน “พิกัดเทียน”  ที่ประกอบด้วย“พิกัดเทียนทั้ง 5” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก และเทียนตาตั๊กแตน “พิกัดเทียนทั้ง 7” (มีเทียนเยาวพาณี และเทียนสัตตบุษย์ เพิ่มเข้ามา) “พิกัดเทียนทั้ง 9” (มีเทียนตากบ และเทียนเกล็ดหอย เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดเทียน คือ ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิต และใช้ในตำรับยาหอม
           ถึงแม้ว่าเทียนแดงเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ แต่เทียนแดง เป็นสมุนไพรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเอธิโอเปีย และมีการปลูกมากที่ประเทศอินเดีย
           ในแถบอินเดีย จะใช้ทั้งใบ ราก และเมล็ดเพื่อเป็นยา  ในทางยาพื้นบ้าน แถบอินเดีย และโมรอคโค ใช้เมล็ดในการรักษาหอบหืด โรคผิวหนัง โรคเบาหวาน และช่วยขับน้ำนม ในหญิงให้นมบุตร

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ยาผง ขนาด 3-6 กรัม  

องค์ประกอบทางเคมี:
           ส่วนเมล็ดพบน้ำมันระเหยยาก ประมาณ 23%  โดยมีกรดไขมันชนิดแอลฟา ไลโนเลอิก (ALA) คิดเป็น 34% ของกรดไขมันทั้งหมด วิตามินซี 37% นอกจากนี้ยังพบสารเมือก (mucilage) และเลคติน (lectin) เป็นองค์ประกอบของเมล็ดด้วย สารสำคัญที่พบแยกตามกลุ่มสารดังนี้
           Imidazole alkaloid เช่น lepidine B, lepidine C, lepidine D, lepidine E, lepidine F, semilepidinoside A, semilepidinoside B        Glucosinolate พบประมาณ 1.2% ในส่วนประกอบของน้ำมันระเหยง่าย จากใบ และเมล็ด เช่น N,N-dibenzylurea N,N-dibenzylthiourea, benzylthiocyanate, benzylisothiocyanate, benzylcyanide, sinapic acid ethyl ester

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
          ฤทธิ์ระบาย เพิ่มการขับเคลื่อนอาหารผ่านลำไส้

          การศึกษาพบว่าสารสกัดด้วย 70% เมทานอล จากเมล็ดเทียนแดงที่ความเข้มข้น 30 และ 100 mg/kg สามารถทำให้อุจจาระของหนู mice เปียกและนุ่มลง คิดเป็น 53.8±9.2% และ 63.2±5.3% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน carbamylcholine (CCh )ขนาด 1 mg/kgทำให้อุจจาระเปียก 73.6±6.8% และในขณะเดียวกันพบว่าสารสกัดของเทียนแดงมีผลต่อการเพิ่มการขับเคลื่อนอาหารผ่านลำไส้เล็ก โดยการทดสอบกับอาหารที่ผสม charcoal ป้อนให้หนูเม้าส์ หลังจากนั้น 30 นาที นำลำไส้หนูมาตรวจสอบ พบว่าสารสกัดในขนาด 30 และ 100 mg/kg, สารมาตรฐาน CCh 1 mg/kg, และ negative contol ด้วย salineมีผลเพิ่มการขับเคลื่อนของอาหารผ่านลำไส้เล็กได้เท่ากับ 73.9±1.8% (p < 0.01), 86.7±2.8% (p < 0.001), 96.3±2.9% และ 57.1±2.6% ของความยาวลำไส้เล็ก ตามลำดับ การเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ของลำไส้ได้มากขึ้น ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือท้องอืดเฟ้อ (Rehmana, et al., 2011)

          ฤทธิ์ลดความดันโลหิต 

          สารสกัดเมล็ดด้วยน้ำ เมื่อให้หนูที่มีความดันโลหิตสูงกิน ในขนาด 20 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 สัปดาห์ มีผลลดความดันได้ในวันที่ 7 ของการได้รับสารสกัด โดยไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และไม่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แต่ในหนูปกติจะเพิ่มการขับปัสสาวะ  (Maghrani, et al., 2005)

          ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

          สารสกัดเมล็ดด้วยน้ำ เมื่อให้หนูกิน ขนาดสูงครั้งเดียว หรือให้ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 15 วัน สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูเบาหวาน และหนูปกติ โดยไม่ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดเปลี่ยนแปลง และทำให้น้ำหนักตัวหนูลดลง (Eddouks, et al., 2005)

          ฤทธิ์ลดคลอเรสเตอรอล

          การให้น้ำมันจากเมล็ด ในขนาด 10% แก่หนู เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าลดระดับคลอเรสเตอรอลที่ตับได้ 12.3% ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ 40.4% ลดระดับ LDL 9.45% แต่ระดับ HDL ไม่เปลี่ยนแปลง น้ำหนักตัว และน้ำหนักของอวัยวะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง    ระดับ ALA, EPA, DHA ในตับ และซีรัมเพิ่มขึ้น (Diwakar, et al., 2008)

          ฤทธิ์ขยายหลอดลม

          สารสกัดบิวทานอลจากเมล็ด เมื่อให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้หลอดลมหดตัว ด้วยสารฮีสตามีน และอะเซทิลโคลีน พบว่าสามารถป้องกันหลอดลมหดตัวได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน ketotifen (1 มก./กก.) และ atropine sulphate (2 มก./กก.) (Mali, et al., 2008)


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           สารสกัดผลแห้งด้วย 50% เอทานอล ขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่มีพิษไม่ว่าจะให้หนูถีบจักรกิน หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และสารสกัดเมล็ดด้วย 95% เอทานอล ไม่มีพิษ เมื่อให้หนูถีบจักรกินขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม ครั้งเดียว หรือให้กินขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ทุกวันติดต่อกัน เป็นเวลา 90 วัน  (นันทวัน และอรนุช, 2541)
           เทียนแดงมีส่วนประกอบของ mustard oil  การกินในขนาดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบได้ (Duke, et al., 2002)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 2. บริษัท ประชาชน จำกัด:กรุงเทพมหานคร, 2541.

2. Diwakar BT, Duttaa PK, Lokesh BR, Naidu KA.Bio-availability and metabolism of n-3 fatty acid rich garden cress (Lepidium sativum) seed oil in albino rats. Prostaglandins, Leukotrienes and Essential Fatty Acids 2008:78; 123–130.

3. Duke JA, Bogenschutz-Godwin MJ, duCellier J, Duke P-A. Handbook of Medicinal  Herbs. 2nd. CRC Press: Washinton D.C., 2002.

4. Eddouks M, Maghrani M, Zeggwagh N-A, Michel JB.Study of the hypoglycaemic activity of Lepidium sativum L. aqueous extract in normal and diabetic rats.J  Ethnopharmacology  2005:97;391-395.

5. Maghrani M, Zeggwagh N-A, Michel J-B, Eddouks M. Antihypertensive effect of Lepidium sativum L. in spontaneously hypertensive rats. J  Ethnopharmacology  2005:100;193–197.

6. Mali RG, Shailaja G. Mehta AA, Mehta MA. Studies on bronchodilatory effect of Lepidium sativum against allergen induced bronchospasm in guinea pig.Phcog Mag 2008:4(15);189-192.

7. Rehmana N, Mehmooda MH, Alkharfy KM, Gilania A-H.Prokinetic and laxative activities of Lepidium sativumseed extract with speciesand tissue selective gut stimulatory actions. J Ethnopharmacology. 2011;134:878–883.

 

ข้อมูลตำรับยาธาตุบรรจบ: www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ เทียนแดง

...

Other Related เทียนแดง

ข้อมูล เทียนแดง จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


เทียนแดง ต้นอ่อน การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Brassicales วงศ์: Brassicaceae สกุล: Lepidium สปีชีส์: L.  sativum ชื่อทวินาม Lepidium sativum L. เทียนแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepidium sativum อยู่ในวงศ์ Brassicaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอธิโอเปีย เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง เรียบหรือมีขน ใบเดี่ยว ดอกช่อ รวมเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก กลีบดอกสีขาวถึงสีม่วงอ่อน ผลมีปีกแคบๆ มีสองเมล็ด ขนาดเล็ก สีแดงหรือแดงอมน้ำตาล ผิวเรียบไม่มีขน ใช้แก้เสมหะ แก้ลม แก้คลื่นไส้อาเจียน เทียนแดงใช้ใส่ในซุป แซนด์วิช และสลัดเพื่อเพิ่มรสชาติ[1] กินในรูปต้นอ่อนได้ เมล็ดทั้งสดและแห้งใช้แต่งรส[2] ในอังกฤษ นิยมใส่ในแซนด์วิชคู่กับไข่ต้ม มายองเนส และเกลือ เทียนแดงเติบโตได้ทุกที่ เทียนแดง ดิบคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)พลังงาน134 กิโลจูล (32 กิโลแคลอรี)คาร์โบไฮเดรต5.5 gน้ำตาล4.4 gใยอาหาร1.1 g โปรตีน2.6 g วิตามินวิตามินเอบีตา-แคโรทีนลูทีน ซีอาแซนทิน(43%) 346 μg(38%)4150 μg12500 μgไทอามีน (บี1 ) (7%) 0.08 มก.ไรโบเฟลวิน (บี2 ) (22%) 0.26 มก.ไนอาซิน (บี3 ) (7%) 1 มก.กรดแพนโทเทนิก (บี5 ) (5%) 0.247 มก.วิตามินบี6 (19%) 0.247 มก.โฟเลต (บี9 ) (20%) 80 μgวิตามินซี(83%) 69 มก.วิตามินอี(5%) 0.7 มก.วิตามินเค(516%) 541.9 μg แร่ธาตุแคลเซียม(8%) 81 มก.เหล็ก(10%) 1.3 มก.แมกนีเซียม(11%) 38 มก.แมงกานีส(26%) 0.553 มก.ฟอสฟอรัส(11%) 76 มก.โพแทสเซียม(13%) 606 มก. Link to USDA Database entry หน่วย μg = ไมโครกรัม ● mg = มิลลิกรัม IU = หน่วยสากล ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central อ้างอิง

ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.หน้า 173 แหล่งข้อมูลอื่น

Time-lapse video showing garden cress growth ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก ↑ Hirsch, David P.. The Moosewood Restaurant kitchen garden: creative gardening for the adventurous cook. Ten Speed Press, 2005. ISBN 1-58008-666-7, ISBN 978-1-58008-666-0 ↑ Vegetables of Canada. NRC Research Press. ISBN 0-660-19503-8, ISBN 978-0-660-19503-2 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=เทียนแดง&oldid=7871426"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ เทียนแดง

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1251

ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬ
ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬยาริดสีดวงมหากาฬ เป็นตำรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้ในการบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก ประกอบด้วยสมุนไพรต่างๆ รวม 22 ชนิด ได้แก่ มดยอบ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว โกฐกักกรา โกฐสอ โกฐจุฬาลำพา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สนเทศ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สะค้าน สมุลแว้ง ดีปลี พริกไทย ขิง และอบเชยเทศ ในการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัด 80% เอทานอลของยาริดสีดวงมหากาฬในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิ...

สมุนไพรอื่นๆ

176

ทองหลางใบด่าง
ทองหลางใบด่าง ชื่อเครื่องยาทองหลางใบด่าง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาทองหลางใบด่าง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ทองหลางลาย ชื่อวิทยาศาสตร์Erythrina variegata L. ชื่อพ้องChirocalyx candolleanus Walp., Chirocalyx divaricatus Walp., Chirocalyx indicus Walp., Chirocalyx pictus Walp., Corallodendron divaricatum (Moc. & Sesse) Kuntze, Corallodendron orientale (L.) Kuntze, Corallodendron spathaceum (DC.) Kuntze, Erythrina alba Cogn. & March...

150

อ้อยแดง
อ้อยแดง ชื่อเครื่องยาอ้อยแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาอ้อยดำ ได้จากลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอ้อยแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Saccharum officinarum Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Graminae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละ...

95

เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต ชื่อเครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น (เถา) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด ชื่อวิทยาศาสตร์Cissus quadrangularis L. ชื่อพ้องCissus bifida Schumach. & Thonn., C. edulis Dalzell, C. quadrangula L., C. succulenta (Galpin) Burtt-Davy, C. tetragona Harv., C. tetraptera Hook.f., C. triandra Schumach. & Thonn., Vitis quadrangularis (L.) Wall. ex Wight...

145

หอมแดง
หอมแดง ชื่อเครื่องยาหอมแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหอมหัวแดง ได้จากลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหอมแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หอมแกง (ภาคกลาง ภาคใต้) หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว (ภาคกลาง) หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (พายัพ) ผักบั่ว (อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium ascalonicum L. ชื่อพ้องAllium carneum Willd., Allium fissile Gray, Allium hierochuntinum Boiss., Porrum ascalonicum ชื่อวงศ์Amaryllidaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:   &nbs...

155

ผักชีลา
ผักชีลา ชื่อเครื่องยาผักชีลา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาผักชีลา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชี ผักหอมป้อม ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักชีไทย ผักชีหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum L. ชื่อพ้องBifora loureiroi Kostel., Coriandropsis syriaca H.Wolff, Coriandrum globosum Salisb., Coriandrum majus Gouan, Selinum coriandrum ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:         ...

130

ส้มโอมือ
ส้มโอมือ ชื่อเครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มมือ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus medica L. ชื่อพ้องAurantium medicum (L.) M. Gómez, Citrus alata (Tanaka) Yu.Tanaka, , C. balotina Poit. & Turpin, C. bicolor Poit. & Turpin, C. bigena Poit. & Turpin, C. cedra Link, C. cedrata Raf., C. crassa Hassk., C. fragrans Salisb., C. gongra Raf., C. hassaku Yu.Tanaka, C. hiroshimana Yu.Tanaka, C. kizu Yu.Tanak...

173

ข่า
ข่า ชื่อเครื่องยาข่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กฎุกโรหินี ข่าตาแดง (กลาง); ข่าหยวก ข่าใหญ่ ข่าหลวง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Alpinia galanga (L.) Willd. ชื่อพ้องAlpinia alba (Retz.) Roscoe, Alpinia bifida Warb., Alpinia carnea Griff., Alpinia pyramidata Blume, Alpinia rheedei Wight, Alpinia viridiflora Griff., Amomum galanga (L.) Lour. , Amomum medium Lour., Galanga officinalis Salisb., Hellenia alba (Ret...

198

ครั่ง
ครั่ง ชื่อเครื่องยาครั่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาครั่งดุ้น ครั่งดิบ, จุ้ยเก้ง (จีน) ได้จากสารที่ขับถ่ายจากแมลงครั่ง (ลักษณะเป็นยางหรือชัน) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์แมลงครั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccifera chinensis Mahdihassan) ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์แมลงครั่ง (ชื่อวงศ์ Lacciferidae) ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เป็นก้อนแข็งสีน้ำตาลแดง มีรูปร่างเป็นปมตะปุ่มตะป่ำต...

70

เทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน ชื่อเครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชีลาว, มะแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์Anethum graveolens L. ชื่อพ้องAnethum arvense Salisb., Angelica graveolens (L.) Steud., Ferula graveolens (L.) Spreng., Peucedanum graveolens (L.) Hiern, Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz, Selinum anethum Roth, Selinum graveolens ชื่อวงศ์Apiaceae (Umbelliferae) ลักษ...

เม็ดแมงลักแดง ประโยชน์ของเม็ดแมงลักแดง อาหารสุขภาพเมนูลดน้ำหนักราคาประหยัด ด้วยแมงลักแดง Red Basil

เม็ดแมงลักแดง ประโยชน์ของเม็ดแมงลักแดง อาหารสุขภาพเมนูลดน้ำหนักราคาประหยัด ด้วยแมงลักแดง Red Basil

เม็ดแมงลักแดง ประโยชน์ของเม็ดแมงลักแดง อาหารสุขภาพเมนูลดน้ำหนักราคาประหยัด ด้วยแมงลักแดง Red Basil

View
เทียนแดง

เทียนแดง

เทียนแดง

View
เทียนแดง เทียนดำ เทียนต้น หรือ เทียนย้อมมือ เทียนตากบ เทียนตาตั๊กแตน

เทียนแดง เทียนดำ เทียนต้น หรือ เทียนย้อมมือ เทียนตากบ เทียนตาตั๊กแตน

เทียนแดง เทียนดำ เทียนต้น หรือ เทียนย้อมมือ เทียนตากบ เทียนตาตั๊กแตน

View
เทียนดำ ทบทวนเภสัชกรรมไทย

เทียนดำ ทบทวนเภสัชกรรมไทย

เทียนดำ ทบทวนเภสัชกรรมไทย

View
ยาล้างใต สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นหญ้าพันงูเขียว หรือหญ้าน้ำดับไฟ หรืออาจจะมีชื่ออื่นอีกของแต่ละพื้นที่

ยาล้างใต สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นหญ้าพันงูเขียว หรือหญ้าน้ำดับไฟ หรืออาจจะมีชื่ออื่นอีกของแต่ละพื้นที่

ยาล้างใต สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นหญ้าพันงูเขียว หรือหญ้าน้ำดับไฟ หรืออาจจะมีชื่ออื่นอีกของแต่ละพื้นที่

View
เมล็ดแมงลักแดง กินดี มีประโยชน์

เมล็ดแมงลักแดง กินดี มีประโยชน์

เมล็ดแมงลักแดง กินดี มีประโยชน์

View
[Beat LIVE] ยา ๙ รสในการแพทย์แผนไทย

[Beat LIVE] ยา ๙ รสในการแพทย์แผนไทย

[Beat LIVE] ยา ๙ รสในการแพทย์แผนไทย

View
กระดูกไก่ทั้ง4 สมุนไพรสามัญประจำบ้าน วรากรสมุนไพร ไอดีไลน์ herbsddd

กระดูกไก่ทั้ง4 สมุนไพรสามัญประจำบ้าน วรากรสมุนไพร ไอดีไลน์ herbsddd

กระดูกไก่ทั้ง4 สมุนไพรสามัญประจำบ้าน วรากรสมุนไพร ไอดีไลน์ herbsddd

View
จุดเทียนแดงรับโชค Live สด1

จุดเทียนแดงรับโชค Live สด1

จุดเทียนแดงรับโชค Live สด1

View
ใบกาว(เทียนกิ่ง) ปิดผมขาว บำรุงเส้นผม/รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ/โดยฮอยไทยอีสาน HD

ใบกาว(เทียนกิ่ง) ปิดผมขาว บำรุงเส้นผม/รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ/โดยฮอยไทยอีสาน HD

ใบกาว(เทียนกิ่ง) ปิดผมขาว บำรุงเส้นผม/รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ/โดยฮอยไทยอีสาน HD

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับเทียนแดง
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่