Menu

เทียนขาว

ชื่อเครื่องยา

เทียนขาว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ยี่หร่า

ได้จาก

ผลแก่แห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

เทียนขาว

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ยี่หร่า

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cuminum cyminum L.

ชื่อพ้อง

Cuminia cyminum J.F.Gmel., Cuminum aegyptiacum Mérat ex DC., Cuminum hispanicum Mérat ex DC., Cuminum odorum Salisb., Cuminum sativum J.Sm., Cyminon longeinvolucellatum St.-Lag.

ชื่อวงศ์

Apiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลแห้ง รูปยาวรี สีน้ำตาล กว้าง 1.3-2.0 มิลลิเมตร ยาว 4.5-6.7 มิลลิเมตร เมื่อแก่แตก แบ่งเป็น 2 ซีก แต่ละซีกมี 1 เมล็ด ซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันหรือด้านแนวเชื่อม มีลักษณะเว้า ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของผล ลักษณะคล้ายเส้นด้ายจำนวน 3 เส้น ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันนูน พบขนแข็งสั้นๆ หักง่ายปกคลุมอยู่ที่สัน ระหว่างสันมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ มีขนแข็ง เมล็ดมีกลิ่นหอม น้ำมันจากเมล็ดมีรสชาติเผ็ดร้อน ขม

 

เครื่องยา เทียนขาว

 

เครื่องยา เทียนขาว

 

เครื่องยา เทียนขาว

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณน้ำไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 3% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 9% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ไม่น้อยกว่า 2.5% v/w  (THP III)

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: มีฤทธิ์กระตุ้น ขับลม ใช้ขับผายลมในเด็ก ปรุงเป็นยาหอมขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับเสมหะ แก้นิ่ว ขับระดูขาว ผสมกับยาระบายแก้ปวดมวน ไซร้ท้อง ใช้เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย
           ในตำรายาไทย: มีการใช้ผลเทียนขาว ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ปรากฏการใช้ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ในการรักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่
                1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเทียนขาว อยู่ในพิกัดเทียนทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของเทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนสัตตบุษย์ และเทียนเยาวพาณี ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของเทียนขาว และเทียนดำ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ
           ถึงแม้ว่าเทียนขาวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ แต่เทียนขาว เป็นสมุนไพรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากมีแหล่งกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีปลูกกันอยู่ทั่วๆไปทางยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาเหนือ แต่ได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า พิกัดเทียน
           เครื่องยาพิกัดเทียน เทียนขาวจัดอยู่ใน “พิกัดเทียน”  ที่ประกอบด้วย“พิกัดเทียนทั้ง 5” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก และเทียนตาตั๊กแตน “พิกัดเทียนทั้ง 7” (มีเทียนเยาวพาณี และเทียนสัตตบุษย์ เพิ่มเข้ามา) “พิกัดเทียนทั้ง 9” (มีเทียนตากบ และเทียนเกล็ดหอย เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดเทียน คือ ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิต และใช้ในตำรับยาหอม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ยาผง ขนาด 0.5-2 กรัม

องค์ประกอบทางเคมี:
           ในน้ำมันยี่หร่า (cumin oil) ประกอบด้วยน้ำมันระเหยง่าย ซึ่งมี cuminaldehyde 25-35% เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ยังพบสารเทอร์ปีนชนิดอื่น ๆ ได้แก่ pinene dipentine cumene cuminic-alcohol cuminic aldehyde, cuminal, safranal, p-cymene, dipentine, cumene, cuminic alcohol, alpha-phellandrene, beta-phellandrene, alpha และ beta-pinene, delta-3-carene, 1,8-cineole, limonene, alpha และ gamma-terpinene, alpha-terpineol, terpinene-4-ol cuminyl alcohol, trans-dihydrocarvone, myrcene, linalool, beta-caryophyllene, beta-farnesene, beta-elemene
           สารกลุ่ม glycosides: monoterpenoid glucosides (p-menthane glucoside, hydroxycuminyl glucoside), sesquiterpenoid glucosides (cuminosides A และ B), alkyl glycosides (1S,5S,6S,10S)-10-hydroxyguaia-3,7(11)-dien-12,6-olide beta-D-glucopyranoside, (1R,5R,6S,7S,9S,10R,11R)-1,9-dihydroxyeudesm-3-en-12,6-olide  9-O-beta-D-glucopyranoside, methyl beta-D-apiofuranosyl-(1 to 6) -beta-D- glucopyranoside, ethane-1,2-diol 1-O-beta-D-apiofuranosyl-(1 to 6)-beta-D-glucopyranoside และสาร 2-C-methyl-D-erythritol glycosides
           สารกลุ่ม flavonoids: (อนุพันธ์ 7-O-beta-D-glucopyranosides ของ apigenin และ luteolin), flavonoid glycoside (3’-5,dihydroxyflavone 7-O-beta-D-galacturonide 4’-O-beta-D-glucopyranoside)
           สารสกัดเมทานอลจากผล พบ Sesquiterpenoid glucoside คือ Cuminoside A, B

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

           ฤทธิ์เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร
          
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดชนิดต่างๆจากเมล็ดเทียนขาว ในการเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร โดยการสกัดสารสำคัญจากเทียนขาว ได้สารสกัดทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่ saline extract (0.5N HCl), hot aqueous extract (สารสกัดด้วยน้ำร้อน), oleoresin (สกัดด้วยอะซิโตน) และ น้ำมันหอมระเหยทำการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ amylase, protease, lipase และ phytase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้ง, โปรตีน, ไขมัน และไฟเตต ตามลำดับ (ไฟเตตพบในพืชผัก ร่างกายต้องใช้ไฟเตสย่อยให้กลายเป็นฟอสเฟตก่อนดูดซึม) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดในส่วน saline extractsและ hot aqueous extracts แสดงฤทธิ์สูงสุดในการเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ทั้ง 4 ชนิด โดย hot aqueous extracts สามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ amylase, protease, lipase และ phytase ได้เท่ากับ 300± 63, 7250±331, 37.15±5,196± 20 U/mg protein/g cumin/min ตามลำดับ saline extracts สามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ amylase, protease, lipase และ phytase ได้เท่ากับ 269±32, 8450± 380, 36.98 ±5, 150±15U/mg protein/g cumin/min ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ ได้เท่ากับ 4.0±0.1,  183.6±1.2, 2.94±0.5, 1.66± 0.5U/mg protein/g cumin/min ตามลำดับ ดังนั้นสารสกัดเทียนขาวอาจนำมาใช้ในสูตรอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มการย่อยอาหารได้ (Milan, et al., 2008)

          ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

          การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori  ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่พบที่กระเพาะอาหาร เป็นเชื้อที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการท้องอืดเฟ้อ แผลในกระเพาะอาหาร ทดสอบโดยใช้สารสกัดเอทานอล หรือสารสกัดน้ำของเทียนขาว ใช้เทคนิค disc diffusion test และวัดค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลของเทียนขาวมีค่า MIC90เท่ากับ 0.075 mg/mLซึ่งแสดงว่าสารสกัดมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ H. pylori ในหลอดทดลอง (Nostro, et al., 2005) 

         การศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Vibrio sp. ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่ก่อโรคอาหารเป็นพิษ หรือทางเดินอาหารอักเสบ ทดสอบน้ำมันระเหยง่ายจากเมล็ดเทียนขาว และทำการศึกษาปริมาณสารสำคัญโดยใช้เทคนิค GC-MS พบองค์ประกอบหลักคือ cuminlaldehyde (39.48%), gamma-terpinene (15.21%), O-cymene (11.82%), beta-pinene (11.13%), 2-caren-10-al (7.93%), trans-carveol (4.49%) และ myrtenal (3.5%) และทำการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยใช้ เทคนิค micro-well พบว่าน้ำมันระเหยง่ายจากเมล็ดเทียนขาวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มVibrio spp.โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 0.078–0.31 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC)  เท่ากับ 0.31–1.25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร (Hajlaoui, et al., 2010) 

 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ        

         การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของน้ำมันระเหยง่ายจากเมล็ดเทียนขาว ในการจับอนุมูลอิสระด้วยวิธีทางเคมี โดยใช้อนุมูลอิสระ DPPH เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน BHT ซึ่งเป็นสารกันเสียสังเคราะห์ ผลการทดลองพบว่าน้ำมันระเหยง่ายจากเทียนขาว และ BHT สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 31และ 11.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ความสามารถในการจับอนุมูล superoxide (อนุมูลอิสระของออกซิเจน ที่เกิดจากขบวนการต่างๆ ในร่างกาย) ของเทียนขาว และ BHT มีค่า IC50 เท่ากับ 16 และ 1.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ความสามารถในการรีดิวส์ (Reducing power) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ ของเทียนขาว และ BHT มีค่า EC50 เท่ากับ 11 และ 75 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังทำการทดสอบฤทธิ์ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของไขมัน โดยใช้เทคนิค beta-carotene bleaching พบว่าน้ำมันระเหยง่ายจากเมล็ดเทียนขาว และสารมาตรฐาน BHT สามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของกรดไขมัน  โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 20 และ 75 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (Hajlaoui, et al., 2010) 

 

การศึกษาทางคลินิก:
           -
การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษของผลเทียนขาว จากรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าการให้หนูถีบจักรกิน หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ซึ่งคิดเป็น 5,000 เท่า เมื่อเทียบกับขนาดการรักษาในคน ไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

           การให้เทียนขาว 2% ในอาหารไม่ก่อให้เกิดพิษในหนู แต่ในปริมาณ 10% จะทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติ และมีผลต่อตับและไต
           การทดลองในหลอดทดลองพบว่าเทียนขาวไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์
           น้ำมันหอมระเหยเทียนขาวอาจทำให้ผิวหนังเกิดการไวต่อแสง

 

เอกสารอ้างอิง:

1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.

2. Hajlaoui H, Mighri H, Noumi E, Snoussi M, Trabelsi N, Ksouri R, et al. Chemical composition and biological activities of Tunisian Cuminum cyminum L. essential oil: A high effectiveness against Vibrio spp. strains. Food and Chemical Toxicology. 2010;48:2186-2192.

3. Milan KSM, Dholakia H, Tiku PK, Vishveshwaraiah P. Enhancement of digestive enzymatic activity by cumin (Cuminum cyminum L.) and role of spent cumin as a bionutrient. Food Chemistry. 2008;110:678-683.

4. Nostro A, Cellini L, Bartolomeo SD, Campli ED, Grande R, Cannatelli MA, et al. Antibacterial effect of plant extracts against Helicobacter pylori. Phytother Res. 2005;19(3):198-202.

 

ข้อมูลตำรับยาธาตุบรรจบ : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ เทียนขาว

...

Other Related เทียนขาว

ข้อมูล เทียนขาว จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


บทความนี้เกี่ยวกับเมล็ดยี่หร่า สำหรับใบยี่หร่า ดูที่ กะเพราควาย ยี่หร่า การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids อันดับ: Apiales วงศ์: Apiaceae สกุล: Cuminum สปีชีส์: C.  cyminum ชื่อทวินาม Cuminum cyminum L.[1] เมล็ดยี่หร่า หรือ เทียนขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Cuminum cyminum อยู่ในวงศ์ Apiaceae เมื่อใช้เป็นเครื่องเทศเรียกยี่หร่า (cumin) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีขน ดอกช่อแบบก้านซี่ร่ม ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู ผลแบบผักชี มีรสเผ็ดร้อน ขม ใช้แก้ลม ดีพิการ ขับเสมหะ ยี่หร่าใช้เป็นเครื่องเทศที่สำคัญในแกงกะหรี่และมัสมั่น อาหารไทยใช้ใบยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่นแกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ส่วนต้นและรากตากให้แห้ง ช่วยย่อย ยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีน้ำมันระเหยง่ายเรียกน้ำมันยี่หร่า (cumin oil) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้[2] เมล็ดยี่หร่า อ้างอิง

ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.หน้า 159 – 160 ↑ "Cuminum cyminum information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 13 March 2008 . ↑ ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ยี่หร่า&oldid=10342403"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ เทียนขาว

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1251

ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬ
ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬยาริดสีดวงมหากาฬ เป็นตำรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้ในการบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก ประกอบด้วยสมุนไพรต่างๆ รวม 22 ชนิด ได้แก่ มดยอบ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว โกฐกักกรา โกฐสอ โกฐจุฬาลำพา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สนเทศ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สะค้าน สมุลแว้ง ดีปลี พริกไทย ขิง และอบเชยเทศ ในการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัด 80% เอทานอลของยาริดสีดวงมหากาฬในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิ...

1497

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของน้ำมันเมล็ดเทียนขาวในผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของน้ำมันเมล็ดเทียนขาวในผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุงการศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสามทาง และมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม (A randomized, triple blind, placebo-controlled clinical trial) ในผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) จำนวน 56 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับแคปซูลนิ่มบรรจุน้ำมันเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminum L. essential oil; CuEO) ขนาด 75 มก. หรือยาหลอก วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์สัดส่วนของร่างกาย (anthropometric p...

991

ฤทธิ์ต้านเบาหวานจากสารสำคัญของเมล็ดเทียนขาว
ฤทธิ์ต้านเบาหวานจากสารสำคัญของเมล็ดเทียนขาวสาร cuminaldehyde และ cuminol ซึ่งแยกได้จากสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ของเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminum ) มีฤทธิ์ต้านเบาหวานเมื่อทำการทดสอบในหนูแรกที่เหนี่ยวนำให้เกิดเบาหวานด้วยสาร streptozotocin โดยพบว่าสาร cuminaldehyde และสาร cuminol ที่ขนาด 25 มก./มล. สามารถเพิ่มการหลั่งอินซูลิน ด้วยกลไกในการปิดกั้น ATP-sensitive K (K+-ATP) channel และการเพิ่ม Ca2+ ภายในเซลล์ โดยกลไกดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป และไม่ทำให้เบต้าเซลล์ (β-c...

1500

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจากเมล็ดเทียนขาวในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจากเมล็ดเทียนขาวในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุงการศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสามทาง และมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม (A randomized, triple blind, placebo-controlled clinical trial) เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminum L. essential oil; CuEO) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาการแทรกซ้อนในภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 56 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี โดยสุ่มแยกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับ CuEO รูปแบบ so...

992

ฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูงของสารสกัดน้ำจากเมล็ดเทียนขาว
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูงของสารสกัดน้ำจากเมล็ดเทียนขาวสารสกัดน้ำของเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminum ) มีฤทธิ์ต้านภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อทดสอบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงด้วยวิธี two-kidney one-clip (2K/1C) โดยให้หนูกินสารสกัดในขนาด 200 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่าสารกัดสามารถยับยั้งการลดลงของ nitric oxide และทำให้ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure; SBP) ลดลง นอกจากนี้ยังทำให้การแสดงออกของยีน endothelial nitric-oxide synthase (eNOS), Bcl-2,...

1499

ฤทธิ์ต้านอาการแพ้จากสารสกัดน้ำของเมล็ดเทียนขาว
ฤทธิ์ต้านอาการแพ้จากสารสกัดน้ำของเมล็ดเทียนขาวการทดสอบฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดน้ำจากเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminumCytotechnology. 2019;71(2):599-609. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

สมุนไพรอื่นๆ

133

สมอพิเภก
สมอพิเภก ชื่อเครื่องยาสมอพิเภก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาผล ได้จาก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอพิเภก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลัน สมอแหน แหน แหนขาว แหนต้น สะคู้ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกลมหรือรี แข็ง กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีสัน 5 สัน ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดเดี่ยวแข็ง ผลอ่อน...

124

ว่านน้ำ
ว่านน้ำ ชื่อเครื่องยาว่านน้ำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากรากและลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านน้ำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านน้ำเล็ก ตะไคร้น้ำ คาเจียงจี้ ทิสืปุตอ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน ฮางคาวผา ชื่อวิทยาศาสตร์Acorus calamus L. ชื่อพ้องAcorus angustatus Raf., Acorus angustifolius Schott, Acorus belangeri Schott, Acorus calamus-aromaticus Clairv., Acorus casia Bertol., Acorus commersonii Schott, Acorus commutatus Schott, Acorus elatus Salisb...

165

สารภี
สารภี ชื่อเครื่องยาสารภี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสารภี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ทรพี สร้อยพี สารภีแนน ชื่อวิทยาศาสตร์Mammea siamensis T. Anderson ชื่อพ้อง Calysaccion siamense Miq. ชื่อวงศ์Calophyllaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ดอกขนาดเล็ก ทรงกลมกลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้สีเหลือง จำนวนมาก ดอกแห้งสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ...

17

กระทือ
กระทือ ชื่อเครื่องยากระทือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่สด หรือแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระทือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระทือ (ภาคกลาง) กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน) เฮียวดำ เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ชื่อพ้องAmomum silvestre Poir., A. spurium (J.Koenig) J.F.Gmel., A. zerumbet L., Cardamomum spurium (J.Koenig) Kuntze, Diete...

111

ยอ
ยอ ชื่อเครื่องยายอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยายอบ้าน ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยายอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะตาเสือ แยใหญ่ ยอบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifolia Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกลม หรือรูปทรงกระบอกมน ขนาด 3-10 ซม. เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวไม่เรียบ มีตาเป็นตุ่มๆ รอบผล ผลสดแก่สีขาวอมเขียว หรือออกเหลือง เมื่อแก่จัดมีสีขาวและมีกลิ่นเหม็น...

121

ลูกจันทน์
ลูกจันทน์ ชื่อเครื่องยาลูกจันทน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหน่วยสาน ได้จากเมล็ดแห้ง (จากผลสุก) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์เทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูกจันทน์ จันทน์บ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Myristica fragrans Houtt. ชื่อพ้องAruana silvestris Burm.f., Myristica aromatica Sw., Myristica moschata Thunb., Myristica officinalis L.f., Palala fragrans (Houtt.) Kuntze ชื่อวงศ์Myristicaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &nbs...

35

ขลู่
ขลู่ ชื่อเครื่องยาขลู่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขลู่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ขลู คลู(ใต้) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Pluchea indica (L.) Less. ชื่อพ้องPluchea foliolosa DC., corymbosa Roxb., Conyza indica Mig., Baccharis indica ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปไข่...

110

เมื่อยแดง
เมื่อยแดง ชื่อเครื่องยาเมื่อยแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเมื่อยดูก ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเมื่อยแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เมื่อย ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่) ชื่อวิทยาศาสตร์Gnetum macrostachym Hook.f. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Gnetaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้พุ่มรอเลื้อย เถาเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกเถาส...

45

งา
งา ชื่อเครื่องยางา ชื่ออื่นๆของเครื่องยางาขาว งาดำ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)งาขาว งาดำ ชื่อวิทยาศาสตร์Sesamum indicum L. ชื่อพ้องSesamum orientale ชื่อวงศ์Pedaliaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม  น้ำมัน รสฝาดร้อน &nbs...

เทียนขาว หรือ ยี่หร่า

เทียนขาว หรือ ยี่หร่า

เทียนขาว หรือ ยี่หร่า

View
สมุนไพรใกล้ตัว ยี่หร่า

สมุนไพรใกล้ตัว ยี่หร่า

สมุนไพรใกล้ตัว ยี่หร่า

View
เอาต้นตะไคร้จริงๆ มาทำเทียนหอมไล่ยุง!! แบบฉบับเทียนสมุนไพร ไร้น้ำหอมสังเคราะห์ (ไม่เคยมีใครทำมาก่อน)

เอาต้นตะไคร้จริงๆ มาทำเทียนหอมไล่ยุง!! แบบฉบับเทียนสมุนไพร ไร้น้ำหอมสังเคราะห์ (ไม่เคยมีใครทำมาก่อน)

เอาต้นตะไคร้จริงๆ มาทำเทียนหอมไล่ยุง!! แบบฉบับเทียนสมุนไพร ไร้น้ำหอมสังเคราะห์ (ไม่เคยมีใครทำมาก่อน)

View
Ep. 28 แม่มดใช้สมุนไพรยังไง

Ep. 28 แม่มดใช้สมุนไพรยังไง

Ep. 28 แม่มดใช้สมุนไพรยังไง

View
สังกรณีขาว/เทียนขาว (Sang-gor-ra-nee Kaao/Tian Kaao) - Whitfieldia Elongata/White Candles 1

สังกรณีขาว/เทียนขาว (Sang-gor-ra-nee Kaao/Tian Kaao) - Whitfieldia Elongata/White Candles 1

สังกรณีขาว/เทียนขาว (Sang-gor-ra-nee Kaao/Tian Kaao) - Whitfieldia Elongata/White Candles 1

View
#ต้นยี่หร่า สรรพคุณมากมาย ทำอาหารก็อร่อย

#ต้นยี่หร่า สรรพคุณมากมาย ทำอาหารก็อร่อย

#ต้นยี่หร่า สรรพคุณมากมาย ทำอาหารก็อร่อย

View
สมุนไพรแก้โรคไข้กาฬ | ต้นสังกรณี| ฝักต้นสังกรณี | สังกรณีใบมันดอกส้ม | ep2

สมุนไพรแก้โรคไข้กาฬ | ต้นสังกรณี| ฝักต้นสังกรณี | สังกรณีใบมันดอกส้ม | ep2

สมุนไพรแก้โรคไข้กาฬ | ต้นสังกรณี| ฝักต้นสังกรณี | สังกรณีใบมันดอกส้ม | ep2

View
วิธีคั่วลูกผักชีและเม็ดยี่หร่าไว้ปรุงอาหาร How to grind coriander and caraway seed for cooking.

วิธีคั่วลูกผักชีและเม็ดยี่หร่าไว้ปรุงอาหาร How to grind coriander and caraway seed for cooking.

วิธีคั่วลูกผักชีและเม็ดยี่หร่าไว้ปรุงอาหาร How to grind coriander and caraway seed for cooking.

View
แจกสูตรตำรับยาโบราณน้ำมันมหาจักร บรรเทาอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ l Easy home

แจกสูตรตำรับยาโบราณน้ำมันมหาจักร บรรเทาอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ l Easy home

แจกสูตรตำรับยาโบราณน้ำมันมหาจักร บรรเทาอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ l Easy home

View
"ยี่หร่า" รสร้อนแรง...ผักสมุนไพรไทยยังจำกันได้รึป่าว?

"ยี่หร่า" รสร้อนแรง...ผักสมุนไพรไทยยังจำกันได้รึป่าว?

"ยี่หร่า" รสร้อนแรง...ผักสมุนไพรไทยยังจำกันได้รึป่าว?

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับเทียนขาว
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่