Menu

กระดังงาไทย

ชื่อเครื่องยา

กระดังงาไทย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

กระดังงา

ได้จาก

ดอกแก่จัด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กระดังงาไทย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ กระดังงอ สะบันงาต้น สะบานงา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cananga odorata (Lam.) Hook. f.& Thomson

ชื่อพ้อง

Cananga mitrastigma (F.Muell.) Domin, C. odoratum (Lam.) Baill. ex King, C. scortechinii King, Canangium mitrastigma (F.Muell.) Domin, C. odoratum (Lam.) Baill. ex King, C. scortechinii King , Fitzgeraldia mitrastigma F.Muell., Unona cananga Spreng., U. leptopetala DC., U. odorata (Lam.) Dunal, U. odoratissima Blanco, U. ossea Blanco, Uvaria axillaris Roxb., U. cananga Banks, U. odorata Lam., U. ossea (Blanco) Blanco, U. trifoliata

ชื่อวงศ์

Annonaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอกแก่จัดสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-6 เซนติเมตร กลีบดอก มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปร่างแคบยาว ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นคลื่น กลีบดอกชั้นในสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย เกสรตัวผู้ และรังไข่มีจำนวนมาก เกสรรวมกันเป็นรูปกลมแป้นแบน ดอกแห้งมีสีน้ำตาลดำ ยาว 3-7 เซนติเมตร กว้าง 1-4 เซนติเมตร กลีบดอกจะหลุดออกจากกันเป็นชิ้นได้ง่าย ดอกรสสุขุม มีกลิ่นหอมเฉพาะ

 

เครื่องยา กระดังงาไทย

 

เครื่องยา กระดังงาไทย

 

เครื่องยา กระดังงาไทย

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: น้ำมันดอกกระดังงา (ylang-ylang oil อิลาง-อิลาง) ใช้ปรุงน้ำหอม น้ำอบ ผสมยาหอม เครื่องสำอาง หรือยาอื่นๆ ใช้กลีบดอกลนไฟใช้อบน้ำให้หอม (น้ำดอกไม้) สำหรับใช้เป็นกระสายยา ดอกกระดังงามี มีสรรพคุณ แก้ลม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำ ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ แก้วิงเวียนศีรษะ แก้ไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษ ดอกนำมาทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม
           ดอกกระดังงาจัดอยู่ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดเกสรทั้ง 7 (สัตตะเกสร)” คือจำกัดจำนวนเกสรดอกไม้ 7 อย่าง มี เกสรบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา และดอกกระดังงา มีสรรพคุณชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ไข้เพื่อเสมหะ และโลหิต แก้ไข้เพ้อกลุ้ม แก้ลมวิงเวียน แก้น้ำดี แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โรคตา และจัดอยู่ใน “พิกัดเกสรทั้ง 9 (เนาวเกสร)”  มีดอกลำเจียก และดอกลำดวน เพิ่มเข้ามา มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต
           ดอกกระดังงา ปรากฏในตำรายาแผนโบราณ ชื่อคัมภีร์มหาโชติรัตน์ ยาชื่อมาลาสันนิบาต แก้ลมจุกคอ แก้แน่นหน้าอก แก้จุกเสียด แก้สะอึก ประกอบด้วยผลจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ลำพัน การบูร ขิงแห้ง ผลสมอ น้ำประสานทอง เถาย่าน่าง ดอกกระดังงา อย่างละ 1 ส่วน เทียนทั้ง 5 ดีปลีเท่ายาทั้งหลาย บดละลายน้ำร้อน แทรกขิงกิน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
          ดอกมีน้ำมันระเหยง่าย ประกอบด้วย benzyl acetate (25.1%), cresyl methyl ether (16.5%), linalool (13.6%), benzoic acid (8.7%), geranyl acetate (5.3%), benzyl benzoate (2.2%), caryophyllene (1.7%), pinene, benzyl alcohol, benzyl salicylate, geraniol, safrol, cadinene, eugenol, methyl isoeugenol, caryophyllene oxide, bergamotene, anethole, spathulenol, farnesol, linalool


การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา บำรุงหัวใจ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ต้านการอักเสบ ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร น้ำมันหอมระเหยจากดอกมีฤทธิ์ไล่แมลงบางชนิด


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การใช้น้ำมันกระดังงาในความเข้มข้นสูงอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้  อาเจียน และปวดศีรษะได้

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง:          www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ข้อมูล กระดังงาไทย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กระดังงา (แก้ความกำกวม) กระดังงา การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Magnoliopsida อันดับ: Magnoliales วงศ์: Annonaceae สกุล: Cananga สปีชีส์: C.  odorata ชื่อทวินาม Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson กระดังงา หรือกระดังงาไทย อังกฤษ : Ylang-ylang (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.) ชื่ออื่น สะบันงา สะบันงาต้น สะบานงา[1] (ภาคเหนือ) กระดังงาใบใหญ่[2] (กลาง) กระดังงาใหญ่[1] กระดังงอ (ยะลา) กระดังงา เป็นไม้ยืนต้นในตระกูลเดียวกับน้อยหน่าและการเวก ถิ่นกำเนิด

กระดังงามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเซียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะต้น

เป็นไม้ยืนต้น ความสูง 8-15 เมตร เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 เมตร จึงจะออกดอก[3] ประโยชน์

เปลือกใช้ทำเชือก ดอก นำไปกลั่นน้ำหอม น้ำมันหอมระเหย ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดยจัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ด ตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้เป็นยา คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอม[4] กระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis[5] การขยายพันธุ์

กระดังงาเป็นไม้เลื้อยที่เปลือกจะหนาขึ้นตามอายุ โดยสามารถตอนกิ่งได้แบบเดียวกับไม้ยืนต้น แต่มีโอกาสที่จะติดเชื้อโรค รา ทำให้กิ่งที่ชำได้มีความเปราะ กิ่งหักง่าย ส่วนใหญ่จึงนิยมจะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด [6] ความเชื่อของไทย

โดยมีความเชื่อว่า กระดัง คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล โดยนำความเชื่อมาจาก บันทึกโบราณจาก นกการะเวกในสมัยพุทธกาล มีเสียงดังไพเราะก้องไกลทั่วสวรรค์[7] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กระดังงา รายการอ้างอิง

↑ 1.0 1.1 http://www.mmp.mju.ac.th/Search_Detail_Herb_MJU.aspx?Herb_ID=0154 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลสมุนไพร ในฐานสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) ↑ http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=195 ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08 . ↑ หนังสือไม้ดอกหอม (Fragrant and aromatic plants) ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม / ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนัก ↑ อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน เก็บถาวร 2013-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ↑ http://www.jobs-thailand.com/flower/index.php?option=com_content&task=view&id=19&Itemid=38 ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08 . ดคกพรรณไม้ดอกไม้ประดับ ที่กล่าวถึงในเพลงอุทยานดอกไม้ เรียงตามลำดับการกล่าวถึง ผกา จำปา จำปี กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ กรรณิการ์ ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา สร้อยทอง บานบุรี ยี่สุ่น ขจร ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง บานชื่น พุทธชาด พวงชมพู กระดังงา รสสุคนธ์ บุนนาค นางแย้ม สารภี อุบล จันทน์กะพ้อ ผีเสื้อ เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้ ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กระดังงา&oldid=10886452"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ กระดังงาไทย

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1047

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของสารสกัดจากดอกกระดังงาไทย
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของสารสกัดจากดอกกระดังงาไทยสารสกัดเมทานอลจากดอกตูมของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ความเข้มข้น 3 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินในเซลล์มะเร็งผิวหนัง murine B16 melanoma 4A5 ที่ถูกกระตุ้นด้วย theophylline เมื่อนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่าสารสกัดเมทานอลประกอบด้วยสารในกลุ่ม lignan dicarboxylates และสารกลุ่ม terpenoids ซึ่งเมื่อนำสารเหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างเมลานิน พบว่า canangaterpene I และ (3R,3aR,8aS)-3-isopropyl-8a-methyl-8-oxo-1,2,3,3a,6,7,8,...

1319

ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทย
ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทยศึกษาฤทธิ์คลายกังวลของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยในการศึกษาแบบเฉียบพลัน ให้หนูเม้าส์สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาไทยที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10% ตามลำดับ นาน 10 นาที จากนั้น 1 ชั่วโมงนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะเครียดและวิตกกังวลด้วยวิธี open field test (OF), elevated plus maze test (EPM) และ light and dark box test (LDB) ส่วนการศึกษาแบบเรื้อรัง ให้หนูเม้าส์สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาที่ควา...

สมุนไพรอื่นๆ

197

กล้วยตีบ
กล้วยตีบ ชื่อเครื่องยากล้วยตีบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากล้วยตีบ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Musa ABB group (triploid) cv. ‘teep’ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Musaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          รากมีรูปร่างกลมยาว สีน้ำตาลดำ รสฝาดเย็น  มีเส้นใยมาก (กล้วยตีบเป็นกล้วยพันธุ์ลูกผสม ระหว่างกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) มียีโนม “A” และกล้วยตานี (Musa...

141

หม่อน
หม่อน ชื่อเครื่องยาหม่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหม่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Morus alba L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้า...

88

ฝาง
ฝาง ชื่อเครื่องยาฝาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากแก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฝาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia sappan L. ชื่อพ้องBiancaea sappan (L.) Tod. ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เนื้อไม้สีเหลืองส้ม แก่นมีสีแดง ถูกอากาศนานเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อแข็งละเอียด แก่นที่มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่าฝาง...

201

แห้วหมู
แห้วหมู ชื่อเครื่องยาแห้วหมู ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหญ้าแห้วหมู ได้จากหัวใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาแห้วหมู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) หญ้าแห้วหมู หัวแห้วหมู หญ้ามะนิ่วหมู ชื่อวิทยาศาสตร์Cyperus rotundus L. ชื่อพ้องChlorocyperus rotundus (L.) Palla, Chlorocyperus salaam (L.) Hayek, Schoenus tuberosusensis Palla, Cyperus agrestis Willd. ex Spreng. & Link, Cyperus arabicus Ehrenb. ex Boeckeler, Cyperus bicolor Vahl, Cyperus bifax C.B.Clarke,...

102

มะคังแดง
มะคังแดง ชื่อเครื่องยามะคังแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยามุยแดง ตะลุมพุกแดง ได้จากเนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Gardenia erythroclada Kurz ชื่อพ้องDioecrescis erythroclada ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:      ...

3

กระชาย
กระชาย ชื่อเครื่องยากระชาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า และราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีพู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงกระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อพ้องBoesenbergia cochinchinensis ( Gagnep.) Loes., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L., Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl....

169

ผักกระโฉม
ผักกระโฉม ชื่อเครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้มกบ ผักกะโสม ราน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. ชื่อพ้องHerpestis rugosa ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนหยาบแข็ง แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.8-4.5 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร โคนใบ...

31

โกฐพุงปลา
โกฐพุงปลา ชื่อเครื่องยาโกฐพุงปลา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากก้อนแข็ง ปูด (gall) จากใบ และยอดอ่อนของสมอไทย ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กกส้มมอ สมอ มาแน่ สมออัพยา หมากแน่ะ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia chebula Retz. var chebula ชื่อพ้องT. acuta Walp., T. gangetica Roxb., T. parviflora Thwaites, T. reticulata Roth, T. zeylanica Van Heurck & Müll. Arg., Buceras chebula (Retz.) Lyons, Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn., M. gangetica ชื่อว...

60

ตะไคร้แกง
ตะไคร้แกง ชื่อเครื่องยาตะไคร้แกง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตะไคร้บ้าน ได้จากเหง้าและลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาตะไคร้แกง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (เหนือ) เซิดเกรย (เขมร สุรินทร์) ตะไคร้ (ภาคกลาง) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี) เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์) ไคร (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ชื่อพ้องAndropogon ceriferus Hack. Andropogon citratus DC. Andropogon fragrans C.Cordem. Andropo...

กระดังงาไทย สมุนไพรหายาก ในตำรับยาไทย

กระดังงาไทย สมุนไพรหายาก ในตำรับยาไทย

กระดังงาไทย สมุนไพรหายาก ในตำรับยาไทย

View
กระดังงาไทย

กระดังงาไทย

กระดังงาไทย

View
ต้นกระดังงาไทย ไม้ประดับดอกหอมที่อยู่คู่คนไทย

ต้นกระดังงาไทย ไม้ประดับดอกหอมที่อยู่คู่คนไทย

ต้นกระดังงาไทย ไม้ประดับดอกหอมที่อยู่คู่คนไทย

View
กระดังงาสงขลา

กระดังงาสงขลา

กระดังงาสงขลา

View
Herbalbank ตอนที่ ๓ กระดังงาไทย

Herbalbank ตอนที่ ๓ กระดังงาไทย

Herbalbank ตอนที่ ๓ กระดังงาไทย

View
ต้องเลี้ยงแบบนี้!!!ปลูกกระดังงาถูกทิศ  เรียกทรัพย์ ตักทรัพย์เข้าบ้าน พร้อมคาถาเรียกทรัพย์

ต้องเลี้ยงแบบนี้!!!ปลูกกระดังงาถูกทิศ เรียกทรัพย์ ตักทรัพย์เข้าบ้าน พร้อมคาถาเรียกทรัพย์

ต้องเลี้ยงแบบนี้!!!ปลูกกระดังงาถูกทิศ เรียกทรัพย์ ตักทรัพย์เข้าบ้าน พร้อมคาถาเรียกทรัพย์

View
ขอแนะนำให้รู้จัก กระดังงาไทย ครับ

ขอแนะนำให้รู้จัก กระดังงาไทย ครับ

ขอแนะนำให้รู้จัก กระดังงาไทย ครับ

View
กระดังงา!!!สมุนไพรที่ไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม แต่ยังมีประโยชน์เยอะอีกด้วยนะ

กระดังงา!!!สมุนไพรที่ไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม แต่ยังมีประโยชน์เยอะอีกด้วยนะ

กระดังงา!!!สมุนไพรที่ไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม แต่ยังมีประโยชน์เยอะอีกด้วยนะ

View
กระดังงาไทย

กระดังงาไทย

กระดังงาไทย

View
7-34160-001-234 กระดังงาไทย

7-34160-001-234 กระดังงาไทย

7-34160-001-234 กระดังงาไทย

View