Menu

โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่อเครื่องยา

โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ ราก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโบ้ ตะชี โกวะ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปลาบ หญ้าไฟนกคุ่ม หญ้าสามสิบสองหาบ หนาดผา หนาดมีแคลน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Elephantopus scaber Linn.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Asteraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบ ทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบใบรูปหอกกลับ หรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ แผ่นใบยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ผายกว้าง แล้วสอบแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่างๆ เนื้อใบหนาสาก ก้านใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ รากที่มีอายุมากจะมีลัษณะคล้ายเหง้า รากแขนงกลมยาว ทั้งต้นมีรสกร่อยขื่น

 

เครื่องยา โด่ไม่รู้ล้ม

 

เครื่องยา โด่ไม่รู้ล้ม

 

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           สรรพคุณพื้นบ้าน: ใช้ ทั้งต้น รสกร่อยขื่น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด แก้กระษัย ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน แก้เลือดกำเดาออกง่าย แก้ฝี แก้แผลมีหนอง แก้แผลงู แก้แมลงมีพิษกัดต่อย แก้อักเสบ แก้แผลในกระเพาะอาหาร แก้แผลเปื่อยในปาก แก้เหน็บชา ราก รสกร่อยขื่น ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน ใบ รสกร่อยขื่น รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง (ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแผล แก้โรคผิวหนังผื่นคัน) แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษากามโรค รักษาโรคบุรุษ เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน แก้ไอ ทำให้เกิดความกำหนัด รากและใบ รสกร่อยขื่น ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร แก้บิด แก้กามโรคในสตรี ใช้สดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือ ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารเป็นแผล ต้มอาบหลังคลอด  ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงกำลัง ชูกำลัง ตัดกษัย บำรุงกษัยไม่ให้เกิด แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด ขับปัสสาวะ แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ แก้ไข้ ขับพยาธิไส้เดือน แก้กามโรค แก้โรคหลอดลมอักเสบ แก้ปวดบวม แก้ตับอักเสบ แก้บิด รักษาตัวบวม รักษาไตอักเสบ
    หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ บำรุงกำลัง บำรุงสมรรถภาพทางเพศ แก้ไอ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ ราก ต้มน้ำดื่ม หรือดองเหล้าดื่ม เข้ากับยากำลังเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรงบำรุงร่างกายแก้ปวดเมื่อย ราก ลำต้น ใบ และผล ต้มน้ำดื่ม แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้ไอ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ตามตำรายาพื้นบ้านมีรูปแบบการใช้ดังนี้
                      1.แก้เลือดกำเดา ใช้ต้นสด 30-60 กรัม (หรือต้นแห้ง หนัก 10-15 กรัม)  ต้มกับเนื้อหมูพอประมาณ กินติดต่อกันนาน 4-5 วัน
                      2. แก้ดีซ่าน ใช้ต้นสด 120-240 กรัม ต้มกับเนื้อหมูพอประมาณ กินติดต่อกันนาน 4-5 วัน
                      3. แก้ท้องมาน  ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น หรือตุ๋นกับเนื้อหมูรับประทาน
                      4. แก้ขัดเบา  ใช้ต้นสด15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
                      5. แก้นิ่ว  ใช้ต้นสด 90 กรัม ต้มกับเนื้อหมู 120 กรัม เติมน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ต้มเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ แบ่งไว้ดื่ม 4 ครั้ง
                      6.แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ใช้ต้นแห้ง 6 กรัม แช่ในน้ำร้อน 300 ซีซี (ประมาณขวดแม่โขง) นาน 30 นาที รินเอาน้ำดื่ม หรือจะบดเป็นผงปั้นเม็ดไว้รับประทานก็ได้
                      7.แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ  ใช้ต้นสด 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
                      8. แก้ฝีบวมหรือฝีเป็นหนอง  ใช้ต้นสด ตำผสมเกลือเล็กน้อย ละลายน้ำส้มสายชูพอข้นๆ พอก
                      9. แก้ฝีฝักบัว  ใช้ต้นสด 25 กรัม ใส่น้ำ 1 ขวด และเหล้า 1 ขวด ต้มดื่ม และใช้ต้นสดต้มกับน้ำ เอาน้ำล้างหัวฝีที่แตก

องค์ประกอบทางเคมี:
           Crepiside E, cynaropicrin deacyl; cyanaropicrin-3-?-D-glucopyranoside deacyl; dotriacontan-1-ol; elephantopin, 11-13-dihydro-deoxy; elephantopin, 11-13-dihydro; elephantopin deoxy; elephantopin, iso-deoxy; friedelanol, epi; friedelinol, epi; lupeol; stigmasterol; stigmasterol 3-O- beta-D-glucoside; triacontan-1-ol; zaluzanin C, gluco; scabertopin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิตและยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก กระตุ้นมดลูก ยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase, glutamate-oxaloacetate-transaminase และ glutamate-pyruvate-transaminase
           ตำรับยาสมุนไพรของไต้หวัน ชื่อ “Teng-khia-U” ประกอบด้วย Elephantopus scaber, Elephantopus mollis และ Pseudoelephantopus spicatus ที่สกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ปกป้องตับจากการทำลายด้วยสารเคมี beta-D-galactosamine และ acetaminophen โดยทำให้ระดับ sGOT และ sGPT ลดลง นอกจากนี้ตำรับดังกล่าวยังมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบโดยใช้การทดสอบด้วย carrageenan ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนู
           การศึกษาผลของโด่ไม่รู้ล้มในหนูเพศผู้ต่อความกำหนัด คุณภาพน้ำอสุจิ อวัยวะเพศเสริม ขนาดและกล้ามเนื้อลึงค์ และสัดส่วนเพศลูก พบว่าสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มการเกิด libido เปลี่ยนแปลงค่า osmolality และจำนวนอสุจิของน้ำอสุจิ ลดเปอร์เซ็นต์อสุจิเคลื่อนไหว เพิ่มน้ำหนักอวัยวะเพศเสริม และเพิ่มสัดส่วนเพศลูก เพศเมีย/เพศผู้

การศึกษาทางคลินิก:

           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           น้ำต้ม หรือสารสกัด 50% เอทานอลจากพืชทั้งต้น ไม่มีพิษ เมื่อให้หนูถีบจักรกินแม้จะให้ในขนาดสูงถึง 6.0 กรัม/กิโลกรัม และพบว่าขนาดของสารสกัดทั้งสองชนิดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 มีค่ามากกว่า 2 กรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้อง

การทดสอบความเป็นพิษ:
           น้ำต้ม หรือสารสกัด 50% เอทานอลจากพืชทั้งต้น ไม่มีพิษ เมื่อให้หนูถีบจักรกินแม้จะให้ในขนาดสูงถึง 6.0 กรัม/กิโลกรัม และพบว่าขนาดของสารสกัดทั้งสองชนิดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 มีค่ามากกว่า 2 กรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้อง
           สารสกัดรากและใบที่หมักกับเหล้าโรง 40 ดีกรี เมื่อนำมาป้อนหนูทดลองในขนาดความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพียงครั้งเดียว แล้วเก็บผลในวันที่ 14 ผลการทดสอบพบว่าหนูไม่แสดงอาการผิดปกติ ส่วนการทดสอบความเป็นพิษแบบระยะสั้น พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของน้ำหนักตัว น้ำหนักตับ ไต ม้าม หัวใจ adrenal cortex และอัณฑะ รวมทั้งระดับเอนไซม์ BUN creatinine AST และ ALT ของหนูทุกกลุ่ม

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ โด่ไม่รู้ล้ม

...

Other Related โด่ไม่รู้ล้ม

ข้อมูล โด่ไม่รู้ล้ม จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


โด่ไม่รู้ล้ม โด่ไม่รู้ล้มในประเทศอินเดีย การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ เคลด: แอสเทอริด อันดับ: อันดับทานตะวัน วงศ์: วงศ์ทานตะวัน สกุล: Elephantopus L. สปีชีส์: Elephantopus scaber ชื่อทวินาม Elephantopus scaber L. ชื่อพ้อง[1] Elephantopus carolinensis G.Mey. Elephantopus sordidus Salisb. Scabiosa cochinchinensis Lour. Elephantopus plurisetus (O.Hoffm.) Clonts, syn of subsp. plurisetus Elephantopus sinuatus Zoll. & Moritzi, syn of var. sinuatus Asterocephalus cochinchinensis Sprengel โด่ไม่รู้ล้ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephantopus scaber L.) ชื่ออื่น เช่น หนาดมีแคลน หนาดผา ตะชีโกวะ หนาดผา ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโบ้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปลาบ หญ้าไฟนกคุ่ม หญ้าสามสิบสองหาบ ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน ต้นแข็ง ตั้งตรง รากที่มีอายุมากจะมีลัษณะคล้ายเหง้า รากแขนงกลมยาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับที่โคนใกล้ผิวดิน ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ใบรูปหอกกลับหรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ผายกว้าง แล้วสอบแหลมทู่ ๆ ส่วนโคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่าง ๆ เนื้อใบหนาสาก[2] ดอกช่อแบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาว ดอกสีม่วงหรือขาว การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด [3] สรรพคุณ

สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มการเกิด libido เปลี่ยนแปลงค่า osmolality และจำนวนอสุจิของน้ำอสุจิ ลดเปอร์เซ็นต์อสุจิเคลื่อนไหว เพิ่มน้ำหนักอวัยวะเพศเสริมในหนู นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิตและยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก กระตุ้นมดลูก[2] รากและใบต้มเป็นยารักษาโรคบิด ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก กินแก้กามโรค ส่วนราก หากนำมาตำผสมกับพริกไทยจะแก้อาการปวดฟันได้ หรือนำมาต้มทานหลังคลอด แก้อาเจียนได้ [4] ในทางสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ใช้ทั้งต้น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด แก้กระษัย แก้กามโรค แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว แก้ไข้หวัด เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน แก้เลือดกำเดาออกง่าย แก้ฝี แก้แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แผลในกระเพาะอาหาร แก้แผลเปื่อยในปาก แก้เหน็บชา ราก ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน ใบ ใช้รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษากามโรค เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง แก้ไอ รากและใบ ใช้ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร แก้บิด แก้กามโรคในสตรี ใช้สดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือ ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารเป็นแผล ต้มอาบหลังคลอด [2] สารสำคัญ ทั้งต้น มี epifrledelinol, lupeol, stigmasterol, triacon-l-ol, dotriacontarvl-ol, potassiumchloride, lupeolacetate, deoxyelephantopin และ isodeoxyelephantopin ตำรับยาสมุนไพรของไต้หวัน ชื่อ “Teng-khia-U” มีโด่ไม่รู้ล้มที่สกัดด้วยน้ำเป็นองค์ประกอบ ช่วยป้องกันตับจากการทำลายของสารเคมี และยังมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ[2] ชนิดย่อย

ชนิดย่อยของ E. scaber ได้แก่:[1] Elephantopus scaber subsp. plurisetus (O.Hoffm.) Philipson Elephantopus scaber subsp. scaber Elephantopus scaber var. scaber Elephantopus scaber var. sinuatus (Mor.) Miq. อ้างอิง

↑ 1.0 1.1 The Plant List, Elephantopus scaber L. ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 โด่ไม่รู้ล้ม-ฐานข้อมูลเครื่องยา ↑ "โด่ไม่รู้ล้ม". พรรณไม้งามที่วังตะไคร์. wangtakrai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 . {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) ↑ "ピクノジェノール®について". nawua-herb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-24. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 . {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q1039719 Wikispecies: Elephantopus scaber APDB: 129490 EPPO: ELPSC FoC: 200023877 GBIF: 5395925 GRIN: 401632 iNaturalist: 289582 IPNI: 202958-1 ITIS: 780294 NCBI: 396369 Plant List: gcc-116229 PLANTS: ELSC10 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:202958-1 Tropicos: 2700686 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=โด่ไม่รู้ล้ม&oldid=10467515"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ โด่ไม่รู้ล้ม

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

650

พิษต่อเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรในตำรับยาดองเหล้าเพื่อสมรรถภาพทางเพศ
พิษต่อเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรในตำรับยาดองเหล้าเพื่อสมรรถภาพทางเพศสมุนไพรที่มีความถี่สูงสุดที่ใช้ในตำรับยาดองเหล้าเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 4 ชนิด ได้แก่ ม้ากระทืบโรง กำลังวัวเถลิง โด่ไม่รู้ล้ม และฝาง เมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3) พบว่าสารสกัด 50% และ 95% เอทานอลของกำลังวัวเถลิง โด่ไม่รู้ล้ม ฝาง และสมุนไพรผสมทั้ง 4 ชนิด มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า 80% ส่วนฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในเซลล์แมคโคฟาจ (RAW) โดยดูจากการยับยั้งการหลั่งไนตริกออ...

สมุนไพรอื่นๆ

63

เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง ชื่อเครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเถาวัลย์เปรียงขาว ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา ชื่อวิทยาศาสตร์Derris scandens (Roxb.) Benth ชื่อพ้องBrachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia timoriensis DC., Deguelia tim...

4

กระชายดำ
กระชายดำ ชื่อเครื่องยากระชายดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชายดำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ชื่อวิทยาศาสตร์Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. ชื่อพ้องK. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle, Stahlianthus rubromarginatus ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &n...

34

ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน ชื่อเครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าสด เหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นหัว(เชียงใหม่) ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa L. ชื่อพ้องAmomum curcuma Jacq., Curcuma brog Valeton, Curcuma domestica Valeton, Curcuma ochrorhiza Valeton, Curcuma soloensis Valeton, Curcuma tinctoria Guibourt, Stissera curcuma Giseke, Stissera curcuma ชื่อวง...

33

โกฐหัวบัว
โกฐหัวบัว ชื่อเครื่องยาโกฐหัวบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐหัวบัว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Ligusticum sinense Oliv. ชื่อพ้องLigusticum harrysmithii M.Hiroe, Ligusticum markgrafianum Fedde ex H.Wolff, Ligusticum pilgerianum Fedde ex H.Wolff, Ligusticum silvaticum H.Wolff, Ligusticum sinense var. sinense ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

91

พริกไทยล่อน
พริกไทยล่อน ชื่อเครื่องยาพริกไทยล่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพริกล่อน พริกไทยขาว ได้จากผลสุกตากแห้งที่ร่อนเปลือกออกแล้ว ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพริกไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พริกน้อย พริกขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์Piper nigrum L. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            พริกไทยล่อนได้จากผลสุกของของพริกไทยเมื่อผลสุกแล้วจะเก็บเอามาใส่รวมกันไว้ในกระสอบ แช่น้ำไว้ อาจใช้ไม้ทุบเบาๆจ...

35

ขลู่
ขลู่ ชื่อเครื่องยาขลู่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขลู่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ขลู คลู(ใต้) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Pluchea indica (L.) Less. ชื่อพ้องPluchea foliolosa DC., corymbosa Roxb., Conyza indica Mig., Baccharis indica ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปไข่...

198

ครั่ง
ครั่ง ชื่อเครื่องยาครั่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาครั่งดุ้น ครั่งดิบ, จุ้ยเก้ง (จีน) ได้จากสารที่ขับถ่ายจากแมลงครั่ง (ลักษณะเป็นยางหรือชัน) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์แมลงครั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccifera chinensis Mahdihassan) ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์แมลงครั่ง (ชื่อวงศ์ Lacciferidae) ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เป็นก้อนแข็งสีน้ำตาลแดง มีรูปร่างเป็นปมตะปุ่มตะป่ำต...

87

โป๊ยกั๊ก
โป๊ยกั๊ก ชื่อเครื่องยาโป๊ยกั๊ก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาจันทร์แปดกลีบ (Chinese star anise) ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโป๊ยกั๊ก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Illicium verum Hook. f. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Illiciaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           ผลเป็นกลีบโดยรอบ ทำให้มองเห็นเป็นรูปดาว มี 5-13 พู แต่ที่พบมากมักเป็น 8 พู ผลแห้งมีกลีบหนาแข็ง สีน้ำตาลเข้ม กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 1-2 เ...

196

ชะเอมเทศ
ชะเอมเทศ ชื่อเครื่องยาชะเอมเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก และลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะเอมเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชะเอมจีน (ทั่วไป), กำเช้า (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์Glycyrrhiza glabra L. ชื่อพ้องGlycyrrhiza brachycarpa Boiss., G. glandulifera Waldst. & Kit., G. hirsuta Pall., G. pallida Boiss. & Noe, G. pallida Boiss., G. violacea ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &...

ดังไปทั่วโลก ต้นโด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรสำหรับท่านชายโดยเฉพาะ พาเก็บต้นสด

ดังไปทั่วโลก ต้นโด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรสำหรับท่านชายโดยเฉพาะ พาเก็บต้นสด

ดังไปทั่วโลก ต้นโด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรสำหรับท่านชายโดยเฉพาะ พาเก็บต้นสด

View
ต้นโด่ไม่รู้ล้มตัวผู้กับตัวเมียต่างกันยังไงใช้เหมือนกันไหม

ต้นโด่ไม่รู้ล้มตัวผู้กับตัวเมียต่างกันยังไงใช้เหมือนกันไหม

ต้นโด่ไม่รู้ล้มตัวผู้กับตัวเมียต่างกันยังไงใช้เหมือนกันไหม

View
EP.046 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// โด่ไม่รู้ล้ม วิธีต้ม วิธีกิน ขนาดในการกิน ให้ได้ผล

EP.046 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// โด่ไม่รู้ล้ม วิธีต้ม วิธีกิน ขนาดในการกิน ให้ได้ผล

EP.046 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// โด่ไม่รู้ล้ม วิธีต้ม วิธีกิน ขนาดในการกิน ให้ได้ผล

View
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรไทยสำหรับท่านชายโดยเฉพาะ

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรไทยสำหรับท่านชายโดยเฉพาะ

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรไทยสำหรับท่านชายโดยเฉพาะ

View
22 พฤศจิกายน 2563 ประโยชน์และสรรพคุณพืชสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม

22 พฤศจิกายน 2563 ประโยชน์และสรรพคุณพืชสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม

22 พฤศจิกายน 2563 ประโยชน์และสรรพคุณพืชสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม

View
ต้นไม้ที่ทำให้พ่อบ้านสู้ศึก-คึกคักทั้งคืน-(โด่ไม่รู้ล้ม) EP.1

ต้นไม้ที่ทำให้พ่อบ้านสู้ศึก-คึกคักทั้งคืน-(โด่ไม่รู้ล้ม) EP.1

ต้นไม้ที่ทำให้พ่อบ้านสู้ศึก-คึกคักทั้งคืน-(โด่ไม่รู้ล้ม) EP.1

View
โด่ไม่รู้ล้มตัวผู้ เพิ่งรู้จัก!!!

โด่ไม่รู้ล้มตัวผู้ เพิ่งรู้จัก!!!

โด่ไม่รู้ล้มตัวผู้ เพิ่งรู้จัก!!!

View
ต้นโด่ไม่รู้ล้มชนิดแก่จัด สรรพคุณเต็มต้นโสมเกาหลีถังเช่ายังต้องหลีกทางให้

ต้นโด่ไม่รู้ล้มชนิดแก่จัด สรรพคุณเต็มต้นโสมเกาหลีถังเช่ายังต้องหลีกทางให้

ต้นโด่ไม่รู้ล้มชนิดแก่จัด สรรพคุณเต็มต้นโสมเกาหลีถังเช่ายังต้องหลีกทางให้

View
มาเปรียบเทียบดูว่า ฝาแฝด ต้นโด่ไม่รู้ล้ม คือต้น กระต่ายขาลา มีความเหมือนและต่างกันตรงไหน

มาเปรียบเทียบดูว่า ฝาแฝด ต้นโด่ไม่รู้ล้ม คือต้น กระต่ายขาลา มีความเหมือนและต่างกันตรงไหน

มาเปรียบเทียบดูว่า ฝาแฝด ต้นโด่ไม่รู้ล้ม คือต้น กระต่ายขาลา มีความเหมือนและต่างกันตรงไหน

View
เจอแล้วสมุนไพรหายากตามหามาเกือบปี ต้นตำยานตัวเมีย สมุนไพรโบราณบำรุงกำลังกลิ่นหอมมากๆ

เจอแล้วสมุนไพรหายากตามหามาเกือบปี ต้นตำยานตัวเมีย สมุนไพรโบราณบำรุงกำลังกลิ่นหอมมากๆ

เจอแล้วสมุนไพรหายากตามหามาเกือบปี ต้นตำยานตัวเมีย สมุนไพรโบราณบำรุงกำลังกลิ่นหอมมากๆ

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับโด่ไม่รู้ล้ม
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่