Menu

ดองดึง

ชื่อเครื่องยา

ดองดึง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้าแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ดองดึง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

คมขวาน บ้องขวาน หัวขวาน (ชลบุรี) ก้ามปู ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (กลาง) พันมหา (นครราชสีมา) มะขาโก้ง (เหนือ) ดองดึงหัวขวาน ด้ามขวาน หัวฟาน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gloriosa superba L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Colchicaceae (Liliaceae)

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน รูปร่างกลมเรียว มีหงอนเหมือนขวาน มีรสร้อนเมา

 

เครื่องยา ดองดึง

 

เครื่องยา ดองดึง

 

เครื่องยา ดองดึง

 

เหง้าสด ดองดึง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ หัว และเมล็ด แก้ปวดตามข้อ แก้โรคเรื้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ฝนน้ำ ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ให้สัตว์กินเพื่อขับพยาธิ หัว รสร้อนเมา แก้โรคเรื้อน คุดทะราด แก้โรคปวดข้อ (gout) แก้กามโรค แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ขับผายลม มีสารที่ใช้รักษาโรคมะเร็งได้ หัวสด ตำพอกหรือทา แก้ปวดข้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตำผสมทำยาประคบแก้ปวดข้อ (gout)  แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แก้ข้ออักเสบฟกบวม หัวแห้ง ปรุงเป็นยารับประทาน รักษาโรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด โรคปวดข้อ แก้กามโรค ขับผายลม จะต้องใช้ในปริมาณน้อย ถ้าเกินขนาดอาจเกิดพิษได้ ราก รสเมาร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ ตำพอกหรือทา แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็งคุดทะราด แก้ปวดข้อ ต้มดื่ม แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ต้องใช้ปริมาณน้อย และเจือจางถ้าเข้มข้นเกินไปอาจเกิดพิษถึงตายได้
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ระบุไว้ว่า รากและเหง้า เป็นยาที่อันตรายมาก เหง้าและเมล็ดมีพิษมาก ใช้รักษาโรคมะเร็ง        

ข้อควรระวัง:
           การใช้ดองดึงเป็นยารักษาโรคเกาต์ ไม่ควรใช้เหง้าต้มหรือปรุงวิธีอื่นกิน อาจเป็นพิษถึงตายได้ เพราะขนาดรักษาใช้ปริมาณน้อยมาก และใกล้เคียงกับขนาดที่ทำให้เกิดพิษ ควรใช้ในรูปยาเม็ดแผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถกำหนดขนาดรับประทานที่ปลอดภัยได้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ห้ามประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เนื่องจากมีพิษมาก


องค์ประกอบทางเคมี:
           แอลคาลอยด์ colchicine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

           ไม่มีข้อมูล  

การศึกษาทางคลินิก:

           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           เหง้าดองดึงเป็นพิษโดยเป็นพิษต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษจะเกิดเมื่อกินสารนี้เข้าไปประมาณ 2 ชั่วโมง จะรู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ โดยมีอาการเจ็บปวดตามตัว ปากและผิวหนังชา คลื่นไส้อย่างรุนแรง ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องปวดเบ่งแต่ไม่มีอุจจาระออกมา หายใจลำบาก กลืนไม่ลง ชัก หมดสติเนื่องจากร่างกายเสียน้ำมาก ตัวเย็น และอาจตายได้ใน 3-20 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายจะลดลงต่ำมากก่อนเสียชีวิต จึงไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ในการแพทย์แผนปัจจุบันใช้เหง้า สกัดเป็นสารบริสุทธิ์ ซึ่งมีแอลคาลอยด์ colchicines ทำเป็นยาเม็ดรักษาโรคเกาต์ (ปวดข้อ)

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ดองดึง

...

Other Related ดองดึง

ข้อมูล ดองดึง จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


ดองดึง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots อันดับ: Liliales วงศ์: Colchicaceae สกุล: Gloriosa สปีชีส์: G.  superba ชื่อทวินาม Gloriosa superba L. ชื่อพ้อง Eugone superba Gloriosa rothschildiana Methonica superba ดองดึง (อังกฤษ: Climbing Lily, Turk's cap, Superb Lily ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gloriosa superba) หรือ ดาวดึง, หัวฟาน, หัวขวาน, พันมหา (อีสาน) เป็นพืชชนิดหนึ่งจำพวกหัว ต้นมีลักษณะเป็นเถาปลายตั้ง ใบเดี่ยวรูปหอก ส่วนปลายแหลมยาวบิดม้วนช่วยยึดเกาะ ลักษณะของดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบเรียวยาว ขอบของดอกบิดเป็นคลื่นปลายกลีบมีสีแดง ที่โคนหากบานใหม่ ๆ จะมีสีเหลือง แต่เมื่อแก่จะมีสีส้ม ผลเป็นรูปกระสวยเมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดมีสีส้ม หัวกลมเรียวมีหงอนเหมือนขวาน มักขึ้นตามป่าดงดิบเขาชื้น หรือที่รกร้างว่างเปล่าที่มีความชุ่มชื้นสูง ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดหรือแยกเหง้า สรรพคุณ

หัว เมื่อนำมาตำแล้วใช้ทาจะมีสรรพคุณช่วยแก้โรคปวดข้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ส่วนหัวแห้งหากนำมาปรุงเป็นยารับประทานจะสามารถรักษาโรคเรื้อน กามโรค ขับลม ซึ่งหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเกิดอันตรายได้ ราก มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด ลดเสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง เมล็ดและหัวของดองดึงนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ ส่วนหัวของดองดึงมีพิษถึงตาย[1] สารที่สำคัญในดองดึง

ส่วนหัวมีสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ colchicine, superbine, gloriosine และแอลคาลอยด์อื่น ๆ สาร colchicine มีสรรพคุณในการรักษาโรคปวดข้อได้ดี แต่เป็นมีพิษต่อเซลล์โดยไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งทำให้สามารถนำไปรักษาโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครโมโซม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผสมพันธุ์ให้แก่พืช เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ โทษของดองดึง

สาร colchicine ภายในดองดึงนั้นส่งผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษนั้นจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับประทานสารนี้เข้าไปในร่างกาย อาการคือ จะรู้สึกแสบร้อน ในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ มีความรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก กลืนไม่ลง คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง อุจจาระร่วง ปวดท้องปวดเบ่ง จนไม่มีอุจจาระ สาเหตุเป็นเพราะร่างกายเสียน้ำมาก ส่งผลให้หมดสติ หากไม่รีบแก้ไข อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงและตายในที่สุด โทษที่เกิดจากการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ หลังจากที่ได้รับสารพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมง จะเป็นช่วงที่อาการหนักที่สุด การขับถ่ายสารออกจากร่างกายจะเป็นไปอย่างช้าๆ พิษของสารที่เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้ง จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้รับสารนี้เข้าไป และจะเกิดเป็นพิษต่อคนที่กินนมที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย อ้างอิง

↑ จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 สุดยอดสมุนไพรธรรมชาติที่ควรรู้ ศักดิ์ บวร สมิต,สนพ. ปีที่พิมพ์ มค.2543 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ดองดึง&oldid=9641718"
.

สมุนไพรอื่นๆ

131

สมอดีงู
สมอดีงู ชื่อเครื่องยาสมอดีงู ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอดีงู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สมอเหลี่ยม สมอหมึก ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia citrina Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกระสวยกลม หัวท้ายแหลม ผลสดสีแดงเข้ม ขนาดเล็กเรียว ผลแห้งสีดำเข้ม ผลมีรสขมฝาด   เครื่องยา สมอดีงู   เครื่องยา สมอดีงู...

75

บวบลม
บวบลม ชื่อเครื่องยาบวบลม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาจุกโรหินี ได้จากใบ ราก ทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบวบลม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จุกโรหินี กล้วยไม้ (เหนือ) บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี) เถาพุงปลา (ภาคตะวันออก ระยอง) พุงปลาช่อน (กลาง) นมตำไร(เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Dischidia major (Vahl) Merr. ชื่อพ้องDischidia rafflesiana ชื่อวงศ์Asclepiadaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบเดี่ยวเรีย...

159

มะแว้งเครือ
มะแว้งเครือ ชื่อเครื่องยามะแว้งเครือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะแว้งเครือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะแว้งเขา มะแว้งเถา แขว้งเคีย ชื่อวิทยาศาสตร์Solanum trilobatum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Solanaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลรูปทรงกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวมีลายสีขาว เมื่อสุกสีแดง) ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยงเป็น เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก...

47

จอง
จอง ชื่อเครื่องยาจอง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจอง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จอง (อุบลราชธานี), สำรอง (จันทบุรี ตราด), พุงทะลาย ชื่อวิทยาศาสตร์Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib. & Planch. ชื่อพ้องScaphium macropodum ชื่อวงศ์Sterculiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย เมล็ดรีสีน้ำตาลขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร เ...

103

มะคำดีควาย
มะคำดีควาย ชื่อเครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาประคำดีควาย ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Sapindus rarak DC. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Sapindaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลแก่จะแห้ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1.5-2 ...

102

มะคังแดง
มะคังแดง ชื่อเครื่องยามะคังแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยามุยแดง ตะลุมพุกแดง ได้จากเนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Gardenia erythroclada Kurz ชื่อพ้องDioecrescis erythroclada ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:      ...

194

สะระแหน่
สะระแหน่ ชื่อเครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สะระแหน่ต้น ต้นน้ำมันหม่อง (ไทย) หอมด่วน (พายัพ) สะแน่ (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen. ชื่อพ้องMentha × villosa Huds., Mentha x amaurophylla Timb.-Lagr., M. x benthamiana Timb.-Lagr., Mentha × billotiana Déségl. & T.Durand, M. x bolzanensis Heinr.Braun, M. x chloreilema (Briq.) Heinr.Braun, M. x chlorostachya Gand. ...

101

มะขามป้อม
มะขามป้อม ชื่อเครื่องยามะขามป้อม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะขามป้อม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กันโตด(เขมร), กำทวด(ราชบุรี), มั่งลู่, สันยาส่า(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus emblica L. ชื่อพ้องCicca emblica (L.) Kurz, Diasperus emblica (L.) Kuntze, Dichelactina nodicaulis Hance, Emblica arborea Raf., E. officinalis Gaertn., Phyllanthus mairei H.Lév., P. mimosifolius Salisb., P. taxifolius ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ...

104

มะตูม
มะตูม ชื่อเครื่องยามะตูม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะตูม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะปิน(เหนือ), กะทันตาเถร (ปัตตานี), ตูม(ใต้), บักตูม(อีสาน), ตุ่มตัง (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (กลาง), มะปีส่า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Aegle marmelos (L.) Corr. ชื่อพ้องBelou marmelos (L.) Lyons, Bilacus marmelos (L.) Kuntze, Crateva marmelos L., Feronia pellucida ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  &...

ดองดึง หรือ หัวขวาน สมุนไพรที่มีพิษร้าย ถ้ากินอาจถึงตายได้ สวยแต่ร้าย ใช้เป็นยาก็ดี

ดองดึง หรือ หัวขวาน สมุนไพรที่มีพิษร้าย ถ้ากินอาจถึงตายได้ สวยแต่ร้าย ใช้เป็นยาก็ดี

ดองดึง หรือ หัวขวาน สมุนไพรที่มีพิษร้าย ถ้ากินอาจถึงตายได้ สวยแต่ร้าย ใช้เป็นยาก็ดี

View
ดองดึง,ดาวดึงส์ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

ดองดึง,ดาวดึงส์ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

ดองดึง,ดาวดึงส์ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

View
ไม่คิดว่าจะเจอ ของดีหายากที่ใครก็อยากได้ ดองดึง สมุนไพรอันดับ1แก้โรคเก๊ารูมาตอยหายจริง

ไม่คิดว่าจะเจอ ของดีหายากที่ใครก็อยากได้ ดองดึง สมุนไพรอันดับ1แก้โรคเก๊ารูมาตอยหายจริง

ไม่คิดว่าจะเจอ ของดีหายากที่ใครก็อยากได้ ดองดึง สมุนไพรอันดับ1แก้โรคเก๊ารูมาตอยหายจริง

View
เห็นแล้ว   ห้ามเก็บโดยเด็ดขาย  ดอกดองดึงสมุนไพรไทย

เห็นแล้ว ห้ามเก็บโดยเด็ดขาย ดอกดองดึงสมุนไพรไทย

เห็นแล้ว ห้ามเก็บโดยเด็ดขาย ดอกดองดึงสมุนไพรไทย

View
ดองดึงหรือพันละหาตอน89

ดองดึงหรือพันละหาตอน89

ดองดึงหรือพันละหาตอน89

View
ชีววิถีเรียนรู้ไว้(ใช่ว่า) (ดองดึง) ดอกไม้ป่าสมุนไพรพื้นบ้านหาดูอยาก

ชีววิถีเรียนรู้ไว้(ใช่ว่า) (ดองดึง) ดอกไม้ป่าสมุนไพรพื้นบ้านหาดูอยาก

ชีววิถีเรียนรู้ไว้(ใช่ว่า) (ดองดึง) ดอกไม้ป่าสมุนไพรพื้นบ้านหาดูอยาก

View
ดอกดองดึง สมุนไพรไทย

ดอกดองดึง สมุนไพรไทย

ดอกดองดึง สมุนไพรไทย

View
สมุนไพรใกล้ตัว ดองดึง

สมุนไพรใกล้ตัว ดองดึง

สมุนไพรใกล้ตัว ดองดึง

View
สมุนไพรดองดึง หรือดาวดึง ดอกสวย

สมุนไพรดองดึง หรือดาวดึง ดอกสวย

สมุนไพรดองดึง หรือดาวดึง ดอกสวย

View
สรรพคุณ ดองดึง

สรรพคุณ ดองดึง

สรรพคุณ ดองดึง

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับดองดึง
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่