ข้อมูลสมุนไพร ชุมเห็ดไทย รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ ชุมเห็ดไทย, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ ชุมเห็ดไทย, สรรพคุณทางยาของ ชุมเห็ดไทย และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | ชุมเห็ดไทย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เมล็ด |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ชุมเห็ดไทย |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ชุมเห็ดเขาควาย ชุมเห็ดควาย ชุมเห็ดเล็ก ชุมเห็ดนา พรมดาน ลับมืนน้อย เล็บหมื่นน้อย หญ้าลักลืน เล็นเค็ด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cassia tora L. |
ชื่อพ้อง | Senna tora |
ชื่อวงศ์ | Leguminosae-Caesalpinoideae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ใน1 ฝัก มีประมาณ 20-30 เมล็ด เมล็ดผิวเรียบ เงาเป็นมัน ผิวเมล็ดสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดแข็ง แบน หน้าตัดเฉียงเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มองเห็นเหมือนเป็นจงอยที่ด้านหนึ่งของเมล็ด ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-6 มิลลิเมตร มีกลิ่นเฉพาะตัว รสชาติขมเมา หอมเล็กน้อย
เครื่องยา ชุมเห็ดไทย
เครื่องยา ชุมเห็ดไทย
เครื่องยา ชุมเห็ดไทย
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ความชื้นไม่เกิน 12% w/w สิ่งแปลกปลอม ไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 0.2% และปริมาณสารสกัด แอลกอฮอล์ และน้ำ ไม่ต่ำกว่า 8 และ 20% w/w ตามลำดับ (THPIII)
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เมล็ด รสขมเมา เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับอุจจาระ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ไอ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงประสาท เป็นยาระงับประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้กระษัย แก้ตาแดง ตามัว แก้ตับอักเสบ ตับแข็ง บำรุงกำลัง ลดความดันเลือดชั่วคราว บดผสมน้ำมันพืชทาแก้หิด กลากเกลื้อน ใช้เมล็ด คั่วชงน้ำดื่ม บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ทำให้หลับสบาย ขับปัสสาวะ แต่ห้ามใช้นานๆเพราะจะทำให้ตามัว ทั้งต้น มีรสเมา แก้ไข้ ขับพยาธิในท้อง แก้ไข้หวัด กล่อมตับ ทำให้ตาสว่าง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
1.ใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
เมล็ดแก่แห้ง คั่วจนเหลือง ขนาด 10-13 กรัมต่อวัน (2-2.5 ช้อนคาว) ต้มเอาน้ำดื่ม
2. ขับปัสสาวะ
ใช้เมล็ดแห้งคั่ววันละ 5-15 กรัม (1-3 ช้อนคาว) ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เหลือ 600 มิลลิลิตร แบ่งรับประทานวันละ 3 เวลา หลังอาหาร
องค์ประกอบทางเคมี:
เมล็ดประกอบด้วยสารกลุ่ม anthraquinone glycoside เช่น emodin aloe-emodin chrysophanol chrysophanic acid-9-anthrone physicone rhein alaternin cassiaside rubrofusarin-gentiobioside aurantio-obtusin, obtusin 1-desmethylaurantio-obtusin, chryso-obtusin 1-desmethylchryso-obtusin เมล็ดให้สีน้ำเงินใช้ย้อมผ้า
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
การทดสอบในสัตว์ทดลอง พบว่าน้ำสกัดของเมล็ดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และบีบมดลูก สารสกัดเบนซีน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังในหลอดทดลอง
สารสกัดน้ำจากเมล็ด เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ และทำให้สัตว์ทดลองง่วงนอน
สารสกัดน้ำ หรือแอลกอฮอล์จากเมล็ด มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสุนัข แมว และกระต่ายที่ทำให้สลบ
สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด ลดระดับ total cholesterol ได้ 42.07% และเพิ่มระดับ HDL ได้ 6.72% ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ 26.84% และลดระดับ LDL ได้ 69.25% (Journal of Ethnopharmacology 90 (2004) 249–252)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การใช้ในขนาดสูงเกินไปอาจทำให้เกิดไตอักเสบ ควรระมัดระวังการใช้ในเด็ก สตรีตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel diseases)
รายงานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
ชุมเห็ดไทย การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae วงศ์ย่อย: Caesalpinioideae เผ่า: Cassieae เผ่าย่อย: Cassiinae สกุล: Senna สปีชีส์: S. tora ชื่อทวินาม Senna tora
(L.) Roxb. ชื่อพ้อง Cassia boreensis Miq. Cassia borneensis Miq. Cassia gallinaria Collad. Cassia numilis Collad. Cassia tora L. Cassia tora L. var. borneensis (Miq.) Miq. Emelista tora Britton & Rose
ชุมเห็ดไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna tora) เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1 เมตร ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อท้องถิ่นอื่นคือ ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)[1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชุมเห็ดไทยเป็นไม้ลมลุกและไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก พุ่มต้นสูงประมาณ1 เมตร ส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3–17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน[2] ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 1.5–2.5 ซม. ยาว 2–4 ซม. ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อดอกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71–4.03 เซนติเมตร มี 1–3 ดอกต่อช่อ มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ผลเป็นฝักเล็กแบนยาว เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว[3] การแพร่กระจายพันธุ์
ชุมเห็ดไทยมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ขึ้นกระจายทั่วไป เป็นวัชพืชในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค[4] การขยายพันธุ์
ชุมเห็ดไทย เป็นพืชที่ปลูกโดยใช้เมล็ด ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ทั่วไปในดินทุกชนิดแต่ชอบที่ชุ่มชื้น ปลูกได้ตลอดทั้งปี สรรพคุณ
ชุมเห็ดไทยเป็นยาช่วยให้นอนหลับและช่วยสงบประสาทได้เป็นอย่างดี[5] เมล็ด ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาโรคผิวหนัง ดอก ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด โรคคุดทะราด ผล แก้ฟกช้ำ บวม
ลักษณะดอก
ลักษณะใบ
ลักษณะเมล็ด
ชุมเห็ดไทย อ้างอิง
↑ "ชุมเห็ดไทย". อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. ↑ "ชุมเห็ดไทย". My biodiversity. BioGang.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013. ↑ "ชุมเห็ดไทย". อาจารีย์สมุนไพร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2011. ↑ รัตตแน (เมษายน 2010). "ไม้ต่างถิ่น" (PDF) . Herbarium News. Vol. 3 no. 1. สำนักงานหอพันธุ์ไม้ กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. p. 10. ↑ "ชุมเห็ดไทย". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012. แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ชุมเห็ดไทย "Senna tora (L.) Roxb.". International Legume Database & Information Service (ILDIS). Version 10.01. พฤศจิกายน 2005. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 . นายเกษตร (9 มกราคม 2012). " 'เมล็ดชุมเห็ดไทย'ช่วยให้นอนหลับดี". ไทยรัฐ. ปุณณภา งานสำเร็จ (7 มิถุนายน 2012). "ชุมเห็ดไทยสมุนไพรมากประโยชน์ สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ".
การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธานSenna tora Wikidata: Q2739004 Wikispecies: Senna tora APDB: 209297 EoL: 418194 EPPO: CASTO FoC: 242348621 GBIF: 2957728 GRIN: 313456 iNaturalist: 168855 IPNI: 518369-1 IRMNG: 11161543 ITIS: 505182 NCBI: 362788 NZOR: 31e56228-13ea-4f7c-8df2-eea2c9587fb9 Plant List: ild-1143 PLANTS: SETO4 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:518369-1 Tropicos: 13032871 Cassia tora Wikidata: Q21872227 ARKive: cassia-tora GBIF: 5354127 GRIN: 9397 iNaturalist: 636765 IPNI: 485340-1 ITIS: 510372 NZOR: d1305f72-0686-4f83-9fad-0d837a261ece POWO: urn:lsid:ipni.org:names:485340-1 Tropicos: 13007951 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ชุมเห็ดไทย&oldid=10998840"
.
ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่
ฤทธิ์ต้านการสะสมไขมันของชุมเห็ดไทย
ฤทธิ์ต้านการสะสมไขมันของชุมเห็ดไทยการศึกษาฤทธิ์ต้านการสะสมไขมันของชุมเห็ดไทย โดยทำการศึกษาในเซลล์ไขมัน 3T3-L1 ที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดชุมเห็ดไทยประกอบอยู่ปริมาณ 0.001-1.0 มค.ก./มล. เมื่อเลี้ยงครบ 8 วัน ทำการวิเคราะห์หาค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ในเซลล์ด้วยชุดทดสอบ Triglyceride E test WAKO และการศึกษาในสัตว์ทดลอง (in vivo ) โดยเลี้ยงหนูแรทด้วยอาหารที่มีไขมันสูงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1-3 ป้อนสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดชุมเห็ดไ...
ฤทธิ์ป้องกันต้อกระจกของสารสกัดใบชุมเห็ดไทย
ฤทธิ์ป้องกันต้อกระจกของสารสกัดใบชุมเห็ดไทยการศึกษาในลูกหนูแรทอายุ 8 - 10 วัน แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มปกติได้รับน้ำสะอาด ในวันที่ 10 ของการศึกษา กลุ่มที่ 2 เป็นหนูปกติ และได้รับสารสกัด 80% เอทานอลใบชุมเห็ดไทย ขนาด 5 มคก./ก. น้ำหนักตัว ในวันที่ 8 - 12 ของการศึกษา กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับสาร sodium selenite ขนาด 4 มคก./ก. น้ำหนักตัว โดยการฉีดในวันที่ 10 ของการศึกษา เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นต้อกระจก กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับสาร sodium selenite ขนาด 4 มค...
กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง ชื่อเครื่องยากระเจี๊ยบแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยากระเจี๊ยบเปรี้ยว ได้จากใบประดับ และกลีบเลี้ยง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเจี๊ยบแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอเหมาะ ส้มเก็งเค็ง ส้มปู ส้มพอดี แกงแดง ส้มตะเลงเครง ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus sabdariffa L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Malvaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 เซนต...
มะนาว
มะนาว ชื่อเครื่องยามะนาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล น้ำในผล เมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะนาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มมะนาว(ภาคกลาง) ส้มนาว(ภาคใต้) โกรยซะม้า(เขมร-สุรินทร์) หมากฟ้า(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle ชื่อพ้องCitrus × acida Pers., C. × davaoensis (Wester) Yu.Tanaka, C. depressa var. voangasay Bory, C. × excelsa Wester, C. hystrix subsp. acida Engl., C. × javanica Blume, C. × lima Macfad....
สมอไทย
สมอไทย ชื่อเครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสมอ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กกส้มมอ สมอ มาแน่ สมออัพยา หมากแน่ะ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia chebula Retz. ชื่อพ้องT. acuta Walp., T. gangetica Roxb., T. parviflora Thwaites, T. reticulata Roth, T. zeylanica Van Heurck & Müll. Arg., Buceras chebula (Retz.) Lyons, Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn., M. gangetica ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา &...
สวาด
สวาด ชื่อเครื่องยาสวาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสวาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ป่าขี้แฮด หวาด ชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ชื่อพ้องBonduc minus Medik., Caesalpinia bonducella (L.) Fleming, Caesalpinia crista Thunb., Caesalpinia cristata Prowazek, Caesalpinia grisebachiana Kuntze., Caesalpinia sogerensis Baker f., Guilandina bonduc Griseb., Guilandina bonducella L., Guilandina gemina ชื่อวงศ์Caesalpiniaceae ...
กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...
ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน ชื่อเครื่องยาส้มเขียวหวาน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มเขียวหวาน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะขุน มะเขียว มะแง มะจุก มะบาง ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มแก้วโบราณ ส้มขี้ม้า ส้มจีนเปลือกล่อน ส้มจันทบูร ส้มจุก ส้มเชียงตุง ส้มตรังกานู ส้มแป้นกระดาน ส้มแป้นเกลี้ยง ส้มแป้นขี้ม้า ส้มแป้นหัวจุก ส้มแสงทอง ส้มเหม็น ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus reticulata Blanco ชื่อพ้องC. chrysocarpa Lushington. , C. crenatifolia Lushington. , C....
สารภี
สารภี ชื่อเครื่องยาสารภี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสารภี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ทรพี สร้อยพี สารภีแนน ชื่อวิทยาศาสตร์Mammea siamensis T. Anderson ชื่อพ้อง Calysaccion siamense Miq. ชื่อวงศ์Calophyllaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกขนาดเล็ก ทรงกลมกลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้สีเหลือง จำนวนมาก ดอกแห้งสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ...
กระแตไต่ไม้
กระแตไต่ไม้ ชื่อเครื่องยากระแตไต่ไม้ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระแตไต่ไม้ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ฮำฮอก (อุบลราชธานี); ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี); กูดขาฮอก กูดอ้อม กูดไม้ (เหนือ); กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี),หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์);หว่าว (ปน) สะโมง กาบหูช้าง หัวว่าว ชื่อวิทยาศาสตร์Drynaria quercifolia (L.) J.Sm. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Polypodiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &n...
ผักกระโฉม
ผักกระโฉม ชื่อเครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้มกบ ผักกะโสม ราน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. ชื่อพ้องHerpestis rugosa ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนหยาบแข็ง แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.8-4.5 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร โคนใบ...
ชุมเห็ดไทย แก้ตับอักเสบ บำรุงธาตุในร่างกายบำรุงประสาท
Viewกำลังโด่งดังเครียดซึมเศร้านอนไม่หลับอาการเหล่านี้หายแน่นอน ด้วยเมล็ดชุมเห็ดไทยรีบหามากินด่วน
Viewสมุนไพรที่คนสับสน ความเหมือนที่แตกต่าง ทั้งลักษณะภายนอก และสรรพคุณที่คล้ายกัน
Viewสมุนไพรแก้นอนไม่หลับ บำรุงประสาท (สมุนไพรชุมเห็ดไทย)
Viewพาดูต้นชุมเห็ดเทศ สุดยอดสมุนไพรท้องถิ่น ที่ทุกคนไม่เคยรู้
Viewเจอแล้วสมุนไพรชุมเห็ดเล็ก วัชพืชข้างทางที่หลายๆต้องหามากินสรรพคุณกว่า40ข้อ
View