Menu

ชุมเห็ดเทศ

ชื่อเครื่องยา

ชุมเห็ดเทศ

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบสดและแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชุมเห็ดเทศ

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชุมเห็ดใหญ่ ลับหมื่นหลวง ชี้คาก หมากกะลิงเทศ ส้มเห็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia alata L.

ชื่อพ้อง

Senna alata (L.) Roxb., Cassia bracteata

ชื่อวงศ์

Leguminosae-Caesalpinoideae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบมน ฐานใบไม่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว เมื่ออบแห้งแล้วมีสีน้ำตาลอมเขียวถึงสีน้ำตาล ผงมีสีน้ำตาลอมเขียว มีกลิ่นอ่อนๆ รสเบื่อเอียน ขมเล็กน้อย

 

เครื่องยา ชุมเห็ดเทศ

 

เครื่องยา ชุมเห็ดเทศ

 

เครื่องยา ชุมเห็ดเทศ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 9% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล(50%) ไม่น้อยกว่า 21% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 18% w/w  ปริมาณอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีน โดยคำนวณเป็น rhein-8-glucoside ไม่น้อยกว่า 1% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ภายในแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ไปกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้น สมานธาตุ รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้กระษัยเส้น ทำหัวใจให้ปกติ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ ใช้ภายนอก รักษาฝี  และแผลพุพอง รักษากลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง อมบ้วนปาก รักษาผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน เส้นประสาทอักเสบ
           ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้ใบตำพอก เพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้น หรือจะใช้ใบผสมกับน้ำปูนใสหรือเกลือหรือน้ำมันตำพอก รักษากลาก แมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง นอกจากนี้ยังใช้ใบตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมน้ำปูนใสทาหรือผสมวาสลิน ใช้ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           อาการท้องผูก              
                ใช้ใบจำนวน  12-15  ใบย่อย  ตากแห้ง  คั่ว  (ใบชุมเห็ดเทศถ้าไม่คั่วเสียก่อน  จะเกิดอาการข้างเคียง   คืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน  เมื่อคั่วความร้อนจะช่วยให้สารที่ออกฤทธิ์ทำให้คลื่นไส้อาเจียนสลายไป) แล้วนำไปต้มกับน้ำพอควร  ดื่มครั้งเดียวก่อนอาหารตอนเช้ามืด  หรือก่อนนอน หรือใช้ผงใบ 3-6 กรัม ชงน้ำเดือด 120 มิลลิลิตร เป็นเวลา 10 นาที ดื่มก่อนนอน อาจทำเป็นยาลูกกลอนก็ได้ หรือใช้ช่อดอกสด  1-3  ช่อดอก  ลวก  จิ้มน้ำพริก
           รักษาฝีแผลพุพอง         
                ใช้ใบชุมเห็ดเทศ  1  กำมือ  ต้มกับน้ำพอท่วม  เคี่ยวให้เหลือ  1  ใน  3  นำมาชะล้างฝีที่แตกแล้ว  หรือแผลพุพอง  วันละ  2  ครั้ง  เช้า  เย็น  ถ้าบริเวณที่เป็นกว้างมากใช้สมุนไพร  10-12  กำมือ  ต้มกับน้ำใช้อาบเช้าเย็น  จนกว่าจะหาย
           กลากเกลื้อน          
                ใช้ใบสด  4-5  ใบ  ตำรวมกับกระเทียม  4-5  กลีบ  แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย  ทาบริเวณที่เป็นซึ่งได้ใช้ไม้ไผ่บาง ๆ ฆ่าเชื้อแล้วขูดผิวบริเวณที่นั้นให้มีสีแดง(กรณีกลาก)  ทาวันละ  3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย  และเมื่อหายแล้วให้ทาไปอีก 1  สัปดาห์ หรือจะใช้ใบสดตำแช่เหล้า เอาส่วนเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดี แต่ไม่ค่อยได้ผลในกลากที่ผมและเล็บ
           ขับพยาธิ    
                ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 20 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด

องค์ประกอบทางเคมี:
           ใบมีสารแอนทราควิโนนหลายชนิด  เช่น  aloe – emodin , chrysophanol , emodin , rhein  และสารกลุ่มแทนนิน สารฟลาโวนอยด์ เช่น kaemferol เป็นต้น ชุมเห็ดเทศเป็นยาระบายที่ดี เนื่องจากมีทั้งแอนทราควิโนน ซึ่งเป็นยาระบาย และแทนนิน ซึ่งเป็นยาฝาดสมาน จึงเป็นยาระบายที่สมานธาตุในตัว

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก  ช่วยระบาย ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคกลากเกลื้อน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ

การศึกษาทางคลินิก:
           รักษาอาการท้องผูก รักษาโรคกลากและเกลื้อนได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 3,333 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

อาการไม่พึงประสงค์:
           อาจทำให้เกิดอาการปวดมวนท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย และปวดท้องได้

ข้อห้ามใช้:    
           ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตัน ไม่ควรใช้เป็นยาระบายในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร (มีรายงานว่าสาร rhein ผ่านทางน้ำนมได้)

ข้อควรระวัง:
           1.ระมัดระวังการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
           2.การกินในขนาดสูงอาจทำให้เกิดไตอักเสบ
           3.ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป และเนื่องจากการใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ลำไส้ใหญ่ชินต่อยา ถ้าไม่ใช้จะไม่ถ่าย ดังนั้น จึงควรแก้ไข้ที่สาเหตุเช่นฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา รับประทานผักผลไม้ที่มีเส้นใย ดื่มน้ำมากพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :  www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ชุมเห็ดเทศ

...

Other Related ชุมเห็ดเทศ

ข้อมูล ชุมเห็ดเทศ จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


ชุมเห็ดเทศ ดอกของชุมเห็ดเทศ สถานะการอนุรักษ์ Apparently Secure  (NatureServe) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Magnoliopsida ชั้นย่อย: Rosidae ไม่ได้จัดลำดับ: Eurosids I อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae วงศ์ย่อย: Caesalpinioideae เผ่า: Cassieae เผ่าย่อย: Cassiinae สกุล: Senna สปีชีส์: S.  alata ชื่อทวินาม Senna alata (L.) Roxb. ชื่อพ้อง Cassia alata L. Cassia alata L. var. perennis Pamp. Cassia alata L. var. rumphiana DC. Cassia bracteata L.f. Cassia herpetica Jacq. Cassia rumphiana (DC.) Bojer Herpetica alata (L.) Raf. ชุมเห็ดเทศ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม. ใบเป็นใบประกอบขนนก มีความยาวประมาณ 30-60 ซม. ใบย่อยจะเรียงกันเป็นคู่ ๆ 8-20 คู่ ลักษณะใบย่อยนั้นจะรูปขอบขนานแกมรูปรี โคนใบจะมน ตรงปลายใบของมันมนหรือเว้าเล็กน้อย ฐานใบนั้นจะมน และไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ขอบใบเรียบเป็นสีแดง ใบจะมีความกว้างประมาณ 5-7 ซม. และยาวประมาณ 5-15 ซม. ก้านใบย่อยสั้นมาก ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 20-50 ซม. ดอกจะเป็นสีเหลือง ดอกตูมนั้นคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน สีเขียวตรงปลายของมันจะแหลม ส่วนก้านดอกนั้นจะสั้นและมีลายเส้นเห็นได้ชัด เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 9-10 อัน แต่มีความยาวไม่เท่ากันอับเรณูเมื่อแก่จะมีรูเปิดที่ยอด ส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่1อันผิวเกลี้ยง ผลนั้นจะออกฝัก แต่ไม่มีขน ฝักเป็นรูปบรรทัด หนา มีความกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. และยาวประมาณ 10-15 ซม. จะมีปีกอยู่ 4 ปีก มีความกว้างประมาณ 5-8 มม. และยาวประมาณ 7-10 มม.ผิวนอกนั้น จะขรุขระเป็นสีดำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ประโยชน์[ แก้ ] ใช้ทั้งต้น ต้นใบ ดอกฝัก เมล็ด ราก ใช้เป็นยา มีสรรพคุณดังนี้: ทั้งต้น ใช้ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายพิษตานทรง รักษาซาง โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะ รักษาฟกบวม รักษาริดสีดวง ดีซ่าน และฝี ต้น ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด และกลากเกลื้อน รักษากษัยเส้น ขับพยาธิ และขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก และทำให้หัวใจเป็นปกติ ใบ จะมีกลิ่นฉุน ต้มน้ำกินเป็นยาระบาย อมบ้วนปากและใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตามผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคันเส้นประสาทอักเสบ รักษากษัยเส้น ขับปัสสาวะและรักษากระเพาะอาหารอักเสบ อ้างอิง[ แก้ ] อ้างอิงจาก 108 สมุนไพรไทย เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ชุมเห็ดเทศ&oldid=8137306"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ ชุมเห็ดเทศ

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1184

ฤทธิ์ป้องกันต้อกระจกของสารสกัดใบชุมเห็ดไทย
ฤทธิ์ป้องกันต้อกระจกของสารสกัดใบชุมเห็ดไทยการศึกษาในลูกหนูแรทอายุ 8 - 10 วัน แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มปกติได้รับน้ำสะอาด ในวันที่ 10 ของการศึกษา กลุ่มที่ 2 เป็นหนูปกติ และได้รับสารสกัด 80% เอทานอลใบชุมเห็ดไทย ขนาด 5 มคก./ก. น้ำหนักตัว ในวันที่ 8 - 12 ของการศึกษา กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับสาร sodium selenite ขนาด 4 มคก./ก. น้ำหนักตัว โดยการฉีดในวันที่ 10 ของการศึกษา เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นต้อกระจก กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับสาร sodium selenite ขนาด 4 มค...

1483

ผลของสารสกัดน้ำต้มจากใบชุมเห็ดเทศต่อการทำงานของโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งยา
ผลของสารสกัดน้ำต้มจากใบชุมเห็ดเทศต่อการทำงานของโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งยาการศึกษาผลของสารสกัดน้ำต้มจากใบชุมเห็ดเทศต่อการทำงานของโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งยาบนเซลล์มะเร็งเยื่อบุลำไส้ Caco-2 (continuous cell of heterogeneous human epithelial colorectal adenocarcinoma cells), เซลล์ LLC-PK1 (renal-tubular epithelial cell) และเซลล์ LLC-GA5-COL300 (human P-gp overexpressed-LLC-PK1) โดยวิเคราะห์ผลของสารสกัดต่อการสะสมของ calcein-AM ในเซลล์ เปรียบเทียบกับการใช้ยา verapamil ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ P-gly...

818

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาที่ทำจากสมุนไพรไทย 15 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง มะขามแขก หม่อน คำฝอย ดายขัด ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ย่านาง ชะเอมเทศ มะรุม หญ้าหวาน ฝาง และแป๊ะตำปึง เปรียบเทียบกับชา (Camellia sinensis ) 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง พบว่าชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาสมุนไพร เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP assays ยกเว้นชาหญ้าหวานซึ่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าชาดำและชาอ...

195

ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดของ
ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดของ adenineAdenine ซึ่งสกัดแยกได้จากใบชุมเห็ดเทศสามารถยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือดที่เหนี่ยวนำด้วย collagen ได้ดี แต่ยับยั้ง AD ได้เพียงเล็กน้อย(Biol Pharm Bull 2003;26(9):1361-4) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

844

ฤทธิ์ต้านอาการแพ้ของสารสกัดน้ำ-เมทานอลและสาร
ฤทธิ์ต้านอาการแพ้ของสารสกัดน้ำ-เมทานอลและสาร rhein จากใบชุมเห็ดเทศการทดสอบฤทธิ์ต้านอาการแพ้ของสารสกัดน้ำ-เมทานอล (70%) รวมทั้งสารสำคัญอย่าง rhein และ kaempferol ใน triple antigen/sheep serum-induced mast-cell degranulation ของหนูแรท พบว่าสารสกัดน้ำ-เมทานอล ที่ขนาด 200 มก./กก. รวมทั้งสาร rhein และ kaempferol ที่ขนาด 5 มก./กก. สามารถยับยั้งการแตกของแกรนูลที่ทำให้หลั่งสารก่อการแพ้ (mast cell degranulation) ได้ นอกจากนี้สารสกัดน้ำ-เมทานอล และสาร rhein ยังสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ lipoxygenase ...

สมุนไพรอื่นๆ

151

ขมิ้นอ้อย
ขมิ้นอ้อย ชื่อเครื่องยาขมิ้นอ้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นอ้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้นอ้อย (กลาง),ขมิ้นขึ้น (เหนือ),แฮ้วดำ (เชียงใหม่), ละเมียด (เขมร) ขมิ้นเจดีย์ ว่านเหลือง ขมิ้นหัวขึ้น สากกะเบือละว้า ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe ชื่อพ้องAmomum latifolium Lam., Amomum zedoaria Christm., Costus luteus Blanco, Costus nigricans Blanco, Curcuma malabarica Velay., Amalraj & Mural., Curcuma pallida Lou...

163

สมุลแว้ง
สมุลแว้ง ชื่อเครื่องยาสมุลแว้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมุลแว้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เชียกใหญ่ เฉียด ฝนแสนห่า พะแว มหาปราบ โมงหอม อบเชย ขนุนมะแว้ง จวงดง แสงแวง ระแวง มหาปราบตัวผู้ ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet ชื่อพ้องCinnamomum bazania (Buch.-Ham.) Nees, Cinnamomum obtusifolium (Roxb.) Nees, Cinnamomum sikkimense Lukman., Cinnamomum van-houttei Lukman., Laurus bejolghota Buch.-Ham., Laurus obtu...

161

ว่านกีบแรด
ว่านกีบแรด ชื่อเครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กีบม้าลม กีบแรด ว่านกีบม้า ชื่อวิทยาศาสตร์Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. ชื่อพ้องPolypodium evectum ชื่อวงศ์Marattiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             เหง้าใหญ่ มีกลีบแข็ง คล้ายกีบเท้าแรด หรือกีบเท้ากระบือ มีขนาดสั้น ผิวเป็นลูกคลื่น ผิวเหง้าด้า...

138

สีเสียดเทศ
สีเสียดเทศ ชื่อเครื่องยาสีเสียดเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากการต้มเคี่ยวใบและกิ่ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสีเสียดเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สีเสียดแขก ชื่อวิทยาศาสตร์Uncaria gambir (Hunter) Roxb.. ชื่อพ้องNauclea gambir Hunter, Ourouparia gambir (Hunter) Baill., Uruparia gambir ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ได้จากการนำใบและกิ่งก้านของสีเสียดเทศ มาสกัดด้วยน้ำเดือด ...

3

กระชาย
กระชาย ชื่อเครื่องยากระชาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า และราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีพู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงกระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อพ้องBoesenbergia cochinchinensis ( Gagnep.) Loes., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L., Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl....

70

เทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน ชื่อเครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชีลาว, มะแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์Anethum graveolens L. ชื่อพ้องAnethum arvense Salisb., Angelica graveolens (L.) Steud., Ferula graveolens (L.) Spreng., Peucedanum graveolens (L.) Hiern, Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz, Selinum anethum Roth, Selinum graveolens ชื่อวงศ์Apiaceae (Umbelliferae) ลักษ...

8

กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...

24

เกสรบัวหลวง
เกสรบัวหลวง ชื่อเครื่องยาเกสรบัวหลวง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเกสรตัวผู้แห้งของดอกบัวหลวง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) โช้ค (เขมร บุรีรัมย์) บัว อุบล (กลาง) บัวหลวง (กลาง) ปทุม (กลาง) สัตตบงกช (กลาง) สัตตบุษย์ (กลาง) ชื่อวิทยาศาสตร์Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อพ้องNelumbo caspica (Fisch.) Schipcz., Nelumbo komarovii Grossh., Nelumbo speciosa Willd., Nymphaea nelumbo L. ชื่อวงศ์Nelumbonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่...

157

พิษนาศน์
พิษนาศน์ ชื่อเครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องSophora violacea var. pilosa ชื่อวงศ์Fabaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้น...

ชุมเห็ดเทศ แก้ท้องผูก แก้โรคกลากเกลื้อน

ชุมเห็ดเทศ แก้ท้องผูก แก้โรคกลากเกลื้อน

ชุมเห็ดเทศ แก้ท้องผูก แก้โรคกลากเกลื้อน

View
ชุมเห็ดเทศ สมุนไพร พืชท้องถิ่น โทษและสรรพคุณ

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพร พืชท้องถิ่น โทษและสรรพคุณ

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพร พืชท้องถิ่น โทษและสรรพคุณ

View
พาดูต้นชุมเห็ดเทศ สุดยอดสมุนไพรท้องถิ่น ที่ทุกคนไม่เคยรู้

พาดูต้นชุมเห็ดเทศ สุดยอดสมุนไพรท้องถิ่น ที่ทุกคนไม่เคยรู้

พาดูต้นชุมเห็ดเทศ สุดยอดสมุนไพรท้องถิ่น ที่ทุกคนไม่เคยรู้

View
ชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน สังคัง สมุนไพรไทย ช่วยแก้อาการท้องผูก

ชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน สังคัง สมุนไพรไทย ช่วยแก้อาการท้องผูก

ชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน สังคัง สมุนไพรไทย ช่วยแก้อาการท้องผูก

View
ชุมเห็ดไทย แก้ตับอักเสบ บำรุงธาตุในร่างกายบำรุงประสาท

ชุมเห็ดไทย แก้ตับอักเสบ บำรุงธาตุในร่างกายบำรุงประสาท

ชุมเห็ดไทย แก้ตับอักเสบ บำรุงธาตุในร่างกายบำรุงประสาท

View
ชุมเห็ดเทศพืชผักสมุนไพร/เป็นอาหารและสรรพคุณทางยา

ชุมเห็ดเทศพืชผักสมุนไพร/เป็นอาหารและสรรพคุณทางยา

ชุมเห็ดเทศพืชผักสมุนไพร/เป็นอาหารและสรรพคุณทางยา

View
EP.013 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร ///  ชุมเห็ดเทศ กลากเกลื้อนผิวหนัง

EP.013 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ชุมเห็ดเทศ กลากเกลื้อนผิวหนัง

EP.013 วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// ชุมเห็ดเทศ กลากเกลื้อนผิวหนัง

View
ชุมเห็ดเทศ รักษาโรคผิวหนัง แผลพุพอง ผื่นคัน - สมุนไพรไทย หมอจรร #หมอจรร

ชุมเห็ดเทศ รักษาโรคผิวหนัง แผลพุพอง ผื่นคัน - สมุนไพรไทย หมอจรร #หมอจรร

ชุมเห็ดเทศ รักษาโรคผิวหนัง แผลพุพอง ผื่นคัน - สมุนไพรไทย หมอจรร #หมอจรร

View
ep 7 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : ชุมเห็ดเทศ

ep 7 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : ชุมเห็ดเทศ

ep 7 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : ชุมเห็ดเทศ

View
#ชุมเห็ดเทศ #สมุนไพร แม่เฒ่า วัย80_แนะนำผัก&สมุนไพร ตอน : ชุมเห็ดเทศ

#ชุมเห็ดเทศ #สมุนไพร แม่เฒ่า วัย80_แนะนำผัก&สมุนไพร ตอน : ชุมเห็ดเทศ

#ชุมเห็ดเทศ #สมุนไพร แม่เฒ่า วัย80_แนะนำผัก&สมุนไพร ตอน : ชุมเห็ดเทศ

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับชุมเห็ดเทศ
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่