-
-
สมุนไพรแก้ไข้ตัวร้อนเป็นไข้ กินยาสมุนไพรตัวไหนคะจากคุณ ...
ดูถามตอบปัญหา
-
-
ตำรับยาบำรุงโลหิตในตำรับยาบำรุงโลหิต ใช้แทน ยาเม็ด MTV ได้หรือไม่ และอยากทราบปริมาณสารสำคัญในยานี้ค่ะจากคุณ ...
ดูถามตอบปัญหา
ข้อมูลสมุนไพร จันทน์แดง รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ จันทน์แดง, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ จันทน์แดง, สรรพคุณทางยาของ จันทน์แดง และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | จันทน์แดง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | ลักจั่น จันทน์ผา แก่นจันทน์แดง |
ได้จาก | แก่นที่มีราลงจนเป็นสีแดง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | จันทน์แดง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ลักกะจันทน์ ลักจั่น(กลาง) จันทน์ผา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Dracaena loureiroi Gagnep. |
ชื่อพ้อง | Aletris cochinchinensis Lour., Dracaena saposchnikowii Regel., Draco saposchnikowii (Regel) Kuntze., Pleomele cochinchinensis Merr. ex Gagnep., Dracaena cochinchinensis |
ชื่อวงศ์ | Dracaenaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
แก่น ที่มีเชื้อราลง จนทำให้แก่นมีสีน้ำตาลแดงและมีกลิ่นหอม มีรสขมเย็น ฝาดเล็กน้อย
เครื่องยา จันทน์แดง
เครื่องยา จันทน์แดง
เครื่องยา จันทน์แดง
เครื่องยา จันทน์แดง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 9% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 0.5% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 1.2% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 17% w/w สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 2% w/w
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ แก่น ที่มีเชื้อราลง จนทำให้แก่นมีสีแดง แก้พิษไข้ภายนอกและภายใน แก้ไข้ทุกชนิด แก้ไข้อันเกิดจากซางและดี แก้ซางเด็ก แก้กระสับกระส่าย แก้ร้อนดับพิษไข้ทุกชนิดแก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดความร้อน ทำให้หัวใจชุ่มชื่น แก้เหงื่อตก กระสับกระส่าย แก้ไออันเกิดจากซางและดี แก้ไข้เพื่อดีพิการ บำรุงหัวใจ แก้พิษฝีที่มีอาการอักเสบและปวดบวม แก้บาดแผล แก้เลือดออกตามไรฟัน ฝนทาแก้ฟกบวม แก้ฝี
ตำรายาไทย: มีการใช้จันทน์แดงใน “พิกัดเบญจโลธิกะ”คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง มี แก่นจันทน์ชะมด ต้นเนระพูสี ต้นมหาสะดำ แก่นจันทน์ขาว และแก่นจันทน์แดง สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน กล่อมพิษทั้งปวง และมีการใช้ใน “พิกัดจันทน์ทั้ง 5 “ คือการจำกัดจำนวนแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง มี แก่นจันทน์ชะมด แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์ขาว และแก่นจันทน์แดง สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับปอดหัวใจ แก้พยาธิบาดแผล
ตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์: ปรากฏตำรับ “มโหสถธิจันทน์” ประกอบด้วย จันทน์ทั้ง 2 (จันทน์แดงและจันทน์ขาว) ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 13 ชนิด สรรพคุณแก้ไข้ทั้งปวง ที่มีอาการตัวร้อน อาเจียนร่วมด้วยก็ได้
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้จันทน์แดงในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของจันทน์แดง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ยาแก้ไข้ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” มีส่วนประกอบของจันทน์แดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู “ตำรับยาเขียวหอม” บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษสุกใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
สารกลุ่ม homoisoflavanones, retrodihydrochalcone, stilbenes
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ในการรักษาแผล
ใช้สารสกัดเอทานอลของจันทน์แดง ในหนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague Dawley ที่มีแผลผ่าตัด (excision wound) และแผลเปิดที่เกิดจากการตัดผิวหนังส่วน full thickness ออกไป (incision wound) ทำการแบ่งหนูทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการรักษาด้วยยาพื้น (ointment base) เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่สองได้รับการรักษาด้วยยามาตรฐานคือ moist exposed burn ointment (MEBO) ส่วนกลุ่มสามได้รับสารสกัดเอทานอลของจันทน์แดงและติดตามเปอร์เซ็นต์ของการเกิดการหดตัวของแผล (wound contraction), ระยะเวลาการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (epithelialization period) ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดเอทานอล ของจันทน์แดงและ MEBOมีการหดตัวของแผล และการสมานแผลดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีการสร้าง bloodcapillaries, collagen fibres และ fibroblasts cellsได้ตั้งแต่วันที่ 7 หลังเกิดแผล และมีการสร้างเนื้อเยื่อสมบูรณ์ในวันที่ 21(Liu, et al., 2013)
ฤทธิ์ต้านการเกิดลิ่มเลือด
สกัดสารสำคัญจากจันทน์แดง ด้วยethanol (EA) และ precipitate B (PB) fraction ให้หนูแรทสายพันธุ์วิสตาร์ ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดก้อนลิ่มเลือด (thrombosis) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มควบคุม (control group), กลุ่ม 2 ได้รับ 0.5% CMC-Na, กลุ่ม 3 เป็นตัวควบคุมเชิงบวก (positive group) ได้รับ Xuesaitong tabletsขนาด 0.10 กรัม/กิโลกรัม/วัน, กลุ่ม 4 ได้รับสารสกัดเอทานอลของจันทน์แดง และกลุ่ม 5 ได้รับ precipitate B (PB) ขนาดสารทดสอบ กลุ่ม 4 และ 5 คือ 0.10, 1.07 และ 0.82 g/kg/วันเป็นเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลของจันทน์แดง มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดก้อนลิ่มเลือด (thrombosis) (p < 0.05), ยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด (p < 0.01) และมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด (p < 0.05–0.01) ที่ดีกว่า precipitate B (PB) fraction อย่างมีนัยสำคัญ(Xin, et al., 2011)
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Diphtheria bacilli และ Bacillus anthracis พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 0.25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรสามารถยับยั้งเชื้อได้ และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นจนถึง 50mg/ml จะสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียCandida albicans และ Cryptococcus neoformansได้ นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ต่อการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus, S. lemon, S. diphtheria มีค่า MIC50 เท่ากับ 3.12 mg/kgและฤทธิ์ต่อการยับยังเชื้อ Escherichia coli, Salmonella typhi, Pseudomonas aeruginosa, Nessler cocci และShigella flexneri โดยมีค่า MICน้อยกว่า 50 mg/kg นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารฟลาโวนอยด์ที่แยกได้ คือ 6,7- และ (2S)-4',7-dihydroxy-8-methylflavan ออกฤทธิ์แรงในการยับยั้งเชื้อ H. pylori โดยมีค่า MIC เท่ากับ 29.5, 29.5 และ 31.3 μM ตามลำดับ สาร Pterostilbene มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราหลายชนิด ได้แก่ Trichophyton rubrum, T. mentogrophtes, Candida albican, C. parapsilosis, Cryptococcus neoformans และ Aspergrillus fumigates (Fan, et al., 2014)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเนื้อไม้ด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,111 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)
การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ในระยะยาวของจันทน์แดง โดยการให้สารสกัดจันทน์แดงในขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม และ 1.5 กรัม/กิโลกรัม วันละครั้ง ในกระต่าย เป็นเวลา 90 วัน ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจันทน์แดงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพ เช่น จำนวน erythrocytes, leukocytes, เอนไซม์ alanine aminotransferase (ALT), urea nitrogen และน้ำหนักตัวในสัตว์ทดลอง ไม่มีการทำลายไตหรือตับ ส่วนการศึกษาพยาธิโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ พบเพียงการขยายตัวของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ (Fan, et al., 2014)
เอกสารอ้างอิง:
1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
2. Fan J-Y, Yi T, Sze-To C-M, Zhu L, Peng W-L, Zhang Y-Z, et al. A systematic review of the botanical, phytochemical and pharmacological profile of Dracaena cochinchinensis, a plant source of the ethnomedicine “Dragon’s Blood”. Molecules. 2014;19:10650-10669.
3. Liu H, Lin S, Xiao D, Zheng X, Gu Y, Guo S. Evaluation of the wound healing potential of resina draconis (Dracaena cochinchinensis) in animal models. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2013;page 1-10.
4. Xin N, Li Y-J, Li Y, Dai R-J, Meng W-W, Chen Y, et al. Dragon's Blood extract has antithrombotic properties, affecting platelet aggregation functions and anticoagulation activities. J Ethnopharmacology. 2011;135:510-514.
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com
ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : www.thai-remedy.com
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
จันทน์แดง จันทน์แดงในอินเดีย สถานะการอนุรักษ์
ใกล้สูญพันธุ์ (IUCN 2.3) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae วงศ์ย่อย: Faboideae เผ่า: Dalbergieae สกุล: Pterocarpus สปีชีส์: P. santalinus ชื่อทวินาม Pterocarpus santalinus
L.f. ชื่อพ้อง[1] Lingoum santalinum (L.f.) Kuntze
บทความนี้เกี่ยวกับจันทน์แดงที่เป็นพืชในวงศ์ถั่ว สำหรับเครื่องยาที่เกิดจากแก่นไม้ที่มีเชื้อราลง ดูที่ จันทร์แดง และ จันผา
จันทน์แดง หรือ รักตจันทน์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus santalinus อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ ยางสีแดงเข้ม ใบประกอบ ไม่มีหูใบ ก้านใบมีขนนุ่ม เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ดอกช่อ สีเหลือง ผลรูปกลมแบนมีปีก เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแดง พบเฉพาะในรัฐอานธรประเทศ และบริเวณใกล้เคียงเมืองมัทราสและไมซอร์ ปัจจุบันเป็นพืชปลูกในศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์
ในประเทศไทยนั้นจันทน์แดงอาจใช้เรียกลักจั่น (Dracaena cochinchinensis) ซึ่งสรรพคุณทางยานั้นมักใช้แทนกันได้[2] การใช้ประโยชน์
ไม้แปรรูป
ไม้ชนิดนี้มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ในภาษาจีนเรียกว่าสื่อทัน zitan (紫檀) ซึ่งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ที่ขนส่งไปทางตะวันตก [3] เนื่องจากเป็นไม้โตช้าและหายาก เฟอร์นิเจอร์จากไม้ชนิดนี้จึงหายากและราคาแพง[4] ในอินเดีย การส่งออกไม้จันทน์แดงถือว่าผิดกฎหมาย เครื่องดนตรี
ไม้จันทร์แดงใช้ทำสะพานและใช้ทำส่วนคอของเครื่องดนตรีญี่ปุ่นที่เรียกชามิเซ็น[5] คุณค่าทางยา
จันทน์แดงใช้เป็นยารักษาได้หลายอย่าง เช่น แก้อักเสบ โรคบิด ตกเลือด บำรุงกำลัง เป็นต้น [6][7]แก่นจันทน์แดง มีสารสีแดงหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น วานทาลินเอ วานทาลินบี ไอโซบเทอโรคาร์โพโลน เทอโรคาร์ปไทรออล ไอโซปเทอร์โรคาร์พีนเทอร์โรคาร์พอล เทอร์โรคาร์ปไดโอเลน ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดบวม [8] สถานะการอนุรักษ์
จันทน์แดงจัดเป็นไม้ใกล้สูญพันธุ์ตามรายการของ IUCN เพราะมีการใช้ประโยชน์มากในอินเดียใต้ [9]จัดอยู่ในภาคผนวกที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ต้องการใบรับรองก่อนส่งออกเพื่อยืนยันว่าไม่มีผลต่อการอยู่รอดของสปีชีส์ [10] อ้างอิง
↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 30 September 2014 . ↑ แก่น (จันทน์แดง) หรือแก่นที่มีราลง (ลักจั่น) https://www.fda.moph.go.th/Herbal/SitePages/Document/law/announce/announce-081063/2.2-19102563.pdf เก็บถาวร 2022-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ↑ http://www.chinese-furniture.com/cgi-bin/ccf.cgi?stt=stp&pgn=newsletter_archive/newsletter_2.html&id= Chinese Furniture.com newsletter; Volume 1, Number 2; Accessed 2007-04-05 ↑ http://www.wctg.net/zitan.html เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Accessed 2007-04-06 ↑ , Japanese Music and Musical Instruments ↑ http://shodhganga.inflibnet.ac.in:8080/jspui/bitstream/10603/37317/9/09_chapter%203.pdf ↑ "Pterocarpus santalinus Linn. f. (Rath handun): A review of its botany, uses, phytochemistry and pharmacology". Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry. 54 (4): 495–500. August 2011. doi:10.3839/jksabc.2011.076. ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555.หน้า 292 -293 ↑ Red List of Threatened Species: Pterocarpus santalinus , IUCN ↑ Appendices I, II and III, CITES แหล่งข้อมูลอื่น
Jstor.org: Pterocarpus santalinus เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=จันทน์แดง&oldid=10918354"
.
กุ่มบก
กุ่มบก ชื่อเครื่องยากุ่มบก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากุ่มบก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักก่าม (อีสาน) กุ่ม ผักกุ่ม ชื่อวิทยาศาสตร์Crateva adansonii DC. ชื่อพ้องCrateva guineensis Schumach. & Thonn., Crateva laeta ชื่อวงศ์Capparaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เปลือกต้นสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือมีรอยแตกตามขวาง ผิวเปลือกด้านในสีขาวนวลหรือออ...
สมอไทย
สมอไทย ชื่อเครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสมอ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กกส้มมอ สมอ มาแน่ สมออัพยา หมากแน่ะ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia chebula Retz. ชื่อพ้องT. acuta Walp., T. gangetica Roxb., T. parviflora Thwaites, T. reticulata Roth, T. zeylanica Van Heurck & Müll. Arg., Buceras chebula (Retz.) Lyons, Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn., M. gangetica ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา &...
สมุลแว้ง
สมุลแว้ง ชื่อเครื่องยาสมุลแว้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมุลแว้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เชียกใหญ่ เฉียด ฝนแสนห่า พะแว มหาปราบ โมงหอม อบเชย ขนุนมะแว้ง จวงดง แสงแวง ระแวง มหาปราบตัวผู้ ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet ชื่อพ้องCinnamomum bazania (Buch.-Ham.) Nees, Cinnamomum obtusifolium (Roxb.) Nees, Cinnamomum sikkimense Lukman., Cinnamomum van-houttei Lukman., Laurus bejolghota Buch.-Ham., Laurus obtu...
อบเชย
อบเชย ชื่อเครื่องยาอบเชย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้นชั้นใน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอบเชย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมง โมงหอม เคียด กะทังหัน ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Lauraceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum spp. 1. อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา (Ci...
มะกรูด
มะกรูด ชื่อเครื่องยามะกรูด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผิวผลชั้นนอก ผล น้ำจากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะกรูด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ใต้) มะหูด (หนองคาย) มะขูด มะขุน (เหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โกร้ยเชียด (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus hystrix DC. ชื่อพ้องCitrus auraria Michel, Citrus balincolong (Yu.Tanaka) Yu.Tanaka, Citrus boholensis (Wester) Yu.Tanaka, Citrus celebica Koord., Citrus combara Raf., Citrus hyalopulpa Yu.Tanaka, Citru...
กุ่มน้ำ
กุ่มน้ำ ชื่อเครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Crateva religiosa G.Forst. ชื่อพ้องCrateva brownii Korth. ex Miq., Crateva hansemannii K.Schum., Crateva macrocarpa Kurz, Crateva magna (Lour.) DC., Crateva membranifolia Miq. , Crateva speciosa ชื่อวงศ์Capparaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...
ลูกซัด
ลูกซัด ชื่อเครื่องยาลูกซัด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลูกซัด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Trigonella foenum-graecum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Papilionaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เมล็ดใน 1 ฝักมี 10-20 เมล็ด เมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองทอง เมล็ดขนาดเล็ก ขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 4 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร มีร่องตรงกลางเมล็ด มีกลิ่นแรงเฉพาะต...
งิ้ว
งิ้ว ชื่อเครื่องยางิ้ว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้ เปลือกไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางิ้ว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)นุ่นป่า งิ้วป่าดอกขาว งิ้วดอกขาว ไกร งิ้วผา (เหนือ) ง้าวป่า (กลาง) งิ้วขาว ชื่อวิทยาศาสตร์Bombax anceps Pierre. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Bombacaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีดำ มีหนามตามแข็งขนาดใหญ่ ตามลำต้นและกิ่งก้าน เนื้อไม้ภายในมีสีเนื้ออ่อนเปรา...
ชันย้อย
ชันย้อย ชื่อเครื่องยาชันย้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากชันที่ไหลออกมาแห้งกรังตามเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชวงศ์ Dipterocarparpaceae ได้แก่ ตะเคียนทอง ยางนา ยางกราด เต็ง รัง เป็นต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Dipterocarpaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ชันย้อยที่แห้งกรังจะมีความแข็ง สามารถบดเป็นผงได้ ลักษณะภายนอกเป็นก้อนแข็ง สีขาวอมเหลืองอ่อน มีก...
จันทน์แดง หรือลักกะจั่น ยาแก้ไข้ ที่ได้จากต้นจันทน์ผา ยาจันทลีลา
Viewเสน่ห์จันทร์แดง /มีทั้งพิษ/และสรรพคุณด้านสมุนไพร/ด้านควรระวัง/และความเป็นมงคง
Viewตำนานว่านไม้มงคล ที่คนไทยควรรู้ ว่านเสน่ห์จันทน์(จันทน์แดง)
Viewว่านเสน่ห์จันทน์แดง เสน่ห์จันทน์ขาว,บอนมงคล,ฟอกอากาศพิษ,ป้องกันมะเร็ง,ควรปลูกประจำบ้าน
View