ข้อมูลเพิ่มเติม
สมุนไพร คูน
ข้อมูล คูน จากสารานุกรมวิกิพีเดีย
บทความนี้เกี่ยวกับพรรณไม้ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ราชพฤกษ์ (แก้ความกำกวม)
ราชพฤกษ์ ต้นราชพฤกษ์ที่กำลังบาน สถานะการอนุรักษ์
ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1)[1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ เคลด: โรสิด อันดับ: ถั่ว วงศ์: วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ สกุล: Cassia
L. สปีชีส์: Cassia fistula ชื่อทวินาม Cassia fistula
L. ชื่อพ้อง[2] Bactyrilobium fistula Willd. Cassia bonplandiana DC. Cassia excelsa Kunth Cassia fistuloides Collad. Cassia rhombifolia Roxb. Cathartocarpus excelsus G.Don Cathartocarpus fistula Pers. Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don Cathartocarpus rhombifolius G.Don
ราชพฤกษ์, คูน, ลมแล้ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย นอกจากนี้ราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้และต้นไม้ประจำชาติของประเทศไทย และเป็นดอกไม้ประจำรัฐเกรละของประเทศอินเดียอีกด้วย[3] ลักษณะ
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10–20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20–40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4–7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30–62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับชื่อ
ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง, ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์, ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า ลักเกลือ หรือลักเคย และกะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียกว่า กุเพยะ, ชาวมอญเรียกว่า ปะกาวซังกราน (ပ္ကဴသၚ်ကြာန် )[4] เนื่องจากออกดอกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ การปลูกและการดูแลรักษา การปลูก
ในช่วงแรก ๆ ต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1–3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราชพฤกษ์มีอายุ 4–5 ปี จึงออกดอกและเมล็ดและเจริญเติบโตต่อไป สรรพคุณ
นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี
สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[5] ความเชื่อ
ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ
คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น[6]
คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม[7] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Cassia fistula ภาพ
ต้นราชพฤกษ์ที่เดลี
ต้นไม้ตอนบานสะพรั่ง
รายละเอียดของดอก
ดอกไม้ที่จัณฑีครห์ ประเทศอินเดีย
เมล็ด
ใบไม้ที่ไฮเดอราบัด รัฐเตลังคานา ประเทศอินเดีย
ผล
เปลือกไม้ที่ฮ่องกง อ้างอิง ↑ Botanic Gardens Conservation International (BGCI) & IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2018). "Cassia fistula". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T136142327A136142329. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022 . ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ June 19, 2014 . ↑ "Early konna blooms in Kochi set off alarm bells". February 14, 2019. ↑ องค์ บรรจุน (2014). ข้างสำรับมอญ. สำนักพิมพ์มติชน. p. 99. ISBN 978-974-02-1284-3. ↑ ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421 ↑ หลักการเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะสมกับทิศ ↑ "การเป็นมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08 . แหล่งข้อมูลอื่น วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Cassia fistula Database on state of environment, Kerala (2008): Kerala Symbols ดคกสัญลักษณ์ประจำชาติไทยธงไตรรงค์ · เพลงชาติ · เพลงสรรเสริญพระบารมี · ตราแผ่นดินของไทย · ช้างเผือก · ราชพฤกษ์ · ศาลาไทย ดคกทิศทาง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทิศทาง
ชื่อทิศ พายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) อุดร (เหนือ) อีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
เทวดาประจำทิศ พระราหู พระศุกร์ พระอาทิตย์
ไม้มงคล
ชื่อทิศ ประจิม (ตะวันตก) มัธยมทิศ (ทิศเบื้องกลาง) บูรพา (ตะวันออก)
เทวดาประจำทิศ พระพฤหัสบดี พระเกตุ พระจันทร์
ไม้มงคล มะยม • มะขาม ไผ่ • กุ่ม • มะพร้าว
ชื่อทิศ หรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ทักษิณ (ใต้) อาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
เทวดาประจำทิศ พระเสาร์ พระพุธ พระอังคาร
ไม้มงคล สะเดา • ขนุน • พิกุล • ราชพฤกษ์ มะม่วง • มะพลับ ยอ • สารภี
ดคกดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ภาคเหนือ พวงแสด (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่, ลำพูน) เสี้ยวดอกขาว (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) บัวตอง (แม่ฮ่องสอน) พุทธรักษาญี่ปุ่น (ลำปาง) ประดู่บ้าน (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พะยอม (กาฬสินธุ์) ราชพฤกษ์ (ขอนแก่น) ปทุมมา (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม, สุรินทร์) สาธร (นครราชสีมา) สิรินธรวัลลี (บึงกาฬ) สุพรรณิการ์ (บุรีรัมย์) ลั่นทมขาว (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) บัวแดง (ยโสธร) อินทนิลบก (ร้อยเอ็ด) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) ชิงชัน (หนองคาย) บัวหลวง (หนองบัวลำภู) ทองกวาวเหลือง (อำนาจเจริญ) ทองกวาว (อุดรธานี) บัว (อุบลราชธานี) ภาคกลาง พิกุล (กำแพงเพชร, ลพบุรี) ชัยพฤกษ์ (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก, สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี, พิษณุโลก) บัวหลวง (ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย) โสน (พระนครศรีอยุธยา) มะขาม (เพชรบูรณ์) ดาวเรือง (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) ภาคตะวันออก เหลืองจันทบูร (จันทบุรี) นนทรี (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี, ระยอง) กฤษณาชนิด Aquilaria subintegra (ตราด) ปีบ (ปราจีนบุรี) แก้ว (สระแก้ว) ภาคตะวันตก กาญจนิการ์ (กาญจนบุรี) เสี้ยวดอกขาว (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) กัลปพฤกษ์ (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) พุทธรักษา (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) ราชพฤกษ์ (นครศรีธรรมราช) บานบุรี (นราธิวาส) ชบา (ปัตตานี) จำปูน (พังงา) พะยอม (พัทลุง) เฟื่องฟ้า (ภูเก็ต, สงขลา) พิกุล (ยะลา) เอื้องเงินหลวง (ระนอง) กาหลง (สตูล) บัวผุด (สุราษฎร์ธานี) กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเลย จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทองไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q161117 Wikispecies: Cassia fistula APDB: 69853 EoL: 704102 EPPO: CASFI FloraBase: 43043 FoC: 200012019 GBIF: 5357108 GRIN: 9334 iNaturalist: 68679 IPNI: 484507-1 ITIS: 25749 IUCN: 136142327 NBN: NBNSYS0200003447 NCBI: 53852 NZOR: 6d60703d-54c0-4422-873d-c6f82e80c54b Plant List: ild-1022 PLANTS: CAFI3 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:484507-1 Tropicos: 13028064 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ราชพฤกษ์&oldid=10725198" .
บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ คูน
ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่
70
ฤทธิ์ต้านการเป็นพิษต่อตับจากใบคูน
ฤทธิ์ต้านการเป็นพิษต่อตับจากใบคูน จากการทดลองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับเป็นพิษโดยให้ยาพาราเซตามอลในขนาดสูง ( 750มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ) พบว่าในหนูที่ได้กินสารสกัด n-heptane ของใบคูน(Cassia fistula Linn.) ในขนาด 400มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมก่อนได้รับยาพาราเซตามอล มีระดับ transaminases ( SGOT และ SGPT ) bilirubin และ alkaline phosphatase( ALP ) ใกล้เคียงระดับปกติมากกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารสกัดPhytomedicine ; 8(3) : 220-24 ...
Read More
119
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสารสกัดฝักคูน
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสารสกัดฝักคูน การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดฝักคูนซึ่งได้จากวิธีชงในหนูถีบจักรพบว่า ขนาดที่ให้ผลในการเป็นยาระบายคือ 100-500 มก./กก./ครั้ง การทดสอบยังพบว่ามีผลต้าน การหดตัวของลำไส้หนูตะเภาที่ตัดแยกจากลำตัวซึ่งเหนี่ยวนำด้วยเฟนโตลามีน (phentolamine) ความเข้มข้น 10-8M การทดสอบความเป็นพิษพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 6.6 ก./กก. เมื่อตรวจสอบชิ้นเนื้อของตับ ไตและลูกอัณฑะ ไม่พบความผิดปกติ แ...
Read More
34
ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดจากใบคูน
ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดจากใบคูน สารสกัดเฮพเทน (n-heptane) จากใบคูน (Cassia fistula L.) แสดงฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective) ในสัตว์ทดลองเมื่อใช้สารคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ : พาราฟฟินเหลว ในอัตราส่วน 1:1 เหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ สารสกัดขนาด 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวหนูขาว มีผลต่อต้านการทำลายตับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด วัดได้จากการลดระดับเอนไซม์ SGOT, SGPT และอัลคาไ...
Read More
สมุนไพรอื่นๆ
2
กระแจะ
กระแจะ ชื่อเครื่องยากระแจะ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพญายา ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระแจะ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พญายา(กลาง ราชบุรี) ขะแจะ (เหนือ) ตุมตัง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะนาว (มอญ)พุดไทร ชะแจะ กระแจะจัน พินิยา ฮางแกง ชื่อวิทยาศาสตร์Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem. ชื่อพ้องNaringi crenulata (Roxb.) Nicolson., Limonia crenulata ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &...
Read More
139
สีเสียดไทย
สีเสียดไทย ชื่อเครื่องยาสีเสียดไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสีเสียดเหนือ สีเสียดลาว ได้จากสารที่ได้จากการนำเนื้อไม้ไปต้ม ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ขี้เสียด (เหนือ) สะเจ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (กลาง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่) สีเสียดหลวง สีเสียดลาว ชื่อวิทยาศาสตร์Acacia catechu (L.f.) Willd ชื่อพ้องAcacia catechuoides (Roxb.) Benth., Acacia sundra (Roxb.) Bedd., Acacia wallichiana DC., Mimosa catechu L.f., Mimosa c...
Read More
70
เทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน ชื่อเครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชีลาว, มะแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์Anethum graveolens L. ชื่อพ้องAnethum arvense Salisb., Angelica graveolens (L.) Steud., Ferula graveolens (L.) Spreng., Peucedanum graveolens (L.) Hiern, Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz, Selinum anethum Roth, Selinum graveolens ชื่อวงศ์Apiaceae (Umbelliferae) ลักษ...
Read More
136
สะบ้า
สะบ้า ชื่อเครื่องยาสะบ้า ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสะบ้ามอญ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะบ้า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า ชื่อวิทยาศาสตร์Entada rheedii Spreng. ชื่อพ้องAdenanthera gogo Blanco, Entada gogo (Blanco) I.M.Johnst., E. monostachya DC., E. pursaetha DC., E. pusaetha DC. [Spelling variant], E. rheedei Spreng. [Spelling variant], E. scheffleri Ridl., Mimosa entada ...
Read More
144
หมามุ่ย
หมามุ่ย ชื่อเครื่องยาหมามุ่ย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหมามุ่ย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หมามุ้ย ตำแย หมาเหยือง กลออื้อแซ ชื่อวิทยาศาสตร์Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อพ้องCarpogon capitatus Roxb., C. niveus Roxb., C. pruriens (L.) Roxb., Dolichos pruriens L., Marcanthus cochinchinense Lour., Mucuna axillaris Baker, M. bernieriana Baill., M. cochinchinense (Lour.) A.Chev.,., M. esquirolii H.Lev., M. luzoniensis Merr., M. lyonii Merr., ...
Read More
84
เปราะป่า
เปราะป่า ชื่อเครื่องยาเปราะป่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตูบหมูบ ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปราะป่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตูบหมูบ (อุบลราชธานี ตะวันออกเฉียงเหนือ); เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี ชพ);เปราะเขา เปราะป่า ชื่อวิทยาศาสตร์Kaempferia marginata Carey ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: มีเหง้าสั้น ขนาดเล็ก เหง้าหลักทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องชัดเจ...
Read More
66
เทียนขาว
เทียนขาว ชื่อเครื่องยาเทียนขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยายี่หร่า ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนขาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยี่หร่า ชื่อวิทยาศาสตร์Cuminum cyminum L. ชื่อพ้องCuminia cyminum J.F.Gmel., Cuminum aegyptiacum Mérat ex DC., Cuminum hispanicum Mérat ex DC., Cuminum odorum Salisb., Cuminum sativum J.Sm., Cyminon longeinvolucellatum St.-Lag. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &n...
Read More
103
มะคำดีควาย
มะคำดีควาย ชื่อเครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาประคำดีควาย ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Sapindus rarak DC. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Sapindaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลแก่จะแห้ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1.5-2 ...
Read More
149
อบเชย
อบเชย ชื่อเครื่องยาอบเชย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้นชั้นใน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอบเชย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมง โมงหอม เคียด กะทังหัน ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Lauraceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum spp. 1. อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา (Ci...
Read More