Menu

กระชายดำ

ชื่อเครื่องยา

กระชายดำ

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้า

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กระชายดำ

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

ชื่อพ้อง

K. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle, Stahlianthus rubromarginatus

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เหง้ารูปทรงกลม เรียงต่อกัน มักมีขนาดเท่าๆกัน หลายเหง้า อวบน้ำ ผิวเหง้าสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม อาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ เนื้อภายในสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม จนถึงสีม่วงดำ  มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติขมเล็กน้อย

 

เครื่องยากระชายดำ

 

เครื่องยากระชายดำ

 

เครื่องยากระชายดำ

 

ลักษณะวิสัยต้นกระชายดำ

 

ดอกกระชายดำ

 

ลักษณะทั้งต้นของกระชายดำ

 

เหง้ากระชายดำ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี
           ปริมาณน้ำไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 2% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่น้อยกว่า 8% w/w  ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่า 17% w/w (THP III)

 

สรรพคุณ
           ตำรายาไทย: ใช้บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า  และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง  หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก หรือต้มดื่มแก้โรคตา

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
           การใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย
           ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด  ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
           ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน

 

ข้อควรระวัง  

           การรับประทานติดต่อกันนาน อาจทำให้เหงือกร่น และห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ และในเด็ก  การรับประทานในขนาดสูง ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้


องค์ประกอบทางเคมี
           เหง้า ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย โดยมี borneol เป็นองค์ประกอบหลัก และยังพบสารกลุ่ม flavonoid, chalcone, anthocyanin เป็นต้น



การศึกษาทางเภสัชวิทยา
           ฤทธิ์ต้านอักเสบ:
           สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ  และมีฤทธิ์ลดไข้จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีแนน (carrageenan) และคาโอลิน (kaolin) ได้ 16.0-48.0% และ 43.7-80.9% ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสาร prostaglandin G อย่างมีนัยสำคัญ

           ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์:
           สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน

           ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์:
           สารสกัดกระชายดำด้วยเอทานอล โดยการกรอกสารเข้าสายในกระเพาะอาหาร พบว่าสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศผู้ของหนูขาวและสุนัขได้ นอกจากนี้การป้อนสารสกัดกระชายดำ ยังมีผลเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ และระดับ testosterone แต่ไม่ทำให้พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง สำหรับหนูขาวซึ่งได้รับสารสกัดแอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงขนาด 1,000 มก./กก. น้ำหนักตัว/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สามารถป้องกันภาวะการผสมไข่ไม่ติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สารสกัดขนาดดังกล่าวมีผลทำให้ตับโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

การศึกษาทางคลินิก:

           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20, 200, 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าหนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุม และพบว่าหนูที่ได้รับกระชายดำขนาด 2,000 มก./กก./วัน มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิโนฟิลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ ในหนูเพศเมียที่ได้รับกระชายดำขนาด 2,000 มก./กก./วัน มีระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และทุกกลุ่มไม่พบความเป็นพิษของกระชายดำเมื่อตรวจอวัยวะภายในโดยวิธีทางจุลพยาธิวิทยา

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ กระชายดำ

...

Other Related กระชายดำ

ข้อมูล กระชายดำ จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


กระชายดำ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ โดเมน: ยูแคริโอต Eukaryota อาณาจักร: พืช Plantae เคลด: พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes เคลด: พืชดอก Angiosperms เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots เคลด: Commelinids Commelinids อันดับ: ขิง Zingiberales วงศ์: วงศ์ขิง Zingiberaceae สกุล: สกุลเปราะ Kaempferia Wall. ex Baker สปีชีส์: Kaempferia parviflora ชื่อทวินาม Kaempferia parviflora Wall. ex Baker กระชายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia parviflora), KP หรือว่านกำบัง ว่านจังงัง[ 1] เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีปุ่มปม ลักษณะคล้ายกระชาย แต่เนื้อในหัวเป็นสีม่วง เมื่อแก่สีจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ผิวด้านนอกสีเหลือง ใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาวแต้มชมพู เป็นพืชที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร สารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย เชื้อรา และไมโครแบคทีเรีย ต้านการเกิดโรคภูมิแพ้และต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ในสัตว์ทดลองพบว่า มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงที่ถูกแยกออกจากกายของหนูขาว และสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) บริเวณเยื่อบุหลอดเลือดดำของรกเด็ก กระชายดำในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงอยู่ที่จังหวัดเลย นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง นักรบสมัยก่อนจะนำหัวไปปลุกเสกแล้วอมเวลาต่อสู้ เชื่อว่าทำให้คงกระพัน[ 1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[ แก้ ] กระชายดำแตกต่างจากกระชายทั่วไป (ที่ใช้เป็นเครื่องแกง) คือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็นราก (tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า (ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดิน ส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิง หรือขมิ้นแต่มีขนาดเล็กกว่า ใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7–15 ซม. ยาว 30–35 ซม. ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจาง ๆ และหนาอวบ กำเนิดมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน หัวมีสีเข้ม แตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความแตกต่างของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมา[ 2] พันธุ์ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสีของเนื้อหัว พอจะแยกได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่มีเนื้อหัวสีดำ สีม่วงเข้ม สีม่วงอ่อนหรือสีน้ำตาล[ 3] ส่วนใหญ่แล้ว จะพบกระชายที่มีสีม่วงเข้มและสีม่วงอ่อน ส่วนกระชายที่มีสีดำสนิทจะมีลักษณะหัวค่อนข้างเล็ก ชาวเขาเรียกว่า กระชายลิง ซึ่งมีไม่มากนักจัดว่าเป็นกระชายที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด การปลูกกระชายดำ[ แก้ ] กระชายดำสามารถขยายพันธุ์โดยใช้แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยทั่ว ๆ ไปจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก กระชายดำชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังหรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากจะเน่าเสียโดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรด เมื่อมีฝนชุกหรือความชื้นในดินสูง จะทำให้เกิดโรคเหง้าเน่า สามารถปลูกกลางแจ้งจนถึงมีแสงแดดพอควร ส่วนต้นเหนือดินมักจะยุบหรือแห้งเมื่อเข้าฤดูแล้ง ส่วนใหญ่จะเก็บเหง้าแก่เมื่ออายุ 10–11 เดือนหลังปลูก สีของกระชายดำถึงจะเข้มเต็มที่ การปลูกกระชายดำจะเริ่มเตรียมดินในช่วงต้นเดือนมีนาคม และจะปลูกต้นเมษายนของทุก ๆ ปี สำหรับการปลูกในแปลงใหญ่ และกลางแจ้ง ส่วนเหง้าที่นำมาปลูกนั้นผู้ควรทำการแบ่งเหง้าให้เป็นหัวเล็ก ๆ มีตาที่จะปลูก 2–3 ตาเพื่อการงอกที่มีคุณภาพ ทั้งนี้เมื่อเริ่มมีฝน หรือพายุฤดูร้อนก็สามารถทำการปลูกได้ การบริโภค[ แก้ ] กระชายดำสามารถนำมาแปรรูปได้เช่น กระชายดำแห้ง, กระชายดำบดผงในถุงชา, ไวน์กระชายดำ, กระชายดำอัดแคปซูล กระชายดำแบบหัวสด ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4–5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารอาหารเย็นปริมาณ 30 ซีซี. หรือฝานเป็นแว่นบาง ๆ แช่น้ำดื่ม หรือจะดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1:1 แบบหัวแห้ง หัวแห้งดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน แล้วนำมาดื่มก่อนนอน แบบชาชง ผงแห้งกระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) แต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามต้องการ[ 4] อ้างอิง[ แก้ ] ↑ 1.0 1.1 เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล (2010). ร้อยพรรณพฤกษา ว่าน. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์. ISBN 978-616-7376-09-7. ↑ องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สู่การเป็น smart officer สมุนไพรและเครื่องเทศ (PDF) . สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สิงหาคม 2013. pp. 8–12. ISBN 978-974-403-953-8. [ลิงก์เสีย] ↑ สมพร หิรัญรามเดช (ภูติยานันต์) (1982). สมุนไพรใกล้ตัว ตอนที่ 3. ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โรงพิมพ์พิฆเณศ. ↑ ประเวศ วะสี (1994). ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. บรรณานุกรม[ แก้ ] ศิรินารถ เพ็งเนตร; วชิราวดี มาลากุล; สุรวุฒิ ยิ่งสุขไพศาล; สุวรรณ ธีระวรพันธ์ (2009). การศึกษาฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของสารสกัดกระชายดำในหนูขาว. การประชุมทางวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 5. การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q13012542 Wikispecies: Kaempferia parviflora BOLD: 439715 EoL: 1117409 GBIF: 5301424 GRIN: 467656 IPNI: 797188-1 IUCN: 117415630 NCBI: 97751 Plant List: kew-250819 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:797188-1 Tropicos: 50104528 WCSP: 250819 บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กระชายดำ&oldid=10912769"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ กระชายดำ

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

785

สารสกัดจากกระชายดำปกป้องหัวใจ
สารสกัดจากกระชายดำปกป้องหัวใจการศึกษาผลของสารสกัดจากกระชายดำที่สกัดด้วยเอทานอลต่อการทำงานของหลอดเลือดแดงใหญ่และหัวใจหนูแรทที่แยกจากตัวสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากกระชายดำ ขนาด 10-6-10-3 มคก./มล. ทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ขยายตัว โดยการคลายตัวของหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของสารสกัดที่เพิ่มขึ้น การศึกษากลไกของสารสกัดจากกระชายดำต่อการขยายตัวของหลอดเลือดแดง พบว่าสารสกัดจากกระชายดำออกฤทธิ์ต่อเซลล์เอนโดทีเลียม (endothelium) โดยกระตุ้นการทำงานของ guanylate cyclase และ nitric oxide syntase (NOS) แต่ไม่...

1328

ผลของกระชายดำต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่เป็นเบาหวาน
ผลของกระชายดำต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่เป็นเบาหวานเมื่อป้อนหนูแรทเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยผงเหง้ากระชายดำ (Kaempferia parviflora) ขนาด 140 280 และ 420 มก./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ากระชายดำไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือด และการกินอาหารของหนูที่เป็นเบาหวาน แต่มีผลเพิ่มน้ำหนักของอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ อัณฑะ ท่อเก็บเชื้ออสุจิ (epididymis) และต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) กระชายดำที่ขนาด 420 มก./กก. มีผลเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ แต่ไม่มีผลต่อการเคล...

1398

ผลของสารสกัดกระชายดำต่อโรคข้อเข่าเสื่อม
ผลของสารสกัดกระชายดำต่อโรคข้อเข่าเสื่อมการศึกษาฤทธิ์ลดอาการข้อเข่าเสื่อมของสารสกัดกระชายดำในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดข้อเข่าอักเสบด้วยกรดโมโนไอโอโดอะซิติก (monoiodoacetic) โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเหง้ากระชายดำด้วย 60% เอทานอล ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักหนู และกลุ่มที่ได้รับยา diclofenac ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักหนู เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นในวันที่ 8 ทำการวัดระดับการทนต่อความเจ็บปวด (pain threshold) ด้วย von Frey algesiometry เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดกระชายดำ และยา ...

738

ผลป้องกันเซลล์ประสาทของกระชายดำ
ผลป้องกันเซลล์ประสาทของกระชายดำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเฮกเซนจากเหง้ากระชายดำ พบว่าประกอบด้วยอนุพันธุ์ของ methoxyflavone ได้แก่ 5-hydroxy-3,7-dimethoxyflavone, 5-hydroxy-7-methoxyflavone, 5-hydroxy-3,7,4'-trimethoxyflavone, 5-hydroxy-3,7,3',4-tetramethoxyflavone และ3,5,7-trimethoxyflavone เมื่อนำสารเหล่านี้ ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมล มาทดสอบฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ประสาท โดยทดลองในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง (cortical cells) ของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วยกลูตาเมท พบว่าสาร 5-Hy...

1655

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำการทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำที่มีสาร methoxyflavone ในปริมาณสูง (methoxyflavone-enriched extract of Kaempferia parviflora; MKE) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin เข้าทางช่องท้อง โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับ 0.2%sodium carboxymethylcellulose (CMC) กลุ่มที่ 3 และ 4 ได้รับ MKE ขนาด 150 และ 300 มก./กก./วัน ตามลำดับ และกลุ่มที่ 5 ได้รับยามาตรฐา...

778

สารสกัดจากกระชายดำช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง
สารสกัดจากกระชายดำช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุงการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง (metabolic disease) ของสารสกัดethyl acetate จากกระชายดำ โดยป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากกระชายดำความเข้มข้น 0.3หรือ 1.0% ให้แก่หนูTsumura Suzuki obese diabetes(TSOD: หนูเม้าส์ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และเป็นโรคอ้วนร่วมกับมีภาวะอินซูลินสูงและเซลล์ตับอ่อนโต) นาน 8 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากกระชายดำช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักลดไขมันสะสมในช่องท้อง ป้องกันการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง และลดไขม...

1656

ฤทธิ์ลดไขมันในช่องท้องของสาร
ฤทธิ์ลดไขมันในช่องท้องของสาร polymethoxyflavone จากกระชายดำการศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสองทาง และมีกลุ่มควบคุมเป็นยาหลอกโดยทำการทดลองแบบคู่ขนาน เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในช่องท้อง (visceral fat) ของสาร polymethoxyflavone ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 60% เอทานอลของเหง้ากระชายดำ (Kaempferia parvifloraFood Funct. 2021;12(4):1603-13. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

สมุนไพรอื่นๆ

76

บอระเพ็ด
บอระเพ็ด ชื่อเครื่องยาบอระเพ็ด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถาที่โตเต็มที่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบอระเพ็ด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาฮอ (หนองคาย) จุ่งจิง (เหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย) ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน(สระบุรี) หางหนู(สระบุรี อุบลราชธานี) จุ้งจาลิงตัวแม่ เจตมูลย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson ชื่อพ้องTinospora tuberculata Miers, Tinospora rumphii Boerl., Tinospora nudiflora ชื่อวงศ์Menispermaceae ล...

71

เทียนเยาวพาณี
เทียนเยาวพาณี ชื่อเครื่องยาเทียนเยาวพาณี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนเยาวพาณี (ajowan) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Trachyspermum ammi (L.) Sprague ชื่อพ้องAmmi copticum L., Ammios muricata Moench, Athamanta ajowan Wall., Bunium copticum (L.) Spreng., Carum ajowan Benth. & Hook.f., Carum aromaticum Druce, Carum copticum (L.) Benth. & Hook. f., Carum panatjan Baill., Cyclospermum ammi (L.) Lag., Daucus anisodoru...

28

โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อเครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงเฮา, ชิงฮาว, แชเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์Artemisia annua L. ชื่อพ้องArtemisia chamomilla C.Winkl. ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ประกอบด้วยส่วนของลำต้น ใบ และดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก...

157

พิษนาศน์
พิษนาศน์ ชื่อเครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องSophora violacea var. pilosa ชื่อวงศ์Fabaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้น...

167

หมากผู้หมากเมีย
หมากผู้หมากเมีย ชื่อเครื่องยาหมากผู้หมากเมีย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหมากผู้หมากเมีย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะผู้มะเมีย หมากผู้ ปูหมาก ชื่อวิทยาศาสตร์Cordyline fruticosa (L.) A.Chev ชื่อพ้องAletris chinensis Lam., Calodracon heliconiifolia (Otto & A.Dietr.) Planch., Calodracon nobilis Planch., Calodracon sieberi (Kunth) Planch., Calodracon terminalis (L.) Planch., Convallaria fruticosa L., Cordyline amabilis Cogn. & Marchal, Cor...

68

เทียนดำ
เทียนดำ ชื่อเครื่องยาเทียนดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนดำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Nigella sativa L. ชื่อพ้องNigella cretica Mill. ชื่อวงศ์Ranunculaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ถึงห้าเหลี่ยม สีดำ เนื้อในสีขาว ขนาดกว้าง 1.4-1.8 มิลลิเมตร ยาว 2.5-3.0 มิลลิเมตร   เมล็ดแก่แห้ง มีสีดำสนิท ผิวนอกขรุขระ ไม่ม...

162

ว่านร่อนทอง
ว่านร่อนทอง ชื่อเครื่องยาว่านร่อนทอง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านร่อนทอง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านขอทอง ชื่อวิทยาศาสตร์Ludisia discolor (Ker Gawl.) A.Rich. ชื่อพ้องAnoectochilus dawsonianus H.Low ex Rchb.f., Anoectochilus ordeanus Jennings, Gonogona discolor (Ker Gawl.) Link., Goodyera ordeana (Jennings) Boxall ex. Náves, Goodyera discolor Ker Gawl., Goodyera ordiana B.S.Williams, Goodyera rodigasciana L.Linden, Goodyera rubr...

15

กวาวเครือขาว
กวาวเครือขาว ชื่อเครื่องยากวาวเครือขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากหัว ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว ชื่อวิทยาศาสตร์Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่...

53

ชุมเห็ดเทศ
ชุมเห็ดเทศ ชื่อเครื่องยาชุมเห็ดเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบสดและแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชุมเห็ดเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชุมเห็ดใหญ่ ลับหมื่นหลวง ชี้คาก หมากกะลิงเทศ ส้มเห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia alata L. ชื่อพ้องSenna alata (L.) Roxb., Cassia bracteata ชื่อวงศ์Leguminosae-Caesalpinoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ย...

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน กระชายดำ สุดยอดสมุนไพรอายุวัฒนะสายพันธุ์ไทย

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน กระชายดำ สุดยอดสมุนไพรอายุวัฒนะสายพันธุ์ไทย

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน กระชายดำ สุดยอดสมุนไพรอายุวัฒนะสายพันธุ์ไทย

View
สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน สารสกัดกระชายดำ...ช่วยบำรุงกำลังให้นักกีฬา

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน สารสกัดกระชายดำ...ช่วยบำรุงกำลังให้นักกีฬา

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน สารสกัดกระชายดำ...ช่วยบำรุงกำลังให้นักกีฬา

View
สมุนไพรไทย ตอนที่ 3: กระชายดำ

สมุนไพรไทย ตอนที่ 3: กระชายดำ

สมุนไพรไทย ตอนที่ 3: กระชายดำ

View
กระชายดํา ดองน้ําผึ้ง ยาอายุวัฒนะ 24 ก.พ.58 (1/2) ครัวคุณต๋อย

กระชายดํา ดองน้ําผึ้ง ยาอายุวัฒนะ 24 ก.พ.58 (1/2) ครัวคุณต๋อย

กระชายดํา ดองน้ําผึ้ง ยาอายุวัฒนะ 24 ก.พ.58 (1/2) ครัวคุณต๋อย

View
ผลิตภัณฑ์สารสกัดกระชายดำเพื่อสมรรถภาพทางกายในผู้หญิง | สวก.

ผลิตภัณฑ์สารสกัดกระชายดำเพื่อสมรรถภาพทางกายในผู้หญิง | สวก.

ผลิตภัณฑ์สารสกัดกระชายดำเพื่อสมรรถภาพทางกายในผู้หญิง | สวก.

View
สมุนไพรไทย ตอนที่ 2: กระชายดำ

สมุนไพรไทย ตอนที่ 2: กระชายดำ

สมุนไพรไทย ตอนที่ 2: กระชายดำ

View
งานวิจัย “สารสกัดกระชายขาว ยับยั้งไวรัสโควิด-19” : ประเด็นสังคม (12 มิ.ย. 63)

งานวิจัย “สารสกัดกระชายขาว ยับยั้งไวรัสโควิด-19” : ประเด็นสังคม (12 มิ.ย. 63)

งานวิจัย “สารสกัดกระชายขาว ยับยั้งไวรัสโควิด-19” : ประเด็นสังคม (12 มิ.ย. 63)

View
กระชายขาวต้มน้ำอุ่นมีสรรพคุณป้องกันโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (27 เม.ย. 64)

กระชายขาวต้มน้ำอุ่นมีสรรพคุณป้องกันโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (27 เม.ย. 64)

กระชายขาวต้มน้ำอุ่นมีสรรพคุณป้องกันโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (27 เม.ย. 64)

View
EP.051วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// กระชายดำ บำรุงกำลัง

EP.051วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// กระชายดำ บำรุงกำลัง

EP.051วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// กระชายดำ บำรุงกำลัง

View
กระชายดำ | EP.5 | รอบรู้สมุนไพรกับโพชง

กระชายดำ | EP.5 | รอบรู้สมุนไพรกับโพชง

กระชายดำ | EP.5 | รอบรู้สมุนไพรกับโพชง

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับกระชายดำ
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่