ข้อมูลสมุนไพร ขอนดอก รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ ขอนดอก, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ ขอนดอก, สรรพคุณทางยาของ ขอนดอก และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | ขอนดอก |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เนื้อไม้ที่มีราลงของไม้พิกุล หรือไม้ตะแบก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | พิกุล, ตะแบก |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Mimusops elengi L. (พิกุล), Lagerstroemia calyculata Kurz. (ตะแบก) |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Sopotaceae (พิกุล) Lythraceae (ตะแบก) |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ขอนดอกคือเนื้อไม้จากต้นพิกุลหรือต้นตะแบกที่มีราลง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลเข้ม ประขาว มองเห็นเป็นจุดๆ สีขาว กระจายทั่วไป ภายในผุเป็นโพรงเล็กๆ มีกลิ่นหอม (ขอนดอก อาจได้จากต้นพิกุลหรือต้นตะแบกก็ได้ที่มีอายุมาก ยอดหักเป็นโพรง มักมีเชื้อราเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ ไม้ยืนต้นตาย เนื้อไม้เหมือนไม้ผุ สีขาวเป็นจุดๆ ตามตำราโบราณให้ใช้ขอนดอกที่เกิดจากต้นพิกุล จึงจะมีสรรพคุณดี) ขอนดอก มีกลิ่นหอม รสจืด
เครื่องยา ขอนดอก
เครื่องยา ขอนดอก
เครื่องยา ขอนดอก
เครื่องยา ขอนดอก
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ขอนดอก ใช้บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ แก้ลมกองละเอียด แก้ลมวิงเวียน บำรุงทารกในครรภ์ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น แก้เสมหะ แก้เหงื่อ แก้ไข้ร้อนเพื่อตรีโทษ
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ขอนดอก ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) มีส่วนประกอบของขอนดอก ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ปรากฏรวม 2 ตำรับ คือ”ยาหอมเทพจิตร” มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย)
ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ปรากฏการใช้ขอนดอก ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 15 ชนิด ในปริมาณเท่าๆกัน บดละเอียด ทำเป็นแท่ง ใช้น้ำดอกไม้เป็นกระสายยา เมื่อจะใช้ให้ละลายน้ำซาวข้าว หรือน้ำดอกไม้ก็ได้ ใส่พิมเสนลงไปเล็กน้อย ใช้ชโลมตัวแก้ไข้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดขอนดอก(จากไม้พิกุล)ด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 32 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 32,000 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ และเมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 7.111 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา :www.phargarden.com
...
ปลาไหลเผือก
ปลาไหลเผือก ชื่อเครื่องยาปลาไหลเผือก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาปลาไหลเผือก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี); คะนาง, ชะนาง (ตราด); ตรึงบาดาล (ปัตตานี); ตุงสอ, แฮพันชั้น (ภาคเหนือ); เพียก (ภาคใต้); หยิกบ่อถองหรือหยิกไม่ถึง, เอียนด่อน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไหลเผือก (ตรัง);หมุนขึ้น ชื่อวิทยาศาสตร์Eurycoma longifolia Jack ชื่อพ้องEurycoma latifolia Ridl., Eurycoma longifolia var. cochinchinensis Pierre, Eurycoma merguen...
อบเชย
อบเชย ชื่อเครื่องยาอบเชย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้นชั้นใน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอบเชย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมง โมงหอม เคียด กะทังหัน ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Lauraceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum spp. 1. อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา (Ci...
ละหุ่ง
ละหุ่ง ชื่อเครื่องยาละหุ่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากน้ำมันจากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาละหุ่ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ละหุ่งแดง (ภาคกลาง) ละหุ่งขาว มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) มะหุ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์Ricinus communis L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว หรือจุดสีน้ำตาลปนเทา เป็นลายคล้ายตัวเห็บ มีสีแตกต่างกันไปขึ้นกั...
ข้าวเย็น
ข้าวเย็น ชื่อเครื่องยาข้าวเย็น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหัวยาข้าวเย็น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ได้จากเหง้าใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข้าวเย็น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยาหัวข้อ ข้าวเย็นโคกแดง ข้าวเย็นโคกขาว เขือง เข้าเย็นเหนือ เข้าเย็นใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์Smilax spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Smilacaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: หัวใต้ดินมีลักษณะยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ยาวราว ...
ชิงชี่
ชิงชี่ ชื่อเครื่องยาชิงชี่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชิงชี่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระดาดป่า (ชลบุรี) ชายชู้ หมากมก (ชัยภูมิ) หนวดแมวแดง (เชียงใหม่) คายซู (อุบลราชธานี) พญาจอมปลวก กระดาดขาว กระโรกใหญ่ กินขี้ จิงโจ้ แสมซอ ค้อนฆ้อง ซิซอ เม็งซอ ราม แส้ม้าทะลาย พุงแก น้ำนอง น้ำนองหวะ เม็งซอ พวงมะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์Capparis micracantha DC. ชื่อพ้องCapparis bariensis Pierre ex Gagnep., C. billardieri DC., C. callosa Blume, C. donnaiensi...
ส้มโอ
ส้มโอ ชื่อเครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกรัยตะลอง มะขุน มะโอ ส้มมะโอ ลีมาบาลี สังอู ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus grandis (L.) Osbeck ชื่อพ้องC.maxima (Burm.f.) Merr., Citrus aurantium L. var. grandis L., C. pamplemos Risso., Aurantium maxima ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่า...
กำแพงเก้าชั้น
กำแพงเก้าชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตากวง ตากวาง ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตากวง(นครพนม) ตากวาง กระดอเย็น(เกาะช้าง) ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia verrucosa Wight. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Celastraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถา หรือไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล ผิวสีน้ำตาลมีกระด่างขาว เนื้อไม้สีชมพู มีวงปี...
ม้ากระทืบโรง
ม้ากระทืบโรง ชื่อเครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เดื่อเครือ(เชียงใหม่) ม้าทะลายโรง(อีสาน) ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร(ระนอง) พญานอนหลับ(นครสวรรค์) มาดพรายโรง(โคราช) ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus foveolata Wall. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถาขนาดใหญ่ เป...
ฝิ่นต้น
ฝิ่นต้น ชื่อเครื่องยาฝิ่นต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฝิ่นต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ), มะหุ่งแดง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Jatropha multifida L. ชื่อพ้องAdenoropium multifidum (L.) Pohl, Jatropha janipha Blanco, Manihot multifida ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เปลือกต้นมีผิวด้านนอกของค่อนข้างเรียบ หรือมีรอยขรุขระ...
ยาห้าราก(ยาเบญจโลกวิเชียร)สรรพคุณกระทุ้งพิษ ถอนพิษ แก้ไข้/ครัวแม่น้อง
Viewสมุนไพรไทย ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยพึ่งตนเอง ตอนที่2 โดย หมอแตง บ้านราช
ViewThailandplus │สมุนไพรน่ารู้ : หญ้ายุ่ม สมุนไพรเพื่อความกระชับ
Viewเจอริมทางอย่าถอนทิ้ง นี่คือสมุนไพรชั้นเริศ ต้นปอด่อน สมุนไพรแก้ปวดฟันอย่างดี
Viewฮือฮา!!ต้นโกฐจุฬาลัมพายา5ราก@สมุนไพร #โจฮักนะสารคาม EP.1331
Viewด่วน !! "โกฐจุฬาลัมพา" สมุนไพรไทยยับยั้งโควิด ผลวิจัยสหรัฐฯ การันตี | TNN ข่าวดึก | 1 ส.ค. 64
View