Menu

ขมิ้นชัน

ชื่อเครื่องยา

ขมิ้นชัน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้าสด เหง้าแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ขมิ้นชัน

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นหัว(เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma longa L.

ชื่อพ้อง

Amomum curcuma Jacq., Curcuma brog Valeton, Curcuma domestica Valeton, Curcuma ochrorhiza Valeton, Curcuma soloensis Valeton, Curcuma tinctoria Guibourt, Stissera curcuma Giseke, Stissera curcuma

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เหง้ารูปไข่ มีแง่งแขนงรูปทรงกระบอก หรือคล้ายนิ้วมือ ตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาว 4-7 เซนติเมตร กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร หนาประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างตัด สีภายนอกสีน้ำตาลถึงเหลืองเข้มๆ มีรอยย่นๆตามความยาวของแง่ง มีวงแหวนตามขวาง (leaf scars) บางทีมีแขนงเป็นปุ่มเล็กๆสั้นๆ หรือเห็นเป็นรอยแผลเป็นวงกลมที่ปุ่มนั้นถูกหักออกไป ผิวนอกสีเหลืองถึงสีเหลืองน้ำตาล สีภายในสีเหลืองเข้มหรือสีส้มปนน้ำตาล เป็นมัน แข็งและเหนียว เมื่อบดเป็นผงมีสีเหลืองทองหรือสีเหลืองส้มปนน้ำตาล กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสขม ฝาด  เฝื่อน  เผ็ดเล็กน้อย

 

เครื่องยา ขมิ้นชัน

 

 

เหง้า ขมิ้นชันสด (แง่งที่แตกแขนงจากเหง้าหลัก)

 

 

เหง้า ขมิ้นชันสด (ส่วนเหง้าหลัก)

 

เหง้า ขมิ้นชันสด

 

เหง้าขมิ้นอ้อยสด (ซ้าย) และ เหง้าขมิ้นชันสด (ขวา)

 

 

ลักษณะวิสัย ต้นขมิ้นชัน 

 

ดอกขมิ้นชัน

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณน้ำไม่เกิน 10% v/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 8% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 10% w/w  ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 9% w/w  ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ไม่น้อยกว่า 6% v/w  ปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ไม่น้อยกว่า 5% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ภายใน ช่วยเจริญอาหาร ยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด ลดน้ำหนัก ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการดีซ่าน แก้อาการวิงเวียน แก้หวัด แก้อาการชัก ลดไข้ ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องมาน แก้ไข้ผอมแห้ง แก้เสมหะและโลหิตเป็นพิษ โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้ตกเลือด แก้อาการตาบวม แก้ปวดฟันเหงือกบวม มีฤทธิ์ระงับเชื้อ ต้านวัณโรค ป้องกันโรคหนองใน แก้ท้องเสีย แก้บิด รักษามะเร็งลาม ใช้ภายนอก ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม ปวดไหล่และแขน บวมช้ำและปวดบวม แก้ปวดข้อ สมานแผลสดและแผลถลอก ผสมยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอก แก้น้ำกัดเท้า แก้ชันนะตุ แก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน สมานแผล รักษาฝี  แผลพุพอง  ลดอาการแพ้  อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ตำใส่แผลห้ามเลือด รักษาผิว บำรุงผิว
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา  ปรากฏการใช้ขมิ้นชัน ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ตำรับ ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของขมิ้นชันเป็นองค์ประกอบหลัก ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการแน่น จุกเสียด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใช้ภายใน (ยารับประทาน):
                - ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน  อาจปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง
                - เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
           ใช้ภายนอก:
                - ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
                - เหง้าแก่แห้ง บดเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน
                - เหง้าแห้งบดเป็นผง นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
                - เหง้าแก่ 1 หัวแม่มือ ล้างสะอาดบดละเอียด เติมสารส้มเล็กน้อย และน้ำมันมะพร้าวพอแฉะๆใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง ที่หนังศีรษะ

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), monodesmethoxycurcumin, bisdesmethoxycurcumin
           น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) มีสีเหลืองอ่อน สารหลักคือเทอร์เมอโรน (turmerone) 60%, ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25%, borneol, camphene, 1, 8 ciniole , sabinene, phellandrene

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร

       การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ของสารสกัดเอทานอล เฮกเซน และสารเคอร์คูมินอยด์ (ประกอบด้วยเคอร์คูมิน 86.5%, ดีเมทอกซีเคอร์คูมิน 13.4% และบิสเมทอกซีเคอร์คูมิน 0.1%) ที่ได้จากเหง้าขมิ้นชัน ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ใช้วิธี disc diffusion method หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Bacillus cereus, Vibrio cholera,  B. subtilis, Staphylococcus aureus และ V. parahaemolyticus โดยมีค่า MIC เท่ากับ 3.91, 15.63, 15.63, 31.25 และ 31.25 ppt ตามลำดับ สารสกัดเฮกเซนสามารถยับยั้งเชื้อ Staph. aureus, B. cereus, V. cholera และV. parahaemolyticus โดยมีค่า MIC เท่ากับ  250, 250, 500 และ 1000 ppt ตามลำดับ และสารเคอร์คูมินอยด์สามารถยับยั้งเชื้อ Staph. aureus, B. cereus และ B. subtilis โดยมีค่า MIC เท่ากับ 3.91, 15.63 และ 125 ppt ตามลำดับ โดยสรุปสารสกัดเอทานอล สารสกัดเฮกเซน และสารเคอร์คูมินอยด์จากเหง้าขมิ้นชัน สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคทางเดินอาหารหลายชนิดได้แก่  B. subtilis, B. cereus ซึ่งก่อโรคอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง เชื้อ V. parahaemolyticus ก่อโรคอาหารเป็นพิษ หรือทางเดินอาหารอักเสบเชื้อV. cholera ก่อโรคอหิวาตกโรค เชื้อ Staph. aureus ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ เป็นต้น  (Sincharoenpokai, et al., 2009)

ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางผิวหนัง

       การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus (เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ผิวหนังที่พบทั่วไป เช่น  ฝี  หนอง แผลติดเชื้อ สามารถสร้างสารพิษ endotoxin ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ เป็นต้น และยังก่อให้เกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในโรงพยาบาลอีกด้วย)  ทดสอบโดยใช้สารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์, สารสกัดเบนซีน, สารสกัดคลอโรฟอร์ม, สารสกัดเมทานอล และสารสกัดน้ำจากเหง้าขมิ้นชัน  ด้วยวิธี disc diffusion method หาบริเวณใสในการยับยั้งเชื้อ (zone of inhibition) ใช้ยา gentamycin เป็นสารมาตรฐาน  แสดงผลในหน่วยร้อยละของการยับยั้งการเจริญของเชื้อ ใช้เชื้อในการทดสอบ 2 ชนิด คือ เชื้อมาตรฐาน S. aureus ATCC 6571 และ S. aureus ที่แยกทางคลินิก (clinical isolates) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์, เบนซีน, คลอโรฟอร์ม, เมทานอล และน้ำ สามารถยับยั้งเชื้อมาตรฐาน S. aureus ATCC 6571โดยมีค่า MIC เท่ากับ 73, 84, 42, 100 และ 73% ตามลำดับ (ให้ gentamycin เท่ากับ 100%) และยับยั้งเชื้อ S. aureus ที่แยกทางคลินิก ได้เท่ากับ 85, 107, 71, 42 และ 85% ตามลำดับ (ให้ gentamycin เท่ากับ 100%) โดยสรุปสารสกัดเมทานอลออกฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อมาตรฐาน S. aureus ATCC 6571 และสารสกัดเบนซีนออกฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อ S. aureus ที่แยกทางคลินิก (Gupta, et al., 2015)

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ

      การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดน้ำที่ได้จากเหง้าขมิ้นชัน ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี agar diffusion method เพื่อหาบริเวณใสในการยับยั้งเชื้อ (zone of inhibiton) และใช้วิธี agar dilution method เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ (MIC) และใช้วิธี broth macro-dilution method เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อ (MBC) ใช้ยา gentamicin sulphate เป็นสารมาตรฐาน ทำการทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 5 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus, S. epidermidis, Micrococcus luteus, Bacillus subtilis และ Lactobacillus plantarum และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ 5 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneuminiae, Salmonella typhimurium, Pseudomonas aeruginosa และ Proteus vulgaris ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดน้ำที่ได้จากเหง้าขมิ้นชันออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อหลายชนิด ที่ความเข้มข้นต่ำ โดยสามารถยับยั้งเชื้อ 4 ชนิด ได้แก่ S. aureus, S. epidermidis, E. coli  และ K. pneuminiae โดยมีค่า MIC เท่ากับ 6, 4, 4 และ 16 g/L ตามลำดับ และมีค่า MBC เท่ากับ 32, 16, 16 และ 32 g/L ส่วนยามาตรฐาน gentamicin sulphate มีค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 4 ชนิด น้อยกว่า 0.5 mg/L (Niamsa, et al., 2009)

หมายเหตุ: S. aureus เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อผิวหนังที่พบทั่วไป เช่น  ฝี หนอง แผลติดเชื้อ สามารถสร้างสารพิษ endotoxin ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ เป็นต้น

               S. epidermidis เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเด็กแรกเกิด หรือในผู้ที่ใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ เชื้อสามารถเคลื่อนจากบริเวณผิวหนังเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อที่ลึกขึ้นและเข้าสู่กระแสเลือดได้

               E. coli  เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ โรคติดเชื้อ E. coli ที่สำคัญ ได้แก่ โรคท้องร่วง โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อที่ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

              K. pneuminiae เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ปกติจะอาศัยในลำไส้มนุษย์ และไม่ก่อให้เกิดโรค แต่หากเชื้อนี้แพร่ไปอยู่ในตำแหน่งอื่นๆในร่างกาย ก็จะสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นได้ โรคเหล่านี้ได้แก่ โรคติดเชื้อในปอด โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคติดเชื้อที่บาดแผล ที่แผลผ่าตัด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

การศึกษาทางคลินิก:

ฤทธิ์ลดอาการแน่น จุกเสียด

        การทดสอบผลในผู้ป่วยโรคท้องอืดเฟ้อ ในโรงพยาบาล 6 แห่ง จำนวน 116 ราย แบ่งกลุ่มผู้ป่วยโดยวิธีสุ่มเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลยาหลอก กลุ่มที่ได้รับยาแก้ท้องอืด และกลุ่มที่ได้รับขมิ้นชัน ทุกกลุ่มรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน นาน 7 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอาการดีขึ้น หรือหายไป 53% ขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาแก้ท้องอืด หรือขมิ้นชัน อาการดีขึ้นหรือหายไป 83% และ 87% ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ อัตราการเกิดผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม เป็นอาการที่ไม่รุนแรง และหายเองได้ (คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา, 2549)

ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

      ทดสอบในผู้ป่วยที่ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (รวม 4 กรัม) พบว่าได้ผลดี ได้มีการทดลองผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารในคน พบว่าให้ผู้ป่วยรับประทานแคปซูลผงขมิ้นชัน 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง พบว่า 5 คน หายใน 4 อาทิตย์ และ 7 คน หายภายใน 4-12 อาทิตย์ (คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา, 2549)

      จากการศึกษาประสิทธิผลในการรักษาโรคแผลในทางเดินอาหารในผู้ป่วย 25 ราย ที่ได้รับการส่องกล้องเพื่อดูตำแหน่ง และขนาดของแผล (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.5 เซนติเมตร) โดยให้ผู้ป่วยรับประทานขมิ้นชัน (300 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง ก่อนรับประทานอาหาร เมื่อเวลา 16.00 น. และก่อนนอน พบว่า 4 สัปดาห์ หลังการรักษา แผลหายในผู้ป่วย 12 ราย (48%), 8 สัปดาห์ หลังการรักษา แผลหายในผู้ป่วย 18 ราย (72%) และ 12 สัปดาห์ หลังการรักษา แผลหายในผู้ป่วย 19 ราย (76%) (คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา, 2549)

ฤทธิ์ลดการอักเสบ

      การศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของขมิ้นชันในผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยให้รับประทานขมิ้นขนาด 400 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน พบว่าขมิ้นสามารถลดการอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ จำนวน 18 คน โดยให้รับประทานขมิ้นขนาด 1,200 มก. วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่พบความเป็นพิษ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่าการรับประทานขมิ้นขนาด 375 มก. วันละ 3 ครั้ง ทำให้อาการเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรังมีอาการดีขึ้น (สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552)

ฤทธิ์ต้านอัลไซเมอร์

          การศึกษาทางคลินิกโดยเจาะเลือดจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 6 คน และอาสาสมัครสุขภาพดี 3 คน แล้วแยก macrophage มาทำการทดสอบ โดยให้สาร curcumin พบว่า macrophage ของผู้ป่วยที่ได้รับ curcumin มีการเก็บและย่อยสลาย amyloid protein เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับ macrophage ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ curcumin แสดงให้เห็นว่าเคอร์คิวมิน มีบทบาทช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการทำลาย amyloid protein (สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552)

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:           

      การศึกษาพิษเฉียบพลันของเหง้าขมิ้นชันในหนูถีบจักร พบว่าหนูที่ได้รับผงขมิ้นชันทางปากในขนาด 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่แสดงอาการพิษ และเมื่อให้สารสกัดของเหง้าขมิ้นชันด้วย 50% แอลกอฮอล์ โดยวิธีป้อนทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และทางช่องท้องในขนาด 15 กรัม/กิโลกรัม พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลัน และหนูถีบจักรไม่ตาย ขนาดของสารสกัดทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เมื่อให้โดยวิธีดังกล่าว จึงมีค่ามากกว่า 15 กรัม/กิโลกรัม (คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา, 2549)

      การศึกษาพิษเรื้อรังของขมิ้นชันในหนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์ที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ และกลุ่มทดลองที่ได้รับผงขมิ้นชันทางปากในขนาด 0.039, 2.5 และ 5.0 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 1, 83 และ 166 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนคือ 1.5 กรัมต่อ 50 กิโลกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าหนูเพศผู้ที่ได้รับขมิ้นชันขนาด 2.5 และ 5.0 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน มีน้ำหนักตัว และการกินอาหารน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในหนูเพศเมียที่ได้รับยาขนาดเท่ากัน ขมิ้นชันในขนาดต่างๆ ที่ให้แก่หนูขาวไม่ทำให้เกิดอาการพิษใดๆ รวมทั้งไม่มีผลต่อค่าทางโลหิตวิทยา หรือค่าเคมีคลินิก และไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะภายในของหนูขาวทั้งสองเพศ (คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา, 2549)

      การศึกษาพิษเรื้อรังนาน 6 เดือน ของสารเคอร์คิวมินอยด์ ในหนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์ ที่แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ตัวต่อเพศ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ กลุ่มควบคุมที่ได้รับ tragacanth  และกลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำยาแขวนตะกอนเคอร์คิวมินอยด์ ใน tragacanth ทางปากในขนาด 10, 50 และ 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 1, 5 และ 25 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนต่อวัน ส่วนหนูทดลองกลุ่มที่ 4 ได้รับน้ำยาแขวนตะกอนเคอร์คิวมินอยด์ ขนาด 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน นาน 6 เดือน แต่หยุดให้ยา 2 สัปดาห์ ก่อนผ่าซาก เพื่อดูว่าหากมีอาการพิษจากเคอร์คิวมินอยด์เกิดขึ้น จะกลับมาหายเป็นปกติได้หรือไม่หลังจากหยุดยา พบว่าอัตราการเจริญของหนูเพศผู้ที่ได้รับเคอร์คิวมินอยด์ ขนาด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ tragacanth อย่างมีนัยสำคัญ สารเคอร์คิวมินอยด์ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยาใด ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารที่ให้ในหนูเพศผู้ที่ได้รับเคอร์คิวมินอยด์ ขนาด 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน พบว่าน้ำหนักจริง และน้ำหนักสัมพัทธ์ของตับ และระดับ alkaline phosphatase สูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งสองกลุ่ม แต่ยังอยู่ในช่วงของค่าปกติ แม้ว่าหนูกลุ่มนี้ดูเหมือนจะมีอุบัติการณ์ของไขมันสะสมในตับ และชั้น cortex  ของต่อมหมวกไตสูง แต่อุบัติการณ์ดังกล่าวไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มควบคุมทั้งสองอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการให้เคอร์คิวมินอยด์ ในขนาดที่ใช้ในคน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ทำให้เกิดพิษในหนูขาว อย่างไรก็ตามเคอร์คิวมินอยด์ ในขนาดสูงอาจมีผลต่อการทำงาน และโครงสร้างตับได้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้เคอร์คิวมินอยด์ (คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา, 2549)

 

ข้อควรระวัง:        
           1. การใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ  ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไป  จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
           2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น  โดยมีอาการคลื่นไส้  ท้องเสีย  ปวดหัว  นอนไม่หลับ  ให้หยุดยา
           3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์

           4. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยากได้

 

เอกสารอ้างอิง:

1. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย:กรุงเทพมหานคร, 2551.

2. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ: ข้อมุลบนหลักฐานทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. แสงเทียนการพิมพ์:กรุงเทพมหานคร, 2552.

3. Gupta A, Mahajan S, Sharma R. Evaluation of antimicrobial activity of Curcuma longa rhizome extract against Staphylococcus aureus. Biotechnology Reports. 2015;6:51–55. 

4. Niamsa N, Sittiwet C. Antimicrobial Activity of Curcuma longa aqueous extract. J Pharmacol Toxicol. 2009;4(4):173-177.

5. Sincharoenpokai P, Lawhavinit O, Sunthornandh P, Kongkathip N, Sutthiprabha S, Kongkathip B. Inhibitory effects of Turmeric (Curcuma longa L.) extracts on some human and animal pathogenic bacteria. Research report of Kasetsart University. 2009.

 

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  www.thai-remedy.com

 



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ขมิ้นชัน

...

Other Related ขมิ้นชัน

ข้อมูล ขมิ้นชัน จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


บทความนี้เกี่ยวกับพรรณไม้ สำหรับนก ดูที่ นกขมิ้น ขมิ้นชัน ส่วนต่าง ๆ ของขมิ้นชัน การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Liliopsida ชั้นย่อย: Zingiberidae อันดับ: Zingiberales วงศ์: Zingiberaceae สกุล: Curcuma สปีชีส์: C.  longa ชื่อทวินาม Curcuma longa Linnaeus ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้) [1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู[2] การปลูกเลี้ยง

ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ 10-12 เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ 8-12 ซม.หรือมีตา 6-7 ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ 5-10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30-70 วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ฤดูกาลปลูก : ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท อ้างอิง

↑ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549 ↑ ขมิ้นชัน ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แหล่งข้อมูลอื่น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Curcuma longa ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Curcuma longa ที่วิกิสปีชีส์ ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ขมิ้น&oldid=10832152"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ ขมิ้นชัน

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

730

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ Curcumin จากขมิ้นชันการศึกษาผลของ curcumin จากขมิ้นชันต่อภาวะดื้ออินซูลินและฤทธิ์ลดน้ำตาลในหนูแรทเพศผู้ที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) ด้วยการกินอาหารไขมันสูง นาน 60 วัน โดยป้อนขมิ้นชัน ขนาด 80 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรทกินพร้อมอาหารไขมันสูง นาน 60 วัน เพื่อศึกษาผลการป้องกันของ curcumin และป้อน curcumin ขนาด 80 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรทที่เป็นเบาหวาน (หลังจากกินอาหารไขมันสูง 60 วัน) ต่อไปอีก 15 วัน เพื่อศึกษาผลการรักษาของ curcumin การ...

408

ผลของ
ผลของ curcumin ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและต้านอนุมูลอิสระในหนูที่อดนอนการศึกษาผลการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระของสาร curcumin จากขมิ้นชันในหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้อดนอนนาน 72 ชม. โดยการเลี้ยงหนูในกรงพื้นเป็นตาข่ายเหล็กแขวนอยู่เหนือน้ำ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าเมื่อให้ curcumin ขนาด 10 และ 20 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู จะมีผลป้องกันการลดลงของน้ำหนัก ทำให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ลดอาการกระวนกระวายของหนู เมื่อทดสอบด้วยวิธี mirror chamber, plu...

308

ผลของสาร
ผลของสาร curcumin จากเหง้าขมิ้นในการบรรเทาอาการปวดตามปลายเส้นประสาทในหนูที่เป็นเบาหวานอาการปวดตามปลายเส้นประสาทเป็นอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน และอาการปวดตามปลายเส้นประสาท จะเป็นมากขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลสูงขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อลดอาการปวดในหนูที่เป็นเบาหวาน โดยเหนี่ยวนำในหนูถีบจักรเป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin ขนาด 200 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ จนหนูมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และน้ำหนักตัวลดลง แบ่งหนูออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (หนูปกต...

1257

ขมิ้นชันช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
ขมิ้นชันช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบการศึกษาฤทธิ์ป้องกันโรคลำไส้อักเสบของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ในหนูแรท โดยแบ่งป้อนหนูแรทด้วยสารสกัด semi-bionic ของขมิ้นชัน (SET) ขนาด 0.42 และ 0.21 ก./กก. หรือป้อนยาซาลาโซซัลฟาไพริดีน (salazosulfapyridine) ซึ่งเป็นยารักษาลำไส้อักเสบเรื้อรัง ขนาด 175 มก./กก. เป็นเวลา 7 วันก่อนการชักนำให้หนูแรทเกิดภาวะลำไส้อักเสบด้วย 5% dextran sulfate sodium (DSS) ขนาด 0.75 ก./กก. พบว่า SET ช่วยลดความรุนแรงของโรค เพิ่มน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองและเพิ่มอัตราการกินอาหารที่ลดลงจากอ...

87

ฤทธิ์ต้านเชื้อ
ฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli ของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน น้ำมันจากใบและเหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) สกัดด้วยวิธีกลั่นระเหยด้วยไอน้ำ และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี โดยวิธี Gas Chromatography พบว่า น้ำมันจากใบขมิ้นชันมีสารเคมีกลุ่มโมโนเทอร์ปีนส์อยู่มาก แต่น้ำมันเหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบกลุ่ม เซสควิเทอร์ปีนส์ และเซสควิเทอร์ปีน คีโตน เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ น้ำมันจากใบและเหง้าขมิ้นชัน แสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli สารพันธุ์ MTCC-443 มีค่าความเข้มข้นต่ำส...

1111

การเสริมฤทธิ์ยาต้านมะเร็งของสาร
การเสริมฤทธิ์ยาต้านมะเร็งของสาร curcumin จากขมิ้นชันการศึกษาผลของการให้สาร curcumin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่แยกได้จากส่วนเหง้าของขมิ้นชัน (Curcuma longa ) ร่วมกับยาต้านมะเร็งอ๊อกซาลิพลาติน (oxaliplatin) ในหนูเม้าส์ที่ถูกปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ [subcutaneously xenografted LoVo human colorectal cancer cells in immunodeficient (nu/nu) mice] พบว่าการให้สาร curcumin ขนาด 50 มก./กก. ร่วมกับยาอ๊อกซาลิพลาติน ขนาด 25 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง เป็นเวลา 22 วัน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตขอ...

748

ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ประสาทหนูเมาส์ของสารเคอร์คิวมิน
ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ประสาทหนูเมาส์ของสารเคอร์คิวมินการศึกษาผลของสารเคอร์คิวมิน (curcumin) ที่สกัดได้จากขมิ้นชันต่อเซลล์ประสาทของหนูเมาส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ถูกทำลายด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่าเมื่อให้สารเคอร์คิวมินแก่เซลล์ประสาทของหนูเมาส์ ขนาด 20 และ 25 ก./มล. ก่อนให้ไฮโดร์เจนเปอร์ออกไซด์เป็นเวลา 1 ชม. จะทำให้มีระดับสารอนุมูลอิสระและแคลเซียมภายในเซลล์ลดลง และค่าศักย์ไฟฟ้าของเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้การตายของเซลล์ประสาทลดลง ยิ่งไปกว่านั้นสารเคอร์คิวมินยังยับยั้งการท...

1664

การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19
การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงของอาการระดับน้อยถึงปานกลางการศึกษาทางคลินิกแบบเปิด (open-label nonrandomized clinical trial) ถึงประสิทธิภาพของขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin) ต่อการบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและมีความรุนแรงของโรคในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 41 ราย แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับซอฟท์เจลแคปซูลขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin: Sinacurcumin soft gel ซึ่งประกอบด้วยสารเคอร์คูมินอยด์ในรูป...

1113

น้ำมันขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและฤทธิ์ต้านการอักเสบ
น้ำมันขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและฤทธิ์ต้านการอักเสบการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันที่แยกได้จากส่วนเหง้าของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) โดยให้หนูแฮมสเตอร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้หลอดเลือดผิดปกติด้วยการผูกหลอดเลือดคาโรติดบางส่วน (partial carotid ligation; PCL) หรือการเหนี่ยวนำเกิดออกซิเดชั่นด้วยสารเฟอร์ริคคลอไรด์ (FeCl3-induced arterial oxidative injury; Ox-injury) กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงร่วมกับน้ำมันขมิ้นชันขนาด 100 และ 300 มก./กก. เป็นเวลา 1 สัป...

793

สารเคอร์คูมินช่วยให้การอักเสบที่หัวใจดีขึ้นในหนูที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
สารเคอร์คูมินช่วยให้การอักเสบที่หัวใจดีขึ้นในหนูที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบการศึกษาในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจด้วยการฉีด myosin 0.1 มล. เข้าที่รองอุ้งเท้า (footpad) ของหนู จากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ แบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมินจากขมิ้นชัน ขนาด 50 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ 2 ได้รับสาร 1% gum Arabic ขนาดเท่ากัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมินสามารถลดอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักหัวใจต่อน้ำหนักตัว ลดจำนวนเซลล์ และพื้นที่ท...

1374

ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์สารสำคัญที่พบในขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อระดับไขมันของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 118 คน เมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์แคปซูล (ประกอบด้วยเคอร์คูมินอยด์ 1,000 มก และสารไพเพอรีน 10 มก. ต่อวัน) ร่วมกับการรักษาเบาหวานตามปกติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยารักษาเบาหวาน เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่ม...

829

ฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอของสารสกัด
ฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอของสารสกัด curcuminoids จากขมิ้นชันการศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสกัดจากขมิ้นชัน 13 ชนิด ที่ได้จากการสกัดด้วยเมทานอลและแยกด้วยวิธี chromatographic fraction โดยทำการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยการนำสารสกัดทั้ง 13 ชนิดเติมลงในเซลล์ 293T cells (human embryonic kidney cells) ที่ถูกใส่ยีนของเอนไซม์ neuraminidase ของเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ H1N1 และ H9N2 แล้ว ขนาด 10 ไมโครลิตร ก่อนนำไปทดสอบหาประสิทธิภาพการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าวด้วยชุดตรวจสอบ 4-MU-NANA (Sig...

สมุนไพรอื่นๆ

102

มะคังแดง
มะคังแดง ชื่อเครื่องยามะคังแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยามุยแดง ตะลุมพุกแดง ได้จากเนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Gardenia erythroclada Kurz ชื่อพ้องDioecrescis erythroclada ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:      ...

59

โด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม ชื่อเครื่องยาโด่ไม่รู้ล้ม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโด่ไม่รู้ล้ม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโบ้ ตะชี โกวะ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปลาบ หญ้าไฟนกคุ่ม หญ้าสามสิบสองหาบ หนาดผา หนาดมีแคลน ชื่อวิทยาศาสตร์Elephantopus scaber Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกั...

173

ข่า
ข่า ชื่อเครื่องยาข่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กฎุกโรหินี ข่าตาแดง (กลาง); ข่าหยวก ข่าใหญ่ ข่าหลวง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Alpinia galanga (L.) Willd. ชื่อพ้องAlpinia alba (Retz.) Roscoe, Alpinia bifida Warb., Alpinia carnea Griff., Alpinia pyramidata Blume, Alpinia rheedei Wight, Alpinia viridiflora Griff., Amomum galanga (L.) Lour. , Amomum medium Lour., Galanga officinalis Salisb., Hellenia alba (Ret...

43

คูน
คูน ชื่อเครื่องยาคูน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อในฝักแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเนื้อในฝักแก่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชัยพฤกษ์ ลมแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula L. ชื่อพ้องBactyrilobium fistula Willd., Cassia bonplandiana DC., C. excelsa Kunth, C. fistuloides Collad., C. rhombifolia Roxb., Cathartocarpus excelsus G.Don, Cathartocarpus fistula Pers., Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don, Cathartocarpus rhombifolius ชื่อวงศ์Legumonosae-Caesalpi...

23

กำลังเสือโคร่ง
กำลังเสือโคร่ง ชื่อเครื่องยากำลังเสือโคร่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น เนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขวากไก่ หนามเข็ม (ชัยภูมิ) ขอเบ็ด (หนองคาย) ขี้แรด (ปราจีนบุรี) เขี้ยวงู (ชุมพร) ตึ่ง เครือดำตัวแม่ (ลำปาง)เบน เบนขอ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เล็บครุฑ (จันทบุรี) เล็บรอก (พัทลุง) หมากตาไก้ (เลย) ชื่อวิทยาศาสตร์Strychnos axillaris Colebr. ชื่อพ้องStrychnos chloropetala A.W. Hill., Strychnos plumosa ชื่อวงศ์Strychnaceae (Logana...

199

ชันย้อย
ชันย้อย ชื่อเครื่องยาชันย้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากชันที่ไหลออกมาแห้งกรังตามเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชวงศ์ Dipterocarparpaceae ได้แก่ ตะเคียนทอง ยางนา ยางกราด เต็ง รัง เป็นต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Dipterocarpaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           ชันย้อยที่แห้งกรังจะมีความแข็ง สามารถบดเป็นผงได้ ลักษณะภายนอกเป็นก้อนแข็ง สีขาวอมเหลืองอ่อน มีก...

134

ส้มโอ
ส้มโอ ชื่อเครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกรัยตะลอง มะขุน มะโอ ส้มมะโอ ลีมาบาลี สังอู ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus grandis (L.) Osbeck ชื่อพ้องC.maxima (Burm.f.) Merr., Citrus aurantium L. var. grandis L., C. pamplemos Risso., Aurantium maxima ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่า...

16

กวาวเครือแดง
กวาวเครือแดง ชื่อเครื่องยากวาวเครือแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากวาวเครือแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง ชื่อวิทยาศาสตร์Butea superba Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            หัวใต้ดิน รูปทรงกระบอกยาว มีหลายขนาด เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางสีแดงข้น คล้ายเลือดไหลออกมา ...

103

มะคำดีควาย
มะคำดีควาย ชื่อเครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาประคำดีควาย ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Sapindus rarak DC. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Sapindaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลแก่จะแห้ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1.5-2 ...

พบแล้ว..!!! 9 สรรพคุณของขมิ้นชัน ยอดสมุนไพรไทย สู้โรค... | Nava DIY

พบแล้ว..!!! 9 สรรพคุณของขมิ้นชัน ยอดสมุนไพรไทย สู้โรค... | Nava DIY

พบแล้ว..!!! 9 สรรพคุณของขมิ้นชัน ยอดสมุนไพรไทย สู้โรค... | Nava DIY

View
ขมิ้นชัน ต้านมะเร็ง #ขมิ้นชัน (2020)

ขมิ้นชัน ต้านมะเร็ง #ขมิ้นชัน (2020)

ขมิ้นชัน ต้านมะเร็ง #ขมิ้นชัน (2020)

View
ต้องรู้ !! กินขมิ้นชันอย่างไร ? ให้ได้ผลมากที่สุด | Turmeric | พี่ปลา Healthy Fish

ต้องรู้ !! กินขมิ้นชันอย่างไร ? ให้ได้ผลมากที่สุด | Turmeric | พี่ปลา Healthy Fish

ต้องรู้ !! กินขมิ้นชันอย่างไร ? ให้ได้ผลมากที่สุด | Turmeric | พี่ปลา Healthy Fish

View
ขมิ้นชัน เสริมสมรรถภาพปอด

ขมิ้นชัน เสริมสมรรถภาพปอด

ขมิ้นชัน เสริมสมรรถภาพปอด

View
ขมิ้นชัน สมุนไพรใกล้ตัว

ขมิ้นชัน สมุนไพรใกล้ตัว

ขมิ้นชัน สมุนไพรใกล้ตัว

View
โง่มานาน!! ป่วย 10 โรคนี้ "ขมิ้น" รักษาได้ สรรพคุณสุดเจ๋ง คนมัส่วนใหญ่ไม่รู้  | Nava DIY

โง่มานาน!! ป่วย 10 โรคนี้ "ขมิ้น" รักษาได้ สรรพคุณสุดเจ๋ง คนมัส่วนใหญ่ไม่รู้ | Nava DIY

โง่มานาน!! ป่วย 10 โรคนี้ "ขมิ้น" รักษาได้ สรรพคุณสุดเจ๋ง คนมัส่วนใหญ่ไม่รู้ | Nava DIY

View
สารสกัดขมิ้นชัน [Vs] ขมิ้นชันบดผง อะไรดีกว่า? โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

สารสกัดขมิ้นชัน [Vs] ขมิ้นชันบดผง อะไรดีกว่า? โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

สารสกัดขมิ้นชัน [Vs] ขมิ้นชันบดผง อะไรดีกว่า? โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

View
Update งานวิจัยขมิ้นชันใน 3 กลุ่มโรค

Update งานวิจัยขมิ้นชันใน 3 กลุ่มโรค

Update งานวิจัยขมิ้นชันใน 3 กลุ่มโรค

View
ขมิ้นชัน กินเวลาใด ดีที่สุด กินได้ผลดีสุดๆ ประโยชน์สูงสุด ขมิ้นชัน "กินถูกเวลา รักษาถูกโรค" Turmeric

ขมิ้นชัน กินเวลาใด ดีที่สุด กินได้ผลดีสุดๆ ประโยชน์สูงสุด ขมิ้นชัน "กินถูกเวลา รักษาถูกโรค" Turmeric

ขมิ้นชัน กินเวลาใด ดีที่สุด กินได้ผลดีสุดๆ ประโยชน์สูงสุด ขมิ้นชัน "กินถูกเวลา รักษาถูกโรค" Turmeric

View
ขมิ้นชัน สรรพคุณ ขมิ้นชันแก้อะไรได้บ้าง  ประโยชน์ขมิ้นชันสด |พี่ปลา healthy fish

ขมิ้นชัน สรรพคุณ ขมิ้นชันแก้อะไรได้บ้าง ประโยชน์ขมิ้นชันสด |พี่ปลา healthy fish

ขมิ้นชัน สรรพคุณ ขมิ้นชันแก้อะไรได้บ้าง ประโยชน์ขมิ้นชันสด |พี่ปลา healthy fish

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับขมิ้นชัน
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่