Menu

โกฐสอ

ชื่อเครื่องยา

โกฐสอ

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

รากแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

โกฐสอ

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

แป๊ะลี้ (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Angelica dahurica (Hoffm.) Benth. & Hook.f. ex Franch. & Sav.

ชื่อพ้อง

Angelica macrocarpa H.Wolff, Angelica porphyrocaulis Nakai & Kitag., Angelica tschiliensis H.Wolff, Callisace dahurica Hoffm., Thysselinum davuricum (Hoffm.) Spreng.

ชื่อวงศ์

Apiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เครื่องยาชนิดนี้มีลักษณะกลมยาวคล้ายหัวผักกาด แต่มีขนาดเล็กกว่า และแข็งกว่ามาก  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2 เซนติเมตร  ยาวราว 10-25 เซนติเมตร  มีขนาดต่าง ๆ  ผิวสีน้ำตาล  มีรอยย่น ๆ และมีสัน  ที่เปลือกมีประที่มีชันอยู่  เนื้อในมีสีขาวนวล  มีจุดเล็ก ๆ ซึ่งเป็นชันหรือน้ำมันระเหยง่ายทำให้มีกลิ่นหอม  มีรสเผ็ดร้อนและขมมัน

 

เครื่องยา โกฐสอ

 

เครื่องยา โกฐสอ

 

เครื่องยา โกฐสอ

 

เครื่องยา โกฐสอ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณน้ำไม่เกิน 14%v/w, ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 5% w/w, ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2% w/w,  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 4% w/w, ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 15% w/w (ข้อกำหนดเภสัชตำรับไทย)

           ปริมาณน้ำไม่เกิน 14%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6%, ปริมาณสารสกัดเอทานอลไม่น้อยกว่า 15%,  ปริมาณสาร imperatorin ไม่น้อยกว่า 0.08% w/w  (ข้อกำหนดเภสัชตำรับจีน)

           ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 3%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 7%, ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 2%, ปริมาณสารสกัดด้วย 50% เอทานอลไม่น้อยกว่า 25%,  ปริมาณรวมของสาร 3 ชนิดได้แก่  oxypeucedanin, imperatorin, isoimperatorin ไม่น้อยกว่า 0.7%  (ข้อกำหนดเภสัชตำรับเกาหลี)


สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้แก้ไข้  แก้หืด  แก้ไอ  ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น  จีนนิยมใช้ยานี้มานานแล้ว  โดยมักใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด  แก้ปวดหัว  โพรงจมูกอักเสบ แก้ปวดฟัน  แก้ริดสีดวงทวารหนัก  แก้อาการทางผิวหนังต่างๆ  เช่น  แผลไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  บวม  แก้ริดสีดวงจมูกโดยเตรียมเป็นยานัตถุ์  จีนถือว่ายานี้เป็นยาเฉพาะสตรี  จึงใช้ยานี้เป็นยาเกี่ยวกับระดู  เช่น  ใช้แก้ตกขาว  อาการปวด บวมแดง นอกจากนั้นยังใช้ผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าหลายชนิด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้โกฐสอในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐสออยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของโกฐสอร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ ตำรับ“ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของโกฐสอร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา”  มีส่วนประกอบของโกฐสอร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
           ตำรับยาสมุนไพรล้านนา: ปรากฏตำรับ “ยาเม็ดขี้กระต่าย” มีรสขม ใช้รักษาโรคเลือดเป็นพิษ หัด สุกใส และร้อนใน ประกอบด้วยสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ได้แก่ โกฐสอ บอระเพ็ด บัวบก เกสรบัว เทียนดำ เทียนแดง อย่างละเท่ากัน
           ตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์: ปรากฎตำรับ “ยาจิตรการิยพิจรูญ” ระบุว่าใช้แก้ริดสีดวงผอมเหลือง ท้องรุ้งพุงมาน จุกกระผามม้ามเรื้อย (อาการม้ามโต) มองคร่อ หืด ไอ ลมอัมพาต และลมอื่นๆ ทั้งหลาย มีองค์ประกอบของสมุนไพรรวม 25 อย่าง รวมทั้งโกฐสอด้วย
           โกฐสอเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ”     โกฐสอจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวมของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
           เครื่องยา“พิกัดโกฐ” ประกอบด้วย “พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต “พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก “พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ยาผง  ขนาดยาวันละ  3-9 กรัม (น้ำหนักยาผง)

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารกลุ่มคูมาริน เช่น  byakangelicin, byakangelicol, imperatorin, oxypeucedanin, phellopterin

           สารกลุ่ม furanocoumarins  ได้แก่ dahuribiethrins A–G
           สารกลุ่ม polyacetylenic, ferulic  acid

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
      ฤทธิ์ต้านการอักเสบ         

      การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของโกฐสอ โดยทำการแยกสารสกัดจากรากของโกฐสอด้วยเทคนิค  HPLC–MS ได้สารบริสุทธิ์กลุ่ม furanocoumarins รวมเจ็ดชนิด ได้แก่ dahuribiethrins A–G แล้วนำมาทดสอบผลต่อการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) (ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นในขบวนการอักเสบ)โดยใช้เซลล์ของแมคโครฟาจ RAW264.7 ของหนู ที่ถูกกระตุ้นการอักเสบด้วยไลโปโพลีแซคค์คาไรด์ (LPS) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Indomethacin ผลการทดลองพบว่าสารสกัด dahuribiethrins B, C, D และ E แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ที่แรงกว่า Indomethacin โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 8.8±0.4, 9.2±0.2, 9.6±0.3 และ 9.8±0.2 μM ตามลำดับ ส่วน Indomethacinมีค่า IC50 เท่ากับ 23.6±0.4 μM นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัด dahuribiethrins D และ E ที่มีโครงสร้างแบบแบนราบ (planar structure) เป็นคู่ไอโซเมอร์กัน มีฤทธิ์เด่นในการยั้บยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ จากการศึกษานี้แสดงว่า stereochemical configurations มีผลต่อฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย (Yang, et al., 2015) 

 

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง:

Yang W-Q, Song Y-L, Zhu Z-X, Su C, Zhang X, Wang J, et al. Anti-inflammatory dimeric furanocoumarins from the roots of Angelica dahurica. Fitoterapia. 2015;105:187-193.

 

ข้อมูลตำรับยาธาตุบรรจบ : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ โกฐสอ

...

Other Related โกฐสอ

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ โกฐสอ

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1251

ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬ
ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬยาริดสีดวงมหากาฬ เป็นตำรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้ในการบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก ประกอบด้วยสมุนไพรต่างๆ รวม 22 ชนิด ได้แก่ มดยอบ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว โกฐกักกรา โกฐสอ โกฐจุฬาลำพา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สนเทศ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สะค้าน สมุลแว้ง ดีปลี พริกไทย ขิง และอบเชยเทศ ในการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัด 80% เอทานอลของยาริดสีดวงมหากาฬในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิ...

1018

ฤทธิ์ต้านภาวะ
ฤทธิ์ต้านภาวะ oxidative stress ของพิกัดนวโกฐพิกัดนวโกฐ เป็นเครื่องยาไทยซึ่งอยู่ในตำรับยาหอม ประกอบด้วยสมุนไพร 9 ชนิด ได้แก่ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา และโกฐชฎามังสี การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด 80% เอทานอลจากพิกัดนวโกฐ ความเข้มข้น 5 - 1,000 มคก./มล. ในการต้านภาวะ oxidative stress ในยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae ) ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 30 มคก./มล. มีผลเพิ่มเปอร์เซนต์การอยู่รอดของเซลล์ได้ 63% ส่วนสารสกัดคว...

1189

ฤทธิ์ต้านการดื้อยาของเซลล์มะเร็งเต้านมจากน้ำมันหอมระเหยของรากโกฐสอและดอกของพืชสกุลอินูล่า
ฤทธิ์ต้านการดื้อยาของเซลล์มะเร็งเต้านมจากน้ำมันหอมระเหยของรากโกฐสอและดอกของพืชสกุลอินูล่าการทดสอบฤทธิ์ต้านการดื้อยารักษามะเร็ง doxorubicin (DOX) ในเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7/ADR และ MCF-7 ของน้ำมันหอมระเหยที่แยกได้จากรากโกฐสอ (Angelicae dahurica Benth; ADO), ดอกของพืชสกุลอินูล่า (Inula japonica Thunb; IJO) และสาร isoalantolactone (ISO) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม sesquiterpene ที่แยกได้จาก IJO โดยเซลล์มะเร็งจะได้รับสารทดสอบในขนาดที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติ นั้นคือ ADO 12.5 μg/ml, IJO 2...

1280

ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของโกฐสอ
ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของโกฐสอศึกษาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) ของโกฐสอ (Angelica dahurica) ในหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยการเลี้ยงเซลล์ HT-29 บนจานเพาะเลี้ยงที่มีส่วนสกัดเอทนอลเอทธิลอะซีเตต (ethanol-ethyl acetate fraction) จากรากโกฐสอผสมอยู่ในอาหารเลี้ยงเซลล์ จากการศึกษาพบว่า โกฐสอมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง HT-29 โดยมีค่าความเข้มข้นของส่วนสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ในชั่วโมงที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมงเท่ากับ 345, 157 และ 73 มคก./มล. ตามลำดับ และพบว่า...

สมุนไพรอื่นๆ

173

ข่า
ข่า ชื่อเครื่องยาข่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กฎุกโรหินี ข่าตาแดง (กลาง); ข่าหยวก ข่าใหญ่ ข่าหลวง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Alpinia galanga (L.) Willd. ชื่อพ้องAlpinia alba (Retz.) Roscoe, Alpinia bifida Warb., Alpinia carnea Griff., Alpinia pyramidata Blume, Alpinia rheedei Wight, Alpinia viridiflora Griff., Amomum galanga (L.) Lour. , Amomum medium Lour., Galanga officinalis Salisb., Hellenia alba (Ret...

192

ย่านาง
ย่านาง ชื่อเครื่องยาย่านาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี ชื่อวิทยาศาสตร์Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ชื่อพ้องCocculus triandrus Colebr., Limacia triandra ชื่อวงศ์Menispermaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

32

โกฐสอ
โกฐสอ ชื่อเครื่องยาโกฐสอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากรากแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐสอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แป๊ะลี้ (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์Angelica dahurica (Hoffm.) Benth. & Hook.f. ex Franch. & Sav. ชื่อพ้องAngelica macrocarpa H.Wolff, Angelica porphyrocaulis Nakai & Kitag., Angelica tschiliensis H.Wolff, Callisace dahurica Hoffm., Thysselinum davuricum (Hoffm.) Spreng. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:    &nbs...

110

เมื่อยแดง
เมื่อยแดง ชื่อเครื่องยาเมื่อยแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเมื่อยดูก ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเมื่อยแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เมื่อย ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่) ชื่อวิทยาศาสตร์Gnetum macrostachym Hook.f. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Gnetaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้พุ่มรอเลื้อย เถาเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกเถาส...

74

น้อยหน่า
น้อยหน่า ชื่อเครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ดจากผลสุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ มะออจ้า มะโอจ่า ลาหนัง หมักเขียบ ลาหนัง ชื่อวิทยาศาสตร์Annona squamosa L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แข็ง สีดำ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน ขนาดกว้าง 3-6 มม. ยาว 1 ซม. ในผลหนึ่งมีประมาณ ...

58

ดีปลี
ดีปลี ชื่อเครื่องยาดีปลี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาดีปลี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ ชื่อวิทยาศาสตร์Piper retrofractum Vahl ชื่อพ้องPiper chaba Hunter., P. officinarum ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลแห้งสีน้ำตาลแดง  ผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก  โคนโต  ปลายเล...

17

กระทือ
กระทือ ชื่อเครื่องยากระทือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่สด หรือแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระทือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระทือ (ภาคกลาง) กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน) เฮียวดำ เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ชื่อพ้องAmomum silvestre Poir., A. spurium (J.Koenig) J.F.Gmel., A. zerumbet L., Cardamomum spurium (J.Koenig) Kuntze, Diete...

10

กระวานเทศ
กระวานเทศ ชื่อเครื่องยากระวานเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่, เมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระวานเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระวานแท้ ลูกเอล (Ela) ลูกเอน ลูกเอ็น กระวานขาว กะวาน ชื่อวิทยาศาสตร์Elettaria cardamomum (L.) Maton ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           ผลมีลักษณะยาวรี รูปไข่ หัวท้ายแหลม ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลแก...

8

กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...

การรม "โกฐจุฬาลัมพา" สมุนไพรบำบัด (8 ส.ค 60)

การรม "โกฐจุฬาลัมพา" สมุนไพรบำบัด (8 ส.ค 60)

การรม "โกฐจุฬาลัมพา" สมุนไพรบำบัด (8 ส.ค 60)

View
โกฐสอ

โกฐสอ

โกฐสอ

View
โกฐทั้ง 9

โกฐทั้ง 9

โกฐทั้ง 9

View
โกฐสอ

โกฐสอ

โกฐสอ

View
ชิงเฮา .สมุนไพรชนิดนี้ ช่วยชีวิตคนมานับล้านๆคน(อ่านด้าล่าง)

ชิงเฮา .สมุนไพรชนิดนี้ ช่วยชีวิตคนมานับล้านๆคน(อ่านด้าล่าง)

ชิงเฮา .สมุนไพรชนิดนี้ ช่วยชีวิตคนมานับล้านๆคน(อ่านด้าล่าง)

View
ดอกต้นโกฐจุฬา หอมฟุ้งทั่วบ้าน ประโยชน์มากกว่ายาสมุนไพร

ดอกต้นโกฐจุฬา หอมฟุ้งทั่วบ้าน ประโยชน์มากกว่ายาสมุนไพร

ดอกต้นโกฐจุฬา หอมฟุ้งทั่วบ้าน ประโยชน์มากกว่ายาสมุนไพร

View
สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน ขมิ้นชันไทย สุดยอดสมุนไพร Champion Products

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน ขมิ้นชันไทย สุดยอดสมุนไพร Champion Products

สุขภาพดีกับสมุนไพรไทย ตอน ขมิ้นชันไทย สุดยอดสมุนไพร Champion Products

View
ต่อยอดสมุนไพรพื้นบ้านสู่ยาแพทย์แผนไทย

ต่อยอดสมุนไพรพื้นบ้านสู่ยาแพทย์แผนไทย

ต่อยอดสมุนไพรพื้นบ้านสู่ยาแพทย์แผนไทย

View
วิธีทำยา EP.1:ตำรับจันทลีลา แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ใช้ได้ดีมาก ไม่ต้องกินพาราเซตามอล

วิธีทำยา EP.1:ตำรับจันทลีลา แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ใช้ได้ดีมาก ไม่ต้องกินพาราเซตามอล

วิธีทำยา EP.1:ตำรับจันทลีลา แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ใช้ได้ดีมาก ไม่ต้องกินพาราเซตามอล

View
เล็ก ๆ เปลี่ยนโลก [by Mahidol] ยาสมุนไพรที่ควรมีไว้ในตู้ยา

เล็ก ๆ เปลี่ยนโลก [by Mahidol] ยาสมุนไพรที่ควรมีไว้ในตู้ยา

เล็ก ๆ เปลี่ยนโลก [by Mahidol] ยาสมุนไพรที่ควรมีไว้ในตู้ยา

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับโกฐสอ
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่