Menu

กระชาย

ชื่อเครื่องยา

กระชาย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้า และราก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กระชาย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีพู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงกระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่อพ้อง

Boesenbergia cochinchinensis ( Gagnep.) Loes., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L., Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl., Gastrochilus rotundus (L.) Alston, Kaempferia cochinchinensis Gagnep., Kaempferia ovata Roscoe, Kaempferia pandurata Roxb.

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เหง้าสั้น (เรียก “กระโปกกระชาย”) มีรากสด แตกออกจากเหง้าเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว่าส่วนหัวและท้าย รูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม (เรียก “นมกระชาย”) กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีรสเผ็ดร้อน ขม กลิ่นหอมฉุน

 

เหง้ากระชาย

 

เหง้ากระชาย

 

เหง้ากระชาย

 

 

ต้น และดอก กระชาย  

 

                                                                                                                       ดอก กระชาย  

 

                                                        

                                                                                                                    ดอก กระชาย  

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าและราก เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะตัว


สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เหง้า  ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง ขับลม ช่วยให้กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมอันบังเกิดแต่กองหทัยวาต แก้ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากแตกเป็นแผล แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ขับระดูขาว แก้ใจสั่น ราก(นมกระชาย) แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงความกำหนัด มีสรรพคุณคล้ายโสม หมอโบราณเรียกว่า “โสมไทย” หัวและราก ขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง แดง เจ็บปวดบั้นเอว บำรุงกำหนัด บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะ หัวใช้เผาไฟฝนรับประทานกับน้ำปูนใส เป็นยาแก้บิด แก้โรคบังเกิดในปาก แก้มุตะกิต

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของเหง้ากระชายร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด
           ตำรายาแผนโบราณของไทย: มีการใช้กระชายใน “พิกัดตรีกาลพิษ” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้พิษตามกาลเวลา 3 อย่าง มีรากกะเพราแดง เหง้าข่า และหัวกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงความกำหนัด แก้ไข้สันนิบาต แก้เลือด เสมหะ แก้กามตายด้าน
           ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้เหง้า แก้โรคบิด โดยนำเหง้าย่างไฟให้สุกแล้วโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานทั้งน้ำและเนื้อ ครั้งละครึ่งแก้ว เช้า เย็น และใช้เหง้าแก้กลากเกลื้อน โดยนำเหง้ามาโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรงทาบริเวณที่เป็นแผล
           ตำรายาพื้นบ้านล้านนา: ใช้เหง้า รักษาโรคทางดินปัสสาวะอักเสบ กลากเกลื้อน ท้องอืดเฟ้อ

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง

              ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ(น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 3-5 กรัม) ทุบพอแตกต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ หรือปรุงอาหารรับประทาน
           2. แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย)
              ใช้เหง้าหรือหัวสดครั้งละ 2 หัว (ประมาณ 15 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม

 

องค์ประกอบทางเคมี:
            น้ำมันระเหยง่าย 0.08% ประกอบด้วย 1,8 cineol, boesenbergin A, dl-pinostrobin, camphor, cardamonin, panduratin

            สารกลุ่ม flavonoid และ chromene ได้แก่ panduratin A (prenylated cyclohexenylchalcone), 6- dihydroxy -4 - methoxychalcone, pinostrobin, pinocembin (flavanone)  
 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส covid 19  (Corona virus disease 2019) 

           โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า severe acute respiratory syndrome corona virus-2 (SARS-CoV-2) เชื้อไวรัสนี้ติดต่อโดยผ่านการได้รับละอองฝอยจากการไอจามของผู้ที่มีเชื้อ หรือเอามือไปสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านการขยี้ตา แคะจมูก หรือจับปาก หรือมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย  มีระยะฟักตัว 2-14 วัน ไวรัส SARS CoV-2 มีโปรตีนสไปค์ (spike) จับได้ดีกับโปรตีนตัวรับของ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE-2 ) ของเซลล์โฮสต์ที่เยื่อบุทางเดินหายใจ เมื่อมีการติดเชื้อที่ปอดจะทำให้เกิดการหลั่งไซโตไคน์กระตุ้นการอักเสบของปอด ทำให้เกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อในวงกว้าง (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2564)

          ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ในหลอดทดลอง ของสารสกัดเอทานอล และสารบริสุทธิ์ panduratin A ที่แยกได้จากเหง้ากระชาย ทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเขื้อไวรัสก่อนเข้าสู่เซลล์ (Pre-entry) หรือการป้องกันการติดเชื้อ และการยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว (Post-entry) โดยการทดสอบแบบ Pre-entry จะทำการบ่มเพาะสารสกัดกับเชื้อไวรัสก่อนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปเติมลงในเซลล์ปกติ หลังจากนั้นอีก 48 ชั่วโมง จึงนำมาวิเคราะห์ผล สำหรับ post-entry จะทำให้เซลล์ปกติติดเชื้อไวรัสก่อนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วจึงเติมสารสกัดหรือสารบริสุทธิ์ที่จะใช้ทดสอบ หลังจากนั้นอีก 48 ชั่วโมง จึงนำมาวิเคราะห์ผล (cell เพาะเลี้ยงที่ใช้ทดสอบมี 2 ชนิด คือ Vero E6 ได้จากเนื้อเยื่อไตของลิง และ Calu-3 เป็นเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจมนุษย์, เชื้อ SARS-CoV-2 ได้จากการ swab บริเวณเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก  ของผู้ป่วย COVID 19 ในประเทศไทย) ใช้วิธีการทดสอบ 2 วิธีคือ High content imaging system หลักการคือใช้แอนติบอดีที่มีความจำเพาะกับ nucleoprotein ของเชื้อ SARS-CoV-2 เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาแล้วจะนำเซลล์ที่ติดเชื้อมาวิเคราะห์ด้วย fluorescence และแสดงผลเป็นภาพเซลล์ และคำนวณร้อยละของเซลล์ที่ติดเชื้อ วิธีที่สองคือ  Plaque inhibition assay โดยการย้อมสีเซลล์ ตรวจดูการติดสีย้อมของเซลล์ติดเชื้อ และนับปริมาณ  plaque  ซึ่งเป็นบริเวณของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส และไม่ติดสีย้อม แล้วคํานวณหาปริมาณไวรัสโดยมีหน่วยเป็น  Plaque Forming Unit /ml  (PFU/ml) และหาขนาดความเข้มข้นที่ยับยั้งการสร้าง plaque ได้ร้อยละ 50 (IC50) ตรวจสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติด้วยวิธี 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyl tetrazolium bromide หรือ MTT assay และหาขนาดความเข้มข้นที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ ร้อยละ 50 (CC50)

          ผลการวิจัยสมุนไพรไทยจำนวน 122 ชนิด ทดสอบแบบ Post-entry ด้วยวิธี High content imaging system โดยใช้ Vero E6 cell พบว่ากระชายออกฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อ โดยสารสกัดเหง้ากระชาย และ panduratin A (สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเหง้ากระชาย) มีค่าการยับยั้งเชื้อได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 3.62 μg/ml และ 0.81 μM ตามลำดับ  (CC50 เท่ากับ 28.06 μg/ml และ 14.71 μM ตามลำดับ) ยามาตรฐาน hydroxychloroquine ค่า IC50 เท่ากับ 5.08 μM การทดสอบด้วยวิธี Plaque inhibition assay พบว่าค่าความเข้มข้นของสารสกัดกระชาย และ panduratin A ในการยับยั้งเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ เท่ากับ 12.5 μg/ml และ 5 μM ตามลำดับ  การทดสอบแบบ Pre-entry พบว่าสารสกัดกระชาย และ panduratin A  มีค่า IC50 เท่ากับ 20.42 μg/ml และ 5.30 μM ตามลำดับ (CC50 เท่ากับ>100 μg/ml และ 43.47 μM ตามลำดับ)โดยขนาดความเข้มข้นสำหรับ Pre-entry สูงกว่า Post-entry ประมาณ 5 และ 6 เท่า ตามลำดับ ยามาตรฐาน hydroxychloroquine ค่า IC50 เท่ากับ 8.07 μM สำหรับสมุนไพรอีก 2 ชนิด ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ดี รองจากกระชายคือ ฟ้าทะลายโจร และขิง โดยเมื่อทดสอบแบบ Post-entry ด้วยวิธี High content imaging system โดยใช้ Vero E6cell พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจร และ andrographolide (สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากฟ้าทะลายโจร) มีค่า IC50 เท่ากับ 68.06 μg/ml และ 6.58 μM ตามลำดับ  (CC50 เท่ากับ >100 μg/ml และ 27.77 μM ตามลำดับ) สารสกัดเหง้าขิง และ gingerol (สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเหง้าขิง) พบว่าค่า IC50 เท่ากับ 29.19 μg/ml และ >100 μM ตามลำดับ  (CC50 เท่ากับ 52.75 μg/ml และ >100 μM ตามลำดับ)

          ผลการทดสอบสาร panduratin A จากกระชาย เปรียบเทียบผลกับยามาตรฐาน remdesivir ทดสอบแบบ Post-entry โดยใช้ Vero E6 cell พบว่า panduratin A เมื่อทดสอบด้วยวิธี High content imaging system และ Plaque inhibition assay ตามลำดับ สามารถยับยั้งเชื้อได้โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.81 และ 0.078 μM ตามลำดับ ยา remdesivir มีค่า IC50 เท่ากับ 2.71 และ 2.65 μM ตามลำดับ ผลการทดสอบเมื่อใช้ Calu-3 ซึ่งเป็นเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจมนุษย์ พบว่า panduratin A สามารถยับยั้งเชื้อได้โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.04 และ 0.53 μM ตามลำดับ ยา remdesivir เท่ากับ 0.043 และ 0.086 μM ตามลำดับ 

         โดยสรุปสาร panduratin A จากเหง้ากระชาย ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม prenylated cyclohexenyl chalcone ออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2(COVID 19) ในหลอดทดลอง ทั้งการยับยั้งเขื้อไวรัสก่อนเข้าสู่เซลล์ (Pre-entry) หรือการป้องกันการติดเชื้อ และการยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว (Post-entry) หรือการรักษาภายหลังการติดเชื้อแล้ว ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบได้ดี ที่มีรายงานในงานวิจัยหลายฉบับ ดังนั้นสาร panduratin A จากกระชาย จึงมีศักยภาพในการนำไปวิจัยต่อในสัตว์ทดลอง และมนุษย์ เพื่อนำมาใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้รักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ในการต้านไวรัส SARS-CoV-2 เนื่องจากป็นพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหาได้ง่าย ราคาไม่แพง (Kanjanasirirat, et al., 2020)
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดทดลอง ของ Boesenbergin A ซึ่งเป็นสารกลุ่มชาลโคนที่แยกได้จากรากกระชาย โดยดูผลการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหลั่งจาก macrophage ของหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย IFN-γ และ LPS (lipopolysaccharide) พบว่า Boesenbergin A สามารถต้านการอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ความเข้มข้น 12.5 ถึง 50 μg/mL และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ monocytic macrophage RAW 264.7 ของหนู ที่ความเข้มข้น 50 μg/mL เมื่อทดสอบด้วยวิธี วิธี 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide MTT assay (Isa, et al., 2012)

ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

      การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ของ Boesenbergin A ซึ่งเป็นสารกลุ่มชาลโคนที่แยกได้จากรากกระชาย ทดสอบในเซลล์มะเร็ง 4 ชนิด ที่แยกได้จากคน ได้แก่ เซลล์มะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (A549), เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3), เซลล์มะเร็งตับ (HepG2), เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) และเซลล์ตับปกติ (WRL-68) โดยใช้การตรวจสอบด้วยวิธี 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide MTT assay พบว่ามีค่าการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 20.22±3.15, 10.69±2.64, 20.31±1.34, 94.10±1.19 และ 9.324±0.24 μg/mL ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน Paclitaxel มีค่า IC50 เท่ากับ 5.81±1.03, 0.08±0.03, 1.18±0.24, 0.06±0.02 และ 0.10±0.05 μg/mL ตามลำดับ แสดงว่าสาร Boesenbergin A จากรากกระชาย เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด แต่ก็มีพิษต่อเซลล์ตับปกติสูงด้วย (Isa, et al., 2012)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ของ Boesenbergin A ซึ่งเป็นสารกลุ่มชาลโคน ที่แยกได้จากรากกระชาย โดยใช้การตรวจสอบด้วยวิธี ORAC assay (The oxygen radical absorbance capacity  assay) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถของสารทดสอบในการยับยั้งอนุมูลเปอร์ออกซี (peroxy radicals) โดยใช้ quercetin เป็นสารมาตรฐาน การรายงานผลเป็นความเข้มข้นเทียบเท่ากับ Trolox (สารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นอนุพันธุ์ของวิตามินอี) หรือ Trolox equivalents ผลการทดสอบพบว่า Boesenbergin A ขนาด 20 μg/mL และ quercetin ขนาด 5μg/mL ออกฤทธิ์ได้เทียบเท่ากับ  Trolox 11.91±0.23 และ 160.32±2.75 μM ตามลำดับ  (Isa, et al., 2012)

 

การศึกษาทางคลินิก:

           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางพิษวิทยา:
 

ทดสอบความเป็นพิษต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

       ทดสอบความเป็นพิษต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยใช้น้ำคั้นจากเหง้ากระชายสด นำมาทดสอบด้วยวิธีไมโครนิวเคลียส (ไมโครนิวเคลียส (MN) มีลักษณะเป็นก้อนกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 μm มีขอบเขตชัดเจน และเรียบ เป็นตัวบ่งชี้การเกิดความเสียหายต่อโครโมโซม) การทดสอบไมโครนิวเคลียสเป็นการศึกษาในเซลล์ polychromatic erythrocytes (PCE) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังไม่เจริญเต็มที่ และ normochromatic erythrocytes (NCE) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์กว่า ทดสอบในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยที่กลุ่มควบคุมจะได้รับน้ำกลั่น 1 ml ต่อวัน และกลุ่มทดลองได้รับน้ำกระชายคั้นขนาด 60, 120 หรือ 600 mg/kg ต่อวัน เป็นระยะเวลา 30 วัน แล้วเก็บตัวอย่างเลือด และเซลล์ไขกระดูกไปทดสอบ ประเมินความเป็นพิษจากค่าอัตราส่วน PCE ต่อจำนวนเม็ดเลือดแดงทั้งหมด (total erythrocytes) ผลการทดสอบความเป็นพิษของน้ำกระชายคั้นต่อเซลล์ PCE และ NCE ในไขกระดูก พบว่าหนูขาวที่ได้รับน้ำกระชายคั้นทุกกลุ่มมีจำนวน PCE MNPCE และ NCE ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุม แต่มีจำนวน MNNCE และ MNNCE/NCEมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) อย่างไรก็ตามค่าอัตราส่วนของ PCE ต่อ total erythrocytes (PCE/ total erythrocytes ratio) ที่ใช้บ่งชี้ความเป็นพิษของสารต่อเซลล์กลับไม่พบความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อีกทั้งการทดสอบความเป็นพิษของน้ำกระชายคั้นในเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือด พบว่า PCE, MNPCE, reticulocyte และ MN-reticulocyte ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่ามีจานวนไมโครนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง เมื่อเทียบกับจำนวนไมโครนิวเคลียสในเซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีไมโครนิวเคลียสเหล่านี้ถูกกำจัดโดยการทำหน้าที่ของม้าม การศึกษานี้ยังพบว่ามีไมโครนิวเคลียสอยู่ใน reticulocyte ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไมโครนิวเคลียสที่รูปร่างกลม ที่มีขนาดใหญ่ หรือมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว อาจเนื่องมาจากม้ามไม่สามารถกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีไมโครนิวเคลียสขนาดใหญ่เหล่านี้ได้ และที่คงพบเซลล์ PCE ในเลือดก็ยังอยู่ในช่วงเกณฑ์ปกติที่สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 2 ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าน้ำกระชายคั้นไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูก และในเลือดของหนูขาวเมื่อทดสอบด้วยวิธีไมโครนิวเคลียส แม้จะให้หนูในขนาดความเข้มข้นสูงถึง 600 mg/kg ต่อเนื่องกัน 30 วัน จึงใช้เป็นพืชสมุนไพรที่รับประทานสดในสภาวะปกติได้อย่างปลอดภัย (U-pathi and Sudwan, 2013)

การศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง

      ศึกษาความเป็นพิษของสารบริสุทธิ์ 2 ชนิด ได้แก่ สารพิโนเซมบริน (5, 7-dihydroxyflavanone)  และสารพิโนสโตรบิน (5-hydroxy-7-methoxy flavanone) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาวาโนนที่ได้มาจากเหง้ากระชาย ทดสอบในหนูขาวโดยให้สารพิโนเซมบริน และสารพิโนสโตรบิน แก่หนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์วิสตาร์ ในขนาดความเข้มข้น 500 mg/kg ผลการศึกษาพบว่าสารทั้งสองชนิดไม่ก่อให้เกิดการตายในหนู และจากการวิเคราะห์ความเป็นพิษต่ออวัยวะสำคัญ ได้แก่ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ ไต อัณฑะ ต่อมไทมัส และค่าทางชีวเคมีของเลือด ได้แก่ aspartate aminotransferase (AST), alanine aminotransferase (ALT), alkaline phosphatase (ALP), ปริมาณโปรตีนรวม, อัตราส่วนของ albuminกับ globulin, ปริมาณยูเรีย ตลอดจนน้ำหนักตัวของหนู ไม่พบความผิดปกติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Charoensin, et al., 2010)

การทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

      จากการทดสอบฤทธิ์ทำลายสารพันธุกรรม หรือการก่อกลายพันธุ์ ด้วยการให้สารพิโนเซมบริน และพิโนสโตรบินซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาวาโนนที่ได้มาจากเหง้ากระชาย ในขนาด 1, 10  หรือ 100 mg/kg แก่หนูขาวเป็นระยะเวลา 7 วัน พบว่าสารทั้งสองชนิดดังกล่าว ไม่เหนี่ยวนำให้เกิดการแตกหักของโครโมโซม  และไม่มีผลต่อดัชนีการแบ่งตัวของเซลล์ตับ (mitotic index) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสารพิโนเซมบริน และพิโนสโตรบินไม่มีความเป็นพิษในหนูขาว และไม่มีความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมในเซลล์ตับหนูขาวในช่วงความเข้มข้น 1-100 mg/kg (Charoensin, et al., 2010)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2564. คู่มือเภสัชกร:เพื่อให้คำแนะนำเรื่องวัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. (หนังสือ e-book)

2. Charoensin S, Punvittayagul C, Pompimon W, Mevatee U, Wongpoomchai R. Toxicological and clastogenic evaluation of pinocembrin and pinostrobin isolated from Boesenbergia pandurata in wistar rats. Thai J Toxicology. 2010;25(1):29-40.

3. Isa NM, Abdelwahab SI, Mohan S, Abdul AB, Sukari MA, Taha MME, et al. In vitro anti-inflammatory, cytotoxic and antioxidant activities of boesenbergin A, a chalcone isolated from Boesenbergia rotunda (L.) (fingerroot). Braz J Med Biol Res. 2012;45(6):524-530.

4. Kanjanasirirat P, Suksatu A, Manopwisedjaroen S, Munyoo B, Tuchinda P, Jearawuttanakul K, Seemakhan S, Charoensutthivarakul S, Wongtrakoongate P, Rangkasenee N, Pitiporn S, Waranuch N, Chabang N, Khemawoot P, Sa-Ngiamsuntorn K, Pewkliang Y, Thongsri P, Chutipongtanate S, Hongeng S, Borwornpinyo S, Thitithanyanont A. High-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract and its component panduratin A as anti-SARS-CoV-2 agents. Scientific reports. 2020;10(1):19963.

5. U-pathi J, Sudwan P. Toxicity study of Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. juice by using micronucleus test in male wistar rat. Thai J Genet. 2013;S(1):187-191.

 

 

ข้อมูลตำรับยาเลือดงาม  : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ กระชาย

...

Other Related กระชาย

ข้อมูล กระชาย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


กระชาย การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เคลด: Commelinids อันดับ: ขิง วงศ์: วงศ์ขิง สกุล: สกุลกระชาย (L.) Mansf. สปีชีส์: Boesenbergia rotunda ชื่อทวินาม Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อพ้อง[1] Boesenbergia cochinchinensis (Gagnep.) Loes. Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr. Curcuma rotunda L. Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl. Gastrochilus rotundus (L.) Alston Kaempferia cochinchinensis Gagnep. Kaempferia ovata Roscoe Kaempferia pandurata Roxb. กระชาย หรือ ขิงจีน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชายมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กะแอน (อีสาน, เหนือ) กะซาย, ขิงซาย (อีสาน) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) ชื่อสามัญ[2] กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง [3] ลักษณะ

เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก[4] กระชาย ถือว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย กันมานานแล้ว จะมีถิ่นกำเนิด ในแถบร้อนอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบขึ้นอยู่บริเวณในป่าดิบร้อนชื้น เป็นไม้ลมลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งจะเรียกว่า เหง้า และเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมากจะเป็นที่สะสมอาหารอวบนำส่วนตรงกลางจะพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ส่วนเนื้อด้านในจะมีสีแตกต่างไปตามชนิดของกระชาย และจะมีกลิ่นหอม ส่วนที่อยู่เหนือดินจะประกอบด้วยโคนก้านใบที่เป็นกาบหุ้มซ้อนกัน กาบใบจะมีสีแดงเรื่อ ๆ ตรงแผ่นใบจะเป็นรูปรีส่วนปลายจะแหลม กว้างประมาณ 4.5-10 ซม. ยาวประมาณ 15-30 ซม. ส่วนตรงกลางด้านในของก้านใบจะมีช่องลึก ดอกช่อออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก[5] ส่วนในเหง้ากระชายนี้จะมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งจะมีสรรพคุณในการดับกลิ่นคาวและเป็นสารที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรหลายชนิดสารทีว่านี้คือ สารแคมฟีน (Camphene) ทูจีน (Thujene) และการบูร เมื่อรับประทานเป็นอาหารจะพบได้ในน้ำยาขนมจีน และเครื่องผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ เนื่องจากว่ากระชายมีสารต่างๆจึงมีสรรพคุณทางที่ช่วยในการแก้โรคต่าง ๆ ดังนี้ จะมีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง สรรพคุณในการแก้องคชาตตาย, สรรพคุณแก้ปวดข้อ, สรรพคุณแก้วิงเวียน แน่นหน้าอกมสรรพคุณแก้ท้องเดิน, สรรพคุณแก้แผลในปาก, สรรพคุณแก้ฝี, สรรพคุณแก้กลาก, สรรพคุณแก้บิด, สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ และในกระชายยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งจะพบตรงเหง้าของกระชาย คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย [6] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นกระชายนับว่าเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีความสูงประมาณ 2-3ฟุต มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" เป็นเหง้าสั้นแตกหน่อได้ เช่นเดียวกับขิง ข่า และขมิ้น รากอวบรูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาวปลายเรียวแหลมออกเป็นกระจุก มีผิวสีน้ำตาลอ่อนเนื้อใบสีเหลืองมีกลิ่นหอมเฉาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นกาบใบที่หุ้มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สีแดงเรื่อ ๆ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตัวใบรูปรีปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบและกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ออกดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวอมชมพูที่ยอด (แทรกอยู่ระหว่างกาบใบ) ดอกบานทีละดอก มีลักษณะเป็นถุง ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่แล้ว[7] ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดจากส่วนต่าง ๆ

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 9 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30-35 ซม. ดอก มีสีม่วงดอกออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมต่อกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลาย ท่อเกสรตัวเมียมีขนาดยาว เล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน[8] ผล ผลแก่มี 3 พู มีเมล็ดอยู่ด้านในเมื่อผลแก่เต็มที่จะไม่แตก[9]ส่วนที่นำมาใช้จะเป็นส่วนของรากและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย[10] และในส่วนของลำต้น ใบ จะนำมาทำผักจิ้มได้[11] ประโยชน์ทางสมุนไพร

เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยเฉพาะรากกระชาย ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกงโดยเฉพาะแกงที่ใส่ปลา เช่น แกงป่า ต้มโฮกอือ กระชายดับกลิ่นคาวของปลาได้ดี[12] ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร[ต้องการอ้างอิง ] อ้างอิง

↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 25 January 2014 . ↑ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549 ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08 . ↑ กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ↑ ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530 ↑ คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว ↑ ภานุทรรศน์,2543 ↑ กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542 ↑ แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541 ↑ พรพรรณ ,2543 ↑ อบเชย วงศ์ทอง ,2544 ↑ อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94 กระชาย ชะลอความแก่ จากห้องสมุด E-Lib] ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธานBoesenbergia rotunda Wikidata: Q1074199 Wikispecies: Boesenbergia rotunda BOLD: 439739 EoL: 1125981 FoC: 200028353 GBIF: 2758480 GRIN: 100983 iNaturalist: 139956 IPNI: 872224-1 IRMNG: 10212434 ITIS: 506504 IUCN: 44392164 NCBI: 97729 Plant List: kew-221874 PLANTS: BORO4 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:872224-1 Tropicos: 34500543 WCSP: 221874 Curcuma rotunda Wikidata: Q21872975 Wikispecies: Curcuma rotunda GBIF: 2758485 GRIN: 418893 IPNI: 796471-1 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:796471-1 Tropicos: 34500777 WCSP: 235284 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กระชาย&oldid=10717687"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ กระชาย

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

738

ผลป้องกันเซลล์ประสาทของกระชายดำ
ผลป้องกันเซลล์ประสาทของกระชายดำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเฮกเซนจากเหง้ากระชายดำ พบว่าประกอบด้วยอนุพันธุ์ของ methoxyflavone ได้แก่ 5-hydroxy-3,7-dimethoxyflavone, 5-hydroxy-7-methoxyflavone, 5-hydroxy-3,7,4'-trimethoxyflavone, 5-hydroxy-3,7,3',4-tetramethoxyflavone และ3,5,7-trimethoxyflavone เมื่อนำสารเหล่านี้ ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมล มาทดสอบฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ประสาท โดยทดลองในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง (cortical cells) ของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วยกลูตาเมท พบว่าสาร 5-Hy...

759

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของกระชาย
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของกระชายการศึกษาฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเมทานอลจากเหง้ากระชายและสาร pinostrobin ที่แยกได้จากสารสกัดเมทานอลในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดเมทานอลจากกระชาย ขนาด 50, 100, 200, 400 มก./กก. และสาร pinostrobin ขนาด 20 และ 40 มก./กก. ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วยเอทานอล 1 ชม. เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ป้อนยา omeprazole ขนาด 20 มก./กก. พบว่าสารสกัดเมทานอล สาร pinostrobin และยา omeprazole มีผลเพิ่มปริมาณของสารเมือก (gastric mucus) และค่า pH ในกระเพาะอาหาร และ...

785

สารสกัดจากกระชายดำปกป้องหัวใจ
สารสกัดจากกระชายดำปกป้องหัวใจการศึกษาผลของสารสกัดจากกระชายดำที่สกัดด้วยเอทานอลต่อการทำงานของหลอดเลือดแดงใหญ่และหัวใจหนูแรทที่แยกจากตัวสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากกระชายดำ ขนาด 10-6-10-3 มคก./มล. ทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ขยายตัว โดยการคลายตัวของหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของสารสกัดที่เพิ่มขึ้น การศึกษากลไกของสารสกัดจากกระชายดำต่อการขยายตัวของหลอดเลือดแดง พบว่าสารสกัดจากกระชายดำออกฤทธิ์ต่อเซลล์เอนโดทีเลียม (endothelium) โดยกระตุ้นการทำงานของ guanylate cyclase และ nitric oxide syntase (NOS) แต่ไม่...

1398

ผลของสารสกัดกระชายดำต่อโรคข้อเข่าเสื่อม
ผลของสารสกัดกระชายดำต่อโรคข้อเข่าเสื่อมการศึกษาฤทธิ์ลดอาการข้อเข่าเสื่อมของสารสกัดกระชายดำในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดข้อเข่าอักเสบด้วยกรดโมโนไอโอโดอะซิติก (monoiodoacetic) โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเหง้ากระชายดำด้วย 60% เอทานอล ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักหนู และกลุ่มที่ได้รับยา diclofenac ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักหนู เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นในวันที่ 8 ทำการวัดระดับการทนต่อความเจ็บปวด (pain threshold) ด้วย von Frey algesiometry เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดกระชายดำ และยา ...

1655

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำการทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำที่มีสาร methoxyflavone ในปริมาณสูง (methoxyflavone-enriched extract of Kaempferia parviflora; MKE) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin เข้าทางช่องท้อง โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับ 0.2%sodium carboxymethylcellulose (CMC) กลุ่มที่ 3 และ 4 ได้รับ MKE ขนาด 150 และ 300 มก./กก./วัน ตามลำดับ และกลุ่มที่ 5 ได้รับยามาตรฐา...

1328

ผลของกระชายดำต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่เป็นเบาหวาน
ผลของกระชายดำต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่เป็นเบาหวานเมื่อป้อนหนูแรทเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยผงเหง้ากระชายดำ (Kaempferia parviflora) ขนาด 140 280 และ 420 มก./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ากระชายดำไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือด และการกินอาหารของหนูที่เป็นเบาหวาน แต่มีผลเพิ่มน้ำหนักของอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ อัณฑะ ท่อเก็บเชื้ออสุจิ (epididymis) และต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) กระชายดำที่ขนาด 420 มก./กก. มีผลเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ แต่ไม่มีผลต่อการเคล...

1250

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 9...

778

สารสกัดจากกระชายดำช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง
สารสกัดจากกระชายดำช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุงการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง (metabolic disease) ของสารสกัดethyl acetate จากกระชายดำ โดยป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากกระชายดำความเข้มข้น 0.3หรือ 1.0% ให้แก่หนูTsumura Suzuki obese diabetes(TSOD: หนูเม้าส์ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และเป็นโรคอ้วนร่วมกับมีภาวะอินซูลินสูงและเซลล์ตับอ่อนโต) นาน 8 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากกระชายดำช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักลดไขมันสะสมในช่องท้อง ป้องกันการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง และลดไขม...

1656

ฤทธิ์ลดไขมันในช่องท้องของสาร
ฤทธิ์ลดไขมันในช่องท้องของสาร polymethoxyflavone จากกระชายดำการศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสองทาง และมีกลุ่มควบคุมเป็นยาหลอกโดยทำการทดลองแบบคู่ขนาน เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในช่องท้อง (visceral fat) ของสาร polymethoxyflavone ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 60% เอทานอลของเหง้ากระชายดำ (Kaempferia parvifloraFood Funct. 2021;12(4):1603-13. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1409

ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา
ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชการศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba sp. ของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 10 ชนิด ได้แก่ดีปลี (Piper retrofractum), พริกไทย (Piper nigrum), ช้าพลู (Piper sarmentosum), มะกรูด (Citrus hystrix), ส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata), แก้ว (Murraya paniculata), เร่วน้อย (Amomum uliginosum), ขมิ้น (Curcuma longa), ขมิ้นอ้อย (Curcuma zedoaria), กระชาย (Kaempferia pandurata) ที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากดีปลี พริกไทย มะกรูด ขมิ้น และกระช...

สมุนไพรอื่นๆ

96

ไพล
ไพล ชื่อเครื่องยาไพล ชื่ออื่นๆของเครื่องยาไพลเหลือง ได้จากเหง้าสดแก่จัด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาไพล ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ปูลอย ปูเลย(ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ(ภาคกลาง) ว่านปอบ(ภาคอีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber cassumunar Roxb. ชื่อพ้องAmomum cassumunar (Roxb.) Donn, Amomum montanum J.Koenig, Amomum xanthorhiza Roxb. ex Steud., Cassumunar roxburghii Colla, Jaegera montana (J.Koenig) Giseke, Zingiber anthorrhiza Horan., Zingiber cli...

145

หอมแดง
หอมแดง ชื่อเครื่องยาหอมแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหอมหัวแดง ได้จากลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหอมแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หอมแกง (ภาคกลาง ภาคใต้) หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว (ภาคกลาง) หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (พายัพ) ผักบั่ว (อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium ascalonicum L. ชื่อพ้องAllium carneum Willd., Allium fissile Gray, Allium hierochuntinum Boiss., Porrum ascalonicum ชื่อวงศ์Amaryllidaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:   &nbs...

143

หมาก
หมาก ชื่อเครื่องยาหมาก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหมากเมีย ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหมาก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หมากเมีย มะ เค็ด สะลา พลา ปีแน สีซะ ชื่อวิทยาศาสตร์Areca catechu L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Palmae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปไข่หรือรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ภายในมีเมล็ดเดียว หมากดิบหรือหมากสด เปลือกผลมีสีเขียวเข้มและเมล็ดนิ่มถึงค่อนข้างแข็ง หมากแห้ง ...

141

หม่อน
หม่อน ชื่อเครื่องยาหม่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหม่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Morus alba L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้า...

11

กระวานไทย
กระวานไทย ชื่อเครื่องยากระวานไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี, เมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระวานไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์Amomum krervanh Pierre ex Gagnep ชื่อพ้องAmomum verum ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:    &nbs...

147

หอยแครง
หอยแครง ชื่อเครื่องยาหอยแครง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกหอยแครง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Anadara granosa Schenk et Reinhart. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Arcidae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:                     ไม่มีข้อมูลเป็นหอยปากคู่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกหนา ด้านนอกของเปลือกเป็นเส้นโค้งด้านละ 2...

55

ดอกจันทน์
ดอกจันทน์ ชื่อเครื่องยาดอกจันทน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาดอกจันทน์เทศ จันทน์ปาน ได้จากรกหุ้มเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์เทศ (nutmeg) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดอกจันทน์ จันทน์บ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Myristica fragrans Houtt. ชื่อพ้องAruana silvestris Burm.f., Myristica aromatica Sw., Myristica moschata Thunb., Myristica officinalis L.f., Palala fragrans (Houtt.) Kuntze ชื่อวงศ์ Myristicaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:     &n...

164

สันพร้าหอม
สันพร้าหอม ชื่อเครื่องยาสันพร้าหอม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสันพร้าหอม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เกี๋ยงพาใย (เหนือ), พอกี่ (กะเหรี่ยง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz. ชื่อพ้องEupatorium caespitosum Migo, Eupatorium stoechadosmum ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม ปนแดง ผิวมัน แผ่นใบรูปใบหอกแคบ ป...

85

เปล้าน้อย
เปล้าน้อย ชื่อเครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เปล้าท่าโพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Croton fluviatilis Esser ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ใบก้านใบยาว 1-3.5 มิลลิเมตร  มีขนสั้นนุ่มประปราย แผ่นใบตรงแคบยาว กว้าง 1.5 -2.44 เซนติเมตร ยาว 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้...

งานวิจัย “สารสกัดกระชายขาว ยับยั้งไวรัสโควิด-19” : ประเด็นสังคม (12 มิ.ย. 63)

งานวิจัย “สารสกัดกระชายขาว ยับยั้งไวรัสโควิด-19” : ประเด็นสังคม (12 มิ.ย. 63)

งานวิจัย “สารสกัดกระชายขาว ยับยั้งไวรัสโควิด-19” : ประเด็นสังคม (12 มิ.ย. 63)

View
รู้สู้โรค : น้ำกระชาย ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน (20 ก.พ. 60)

รู้สู้โรค : น้ำกระชาย ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน (20 ก.พ. 60)

รู้สู้โรค : น้ำกระชาย ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน (20 ก.พ. 60)

View
สรรพคุณ 44 ข้อของ "กระชาย" สมุนไพรพื้นๆ ของไทย ดีไม่แพ้ "โสม" lตำหนักดวง

สรรพคุณ 44 ข้อของ "กระชาย" สมุนไพรพื้นๆ ของไทย ดีไม่แพ้ "โสม" lตำหนักดวง

สรรพคุณ 44 ข้อของ "กระชาย" สมุนไพรพื้นๆ ของไทย ดีไม่แพ้ "โสม" lตำหนักดวง

View
กระชายขาวต้มน้ำอุ่นมีสรรพคุณป้องกันโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (27 เม.ย. 64)

กระชายขาวต้มน้ำอุ่นมีสรรพคุณป้องกันโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (27 เม.ย. 64)

กระชายขาวต้มน้ำอุ่นมีสรรพคุณป้องกันโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (27 เม.ย. 64)

View
ีรีบหามากิน !! กระชายมีประโยชน์ที่หลายคนไม่รู้ | Fingerroot | พี่ปลา Healthy Fish

ีรีบหามากิน !! กระชายมีประโยชน์ที่หลายคนไม่รู้ | Fingerroot | พี่ปลา Healthy Fish

ีรีบหามากิน !! กระชายมีประโยชน์ที่หลายคนไม่รู้ | Fingerroot | พี่ปลา Healthy Fish

View
ใครป่วยเป็น7โรคนี้ !! ต้องกินกระชาย ยาดีที่คนส่วนใหญ่มักไม่รู้เรื่องนี้ | Nava DIY

ใครป่วยเป็น7โรคนี้ !! ต้องกินกระชาย ยาดีที่คนส่วนใหญ่มักไม่รู้เรื่องนี้ | Nava DIY

ใครป่วยเป็น7โรคนี้ !! ต้องกินกระชาย ยาดีที่คนส่วนใหญ่มักไม่รู้เรื่องนี้ | Nava DIY

View
กระชายขาว กับ โควิด-19 ดีจริง หรือแค่ลือ?

กระชายขาว กับ โควิด-19 ดีจริง หรือแค่ลือ?

กระชายขาว กับ โควิด-19 ดีจริง หรือแค่ลือ?

View
สูตรน้ำกระชาย น้ำผึ้งผสมมะนาว

สูตรน้ำกระชาย น้ำผึ้งผสมมะนาว

สูตรน้ำกระชาย น้ำผึ้งผสมมะนาว

View
ต้นกระชาย​( finger root)สมุนไพร​ใน​สวน​ Ep.12

ต้นกระชาย​( finger root)สมุนไพร​ใน​สวน​ Ep.12

ต้นกระชาย​( finger root)สมุนไพร​ใน​สวน​ Ep.12

View
วิธีทำ น้ำกระชายน้ำผึ้งมะนาว สมุนไพรต้านโรค ช่วยปรับสมดุลบำรุงร่างกาย สูตรทำง่าย ขายดี|ครัวแม่ผึ้ง

วิธีทำ น้ำกระชายน้ำผึ้งมะนาว สมุนไพรต้านโรค ช่วยปรับสมดุลบำรุงร่างกาย สูตรทำง่าย ขายดี|ครัวแม่ผึ้ง

วิธีทำ น้ำกระชายน้ำผึ้งมะนาว สมุนไพรต้านโรค ช่วยปรับสมดุลบำรุงร่างกาย สูตรทำง่าย ขายดี|ครัวแม่ผึ้ง

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับกระชาย
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่