Menu

กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่อเครื่องยา

กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ตาไก้

ได้จาก

ลำต้น เนื้อไม้

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก

ชื่อวิทยาศาสตร์

Salacia chinensis L.

ชื่อพ้อง

Salacia prinoides

ชื่อวงศ์

Celastraceae (Hippocrateaceae)

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน เรียงซ้อนกันเป็นชั้น 7-9 ชั้น ต้นมีรสเมาเบื่อ ฝาด สุขุม

 

เครื่องยา กำแพงเจ็ดชั้น

 

เครื่องยา กำแพงเจ็ดชั้น

 

เครื่องยา กำแพงเจ็ดชั้น

 

ต้นกำแพงเจ็ดชั้นที่แสดงในงานสมุนไพรแห่งชาติ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้น แก้ปวดเมื่อย คลายเส้นเอ็น (เข้ายากับ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า ใช้ลำต้นของทุกต้นรวมกัน มาต้มน้ำดื่ม) ยาระบาย (เข้ายากับ ยาปะดง ตากวง ดูกไส คอแลน พาสาน) ขับปัสสาวะ (เข้ายากับ แก่นตาไก้ แก่นตากวง แก่นดูกไส แก่นตานนกกด) แก้ริดสีดวงทวาร (เข้ายากับ ว่านงวงช้าง แก่นกระถิน ปูนขาว แล้วต้ม)
           ตัวอย่างตำรับยาของตาไก้ ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้กระษัย บำรุงกำลัง ใช้ตาไก้ ตากวง เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก (เครือเขาแกลบ) ต้มกินเป็นประจำ ตัวอย่างตำรับยาระบาย ใช้ตาไก้ ตากวง แก่นนมสาว แก่นดูกใส รากเกียงปืน กาฝากต้นติ้ว ต้มกิน ตัวอย่างตำรับยาแก้เบาหวาน ใช้กำแพงเจ็ดชั้น(ตาไก้) แส้ม้าทะลาย รากคนทา รากมะแว้ง เครือเถามวกขาว เถามวกแดง รากลำเจียก ชะเอมไทย อย่างละ 2 บาท ต้มกินจนยาจืด
           ยาพื้นบ้าน: ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับเลือดระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น) ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด (ระดูขาว) ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายแก้เส้นเอ็นอักเสบ
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา: ใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น
           กัมพูชา: ใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล


องค์ประกอบทางเคมี:
    สารกลุ่ม Friedelane-Type Triterpenes ได้แก่ maytenoic acid,  friedelane-3-on-29-ol, 15R-hydroxyfriedelan-3-one, wilfolic acid C, salaspermic acid, orthosphenic acid, salasones A, salasones B, salasones C
    สารกลุ่ม Oleanane-Type Triterpenes ได้แก่ 3β, 22β-dihydroxyolean-12-en-29-oic acid,
maytenfolic acid, β-amyrin, 22α-hydroxy-3-oxoolean-12-en-29-oic acid,  β-amyrenone
    สารกลุ่ม Ursane-Type Triterpenes ได้แก่ tripterygic acid A, demethylregelin
    สารกลุ่ม Norfriedelane-Type Triterpenes ได้แก่ tingenone, tingenin B, regeol A, triptocalline A, salaquinone A, B
    สารกลุ่ม Eudesmane-Type Sesquiterpene ได้แก่ celahin C, salasol A

    สารกลุ่ม Sulfonium ได้แก่ salacinol, kotalanol

    สารกลุ่ม Xanthone ได้แก่ mangiferin


การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
        ฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส
        สารสกัดด้วยน้ำจากลำต้น และรากกำแพงเจ็ดชั้น ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสในลำไส้เล็กทั้งสองชนิดในหนูทดลอง โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ซูเครส โดยมีค่า IC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ  36.5, 57.9 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ  และยับยั้งเอนไซม์มอลเตส โดยมีค่า IC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ 87.3, 157.7 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แสดงว่าลำต้นออกฤทธิ์ได้ดีกว่าในราก  โดยพบว่าสารออกฤทธิ์ดีคือ salacinol และ kotalanol
       ฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยเพิ่มการหลั่งอินซูลิน
       สารแมงจิเฟอริน (mangiferin) ที่แยกได้จากต้นกำแพงเจ็ดชั้น มีฤทธิ์ลดการเกิดออกซิเดชัน ลดการทำลายเซลล์ตับอ่อนจากอนุมูลอิสระ และปกป้องเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ในหนูที่เป็นเบาหวานได้ เมื่อให้สารแมงจิเฟอรินในขนาด 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวในหน่วยกิโลกรัม เป็นเวลา 30 วัน
       นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารแมงจิเฟอรินที่แยกได้จากรากของพืชจีนัส Salacia ชนิดอื่น คือ  Salacia reticulate  มีฤทธิ์ยับยั้งยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดส 3 ชนิด ในหนูทดลอง ได้แก่ sucrase, isomaltase และ aldose reductase โดยมีค่าการยับยั้ง IC50 เท่ากับ  87, 216  and 1.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางพิษวิทยา:
          การทดสอบความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากลำต้นให้หนูแรทในขนาด 2000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ในหนูเพศผู้  จำนวน 25 ตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังผสมพันธุ์ และในหนูเพศเมียจำนวน 25 ตัว เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังผสมพันธุ์  ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงวันที่ 20 ของการให้นม ไม่พบความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ และการเจริญของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ กำแพงเจ็ดชั้น

...

Other Related กำแพงเจ็ดชั้น

ข้อมูล กำแพงเจ็ดชั้น จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


กำแพงเจ็ดชั้น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Celastrales วงศ์: Celastraceae สกุล: Salacia สปีชีส์: S.  chinensis ชื่อทวินาม Salacia chinensis กำแพงเจ็ดชั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Salacia chinensis) เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ในวงศ์ Celastraceae ชื่ออื่น ๆ ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง) ขาวไก่ เครือตากวาง ตากวาง ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์) เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวลหรือสีน้ำตาลอมขาว เปลือกล่อนงาย เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน เรียงซ้อนกันเป็นชั้น 7-9 ชั้น ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบห่อเข้าเล็กน้อย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบหรือซอกกิ่ง สีเขียวอมเหลือง เนื้อผลสีขาว[1] กำแพงเจ็ดชั้นเป็นพืชที่นำไปใช้เป็นพืชสมุนไพรอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปใช้ ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษหรือเป็นส่วนผสมของยาระบาย รักษาโรคตับอักเสบ แก้หืด แก้เบาหวาน ราก ใช้ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย แก้เส้นเอ็นอักเสบ ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้นผสมกับยาอื่นใช้แก้ปวดเมื่อย ยาระบาย แก้ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ ทางจังหวัดนครราชสีมาใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น ชาวกัมพูชาใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน[2] อ้างอิง

↑ มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 14 ↑ กำแพงเจ็ดชั้น-ฐานข้อมูลเครื่องยา เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กำแพงเจ็ดชั้น&oldid=8137294"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ กำแพงเจ็ดชั้น

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

515

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร mangiferin จากรากกำแพงเจ็ดชั้นเมื่อป้อนหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ด้วยสาร mangiferin ที่สกัดได้จากรากกำแพงเจ็ดชั้น ขนาด 40 มก./กก./วัน เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับยา glybenclamide 600 มคก./กก./วัน และหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาและสาร mangiferin ทดลองเป็นเวลา 30 วัน พบว่าสาร mangiferin และยา glybenclamide มีผลลดระดับของกลูโคส และ glycosylated hemoglobin แต่เพิ่มระดับของอินซูลินและฮีโมโกลบินในเลือด การทำงานของเอนไซม์ในตับ ได้แก่ hexokinase, pyruvat...

สมุนไพรอื่นๆ

117

เร่ว
เร่ว ชื่อเครื่องยาเร่ว ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเร่วหอม ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเร่วน้อย เร่วใหญ่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เร่วน้อย มีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ เร่วดง (ตราด) ผาลา (ฉาน เชียงใหม่) มะหมากอี มะอี้ (เชียงใหม่) เร่ว (ภาคกลาง) เร่วใหญ่ (มีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ เร่ว มะอี้ หมากอี้ หมากเน็ง หมากแหน่ง-อีสาน เร่วกระวาน กระวานป่า) ชื่อวิทยาศาสตร์เร่วน้อย Amomum villosum Lour. , เร่วใหญ่ Amomum xanthioides Wall. ex Baker ชื่อพ้องชื่อพ้องของเร่วน้อย ได้แก่ Amom...

60

ตะไคร้แกง
ตะไคร้แกง ชื่อเครื่องยาตะไคร้แกง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตะไคร้บ้าน ได้จากเหง้าและลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาตะไคร้แกง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (เหนือ) เซิดเกรย (เขมร สุรินทร์) ตะไคร้ (ภาคกลาง) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี) เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์) ไคร (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ชื่อพ้องAndropogon ceriferus Hack. Andropogon citratus DC. Andropogon fragrans C.Cordem. Andropo...

57

ดีบัว
ดีบัว ชื่อเครื่องยาดีบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากต้นอ่อนในเมล็ดบัวหลวง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล, โช้ค (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อพ้องNelumbo caspica (Fisch.) Schipcz., Nelumbo komarovii Grossh., Nelumbo speciosa Willd., Nymphaea nelumbo ชื่อวงศ์Nelumbonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดีบัวมีรูป...

45

งา
งา ชื่อเครื่องยางา ชื่ออื่นๆของเครื่องยางาขาว งาดำ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)งาขาว งาดำ ชื่อวิทยาศาสตร์Sesamum indicum L. ชื่อพ้องSesamum orientale ชื่อวงศ์Pedaliaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม  น้ำมัน รสฝาดร้อน &nbs...

143

หมาก
หมาก ชื่อเครื่องยาหมาก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหมากเมีย ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหมาก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หมากเมีย มะ เค็ด สะลา พลา ปีแน สีซะ ชื่อวิทยาศาสตร์Areca catechu L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Palmae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปไข่หรือรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ภายในมีเมล็ดเดียว หมากดิบหรือหมากสด เปลือกผลมีสีเขียวเข้มและเมล็ดนิ่มถึงค่อนข้างแข็ง หมากแห้ง ...

83

ปวกหาด
ปวกหาด ชื่อเครื่องยาปวกหาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผงฟองที่เกิดจากการต้มแก่นมะหาดอายุ 5 ปีขึ้นไป ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะหาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กาแย ขนุนป่า ตาแป ตาแปง มะหาดใบใหญ่ หาดหนุน หาด ชื่อวิทยาศาสตร์Artocarpus lakoocha Roxb. ชื่อพ้องArtocarpus lacucha Buch.-Ham., A. ficifolius W.T.Wang, A. yunnanensis H.H.Hu, Saccus lakoocha ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &nb...

78

บัวเผื่อน
บัวเผื่อน ชื่อเครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัวแบ้ ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea stellata Willd. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมต...

21

กำแพงเจ็ดชั้น
กำแพงเจ็ดชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเจ็ดชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตาไก้ ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia chinensis L. ชื่อพ้องSalacia prinoides ชื่อวงศ์Celastraceae (Hippocrateaceae) ลักษณะภายนอก...

71

เทียนเยาวพาณี
เทียนเยาวพาณี ชื่อเครื่องยาเทียนเยาวพาณี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนเยาวพาณี (ajowan) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Trachyspermum ammi (L.) Sprague ชื่อพ้องAmmi copticum L., Ammios muricata Moench, Athamanta ajowan Wall., Bunium copticum (L.) Spreng., Carum ajowan Benth. & Hook.f., Carum aromaticum Druce, Carum copticum (L.) Benth. & Hook. f., Carum panatjan Baill., Cyclospermum ammi (L.) Lag., Daucus anisodoru...

กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต

กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต

กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต

View
กำแพงเจ็ดชั้น (ตาไก้) : สมุนไพรบำรุงกำลัง บำรุงโลหิตในร่างกาย และรักษาโรคไต

กำแพงเจ็ดชั้น (ตาไก้) : สมุนไพรบำรุงกำลัง บำรุงโลหิตในร่างกาย และรักษาโรคไต

กำแพงเจ็ดชั้น (ตาไก้) : สมุนไพรบำรุงกำลัง บำรุงโลหิตในร่างกาย และรักษาโรคไต

View
พาไปดูสมุนไพรหายากใกล้สูญพันธุ์ กำแพงเจ็ดชั้นหรือหมากตาไก้  เป็นที่ต้องการของตลาดสมุนไพรไทย

พาไปดูสมุนไพรหายากใกล้สูญพันธุ์ กำแพงเจ็ดชั้นหรือหมากตาไก้ เป็นที่ต้องการของตลาดสมุนไพรไทย

พาไปดูสมุนไพรหายากใกล้สูญพันธุ์ กำแพงเจ็ดชั้นหรือหมากตาไก้ เป็นที่ต้องการของตลาดสมุนไพรไทย

View
กำแพงเจ็ดชั้นต้นตาไก้สมุนไพรแก้ระบายท้องลำไส้ขับลม

กำแพงเจ็ดชั้นต้นตาไก้สมุนไพรแก้ระบายท้องลำไส้ขับลม

กำแพงเจ็ดชั้นต้นตาไก้สมุนไพรแก้ระบายท้องลำไส้ขับลม

View
พืชสมุนไพรป่าชายเลน ตอน กำแพงเจ็ดชั้นตากแห้ง

พืชสมุนไพรป่าชายเลน ตอน กำแพงเจ็ดชั้นตากแห้ง

พืชสมุนไพรป่าชายเลน ตอน กำแพงเจ็ดชั้นตากแห้ง

View
ว่านกำแพงขาว ว่านกำแพงเจ็ดชั้น  สุดยอดว่านกันภัย วรากรสมุนไพร ไอดีไลน์ herbsddd

ว่านกำแพงขาว ว่านกำแพงเจ็ดชั้น สุดยอดว่านกันภัย วรากรสมุนไพร ไอดีไลน์ herbsddd

ว่านกำแพงขาว ว่านกำแพงเจ็ดชั้น สุดยอดว่านกันภัย วรากรสมุนไพร ไอดีไลน์ herbsddd

View
สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นผลสุกเต็มไม้ฟอกโลหิตเส้นอักเสบชะงัดนักแล #โจฮักนะสารคาม EP.709

สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นผลสุกเต็มไม้ฟอกโลหิตเส้นอักเสบชะงัดนักแล #โจฮักนะสารคาม EP.709

สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นผลสุกเต็มไม้ฟอกโลหิตเส้นอักเสบชะงัดนักแล #โจฮักนะสารคาม EP.709

View
สมุนไพร/กำแพงเจ็ดชั้น

สมุนไพร/กำแพงเจ็ดชั้น

สมุนไพร/กำแพงเจ็ดชั้น

View
สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นบำรุงกำลังอย่างดี

สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นบำรุงกำลังอย่างดี

สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นบำรุงกำลังอย่างดี

View
วรากรสมุนไพร  กำแพงเจ็ดชั้น ตาไก้ สมุนไพรแก้เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง EP2/2561

วรากรสมุนไพร กำแพงเจ็ดชั้น ตาไก้ สมุนไพรแก้เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง EP2/2561

วรากรสมุนไพร กำแพงเจ็ดชั้น ตาไก้ สมุนไพรแก้เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง EP2/2561

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับกำแพงเจ็ดชั้น
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่