Menu

แห้วหมู

ชื่อเครื่องยา

แห้วหมู

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

หญ้าแห้วหมู

ได้จาก

หัวใต้ดิน

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

แห้วหมู

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) หญ้าแห้วหมู หัวแห้วหมู หญ้ามะนิ่วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cyperus rotundus L.

ชื่อพ้อง

Chlorocyperus rotundus (L.) Palla, Chlorocyperus salaam (L.) Hayek, Schoenus tuberosusensis Palla, Cyperus agrestis Willd. ex Spreng. & Link, Cyperus arabicus Ehrenb. ex Boeckeler, Cyperus bicolor Vahl, Cyperus bifax C.B.Clarke, Cyperus bulbosostoloniferus Miq., Cyperus comosus Sm., Cyperus disruptus C.B.Clarke, Cyperus herbicavus Melliss, Cyperus hexastachyos Rottb., Cyperus hildra Poir., Cyperus hydra Michx., Cyperus laevissimus Steud., Cyperus leptostachyus Griff., Cyperus merkeri C.B.Clarke, Cyperus micreilema Steud., Cyperus nubicus C.B.Clarke, Cyperus ochreoides Steud., Cyperus oliganthus Gand., Cyperus olivaris O.Targ.Tozz., Cyperus platystachys Cherm., Cyperus procerulus Nees, Cyperus pseudovariegatus Boeckeler, Cyperus purpureovariegatus Boeckeler, Cyperus radicosus Sm., Cyperus rudioi Boeckeler, Cyperus taylorii C.B.Clarke, Cyperus tetrastachyos Desf., Cyperus tuberosus Rottb., Cyperus weinlandii Kük., Cyperus yoshinagae Ohwi, Pycreus rotundus

ชื่อวงศ์

Cyperaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          ลำต้นใต้ดินรูปกระสวย แข็ง สีน้ำตาลดำ เห็นเป็นข้อๆ ผิวไม่เรียบ มีความเหนียว ยาว 1.5-3 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ผิวนอกสีเทาน้ำตาลถึงสีเทาดำ มี 5-8 ข้อ แต่ละข้อมีขน เนื้อภายในสีเหลืองถึงน้ำตาลแดง มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสเผ็ดปร่า และขม

 

                                                   

                                                                                                                   เครื่องยา  หัวแห้วหมู

 

                                                  

                                                                                                                   เครื่องยา  หัวแห้วหมู

 

 

                                                  

                                                                                                                   เครื่องยา  หัวแห้วหมู

 

 

                                                               

                                                                                                                  เครื่องยา  หัวแห้วหมู

 

                                                       

                                                                                                                 เครื่องยา  หัวแห้วหมู

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:         -

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย หัวรสซ่าติดจะร้อนเผ็ด ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนผิดปกติ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์รักษา (บำรุงทารกในครรภ์)  เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงี่อ ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้ไข้ เป็นยาฝาดสมาน สงบประสาท เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้ ลดความดันโลหิต ลดการอักเสบ แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้อาเจียน แก้โรคตับอักเสบ

         ชาวเปอร์เซียและอาหรับ ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้ปวดท้อง โดยใช้หัวแห้วหมูตำกับขิง แล้วรับประทานกับน้ำผึ้ง และใช้เป็นยาแก้บิด บางท้องที่ใช้หัวโขลกพอกที่นม เป็นยาช่วยให้น้ำนมมาก และกล่าวว่าถ้ารับประทานมากเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ถ้าใช้ภายนอกเป็นยาพอกดูดพิษ

         บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้แห้วหมูในตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของหัวแห้วหมูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

          หัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสด ครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งรับประทาน

 

อาการไม่พึงประสงค์:

         อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

 

องค์ประกอบทางเคมี:

          น้ำมันหอมระเหย พบองค์ประกอบได้แก่ pinene. cineol, calamene, delta-cadinene, β-cadinene, alloaromadendrene, α-cubebene, α-cyperene, cyperol, cyperolone, cyperotundone

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องร่วง

      การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องร่วงของสารสกัดเมทานอลที่ได้จากหัวใต้ดินแห้วหมู และสารสกัดที่เกิดจากการแยกส่วน (partition) ของสารสกัดเมทานอลต่อด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (PEF), เอทิลอะซิเตต (EAF) และสารสกัดเมทานอลส่วนสุดท้ายที่เหลือ (RMF) ตามลำดับ ทำการศึกษาในหนูถีบจักร สายพันธุ์ Swiss albino โดยใช้น้ำมันละหุ่งเหนี่ยวนำให้หนูเกิดอาการท้องร่วง จากนั้นให้สารสกัดที่ได้จากแห้วหมู ขนาด 250 หรือ 500 mg/kgในหนูแต่ละกลุ่ม ใช้ยา Loperamide เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบระยะเวลาในการเริ่มมีอาการท้องร่วง ของหนูกลุ่มควบคุม, กลุ่มได้รับยามาตรฐาน Loperamide, กลุ่มได้รับสารสกัดเมทานอลขนาด 250 และ 500 mg/kg,กลุ่มที่ได้รับ PEF 250 mg/kg, EAF 250 mg/kg และ RMF 250 mg/kg เท่ากับ 0.82±0.17, 2.88±0.44**, 1.43±0.11***, 2.31±0.33**, 1.65±0.29***, 0.85±0.1, และ 2.33±0.62***ชั่วโมง ตามลำดับ จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระใน 4 ชั่วโมง เท่ากับ 12.00±1.52, 2.20±0.80*, 5.8±0.74**, 4.60±1.03**, 5.40±0.93**, 11.60±0.75 และ 2.00±0.71* ตามลำดับ จำนวนครั้งที่ถ่ายเหลวใน 4 ชั่วโมง เท่ากับ 7.80±0.80, 0.8±0.37*, 3.00±0.55**, 1.8±0.37*, 2.2±0.58*, 8.0±0.71 และ 1.0±0.32* ตามลำดับ (*P<0.001, **P<0.01,  ***P<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) สรุปได้ว่าสารสกัดเมทานอล สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ และสารสกัดเมทานอลส่วนสุดท้ายจากห้วแห้วหมู มีผลลดความถี่ของการถ่ายอุจจาระ และทำให้ระยะเวลาในการเริ่มเกิดอาการท้องร่วงเกิดช้าลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยส่วนสกัดที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดคือสารสกัดเมทานอลส่วนสุดท้ายที่เหลือจากการพาร์ทิชัน (RMF)  ส่วนสารสกัดเอทิลอะซิเตตไม่ออกฤทธิ์ต้านอาการท้องร่วง (Uddin, et al., 2006)

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร

       การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดน้ำ,สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอล ของหัวใต้ดินแห้วหมู โดยใช้วิธี microdilution method ใช้ยา ampicillin เป็นสารมาตรฐาน ทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียจำนวน 5 ชนิด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ได้แก่ Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Salmonella typhimurium, Salmonella enteritidis และ Enterococcus faecalis ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด TOF ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus และ S. enteritidis ได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) เท่ากับ 0.5mg/ml ต่อเชื้อทั้งสองชนิด นอกจากนี้ยังยับยั้งเชื้อ S.  typhimurium ได้ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากับ 1mg/ml สารสกัดเอทิลอะซิเตต มีค่า MIC ต่อเชื้อ S.  aureus และ E. faecalis เท่ากับ 0.5mg/ml ต่อเชื้อทั้งสองชนิด สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัด TOF มีค่า MIC ต่อเชื้อ E.  coli  เท่ากับ 5mg/ml (ยา ampicillin มีค่า MIC ต่อเชื้อ S. aureus, E. coli, S. typhimurium, S. enteritidis และE.  faecalis เท่ากับ 0.0015, 0.006, 0.0039, 0.0019 และ 0.0025 mg/ml ตามลำดับ) (Kilani, et al., 2008)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำ, สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอลของหัวใต้ดินแห้วหมู โดยศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูล superoxide anion radical ด้วยวิธีการยับยั้งการรีดักชันของ NBT (nitroblue tetrazolium) โดยอาศัยหลักการที่อนุมูล superoxide anion ซึ่งเป็น reducing agents จะไป reduce NBT dye ซึ่งเป็นสีชนิดหนึ่ง จากสีเหลือง ให้เป็น formazan blue ซึ่งมีสีน้ำเงิน หากสารทดสอบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระก็จะสามารถยับยั้งการรีดักชันของ NBT ได้ การทดสอบใช้ quercetin เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF) และสารสกัดเอทิลอะซิเตต ออกฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน โดยสามารถกำจัดอนุมูล superoxide anion ได้เท่ากับ 89.8±4% (IC50 เท่ากับ 68 µg/ml) และ 86±2.1% (IC50 เท่ากับ 90 µg/ml) ตามลำดับ (สารมาตรฐาน quercitin กำจัดอนุมูล superoxide anion ได้เท่ากับ 64.96±2.2% (IC50 เท่ากับ 360 µg/ml) (Kilani, et al., 2008)

ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว

        การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำ, สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอล ของหัวใต้ดินแห้วหมู โดยใช้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว leukaemia cell line L1210 ที่ได้จากหนู ตรวจสอบโดยใช้วิธี MTT assay ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตออกฤทธิ์ดีที่สุด ที่ความเข้มข้น 800µg/ml สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยทำให้เซลล์ตาย ได้ 78.92% (ค่า IC50 เท่ากับ 200 µg/ml) สารสกัด TOF ความเข้มข้น 50-800 µg/ml สามารถลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ 0.61-63.84% (ค่า IC50 เท่ากับ 240 µg/ml) (Kilani, et al., 2008)

ผลการเหนี่ยวนำขบวนการ apoptosis ของเซลล์

        การเหนี่ยวนำขบวนการ apoptosis ของเซลล์ เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง โดยใช้สารสกัดน้ำ,สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอล ของหัวใต้ดินแห้วหมู  ทดสอบโดยดูผลของการทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว leukaemia cell line L1210 ที่ได้จากหนู เกิดการแตกหักเสียหาย ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิด apoptosis ซึ่งเป็นขบวนการในการกำจัดเซลล์ผิดปกติ และเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย ผลการทดสอบพบว่าเมื่อให้สารสกัดสัมผัสกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สารสกัดเอทิลอะซิเตตที่ความเข้มข้น 800 µg/ml ทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดการแตกหักเสียหายได้สูงสุด รองลงมาได้แก่สารสกัด TOF ความเข้มข้น 800 และ 400 µg/ml  ตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการนำสารสกัดทั้งสองชนิดไปพัฒนาเป็นยาป้องกัน หรือกำจัดมะเร็งได้ต่อไป (Kilani, et al., 2008)

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ

 การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล ที่ได้จากทั้งต้นแห้วหมู ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี agar disc diffusion method สำหรับสารสกัดน้ำ และใช้วิธี agar well diffusion method สำหรับสารสกัดจากเอทานอล ใช้ยา chloramphenicol และยา amphotericin เป็นสารมาตรฐาน สำหรับเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ตามลำดับ ทดสอบกับเชื้อจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ Alcaligenes faecalis, Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Enterobacter aerogenes, Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Proteus vulgaris, Pseudomonas aeruginosa, Pseudomonas pseudoalcaligenes, Salmonella typhimurium, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Staphylococcus subfava  และ Candida tropicalis ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำไม่พบ zone of inhibition ต่อเชื้อทุกชนิด แสดงว่าไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ ส่วนสารสกัดเอทานอลมีผลต่อการยับยั้งได้ร้อยละ 70 ของจำนวนเชื้อที่ใช้ทดสอบ โดยมีค่า zone of inhibition ในการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 12, 18, 12, 11, 0, 15, 15, 11, 0, 11, 0, 13, 14, 13  และ 0 mm ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน chloramphenicol มีค่าเท่ากับ 17, 17, 16, 20, 22, 32, 18, 21, 10, 28, 25, 20, 19, 18 และ 0 mm ตามลำดับ (Parekh, et al., 2006)

โดยสรุปสารสกัดเอทานอลจากแห้วหมูออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus ได้ดีที่สุด (เชื้อนี้สามารถก่อโรคฉวยโอกาสได้ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่โรงพยาบาล เครื่องมือแพทย์ สามารถก่อโรคอาหารเป็นพิษ และตาอักเสบได้) รองลงมาได้แก่เชื้อ Klebsiella pneumonia (ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น) Proteus mirabilis (ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่โรงพยาบาล) และเชื้อ Staphylococcus epidermidis (ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่โรงพยาบาล ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเด็กแรกเกิด หรือในผู้ที่ใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น)

 

การศึกษาทางคลินิก:          -

การศึกษาทางพิษวิทยา:      -

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Kilani S, Sghaier MB, Limem I, Bouhlel I, Boubaker J, Bhouri W, et al. In vitro evaluation of antibacterial, antioxidant, cytotoxic and apoptotic activities of the tubers infusion and extracts of Cyperus rotundus. Bioresource Technology. 2008;99:9004-9008.

2. Parekh J, Chanda S. In-vitro antimicrobial activities of extracts of Launaea procumbens Roxb. (Labiateae), Vitis vinifera L. (Vitaceae) and Cyperus rotundus L. (Cyperaceae). African Journal of Biomedical Research. 2006;9:89-93.

3. Uddin SJ, Mondal K, Shilpi JA, Rahman MT. Antidiarrhoeal activity of Cyperus rotundus. Fitoterapia. 2006;77:134-136.

 

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ แห้วหมู

...

Other Related แห้วหมู

ข้อมูล แห้วหมู จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


แห้วหมู สถานะการอนุรักษ์ ความเสี่ยงต่ำ  (IUCN 3.1)[ 1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ โดเมน: ยูแคริโอต Eukaryota อาณาจักร: พืช Plantae เคลด: พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes เคลด: พืชดอก Angiosperms เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots เคลด: Commelinids Commelinids อันดับ: อันดับหญ้า Poales วงศ์: วงศ์กก Cyperaceae สกุล: สกุลกก Cyperus L. สปีชีส์: Cyperus rotundus ชื่อทวินาม Cyperus rotundus L. ก้านช่อดอกตัดตามขวาง หัวของแห้วหมูซึ่งยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร แห้วหมู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus rotundus) หรือหญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์กก เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก และสามารถแทงไหลไปได้ไกลแล้วเกิดหัวใหม่เจริญขึ้นต้นเหนือดิน ใบของแห้วหมูเกิดที่ลำต้น ชิดแน่นโดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกัน ชูขึ้นเหมือนลำต้นแล้วแผ่เป็นแผ่นใบแบนรูปแถบยาว ปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่อง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร ดอกของแห้วหมูเกิดที่ปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปเหลี่ยมสีเขียวเข้มแทงขึ้นสูง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกย่อยสีน้ำตาลจำนวนมาก ผลรูปขอบขนาน ปลายแหลมสีน้ำตาลหรือดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือหัวใต้ดิน ปัญหาการเป็นวัชพืช[ แก้ ] แห้วหมูจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน[ 2] ทำให้ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจลดลง เพราะสามารถแย่งอาหารในดินแล้วยังสร้างมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที เป็นวัชพืชที่กำจัดยากเพราะมีหัวใต้ดิน และทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ไกลโฟเสตสามารถกำจัดแห้วหมูได้แต่ต้องใช้ซ้ำ การใช้ประโยชน์[ แก้ ] ช่อดอกของแห้วหมู ยาพื้นบ้าน[ แก้ ] แห้วหมูมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร ซึ่งหัวมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย ใช้ขับลม ส่วนสารสกัดจากรากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ[ 3] เป็นยารักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น โดยตำให้ละเอียดผสมเหล้าขาว 35 หรือ 40 ดีกรี 1 ขวด แช่ประมาณครึ่งชั่วโมง กรองเอาเฉพาะเหล้าดื่ม 1 แก้ว เพื่อขับพิษไข้ให้อาเจียนออกจนหมด หากไข้ยังสูงอยู่ดื่มได้อีก 1 แก้ว จากนั้นพาผู้ป่วยไปพบแพทย์[ 4] ตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย ใช้แก้ไข้ ความผิดปกติในทางเดินอาหาร ชาวอาหรับในบริเวณเลอวานต์นำหัวไปอบให้ร้อน ใช้ประคบบริเวณที่บวม ตำรายาจีนเรียกเซียงฟู่ (ภาษาจีนกลาง) หรือเฮียวหู้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) รากใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ[ 5] แพทย์แผนใหม่[ แก้ ] ใช้แห้วหมูรักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์หลายชนิดเช่น: α-cyperone β-selinene cyperene cyperotundone patchoulenone sugeonol kobusone และ isokobusone สารสกัดจากหัวที่สกัดด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนธีน- ออกซิเดส[ 6] อาหาร[ แก้ ] แม้ว่าหัวจะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางอาหาร ในทวีปแอฟริกาใช้เป็นอาหารเวลาขาดแคลน และเป็นอาหารนกในเวลาอพยพ อ้างอิง[ แก้ ] ↑ Lansdown, R.V., Juffe Bignoli, D. & Beentje, H.J. (2017). Cyperus rotundus. The IUCN Red List of Threatened Species 2017: e.T158183A84284983. Downloaded on 27 October 2018. ↑ Holm, LeRoy G.; Plucknett, Donald L..; และคณะ (1977). The World's worst weeds: Distribution and biology. Hawaii: University Press of Hawaii. ↑ ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536 ↑ " "แห้วหมู" แก้ไข้เลือดออกเบื้องต้น". ไทยรัฐ. 5 September 2011. สืบค้นเมื่อ 22 September 2014 . ↑ ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555 ↑ ยุทธนา พงษ์พิริยะเดชะ พัชรินทร์ นวลศรีทอง และ นฤมล ศิรินทราเวช. 2552. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์แซนธีนออกซิเดสจากสมุนไพรไทยกลุ่มบำรุงกำลังและอายุวัฒนะ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 17-20 มี.ค. 2552 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 94-102 แหล่งข้อมูลอื่น[ แก้ ] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ แห้วหมู Flora Europaea: Cyperus rotundus เก็บถาวร 2011-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน USDA Plants Profile: Cyperus rotundus USDA Natural Resources Conservation Service: Cyperus rotundus (pdf file) Use in Chinese and Ayurvedic medicine A Tel-Aviv University study mentioning its nutritional importance for migrating birds (in Hebrew) Caldecott, Todd (2006). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-7234-3410-8. Contains a detailed section on Cyperus rotundus, as well as a discussion of health benefits and Ayurvedic usage. Available online at https://web.archive.org/web/20110616192931/http://www.toddcaldecott.com/index.php/herbs/learning-herbs/310-musta การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q1391422 Wikispecies: Cyperus rotundus APDB: 156736 ARKive: cyperus-rotundus BioLib: 42269 BOLD: 314943 Calflora: 2591 EoL: 1121553 EPPO: CYPRO FloraBase: 810 FNA: 200026713 FoC: 200026713 GBIF: 2714818 GRIN: 316644 iNaturalist: 76593 IPNI: 305797-1 IRMNG: 10204353 ITIS: 39900 IUCN: 158183 NBN: NBNSYS0200003722 NCBI: 512623 NZOR: d8726bb6-3d3e-4185-bb6a-742d14526d93 Plant List: kew-238342 PLANTS: CYRO POWO: urn:lsid:ipni.org:names:305797-1 Tropicos: 9901122 WCSP: 238342 WOI: 258 ฐานข้อมูลการควบคุมรายการหลักฐาน: ประจำชาติ อิสราเอล สหรัฐ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=แห้วหมู&oldid=11166787"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ แห้วหมู

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

939

ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมู
ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมูการทดสอบฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนของสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากหญ้าแห้วหมู (Cyperus rotundus  L.) (CRE) ในเซลล์ PC12 (dopaminergic cell line) ที่ทำให้มีระดับเอสโตรเจนต่ำ โดยให้ได้รับ CRE ในขนาด 62.5 - 500 มคก./มล. เป็นเวลา 24 ชม. พบว่า CRE มีฤทธิ์ของเอสโตรเจน โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และการทดสอบฤทธิ์ปกป้องสมองของ CRE ในหนูแรทเพศเมียที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วยการตัดรังไข่ออก และฉีดด้วย 1-methyl-4-phen...

1114

ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างน้ำนมของหญ้าแห้วหมู
ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างน้ำนมของหญ้าแห้วหมูการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการสร้างน้ำนมของหญ้าแห้วหมู (Cyperus rotundus L.) ในหนูแรทที่อยู่ระหว่างการให้นม โดยป้อนสารสกัดน้ำจากรากหญ้าแห้วหมูให้แก่หนูแรท ในวันที่ 2 ถึงวันที่ 15 หลังการตกลูก พบว่าหนูแรทที่ได้รับสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมู ขนาด 300 และ 600 มก./กก.น้ำหนักตัว มีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น 23% และ 40% ตามลำดับ รวมถึงเพิ่มน้ำหนักเต้านมและน้ำหนักตัวของหนูแรทได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อทำการตรวจสอบทางจุลกายวิภาคของเต้านมพบว่าในต่อมน้ำนมของหนูแรทที่ได้รับรากหญ้าแห้วหม...

328

สารสกัดหัวหญ้าแห้วหมูสามารถควบคุมน้ำหนักร่างกายในหนูที่เป็นโรคอ้วนได้
สารสกัดหัวหญ้าแห้วหมูสามารถควบคุมน้ำหนักร่างกายในหนูที่เป็นโรคอ้วนได้สารสกัดหัวแห้วหมูด้วยเฮกเซนเมื่อผสมลงในอาหารขนาด 45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือ 220 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน และให้หนูที่เป็นโรคอ้วน (Obese Zucker rats) กินนาน 60 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เป็นโรคอ้วนและให้กินอาหารสูตรควบคุมน้ำหนัก พบว่าน้ำหนักร่างกายของหนูที่กิน สารสกัดหัวแห้วหมูในขนาด 45 และ 220 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ลดลงทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมในเวลา 56 วัน (477.10 ± 7.74, 469.44 ±...

64

ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพรต่างๆ
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพรต่างๆ จากการทดลองฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ สับปะรด ( Ananas comosus (L.) Merr. ) มะละกอ ( Carica papaya Linn. ) หญ้าคา ( Imperata cylindrica (L.) Raeusch.) มะเฟือง ( Averrhoa carambola Linn. ) หญ้าแห้วหมู ( Cyperus rotundus Linn. ) พบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดน้ำจากรากสับปะรด และมะละกอในขนาดเทียบเท่ากับสมุนไพรแห้ง 10 g/kg จะทำให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นคิดเป็น 79% และ 74% ตามลำดับเมื่อเทียบกั...

1205

ฤทธิ์ต้านอักเสบจากหัวหญ้าแห้วหมู
ฤทธิ์ต้านอักเสบจากหัวหญ้าแห้วหมูการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ fulgidic acid ที่แยกได้จากส่วนหัวของหญ้าแห้วหมู (Cyperus rotundus L.) พบว่า fulgidic acid ลดการสร้าง nitric oxide (NO), prostaglandin E2 (PGE2), tumor necrosis factor-α (TNF-α) และ interleukin-6 (IL-6) ใน RAW264.7 macrophage ที่เกิดถูกเหนี่ยวนำในเกิดการสร้างสารก่อการอักเสบต่างๆ ข้างต้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) โดย fulgidic acid ยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับ nitric oxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase-...

1326

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมูการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู พบว่าสารสำคัญส่วนใหญ่ในน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ α-cyperone (38.46%), cyperene (12.84%) และ α-selinene (11.66%) น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ดีในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS radicals scavenging และ Ferric reducing antioxidant power มีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย ferrous ion (Fe2+) และ 2,2′-azobi...

สมุนไพรอื่นๆ

53

ชุมเห็ดเทศ
ชุมเห็ดเทศ ชื่อเครื่องยาชุมเห็ดเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบสดและแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชุมเห็ดเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชุมเห็ดใหญ่ ลับหมื่นหลวง ชี้คาก หมากกะลิงเทศ ส้มเห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia alata L. ชื่อพ้องSenna alata (L.) Roxb., Cassia bracteata ชื่อวงศ์Leguminosae-Caesalpinoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ย...

178

กุ่มน้ำ
กุ่มน้ำ ชื่อเครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Crateva religiosa G.Forst. ชื่อพ้องCrateva brownii Korth. ex Miq., Crateva hansemannii K.Schum., Crateva macrocarpa Kurz, Crateva magna (Lour.) DC., Crateva membranifolia Miq. , Crateva speciosa ชื่อวงศ์Capparaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...

30

โกฐเชียง
โกฐเชียง ชื่อเครื่องยาโกฐเชียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตังกุย ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐเชียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Angelica sinensis (Oliv.) Diels ชื่อพ้องAngelica polymorpha var. sinensis Oliv. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้ล้มลุก รากสดอวบหนา รูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก รากแห้งรูปแกมทรงกระบอก ปลายแยกเป็นแขนง 3-5 แขนง หรือมากกว่า ย...

17

กระทือ
กระทือ ชื่อเครื่องยากระทือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่สด หรือแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระทือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระทือ (ภาคกลาง) กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน) เฮียวดำ เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ชื่อพ้องAmomum silvestre Poir., A. spurium (J.Koenig) J.F.Gmel., A. zerumbet L., Cardamomum spurium (J.Koenig) Kuntze, Diete...

67

เทียนข้าวเปลือก
เทียนข้าวเปลือก ชื่อเครื่องยาเทียนข้าวเปลือก ชื่ออื่นๆของเครื่องยายี่หร่าหวาน (Sweet Fennel) เทียนแกลบ ได้จากผลแก่ แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนข้าวเปลือก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยี่หร่าหวาน เทียนแกลบ ชื่อวิทยาศาสตร์Foeniculum vulgare Miller subsp. var. vulgare ชื่อพ้องFoeniculum dulce (Miller.) Battandier et Trabut. F.officinale All. F.capillaceum Gilib, Anethum foeniculum ชื่อวงศ์Umbelliferae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:     ...

49

จันทน์แดง
จันทน์แดง ชื่อเครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาลักจั่น จันทน์ผา แก่นจันทน์แดง ได้จากแก่นที่มีราลงจนเป็นสีแดง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลักกะจันทน์ ลักจั่น(กลาง) จันทน์ผา ชื่อวิทยาศาสตร์Dracaena loureiroi Gagnep. ชื่อพ้องAletris cochinchinensis Lour., Dracaena saposchnikowii Regel., Draco saposchnikowii (Regel) Kuntze., Pleomele cochinchinensis Merr. ex Gagnep., Dracaena cochinchinensis ชื่อวงศ์Dracaenaceae ...

194

สะระแหน่
สะระแหน่ ชื่อเครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สะระแหน่ต้น ต้นน้ำมันหม่อง (ไทย) หอมด่วน (พายัพ) สะแน่ (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen. ชื่อพ้องMentha × villosa Huds., Mentha x amaurophylla Timb.-Lagr., M. x benthamiana Timb.-Lagr., Mentha × billotiana Déségl. & T.Durand, M. x bolzanensis Heinr.Braun, M. x chloreilema (Briq.) Heinr.Braun, M. x chlorostachya Gand. ...

192

ย่านาง
ย่านาง ชื่อเครื่องยาย่านาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี ชื่อวิทยาศาสตร์Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ชื่อพ้องCocculus triandrus Colebr., Limacia triandra ชื่อวงศ์Menispermaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

64

เถาเอ็นอ่อน
เถาเอ็นอ่อน ชื่อเครื่องยาเถาเอ็นอ่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาเอ็นอ่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตีนเป็ดเครือ เครือเจน เครือเถาเอ็น เมื่อย หมอนตีนเป็ด หญ้าลิเลน ชื่อวิทยาศาสตร์Cryptolepis buchanani Roem. & Schult. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Asclepiadaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ไม้เถา เนื้อแข็ง เถากลม เปลือกเถาเรียบ เปลือกมีผิวบางๆสีแดงเข้มหุ้มอยู่ เถาแ...

หญ้าแห้วหมู สมุนไพรสารพัดประโยชน์ ทำยาได้หลายชนิด

หญ้าแห้วหมู สมุนไพรสารพัดประโยชน์ ทำยาได้หลายชนิด

หญ้าแห้วหมู สมุนไพรสารพัดประโยชน์ ทำยาได้หลายชนิด

View
EP.047วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร ///  อายุ90กว่ายังเดินตัวปลิว กินแห้วหมูเป็นประจำ

EP.047วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// อายุ90กว่ายังเดินตัวปลิว กินแห้วหมูเป็นประจำ

EP.047วิธีกิน วิธีทำ วิธีใช้สมุนไพร /// อายุ90กว่ายังเดินตัวปลิว กินแห้วหมูเป็นประจำ

View
ว้าว!!!กินแห้วหมู เป็นยาอายุวัฒนะ กรดไหลย้อน ตาฝ้าตาฟางตามัว ช่วยได้

ว้าว!!!กินแห้วหมู เป็นยาอายุวัฒนะ กรดไหลย้อน ตาฝ้าตาฟางตามัว ช่วยได้

ว้าว!!!กินแห้วหมู เป็นยาอายุวัฒนะ กรดไหลย้อน ตาฝ้าตาฟางตามัว ช่วยได้

View
สมุนไพรน่ารู้ ตอน หญ้าแห้วหมู

สมุนไพรน่ารู้ ตอน หญ้าแห้วหมู

สมุนไพรน่ารู้ ตอน หญ้าแห้วหมู

View
บ้านใครมี อย่ารีบถอนทิ้ง..!! " หญ้าแห้วหมู" พบสารสำคุัญในการรักษาโรคมากมาย..| Nava DIY

บ้านใครมี อย่ารีบถอนทิ้ง..!! " หญ้าแห้วหมู" พบสารสำคุัญในการรักษาโรคมากมาย..| Nava DIY

บ้านใครมี อย่ารีบถอนทิ้ง..!! " หญ้าแห้วหมู" พบสารสำคุัญในการรักษาโรคมากมาย..| Nava DIY

View
ตามัว ตาไม่แข็งแรง - สมุนไพรหัวแห้วหมู กินวันละ2หัว EP.  01 หัวแห้วหมู

ตามัว ตาไม่แข็งแรง - สมุนไพรหัวแห้วหมู กินวันละ2หัว EP. 01 หัวแห้วหมู

ตามัว ตาไม่แข็งแรง - สมุนไพรหัวแห้วหมู กินวันละ2หัว EP. 01 หัวแห้วหมู

View
สมุนไพรใกล้ตัว แห้วหมู

สมุนไพรใกล้ตัว แห้วหมู

สมุนไพรใกล้ตัว แห้วหมู

View
หญ้าแห้วหมู สมุนไพรชั้นเลิศกินแล้วอายุยืน ใช้กันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

หญ้าแห้วหมู สมุนไพรชั้นเลิศกินแล้วอายุยืน ใช้กันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

หญ้าแห้วหมู สมุนไพรชั้นเลิศกินแล้วอายุยืน ใช้กันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

View
หัวแห้วหมูมีประโยชน์อย่างไร กินแบบสดๆได้มั้ย?

หัวแห้วหมูมีประโยชน์อย่างไร กินแบบสดๆได้มั้ย?

หัวแห้วหมูมีประโยชน์อย่างไร กินแบบสดๆได้มั้ย?

View
สมุนไพรพื้นบ้าน ‘หญ้าแห้วหมู’ ภูมิปัญญาชาวบ้านใช้เป็น ‘ยาอายุวัฒนะ’ รักษาได้หลายโรค !!

สมุนไพรพื้นบ้าน ‘หญ้าแห้วหมู’ ภูมิปัญญาชาวบ้านใช้เป็น ‘ยาอายุวัฒนะ’ รักษาได้หลายโรค !!

สมุนไพรพื้นบ้าน ‘หญ้าแห้วหมู’ ภูมิปัญญาชาวบ้านใช้เป็น ‘ยาอายุวัฒนะ’ รักษาได้หลายโรค !!

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับแห้วหมู
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่