Menu

ทับทิม

ชื่อเครื่องยา

ทับทิม

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ทับทิม

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มะเก๊า มะก่องแก้ว หมากจัง (เหนือ) พิลาขาว (น่าน) พิลา (หนองคาย)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Punica granatum L.

ชื่อพ้อง

Punica nana

ชื่อวงศ์

Lythraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายแหลม ยาว 2-9 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบกว้าง ขอบเรียบ ผิวใบหนา ใบแห้งสีเขียวอมน้ำตาล รสฝาดเล็กน้อย

 

 

                                                    

                                                                                                               เครื่องยา ใบทับทิม

 

 

                                                             

                                                                                                               เครื่องยา ใบทับทิม

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:     -

         

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย ใบ รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ปิดธาตุ สมานแผล พอกแผลฟกช้ำ แก้อาเจียน รักษาตาเจ็บ อมกลั้วคอ ชะล้างแผลมีหนองเรื้อรังบนศีรษะ  แก้โรคลักปิดลักเปิด ทับทิมทั้ง 5 (ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล) แก้ท้องเสีย แก้บิด มูกเลือด ขับพยาธิเส้นด้าย และตัวตืด ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลที่มีหนอง หรือใช้ใบสดตำพอกบริเวณที่เป็นแผลถลอก สมานแผล

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ใบทับทิมในตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของใบทับทิมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:      -

 

องค์ประกอบทางเคมี:

          ใบพบองค์ประกอบหลักเป็นสารกลุ่มแทนนิน

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

       การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ของสารสกัดเมทานอล และสารสกัดเอทานอลที่ได้จากใบทับทิม ทำการศึกษาในหลอดทดลอง โดยใช้วิธี agar well diffusion method เพื่อหาบริเวณโซนใสที่ยับยั้งเชื้อ (zone of inhibition) และใช้วิธี micro broth dilution method เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) ใช้ยา ciprofloxacin ขนาด 5 µg/ml เป็นสารมาตรฐาน ทำการทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย แกรมลบ 3 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneumonia และ Salmonella typhimurium  เชื้อแบคทีเรีย แกรมบวก 2 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเมทานอลมีค่า MIC ในการยับยั้งเชื้อทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 2.5, 1.25, 2.5, 1.25 และ 0.3125 mg/ml ตามลำดับ  สารสกัดเอทานอล มีค่า MIC ในการยับยั้งเชื้อทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 1.25, 1.25, 2.5, 2.5 และ 0.07813 mg/ml ตามลำดับ (MIC ของสารมาตรฐานเท่ากับ 0.1526, 0.3125, 0.15625, 0.07813 และ 1.3125 mg/ml ตามลำดับ)โดยสรุปทั้งสารสกัดเมทานอล และเอทานอลจากใบทับทิม สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิด ที่ใช้ในการทดสอบได้ โดยเชื้อ E. coli, S. typhimurium, S. aureus และ B. cereus  เป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุในการก่อโรคอาหารเป็นพิษ และโรคอื่นๆได้ โดยเฉพาะเชื้อ E. coli และ S. typhimurium เป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง เชื้อ K. pneumoniae เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อที่ปอดได้ และพบว่าสารสกัดเมทานอล และเอทานอลสามารถยับยั้งเชื้อ B. cereus ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน ciprofloxacin โดยเชื้อ B.cereus เป็นเชื้อที่สามารถก่อโรคฉวยโอกาสได้ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ติดเชื้อจากเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด นอกจากนี้ยังก่อโรคอาหารเป็นพิษได้ และเป็นสาเหตุของการเกิดตาอักเสบ เป็นต้น (Madduluri, et al., 2013)

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดทดลองของสารสกัดเฮกเซน, สารสกัดไดคลอโรมีเทน, สารสกัดเอทิลอะซิเตต, สารสกัดเอทานอล และสารสกัดเมทานอล ที่ได้จากใบทับทิม ตรวจสอบโดยดูผลการยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในขบวนการอักเสบได้แก่ 5-lipoxygenase (5-LOX) ใช้ nordihydroguaiareticacid (NDGA) เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้สูงที่สุด  รองลงมาคือสารสกัดเมทานอล โดยสารสกัดทั้งสองชนิดออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน  ค่า IC50 ของสารสารสกัดเอทานอล, สารสกัดเมทานอล, และสารมาตรฐาน NDGA เท่ากับ  6.20±0.17, 6.83±0.37 และ 7.00±0.22 mg/l ตามลำดับ (Bekir, et al., 2013)

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส

      การทดสอบฤทธิ์ anti-cholinesterase ในหลอดทดลองของสารสกัดเฮกเซน, สารสกัดไดคลอโรมีเทน, สารสกัดเอทิลอะซิเตต, สารสกัดเอทานอล, และสารสกัดเมทานอลที่ได้จากใบทับทิม ตรวจสอบโดยวิธี Ellman’s method โดยดูผลการยับยั้งเอนไซม์ 2 ชนิด คือ acetylcholinesterase (AChE) และ butyrylcholinesterase (BuChE) (ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acethylcholine ในสมอง ทีเกี่ยวข้องกับความจำ การยับยั้งเอนไซม์นี้ ซึ่งมี 2 ชนิดหลักคือ AChE และ BChE  โดย BChE จะพบมากในระยะท้ายของโรคอัลไซเมอร์ การยับยั้งเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้ จึงเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์) การทดสอบใช้ galanthamine เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดเอทานอล ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิด ได้ดีที่สุด โดยออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE อยู่ในระดับดี ค่า IC50 ของสารสกัดเอทานอล และสารมาตรฐาน galanthamine  เท่ากับ 14.83±0.73 และ 0.45±0.03  mg/l ตามลำดับ  ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ BuChE อยู่ในระดับดีมาก ค่า IC50 ของสารสกัดเอทานอล และสารมาตรฐาน galanthamine  เท่ากับ 2.65±0.21 และ 3.74±0.28 mg/l ตามลำดับ (Bekir, et al., 2013)

ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

      การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ของสารสกัดเฮกเซน, สารสกัดไดคลอโรมีเทน, สารสกัดเอทิลอะซิเตต, สารสกัดเอทานอล และสารสกัดเมทานอล ที่ได้จากใบทับทิม โดยใช้เซลล์มะเร็งเต้านมที่ได้จากมนุษย์ (MCF-7) ใช้ doxorubicin เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเมทานอลออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง MCF-7 ได้ดีที่สุด ค่า IC50 ของสารสกัดเมทานอล และสารมาตรฐาน doxorubicin เท่ากับ 31±1.02และ 0.22±0.02 mg/l ตามลำดับ (Bekir, et al., 2013)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีทางเคมี ในหลอดทดลอง ของสารสกัดเฮกเซน, สารสกัดไดคลอโรมีเทน, สารสกัดเอทิลอะซิเตต, สารสกัดเอทานอล และสารสกัดเมทานอล ที่ได้จากใบทับทิม ตรวจสอบโดยใช้วิธี DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) assay และ ABTS (2,2'-azinobis-3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonate)  assay ใช้ quercetin เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเมทานอลออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS ได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 5.62 ±0.23 และ 1.31±0.00 mg/l ตามลำดับ สารมาตรฐาน quercetin มีค่า IC50 เท่ากับ 2.86±0.09 และ 0.93±0.03 mg/l ตามลำดับ (Bekir, et al., 2013)

 

การศึกษาทางคลินิก:          -

การศึกษาทางพิษวิทยา:      -

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Bekir J, Mars M, Souchard JP, Bouajila J. Assessment of antioxidant, anti-inflammatory, anti-cholinesterase and cytotoxicactivities of pomegranate (Punica granatum) leaves. Food and Chemical Toxicology. 2013;55:470-475.

2. Madduluri S, Rao KB, Sitaram B. In vitro evaluation of antibacterial activity of five indigenous plants extract against five bacterial pathogens of human. Int J Pharm Pharm Sci. 2013;5(Suppl 4):679-684.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา    : www.phargarden.com

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ทับทิม

...

Other Related ทับทิม

ข้อมูล ทับทิม จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


ทับทิม อาจหมายถึง ทับทิม (ผลไม้) ไม้ต้นขนาดเล็กและมีผลใช้รับประทานได้ ทับทิม (อัญมณี) อัญมณีสีแดง (Ruby) ทับทิมกรอบ ขนมหวาน ทับทิมสะท้อนแสง (Reflector) วัสดุสะท้อนแสง มักทำด้วยพลาสติก ใช้ติดพาหนะ เพื่อสะท้อนแสงให้เห็นชัดในเวลากลางคืน ปลาทับทิม ด่างทับทิม เจ้าจอมทับทิม (แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม) - ตัวละครที่กล่าวถึงโดย แอนนา ลีโอโนเวนส์ ทับทิม (โปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท) - ตัวละครจากเรื่องโปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท มัลลิกา จงวัฒนา (ทับทิม) พิธีกรชาวไทย อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ทับทิม) นักแสดงชาวไทย หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ทับทิม&oldid=10250572"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ ทับทิม

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1275

ฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลทับทิม
ฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลทับทิมการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากผลทับทิม (pomegranate fruit extract; PFE) ในกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคข้อเสื่อม(osteoarthritis; OA) จากการผ่าตัด โดยกลุ่มแรก ให้กิน PFE ที่ละลายอยู่ในน้ำดื่ม ขนาด 34 มก./กก./วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์หลังการผ่าตัด และกลุ่มที่ 2 ให้กิน PFE ที่ละลายอยู่ในน้ำดื่ม ขนาด 34 มก./กก./วัน ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์ และหลังผ่าตัด 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบผ...

370

ผลของน้ำทับทิมต่อตับที่ถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ
ผลของน้ำทับทิมต่อตับที่ถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระการทดสอบโดยให้หนูถีบจักรเพศผู้ ดื่นน้ำทับทิมแทนน้ำ 4 สัปดาห์ หลังจากที่เซลล์ ไขมัน โปรตีน และ DNA ถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ พบว่าในหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำทับทิมมีการถูกทำลายของโปรตีน และ DNA จากสารอนุมูลอิสระลดลง ระดับของ Reduced glutathione (GSH) และ Oxidized glutathione (GSSG) ในตับลดลง นอกจากนี้เอนไซม์ Glutathione peroxidase, Glutathione-S-transferase, Glutathione reductase, Superoxide dismutase และ Catalase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้าน...

1214

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัดจากข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัดจากข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้ในสูตรสำหรับรักษาเส้นผมการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัด 70% เอทานอลจากข้าวไทยสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ สีนิล ทับทิมล้านนา หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ แดงสังข์หยด และก่ำดอยมูเซอ เพื่อใช้ในสูตรสำหรับรักษาเส้นผม โดยทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ferric ions reducing antioxidant power (FRAP) ผลพบว่าสารสกัดข้าวก่ำดอยมูเซอและข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุม...

574

ผลของดอกทับทิมต่อการเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ
ผลของดอกทับทิมต่อการเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบการทดสอบผลของสารสกัดเมทานอล-น้ำ (3:1) จากส่วนดอกทับทิม (Punica granatum  ) ซึ่งอุดมไปด้วย ellagic acid ในหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่ด้วยการดื่มน้ำที่มี 2% dextran sulfate sodium (DSS) เป็นเวลา 7 วัน และฆ่าหนูในวันที่ 8 เพื่อตรวจระดับสาร histamine, myeloperoxidase (MPO) และ superoxide anion (อนุมูลอิสระ) พบว่าการเหนี่ยวนำด้วย DSS ทำให้ระดับของ histamine, MPO และอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ซึ่ง MPO เป็นตัวชี้วัดการเกิดภาวะการอักเสบ และสา...

301

ผลของน้ำทับทิมกับมะเร็งต่อมลูกหมาก
ผลของน้ำทับทิมกับมะเร็งต่อมลูกหมากศึกษาในผู้ชาย 46 คน ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากซ้ำอีก หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดหรือการฉายรังสี โดยที่ผู้ป่วยจะต้องมีค่า Prostate-specific antigen (PSA) อยู่ในช่วง 0.2<PSA<5 นาโนกรัม/มล. และ Gleason score ≤ 7 ทำการรักษาโดยให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำทับทิมขนาด 8 ออนซ์ วันละ 1 ครั้ง ทุกวัน เทียบเท่ากับการได้สาร polyphenol gallic acid 570 มก. และการศึกษาจะสิ้นสุดลงเมื่อพบว่าโรคมีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งในการทดลองนี้ใช้เวลาอยู่ในช่วง 15 เดือน ถึง 54 เดือน โดยท...

1215

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิม
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมในอาสาสมัครชายสุขภาพดีจำนวน 28 คน (อายุระหว่าง 18-24 ปี) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 14 คน) กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ให้ดื่มน้ำทับทิมวันละ 240 มล. นานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือดและวิเคราะห์เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidative stress) ในช่วงก่อนและหลังดื่มน้ำทับทิมเพื่อเปรียบเทียบ โดยมีการทดสอบให้อาสาสมัครออกกำลังกาย...

837

ผลของการรับประทานสารสกัดทับทิมต่อการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์
ผลของการรับประทานสารสกัดทับทิมต่อการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์การศึกษาผลการรับประทานสารสกัดทับทิมต่อการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์ในหนูเม้าส์ Balb/c ที่ตั้งท้อง โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว ในวันที่ 8 - 18 ของการตั้งท้อง ป้อนหนูกลุ่มที่ 1 ด้วยสารสกัดน้ำทับทิม 3.3 มล. / กก. กลุ่มที่ 2 ป้อนสารสกัดเปลือกทับทิม 1 ก. / กก. กลุ่มที่ 3 ป้อนสารสกัดน้ำทับทิมและสารสกัดเปลือกทับทิมผสมกัน และกลุ่มที่ 4 ป้อนด้วยน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) ในวันที่ 19 ของการตั้งท้อง ทำการผ่าซากหนูและแยกตัวอ่อนออกมาวัดก...

1324

ผลของน้ำทับทิมและน้ำส้มที่มีต่อระดับการต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ผลของน้ำทับทิมและน้ำส้มที่มีต่อระดับการต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์เมื่อให้ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จำนวน 65 คน อายุเฉลี่ย 39±8 ปี รับประทานน้ำทับทิมหรือน้ำส้ม ปริมาณ 250 มล./วัน หลังอาหารกลางวัน ร่วมกับอาหารที่ให้พลังงานต่ำ (hypocaloric diet) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าระดับของเอนไซม์ในตับ ได้แก่ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase และค่าดัชนีมวลกายลดลงในทั้งสองกลุ่ม ในผู้ป่วยที่ดื่มน้ำทับทิมจะมีค่าความสามารถในการต้า...

1572

การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติ
การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติการศึกษาทางคลินิก (controlled acute, cross-over clinical study) ผลของการรับประทานกากองุ่น (Vitis vinifera L., cv Tempranillo; grape) และทับทิม (Punica granatum L., cv Mollar de Elche; pomegranate) ต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วน จำนวน 20 คน อายุ 40-60 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test; OGTT) 75 กรัม หลังจากรับประทานกากองุ่นและ...

1112

ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของทับทิมและคาโมมายล์
ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของทับทิมและคาโมมายล์การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองทางในผู้ป่วยโรคปริทันต์ ที่มีภาวะเหงือกอักเสบหรือเยื่อหุ้มฟันอักเสบแบบเรื้อรัง ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 18 - 56 ปี จำนวน 55 คน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 18 คน ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสะลายคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) 0.12% (เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก) กลุ่มที่ 2 จำนวน 19 คน ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 96% เอทานอลของดอกคาโมมายล์ (Matricaria recutita ...

998

ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิม
ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิมศึกษาฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรังของสาร ellagic acid จากทับทิม ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบด้วยการป้อน dextran sulphate sodium (DSS) ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลัน ใช้หนูเม้าส์สายพันธุ์ Balb/C 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 - 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารปกติและน้ำที่มี DSS ผสมอยู่ 5% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีสาร ellagic acid ผสมอยู่ 2% โดยน้ำหน...

1349

ฤทธิ์ปกป้องไตเสียหายของสารสกัดเปลือกทับทิม
ฤทธิ์ปกป้องไตเสียหายของสารสกัดเปลือกทับทิมศึกษาฤทธิ์ปกป้องไตเสียหายของสารสกัดเปลือกทับทิม โดยทำการป้อนไฮโดรแอลกอฮอลิก (เมทานอลและน้ำ อัตราส่วน 1:1) จากเปลือกทับทิม (Punica granatum) ให้แก่หนูแรทขนาดวันละ 50, 100 และ 200 มก./กก. นานติดต่อกัน 10 วัน และเหนี่ยวนำให้ไตเกิดความเสียหายด้วยการฉีดยา cisplatin เข้าทางช่องท้องขนาด 8 มก./กก. ในวันที่ 7 ของการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า การกินสารสกัดเปลือกทับทิมขนาดวันละ 200 มก./กก. มีผลช่วยปกป้องไตไม่ให้เกิดความเสียหายจากการให้ยา cisplatin ได้ โดยมีผลลดค่า creat...

สมุนไพรอื่นๆ

93

พิมเสน
พิมเสน ชื่อเครื่องยาพิมเสน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน ได้จากสารสกัดจากเนื้อไม้พืชสกุล Dryobalanops. สารสกัดจากใบพิมเสนต้น ใบหนาด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชสกุล Dryobalanops, พิมเสนต้น, หนาดหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae), พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth (วงศ์ Lamiaceae) ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ...

97

ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร ชื่อเครื่องยาฟ้าทะลายโจร ชื่ออื่นๆของเครื่องยาฟ้าทะลาย ได้จากส่วนเหนือดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฟ้าทะลายโจร ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)น้ำลายพังพอน หญ้ากันงู ซีปังฮี ชื่อวิทยาศาสตร์Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees ชื่อพ้องJusticia paniculata Burm.f. ชื่อวงศ์Acanthaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ก้านใบยาว 3-10 มิลลิเมตร แผ่นใบรูปไข่หรือรู...

164

สันพร้าหอม
สันพร้าหอม ชื่อเครื่องยาสันพร้าหอม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสันพร้าหอม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เกี๋ยงพาใย (เหนือ), พอกี่ (กะเหรี่ยง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz. ชื่อพ้องEupatorium caespitosum Migo, Eupatorium stoechadosmum ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม ปนแดง ผิวมัน แผ่นใบรูปใบหอกแคบ ป...

124

ว่านน้ำ
ว่านน้ำ ชื่อเครื่องยาว่านน้ำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากรากและลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านน้ำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านน้ำเล็ก ตะไคร้น้ำ คาเจียงจี้ ทิสืปุตอ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน ฮางคาวผา ชื่อวิทยาศาสตร์Acorus calamus L. ชื่อพ้องAcorus angustatus Raf., Acorus angustifolius Schott, Acorus belangeri Schott, Acorus calamus-aromaticus Clairv., Acorus casia Bertol., Acorus commersonii Schott, Acorus commutatus Schott, Acorus elatus Salisb...

7

กระแตไต่ไม้
กระแตไต่ไม้ ชื่อเครื่องยากระแตไต่ไม้ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระแตไต่ไม้ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ฮำฮอก (อุบลราชธานี); ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี); กูดขาฮอก กูดอ้อม กูดไม้ (เหนือ); กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี),หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์);หว่าว (ปน) สะโมง กาบหูช้าง หัวว่าว ชื่อวิทยาศาสตร์Drynaria quercifolia (L.) J.Sm. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Polypodiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:     &n...

96

ไพล
ไพล ชื่อเครื่องยาไพล ชื่ออื่นๆของเครื่องยาไพลเหลือง ได้จากเหง้าสดแก่จัด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาไพล ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ปูลอย ปูเลย(ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ(ภาคกลาง) ว่านปอบ(ภาคอีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber cassumunar Roxb. ชื่อพ้องAmomum cassumunar (Roxb.) Donn, Amomum montanum J.Koenig, Amomum xanthorhiza Roxb. ex Steud., Cassumunar roxburghii Colla, Jaegera montana (J.Koenig) Giseke, Zingiber anthorrhiza Horan., Zingiber cli...

73

ไทรย้อย
ไทรย้อย ชื่อเครื่องยาไทรย้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากรากอากาศ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาไทรย้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ไทรย้อยใบแหลม ไทรกระเบื้อง ไซรย้อย ไฮ จาเรย ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benjamina L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            รากอากาศ รากเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล กลมๆ ยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ รสจืด ฝาด   เครื่อง...

13

กล้วยดิบ
กล้วยดิบ ชื่อเครื่องยากล้วยดิบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลกล้วยห่ามหรือดิบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากล้วยน้ำว้า หรือกล้วยไข่ กล้วยตีบ กล้วยหักมุก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Musa sapientum Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Musaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลดิบ เนื้อสีขาว เมื่อหั่น ฝานตากแดด  ให้แห้ง  แล้วบดเป็นผง     เครื่องยา กล้วยดิบ   ...

28

โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อเครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงเฮา, ชิงฮาว, แชเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์Artemisia annua L. ชื่อพ้องArtemisia chamomilla C.Winkl. ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ประกอบด้วยส่วนของลำต้น ใบ และดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก...

ดาเป็นต้อเนื้อ ด้อลม ต้อกระจก ตาฟ่าฟาง ขุ่นมัวหายได้ด้วยสมุนไพรหาง่าย

ดาเป็นต้อเนื้อ ด้อลม ต้อกระจก ตาฟ่าฟาง ขุ่นมัวหายได้ด้วยสมุนไพรหาง่าย

ดาเป็นต้อเนื้อ ด้อลม ต้อกระจก ตาฟ่าฟาง ขุ่นมัวหายได้ด้วยสมุนไพรหาง่าย

View
ทับทิมรักษาสารพัดต้อได้ จริงหรือ ? | ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET

ทับทิมรักษาสารพัดต้อได้ จริงหรือ ? | ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET

ทับทิมรักษาสารพัดต้อได้ จริงหรือ ? | ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET

View
ประโยชน์ของทับทิม

ประโยชน์ของทับทิม

ประโยชน์ของทับทิม

View
8 ประโยชน์ทับทิม สีแดงฤทธิ์แรง ต้านสารพัดโรค

8 ประโยชน์ทับทิม สีแดงฤทธิ์แรง ต้านสารพัดโรค

8 ประโยชน์ทับทิม สีแดงฤทธิ์แรง ต้านสารพัดโรค

View
ตาดี มองชัด ไม่ขุ่นมัวใน1นาที ภูมิปัญญาบ้านเรา

ตาดี มองชัด ไม่ขุ่นมัวใน1นาที ภูมิปัญญาบ้านเรา

ตาดี มองชัด ไม่ขุ่นมัวใน1นาที ภูมิปัญญาบ้านเรา

View
เจ๋งรักษาต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ตาต้อ ไม่ต้องลอกตาไม่ต้องผ่าตัด ใช้ทับทิมตาใสปิ้งสมุนไพรไทยรักษาโรค

เจ๋งรักษาต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ตาต้อ ไม่ต้องลอกตาไม่ต้องผ่าตัด ใช้ทับทิมตาใสปิ้งสมุนไพรไทยรักษาโรค

เจ๋งรักษาต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ตาต้อ ไม่ต้องลอกตาไม่ต้องผ่าตัด ใช้ทับทิมตาใสปิ้งสมุนไพรไทยรักษาโรค

View
น้ำทับทิม100% หน้ามืดวิงเวียนผิวสวยวัยทอง

น้ำทับทิม100% หน้ามืดวิงเวียนผิวสวยวัยทอง

น้ำทับทิม100% หน้ามืดวิงเวียนผิวสวยวัยทอง

View
ทับทิม : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ทับทิม : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ทับทิม : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
การทำสบู่สมุนไพรทับทิม ลบริ้วรอย

การทำสบู่สมุนไพรทับทิม ลบริ้วรอย

การทำสบู่สมุนไพรทับทิม ลบริ้วรอย

View
สมุนไพรใกล้ตัว ทับทิม

สมุนไพรใกล้ตัว ทับทิม

สมุนไพรใกล้ตัว ทับทิม

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับทับทิม
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่