Menu

ครั่ง

ชื่อเครื่องยา

ครั่ง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ครั่งดุ้น ครั่งดิบ, จุ้ยเก้ง (จีน)

ได้จาก

สารที่ขับถ่ายจากแมลงครั่ง (ลักษณะเป็นยางหรือชัน)

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

แมลงครั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccifera chinensis Mahdihassan)

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

แมลงครั่ง (ชื่อวงศ์ Lacciferidae)

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          เป็นก้อนแข็งสีน้ำตาลแดง มีรูปร่างเป็นปมตะปุ่มตะป่ำติดกันตามความยาวของกิ่งไม้ที่มีรังครั่งเกาะอยู่  ครั่งไม่มีกลิ่น รสฝาด

หมายเหตุ: ครั่งได้จากรังของตัวครั่ง มักปล่อยให้ครั่งทำรังบนต้นไม้ฉำฉา (จามจุรี)  ทองกวาว มะเดื่อ ตะคร้อ ไม้แดง สะแก สีเสียด ถั่วแฮ (ถั่วแระต้น) หรือไม้อื่นๆ ครั่งจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากเปลือกต้นไม้ ตัวครั่งจะปล่อยชัน (resin) ที่เรียกว่า “ครั่ง” (Lac) ออกมาจากต่อมตามตัว เพื่อห่อหุ้มทำรังคลุมตัว สำหรับอยู่อาศัยวางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน

 

                                                      

                                                                                                                เครื่องยา ครั่ง

                                                    

                                                                                                                 เครื่องยา ครั่ง  

 

                                                   

                                                                                                                 เครื่องยา ครั่ง  

 

                                                     

                                                                                                                 เครื่องยา ครั่ง  

                                                                                                                          

                                                           

                                                                                           รังครั่งที่โตเต็มที่,  ครั่งดิบ (Crude stick lac)

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:    -

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย รับประทานแก้ไอ แก้ข้อหัก ซ้น แพทย์แผนโบราณตามชนบทใช้รับประทานบำรุงเลือด ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง แก้บิด และตกแต่งสียาให้เป็นสีชมพู ใช้ย้อมสีอาหาร ครั่งดิบ ใช้บำรุงเลือด แก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด  ครั่งจากต้นก้ามกราม รสฝาด แก้ไอ แก้ข้อหัก ซ้น ครั่งทั่วไป รสฝาด บำรุงโลหิต ห้ามเสมหะ คุมอาจม แก้ท้องร่วง ท้องเสีย (ประโยชน์อื่นๆ ใช้ครั่งในการผสมสี ทำแชลแลค สำหรับผสมน้ำมันชักเงา ทำครั่งประทับตรา ใช้ปิดหรือตีตราหนังสือ ทำแผ่นเสียงเครื่องประกอบเครื่องไฟฟ้า ใช้ประทับตรากุญแจ ผนึกขวดยาต่างๆ)

         บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ครั่งในตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของครั่งร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:       -

 

องค์ประกอบทางเคมี:

          สารกลุ่มแอนทราควิโนน ได้แก่ laccaic acid A-F  เป็นสารที่ทำให้เกิดสีแดงของครั่ง

          การศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบของสีครั่งจากครั่งดิบ

          การศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบของสีครั่งจากครั่งดิบ ศึกษาการสกัดครั่งดิบจากแหล่งที่มา 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุรินทร์ โดยทำการสกัดสีครั่งด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีสกัดด้วยน้ำร้อน 60-75 ºC, วิธีการสกัดด้วยไมโครเวฟ และวิธีการสกัดด้วยอัลตราโซนิก จากผลการทดสอบพบว่า การสกัดสีครั่งโดยวิธีไมโครเวฟ และอัลตราโซนิกได้ร้อยละโดยน้ำหนักของกรดแลคคาอิกสูงกว่าที่ได้โดยการใช้วิธีสกัดด้วยน้ำร้อน ร้อยละโดยน้ำหนักของกรดแลคคาอิกที่สกัดได้โดยวิธีการใช้น้ำร้อน อัลตราโซนิก และไมโครเวฟ มีค่าเท่ากับ 4.84, 5.70 และ 6.12 ตามลำดับ และร้อยละโดยน้ำหนักของกรดแลคคาอิกที่ได้จากครั่งที่มาจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุรินทร์ มีค่าเท่ากับ 6.47% และ 4.84% ตามลำดับ การวิเคราะห์องค์ประกอบของสีครั่งโดยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่ามีองค์ประกอบเป็นกรดแลคคาอิค เอ, บี และซี โดยองค์ประกอบหลักคือกรดแลคคาอิค เอ มีกรดแลคคาอิก บี และกรดแลคคาอิก ซี เป็นองค์ประกอบรอง ซึ่งผลดังกล่าวจะเด่นชัดมากเมื่อสกัดด้วยวิธีไมโครเวฟ นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละโดยน้ำหนักของกรดแลคคาอิก บี ที่สกัดได้ด้วยวิธีการใช้น้ำร้อน และวิธีอัลตราโซนิกมีค่าใกล้เคียงกัน (มนตรา, 2547)

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ DNA Methyltransferase 1

      การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ DNA Methyltransferase 1 ของสาร laccaic acid A (แยกได้จากยางครั่ง) ซึ่ง DNA Methyltransferase 1 (Dnmt1) เป็นเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการ DNA methylation โดยกระตุ้นให้เกิดการถ่ายโอนหมู่เมธิลไปยังโครงสร้าง CpG ในดีเอ็นเอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีน และมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมา การยับยั้งเอนไซม์ Dnmt1 ถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษามะเร็ง ทำการศึกษาในหลอดทดลอง โดยดูผลการยับยั้งการทำงานของ Dnmt1 ในเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 ของคน ด้วยวิธี fluorescence-based DNA methylation assay ผลการทดสอบพบว่า สาร laccaic acid A ออกฤทธิ์แรงในการยับยั้ง Dnmt1 ได้โดยตรง โดยค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้ง Dnmt1 ได้ 50% (IC50) ของ Laccaic acid A และ SGI-1027 (สารที่มีรายงานว่าเป็น Dnmt1 inhibitor) มีค่าเท่ากับ 650±40 nM และ 1.6±0.2 µM ซึ่งค่าการยับยั้งของ laccaic acid A สูงกว่า SGI-1027 ประมาณ 2.5 เท่า นอกจากนี้ laccaic acid A ยังมีความเป็นพิษต่ำกว่ายากลุ่ม nucleoside demethylation ที่มีใช้กันอยู่ เช่น 5-azad C ซึ่งยานี้ออกฤทธิ์ไม่จำเพาะ มีผลต่อการแสดงออกของหลายยีน และเป็นพิษต่อเซลล์ แต่ laccaic acid A ออกฤทธิ์จำเพาะโดยตรงต่อการยับยั้ง Dnmt1 และมีความเป็นพิษต่ำ จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้พัฒนาเป็นยารักษามะเร็งได้ต่อไป (Fagan, et al., 2013)

ฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อยีน

       การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อยีนของยางครั่ง ทดสอบโดยใช้แมลงหวี่ ระยะ 3 (instar larvae) ทดสอบด้วยวิธี DNA repair assay ดูอัตราความเสียหายของดีเอ็นเอ โดยใช้สารก่อมะเร็ง และทำให้เกิดพิษต่อยีนของแมลงหวี่รวม 8 ชนิด ได้แก่ 2-amino-3-methylimidazo[4,5-f]quinoline(IQ), 2-amino-3,8-dimethylimidazo[4,5-f]quinoxaline(MeIQx), aflatoxin B1(AFB1), N-nitrosodimethylamine (NDMA), 2-acetylaminofluorene (2-AAF), 7,12-dimethylbenzo[a]anthracene (DMBA), 4-nitroquinoline N-oxide (4NQO) และ N-methyl-N-nitrosourea (MNU) ผลการทดสอบพบว่ายางครั่งมีฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อยีนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถยับยั้งสารที่เป็นพิษต่อยีนได้ 5 ชนิด คือ IQ, MeIQx, AFB1, 2-AAF และ DMBA ได้ โดยสรุป lac color ซึ่งเป็นสารแอนทราควิโนน มีสีส้มแดง สกัดจากได้จากครั่ง มีฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมได้ (Takahashi, et al., 2001)

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

      การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร laccaic acid (แยกได้จากยางครั่ง) และสาร aluminum lac lake ของสาร laccaic acid (lake คือทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะ aluminum ทำให้สีไม่ละลายน้ำ และการย้อมสีดีขึ้น) ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่วิธีการต้านอนุมูลอิสระ DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) assay, reducing power (วิเคราะห์หาความสามารถในการรีดิวซ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ) และ thiocyanate method (เป็นการทดสอบความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชันของกรดไขมันไลโนเลอิก) โดยใช้ butylated hydroxytoluene (BHT), ascorbic acid และ gallic acid เป็นสารมาตรฐาน   ผลการตรวจสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า laccaic acid และสาร aluminum lac lake สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH ได้ดี โดยมีค่า EC50 ของสาร laccaic acid, aluminumlake, BHT, ascorbic acidและ gallic acid เท่ากับ 0.38, 1.63, 0.57, 0.14 และ 0.05 mg/ml ตามลำดับ โดย laccaic acids ออกฤทธิ์ได้ดีกว่า aluminumlake และ BHT แต่ออกฤทธิ์ได้น้อยกว่าสาร ascorbic acid และ gallic acid   การตรวจสอบด้วยวิธี reducing power พบว่า สาร laccaic acid มีความสามารถในการรีดิวซ์อนุมูลอิสระได้มากกว่า aluminumlake และ BHT แต่น้อยกว่า ascorbic acid   การตรวจสอบการยับยั้ง lipid peroxidation ด้วยวิธี thiocyanate method พบว่า สาร laccaic acid มีค่าร้อยละของการยับยั้ง lipid peroxidation ต่ำกว่า aluminumlake โดยมีค่าเท่ากับ 29.9 และ 43.8% ตามลำดับ แต่มีฤทธิ์ดีกว่า ascorbic acid (ค่าการยับยั้งของ ascorbic acid และ BHTเท่ากับ 24.6 และ 61.2% ตามลำดับ)   โดยสรุปทั้ง laccaic acid และ aluminum lac lake มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดย aluminum lac lake มีฤทธิ์ดีในการยับยั้ง lipid peroxidation ในระบบที่ไม่ละลายน้ำ ส่วน laccaic acid ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีในระบบที่เป็นน้ำ หรือมีความเป็นขั้วสูงกว่า จึงสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในอาหาร และเครื่องสำอางได้ต่อไป (Jimtaisong, et al., 2013)

       การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดที่ได้จากยางครั่ง ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบฤทธิ์ด้วยวิธีทางเคมี โดยใช้วิธีการต้านอนุมูลอิสระ DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl), ABTS+ (2,2'-azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonic acid) และ O2-assay ผลการทดสอบพบว่า ในการตรวจสอบด้วยอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS+สารสกัดที่ได้จากครั่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 68 และ 87% ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าวิตามินซี ซึ่งเป็นสารมาตรฐานในการทดสอบนี้ โดยมีค่าเท่ากับ 0.20 และ 3.42 เท่า ของวิตามินซี ตามลำดับ แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ O2- (Zhang, et al., 2012)

 

การศึกษาทางคลินิก:        -

การศึกษาทางพิษวิทยา:    -

 

เอกสารอ้างอิง:

1. มนตรา ไชยรัตน์. การสกัดและศึกษาองค์ประกอบของสีจากครั่งในประเทศไทย และการพัฒนาการย้อมสีครั่งบนไหมและฝ้าย. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.  2547.

2. Fagan RL, Cryderman DE, Kopelovich L, Wallrath LL, Brenner C. Laccaic acid A is a direct, DNA-competitive inhibitor of DNA methyltransferase 1. Journal of Biological Chemistry. 2013;288(33):23858-23867.

3. Jimtaisong A, Janthadee R, Nakrit T. In vitro antioxidant activities of laccaic acids and its aluminumlake. Food Sci Biotechnol. 2013;22(4):1055-1061.

4. Takahashi E, Marczylo TH, Watanabe T, Nagai S, Hayatsu H, Negishia T. Preventive effects of anthraquinone food pigments on the DNA damage induced by carcinogens in Drosophila. Mutat Res/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis. 2001;480-481:139-45.

5. Zhang H, Fang G-g, Zheng H, GuoY-h, LiK. Study on the antioxidation of Lac Dye. Applied Mechanics and Materials. 2012;140:451-458.

 

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ครั่ง

...

Other Related ครั่ง

ข้อมูล ครั่ง จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


เชลแล็ก ครั่ง (อังกฤษ: En:Lac ) คือแมลงจำพวกเพลี้ยหลายชนิดที่อยู่ในวงศ์ Kerridae อาทิ Laccifer lacca[1] ถือว่าเป็นแมลงที่เป็นศัตรูต่อพืชตามธรรมชาติ ที่จะใช้งวงปากเจาะเพื่อดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ ประเภทไม้เนื้อแข็ง แต่ว่ากลับเป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างมากนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ครั่งจะขับสารชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเหมือนยางหรือชันออกมาไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรู ซึ่งสารที่ขับถ่ายออกมานี้เรียกว่า "ครั่งดิบ" ตามชื่อเรียก สารนี้มีสีแดงม่วง ลักษณะคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองแก่ หรือยางสีส้ม ซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์กันมานานกว่า 4,000 ปี แล้วในหลายอารยธรรม โดยใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง, โรคลมขัดข้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการทำเชลแล็ก, แลกเกอร์, เครื่องใช้, เครื่องประดับต่าง ๆ, ย้อมสีผ้า สีโลหะ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนใช้ประทับในการไปรษณีย์ขนส่งหรือตราประทับเอกสารทางราชการใด ๆ[2] ปัจจุบันครั่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของหลาย ๆ ประเทศ อาทิ อินเดีย, ไทย[3] ซึ่งมีการเลี้ยงในเชิงเกษตร มีราคาขายที่แพงมาก [4] อ้างอิง

↑ คลั่งคืออะไร ↑ เกี่ยวกับครั่งและการประทับตราในเอกสารโบราณ จากพันทิปดอตคอม ↑ ครั่ง จากสนุกดอตคอม ↑ "เลี้ยงครั่ง' อาชีพเพื่อเกษตรกร ตลาดต้องการสูง-ร่วมอนุรักษ์ : โดย ... กวินทรา ใจซื่อ จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13 . ดคกผลผลิตจากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้ผลผลิตจากสัตว์ ขนสัตว์ น้ำผึ้ง Wild game เบอร์รีผลไม้ บลูเบอร์รี สาเก เมล็ดโกโก้ มะพร้าว ทุเรียน Gambooge Huckleberry ขนุน จูนิเปอร์ มะขาม ใบพืชรากพืช พลู Fiddlehead ferns Mahuwa flowers สาคู (queen) Sassafras (รูตเบียร์) ปาล์มเลื้อย โสม เห็ด Bare-toothed russula Bay bolete Birch bolete พอร์ชินี Chanterelle Honey mushroom หลินจือ มัตสึตาเกะ Meadow mushroom Morel นางรม Parasol mushroom Red cap Saffron milk cap Slippery jack ทรัฟเฟิล Yellow knight ถั่วเครื่องเทศ ออลสไปซ์ หมาก ใบกระวาน พริกไทย บราซิลนัต อบเชย กานพลู เฮเซลนัต Malva nut จันทน์เทศ ไพน์นัต วานิลลา น้ำมันพืชไข คาร์นอบา Chaulmoogra (Hydnocarpus wightiana) เนยโกโก้ ยูคาลิปทอล น้ำมันยูคาลิปตัส Japan wax Kokum Kusum Mahuwa Nagkesar น้ำมันปาล์ม (kernel) Pongamia Phulwara Pilu Sal-seed (Shorea robusta) น้ำมันจันทน์ เนยเชีย Tea-seed Tea-tree Vateria indica ยางไม้ Benzoin Birch-tar การบูร Creosote กำยาน รง Kauri แลคเกอร์ แมสติก มดยอบ Pine tar Pitch ยางสน น้ำมันสน ครั่ง ยางรัก น้ำเลี้ยง / Gum และอื่น ๆ Birch syrup หมากฝรั่ง น้ำตาลจาก น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอินทผลัม น้ำเชื่อมผลไม้ Gum arabic Gutta-percha Kino น้ำยาง น้ำเชื่อมเมเปิล น้ำตาลปึก Palm wine (akpeteshie ogogoro) ยาง Spruce gum อื่น ๆ ไผ่ (หน่อไม้) Birch bark Birch beer ไม้ก๊อก เฟิร์น Forage Gambier มอสส์ สีธรรมชาติ (เทียนกิ่งขาว) พีต ควินิน หวาย เชลแล็ก Tanbark (แทนนิน) Thatching Tendu leaves Willow bark บทความสัตว์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ครั่ง&oldid=10250729"
.

สมุนไพรอื่นๆ

63

เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง ชื่อเครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเถาวัลย์เปรียงขาว ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา ชื่อวิทยาศาสตร์Derris scandens (Roxb.) Benth ชื่อพ้องBrachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia timoriensis DC., Deguelia tim...

187

ขิงแห้ง
ขิงแห้ง ชื่อเครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา- ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)- ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber ligulatum Roxb. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ ขนาดยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในมีสีขาวแกมม่วงอ่อนๆ เน...

65

เทียนเกล็ดหอย
เทียนเกล็ดหอย ชื่อเครื่องยาเทียนเกล็ดหอย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ดแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนเกล็ดหอย (Ispaghula seed) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Plantago ovata Forssk. ชื่อพ้องP. ispaghula ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมัน ลื่น เรียบไม่มีขน มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมชมพู ขน...

140

หนาด
หนาด ชื่อเครื่องยาหนาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหนาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Blumea balsamifera (L.) DC. ชื่อพ้องBlumea grandis DC., Baccharis salvia ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม กว...

27

โกฐเขมา
โกฐเขมา ชื่อเครื่องยาโกฐเขมา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐเขมา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐหอม, ซังตุ๊ก, ชางจู๋ ชื่อวิทยาศาสตร์Atractylodes lancea (Thunb.) DC. ชื่อพ้องAcarna chinensis Bunge, Atractylis chinensis (Bunge) DC., Atractylis erosodentata (Koidz.) Arènes, Atractylis lancea Thunb., Atractylis lyrata (Siebold & Zucc.) Hand.-Mazz., Atractylis separata L.H.Bailey, Atractylodes chinensis (Bunge) Koidz., Atractylodes er...

56

ดองดึง
ดองดึง ชื่อเครื่องยาดองดึง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาดองดึง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คมขวาน บ้องขวาน หัวขวาน (ชลบุรี) ก้ามปู ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (กลาง) พันมหา (นครราชสีมา) มะขาโก้ง (เหนือ) ดองดึงหัวขวาน ด้ามขวาน หัวฟาน ชื่อวิทยาศาสตร์Gloriosa superba L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Colchicaceae (Liliaceae) ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็...

76

บอระเพ็ด
บอระเพ็ด ชื่อเครื่องยาบอระเพ็ด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถาที่โตเต็มที่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบอระเพ็ด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาฮอ (หนองคาย) จุ่งจิง (เหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย) ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน(สระบุรี) หางหนู(สระบุรี อุบลราชธานี) จุ้งจาลิงตัวแม่ เจตมูลย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson ชื่อพ้องTinospora tuberculata Miers, Tinospora rumphii Boerl., Tinospora nudiflora ชื่อวงศ์Menispermaceae ล...

16

กวาวเครือแดง
กวาวเครือแดง ชื่อเครื่องยากวาวเครือแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากวาวเครือแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง ชื่อวิทยาศาสตร์Butea superba Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            หัวใต้ดิน รูปทรงกระบอกยาว มีหลายขนาด เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางสีแดงข้น คล้ายเลือดไหลออกมา ...

182

ช้าพลู
ช้าพลู ชื่อเครื่องยาช้าพลู ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ใบ ทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาช้าพลู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักอีเลิด (อีสาน) นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง ผักอีไร (เหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ผักแค ชื่อวิทยาศาสตร์Piper sarmentosum Roxb. ชื่อพ้องPiper albispicum C. DC., P. baronii C. DC., P. brevicaule C. DC., P. lolot C. DC., P. pierrei C. DC., P. saigonense ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...

Dr Gunyamol ep 141 เตือน 17 สมุนไพร ที่อาจมีผลกับไต

Dr Gunyamol ep 141 เตือน 17 สมุนไพร ที่อาจมีผลกับไต

Dr Gunyamol ep 141 เตือน 17 สมุนไพร ที่อาจมีผลกับไต

View
สุดยอด เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตกลับมาเดินได้ แก้เส้นยึดเอ็นตรึง สมุนไพรหาง่ายๆใกล้บ้าน สมุนไพรไทยรักษาโรค

สุดยอด เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตกลับมาเดินได้ แก้เส้นยึดเอ็นตรึง สมุนไพรหาง่ายๆใกล้บ้าน สมุนไพรไทยรักษาโรค

สุดยอด เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตกลับมาเดินได้ แก้เส้นยึดเอ็นตรึง สมุนไพรหาง่ายๆใกล้บ้าน สมุนไพรไทยรักษาโรค

View
โรคกระเพาะรักษาครั้งเดียวหายขาด สมุนไพรง่ายๆ วิธีง่ายๆ

โรคกระเพาะรักษาครั้งเดียวหายขาด สมุนไพรง่ายๆ วิธีง่ายๆ

โรคกระเพาะรักษาครั้งเดียวหายขาด สมุนไพรง่ายๆ วิธีง่ายๆ

View
อยากสวย EP:111 | (♡Review14) สมุนไพรศรีจันทร์ตัวดังในTiktok วิธีต้มสมุนไพรศรีจันทร์ #สมุนไพรลดพุง

อยากสวย EP:111 | (♡Review14) สมุนไพรศรีจันทร์ตัวดังในTiktok วิธีต้มสมุนไพรศรีจันทร์ #สมุนไพรลดพุง

อยากสวย EP:111 | (♡Review14) สมุนไพรศรีจันทร์ตัวดังในTiktok วิธีต้มสมุนไพรศรีจันทร์ #สมุนไพรลดพุง

View
Review​ | สมุนไพรช่อฟ้า​ |ใครท้องผูก​ ถ่ายยาก​ หน้าท้องใหญ่​‼️หม้อนี้.. สูตรเด็ด‼️ทะลายพุง​ผ

Review​ | สมุนไพรช่อฟ้า​ |ใครท้องผูก​ ถ่ายยาก​ หน้าท้องใหญ่​‼️หม้อนี้.. สูตรเด็ด‼️ทะลายพุง​ผ

Review​ | สมุนไพรช่อฟ้า​ |ใครท้องผูก​ ถ่ายยาก​ หน้าท้องใหญ่​‼️หม้อนี้.. สูตรเด็ด‼️ทะลายพุง​ผ

View
ริดสีดวงทวาร2ครั้ง3วันหายขาด100%ด้วยสมุนไพร

ริดสีดวงทวาร2ครั้ง3วันหายขาด100%ด้วยสมุนไพร

ริดสีดวงทวาร2ครั้ง3วันหายขาด100%ด้วยสมุนไพร

View
สมุนไพรที่กำลังกลับมาดังอีกครั้ง กลิ้งกลางดง(อีลุ่มปุมเป้า)สรรพคุณทางยามากกว่า50สรรพคุณ

สมุนไพรที่กำลังกลับมาดังอีกครั้ง กลิ้งกลางดง(อีลุ่มปุมเป้า)สรรพคุณทางยามากกว่า50สรรพคุณ

สมุนไพรที่กำลังกลับมาดังอีกครั้ง กลิ้งกลางดง(อีลุ่มปุมเป้า)สรรพคุณทางยามากกว่า50สรรพคุณ

View
Rama Focus 13 ก.ค.61 แถลงข่าวมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 15

Rama Focus 13 ก.ค.61 แถลงข่าวมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 15

Rama Focus 13 ก.ค.61 แถลงข่าวมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 15

View
Rama Focus สธ.จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” 22.2.2562

Rama Focus สธ.จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” 22.2.2562

Rama Focus สธ.จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย” 22.2.2562

View
ทำความสะอาดเครื่องยาสมุนไพร ก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง

ทำความสะอาดเครื่องยาสมุนไพร ก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง

ทำความสะอาดเครื่องยาสมุนไพร ก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับครั่ง
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่