Menu

สะระแหน่

ชื่อเครื่องยา

สะระแหน่

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ทั้งต้น

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

สะระแหน่

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

สะระแหน่ต้น ต้นน้ำมันหม่อง (ไทย) หอมด่วน (พายัพ) สะแน่ (ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.

ชื่อพ้อง

Mentha × villosa Huds., Mentha x amaurophylla Timb.-Lagr., M. x benthamiana Timb.-Lagr., Mentha × billotiana Déségl. & T.Durand, M. x bolzanensis Heinr.Braun, M. x chloreilema (Briq.) Heinr.Braun, M. x chlorostachya Gand. ex Heinr.Braun, M. x controversa Pérard ex Heinr.Braun, M. x dossiniana Déségl. & T.Durand, M. x dumortieri Déségl .& T.Durand, M. x emarginata Rchb., M. x floccida Déségl., M. x genevensis (T.Durand ex Déségl.) Déségl. & T.Durand, M. x gillotii Déségl. & T.Durand, M. x gratissima Weber, M. x incanescens Heinr. Braun, M. x lamarckii Ten., M. x lamyi Malinv., M. x latifrons Heinr.Braun, M. x longistachya Timb.-Lagr., M. x lycopifolia Gillot, M. x malyi Heinr.Braun, M. x moesiaca Borbás, M. x morrenii Déségl. & T.Durand, M. x mosoniensis Heinr.Braun, M. x nicholsoniana Strail, M. x niliacea Vahl, M. x nouletiana Timb.-Lagr., M. x pascuicola Déségl. & T.Durand, M. x pulverulenta Strail, M. x rhenana Topitz, M. x rigoi Heinr.Braun, M. x scotica R.A. Graham, M. x similis

ชื่อวงศ์

Lamiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          ใบเดี่ยวรูปไข่ หรือรูปวงรีกว้าง ค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลี่อย ผิวใบย่น เป็นร่องลึกตามแนวเส้นใบ คล้ายตาข่าย ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะ ขยี้ใบดมจะมีกลิ่นฉุนคล้ายเมนทอล  

 

เครื่องยา สะระแหน่

 

เครื่องยา สะระแหน่

 

เครื่องยา สะระแหน่

 

 

สะระแหน่ (Mentha   ×   cordifolia Opiz ex Fresen.)

 

 

สะระแหน่ (Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.)

 

 

สะระแหน่ฝรั่ง   (Mentha × piperita L.)

 

 

 

 

สะระแหน่ฝรั่ง (Mentha × piperita L.)

 

 

สะระแหน่ญวณ (Mentha spicata L.)

 

 

สะระแหน่ญวณ (Mentha spicata L.)

 

 

สะระแหน่ญวณ (Mentha spicata L.)

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:-

         

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย  ใบรสหอมร้อนขับเหงี่อ แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ พอกหรือทา แก้ปวดบวม ผื่นคัน ฆ่าเชื้อโรค ทั้งต้นและใบ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศรีษะ ดมแก้ลม ยาชงจากใบใช้ดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร ใบขยี้ทาภายนอกแก้พิษแมลงต่อย

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้สะระแหน่ทั้งต้น ในตำรับ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของสะระแหน่ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:         -

 

องค์ประกอบทางเคมี:              

        มีองค์ประกอบหลักเป็นสารเมนทอล (menthol)

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ลดความดันโลหิต

      ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากใบจากสะระแหน่ ในการการลดความดันโลหิตจากการเหนี่ยวนำด้วย NG-nitro-L-arginine methyl ester (L-NAME) โดยการป้อนหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawleyด้วย L-NAME ในน้ำดื่ม ในขนาด 50 mg/kg ต่อวัน เพื่อเหนี่ยวนำให้หนูมีความดันโลหิตสูง ร่วมกับการป้อนสารสกัดน้ำจากใบสะระแหน่ในขนาด 200 mg/kg ต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากสะระแหน่ สามารถลดค่าความดันโลหิตได้ร้อยละ 16.7 โดยมีค่าความดันโลหิต Diastolic*, systolic** และอัตราการเต้นของหัวใจ** ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (*p<0.001,  **p<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ L-NAME)  นอกจากนี้ยังทำให้ระดับสารมาลอนไดอัลดีไฮ ที่บ่งชี้การเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) และอนุมูลอิสระ superoxide ที่เนื้อเยื่อหลอดเลือดลดลงในหนูที่มีความดันโลหิตสูง (Pakdeechote, et al., 2011)

ฤทธิ์บรรเทาอาการปวด

       ทดสอบฤทธิ์ลดอาการปวดของสารสกัดเฮกเซน และเอทิลอะซิเตตจากใบสะระแหน่ (Mentha cordifolia) โดยการให้กรดอะซีติกเหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องหนูถีบจักร ด้วยวิธี writhing test ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดสามารถลดการเกิด writhing ในหนู ได้ร้อยละ  81.4 และ 71.0  ตามลำดับ จึงได้นำสารสกัดเฮกเซนซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่ามาแยกส่วนสกัดย่อยได้ทั้งสิ้น 10 ส่วนสกัด ผลการทดสอบฤทธิ์ชีวภาพพบว่าส่วนสกัดย่อย FB6 ในขนาด 0.25 mg/g มีฤทธิ์ลดปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถลดการเกิด writhing ได้ร้อยละ  60.6 ผลการแยกส่วนสกัดย่อย FB6 ได้สารบริสุทธิ์  menthalactone เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี writhing test ผลการศึกษาพบว่า menthalactone ในขนาด 0.1 mg/g และกรดมีเฟนามิค ซึ่งเป็นยามาตรฐาน ในขนาด 0.007 mg/g สามารถลดการเจ็บปวดที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติกได้ร้อยละ 67.3 และ 73.0 ตามลำดับ (Villaseñor and Sanchez, 2009)

ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

      ทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ต่อยาเตตราซัยคลิน ด้วยวิธีไมโครนิวเคลียส  ของสารสกัดคลอโรฟอร์มจากสะระแหน่ โดยใช้หนูถีบจักรสายพันธุ์ Swiss Webster albino ใช้ยา tetracycline ฉีดเข้าช่องท้องหนูเพื่อกระตุ้นการก่อกลายพันธุ์ บันทึกผลจากจำนวนไมโครนิวเคลียสที่เกิดขึ้นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มจากสะระแหน่ สามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์จากยาเตตราซัยคลินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 68.7%โดยมีค่าเฉลี่ยของการเกิดไมโครนิวเคลียส (MN) คือเซลล์ที่เป็นตัวบ่งชี้การเกิดความเสียหายต่อโครโมโซม ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่ (PCE) แปลผลจากค่าเฉลี่ย MN-PCE per 1000 PCE พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์ม และยาเตตราซัยคลิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.33±0.71 และ 7.44±0.54 ตามลำดับ เมื่อให้สารทดสอบในขนาด 0.01* และ 1.1 mg/20 g ตามลำดับ (*p<0.001 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะยาเตตราซัยคลิน) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มจากสะระแหน่ที่ใช้ทดสอบ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อให้เดี่ยว ในขนาด 0.01 mg/20g (p<0.001) เนื่องจากมีค่าเฉลี่ย MN-PCE per 1000 PCE เท่ากับ 2.42±0.90 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าเมื่อให้เฉพาะยา tetracycline ค่อนข้างมาก เมื่อแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดคลอโรฟอร์มพบสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ สาร 6,7-bis-(2,2-dimethoxyethene)-2,11-dimethoxy-2Z,4E,8E,10Z-dodecatetraendioic acid ซึ่งคาดว่าจะเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการต้านการก่อกลายพันธุ์ในการทดสอบครั้งนี้ (Villaseñor, et al., 2002)

 

การศึกษาทางคลินิก:                -

อาการไม่พึงประสงค์:               -

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:           -

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Pakdeechote P, Kukongviriyapan U, Berkban W, Prachaney P, Kukongviriyapan V, Nakmareong S. Mentha cordifolia extract inhibits the development of hypertension in L-NAME-induced hypertensive rats. Journal of Medicinal Plants Research. 2011; 5(7):1175-1183.

2. Villaseñor IM, Echegoyen DE, Angelada JS. A new antimutagen from Mentha cordifolia Opiz. Mutation Research. 2002; 515: 141-146.

3.  Villaseñor IM, Sanchez AC. Menthalactone, a new analgesic from Mentha cordifolia Opiz. Leaves. Z Naturforsch. 2009; 64: 809-812.

 

ข้อมูลตำรับยาเลือดงาม  : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ สะระแหน่

...

Other Related สะระแหน่

ข้อมูล สะระแหน่ จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


สะระแหน่ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Magnoliopsida อันดับ: Lamiales วงศ์: Lamiaceae สกุล: Melissa สปีชีส์: M.  officinalis ชื่อทวินาม Melissa officinalis L. สะระแหน่ เป็นพืชในตระกูลวงศ์มินต์,วงศ์กะเพรา มีแหล่งกำเนิดมาจากแถบยุโรปตอนใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70 - 150 เซนติเมตร ส่วนใบจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว และทุก ๆ ปลายฤดูร้อนต้นสะระแหน่จะออกดอกสีขาว ๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำหอมและน้ำหวานอยู่ภายใน นี้ดึงดูดใจให้ผึ้งมาดูดน้ำหวาน จากเหตุนี้ทำให้สะระแหน่อยู่ในสกุลเมลิสซา (Melissa: ภาษากรีก แปลว่าน้ำผึ้ง) และยังมีรสชาติคล้ายคลึงกับ ตะไคร้หอม, มะนาวและแอลกอฮอล์ การเพาะปลูก[ แก้ ] สะระแหน่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย มันแค่ต้องการหญ้าหรือฟางมาคลุมไว้ด้านบนในช่วงที่อากาศหนาว ดินที่เหมาะสมในการปลูกคือดินร่วนปนทรายที่ซึ่งน้ำสามารถไหลซึมได้อย่างสะดวก สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่อย่างน้อยก่อนจะหมดเดือนพฤศจิกายน ชอบที่ที่มีแดดเพียงพอแต่ไม่มากจนเกินไปเช่นเดียวกับพืชตระกูลมิ้นต์ และเหมาะที่จะปลูกในสภาพอากาศที่แห้งและความชิ้นต่ำ จะโตได้ดีที่สุดในที่ร่มและยังสะดวกที่จะเพาะปลูกในกระถางในร่ม สามารถเพาะเป็นแบบเมล็ดโดยการหว่านกระจายไปให้ทั่วบริเวณ อุณหภูมิไม่เย็นจัดจนเกินไป ลำต้นจะเริ่มตายลงในช่วงฤดูหนาวและจะเริ่มงอกใหม่ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ยังเหมาะที่จะปลูกโดยไม่ใช้ดินและปักต้นกล้า และถ้าหากไม่คอยเอาใจใส่ดูแลให้ดี มันก็อาจจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ไปทั่วจนก่อให้เกิดความรกรุงรังและน่ารำคาญได้ ประโยชน์[ แก้ ] การทำครัว[ แก้ ] สะระแหน่มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม (Ice cream) และชาสมุนไพร ทั้งร้อนและเย็น และมักผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นเช่น สเปียร์มินต์ อีกทั้งยังเหมาะในการเป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สดและขนมหวาน อาหารที่นิยมใช้สะระเหน่เป็นส่วนประกอบ เช่น ยำ และ ลาบ เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหารมากขึ้น ประโยชน์และสรรพคุณทางยา[ แก้ ] มักนำใบสะระแหน่มาบดแล้วทาลงบนผิวหนังจะทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นอีกทั้งยังช่วยไล่ยุง นอกจากนี้ยังใช้ทำยาผสมลงไปในชาสมุนไพรหรือคั้นน้ำมาผสมลงในเครื่องดื่ม สะระแหน่ยังสามารถนำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะและยังใช้เป็นตัวขับไล่อนุมูลอิสระออกจากร่างกาย อีกทั้งยังใช้เป็นยาเย็นและใช้เป็นยาคลายความเครียด และมีงานวิจัยอย่างน้อยชิ้นหนึ่งระบุว่ามันช่วยคลายความกดดันของกล้ามเนื้ออันมาจากความเหนื่อยล้าและความเครียด สะระแหน่ยังใช้ไปทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการทำสุคนธบำบัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ องค์ประกอบทางเคมี[ แก้ ] สะระแหน่ประกอบไปด้วยยูเจนอลที่สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น สมุดภาพ[ แก้ ] ภาพวาด ใบ ใบ ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=สะระแหน่&oldid=11011418"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ สะระแหน่

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

254

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง 
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง  (Mentha piperita  L.) และน้ำมันเขียว  Myrtus communis  L. ในการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง และน้ำมันเขียว พบว่าองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่งคือ alpha-terpinene, isomenthone, trans-carveol, pipertitinone oxide และ beta-caryophyllene ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากน้ำมันเขียว องค์ประกอบหลักคือ alpha-pinene, limonene, 1,8-cineole และ linalool เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าน้ำมันหอมระเห...

1284

ฤทธิ์ไล่ยุงของน้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา
ฤทธิ์ไล่ยุงของน้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา สะระแหน่ฝรั่ง ยูคาลิปตัส และเนียมหูเสือทดสอบฤทธิ์ไล่ยุง (repellent activity) ของน้ำมันหอมระเหยจากใบสดของสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ กะเพรา (Ocimum sanctum), สะระแหน่ฝรั่ง (Mentha piperita), ยูคาลิปตัส (Eucalyptus globulus) และเนียมหูเสือ (Plectranthus amboinicus) ที่สกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (hydrodistillation) และเตรียมเป็นสารละลายน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรแต่ละชนิดความเข้มข้นร้อยละ 20 ในเอทานอล และสารละลายน้ำมันหอมระเหยผสมของสมุนไพรทั้งสี่ชนิดในอัตราส่วนเท่ากัน...

1381

ผลในการบรรเทาอาการโรคลำไส้แปรปรวน
ผลในการบรรเทาอาการโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ของขมิ้นและว่านชักมดลูกการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ทั้งหญิงและชายอายุ 18-70 ปี จำนวน 99 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูล (soft gel) ตำรับสมุนไพรIQP-CL-101 (Xanthofen) ที่มีส่วนผสมหลัก คือ สารเคอคิวมินอยด์ (curcuminoids) จากขมิ้น (Curcuma longa) และน้ำมันหอมระเหยจากว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhiza) ปริมาณรวม 330 มก. และส่วนผสมอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปลา (fish oil) 70 มก. น้ำมันสะระแหน่ (peppermint...

631

การศึกษาและพัฒนาหมากฝรั่งสารสกัดหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่
การศึกษาและพัฒนาหมากฝรั่งสารสกัดหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่การศึกษาพัฒนาหมากฝรั่งที่มีส่วนประกอบของสารสกัดหญ้าดอกขาว (หญ้าละออง) โดยประเมินการปลดปล่อยสารสำคัญ ลักษณะเนื้อหมากฝรั่ง และความพึงพอใจในหมากฝรั่งทั้งกลิ่น สี รสชาติและลักษณะทางกายภาพโดยอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ ตำรับหมากฝรั่งประกอบด้วย สารสกัดของหญ้าดอกขาว (เตรียมโดยการแช่ผงสมุนไพรในน้ำ และนำสารละลายไปให้เป็นของแข็งโดยเครื่องทำแห้งเยือกแข็ง (freeze dry)) ไซลิทอล (สารให้ความหวาน) ซอร์บิทอลและกลีเซอริน (สารให้ความอ่อนนุ่ม) น้ำมันสะระแห...

312

ผลของสะระแหน่ญวนต่อระดับฮอร์โมนในผู้หญิงขนดก
ผลของสะระแหน่ญวนต่อระดับฮอร์โมนในผู้หญิงขนดกการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะขนดก จำนวน 21 คน อายุระหว่าง 18-40 ปี (เฉลี่ย 22.2 ± 6.2 ปี มีระดับคะแนนขนดกอยู่ในช่วง 8-23 ผู้ป่วย 12 คน เป็นโรค polycystic ovary syndrome และอีก 9 คน มีภาวะขนดกโดยไม่รู้สาเหตุ ทุกคนได้รับการทดลองโดยต้องดื่มชาสะระแหน่ญวน ขนาด 250 มิลลิลิตร (แช่สะระแหน่ญวนขนาด 5 กรัม ในน้ำร้อน 250 มิลลิลิตร นาน 5 - 10 นาที) วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน ในระยะที่มีการตกไข่ของรอบเดือน พบว่า หลังจาก 5 วันของการทดลอง ระดับฮอร์โมน free te...

644

ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมในหนูแรท
ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมในหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งที่ความเข้มข้น 1 - 300 ไมโครกรัม/มล. ในกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมของหนูแรทเพศผู้ โดยเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดตัวด้วยสารคาบาคอล (cabachol) ขนาด 10 ไมโครโมลาร์ นาน 10 นาที ในแต่ละช่วง พร้อมกับให้หรือไม่ให้ indomethacin (สารยับยั้งการสร้างพรอสต้าแกลนดิน 10 ไมโครโมลาร์), L-N-metyl-nitro-arginine (สารยับยั้ง K+ channel 100 ไมโครโมลาร์), hexamethonium (สารยับยั้งการสร้า...

1355

ฤทธิ์บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยของสะระแหน่ญวน
ฤทธิ์บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยของสะระแหน่ญวนการศึกษาแบบแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง (randomized double-blind placebo-controlled trial) ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคอาหารไม่ย่อยตามเกณฑ์วินิจฉัย Rome III จำนวน 100 คน สุ่มให้รับประทานแคปซูลสารสกัด 70% เอทานอลจากใบสะระแหน่ญวน (Mentha pulegium L.) ขนาด 330 มก. วันละ 3 ครั้ง หรือยาหลอก ร่วมกับการรับประทานยาฟาโมทิดีน (famotidine) ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร วันละ 40 มก. เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าสารสกัดจากใบสะระแหน่ญวนสามารถบรรเทาอาการโดยรวมของโรคอาหารไม่ย่อยได้อย่างมี...

1250

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 9...

107

ผลของสะระแหน่ฝรั่งต่อภาวะจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
ผลของสะระแหน่ฝรั่งต่อภาวะจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ สารสกัดเอทานอล-น้ำ (1:1) จากใบและลำต้นสะระแหน่ฝรั่ง (Mentha piperata  L. ) ซึ่งได้กำจัดน้ำมันหอมระเหยออกแล้ว มีผลยับยั้งการปลดปล่อยฮีสตามีน (histamine) จาก mast cell ของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งฮีสตามีนด้วยสาร 48/80 (ในหลอดทดลอง) เมื่อนำสารสกัดดังกล่าว มากำจัดไขมันและนำมาผ่านคอลัมน์โครมาโตกราฟฟีโดยใช้สารสกัดเอทานอล-น้ำ (1:1) เป็น eluent eluent ที่รวบรวมได้ใช้เป็นสารสกัดตัวอย่างศึกษาใ...

695

สารทดแทนเกลือจากพืช
สารทดแทนเกลือจากพืชรสเค็มที่เราได้จากการบริโภคเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มีความสำคัญต่อระบบรับความรู้สึกของมนุษย์ แต่การบริโภคเกลือมากเกินไปจะทำให้ระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาสารทดแทนเกลือที่มีระดับโซเดียมต่ำ โดยการนำพืชจำนวน 13 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยผลแห้งของ Magnolia (Schizandra chinensis  ) ผลแห้งของเกากีฉ่าย (Lycium chinensis  ) ทั้งต้นของ Mushroom (Lemtinus sedodes  ) ใบแห้งของสะระแหน่ญี่ปุ่น (Mentha arvensis  L)...

630

การศึกษาและพัฒนาลูกอมสารสกัดหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่
การศึกษาและพัฒนาลูกอมสารสกัดหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่การศึกษาพัฒนาลูกอมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดหญ้าดอกขาว (หญ้าละออง) ซึ่งเตรียมโดยวิธีการตอกอัดโดยตรงหรือการทำแกรนูลเปียก โดยทำการศึกษาชนิดและปริมาณของสารปรุงแต่งในตำรับ รวมทั้งการทดสอบความแข็ง ความกร่อน ความแปรปรวนของน้ำหนัก การปลดปล่อยสารสกัดหญ้าดอกขาวจากลูกอม และการประเมินความพึงพอใจด้านกลิ่น รสชาติ ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์โดยอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ ในตำรับประกอบด้วย สารสกัดหญ้าดอกขาว (เตรียมโดยการแช่ผงสมุนไพรในน้ำ และนำสารละลายไปให้...

1611

ฤทธิ์ต้านความแก่จากแสงแดดของผิวหนังจากสารสกัดสะระแหน่เกาหลีในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากผิวหนังมนุษย์ที่ถูกรังสียูวีบี
ฤทธิ์ต้านความแก่จากแสงแดดของผิวหนังจากสารสกัดสะระแหน่เกาหลีในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากผิวหนังมนุษย์ที่ถูกรังสียูวีบีการทดสอบฤทธิ์ต้านความแก่จากแสงแดดของผิวหนังจากสารสกัดน้ำของส่วนเหนือดินของสะระแหน่เกาหลี (Agastache rugosa Kuntze) ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (fibroblasts) จากผิวหนังมนุษย์ที่ถูกรังสียูวีบี (UVB) พบว่าสารสกัดสะระแหน่เกาหลีมีฤทธิ์ลดการสร้างอนุมูลอิสระที่เพิ่มสูงขึ้นและกระตุ้นการแสดงออกของ mRNA ของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการส่งสัญญาณ mitogen-activated protein kinase/activator protein-1 อย่าง...

สมุนไพรอื่นๆ

17

กระทือ
กระทือ ชื่อเครื่องยากระทือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่สด หรือแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระทือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระทือ (ภาคกลาง) กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน) เฮียวดำ เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ชื่อพ้องAmomum silvestre Poir., A. spurium (J.Koenig) J.F.Gmel., A. zerumbet L., Cardamomum spurium (J.Koenig) Kuntze, Diete...

69

เทียนแดง
เทียนแดง ชื่อเครื่องยาเทียนแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Lepidium sativum L. ชื่อพ้องArabis chinensis Rottler ex Wight, Cardamon sativum (L.) Fourr., Crucifera nasturtium E.H.L.Krause, Lepia sativa (L.) Desv., Lepidium hortense Forssk., Lepidium spinescens DC., Nasturtium crispum Medik., Nasturtium sativum (L.) Moench, Nasturtium spinescens (DC.) Kuntze, Thlaspi sativum (L.) Crant...

194

สะระแหน่
สะระแหน่ ชื่อเครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะระแหน่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สะระแหน่ต้น ต้นน้ำมันหม่อง (ไทย) หอมด่วน (พายัพ) สะแน่ (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen. ชื่อพ้องMentha × villosa Huds., Mentha x amaurophylla Timb.-Lagr., M. x benthamiana Timb.-Lagr., Mentha × billotiana Déségl. & T.Durand, M. x bolzanensis Heinr.Braun, M. x chloreilema (Briq.) Heinr.Braun, M. x chlorostachya Gand. ...

75

บวบลม
บวบลม ชื่อเครื่องยาบวบลม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาจุกโรหินี ได้จากใบ ราก ทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบวบลม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จุกโรหินี กล้วยไม้ (เหนือ) บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี) เถาพุงปลา (ภาคตะวันออก ระยอง) พุงปลาช่อน (กลาง) นมตำไร(เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Dischidia major (Vahl) Merr. ชื่อพ้องDischidia rafflesiana ชื่อวงศ์Asclepiadaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบเดี่ยวเรีย...

156

พิมเสนต้น
พิมเสนต้น ชื่อเครื่องยาพิมเสนต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิมเสนต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ใบพิมเสน ผักชีช้าง ใบหลม ชื่อวิทยาศาสตร์Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ชื่อพ้องMentha auricularia Blanco, Mentha cablin Blanco, Pogostemon battakianus Ridl., Pogostemon comosus Miq., Pogostemon javanicus Backer ex Adelb., Pogostemon mollis Hassk., Pogostemon patchouly Pellet., Pogostemon tomentosus ชื่อวงศ์Lamiaceae ลักษ...

93

พิมเสน
พิมเสน ชื่อเครื่องยาพิมเสน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน ได้จากสารสกัดจากเนื้อไม้พืชสกุล Dryobalanops. สารสกัดจากใบพิมเสนต้น ใบหนาด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชสกุล Dryobalanops, พิมเสนต้น, หนาดหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae), พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth (วงศ์ Lamiaceae) ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ...

9

กะเพราแดง
กะเพราแดง ชื่อเครื่องยากะเพราแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ และยอด, ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากะเพราแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพรา กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง) ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Ocimum tenuiflorum L. ชื่อพ้องGeniosporum tenuiflorum (L.) Merr., Lumnitzera tenuiflora (L.) Spreng., Moschosma tenuiflorum (L.) Heynh., Oci...

120

ลิเภา
ลิเภา ชื่อเครื่องยาลิเภา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลิเภา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กูดเครือ กูดก้อง กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีน ต๊กโต (เหนือ); กระฉอก (ประจวบคีรีขันธ์); กะฉอด(ราชบุรี); ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์, ใต้); เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพมหานคร); หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครราชสีมา); หลีเภา (ใต้); ลิเภาย่อง กูดก๊อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี งอแง หมอยยายชี ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์Lygodium polystachyum Wall.ex Moore ...

43

คูน
คูน ชื่อเครื่องยาคูน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อในฝักแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเนื้อในฝักแก่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชัยพฤกษ์ ลมแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula L. ชื่อพ้องBactyrilobium fistula Willd., Cassia bonplandiana DC., C. excelsa Kunth, C. fistuloides Collad., C. rhombifolia Roxb., Cathartocarpus excelsus G.Don, Cathartocarpus fistula Pers., Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don, Cathartocarpus rhombifolius ชื่อวงศ์Legumonosae-Caesalpi...

Nava DIY | สะระแหน่ 5 สรรพคุณพิชิตโรค..!!  สมุนไพรไทยใบสะระแหน่

Nava DIY | สะระแหน่ 5 สรรพคุณพิชิตโรค..!! สมุนไพรไทยใบสะระแหน่

Nava DIY | สะระแหน่ 5 สรรพคุณพิชิตโรค..!! สมุนไพรไทยใบสะระแหน่

View
ต้องรู้ !! สะระแหน่ สมุนไพรพื้นบ้าน สุดมหัศจรรย์ | พี่ปลา Healthy Fish

ต้องรู้ !! สะระแหน่ สมุนไพรพื้นบ้าน สุดมหัศจรรย์ | พี่ปลา Healthy Fish

ต้องรู้ !! สะระแหน่ สมุนไพรพื้นบ้าน สุดมหัศจรรย์ | พี่ปลา Healthy Fish

View
เป็นโรคนี้อยู่ !!  รักษาด้วย "สะระแหน่" สรรพคุณสุดเจ๋ง ตำรายาไทยใช้มานาน  | Nava DIY

เป็นโรคนี้อยู่ !! รักษาด้วย "สะระแหน่" สรรพคุณสุดเจ๋ง ตำรายาไทยใช้มานาน | Nava DIY

เป็นโรคนี้อยู่ !! รักษาด้วย "สะระแหน่" สรรพคุณสุดเจ๋ง ตำรายาไทยใช้มานาน | Nava DIY

View
ดีจนต้องบอกต่อ !! สะระแหน่ สมุนไพรไทย หาง่าย ใกล้ตัว ราคาถูก | peppermint | พี่ปลา Healthy Fish

ดีจนต้องบอกต่อ !! สะระแหน่ สมุนไพรไทย หาง่าย ใกล้ตัว ราคาถูก | peppermint | พี่ปลา Healthy Fish

ดีจนต้องบอกต่อ !! สะระแหน่ สมุนไพรไทย หาง่าย ใกล้ตัว ราคาถูก | peppermint | พี่ปลา Healthy Fish

View
สะระแหน่ 4 โรคนี้ต้องกิน สรรพคุณสุดเจ๋ง ตำรายาไทยใช้มานาน | เห็ดฟาง

สะระแหน่ 4 โรคนี้ต้องกิน สรรพคุณสุดเจ๋ง ตำรายาไทยใช้มานาน | เห็ดฟาง

สะระแหน่ 4 โรคนี้ต้องกิน สรรพคุณสุดเจ๋ง ตำรายาไทยใช้มานาน | เห็ดฟาง

View
ปวดคอ - สมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้าน อาการปวดคอ ใบสะระแหน่ EP. 01 สมุนไพรสะระแหน่

ปวดคอ - สมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้าน อาการปวดคอ ใบสะระแหน่ EP. 01 สมุนไพรสะระแหน่

ปวดคอ - สมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้าน อาการปวดคอ ใบสะระแหน่ EP. 01 สมุนไพรสะระแหน่

View
สมุนไพร สะระแหน่ EP.1

สมุนไพร สะระแหน่ EP.1

สมุนไพร สะระแหน่ EP.1

View
สรรพคุณสมุนไพรไทยใบสะระแหน่รักษาสุขภาพ ทองปาน ปลูกผัก

สรรพคุณสมุนไพรไทยใบสะระแหน่รักษาสุขภาพ ทองปาน ปลูกผัก

สรรพคุณสมุนไพรไทยใบสะระแหน่รักษาสุขภาพ ทองปาน ปลูกผัก

View
น้ำสะระแหน่ใบเตย เครื่องดื่มชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ดื่มแล้วสดชื่น

น้ำสะระแหน่ใบเตย เครื่องดื่มชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ดื่มแล้วสดชื่น

น้ำสะระแหน่ใบเตย เครื่องดื่มชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ดื่มแล้วสดชื่น

View
7 ประโยชน์สะระแหน่ สรรพคุณสมุนไพรในครัว

7 ประโยชน์สะระแหน่ สรรพคุณสมุนไพรในครัว

7 ประโยชน์สะระแหน่ สรรพคุณสมุนไพรในครัว

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับสะระแหน่
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่