ชิงชี่
ชื่อเครื่องยา | ชิงชี่ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ราก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ชิงชี่ |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | กระดาดป่า (ชลบุรี) ชายชู้ หมากมก (ชัยภูมิ) หนวดแมวแดง (เชียงใหม่) คายซู (อุบลราชธานี) พญาจอมปลวก กระดาดขาว กระโรกใหญ่ กินขี้ จิงโจ้ แสมซอ ค้อนฆ้อง ซิซอ เม็งซอ ราม แส้ม้าทะลาย พุงแก น้ำนอง น้ำนองหวะ เม็งซอ พวงมะละกอ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Capparis micracantha DC. |
ชื่อพ้อง | Capparis bariensis Pierre ex Gagnep., C. billardieri DC., C. callosa Blume, C. donnaiensis Pierre ex Gagnep., C. forsteniana Miq., C. hainanensis Oliv., C. liangii Merr. & Chu, C. myrioneura Hallier f., C. odorata Blanco, C. petelotii Merr., C. roydsiifolia Kurz, C. venosa |
ชื่อวงศ์ | Capparaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเหลือง ผิวชรุขระเล็กน้อย พบร่องและรอยแตกตามยาว เนื้อไม้ตัดตามขวางสีเหลืองอ่อนๆ มีลายเป็นวงจางๆ
เครื่องยา รากชิงชี่
เครื่องยา รากชิงชี่
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
-
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย รากรสขมขื่น แก้โรคที่เกิดในท้อง ขับลมภายใน แก้ไข้ร้อนในทุกชนิด ไข้พิษ แก้โรคตา โรคกระเพาะ รักษามะเร็ง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ และเป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร แก้ไอเนื่องจากหลอดลมอักเสบ แก้หืด รากชิงชี่ใช้ใน “พิกัดเบญจโลกวิเชียร” (ยาแก้วห้าดวง หรือยาห้าราก) ซึ่งได้จากรากไม้ 5 ชนิดคือ รากชิงชี่ รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร และรากย่านาง มีสรรพคุณ แก้ไข้ต่างๆ กระทุ้งพิษหรือถอนพิษต่างๆ รากและใบ ใช้ภายนอก ตำพอกแก้ฟกบวม ทั้งต้น รสขื่นปร่า ตำพอกแก้ฟกช้ำ บวม แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ชิงชี่ในตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของรากชิงชี่ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา: -
องค์ประกอบทางเคมี: -
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
สารสกัดจากรากชิงชี่ด้วยเอทานอล นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ด้วยวิธี disc diffusion method โดยใช้สารสกัดขนาด 10 mg/disc พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อ β-streptococcus group A และ Pseudomonas aeruginosa ได้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่เชื้อไม่เจริญ เท่ากับ 18.2 และ 13.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ เชื้อ β-streptococcus group A ทำให้เกิดการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ไข้รูมาติก ช่องหูอักเสบ ไตอักเสบเฉียบพลันตามมาหลังการติดเชื้อ เป็นต้น เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ทำให้ปอดอักเสบ ปอดบวม ช่องหูอักเสบ เป็นต้น (อารีย์รัตน์ และคณะ, 2531)
การศึกษาทางคลินิก: -
อาการไม่พึงประสงค์: -
การศึกษาทางพิษวิทยา: -
เอกสารอ้างอิง:
อารีย์รัตน์ ลออปักษา, สุรัตนา อำนวยผล และวิเชียร จงบุญประเสริฐ. การศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (ตอนที่ 1). ไทยเภสัชสาร. 2531;13(1):23-36.
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com
ข้อมูลตำรับยาห้าราก : www.thai-remedy.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี