Menu

สะค้าน

ชื่อเครื่องยา

สะค้าน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เถา

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

สะค้าน

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ตะค้านเล็ก ตะค้านหยวก

ชื่อวิทยาศาสตร์

1. Piper interruptum Opiz , 2. Piper ribesioides Wall. 3. Piper wallichii (Miq.) Hand.-Mazz.

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์

Piperaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          เถาแห้งสีน้ำตาล ทรงกระบอก ผิวขรุขระ มีข้อปล้อง หน้าตัดตามขวงมีลายเส้นเป็นแนวรัศมี เปลือกค่อนข้างอ่อน เนื้อสีเหลืองน้ำตาล มีรากฝอยติดอยู่ตามข้อ ยาว 2-6 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสเผ็ดร้อน

 

เครื่องยา เถาสะค้าน

 

เครื่องยา เถาสะค้าน

 

เครื่องยา เถาสะค้าน

 

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ลำต้นสะค้าน (Piper wallichii (Miq.) Hand.-Mazz.) ปริมาณความชื้นไม่เกิน 8% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2 % w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 9% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอลไม่น้อยกว่า 6% w/w ปริมาณสารสกัดน้ำไม่น้อยกว่า 25% w/w (THP)

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย เถา รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้จุกเสียด บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ และใช้ปรุงยาธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นตัวยาประจำธาตุลม

         บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้สะค้านในตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของเถาสะค้านร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:       -

 

องค์ประกอบทางเคมี:

          ลำต้นสะค้านพลูที่แห้ง (Piper ribesioides Wall.) นำมาสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ นำสิ่งสกัดที่ได้มาแยกด้วยคอลัมน์โครมาโทรกราฟีแบบรวดเร็ว สามารถแยกสารประกอบได้ 7 ชนิด จากสมบัติทางกายภาพ และข้อมูลทางสเปกโทรสโคปี สามารถทราบโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบได้ 7 ชนิด คือ methyl-5-(3’, 4’-methylenedioxyphenyl) penta-2-4-dienoate (m.p. 141-143°C, C13H12O4, ผลึกรูปเข็มสีเหลือง), 2-(3’-hydroxy-4’-methoxyphenyl)-3-methyl-5-trans-propenyl-7-methoxybenzofuran (m.p. 102-105°C, C20H20O4, ของแข็งสีขาว),2-(3’,4’-methylenedioxpheny)-3-methyl-5-trans-propenyl-7-methoxybenzofuran (m.p.146-148°C, C20H18O4, ผลึกรูปเข็มสีขาว), (-)-borneol p-hydroxycinnamide (m.p. 153-154°C, ผลึกรูปเข็มสีขาว), heteropeucenin-8-methyether (m.p.105-107 °C, C16H18O4, ผลึกรูปเข็มสีเหลือง), crotepoxide (m.p.149-150°C, C18H18O8, ของแข็งสีขาว) และ N-isobutyl-13-(3,4-methylenedioxyphenyl) trideca-2,4,12-trinamide (m.p.116-117°C, C24H33NO3,ผลึกรูปเข็มสีขาว) (สันทัฎฐ์, 2539)

           การแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดคลอโรฟอร์มของลำต้นตะค้าน (Piper ribesioides Wall.) พบสารในกลุ่ม aristololactam ซึ่งเป็นชนิดที่มีหมู่ N-methyl ในสูตรโครงสร้าง นอกจากนี้ยังแยกสารอีก 5 ชนิดได้ คือ methyl 2E, 4E, 6E, -7-phenyl-2,4, 6-heptatrienoate, methyl piperate, crotepoxide,eupomatenoid และ β–sitosterol ส่วนสิ่งสกัดในชั้นคลอโรฟอร์มของผล นำมาแยกได้สารบริสุทธิ์ 2 ชนิด ได้แก่ hinokinin และ bornyl p-coumarate (สมภพ และคณะ, 2534)

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ลดการอักเสบ

       ศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยให้โดยให้สารสกัดเอทานอลจากลำต้นสะค้าน (Piper interruptum Opiz) ทาที่หูหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์ Sprague-Dawley ขนาด 1 mg (20 μL) ต่อหูหนู 1 ข้าง ก่อนที่จะกระตุ้นให้หูหนูเกิดการบวมด้วยการทา ethyl-Phenylpropiolate  (EPP) ในขนาด 1 mg/20 μL ต่อหูหนู 1 ข้าง จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากสะค้านสามารถยับยั้งการบวมของหูหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งใช้ phenylbutazone 1 mg พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการบวมของหูหนูได้ไม่แตกต่างกัน ฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อเหนี่ยวนำให้อุ้งเท้าหนูบวมด้วยการฉีดคาราจีแนน (carrageenan-induced paw edema assay) ผลการทดสอบพบว่าเมื่อป้อนสารสกัดขนาด 300, 600 และ 1,200 mg/kg เป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อนให้คาราจีแนน สามารถลดการบวมได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1, 3 และ 5 (Sireeratawong, et al., 2012)

ฤทธิ์ระงับปวด

       ทดสอบฤทธิ์ระงับปวดในหนูถีบจักรเพศผู้สายพันธุ์ ICR โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว หนูแต่ละกลุ่มจะได้รับสารสกัดเอทานอลของลำต้นสะค้าน (Piper interruptum Opiz) ในขนาด 300, 600 และ 1,200 mg/kg ตามลำดับ  ซึ่งกลุ่มควบคุมจะได้รับ 5% Tween80 และกลุ่มอ้างอิงจะได้รับ aspirin (300 mg/kg) และ morphine (10 mg/kg) วิธีทดสอบ Formalin Test แบ่งออกเป็น 2 phase คือ ระยะ early phase จะป้อนสารสกัดแก่หนูก่อน หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จึงฉีด 1% formalin, 20 μL เข้าไปในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณเท้าหลังด้านซ้ายของหนู (หากเป็น morphine จะฉีดเข้าช่องท้องหนูเป็นเวลา 30 นาที ก่อนฉีด formalin) บันทึกระยะเวลาที่หนูยกเท้าขึ้นเลีย ภายในเวลา 5 นาที หลังฉีด formalin ระยะ late phase จะฉีด formalin หลังป้อนสารสกัดแล้ว 40 นาที หรือหลังจากฉีด morphine แล้ว 10 นาที บันทึกระยะเวลาที่หนูยกเท้าขึ้นเลีย ภายในเวลา 20-30 นาที หลังฉีด formalin ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดสะค้านทุกขนาด สามารถยับยั้งอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยออกฤทธิ์ต่อระยะ late phase ได้ดีกว่าระยะ early phase เช่นเดียวกับยามาตรฐาน aspirin และ morphine (Sireeratawong, et al., 2012)

 

การศึกษาทางคลินิก:          -

การศึกษาทางพิษวิทยา:      -

 

    เอกสารอ้างอิง:

1. สมภพ ประธานธุรารักษ์, นิจศิริ  เรืองรังษี, Michael G. Organ, Gordon L. Lange . การศึกษาทางพฤกษเคมีของลําต้นและผลตะค้าน.รายงานการวิจัย ทุนงบประมาณแผ่นดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม 2534.

2. สันทัฎฐ์  เลิศยนต์ชีพ. องค์ประกอบทางเคมีในลําต้นสะค้านพลู [วิทยานิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาเคมี].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2539.

3. Sireeratawong S, Itharat A, Lerdvuthisopon N, Piyabhan P, Khonsung P, Boonraeng S, et al. Anti-Inflammatory, analgesic and antipyretic activities of the ethanol extract of Piper interruptum Opiz. and Piper chaba L. ISRN pharmacology. 2012;2012:1-6.

 

ข้อมูลตำรับยาเบญจกูล  : www.thai-remedy.com

  

 



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ สะค้าน

...

Other Related สะค้าน

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ สะค้าน

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

742

การศึกษาความปลอดภัยของยาเม็ดจากสารสกัดตำรับเบญจกูล
การศึกษาความปลอดภัยของยาเม็ดจากสารสกัดตำรับเบญจกูลการศึกษาความปลอดภัยของยาเม็ดจากสารสกัดตำรับเบญจกูล โดยนำตำรับยาเบญจกูลที่ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูลเพลิง และขิง มาสกัดด้วย 95% เอทานอล แล้วทำเป็นยาเม็ดสำเร็จรูป ทดลองในอาสาสมัครชายหญิง จำนวน 20 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทานยาเม็ด ขนาด 100 มก. และขนาด 200 มก. วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 14 วัน พบว่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำงานของตับ ไต ระดับไขมัน และค่าทางโลหิตวิทยาของอาสาสมัครมีการเป...

840

การศึกษาพิษต่อเซลล์และพิษต่อยีนของสารสกัดเอทานอลจากตำรับเบญจกูล
การศึกษาพิษต่อเซลล์และพิษต่อยีนของสารสกัดเอทานอลจากตำรับเบญจกูลตำรับเบญจกูลเป็นยาปรับธาตุนิยมใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ผลดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง และเหง้าขิง เมื่อนำสารสกัด 95% เอทานอลจากตำรับเบญจกูล ความเข้มข้น 50 100 200 400 และ 500 มคก./มล. มาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์และพิษต่อยีนในเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ โดยพบเซลล์ในระยะไมโทซิสน้อยมาก สารสกัดที่ความเข้มข้น 100 - 400 มคก./มล. เป็นพิษต่อยีน...

1251

ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬ
ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬยาริดสีดวงมหากาฬ เป็นตำรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้ในการบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก ประกอบด้วยสมุนไพรต่างๆ รวม 22 ชนิด ได้แก่ มดยอบ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว โกฐกักกรา โกฐสอ โกฐจุฬาลำพา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สนเทศ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สะค้าน สมุลแว้ง ดีปลี พริกไทย ขิง และอบเชยเทศ ในการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัด 80% เอทานอลของยาริดสีดวงมหากาฬในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิ...

สมุนไพรอื่นๆ

113

ย่านางแดง
ย่านางแดง ชื่อเครื่องยาย่านางแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ราก ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านางแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia strychnifolia Craib. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Caesalpinioideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้เถาเนื้อแข็ง เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง ผิว...

74

น้อยหน่า
น้อยหน่า ชื่อเครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ดจากผลสุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ มะออจ้า มะโอจ่า ลาหนัง หมักเขียบ ลาหนัง ชื่อวิทยาศาสตร์Annona squamosa L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แข็ง สีดำ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน ขนาดกว้าง 3-6 มม. ยาว 1 ซม. ในผลหนึ่งมีประมาณ ...

66

เทียนขาว
เทียนขาว ชื่อเครื่องยาเทียนขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยายี่หร่า ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนขาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยี่หร่า ชื่อวิทยาศาสตร์Cuminum cyminum L. ชื่อพ้องCuminia cyminum J.F.Gmel., Cuminum aegyptiacum Mérat ex DC., Cuminum hispanicum Mérat ex DC., Cuminum odorum Salisb., Cuminum sativum J.Sm., Cyminon longeinvolucellatum St.-Lag. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &n...

149

อบเชย
อบเชย ชื่อเครื่องยาอบเชย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้นชั้นใน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอบเชย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมง โมงหอม เคียด กะทังหัน ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Lauraceae ชื่อวิทยาศาสตร์         Cinnamomum  spp.            1. อบเชยเทศ  หรือ  อบเชยลังกา  (Ci...

40

คนทีสอ
คนทีสอ ชื่อเครื่องยาคนทีสอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คนทีสอขาว(ชลบุรี);โคนดินสอ (ภาคกลาง จันทบุรี) ดินสอ (ภาคกลาง) สีสอ (ประจวบคีรีขันธ์) มูดเพิ่ง (ตาก)ผีเสื้อน้อย (เหนือ) สีเสื้อน้อย ดอกสมุทร (เชียงใหม่) ผีเสื้อ (เลย) ทีสอ เทียนขาว (เพชรบุรี) คุนตีสอ (สตูล) ชื่อวิทยาศาสตร์Vitex trifolia Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Verbenaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &nbs...

169

ผักกระโฉม
ผักกระโฉม ชื่อเครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้มกบ ผักกะโสม ราน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. ชื่อพ้องHerpestis rugosa ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนหยาบแข็ง แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.8-4.5 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร โคนใบ...

106

มะลิ
มะลิ ชื่อเครื่องยามะลิ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอกมะลิลา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะลิลา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Jasminum sambac Ait. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Oleaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกแห้งสีน้ำตาล กลีบดอกเป็นหลอดยาว 1-2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ เกสรตัวผู้มี 2 อัน กลิ่นหอมเย็น มีกลิ่นเฉพาะตัว รสขม     เครื่องยา ดอกมะลิลา &nbs...

165

สารภี
สารภี ชื่อเครื่องยาสารภี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสารภี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ทรพี สร้อยพี สารภีแนน ชื่อวิทยาศาสตร์Mammea siamensis T. Anderson ชื่อพ้อง Calysaccion siamense Miq. ชื่อวงศ์Calophyllaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ดอกขนาดเล็ก ทรงกลมกลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้สีเหลือง จำนวนมาก ดอกแห้งสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ...

108

ม้ากระทืบโรง
ม้ากระทืบโรง ชื่อเครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เดื่อเครือ(เชียงใหม่) ม้าทะลายโรง(อีสาน) ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร(ระนอง) พญานอนหลับ(นครสวรรค์) มาดพรายโรง(โคราช) ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus foveolata Wall. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:               ไม้เถาขนาดใหญ่ เป...

สมุนไพรเถาสะค้าน

สมุนไพรเถาสะค้าน

สมุนไพรเถาสะค้าน

View
สะค้าน

สะค้าน

สะค้าน

View
เถาสะค้านปลุกนกเขาให่ตืนขันดี

เถาสะค้านปลุกนกเขาให่ตืนขันดี

เถาสะค้านปลุกนกเขาให่ตืนขันดี

View
พืชสมุนไพร ตอน สะค้าน, จะค่าน, สะค้านหยวก, วิถีเกษตร ทางเลือกใหม่ by uthai

พืชสมุนไพร ตอน สะค้าน, จะค่าน, สะค้านหยวก, วิถีเกษตร ทางเลือกใหม่ by uthai

พืชสมุนไพร ตอน สะค้าน, จะค่าน, สะค้านหยวก, วิถีเกษตร ทางเลือกใหม่ by uthai

View
จะค่านหรือสะค้าน สรรพคุณดียิ่งกว่ายา

จะค่านหรือสะค้าน สรรพคุณดียิ่งกว่ายา

จะค่านหรือสะค้าน สรรพคุณดียิ่งกว่ายา

View
MFU HERB CHANNEL l ตอนที่ 27 สะค้าน

MFU HERB CHANNEL l ตอนที่ 27 สะค้าน

MFU HERB CHANNEL l ตอนที่ 27 สะค้าน

View
จะค่านหรือสะค้าน ยาชูกำลังดีๆนี่เองจ้า

จะค่านหรือสะค้าน ยาชูกำลังดีๆนี่เองจ้า

จะค่านหรือสะค้าน ยาชูกำลังดีๆนี่เองจ้า

View
1ท่อน 1เป๊ก สูตรโบราณ คึกได้ดั่งใจสั่ง มังกรผยอง สมุนไพรบำรุงกำลัง สรรพคุณสุดยอด สมุนไพรไทยรักษาโรค

1ท่อน 1เป๊ก สูตรโบราณ คึกได้ดั่งใจสั่ง มังกรผยอง สมุนไพรบำรุงกำลัง สรรพคุณสุดยอด สมุนไพรไทยรักษาโรค

1ท่อน 1เป๊ก สูตรโบราณ คึกได้ดั่งใจสั่ง มังกรผยอง สมุนไพรบำรุงกำลัง สรรพคุณสุดยอด สมุนไพรไทยรักษาโรค

View
ฝานสมุนไพรเถาสะค้านเอาไปเข้ายาปรับธาตุเบญจกูล

ฝานสมุนไพรเถาสะค้านเอาไปเข้ายาปรับธาตุเบญจกูล

ฝานสมุนไพรเถาสะค้านเอาไปเข้ายาปรับธาตุเบญจกูล

View
สมุนไพรกลิ่นหอมละมุน สรรพคุณดีหายากน่าอนุรักษ์ เพียงใบเดียวดองเหล้าหอมกินลื่นคอ

สมุนไพรกลิ่นหอมละมุน สรรพคุณดีหายากน่าอนุรักษ์ เพียงใบเดียวดองเหล้าหอมกินลื่นคอ

สมุนไพรกลิ่นหอมละมุน สรรพคุณดีหายากน่าอนุรักษ์ เพียงใบเดียวดองเหล้าหอมกินลื่นคอ

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับสะค้าน
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่