ข้อมูลสมุนไพร กุ่มน้ำ รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ กุ่มน้ำ, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ กุ่มน้ำ, สรรพคุณทางยาของ กุ่มน้ำ และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | กุ่มน้ำ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เปลือกต้น |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | กุ่มน้ำ |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Crateva religiosa G.Forst. |
ชื่อพ้อง | Crateva brownii Korth. ex Miq., Crateva hansemannii K.Schum., Crateva macrocarpa Kurz, Crateva magna (Lour.) DC., Crateva membranifolia Miq. , Crateva speciosa |
ชื่อวงศ์ | Capparaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เปลือกค่อนข้างเรียบ มีรอยแตกตื้นๆ ผิวเปลือกด้านนอกสีเทา ด้านในสีน้ำตาล เปลือกหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร
เครื่องยา เปลือกกุ่มน้ำ
เครื่องยา เปลือกกุ่มน้ำ
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เปลือกต้นรสขมหอม แก้สะอึก ขับผายลม ขับลมในลำไส้ ขับเหงื่อ แก้ในกองลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงผอมแห้ง ระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย เป็นยาบำรุง ขับน้ำดี ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้อาเจียน แก้ลมทำให้เรอ ผสมรวมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับลม แก้สะอึก
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้กุ่มน้ำในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเปลือกต้นกุ่มน้ำร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
เปลือกต้นพบสาร epiafzelechin 5-glucoside สารไตรเทอร์ปีนอยด์ diosgenin, phragmalin triacetate, lupeol สารอัลคาลอยด์ ได้แก่ cadabicine และ cadabcine diacetate (Patil and Gaikwad, 2011)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ลดปวด ลดการอักเสบข้อ
สารสกัดเอทานอลจากเปลือก ลดการปวดในหนูถีบจักรที่เกิดจากการเหนี่ยวนำความเจ็บปวดด้วยกรดอะซิติกได้อย่างมีนัยสำคัญ (Patil and Gaikwad, 2011)
สารไตรเทอร์ปีน lupeol และ lupeol linolate ที่แยกได้จากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบข้อในหนูขาว เมื่อทดสอบด้วยวิธีการฉีดสารกระตุ้นการอักเสบข้อ (Freund’s adjuvant) โดย lupeol linolateออกฤทธิ์ได้ดีกว่า lupeolนอกจากนี้สารทั้งสองชนิดสามารถลดการบวมที่อุ้งเท้าสัตว์ทดลองได้ (Patil and Gaikwad, 2011)
ยับยั้งการเกิดนิ่วที่ไต
สารสกัดน้ำจากเปลือกป้องกันการเกิดนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากสารออกซาเลต เมื่อทดสอบในหนูตะเภาที่ได้รับ sodium oxalate ร่วมกับ methionine และมีรายงานว่าสารสกัดน้ำจากเปลือกต้น ช่วยขับก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นที่ไตได้ (Patil and Gaikwad, 2011)
สารไตรเทอร์ปีน lupeol และ betulin (อนุพันธ์ของ lupeol) ที่แยกได้จากเปลือกต้น เมื่อนำมาทดสอบในหนูขาวที่มีการขับ oxalate ออกทางปัสสาวะมาก (hyperoxaluric) พบว่าสามารถลดการทำลายของท่อไต และลดผลึกที่จะทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วที่ไตได้ โดย lupeol มีฤทธิ์ดีกว่า betulin และมีรายงานว่า lupeol ลดการสะสะมของแคลเซียม และออกซาเลตที่ไต โดยยับยั้งการทำงานของ glycolic acid oxidase ที่ตับ ทำให้การรวมตัวของสารที่จะทำให้เกิดก้อนนิ่วที่ไตลดลง (Patil and Gaikwad, 2011)
ลดความเป็นพิษต่อไต
สารไตรเทอร์ปีน lupeol ที่แยกได้จากเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดความแป็นพิษต่อไตในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำความเป็นพิษต่อไตด้วย cisplatin โดยทำให้ระดับของ BUN, creatinine และ lipid peroxidation ที่บ่งบอกความเป็นพิษต่อไตลดลงได้ และสามารถเพิ่มระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระglutathione และ catalase (Patil and Gaikwad, 2011)
ฤทธิ์ปกป้องตับ
การทดสอบในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้ตับเป็นพิษด้วยแคดเมียม เป็นผลให้ระดับสาร malondialdehyde เพิ่มขึ้น และระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในตับลดลง เมื่อป้อนสารไตรเทอร์ปีน lupeol หรือ lupeol linolate ที่แยกได้จากเปลือกต้นแก่หนู พบว่าทำให้เนื้อเยื่อตับกลับสู่ปกติได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น และทำให้ระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น โดยสาร lupeol linolateออกฤทธิ์ได้ดีกว่า lupeol (Patil and Gaikwad, 2011)
การทดสอบในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้ตับเป็นพิษด้วยเชื้อรา aflatoxin B1 เป็นผลให้ระดับสาร lactate dehydrogenase (LDH), alkaline phosphatase, alanine และ aspartate aminotransferase และเกิด lipid peroxide เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในตับลดลง เมื่อป้อนสาร lupeol ที่แยกได้จากเปลือกต้นแก่หนู พบว่าทำให้เนื้อเยื่อตับ และค่าระดับเอนไซม์ต่างๆ กลับสู่ปกติได้ โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน silymarin ซึ่งแสดงว่าสาร lupeolมีฤทธิ์ดีมากในการปกป้องตับจากเชื้อรา aflatoxin B1(Patil and Gaikwad, 2011)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
อาการไม่พึงประสงค์:
เปลือกต้นสดมีสารไซยาโนเจเนติกไกลโคไซด์ ที่สลายตัวให้ก๊าซไซยาไนด์ได้ การนำมาทำยาจึงต้องใช้เปลือกแห้งจึงจะไม่เกิดอันตราย
การศึกษาทางพิษวิทยา:
เอกสารอ้างอิง:
Patil UH, Gaikwad DK. Medicinal profile of a scared drug in ayurveda: Crataeva religiosa. J Pharm Sci & Res. 2011:3(1):923-929.
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com
ข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์ : www.thai-remedy.com
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
กุ่มน้ำ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Brassicales วงศ์: Capparaceae สกุล: Crateva สปีชีส์: C. magna ชื่อทวินาม Crataeva magna
(Lour.) DC ชื่อพ้อง
Crataeva nurvala Buch.-Ham.
กุ่มน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Crateva magna เป็นพืชในวงศ์ Capparidaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบแห้งสีออกแดง ดอกช่อ กลีบสีขาวแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลสีนวล มีเมล็ดมาก สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้า เปลือกต้น เปลือกรากและกิ่งอ่อนถูกผิวหนังแล้วทำให้คัน รับประทานเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ้างอิง
เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552 แหล่งข้อมูลอิ่น
"Images and Information of Crataeva magna". Indian Medicinal Plants Database. Institute for Ayurveda and Integrative Medicine. เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กุ่มน้ำ&oldid=8164351"
.
มะแว้งต้น
มะแว้งต้น ชื่อเครื่องยามะแว้งต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะแว้งต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะแค้งขม มะแค้งดำ (เหนือ อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Solanaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลรูปกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม) ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดรู...
บัวขม
บัวขม ชื่อเครื่องยาบัวขม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอกบัวขม ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวขม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea lotus L. var. pubescens Hook.f. & Th. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกสีขาว เมื่ออบแห้งแล้วมีสีน้ำตาล กลีบเลี้ยง ยาว 4-5 เซนติเมตร มีกลีบดอก 19 กลีบ รูปหอกกลับ ชั้นเกสรตัวผู้มีลักษณะแบน 60 อัน เกสรตัวผู้ยาว 2 เซนต...
กล้วยตีบ
กล้วยตีบ ชื่อเครื่องยากล้วยตีบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากล้วยตีบ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Musa ABB group (triploid) cv. ‘teep’ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Musaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: รากมีรูปร่างกลมยาว สีน้ำตาลดำ รสฝาดเย็น มีเส้นใยมาก (กล้วยตีบเป็นกล้วยพันธุ์ลูกผสม ระหว่างกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) มียีโนม “A” และกล้วยตานี (Musa...
สะแกนา
สะแกนา ชื่อเครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แก (อุบลราชธานี) แพ่ง(เหนือ) ขอนเเข้ จองแค่(แพร่) สะแก ซังแก ชื่อวิทยาศาสตร์Combretum quadrangulare Kurz. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลแห้ง ขนาด 1-2 เซนติเมตร รูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สัน ตามยาว เมล็...
ผักกระโฉม
ผักกระโฉม ชื่อเครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาผักกระโฉม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้มกบ ผักกะโสม ราน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila rugosa (Roth) Merr. ชื่อพ้องHerpestis rugosa ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนหยาบแข็ง แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.8-4.5 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร โคนใบ...
เทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน ชื่อเครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนตาตั๊กแตน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชีลาว, มะแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์Anethum graveolens L. ชื่อพ้องAnethum arvense Salisb., Angelica graveolens (L.) Steud., Ferula graveolens (L.) Spreng., Peucedanum graveolens (L.) Hiern, Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz, Selinum anethum Roth, Selinum graveolens ชื่อวงศ์Apiaceae (Umbelliferae) ลักษ...
ราชดัด
ราชดัด ชื่อเครื่องยาราชดัด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดีคน (อุบลราชธานี) กะดัด ฉะดัด(ใต้) ดีคน(กลาง) กาจับหลัก ยาแก้ฮากขม(เชียงใหม่) พญาดาบหัก(ตราด) เพี้ยฟาน(นครราชสีมา ขอนแก่น) เพียะฟาน(นครศรีธรรมราช) มะลาคา(ปัตตานี) สอยดาว(จันทบุรี) เท้ายายม่อมน้อย มะขี้เหา มะดีควาย ชื่อวิทยาศาสตร์Brucea javanica (L.) Merr. ชื่อพ้องBrucea amarissima ชื่อวงศ์Simaroubaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  ...
ว่านกีบแรด
ว่านกีบแรด ชื่อเครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กีบม้าลม กีบแรด ว่านกีบม้า ชื่อวิทยาศาสตร์Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. ชื่อพ้องPolypodium evectum ชื่อวงศ์Marattiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เหง้าใหญ่ มีกลีบแข็ง คล้ายกีบเท้าแรด หรือกีบเท้ากระบือ มีขนาดสั้น ผิวเป็นลูกคลื่น ผิวเหง้าด้า...
ม้ากระทืบโรง
ม้ากระทืบโรง ชื่อเครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เดื่อเครือ(เชียงใหม่) ม้าทะลายโรง(อีสาน) ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร(ระนอง) พญานอนหลับ(นครสวรรค์) มาดพรายโรง(โคราช) ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus foveolata Wall. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถาขนาดใหญ่ เป...
ต้นกุ่มน้ำ ดอกสวย นำยอดมาดองแล้วยำ อร่อยเด็ด ได้สรรพคุณทางยาอีกด้วย
Viewกุ่มบก กุ่มน้ำ สมุนไพร ผักพื้นบ้าน ต้นไม้ในพุทธประวัติ วรากรสมุนไพร โทร/ไอดี 0616498997
Viewต้องรีบหามากินซะแล้ว สมุนไพรต้นกุ่มน้ำช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ขับนิ้ว แต่มีข้อห้ามนะค่ะ
Viewกุ่มน้ำ ผักกุ่ม สมุนไพรผักป่าใช้ทำผักดองมาแต่โบราณ
Viewกุ่มบก ขายสมุนไพรกุ่มน้ำ ใบสดตากแห้ง เมล็ดต้นกล้า
View