ข้อมูลสมุนไพร ทองหลางใบด่าง รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ ทองหลางใบด่าง, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ ทองหลางใบด่าง, สรรพคุณทางยาของ ทองหลางใบด่าง และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | ทองหลางใบด่าง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เปลือกต้น |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ทองหลางใบด่าง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ทองหลางลาย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Erythrina variegata L. |
ชื่อพ้อง | Chirocalyx candolleanus Walp., Chirocalyx divaricatus Walp., Chirocalyx indicus Walp., Chirocalyx pictus Walp., Corallodendron divaricatum (Moc. & Sesse) Kuntze, Corallodendron orientale (L.) Kuntze, Corallodendron spathaceum (DC.) Kuntze, Erythrina alba Cogn. & Marchal, Erythrina boninensis Tuyama, Erythrina carnea Blanco, Erythrina corallodendron Lour., .Erythrina divaricata DC., Erythrina indica Lam., Erythrina lithosperma Miq., Erythrina lobulata Miq., Erythrina loueiri G.Don, Erythrina marmorata Planch., Erythrina mysorensis Gamble, Erythrina orientalis Murray, Erythrina parcelli hort., Erythrina phlebocarpa Bailey, Erythrina picta L., Erythrina rostrata Ridl., Erythrina spathacea DC., Gelala alba Rumph., Gelala litorea Rumph., Tetradapa javanorum |
ชื่อวงศ์ | Leguminosae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผิวเปลือกต้นสีเทา มีหนามเล็กแหลมคม เนื้อเปลือกสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล
เครื่องยา เปลือกต้นทองหลางใบด่าง
เครื่องยา เปลือกต้นทองหลางใบด่าง
เครื่องยา เปลือกต้นทองหลางใบด่าง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เปลือกต้น รสเฝื่อนขม ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับ ลดไข้ แก้ปวดท้อง บดเป็นผงอุดฟันแก้ปวด แก้เสมหะ แก้ลมเป็นพิษ หยอดตาแก้ตาแดง ตาฝ้าฟางและตาแฉะ
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ทองหลางในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเปลือกต้นทองหลางร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
พบสารฟลาโวนอย์ กลุ่ม isoflavone จากเปลือกทองหลางใบด่าง ได้แก่
1. 5,4’-dihydroxy-8-(3,3-dimethylallyl)-2’'-methoxyisopropylfurano[4,5:6,7]isoflavone
2. 5,7,4’trihydroxy-6-(3,3-dimethylallyloxiranylmethyl)isoflavone
3. 5,4’-dihydroxy-8-(3,3-dimethylallyl)-2’'-hydroxymethyl-2'’-methylpyrano[5,6:6,7]isoflavone
4. 5,4’-dihydroxy-2’-methoxy-8-(3,3-dimethylallyl)-2'’,2'dimethyl pyrano[5,6:6,7]isoflavanone (Xiaoli, et al., 2006)
มีรายงานพบสารisoflavoneจากส่วนสกัดเมทานอลของเปลือกต้น ได้แก่ alpinum isoflavone, 6-hydroxygenistein, 3β,28-dihydroxyolean-12-ene และ epilupeol (Rahman, et al.,2010)
สารอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ euchrenone b10, isoerysenegalensein E, wighteone, laburnetin, lupiwighteone, erythrodiol และ oleanolic acid (Xiaoli, et al., 2006)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ป้องกันโรคกระดูกพรุน
ศึกษาผลของสารสกัดเปลือกต้นทองหลางใบด่างด้วย 65% เอทานอล ต่อภาวะกระดูกพรุนของหนูขาวที่ถูกตัดรังไข่ โดยป้อนสารสกัดทองหลางใบด่างในขนาดต่ำ 300 mg/kg และขนาดสูง 600 mg/kg แก่หนูขาวเพศเมีย ทุกวันเป็นเวลา 14 สัปดาห์ พบว่าสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนในหนูที่ถูกตัดรังไข่ได้ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อการสูญเสียมวลกระดูก จากการทดสอบพบว่า สารสกัดขนาดต่ำสามารถป้องกันการลดลงของระดับแคลเซียมในเลือด และลดการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ขณะที่สารสกัดขนาดสูง จะลดการขับออกของแคลเซียมทางปัสสาวะเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฟอสฟอรัสในเลือด การวัดระดับของสาร osteocalcin (OCN) และ alkaline phosphatase (ALP) ในเลือด ซึ่งเป็นสารที่บ่งชี้การรวมตัวของมวลกระดูก พบว่าเพิ่มขึ้น 80% และ 55% ตามลำดับ สารสกัดสามารถปกป้องกระดูก โดยลดการสลายของกระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่อยู่ด้านใน มีลักษณะสานกันเป็นโครงตาข่าย ทำหน้าที่กระจายแรงในการรับน้ำหนัก ภายในช่องว่างระหว่างเนื้อกระดูกมีหลอดเลือด และไขกระดูกบรรจุอยู่ และเพิ่มมวลของกระดูกเนื้อโปร่ง เมื่อทดสอบโดยใช้กระดูกหน้าแข้ง (tibea) ของหนู โดยออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับฮอร์โมน estradiol นอกเหนือจากนั้นสารสกัดทั้งสองขนาด มีผลต่อการต้องเพิ่มแรงที่ใช้ ในการทำให้กระดูกต้นขา (femur) ของหนูแตก เนื่องจากสารสกัดทำให้กระดูกส่วนนี้มีความแข็งแรงมากขึ้น ดังนั้นสารสกัดจากเปลือกต้นทองหลางจึงมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นการทดแทนฮอร์โมน สำหรับป้องกัน และรักษาภาวะกระดูกพรุนในช่วงหมดประจำเดือนได้ (Zhang, et al., 2007)
ฤทธิ์ของสารสกัด 65%เอทานอล จากเปลือกต้นทองหลางใบด่าง ต่อการยับยั้งการสูญเสียมวลกระดูก ในหนูขาวเพศเมีย สายพันธุ์ Sprague–Dawley ที่ถูกตัดรังไข่ ให้ได้รับสารสกัดทองหลางใบด่างในขนาดต่ำ (200 mg/kg),ขนาดปานกลาง (500 mg/kg) และขนาดสูง (1000 mg/kg) จากนั้นศึกษาคุณสมบัติของกระดูก ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดทองหลางใบด่างในขนาดสูง สามารถลดการขับแคลเซียม และฟอสฟอรัส ทางปัสสาวะ ซึ่งสารทั้งสองเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระดูก นอกจากนั้นสารสกัดยังทำให้ระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัสในเลือดคงที่ และมีผลทำให้โครงสร้างภายใน ของกระดูก trabecular (กระดูกเนื้อโปร่ง)และกระดูก cortical (เนื้อกระดูกส่วนทึบแน่น) คงรูปดีขึ้น จากการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากทองหลางใบด่างสามารถป้องกันกระดูกพรุนในหนูที่ถูกตัดรังไข่โดยมีกลไกยับยั้งกระบวนการสลายกระดูก โดยทำให้การทำงานของ osteoclast (เซลล์กระดูกแข็ง) เป็นปกติ (Zhang, et al., 2010)
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของสารสกัดจากส่วนเปลือกต้นทองหลางใบด่าง ด้วยวิธีการจับอนุมูลอิสระ 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) พบว่าสารสกัดทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ methanol,n-hexane, carbon tetrachloride และ chloroform มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในระดับปานกลาง (IC50เท่ากับ 82.35-484.4 ug/ml) ในขณะที่สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเปลือก 3 ชนิด ได้แก่ 4',5,7-trihydroxy-8-prenyl isoflavone, alpinum isoflavone และ 6- hydroxygenistein มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.42, 8.30 และ 8.78 ug/ml ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ได้แก่ tert-butyl-1-hydroxytoluene (BHT) มีค่า IC50 เท่ากับ 5.88 ug/ml การทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ β-glucosidase ของสารสกัดทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ methanol,n-hexane, carbon tetrachloride และ chloroform พบว่าสามารถยับยั้งได้ 34.75, 95.04, 91.49 และ 55.32% ตามลำดับ เบต้ากลูโคซิเดส เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่างๆของไกลโคโปรตีน การยับยั้งเอนไซม์นี้ จะมีผลต่อฤทธิ์ทางชีวภาพหลายประการ เช่น antiviral, antiadhesive, antibacterial, antimetastatic, immunostimulatory agents เป็นต้น (Rahman, et al., 2010)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
อาการไม่พึงประสงค์:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากเปลือกทองหลางใบด่าง ทดสอบในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Wistar ป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากทองหลางใบด่าง เพียงครั้งเดียว ในขนาด 500, 1000 และ 2000 mg/kg แก่หนู 3 กลุ่ม (ในแต่ละกลุ่มมีหนู 5 ตัว) สังเกตผลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ชั่วโมง และถูกสังเกตเป็นระยะต่อไปอีก 6 ชั่วโมง ของการได้รับสารทดสอบ บันทึกอัตราการตาย และพฤติกรรมทั่วไปของหนูเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพิษเฉียบพลันพบว่าไม่มีการตายของหนู เมื่อให้สารสกัดน้ำจากเปลือกทองหลางใบด่าง ในขนาดสูงถึง 2000 mg/kg ไม่มีหนูตาย ไม่พบอาการง่วงนอน ไม่มีผลต่ออัตราการหายใจ และไม่มีอาการพิษเกิดขึ้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหนู และเนื้อเยื่อไม่เปลี่ยนแปลง มีรายงานระบุว่า สารทดสอบที่ให้ทางปาก มีค่า LD 50 มากกว่า 1000 mg/kg มีพิษในระดับต่ำ และมีความปลอดภัย จึงเป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่า สารสกัดจากเปลือกทองหลางใบด่างสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในขนาดสูงถึง 2,000 mg/kg (Anupama, et al., 2012)
เอกสารอ้างอิง:
1. Anupama, V, Narmadha R, Gopalakrishnan VK, Devaki K. Enzymatic alteration in the vital organs of streptozotocin diabetic rats treated with aqueous extract of Erythrina variegata bark. Int J Pharm Pharm Sci. 2012;4(1):134-147.
2. RahmanMZ, Rahman MS, KaisarA, HossainA, Rashid MA. Bioactive isoflavones from Erythrina variegata L. Turk J Pharm Sci. 2010;7(1): 21-28.
3. Xiaoli L, Naili W, Sau WM,Chen ASC, Xinsheng Y. Four new isoflavonoids from the stem bark of Erythrina variegata. Chem Pharm Bull. 2006;54(4): 570-573.
4. Zhang Y, Li Q, Li X, Wan H-Y, Wong M-S. Erythrina variegata extract exerts osteoprotective effects by suppression of the process of bone resorption. British journal of nutrition. 2010;104: 965-971.
5. Zhang Y, Li X-L, Lai W-P, Chen B, Chow H-K, Wu C-F, et al. Anti-osteoporotic effect of Erythrina variegata L. in ovariectomized rats. J Ethnopharmacology. 2007; 109:165-169.
ข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์ : www.thai-remedy.com
...
กำลังเสือโคร่ง
กำลังเสือโคร่ง ชื่อเครื่องยากำลังเสือโคร่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น เนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขวากไก่ หนามเข็ม (ชัยภูมิ) ขอเบ็ด (หนองคาย) ขี้แรด (ปราจีนบุรี) เขี้ยวงู (ชุมพร) ตึ่ง เครือดำตัวแม่ (ลำปาง)เบน เบนขอ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เล็บครุฑ (จันทบุรี) เล็บรอก (พัทลุง) หมากตาไก้ (เลย) ชื่อวิทยาศาสตร์Strychnos axillaris Colebr. ชื่อพ้องStrychnos chloropetala A.W. Hill., Strychnos plumosa ชื่อวงศ์Strychnaceae (Logana...
เมื่อยขาว
เมื่อยขาว ชื่อเครื่องยาเมื่อยขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยามะม่วย ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเมื่อยขาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เมื่อย(ตราด) ม่วย(เชียงราย อุบลราชธานี) มะม่วย(เชียงใหม่) แฮนม่วย(เลย) เถาเอ็น ชื่อวิทยาศาสตร์Gnetum montanum Markgr. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Gnetaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้พุ่มรอเลื้อย ไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งเป็นข้อต่อกันและข้อบวมพอง เปลือกเ...
ข่า
ข่า ชื่อเครื่องยาข่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กฎุกโรหินี ข่าตาแดง (กลาง); ข่าหยวก ข่าใหญ่ ข่าหลวง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Alpinia galanga (L.) Willd. ชื่อพ้องAlpinia alba (Retz.) Roscoe, Alpinia bifida Warb., Alpinia carnea Griff., Alpinia pyramidata Blume, Alpinia rheedei Wight, Alpinia viridiflora Griff., Amomum galanga (L.) Lour. , Amomum medium Lour., Galanga officinalis Salisb., Hellenia alba (Ret...
ชะลูด
ชะลูด ชื่อเครื่องยาชะลูด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะลูด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูด(ปัตตานี) ชะนูด(สุราษฎร์ธานี) นูด(ภาคใต้), ขี้ตุ่น, ช้างตุ่น, ต้นธูป(อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Alyxia reinwardtii Blume var. lucida Markgr. ชื่อพ้องAlyxia nitens Kerr. หรืออาจได้จาก Alyxia schlechteri ชื่อวงศ์Apocynaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เป็นไม้เถา เนื้อแข็...
กฤษณา
กฤษณา ชื่อเครื่องยากฤษณา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้กฤษณาที่มีราลง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากฤษณา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ไม้หอม พวมพร้าว จะแน กายูกาฮู กายูการู ชื่อวิทยาศาสตร์Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte. ชื่อพ้องAquilaria malaccensis Lamk. มีชื่อพ้องว่า Aquilaria agallocha Roxb. Aquilaria subintegra Hou. Aquilaria hirta ชื่อวงศ์Thymelaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &nb...
มะคังแดง
มะคังแดง ชื่อเครื่องยามะคังแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยามุยแดง ตะลุมพุกแดง ได้จากเนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Gardenia erythroclada Kurz ชื่อพ้องDioecrescis erythroclada ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  ...
กระชาย
กระชาย ชื่อเครื่องยากระชาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า และราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีพู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงกระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อพ้องBoesenbergia cochinchinensis ( Gagnep.) Loes., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L., Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl....
ดีปลี
ดีปลี ชื่อเครื่องยาดีปลี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาดีปลี ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ ชื่อวิทยาศาสตร์Piper retrofractum Vahl ชื่อพ้องPiper chaba Hunter., P. officinarum ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลแห้งสีน้ำตาลแดง ผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนโต ปลายเล...
ย่านางแดง
ย่านางแดง ชื่อเครื่องยาย่านางแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ราก ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านางแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia strychnifolia Craib. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Caesalpinioideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถาเนื้อแข็ง เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง ผิว...
ทองหลาง - สรรพคุณทำให้นอนหลับ ลดระดับน้ำตาลในเลือด โรคตาปวดฟัน ยาแก้นิ่ว และแก้ริดสีดวง
Viewใบทองหลาง (Coral Tree) สรรพคุณแก้โรคริดสีดวงจมูกและลดน้ำตาลในเลือด
Viewตื่นเต้นมากเจอเป็นดง ต้นอบเชยเถา สมุนไพรราคาแพงที่สุดที่ใครๆก็ตามหาตอนนี้
Viewขายสมุนไพรใบทองหลาง by.เมล็ดพันธุ์ดีเกษตรวิถีไทย
Viewต้นทองหลาง(ทองหลางด่าง) ต้นไม้ที่นิยมใช้จัดสวนปลูกแล้วขายได้ ไม้ขุดล้อม
View"ใบด่าง"Ep20 ขิงด่าง พืชสมุนไพรที่กำลังเป็นที่พูดถึง
Viewธรรมรักษาใบด่าง กล้วยด่างทิพย์ วรากรสมุนไพร โทร 0616498997 ไอดีไลน์ herbsddd
View