Menu

ผักเสี้ยนผี

ชื่อเครื่องยา

ผักเสี้ยนผี

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ทั้งต้น

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ผักเสี้ยนผี

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ส้มเสี้ยนผี (เหนือ), ผักเสี้ยนตัวเมีย, ไปนิพพานไม่รู้กลับ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cleome viscosa L.

ชื่อพ้อง

Arivela viscosa (L.) Raf., Cleome acutifolia Elmer, Cleome icosandra L., Polanisia icosandra (L.) Wight & Arn., Polanisia microphylla Eichler, Polanisia viscosa (L.) Blume, Sinapistrum viscosum

ชื่อวงศ์

Cleomaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          ลำต้นมีกิ่งก้านแผ่รอบต้น มีขนสีเลหืองอ่อน มีกลิ่นเหม็นเขียวฉุน ใบประกอบ 3-5 ใบ ติดที่ปลายก้าน ใบย่อยรูปไข่ ปลายและโคนแหลม มีขนอ่อนปกคลุม ดอกเล็กๆสีเหลืองเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ผลกลมยาว 1-3 นิ้ว ปลายแหลมมีจะงอย เมล็ดสีน้ำตาลแดง

 

 

เครื่องยา ผักเสี้ยนผี

 

เครื่องยา ผักเสี้ยนผี

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

              ไม่มีข้อมูล

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย ทั้งต้น รสขมร้อน เจริญไฟธาตุ คุมแก้ลม แก้ปวดท้อง ลงท้อง ทำให้หนองแห้ง แก้ฝีภายใน เช่น ฝีในปอด และลำไส้ แก้ฝีในตับ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ตัวยาช่วยในยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้โรคไขข้ออักเสบ ทาแก้โรคผิวหนัง หยอดหูแก้หูอักเสบ ใบ รสร้อนขม แก้ปัสสาวะพิการ แก้ฝีในปอด ตับ ขับหนองฝี ขับน้ำเหลืองเสีย ขับลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ ระบายอ่อนๆ พอกแก้ปวดศรีษะ ตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลัง ดอก รสขมขื่นร้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเชื้อโรค ผล รสเมาร้อนขม ฆ่าพยาธิ ราก รสร้อนขม แก้โรคผอมแห้งของสตรี เนื่องจากคลอดบุตรแล้วอยู่ไฟไม่ได้ แก้วัณโรค แก้เลือดออกตามไรฟัน กระตุ้นหัวใจ เมล็ด รสร้อนขม ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เลือดออกตามไรฟัน กระตุ้นหัวใจ ต้น รสขมร้อนเหม็นเขียว ทำให้หนองแห้ง ใช้ทั้ง 5 คุมธาตุ แก้ลม แก้ปวดท้อง เจริญไฟธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ฝีในตับ ปอด ฝีในลำไส้ ขับหนองฝี

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ผักเสี้ยนผีในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของผักเสี้ยนผี (ทั้งต้น) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

        ไม่มีข้อมูล

 

องค์ประกอบทางเคมี

       พบสารกลุ่ม coumarino-lignan ที่เมล็ด ได้แก่ cleomiscosin D  (Kumar, et al., 1988)

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์การสมานแผล

      ศึกษาฤทธิ์สมานแผล ในหนูถีบจักรเพศผู้ สายพันธุ์ swiss albino โดยทาสารสกัดใบผักเสี้ยนผีที่สกัดด้วยเมทานอล (2.5 % w/w) และยามาตรฐาน gentamicin sulfate ในรูปแบบ hydrogel ให้หนูแต่ละกลุ่ม พบว่าสามารถเพิ่มความสามารถในการทำให้แผลติดกันได้อย่างมีนัยสำคัญ 75.30 % และ 78.74 % ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยดูผลหลังจากผ่านไป 12 วัน จากการตรวจสภาพผิวหนัง พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเซลล์เยื่อบุผิวหนัง (fibroblast) และเซลล์รากขน (hair follicle) (Upadhyay, et al., 2014)

ฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันละต้านการแพ้

       ศึกษาฤทธิ์ในระบบภูมิคุ้มกันของส่วนเหนือดินของผักเสี้ยนผี ในหนูถีบจักร โดยให้สารสกัดน้ำ และเอทานอล แก่หนูแต่ละกลุ่ม ในขนาดต่าง ๆ คือ 50, 100, 150 mg/kgโดยการฉีดเข้าช่องท้อง เป็นเวลา 7 วัน จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทำให้จำนวนของเม็ดเลือดขาวลดลง  จำนวน lymphocyte ในม้ามลดลง ขบวนการกลืนกินเชื้อโรคแบบ phagocyticลดลง และลดการตอบสนองของ antibody โดยสารสกัดเอทานอล ขนาด 150 mg/kgออกฤทธิ์ดีที่สุด การทดสอบภาวะภูมิไวเกิน (ภูมิแพ้) ชนิด Delayed  hypersensitivity  หรือภาวะภูมิไวเกินที่เกิดอาการของโรคภายหลังได้รับแอนติเจนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิด สามารถลดการแพ้ได้ โดยลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูถีบจักรได้ โดยมีการบวมในกลุ่มควบคุมเท่ากับ 34±0.9% ส่วนสารสกัดเอทานอลและน้ำ มีการบวมคิดเป็น 15.±0.4%, 25.6±0.4%  ตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงการลดการแพ้ในภาวะภูมิไวเกินได้มากกว่ากลุ่มควบคุม จึงสรุปได้ว่าสารสกัดของผักเสี้ยนผี มีคุณสมบัติกดภูมิคุ้มกัน ซึ่งสามารถนำไปพัฒนายารักษาภาวะภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อตนเอง (autoimmune) หรือใช้กดภูมิคุ้มกันเมื่อมีการปลูกถ่ายอวัยวะได้เป็นต้น (Tiwari, et al., 2004)

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ                                                                              

      ศึกษาการเหนี่ยวนำสารในกระบวนการอักเสบของสารกลุ่ม coumarinolignoid จำนวน 3 ชนิด คือ cleomiscosins A, Bและ C ที่แยกได้จากเมล็ดผักเสี้ยนผี ในหนูถีบจักรสายพันธุ์ swiss albinoโดยการป้อนสารผสมของ coumarinolignoid A, B และ C ในขนาด 10, 30 และ 100 mg/kg วันละครั้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน  ผลการวิจัยพบว่าสารทดสอบขนาด 10 mg/kg ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ในการลดการแสดงออกของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบเริ่มต้น ได้แก่ IL-6, TNF-αและ nitric oxide ได้ (ทดสอบโดยใช้ LPS เป็นสารกระตุ้นการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจของหนู) และสารทดสอบขนาด 10 mg/kg ออกฤทธิ์ดีที่สุด ในการเพิ่มการแสดงออกของสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ IL-4  โดยหนูมีอัตราการตายลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบหลังได้รับสารทดสอบ 14 วัน ต่อเนื่อง แล้วจึงฉีด LPS ในขนาด 250 μg/kgแก่หนู บันทึกอัตราการตาย พบว่าสาร coumarinolignoidทำให้หนูตาย 1 ตัวจาก 6 ตัว คิดเป็น 16.66 % ส่วนหนูที่ได้รับ LPS แต่ไม่ได้รับสารสกัดพบว่าอัตราการตายเป็น 100 % ผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า สาร coumarinolignoid สามารถยับยั้งสารเริ่มต้นในขบวนการอักเสบ และเพิ่มการแสดงออกของสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ (Bawankule, et al., 2008)

ฤทธิ์แก้ไข้

       ศึกษาฤทธิ์แก้ไข้ของสารสกัดทั้งต้นผักเสี้ยนผี ด้วย 90%เมทานอล โดยใช้ยีสต์กระตุ้นให้เกิดไข้ ในหนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์ ด้วยวิธีฉีดเข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้นจึงให้สารสกัดผักเสี้ยนผีแก่หนู ผลการศึกษาโดยการวัดอุณหภมิหนูทางทวารหนัก พบว่าสารสกัดผักเสี้ยนผีขนาด 200, 300 และ 400 mg/kg สามารถลดไข้ในหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีผลลดไข้ได้เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ภายหลังจากการได้รับสารสกัด โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน paracetamol ในขนาด 150 mg/kg (Devi, et al., 2003)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ของสารสกัดใบผักเสี้ยนผี ด้วย petroleum ether, chloroform, methanol และ water จากการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเสี้ยนผีใน petroleum ether และ chloroform ไม่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ในขณะที่สารสกัด methanol แสดงฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging (DPPH) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 56.39 μg/ml และจับอนุมูลซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide scavenging activity) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 919.70 μg/ml (Upadhyay, et al., 2014)

 

การศึกษาทางคลินิก:

     ไม่มีข้อมูล


   การศึกษาทางพิษวิทยา:

      ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Bawankule DU, Chattopadhyay SK, Pal A, Saxena K, Yadav S, Faridi U, et al. Modulation of inflammatory mediators by coumarinolignoids from Cleome viscosa in female swiss albino mice. Inflammopharmacology. 2008;16:1-6.

2. Devi BP, Boominathan R, Mandal SC. Evaluation of antipyretic potential of Cleome viscosa L. (Capparidaceae) extract in rats. J Ethnopharmacology. 2003;87:11-13.

3. Kumar S, Ray AB, Konnon C, Oshima Y, Hikino S. Cleomiscosin D, a coumarino-lignan from seeds of Cleome viscosa. Phytochemistry. 1988;27(2): 636-638.  

4. Tiwari U, Rastogi B, Thakur S, Jain S, Jain NK, Saraf DK. Studies on the immunomodulatory effects of Cleome viscosa. Indian J Pharm Sci. 2004;66(2): 171-176.

5. Upadhyay A, Chattopadhyay P, Goyary D, Mazumder PM, Veer V. In vitro fibroblast growth stimulatory and in vivo wound healing activity of Cleome viscosa. Orient Pharm Exp Med. 2014;14: 269-278.

 

ข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์  : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ผักเสี้ยนผี

...

Other Related ผักเสี้ยนผี

ข้อมูล ผักเสี้ยนผี จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


ผักเสี้ยนผี การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช (Plantae) ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Brassicales วงศ์: Cleomaceae สกุล: Cleome สปีชีส์: C.  viscosa ชื่อพ้อง[1] Arivela viscosa (L.) Raf. Cleome acutifolia Elmer Cleome icosandra L. Polanisia icosandra (L.) Wight & Arn. Polanisia microphylla Eichler Polanisia viscosa (L.) Blume Sinapistrum viscosum (L.) Moench ผักเสี้ยนผี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome viscosa Linn.) หรือชื่ออื่นเช่น ผักเสี้ยนป่า ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) ผักเสี้ยนตัวเมีย ไปนิพพานไม่รู้กลับ ลักษณะทางวิทยาศาสตร์

ราก

ผักเสี้ยนผี เป็นพืชที่มีระบบรากแก้ว ประกอบด้วยรากแรกเริ่มที่งอกออกจากเมล็ดและหยั่งลงสู่ดิน มีขนาดใหญ่กว่ารากอื่นๆ เรียกว่ารากแก้ว มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้ว มีขนาดเล็กกว่ารากแก้ว โดยรากแขนงจะแตกออกจากรากแก้วในลักษณะแผ่กระจายออกไปรอบๆ รากแก้ว มีทิศทางเอียงลงสู่ดิน และรากแขนงยังแตกแขนงออกไปอีกเป็นทอดๆ รากผักเสี้ยนผีมีสีขาวขุ่น แต่รากที่มีอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็น รสขม รากที่มีอายุ 3 เดือน มีความยาวของรากแก้ว ประมาณ 16 เซนติเมตร เส้นรอบวงบริเวณโคนราก ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากแขนงยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ลำต้น

ผักเสี้ยนผี เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงเหนือดิน มีกิ่งแตกออกจากลำต้นทุกทิศทาง ข้อและปล้องเห็นไม่ชัดเจน ลำต้นที่มีอายุน้อยจะมีสีเขียว ส่วนลำต้นที่มีอายุมาก จะมีสีน้ำตาลปนม่วง ผิวของลำต้นไม่เรียบ มีรอยนูนเป็นเส้นตามความยาวของลำต้น มีขนอ่อนสีขาวนวลปกคลุมที่ผิวลำต้น มีกลิ่นเหม็น รสขม ภายในลำต้นมีน้ำยางใสและเหนียว เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร เส้นรอบวงโคนลำต้นยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใบ

ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3 – 7 ใบ แต่ส่วนใหญ่ มีใบย่อย 3 – 5 ใบ รูปไข่ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.3 มิลลิเมตร ปลายแหลม โคนสอบคล้ายรูปลิ่ม ขอบใบหยักเล็กน้อย เส้นใบสานเป็นร่างแห จัดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ด้านหลังใบจะมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ มีขนอ่อนสีขาวนวลปกคลุมอยู่ทั่วใบ ใบอ่อนที่ม้วนงออยู่ตามความยาวของใบ เมื่อคลี่ออกจะค่อยๆ คลี่ออกทางด้านกว้างของใบ ก้านใบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น รสขม ดอก

ดอกช่อแบบช่อเชิงหลั่น เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน และเป็นดอกสมบูรณ์ คือมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ดอกออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง สีเขียวอ่อน เรียวยาว ปลายกลีบแหลม 4 กลีบเป็นกลีบใหญ่ 1 กลีบ กลีบเล็ก 3 กลีบ กลีบเลี้ยงที่มีขนาดใหญ่ จะอยู่ตรงกับตำแหน่งที่เว้นว่างระหว่างกลีบดอก กลีบเลี้ยงใหญ่มีความยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเล็ก มีความยาวและความหนาเท่าๆ กับกลีบเลี้ยงใหญ่ แต่มีความกว้างน้อยกว่า คือประมาณ 1.5 มิลลิเมตร กลีบดอก สีเหลือง 4 กลีบเรียงชิดกัน มีช่องว่างเหลือประมาณความกว้างของ 1 กลีบดอก กลีบดอกมีลักษณะแผ่แบนคล้ายเล็บ ขอบเรียบ โค้งมน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.1 มิลลิเมตร ก้านดอก สีเขียวอ่อน ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร รังไข่มีตำแหน่งอยู่เหนือวงกลีบ แต่ละดอก ประกอบด้วยเกสรเพศเมีย 1 อัน และเกสรเพศผู้ ประมาณ 20 อัน มีกลิ่นเหม็น รสขม ผักเสี้ยนผีจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือน ผล

ผลเดี่ยวชนิดผลแห้ง ผลมีลักษณะเป็นฝัก กลมยาว ปลายแหลม มีจะงอยที่ปลายผล ผิวหยาบ ผลสด สีเขียว ผลแก่ที่แห้งแล้วสีน้ำตาล มีขนสีขาวนวลปกคลุมทั่วทั้งผล ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร เส้นรอบวงตรงกลางผลยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 1.4 เซนติเมตร มีกลิ่นเหม็น รสขม อายุของผลตั้งแต่เริ่มเกิดผลจนกระทั่งแก่และฝักแตก ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ด

รูปทรงกลม แบน เมล็ดอ่อน สีเขียวอ่อน เมล็ดแก่ สีน้ำตาลแดง ผิวหยาบ มีเส้นลายนูนต่ำแผ่ออกจากตรงกลางที่เป็นรอยบุ๋ม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร หนาประมาณ 0.6 มิลลิเมตร จำนวนเมล็ดต่อผลประมาณ 150 เมล็ด มีกลิ่นเหม็น รสขม การกระจายพันธุ์

พบได้ทั่วไปตามที่รกร้าง ทุกภาคของประเทศไทย สามารถกระจายพันธุ์ได้เอง โดยฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ตรงแนวตะเข็บ เมล็ดจะตกกระจายลงในดิน ถ้าดินมีความชื้นเหมาะสม เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นใหม่[2] ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด โดยนำเมล็ดที่แก่เต็มที่มาหว่านลงในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ถ้าเป็นดินร่วนจะดีมาก รดน้ำใช้ชุ่มทุกวัน เมล็ดจะงอกได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ สรรพคุณทางยาและวิธีใช้

ผักเสี้ยนมีน้ำมันหอมระเหย (Volatic Oil) ประกอบด้วย Cyanide ซึ่งจะมีผลระบบทางเดินโลหิต และสารไฮโดรไซยาไนด์ (Hydrocyanide) ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และยังมีกลิ่นเหม็นเขียวอย่างแรง ต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอดแก้ขับหนองในร่างกาย หรือให้หนองแห้ง แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ได้ โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง ใบนำมาพอกแก้ปวดหัวบดกับเกลือทาแก้ปวดหลัง และแก้ปัสสาวะพิการ ราก แก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้ รากผสมกับเมล็ด เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟันและเป็นยากระตุ้นหัวใจ ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ แก้ปวดเป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์การนอนหลับ ยับยั้งเชื้อ HIV ในตำรายาโบราณมักนำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด ยานวดตำรับนี้อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี จากกองทุนชีวกโกมารภัจจ์ แนะวิธีการหุงไว้ คือ ใช้ผักเค็ดเลือกเอาแต่ใบสด (วัชพืชที่มักขึ้นคู่กับผักเสี้ยนผี หน้าตาคล้ายผักเป็ดหรือคราดหัวแหวน) ใช้เพชรสังฆาตสด ตองตึง ผักเสี้ยนผี เลือกเอาแต่ใบสด นำไปเคี่ยวในน้ำกะทิ (เลือกเอาแต่หัวกะทิ) เคี่ยวนานประมาณ 6-7 ชั่วโมง จะได้น้ำมันสีเขียวใส จึงเรียกว่าน้ำมันเขียวมรกต สรรพคุณดีมาก นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก เมล็ด ผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลัง[3] ดูเพิ่ม

ผักเสี้ยน อ้างอิง

↑ The Plant List: A Working List of All Plant Species, สืบค้นเมื่อ 17 May 2016 ↑ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ลิงก์เสีย] ↑ มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ผักเสี้ยนผี&oldid=9651714"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ ผักเสี้ยนผี

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

166

ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี เมื่อนำสารสกัดเมทานอลของผักเสี้ยนผีทั้งต้น ไปทดสอบในหนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านการบีบตัว และขับเคลื่อนของเสียออกจากร่างกายอย่างแรง จึงเป็นไปได้ว่าสารสกัดผักเสียนผีมีฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียได้จริงตามที่มีการใช้ในยาแผนโบราณ Phytomedicine 2002;9:739-2 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

สมุนไพรอื่นๆ

65

เทียนเกล็ดหอย
เทียนเกล็ดหอย ชื่อเครื่องยาเทียนเกล็ดหอย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ดแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนเกล็ดหอย (Ispaghula seed) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Plantago ovata Forssk. ชื่อพ้องP. ispaghula ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมัน ลื่น เรียบไม่มีขน มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมชมพู ขน...

92

พิกุล
พิกุล ชื่อเครื่องยาพิกุล ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิกุล ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กุน แก้ว ซางดง พิกุลเขา พิกุลเถื่อน พิกุลป่า ชื่อวิทยาศาสตร์Mimusops elengi L. ชื่อพ้องImbricaria perroudii Montrouz., Kaukenia elengi (L.) Kuntze, K. javensis (Burck) Kuntze, K. timorensis (Burck) Kuntze, Magnolia xerophila P.Parm., Manilkara parvifolia (R.Br.) Dubard, Mimusops javensis Burck, M. latericia Elmer, M. lucida Poir., M. parvifolia R.Br., ...

159

มะแว้งเครือ
มะแว้งเครือ ชื่อเครื่องยามะแว้งเครือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะแว้งเครือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะแว้งเขา มะแว้งเถา แขว้งเคีย ชื่อวิทยาศาสตร์Solanum trilobatum L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Solanaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลรูปทรงกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวมีลายสีขาว เมื่อสุกสีแดง) ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยงเป็น เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก...

139

สีเสียดไทย
สีเสียดไทย ชื่อเครื่องยาสีเสียดไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสีเสียดเหนือ สีเสียดลาว ได้จากสารที่ได้จากการนำเนื้อไม้ไปต้ม ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ขี้เสียด (เหนือ) สะเจ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (กลาง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่) สีเสียดหลวง สีเสียดลาว ชื่อวิทยาศาสตร์Acacia catechu (L.f.) Willd ชื่อพ้องAcacia catechuoides (Roxb.) Benth., Acacia sundra (Roxb.) Bedd., Acacia wallichiana DC., Mimosa catechu L.f., Mimosa c...

181

มะดูก
มะดูก ชื่อเครื่องยามะดูก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากแก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะดูก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บักดูก (อีสาน), บักโคก (เขมร), ยายปลวก (ใต้) ดูกหิน ชื่อวิทยาศาสตร์Siphonodon celastrineus Griff. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Celastraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เนื้อไม้บริเวณแก่น เรียบ สีขาว หรือออกสีเหลืองอ่อนๆ   เครื่องยา มะดูก   เครื่องยา มะดู...

68

เทียนดำ
เทียนดำ ชื่อเครื่องยาเทียนดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนดำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Nigella sativa L. ชื่อพ้องNigella cretica Mill. ชื่อวงศ์Ranunculaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ถึงห้าเหลี่ยม สีดำ เนื้อในสีขาว ขนาดกว้าง 1.4-1.8 มิลลิเมตร ยาว 2.5-3.0 มิลลิเมตร   เมล็ดแก่แห้ง มีสีดำสนิท ผิวนอกขรุขระ ไม่ม...

28

โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อเครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงเฮา, ชิงฮาว, แชเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์Artemisia annua L. ชื่อพ้องArtemisia chamomilla C.Winkl. ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ประกอบด้วยส่วนของลำต้น ใบ และดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก...

166

สารส้ม
สารส้ม ชื่อเครื่องยาสารส้ม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหินส้ม ได้จากธาตุวัตถุ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์ ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลึกก้อนใส หรือสีขาว มัวเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก หากสะตุแล้ว จะเป็นผงสีขาว (วิธีสะตุ นำสารส้มมาบดให้ละเอียด นำมาใส่หม้อดิน เอาตั้งไฟจนสารส้มละลายฟู ขาวดี จึงยกลงจากไฟ นำไปปรุงยาได้) &nbs...

37

ข่อย
ข่อย ชื่อเครื่องยาข่อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กักไม้ฝอย ส้มพอ ส้มพล ส้มฝ่อ ซะโยเส่ สะนาย ตองขะแหน่ ขรอย ขันตา ชื่อวิทยาศาสตร์Streblus asper Lour. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เปลือกสีเทาอมเขียว เปลือกในสีขาวหนา ผิวเรียบบาง มักมีขนอยู่โดยทั่วไป มียางขาวข้น เปลือกต้น กระพี้ มีรสเมาฝาดขม เยื่อหุ้มก...

ผักเสี้ยนผียอดยาแก้ปวด

ผักเสี้ยนผียอดยาแก้ปวด

ผักเสี้ยนผียอดยาแก้ปวด

View
บรรเทาอาการปวดเส้น ผักเสี้ยนผี: สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

บรรเทาอาการปวดเส้น ผักเสี้ยนผี: สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

บรรเทาอาการปวดเส้น ผักเสี้ยนผี: สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

View
ปวดเอว ปวดก้ามเนื้อ ปวดตามกระดูก ปวดตามข้อ สมุนไพรนี้นวดแล้วหลับสบาย

ปวดเอว ปวดก้ามเนื้อ ปวดตามกระดูก ปวดตามข้อ สมุนไพรนี้นวดแล้วหลับสบาย

ปวดเอว ปวดก้ามเนื้อ ปวดตามกระดูก ปวดตามข้อ สมุนไพรนี้นวดแล้วหลับสบาย

View
ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของผักเสี้ยนผี จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของผักเสี้ยนผี จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของผักเสี้ยนผี จริงหรือ ?

View
ผักเสี้ยนผีสมุนไพรแก้ปวดหลังปวดเอว แก้เส้นยึดเส้นตึง ดูดวามแตกต่าง(รีบหามาปลูก)

ผักเสี้ยนผีสมุนไพรแก้ปวดหลังปวดเอว แก้เส้นยึดเส้นตึง ดูดวามแตกต่าง(รีบหามาปลูก)

ผักเสี้ยนผีสมุนไพรแก้ปวดหลังปวดเอว แก้เส้นยึดเส้นตึง ดูดวามแตกต่าง(รีบหามาปลูก)

View
ผักเสี้ยนผี ยาดีครอบจักวาล

ผักเสี้ยนผี ยาดีครอบจักวาล

ผักเสี้ยนผี ยาดีครอบจักวาล

View
ทำน้ำมันผักเสี้ยนผี ไว้นวดเส้นเอ็น : สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

ทำน้ำมันผักเสี้ยนผี ไว้นวดเส้นเอ็น : สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

ทำน้ำมันผักเสี้ยนผี ไว้นวดเส้นเอ็น : สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

View
วิธีเตรียมผักเสี้ยนผี เพื่อตากแห้งไว้ใช้ทำยาสมุนไพร

วิธีเตรียมผักเสี้ยนผี เพื่อตากแห้งไว้ใช้ทำยาสมุนไพร

วิธีเตรียมผักเสี้ยนผี เพื่อตากแห้งไว้ใช้ทำยาสมุนไพร

View
1 เป๊ก ปวดเส้นปวดเอ็นร้าวลงขา ปวดหลัง หายเกลี้ยง เส้นยึดเอ็นตึง ลุกนั่งลำบาก ผักเสี้ยนผี สมุนไพรไทย

1 เป๊ก ปวดเส้นปวดเอ็นร้าวลงขา ปวดหลัง หายเกลี้ยง เส้นยึดเอ็นตึง ลุกนั่งลำบาก ผักเสี้ยนผี สมุนไพรไทย

1 เป๊ก ปวดเส้นปวดเอ็นร้าวลงขา ปวดหลัง หายเกลี้ยง เส้นยึดเอ็นตึง ลุกนั่งลำบาก ผักเสี้ยนผี สมุนไพรไทย

View
ผักเสี้ยนผี​ ปวดข้อปวดเข่า​ น้ำเหลืองเสีย​  ชาผักเสี้ยนผี​ คุณป้าพาทำ

ผักเสี้ยนผี​ ปวดข้อปวดเข่า​ น้ำเหลืองเสีย​ ชาผักเสี้ยนผี​ คุณป้าพาทำ

ผักเสี้ยนผี​ ปวดข้อปวดเข่า​ น้ำเหลืองเสีย​ ชาผักเสี้ยนผี​ คุณป้าพาทำ

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับผักเสี้ยนผี
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่