Menu

ตานหม่อน

ชื่อเครื่องยา

ตานหม่อน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ตานหม่อน

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ตานหม่น ตานค้อน ตาลขี้นก ช้าหมากหลอด

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tarlmounia elliptica (DC.)

ชื่อพ้อง

Cacalia elaeagnifolia Kuntze, Strobocalyx elaeagnifolia (DC.) Sch.Bip., Strobocalyx elliptica (DC.) Sch.Bip., Vernonia elaeagnifolia DC., Vernonia elliptica

ชื่อวงศ์

Asteraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

            ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม หรือป้านมน กว้าง 3-4.5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ หรือจักฟันเลื่อย ฐานใบป้าน ก้านใบยาว 2-10 มิลลิเมตร เส้นใบย่อย 7-9 คู่ ใบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนนุ่มคล้ายไหมสีเทา

 

เครื่องยา ตานหม่อน

 

เครื่องยา ตานหม่อน

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11.0% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2.0% w/w  ปริมาณเถ้าชนิดซัลเฟต ไม่เกิน 20.0% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 5.0% w/w  ปริมาณสารสกัดสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 14.0% w/w  ปริมาณสารสกัดสารคลอโรฟอร์ม ไม่น้อยกว่า 4.0% w/w 

 

 

สรรพคุณ:

            ตำรายาไทย ใบมีรสเบื่อ หวานชุ่มเย็น แก้พิษตานซาง บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ ขับไส้เดือนในท้อง ใบ ผสมในตำรับยาประสะมะแว้ง ยอดอ่อน ใบอ่อน ลวก ต้ม รับประทานเป็นผัก

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบตานหม่อน ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

 

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

           ไม่มีข้อมูล

 

องค์ประกอบทางเคมี:

            ส่วนเหนือดินพบสารกลุ่ม sesquiterpene lactone ได้แก่ glaucolides A และ B และอนุพันธ์กลุ่ม acetate, สารอื่นๆที่พบ เช่น lupeol, taraxasterol, sitosterol, stigmasterol

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

       การศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทานอลและน้ำ ของลำต้นตานหม่อน ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์ คือ S.aureus, B.subtilis, E.coli, Sh.disenteriae, S.typhi และ C.albicans โดยใช้เทคนิค disk diffusion method ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลของตานหม่อน สามารถยับยั้งเชื้อ S.aureus, B.subtilisและ C.albicansได้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่อการยับยั้งเชื้อ (diameter of inhibition zone) เท่ากับ 7-12, 7-12 และ >12-19 มิลลิเมตร ตามลำดับ (Avirutnant and Pongpan, et al., 1983)

ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

         การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก ของสารสกัดน้ำ และแอลกอฮอล์ ของเนื้อไม้ตานหม่อน ต่อเชื้อรา 3 ชนิดคือ Trichophyton rubrum, Epidermophyton floccosum  และMicrosporum gypseum ผลการทดสอบพบว่าเฉพาะสารสกัดแอลกอฮอล์จากเนื้อไม้ตานหม่อนสามารถยับยั้งเชื้อราได้หนึ่งชนิด คือ M.gypseum (วันดี และแม้นสรวง, 2536)

 

การศึกษาทางคลินิก:

   ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:

   ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง:

วันดี อวิรุทธ์นันท์,แม้นสรวง วุธอุดมเลิศ. ฤทธิ์ต้านเชื้อราของพืชสมุนไพร. วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2536;10(3):87-89.

Avirutnant W, Pongpan A. The antimicrobial activity of some Thai flowers and plants. Mahidol Univ J Pharm Sci. 1983;10(3):81-86.

 

ข้อมูลตำรับยาประสะมะแว้ง : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ตานหม่อน

...

Other Related ตานหม่อน

ข้อมูล ตานหม่อน จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


ตานหม่อน การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids อันดับ: Asterales วงศ์: Asteraceae สกุล: Tarlmounia H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan สปีชีส์: T.  elliptica ชื่อทวินาม Tarlmounia elliptica (DC.) H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan[1] ชื่อพ้อง Cacalia elaeagnifolia Kuntze Strobocalyx elaeagnifolia (DC.) Sch.Bip. Strobocalyx elliptica (DC.) Sch.Bip. Vernonia elaeagnifolia DC. Vernonia elliptica DC. ตานหม่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tarlmounia elliptica) เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Tarlmounia มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย, พม่า และไทย รวมถึงกลายเป็นพืชท้องถิ่นในตอนใต้ของไต้หวันและรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย[1][2][3] ลักษณะเป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มเลื้อย ขึ้นแทรกในซอกหินตามหน้าผาชัน ลำต้นแตกกิ่งแขนงระเกะระกะ ห้อยระย้าลงมาตามหน้าผา กิ่งก้านเล็กเรียว มีสันตามยาว ขนสีเงิน ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบหอกกลับ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีเงิน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีขาว ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกเล็กมีขนาดเล็ก เริ่มบานเป็นสีม่วง เมื่อโรยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม ออกที่ยอดหรือซอกใบ กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลแห้งมีต่อมใส ๆ สีน้ำตาลอ่อน กระจายตามผิวผล มีขนเป็นพู่ติดรอบปลายผล ตานหม่อนจัดเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาทำเป็นยาขับพยาธิได้[4] ใช้เป็นยาแก้พิษตานซาง ใช้ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง[5] และเป็นสมุนไพรหนึ่งในตำรับยาประสะมะแว้ง ซึ่งใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ช่วยให้ชุ่มคอ[6] อ้างอิง

↑ 1.0 1.1 "Tarlmounia elliptica (DC.) H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan ". ดัชนีชื่อพืชของออสเตรเลีย (Australian Plant Name Index, APNI), ฐานข้อมูล IBIS. ศูนย์วิจัยความหลากทางชีวภาพทางพืช รัฐบาลประเทศออสเตรเลีย. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014 . ↑ "Tarlmounia elliptica (DC.) H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan". The Plant List. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014 . ↑ "Vernonia elliptica Candolle". Flora of China. eFloras.org. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014 . ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09. สืบค้นเมื่อ 2007-09-17 . ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 307 – 308 ↑ "ตานหม่อน". ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ July 21, 2020 . แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตานหม่อน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tarlmounia elliptica ที่วิกิสปีชีส์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ตานหม่อน&oldid=9643698"
.

สมุนไพรอื่นๆ

119

ลำดวน
ลำดวน ชื่อเครื่องยาลำดวน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลำดวน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หอมนวล (ภาคเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Melodorum fruticosum Lour. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกสีเหลืองนวล รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบนรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกว...

42

คำฝอย
คำฝอย ชื่อเครื่องยาคำฝอย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากกลีบดอก และเกสรแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคำฝอย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดอกคำ คำหยุม คำหยอง คำยุ่ง คำ คำยอง ชื่อวิทยาศาสตร์Carthamus tinctorius L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นกระจุก กลีบสีแดงถึงน้ำตาลแดง หลอดกลีบดอกยาว ผอม แบ่งเป็น ...

145

หอมแดง
หอมแดง ชื่อเครื่องยาหอมแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหอมหัวแดง ได้จากลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหอมแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หอมแกง (ภาคกลาง ภาคใต้) หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว (ภาคกลาง) หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (พายัพ) ผักบั่ว (อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium ascalonicum L. ชื่อพ้องAllium carneum Willd., Allium fissile Gray, Allium hierochuntinum Boiss., Porrum ascalonicum ชื่อวงศ์Amaryllidaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:   &nbs...

78

บัวเผื่อน
บัวเผื่อน ชื่อเครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัวแบ้ ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea stellata Willd. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมต...

15

กวาวเครือขาว
กวาวเครือขาว ชื่อเครื่องยากวาวเครือขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากหัว ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว ชื่อวิทยาศาสตร์Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่...

98

มะกรูด
มะกรูด ชื่อเครื่องยามะกรูด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะกรูด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ใต้) มะหูด (หนองคาย) มะขูด มะขุน (เหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โกร้ยเชียด (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus hystrix DC. ชื่อพ้องCitrus auraria Michel, Citrus balincolong (Yu.Tanaka) Yu.Tanaka, Citrus boholensis (Wester) Yu.Tanaka, Citrus celebica Koord., Citrus combara Raf., Citrus hyalopulpa Yu.Tanaka, Citrus kerrii (Swingle) Yu...

110

เมื่อยแดง
เมื่อยแดง ชื่อเครื่องยาเมื่อยแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเมื่อยดูก ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเมื่อยแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เมื่อย ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่) ชื่อวิทยาศาสตร์Gnetum macrostachym Hook.f. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Gnetaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้พุ่มรอเลื้อย เถาเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกเถาส...

21

กำแพงเจ็ดชั้น
กำแพงเจ็ดชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเจ็ดชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตาไก้ ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia chinensis L. ชื่อพ้องSalacia prinoides ชื่อวงศ์Celastraceae (Hippocrateaceae) ลักษณะภายนอก...

63

เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง ชื่อเครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเถาวัลย์เปรียงขาว ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา ชื่อวิทยาศาสตร์Derris scandens (Roxb.) Benth ชื่อพ้องBrachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia timoriensis DC., Deguelia tim...

ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ป้องกันโควิด-19 ได้ ? : ชัวร์หรือมั่ว

ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ป้องกันโควิด-19 ได้ ? : ชัวร์หรือมั่ว

ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ป้องกันโควิด-19 ได้ ? : ชัวร์หรือมั่ว

View
สมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่๘ ตอน๓

สมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่๘ ตอน๓

สมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่๘ ตอน๓

View
สาวป่วยโควิดไร้เตียงต้มน้ำสมุนไพรกินหาย หมอบอกอยู่ที่ภูมิคุ้มกัน

สาวป่วยโควิดไร้เตียงต้มน้ำสมุนไพรกินหาย หมอบอกอยู่ที่ภูมิคุ้มกัน

สาวป่วยโควิดไร้เตียงต้มน้ำสมุนไพรกินหาย หมอบอกอยู่ที่ภูมิคุ้มกัน

View
หมอนสมุนไพรช่วยผ่อนคลาย : ชุมชนทั่วไทย (11 ม.ค. 62)

หมอนสมุนไพรช่วยผ่อนคลาย : ชุมชนทั่วไทย (11 ม.ค. 62)

หมอนสมุนไพรช่วยผ่อนคลาย : ชุมชนทั่วไทย (11 ม.ค. 62)

View
ตานหม่อน  แก้พิษตานซาง คุมธาตุ บำรุงเนื้อหนังให้สมบรูณ์ ขับพยาธิไส้เดือน

ตานหม่อน แก้พิษตานซาง คุมธาตุ บำรุงเนื้อหนังให้สมบรูณ์ ขับพยาธิไส้เดือน

ตานหม่อน แก้พิษตานซาง คุมธาตุ บำรุงเนื้อหนังให้สมบรูณ์ ขับพยาธิไส้เดือน

View
ตานหม่อน ต้านมะเร็ง ขับพยาธิ โรคผิวหนัง l บันทึกของแผ่นดิน

ตานหม่อน ต้านมะเร็ง ขับพยาธิ โรคผิวหนัง l บันทึกของแผ่นดิน

ตานหม่อน ต้านมะเร็ง ขับพยาธิ โรคผิวหนัง l บันทึกของแผ่นดิน

View
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (22 ม.ค. 64)

สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (22 ม.ค. 64)

สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (22 ม.ค. 64)

View
ต้นตานหม่อน

ต้นตานหม่อน

ต้นตานหม่อน

View
Dr Gunyamol ep 141 เตือน 17 สมุนไพร ที่อาจมีผลกับไต

Dr Gunyamol ep 141 เตือน 17 สมุนไพร ที่อาจมีผลกับไต

Dr Gunyamol ep 141 เตือน 17 สมุนไพร ที่อาจมีผลกับไต

View
"ปวด"ไก่ดำช่วยได้ เปิด...อภัยภูเบศร

"ปวด"ไก่ดำช่วยได้ เปิด...อภัยภูเบศร

"ปวด"ไก่ดำช่วยได้ เปิด...อภัยภูเบศร

View