ข้อมูลสมุนไพร สมุลแว้ง รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ สมุลแว้ง, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ สมุลแว้ง, สรรพคุณทางยาของ สมุลแว้ง และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | สมุลแว้ง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เปลือกต้น |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | สมุลแว้ง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | เชียกใหญ่ เฉียด ฝนแสนห่า พะแว มหาปราบ โมงหอม อบเชย ขนุนมะแว้ง จวงดง แสงแวง ระแวง มหาปราบตัวผู้ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet |
ชื่อพ้อง | Cinnamomum bazania (Buch.-Ham.) Nees, Cinnamomum obtusifolium (Roxb.) Nees, Cinnamomum sikkimense Lukman., Cinnamomum van-houttei Lukman., Laurus bejolghota Buch.-Ham., Laurus obtusifolia |
ชื่อวงศ์ | Lauraceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เปลือกหนา ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน มีรอยแตก ขรุขระ เนื้อในสีน้ำตาลแดง เป็นมัน ขนาดความกว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร หนา 0.2-0.8 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสร้อนปร่า
เครื่องยา สมุลแว้ง
เครื่องยา สมุลแว้ง
เครื่องยา สมุลแว้ง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 10% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2% w/w ปริมาณสารสกัดเฮกเซน, ไดคลอโรมีเทน, แอลกอฮอล์ และน้ำ ไม่น้อยกว่า 5, 1, 20, 15% w/w ตามลำดับ (นพมาศ และนงลักษณ์, 2551)
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เปลือกต้น หอมฉุน รสร้อนปร่า แก้ลมวิงเวียน และลมที่ทำให้ใจสั่น แก้พิษหวัด กำเดา ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ
ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุ “ตำรับยาทรงนัตถุ์” เข้าเครื่องยา 15 สิ่ง ใช้ปริมาณเท่าๆกัน รวมทั้ง สมุลแว้งด้วย ผสมกัน บดเป็นผงละเอียด ใช้สำหรับนัตถุ์ หรือห่อผ้าบาง ใช้ดมแก้ปวดหัว วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้เปลือกสมุลแว้งในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏในตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของเปลือกสมุลแว้งร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
น้ำมันหอมระเหย 0.08% ประกอบด้วย α–terpineol, (E)-nerolidol, 1,8 cineole
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระ
การทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และการต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดเปลือกสมุลแว้งด้วยเมทานอล ทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ หนูถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร streptozotocin แล้วให้สารสกัดสมุลแว้ง ขนาด 250 หรือ 500 mg/kg วันละครั้ง เป็นเวลา 15 วัน แก่หนู บันทึกผลโดยการวัดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูหลังได้รับสารสกัด ที่เวลา 0, 30, 60, 90 และ 120 นาที รวมทั้งวัดค่าการทำงานของตับ และกระบวนการเมตาบอลิซึมของตับ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดสมุลแว้งทั้ง 2 ขนาด สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา 60, 90 และ 120 นาที หลังได้รับสารสกัด และลดการเกิดอนุมูลอิสระได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยทำให้ระดับ LDL ลดลง, และลดระดับเอนไซม์ตับทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ aspartate transminase, alanine transminase และ alkaline phosphatate ลดการเกิด lipid peroxidation เพิ่มระดับ HDL เพิ่มระดับของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในตับ ได้แก่ catalase และ glutathione และสารสกัดสามารถปกป้องเนื้อเยื่อตับอ่อนให้มีสภาพปกติได้ (Gogoi, et al., 2014)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเปลือกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 4,000 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)
เอกสารอ้างอิง:
1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
2. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, นงลักษณ์ เรืองวิเศษ. คุณภาพเครื่องยาไทย จากงานวิจัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด: กรุงเทพมหานคร, 2551.
3. Gogoi B, Kakoti BB, Borah S, Borah NS.Antihyperglycemic and in vivo antioxidative activity evaluation ofCinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) in streptozotocin induced diabetic rats: an ethnomedicinal plant in Assam. Asian Pac J Trop Med 2014;7(Suppl1):S427-S434.
ข้อมูลตำรับยาธาตุบรรจบ : www.thai-remedy.com
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
สมุลแว้ง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliids อันดับ: Laurales วงศ์: Lauraceae สกุล: Cinnamomum สปีชีส์: C. bejolghotha ชื่อทวินาม Cinnamomum bejolghota
Wight
สมุลแว้ง [สะ-หฺมุน-ละ-แว้ง], ขนุนมะแวง, อบเชยญวน หรือ ฝนแสนห่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum bejolghota) เป็นพืชในวงศ์ Lauraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกหอม หนา ลอกได้เป็นแผ่น ไม่ค่อยแตกกิ่ง เปลือกสีอมเทา ใบเดี่ยว เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ใบรูปรี ด้านบนของใบมีเส้นแขนงใบออกจากจุดโคนใบเป็นร่องลึกเด่นชัด 3 เส้น ก้านใบค่อนข้างใหญ่ ช่อดอกออกที่ปลายยอด ดอกออกเป็นช่อใหญ่ แตกแขนงใกล้ยอด ผลมีเนื้อ อวบน้ำ รูปรีหรือค่อนข้างกลม
สมุลแว้งใช้เป็นพืชสมุนไพร พบครั้งแรกในไทยที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 โดยหมอคาร์ ชาวไอริช พืชชนิดนี้เดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Temmodaphne thailandica ซึ่งชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย ส่วนชื่อสกุลตั้งเป็นเกียรติให้กับ ศ.ดร. เต็ม สมิตินันท์ อ้างอิง
ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 2 เครื่องยาพฤกษวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 46 ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 83 ดคกพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ภาคเหนือ กาซะลองคำ (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่) กำลังเสือโคร่ง (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) จั่น (แม่ฮ่องสอน) กระเชา (ลำปาง) ก้ามปู (ลำพูน) สัก (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะหาด (กาฬสินธุ์) กัลปพฤกษ์ (ขอนแก่น) ขี้เหล็ก (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม) สาธร (นครราชสีมา) กาฬพฤกษ์ (บุรีรัมย์) พฤกษ์ (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) กระบาก (ยโสธร) กระบก (ร้อยเอ็ด) สนสามใบ (เลย) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) มะค่าแต้ (สุรินทร์) ชิงชัน (หนองคาย) พะยูง (หนองบัวลำภู) ตะเคียนหิน (อำนาจเจริญ) รัง (อุดรธานี) ยางนา (อุบลราชธานี) ภาคกลาง ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพมหานคร) สีเสียดแก่น (กำแพงเพชร) มะตูม (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก) จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (นครปฐม) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี) ทองหลางลาย (ปทุมธานี) หมัน (พระนครศรีอยุธยา) บุนนาค (พิจิตร) ปีบ (พิษณุโลก) มะขาม (เพชรบูรณ์) พิกุล (ลพบุรี) โพทะเล (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) พญาสัตบรรณ (สมุทรสาคร) ตะแบกนา (สระบุรี) มะกล่ำตาช้าง (สิงห์บุรี) มะค่า (สุโขทัย) มะเกลือ (สุพรรณบุรี) มะพลับ (อ่างทอง) สะเดา (อุทัยธานี) ภาคตะวันออก จัน (จันทบุรี) อะราง (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี) หูกวาง (ตราด) โพ (ปราจีนบุรี) กระทิง (ระยอง) มะขามป้อม (สระแก้ว) ภาคตะวันตก ขานาง (กาญจนบุรี) แดง (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) หว้า (เพชรบุรี) โมกมัน (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) มะเดื่ออุทุมพร (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) แซะ (นครศรีธรรมราช) ตะเคียนชันตาแมว (นราธิวาส) ตะเคียน (ปัตตานี) เทพทาโร (พังงา) พะยอม (พัทลุง) ประดู่บ้าน (ภูเก็ต) อโศกเหลือง (ยะลา) อบเชย (ระนอง) สะเดาเทียม (สงขลา) กระซิก (สตูล) เคี่ยม (สุราษฎร์ธานี) ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือจัน · ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์คือแปะ · ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธรคือยางนา · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัยคือตาล · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์คือกันเกรา ·
ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล · ต้นไม้ประจำจังหวัดระยองคือประดู่ · จังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือสิรินธรวัลลี เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=สมุลแว้ง&oldid=7870407"
.
ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่
ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬ
ฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของยาริดสีดวงมหากาฬยาริดสีดวงมหากาฬ เป็นตำรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้ในการบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก ประกอบด้วยสมุนไพรต่างๆ รวม 22 ชนิด ได้แก่ มดยอบ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว โกฐกักกรา โกฐสอ โกฐจุฬาลำพา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สนเทศ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สะค้าน สมุลแว้ง ดีปลี พริกไทย ขิง และอบเชยเทศ ในการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัด 80% เอทานอลของยาริดสีดวงมหากาฬในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิ...
กวาวเครือแดง
กวาวเครือแดง ชื่อเครื่องยากวาวเครือแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากวาวเครือแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง ชื่อวิทยาศาสตร์Butea superba Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: หัวใต้ดิน รูปทรงกระบอกยาว มีหลายขนาด เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางสีแดงข้น คล้ายเลือดไหลออกมา ...
มะคังแดง
มะคังแดง ชื่อเครื่องยามะคังแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยามุยแดง ตะลุมพุกแดง ได้จากเนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Gardenia erythroclada Kurz ชื่อพ้องDioecrescis erythroclada ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  ...
โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อเครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงเฮา, ชิงฮาว, แชเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์Artemisia annua L. ชื่อพ้องArtemisia chamomilla C.Winkl. ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ประกอบด้วยส่วนของลำต้น ใบ และดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก...
เทียนลวด
เทียนลวด ชื่อเครื่องยาเทียนลวด ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเทียนหลอด ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนลวด (bitter fennel) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์1.Foeniculum vulgare Mill subsp. piperatum (Ucr.)Beguinot , 2.Centraterum anthelminticum (Willd.) Kuntze ชื่อพ้อง1.Foeniculum piperatum ชื่อวงศ์1.Umbelliferae, 2.Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เมล็ดรูปกรวย หรือทรงกระบอก รูป...
เจตมูลเพลิงแดง
เจตมูลเพลิงแดง ชื่อเครื่องยาเจตมูลเพลิงแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเจตมูลเพลิงแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ปิดปีแดง(เลย) ไฟใต้ดิน(ใต้) คุ้ยวู่ (กาญจนบุรี) ชื่อวิทยาศาสตร์Plumbago indica L. ชื่อพ้องPlumbago rosea L., Thela coccinea ชื่อวงศ์Plumbaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: รากเป็นแท่งค่อนข้างกลม โค้งงอ คดไปมา สีน้ำตาลดำ ขนาดควา...
ลำดวน
ลำดวน ชื่อเครื่องยาลำดวน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลำดวน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หอมนวล (ภาคเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Melodorum fruticosum Lour. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกสีเหลืองนวล รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบนรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกว...
หม่อน
หม่อน ชื่อเครื่องยาหม่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหม่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Morus alba L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ใบ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้า...
ผักชีลา
ผักชีลา ชื่อเครื่องยาผักชีลา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาผักชีลา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ผักชี ผักหอมป้อม ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักชีไทย ผักชีหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum L. ชื่อพ้องBifora loureiroi Kostel., Coriandropsis syriaca H.Wolff, Coriandrum globosum Salisb., Coriandrum majus Gouan, Selinum coriandrum ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...
งา
งา ชื่อเครื่องยางา ชื่ออื่นๆของเครื่องยางาขาว งาดำ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)งาขาว งาดำ ชื่อวิทยาศาสตร์Sesamum indicum L. ชื่อพ้องSesamum orientale ชื่อวงศ์Pedaliaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม น้ำมัน รสฝาดร้อน &nbs...
ต้นสมุลแว้ง เครื่องยาชั้นดีของไทย วรากรสมุนไพร โทร/ไอดีไลน์ 0616498997
View“ชาหนุมานประสานกาย” : สรรพคุณ แก้แพ้อากาศ แก้หอบหืด
Viewวิธีทำยาสมุนไพรแก้กรดไหลย้อน ท้องอืดแน่นเฝ้อ ยาธาตุน้ำอบเชย
Viewแค่กรึ๊บเดียว!หายหัวตกหัวห้อย ลุกได้ทั้งคืน เพียงแค่ใช้เปลือกมาดองเหล้า บำรุงดีมากๆ
Viewเจาะลึก สมุนไพรยาเม็ดตราพระราม บำรุงร่างกายและบรรเทาอาการปวดต่างๆ
View1 เป๊ก ปวดเส้นปวดเอ็นร้าวลงขา ปวดหลัง หายเกลี้ยง เส้นยึดเอ็นตึง ลุกนั่งลำบาก ผักเสี้ยนผี สมุนไพรไทย
View