Menu

มะแว้งต้น

ชื่อเครื่องยา

มะแว้งต้น

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ผล

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะแว้งต้น

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มะแค้งขม มะแค้งดำ (เหนือ อีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Solanum indicum L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Solanaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

            ผลรูปกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม) ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดรูปกลมแบน สีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก จำนวนมาก

 

เครื่องยา มะแว้งต้น

เครื่องยา มะแว้งต้น

เครื่องยา มะแว้งต้น

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ไม่มีข้อมูล

 

สรรพคุณ:

            ตำรายาไทย ผลรสขมขื่นเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ไข้ที่มีเสมหะ ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี (หากใช้ติดต่อกันนานอาจเป็นโทษต่อไตได้) ผลสุก รสขื่นขม กัดเสมหะในลำคอ แก้ไอ ผลดิบ รสขื่น ขม บำรุงน้ำดี

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ผลมะแว้งต้น ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

            ผลสด 5-10 ผล โขลกพอแตกคั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ เวลาไอ

 

องค์ประกอบทางเคมี:

      ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

      ฤทธิ์ลดปวด ลดไข้ ต้านการอักเสบ และกดระบบประสาทส่วนกลาง

      การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเมทานอลจากผลมะแว้งต้น  โดยใช้หนูทดลองทั้งเพศผู้และเพศเมีย  แบ่งเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ  6 ตัว  ทำการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา  4 วิธี ได้แก่ ฤทธิ์ลดปวด, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ลดไข้ และฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง การทดสอบฤทธิ์ลดปวดในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดมะแว้งต้นขนาด 250, 500 mg/kg เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน aspirin ขนาด 100 mg/kg การทดสอบฤทธิ์ลดไข้ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีไข้จากยีสต์ โดยให้สารสกัดมะแว้งต้น ขนาด 250, 500 mg/kg เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน paracetamol 150 mg/kg  การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดมะแว้งต้น ขนาด 250, 500 mg/kg เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน diclofenac sodium ขนาด 1 mg/kg การทดสอบฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดมะแว้งต้นขนาด 250, 500 mg/kg เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน diazepam ขนาด 0.5 mg/kg  เมื่อทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นพบว่า สารสกัดมะแว้งต้นมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อการทดสอบทั้ง 4 วิธี  (p ≤0.05) (Deb, et al., 2014)

      ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

     สกัดผลมะแว้งต้น  ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำ, เมทานอล, เอทานอล แล้วนำสารที่สกัดได้มาทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำของมะแว้งต้น สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดกระต่ายได้หลังจากกระต่ายได้รับสารสกัดสมุนไพร 2 ชั่วโมง โดยสารสกัดสมุนไพรที่สกัดด้วยเอทานอลของมะแว้งต้น ลดระดับน้ำตาลได้หลังจากกระต่ายได้รับ 2, 3 และ 4 ชั่วโมง  จากผลการทดลองนี้แสดงว่า สารสกัดจาผลมะแว้งต้น สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (สุรัตน์, 2522)

 

การศึกษาทางคลินิก:

      ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:

     การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเมทานอลของผลมะแว้งต้น  โดยใช้หนูแรทเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  ให้สารสกัดมะแว้งต้นความเข้มข้น 250, 500,2000 mg/kg ทางปาก พบว่าการติดตามผลใน 4 ชั่วโมงแรก  ไม่พบความผิดปกติของหนูทดลองเมื่อได้รับสารสกัดขนาด 2000 mg/kg (Deb, et al., 2014)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. สุรัตน์ ทัศนวิจิตรวงศ์. การศึกษาทางเคมีและทางชีวเคมี ของสารอินทรีย์ในพืชที่มีฤทธิ์เป็นยาแก้เบาหวาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี]. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:2522.

2. Deb PK, Ghosh R, Chakraverty R, Debnath R, Das L, Bhakta T. Phytochemical and Pharmacological Evaluation of Fruits of Solanum indicum L. Int J Pharm Sci Rev Res. 2014;25(2):28-32.

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง            : www.thaiherbarium.com

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ข้อมูลตำรับยาประสะมะแว้ง   : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ มะแว้งต้น

...

Other Related มะแว้งต้น

ข้อมูล มะแว้งต้น จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


มะแว้งต้น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids อันดับ: Solanales วงศ์: Solanaceae สกุล: Solanum สปีชีส์: S.  violaceum ชื่อทวินาม Solanum violaceum Ortega 1798 ชื่อพ้อง รายการ Solanum agreste Roth Solanum chinense Dunal Solanum coccineum Dunal Solanum cuneatum Moench Solanum erosum Van Heurck & Müll.Arg. Solanum ferox Jungh. ex Miq. Solanum heynii Roem. & Schult. Solanum himalense Dunal Solanum indicum L. Solanum indicum f. album C.Y.Wu & S.C.Huang Solanum indicum var. recurvatum C.Y.Wu & S.C.Huang Solanum junghuhnii Miq. Solanum kurzii Brace ex Prain Solanum lividum Willd. ex Dunal Solanum nelsonii Zipp. ex Span. Solanum nivalo-montanum C.Y.Wu & S.C.Huang Solanum pinnatifidum Roth Solanum pubescens Heyne ex Walp. Solanum racemosum Noronha Solanum sanitwongsei Craib Solanum sodomeum Russ. ex Nees Solanum vincentii Delile ex Dunal Solanum virginianum Russ. ex Wall. มะแว้งต้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum violaceum) เป็นพืชในสกุลมะเขือ กระจายพันธุ์ในอินเดีย จีน และอินโดจีน[ 2] ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1–1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือขอบขนาน เรียงสลับกัน ขนาด 4–10 x 6–12 เซนติเมตร โคนใบป้านกว้าง ขอบใบหยักเว้าหรือเป็นแฉกมน ๆ ไม่สม่ำเสมอกัน ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง มีดอกย่อย 2–8 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบเช่นกัน มีอับเรณูสีเหลือง มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลมสีเขียวขนาดราว 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก[ 3] การใช้ประโยชน์[ แก้ ] ตำรายาไทยระบุว่าผลมะแว้งต้นมีรสขมขื่นเปรี้ยว ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร รากมะแว้งต้นมีรสขมขื่นเปรี้ยวเช่นกัน มีสรรพคุณแก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต กัดเสมหะ[ 3] นอกจากนี้ยังเข้ากับสมุนไพรอื่นเป็นยาประสะมะแว้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจในบัญชียาหลักแห่งชาติ[ 4] ผลมะแว้งต้นรับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอค่อนข้างสูง ชาวกะเหรี่ยงนำผลมาใส่แกงหรือน้ำพริก[ 5] อ้างอิง[ แก้ ] ↑ "Solanum violaceum Ortega - Plants of the World Online - Kew Science". สืบค้นเมื่อ March 3, 2020 . ↑ "Solanum violaceum Ortega". World Flora Online. สืบค้นเมื่อ March 3, 2020 . ↑ 3.0 3.1 คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 550–551, พ.ศ. 2558, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ ↑ "บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 19 มีนาคม 2562)". ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-02. สืบค้นเมื่อ March 3, 2020 . ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แหล่งข้อมูลอื่น[ แก้ ] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มะแว้งต้น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Solanum violaceum ที่วิกิสปีชีส์ บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มะแว้งต้น&oldid=10441364"
.

สมุนไพรอื่นๆ

47

จอง
จอง ชื่อเครื่องยาจอง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจอง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จอง (อุบลราชธานี), สำรอง (จันทบุรี ตราด), พุงทะลาย ชื่อวิทยาศาสตร์Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib. & Planch. ชื่อพ้องScaphium macropodum ชื่อวงศ์Sterculiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย เมล็ดรีสีน้ำตาลขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร เ...

8

กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...

19

การบูร
การบูร ชื่อเครื่องยาการบูร ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากการกลั่นลำต้น ราก หรือใบของการบูร ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาการบูร ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยญวน พรมเส็ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum camphora (L.) J. Presl. ชื่อพ้องCamphora camphora (L.) H.Karst., Camphora hahnemannii Lukman., Camphora hippocratei Lukman., Camphora officinarum Nees, Camphora vera Raf., Camphorina camphora (L.) Farw., Cinnamomum camphoriferum St.-Lag., Cinnamomum camphoroides Hayata, Cinnamom...

190

มะเดื่อชุมพร
มะเดื่อชุมพร ชื่อเครื่องยามะเดื่อชุมพร ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะเดื่อชุมพร ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะเดื่ออุทุมพร เดื่อเกลี้ยง มะเดื่อ เดื่อน้ำ มะเดื่อดง ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus racemosa L. ชื่อพ้องCovellia glomerata (Roxb.) Miq., Ficus acidula King, Ficus chittagonga Miq., Ficus glomerata Roxb., Ficus henrici King, Ficus lanceolata Buch.-Ham. ex Roxb., Ficus leucocarpa (Miq.) Miq., Ficus lucescens Blume, Ficus semicostata F.M.Bail...

150

อ้อยแดง
อ้อยแดง ชื่อเครื่องยาอ้อยแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาอ้อยดำ ได้จากลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอ้อยแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Saccharum officinarum Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Graminae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละ...

168

ตานหม่อน
ตานหม่อน ชื่อเครื่องยาตานหม่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาตานหม่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตานหม่น ตานค้อน ตาลขี้นก ช้าหมากหลอด ชื่อวิทยาศาสตร์Tarlmounia elliptica (DC.) ชื่อพ้องCacalia elaeagnifolia Kuntze, Strobocalyx elaeagnifolia (DC.) Sch.Bip., Strobocalyx elliptica (DC.) Sch.Bip., Vernonia elaeagnifolia DC., Vernonia elliptica ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:      &nb...

179

เกลือสินเธาว์
เกลือสินเธาว์ ชื่อเครื่องยาเกลือสินเธาว์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเกลือหิน เกลือเทศ เกลือบก ได้จากเกลือแกงที่ได้จากใต้ดิน (ได้จากดินเค็ม ดินโป่ง) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา- ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)- ชื่อวิทยาศาสตร์- ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เป็นผลึกสีขาว รสเค็ม   เครื่องยา เกลือสินเธาว์   เครื่องยา เกลือสินเธาว์     ...

23

กำลังเสือโคร่ง
กำลังเสือโคร่ง ชื่อเครื่องยากำลังเสือโคร่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น เนื้อไม้ แก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขวากไก่ หนามเข็ม (ชัยภูมิ) ขอเบ็ด (หนองคาย) ขี้แรด (ปราจีนบุรี) เขี้ยวงู (ชุมพร) ตึ่ง เครือดำตัวแม่ (ลำปาง)เบน เบนขอ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เล็บครุฑ (จันทบุรี) เล็บรอก (พัทลุง) หมากตาไก้ (เลย) ชื่อวิทยาศาสตร์Strychnos axillaris Colebr. ชื่อพ้องStrychnos chloropetala A.W. Hill., Strychnos plumosa ชื่อวงศ์Strychnaceae (Logana...

193

ฝิ่นต้น
ฝิ่นต้น ชื่อเครื่องยาฝิ่นต้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฝิ่นต้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ), มะหุ่งแดง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Jatropha multifida L. ชื่อพ้องAdenoropium multifidum (L.) Pohl, Jatropha janipha Blanco, Manihot multifida ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เปลือกต้นมีผิวด้านนอกของค่อนข้างเรียบ หรือมีรอยขรุขระ...

มะแว้งต้น  สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ

มะแว้งต้น สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ

มะแว้งต้น สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ

View
สมุนไพรมะแว้งเครือมะแว้งต้น ต้านโรคเบาหวาน

สมุนไพรมะแว้งเครือมะแว้งต้น ต้านโรคเบาหวาน

สมุนไพรมะแว้งเครือมะแว้งต้น ต้านโรคเบาหวาน

View
สมุนไพรใกล้ตัว EP.20 : มะแว้งต้น สมุนไพรชั้นดีในสวนหลังบ้าน

สมุนไพรใกล้ตัว EP.20 : มะแว้งต้น สมุนไพรชั้นดีในสวนหลังบ้าน

สมุนไพรใกล้ตัว EP.20 : มะแว้งต้น สมุนไพรชั้นดีในสวนหลังบ้าน

View
มะแว้งเครือ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเลือด

มะแว้งเครือ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเลือด

มะแว้งเครือ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเลือด

View
สมุนไพรมะแว้งต้น - แก้โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงธาตุ EP.  01 มะแว้งต้น

สมุนไพรมะแว้งต้น - แก้โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงธาตุ EP. 01 มะแว้งต้น

สมุนไพรมะแว้งต้น - แก้โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงธาตุ EP. 01 มะแว้งต้น

View
Body & Mind ช่วงที่3 สรรพคุณและประโยชน์ของ"มะแว้ง"

Body & Mind ช่วงที่3 สรรพคุณและประโยชน์ของ"มะแว้ง"

Body & Mind ช่วงที่3 สรรพคุณและประโยชน์ของ"มะแว้ง"

View
มะแว้งเครือ..!! ของดีต้องลอง สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณเกินตัว | Nava DIY

มะแว้งเครือ..!! ของดีต้องลอง สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณเกินตัว | Nava DIY

มะแว้งเครือ..!! ของดีต้องลอง สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณเกินตัว | Nava DIY

View
มะแว้งเครือ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

มะแว้งเครือ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

มะแว้งเครือ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

View
มะแว้งเครือ แก้ไอขั้นเทพ หอบหืด เบาหวาน

มะแว้งเครือ แก้ไอขั้นเทพ หอบหืด เบาหวาน

มะแว้งเครือ แก้ไอขั้นเทพ หอบหืด เบาหวาน

View
คุณประโยชน์ของมะแว้งต้น

คุณประโยชน์ของมะแว้งต้น

คุณประโยชน์ของมะแว้งต้น

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับมะแว้งต้น
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่