Menu

มะแว้งเครือ

ชื่อเครื่องยา

มะแว้งเครือ

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ผล

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะแว้งเครือ

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มะแว้งเขา มะแว้งเถา แขว้งเคีย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Solanum trilobatum L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Solanaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

            ผลรูปทรงกลม (ผลสดเมื่อดิบสีเขียวมีลายสีขาว เมื่อสุกสีแดง) ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยงเป็น เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

 

เครื่องยา มะแว้งเครือ

 

 

 

เครื่องยา มะแว้งเครือ

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

              ปริมาณความชื้นไม่เกิน 6.0% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0 % w/w  ปริมาณเถ้าชนิดซัลเฟต ไม่เกิน 11.0% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 3.0% w/w  ปริมาณสารสกัดสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 5.0% w/w  ปริมาณสารสกัดสารคลอโรฟอร์ม ไม่น้อยกว่า 1.0% w/w 

 

สรรพคุณ:

            ตำรายาไทย ผลรสขมขื่นเปรี้ยว ผลสดตำผสมเกลือเล็กน้อย อมหรือจิบแก้ไอแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ ผลแห้งปรุงยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ ทำให้เจริญอาหาร แก้เบาหวาน บำรุงน้ำดี

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ผลมะแว้งเครือ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

            ผลสด 5-10 ผล โขลกพอแตกคั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ เวลาไอ

 

องค์ประกอบทางเคมี:

           ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

          การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือในหนูถีบจักร โดยสกัดผลมะแว้งเครือด้วยน้ำ เอทานอล และสกัดด้วยเอทานอล ผสมกรดไฮโดรคลอริก ในอัตราส่วน 10:1 แล้วนำสารสกัดทั้งสามชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูถีบจักร โดยใช้การเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบทั้งแบบเฉพาะที่ภายนอก และแบบที่เกิดการอักเสบในช่องท้อง การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือทั้งในการป้องกันและการรักษาอาการบวมของใบหูหนูถีบจักร ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบโดยการทาสาร ethyl-phenylpropiolate (EPP) และสารทดสอบบริเวณใบหูของหนูถีบจักรด้านใน และด้านนอก การศึกษาฤทธิ์ป้องกันโดยการทาสารสกัดจากผลมะแว้งเครือก่อนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย EPP ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด ขนาด 0.5, 1 และ 2 มก/หู สามารถป้องกันการบวมของใบหูของหนูถีบจักร โดยแปรผันตรงตามความเข้มข้นของสารสกัด สำหรับการทดสอบฤทธิ์ในการรักษาการอักเสบ ศึกษาในหนูถีบจักรเช่นกัน โดยเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของใบหูด้วยการทา EPP เป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อน แล้วทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล ขนาด 0.5, 1 และ 2 มก/หู และสารสกัดเอทานอล ผสมกรดไฮโดรคลอริก ขนาด 0.25, 0.5 และ 1 มก/หู พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด สามารถลดการบวมของใบหูของหนูถีบจักร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ซึ่งแปรผันตามความเข้มข้นของสารสกัด สารสกัดทั้ง 3 ชนิด แสดงฤทธิ์ป้องกัน และรักษาการอักเสบตลอด 4 ชั่วโมง ของการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน เดกซาเมทาโซน 0.05 มก/หู ส่วนการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือด้วยเอทานอล โดยใช้การทดสอบการอักเสบในช่องท้อง 2 วิธี ได้แก่ กรดอะซิติกเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ของของเหลวออกนอกหลอดเลือด และคาราจีแนนเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาว พบว่าสารสกัดเอทานอล (200, 400 และ 600 มก/กก) แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) ในทั้ง 2 วิธีการทดสอบ อย่างไรก็ตามพบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบน้อยกว่าสารมาตรฐานสำหรับลดการอักเสบ (เดกซาเมทาโซน 1 มก/กก และอินโดเมทาซิน 10 มก/กก) จากการศึกษาดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำ สารสกัดเอทานอล และสารสกัดเอทานอล ผสมกรดไฮโดรคลอริก จากผลมะแว้งเครือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในรูปแบบการทาภายนอก และยังพบว่าสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อให้โดยป้อนทางปากด้วย ผลการทดลองนี้แสดงถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือ ซึ่งสนับสนุนการศึกษาทางคลินิกเพื่อนำไปใช้ในการรักษาอาการอักเสบต่อไป (วันทณี, 2549)

           ฤทธิ์แก้คัน

          การศึกษาฤทธิ์ต้านอาการคันของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือในหนูถีบจักร โดยสกัดผลมะแว้งเครือด้วยน้ำ เอทานอล และสกัดด้วยเอทานอล ผสมกรดไฮโดรคลอริก ในอัตราส่วน 10:1 แล้วนำสารสกัดทั้งสามชนิดมาทดสอบฤทธิ์ พบว่าสารสกัดเอทานอล ขนาด 200, 400 และ 600 มก/กก สามารถยับยั้งพฤติกรรมการเกาของหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยฮีสตามีน ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับการให้สารมาตรฐานสำหรับลดการคัน (เดกซาเมทาโซน 1 มก/กก และคลอฟินิรามีน 10 มก/กก) (วันทณี, 2549)

          ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

          การทดสอบสารสกัดมะแว้งเครือที่สกัดด้วย chloroform, methanol, petroleum ether และ น้ำ ทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิด ด้วยวิธี agar disc diffusion method ใช้เชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 3 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Streptococccus pyrogens  และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ 5 ชนิด คือ Salmonella typhiPseudomonas aeruginosa,  Klebsiella pneumoniaEscherichia coli  และ Proteus vulgaris ใช้สารสกัดมะแว้งเครือ ในขนาด 25, 10 และ 5 mg/ml การทดสอบพบว่าสารสกัดออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 8 ชนิด  เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน streptomycin โดยฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียขึ้นกับความเข้มข้นของสารสกัด โดยสารสกัดที่ให้ผลต้านเชื้อแบคทีเรียดีที่สุด คือสารสกัดจากคลอโรฟอร์ม ความเข้มข้น 25 mg/ml  สามารถยับยั้งเชื้อ Bacillus subtilis และ Streptococccus pyrogens ได้ดีที่สุด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่เชื้อไม่ขึ้นเท่ากับ 18 และ 21 มิลลิเมตร ตามลำดับ (Doss, et al., 2008)

         ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

         การศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดน้ำจากผลมะแว้งเครือ ทำการทดลองในหนูแรทสายพันธุ์วิสตาร์ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) แล้วป้อนสารสกัดน้ำจากผลมะแว้งเครือ ในขนาด 100 และ 200มก/กก. พบว่าสารสกัดสามารถเพิ่มการทำงานของ hepatic hexokinase (โดยเพิ่มการเกิด กระบวนการ glycolysis ทำให้มีการนำกลูโคสในเลือด มาใช้เป็นพลังงาน) และลดปริมาณ hepatic glucose-6-phosphatase, serum acid phosphatase (ACP), alkaline phosphatase (ALP) และ lactate dehydrogenase (LDH) (สารเหล่านี้จะพบในปริมาณสูงในภาวะเบาหวาน โดยจะหลั่งออกจากเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสเลือด) โดยสรุปสารสกัดมะแว้งเครือสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทั้งยังช่วยปกป้องตับได้ (Kumar, et al., 2011)

        การศึกษาโดยสกัดผลมะแว้งเครือ ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำ, เมทานอล, เอทานอล แล้วนำสารที่สกัดได้มาทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำของมะแว้งเครือ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดกระต่ายได้หลังจากกระต่ายได้รับสารสกัดสมุนไพร 2 ชั่วโมง โดยสารสกัดสมุนไพรที่สกัดด้วยเอทานอลของมะแว้งเครือ ลดระดับน้ำตาลได้หลังจากกระต่ายได้รับ 2 และ 3 ชั่วโมง จากผลการทดลองนี้แสดงว่า สารสกัดจาผลมะแว้งเครือสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (สุรัตน์, 2522)

 

การศึกษาทางคลินิก:

        ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:

        การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดผลมะแว้งด้วยเอทานอล ในหนูถีบจักรสายพันธุ์ ICR และหนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์ โดยการทดสอบพิษเฉียบพลัน ให้สารสกัดทางปาก ในขนาด 5 กรัม/กิโลกรัม เพียงครั้งเดียว ผลพบว่าไม่ทำให้หนูตาย และไม่พบอาการผิดปกติ น้ำหนักตัวหนูไม่เปลี่ยนแปลง การทดสอบพิษเรื้อรังในหนูขาวเพศผู้ โดยป้อนสารสกัดขนาด 1กรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 28 วัน ไม่พบการตายของหนู และไม่พบอาการเกิดพิษ ค่าน้ำหนักตัว อาการทางคลินิก ค่าชีวเคมีในเลือด และเนื้อเยื่อไม่เปลี่ยนแปลง การทดสอบการระคายเคืองของสารสกัด โดยทดสอบที่ผิวหนังของกระต่าย โดยทาสารทดสอบปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร (400 mg/ml) หลังทาสารทดสอบที่เวลา 1, 2, 3, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าไม่เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังกระต่าย (Thongpraditchote, et al., 2014)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. วันทณี หาญช้าง.ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอาการคันของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์ชีวภาพ)].กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

2. สุรัตน์ ทัศนวิจิตรวงศ์. การศึกษาทางเคมีและทางชีวเคมี ของสารอินทร์ในพืชที่มีฤทธิ์เป็นยาแก้เบาหวาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี]. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ :2522.

3. Doss A, Dhanabalan R. Preliminary Phytochemical Screening and Antibacterial Studies of Leaf Extract of Solanum trilobatum L. Ethnobotanical Leaflets. 2008;12: 638-642.

4. Kumar G, Banu GS, Balapala KR. Ameliorate the effect of Solanum trilobatum L. on hepatic enzymes in experimental diabetes. NPAIJ. 2011;7(6): 315-319.

5. Thongpraditchote S, Hanchanga W, Wongkrajang Y, Temsiririrkkul R, Atisuk K. Toxicological Evaluation of Solanum trilobatum L. Fruit Extract. Mahidol University Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 41 (4), 39-46.

 

ข้อมูลตำรับยาประสะมะแว้ง : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ มะแว้งเครือ

...

Other Related มะแว้งเครือ

ข้อมูล มะแว้งเครือ จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


มะแว้งเครือ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids อันดับ: Solanales วงศ์: Solanaceae สกุล: Solanum สปีชีส์: S.  trilobatum ชื่อทวินาม Solanum trilobatum L. มะแว้งเครือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum trilobatum[1]) เป็นพืชในสกุลมะเขือ ลักษณะเป็นไม้เถามีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี ขนาด 1.5–5 x 1.5–7.5 เซนติเมตร โคนใบป้านกว้าง ปลายใบมน ขอบใบหยักเว้าหรือเป็นแฉก ๆ ไม่สม่ำเสมอกัน ก้านใบยาว 2–15 มิลลิเมตร ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง มีดอกย่อย 2–8 ดอก ก้านดอกยาว 1.5–4 เซนติเมตร ดอกย่อยสีม่วง กลีบเลี้ยงปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกปลายแยกเป็น 5 กลีบเช่นกัน มีอับเรณูสีเหลือง มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ออกดอกช่วงมกราคม–มีนาคม ผลเป็นผลกลมสีเขียว ขนาดราว 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด[2][3] มะแว้งเครือมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ศรีลังกา และอินโดจีน[4] ตำรายาไทยระบุว่าผลสดมีรสขมขื่นเปรี้ยว ตำผสมเกลือใช้อมแก้ไอ แก้เจ็บคอ ผลแห้งใช้แก้ไอ ขับปัสสาวะ ช่วยให้เจริญอาหาร รากใช้แก้ไอ กัดเสมหะ ขับลม[2][5] นอกจากนี้ยังเข้ากับสมุนไพรอื่นเป็นยาประสะมะแว้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ[6] คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มะแว้งเครือ อ้างอิง

↑ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557, เต็ม สมิตินันทน์, หน้า 520, พ.ศ. 2557, สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ ↑ 2.0 2.1 คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 548–549, พ.ศ. 2558, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ ↑ "มะแว้งเครือ - Solanum trilobatum L." ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020 . ↑ "Solanum trilobatum L. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020 . ↑ "มะแว้งเครือ (Solanum trilobatum L.) - ฐานข้อมูลเครื่องยา". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020 . ↑ "บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 19 มีนาคม 2562)". ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-02. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020 . บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มะแว้งเครือ&oldid=10441365"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ มะแว้งเครือ

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

35

ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด
ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด การศึกษาทางคลินิกเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะแว้งเครือ (Solanum trilobatum L.) ในผู้ป่วยหอบหืดที่มีอาการระดับอ่อนถึงปานกลาง โดยให้ในรูปผงขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียวพบว่ามีผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจของผู้ป่วยและไม่พบผลข้างเคียงแต่ประสิทธิภาพนี้ต่ำกว่า ซาลบิวทามอล (salbutamol) 4 มิลลิกรัม และ deriphylline 200 มิลลิกรัมJ Ethnopharmacol 1999;66:205-10 ...

74

ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด
ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด การศึกษาทางคลินิกเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะแว้งเครือ ( Solanum trilobatum L. ) ในผู้ป่วยหอบหืดที่มีอาการระดับอ่อนถึงปานกลางโดยให้ในรูปผลขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียว พบว่า มีผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจของผู้ป่วยและไม่พบผลข้างเคียง แต่ประสิทธิภาพนี้ต่ำกว่าซาลบิวทามอล ( salbutamol ) 4 มิลลิกรัม และ deriphylline 200 มิลลิกรัมJ Ethnopharmacol 1999 ; 66 : 20...

สมุนไพรอื่นๆ

114

รากสามสิบ
รากสามสิบ ชื่อเครื่องยารากสามสิบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยารากสามสิบ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ๋วงเครือ (เหนือ) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) สามร้อยราก (กาญจนบุรี) สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน ชื่อวิทยาศาสตร์Asparagus racemosus Willd. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Asparagaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เหง้าและรากใต้ดินเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ออกเป็นพวงค...

93

พิมเสน
พิมเสน ชื่อเครื่องยาพิมเสน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน ได้จากสารสกัดจากเนื้อไม้พืชสกุล Dryobalanops. สารสกัดจากใบพิมเสนต้น ใบหนาด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชสกุล Dryobalanops, พิมเสนต้น, หนาดหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae), พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth (วงศ์ Lamiaceae) ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ...

33

โกฐหัวบัว
โกฐหัวบัว ชื่อเครื่องยาโกฐหัวบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐหัวบัว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Ligusticum sinense Oliv. ชื่อพ้องLigusticum harrysmithii M.Hiroe, Ligusticum markgrafianum Fedde ex H.Wolff, Ligusticum pilgerianum Fedde ex H.Wolff, Ligusticum silvaticum H.Wolff, Ligusticum sinense var. sinense ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

94

เพกา
เพกา ชื่อเครื่องยาเพกา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพกา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลิ้นฟ้า(เลย) ลิ้นก้าง ลิ้นช้าง(ไทยใหญ่) เพกา (ภาคกลาง) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน ภาคเหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ด๊อกก๊ะ ดอก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเลย์ นราธิวาส) ชื่อวิทยาศาสตร์Oroxylum indicum (L.) Kurz ชื่อพ้องArthrophyllum ceylanicum Miq. Arthrophyllum reticulatum Blume ex Miq. Bi...

49

จันทน์แดง
จันทน์แดง ชื่อเครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาลักจั่น จันทน์ผา แก่นจันทน์แดง ได้จากแก่นที่มีราลงจนเป็นสีแดง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจันทน์แดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลักกะจันทน์ ลักจั่น(กลาง) จันทน์ผา ชื่อวิทยาศาสตร์Dracaena loureiroi Gagnep. ชื่อพ้องAletris cochinchinensis Lour., Dracaena saposchnikowii Regel., Draco saposchnikowii (Regel) Kuntze., Pleomele cochinchinensis Merr. ex Gagnep., Dracaena cochinchinensis ชื่อวงศ์Dracaenaceae ...

104

มะตูม
มะตูม ชื่อเครื่องยามะตูม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะตูม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะปิน(เหนือ), กะทันตาเถร (ปัตตานี), ตูม(ใต้), บักตูม(อีสาน), ตุ่มตัง (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (กลาง), มะปีส่า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Aegle marmelos (L.) Corr. ชื่อพ้องBelou marmelos (L.) Lyons, Bilacus marmelos (L.) Kuntze, Crateva marmelos L., Feronia pellucida ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  &...

120

ลิเภา
ลิเภา ชื่อเครื่องยาลิเภา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลิเภา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กูดเครือ กูดก้อง กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีน ต๊กโต (เหนือ); กระฉอก (ประจวบคีรีขันธ์); กะฉอด(ราชบุรี); ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์, ใต้); เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพมหานคร); หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครราชสีมา); หลีเภา (ใต้); ลิเภาย่อง กูดก๊อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี งอแง หมอยยายชี ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์Lygodium polystachyum Wall.ex Moore ...

69

เทียนแดง
เทียนแดง ชื่อเครื่องยาเทียนแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Lepidium sativum L. ชื่อพ้องArabis chinensis Rottler ex Wight, Cardamon sativum (L.) Fourr., Crucifera nasturtium E.H.L.Krause, Lepia sativa (L.) Desv., Lepidium hortense Forssk., Lepidium spinescens DC., Nasturtium crispum Medik., Nasturtium sativum (L.) Moench, Nasturtium spinescens (DC.) Kuntze, Thlaspi sativum (L.) Crant...

71

เทียนเยาวพาณี
เทียนเยาวพาณี ชื่อเครื่องยาเทียนเยาวพาณี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนเยาวพาณี (ajowan) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Trachyspermum ammi (L.) Sprague ชื่อพ้องAmmi copticum L., Ammios muricata Moench, Athamanta ajowan Wall., Bunium copticum (L.) Spreng., Carum ajowan Benth. & Hook.f., Carum aromaticum Druce, Carum copticum (L.) Benth. & Hook. f., Carum panatjan Baill., Cyclospermum ammi (L.) Lag., Daucus anisodoru...

สมุนไพรมะแว้งเครือมะแว้งต้น ต้านโรคเบาหวาน

สมุนไพรมะแว้งเครือมะแว้งต้น ต้านโรคเบาหวาน

สมุนไพรมะแว้งเครือมะแว้งต้น ต้านโรคเบาหวาน

View
มะแว้งเครือ..!! ของดีต้องลอง สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณเกินตัว | Nava DIY

มะแว้งเครือ..!! ของดีต้องลอง สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณเกินตัว | Nava DIY

มะแว้งเครือ..!! ของดีต้องลอง สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณเกินตัว | Nava DIY

View
มะแว้งเครือ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

มะแว้งเครือ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

มะแว้งเครือ #สมุนไพรบ้านแม่หมอ

View
ep 8  ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : มะแว้งเครือ

ep 8 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : มะแว้งเครือ

ep 8 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : มะแว้งเครือ

View
มะแว้งเครือ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเลือด

มะแว้งเครือ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเลือด

มะแว้งเครือ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเลือด

View
ปนะโยชน์ของมะแว้งเครือ

ปนะโยชน์ของมะแว้งเครือ

ปนะโยชน์ของมะแว้งเครือ

View
Body & Mind ช่วงที่3 สรรพคุณและประโยชน์ของ"มะแว้ง"

Body & Mind ช่วงที่3 สรรพคุณและประโยชน์ของ"มะแว้ง"

Body & Mind ช่วงที่3 สรรพคุณและประโยชน์ของ"มะแว้ง"

View
มะแว้งต้น  สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ

มะแว้งต้น สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ

มะแว้งต้น สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ

View
มะแว้งนกกินให้ถูกสรรพคุณดีมากแต่ถ้ากินผิดก็อันตรายมากเช่นกัน

มะแว้งนกกินให้ถูกสรรพคุณดีมากแต่ถ้ากินผิดก็อันตรายมากเช่นกัน

มะแว้งนกกินให้ถูกสรรพคุณดีมากแต่ถ้ากินผิดก็อันตรายมากเช่นกัน

View
มะแว้งเครือ แก้ไอขั้นเทพ หอบหืด เบาหวาน

มะแว้งเครือ แก้ไอขั้นเทพ หอบหืด เบาหวาน

มะแว้งเครือ แก้ไอขั้นเทพ หอบหืด เบาหวาน

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับมะแว้งเครือ
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่