ข้อมูลสมุนไพร พิษนาศน์ รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ พิษนาศน์, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ พิษนาศน์, สรรพคุณทางยาของ พิษนาศน์ และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | พิษนาศน์ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เหง้า |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | พิษนาศน์ |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Sophora exigua Craib |
ชื่อพ้อง | Sophora violacea var. pilosa |
ชื่อวงศ์ | Fabaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ผิวรากชั้นนอกสีออกม่วงดำ หรือสีเทาปนดำ หลุดลอกง่าย ผิวเปลือกรากชั้นในสีส้ม หรือสีน้ำตาลส้ม บริเวณผิวเปลือกรากมีลักษณะเด่นเฉพาะ มีรอยตามขวาง สั้นๆ สีส้ม คล้ายรอยปริแตก ที่ผิวราก ตลอดความยาวของราก
เครื่องยา พิษนาศน์
เครื่องยา พิษนาศน์
เครื่องยา พิษนาศน์
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย ราก รสจืดเฝื่อนซ่า ต้มเอาน้ำดื่ม ขับพิษภายใน ขับน้ำ แก้ฟกบวมตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ แก้คางทูม
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ รากฝนกับน้ำดื่ม ช่วยลดไข้ในเด็ก ฝนทาแก้พิษงู (ต้องว่าคาถาด้วย) ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนม (กินมากไม่ดี) ราก ฝนน้ำทาแก้ฝี
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้เหง้าพิษนาศน์ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม” สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากรากพิษนาศน์ด้วยเฮกเซน เอทิลอะซีเตต และเมทานอล ต่อเชื้อแบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli O157:H7, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus epidermidisn ด้วยวิธี agar diffusion ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทิลอะซีเตต มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus epidermidis โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเท่ากับ 18.75±0.43 และ 20.00±0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ สารสกัดเมทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus epidermidis โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางการยับยั้งเท่ากับ 14.00±0.00 มิลลิเมตร เนื่องจากการติดเชื้อ P. aeruginosa อาจเป็นสาเหตุของอาการมีไข้ เจ็บคอแบบมีเสมหะเขียว การติดเชื้อแบคทีเรียสกุล Staphylococcus อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝีหนองได้ ผลการทดลองจึงสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้รากพิษนาศน์ฝนน้ำดื่มรักษาอาการเป็นไข้ อมแก้เจ็บคอ และใช้รากฝนน้ำทารักษาฝี สารสกัดหยาบเอทิลอะซีเตต และสารสกัดหยาบเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ แต่สารสกัดหยาบเฮกเซนไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว แสดงว่าสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของรากพิษนาศน์เป็นสารที่มีขั้วปานกลาง และมีขั้วมาก (สมฤดี และคณะ, 2557)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
เอกสารอ้างอิง:
สมฤดี ศรีทับทิม,สุมลรัตน์ กระพี้แดง, นิคม วงศา. ฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดพืชสมุนไพรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต (มสด) สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. 2557;7(1):21-39.
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: www.phargarden.com
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง: www.thaiherbarium.com
ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : www.thai-remedy.com
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
พิษนาศน์ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae วงศ์ย่อย: Faboideae เผ่า: Sophoreae สกุล: Sophora สปีชีส์: S. exigua ชนิดต้นแบบ Sophora exigua
พิษนาศน์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Sophora exigua ชื่ออื่นๆ แผ่นดินเย็น (อุบลราชธานี) นมราชสีห์ นมฤๅษี ถั่วดินโคก เป็นพืชในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสั้นมาก ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ แนบกับพื้นดินเป็นแนวรัศมี ใบย่อย 9-13 ใบ รูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมวงรี ใบย่อยปลายใบรูปไข่กลับ ผิวใบมีขนละเอียดสีขาว ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีม่วงเข้ม ก้านช่อดอกยาว ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน มีขนละเอียดสีขาว มีเมล็ดเดียว[1]
พิษนาศน์เป็นพืชสมุนไพร ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้ ราก ฝนกับน้ำดื่ม ช่วยลดไข้ในเด็ก ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนมแต่รับประทานมากไม่ดี ราก เหง้า ลำต้น ใบ ฝนทาฝี[2] อ้างอิง
↑ พิษนาศน์ ↑ พิษนาศน์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=พิษนาศน์&oldid=7870831"
.
บัวเผื่อน
บัวเผื่อน ชื่อเครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัวแบ้ ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea stellata Willd. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมต...
ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน ชื่อเครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าสด เหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นหัว(เชียงใหม่) ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa L. ชื่อพ้องAmomum curcuma Jacq., Curcuma brog Valeton, Curcuma domestica Valeton, Curcuma ochrorhiza Valeton, Curcuma soloensis Valeton, Curcuma tinctoria Guibourt, Stissera curcuma Giseke, Stissera curcuma ชื่อวง...
หัวร้อยรู
หัวร้อยรู ชื่อเครื่องยาหัวร้อยรู ชื่ออื่นๆของเครื่องยากระเช้าผีมด ได้จากหัว ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหัวร้อยรู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ร้อยรู ปุ่มฟ้า ดาลูบูตาลิมา ชื่อวิทยาศาสตร์Hydnophytum formicarium Jack. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เป็นพืชจำพวกหัว ที่อาศัยเกาะตามต้นไม้อื่น ต้นแก่มีหัวกลมโตขนาดเท่าลูกมะพร้าวห้าว ภายในหัวเป็นรูย้อนขึ้น ย้อนลง พรุนไปทั่ว เมื่...
กระชายดำ
กระชายดำ ชื่อเครื่องยากระชายดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชายดำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ชื่อวิทยาศาสตร์Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. ชื่อพ้องK. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle, Stahlianthus rubromarginatus ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &n...
กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...
ว่านกีบแรด
ว่านกีบแรด ชื่อเครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กีบม้าลม กีบแรด ว่านกีบม้า ชื่อวิทยาศาสตร์Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. ชื่อพ้องPolypodium evectum ชื่อวงศ์Marattiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เหง้าใหญ่ มีกลีบแข็ง คล้ายกีบเท้าแรด หรือกีบเท้ากระบือ มีขนาดสั้น ผิวเป็นลูกคลื่น ผิวเหง้าด้า...
ตูมกา
ตูมกา ชื่อเครื่องยาตูมกา ชื่ออื่นๆของเครื่องยาโกฐกะกลิ้ง ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาแสลงใจ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตูมกาขาว ขี้กา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (เหนือ) แสงเบื่อ แสลงเบื่อ แสลงโทน แสลงทม ตูมกาต้น ตึ่ง ตึ่งต้น เม็ดกะจี้ กระดุมสุนัข ถั่วพิษ กระดุมผู้สั่น ชื่อวิทยาศาสตร์Strychnos nux-blanda A.W. Hill ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Strychnaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &...
ปลาไหลเผือกน้อย
ปลาไหลเผือกน้อย ชื่อเครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ในภาษาอีสาน “เอียน” แปลว่าปลาไหล “ด่อน” คือสีขาว ตรึงบาดาล หยิกบ่ถอง ชื่อวิทยาศาสตร์Eurycoma harmandiana Pierre ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Simaroubaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว รากยาว สีขาวน...
กล้วยตีบ
กล้วยตีบ ชื่อเครื่องยากล้วยตีบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากล้วยตีบ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Musa ABB group (triploid) cv. ‘teep’ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Musaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: รากมีรูปร่างกลมยาว สีน้ำตาลดำ รสฝาดเย็น มีเส้นใยมาก (กล้วยตีบเป็นกล้วยพันธุ์ลูกผสม ระหว่างกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) มียีโนม “A” และกล้วยตานี (Musa...
พิษนาศน์หรือถั่วดินโคก!!!!สมุนไพรชื่อแปลก แต่สรรพคุณเยี่ยมชนิดหนึ่ง
Viewใช้สมุนไพรพิมเสนต้นใบแห้งต้มกินแก้ไข้ทุกชนิดดับพิษร้อนถอนพิษไข้ชะงัดนักแล #โจฮักนะสารคาม EP.693
Viewเรียนรู้สมุนไพรไทย..ยาห้าราก หมอวิชียร ถาทุมมา//สามอาชีพฯ
Viewรายการสุขภาพดีศิริราช ตอน การรับประทาน "ยาฟ้าทะลายโจร"
Viewก่อนสู้รู้ยัง.? สมุนไพรใหม่สู้โควิด - โกฐจุฬาลัมพา -จันทร์ลีลา
Viewวิธีกินฟ้าทะลายโจรและสมุนไพรตัวอื่นรักษาโรคติดต่ออันตราย ช่วงHome Isolation/ครัวแม่น้อง
Viewใบย่านาง ราชินีสมุนไพรฤทธิ์เย็น สมุนไพรไทย สรรพคุณรักษาโรค แก้ร้อนใน
Viewข้อควรระวังในการกินฟ้าทะลายโจร : ไขข้อข้องใจภัยโควิด-19
Viewยาห้าราก(ยาเบญจโลกวิเชียร)สรรพคุณกระทุ้งพิษ ถอนพิษ แก้ไข้/ครัวแม่น้อง
Viewเร่ว : สมุนไพรพื้นบ้านลดความดัน ลดไขมัน แก้หืดไอ ขับลม และแก้ระดูของสตรี
View