-
-
สหัสธารา ตำรับยาสหัสธาราแก้ปวดข้อใด้ไหมครับและมีงานวิจัยอะไรบ้างจากคุณ ...
ดูถามตอบปัญหา
-
-
สหัสธาราสหัสธาราจากคุณ ...
ดูถามตอบปัญหา
ข้อมูลสมุนไพร เทียนสัตตบุษย์ รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ เทียนสัตตบุษย์, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ เทียนสัตตบุษย์, สรรพคุณทางยาของ เทียนสัตตบุษย์ และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | เทียนสัตตบุษย์ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ผล |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | เทียนสัตตบุษย์ |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | อาหนี |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Pimpinella anisum L. |
ชื่อพ้อง | Anisum odoratum Raf., Anisum officinale DC., Anisum officinarum Moench, Anisum vulgare Gaertn., Apium anisum (L.) Crantz, Carum anisum (L.) Baill., Ptychotis vargasiana DC., Selinum anisum (L.) E.H.L. Krause, Sison anisum (L.) Spreng, Seseli gilliesii Hook. & Arn., Tragium anisum |
ชื่อวงศ์ | Apiaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผลรูปไข่ มีร่องยาวตลอดเมล็ด ผิวมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลอมเขียวปนเทา ขนาดกว้าง 1.3-1.8 มิลลิเมตร ยาว 3.4-5.0 มิลลิเมตร ด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันมีลักษณะนูนเล็กน้อย ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวเมล็ด จำนวน 3 เส้น ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น ผลมีกลิ่นหอมเผ็ดร้อนเล็กน้อย ผลแก่แห้งแล้วแตกแยกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมี 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาล ขนาดกว้าง 1.3-1.8 มิลลิเมตร ยาว 3.4-5.0 มิลลิเมตร
เครื่องยา เทียนสัตตบุษย์
เครื่องยา เทียนสัตตบุษย์
เครื่องยา เทียนสัตตบุษย์
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% v/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 6% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 12% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2.5% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 10% w/w ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย ไม่น้อยกว่า 1.0 % v/w
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เมล็ด รสเผ็ดหอมหวานเล็กน้อยแก้ลมครรภ์รักษา แก้พิษระส่ำระสาย แก้อาการหอบ และสะอึก แก้ไข้ แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ใช้ผสมร่วมกับชะเอมจีนทำยาอมแก้ไอ น้ำมันจากเมล็ด ขับเสมหะ ฆ่าเชื้อโรค ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อในเด็ก ฆ่าแมลง เช่น หมัด เหา เชื้อรา
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้เทียนสัตตบุษย์ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏในตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของเทียนสัตตบุษย์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ขนาดยาทั่วไป 0.5-1.0 กรัม วันละ 3 ครั้ง
องค์ประกอบทางเคมี:
น้ำมันหอมระเหย 1.5-5% เรียกว่า น้ำมันเทียนสัตตบุษย์ (anise oil) มีองค์ประกอบหลักคือ trans-anethole 80-90%, methyl chavicol (estragole) 1-2%
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์รักษาอาการท้องผูก
การศึกษาเพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ชาชงที่ประกอบด้วยผงสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ ผลเทียนสัตตบุษย์ 2 กรัม, ผลเทียนลวด 2 กรัม, ดอกอัลเดอร์เบอร์รี่ 5กรัม และดอกมะขามแขก 5 กรัม ผสมกันในรูปผงแห้ง นำมาศึกษาฤทธิ์ต่อการรักษาอาการท้องผูก โดยทำการทดลองแบบ randomized, crossover, placebo-controlled, single-blinded trial ในผู้ป่วย 20 รายที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ American Association of Gastroenterology ทำการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม และทำการสลับลำดับของการให้ยาเป็นแบบ counterbalanced across subjects คือครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยได้รับสารทดสอบเป็นเวลา 5 วัน ขั้นตอนการเตรียมสารทดสอบ ใช้ผงพืชผสมแล้วจำนวน 15 กรัม ชงกับน้ำจำนวน 1,500 ml และให้ผู้ป่วยดื่ม 150 ml (เทียบเท่ากับ 1 กรัมของผลิตภัณฑ์) ดื่ม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอกในช่วงเวลาเดียวกัน โดยทั้งสองช่วงของการรักษาจะมีช่วงระยะเวลาการกำจัดยา (washout period) เป็นเวลา 9 วัน หลังจากนั้นจะให้ยาในทั้งสองกลุ่มอีกเป็นเวลา 5 วันเช่นเดียวกัน โดยผลการศึกษาหลักคือการวัดระยะเวลาการเคลื่อนของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (colonic transit time, CTT) โดยให้ผู้ป่วยรับประทานวัตถุทึบรังสี (radiopaque markers) ที่สามารถเอ็กซ์เรย์เห็นได้ ผลการศึกษารองคือจำนวนครั้งในการขับถ่ายต่อวัน, การรับรู้การทำงานของระบบทางเดินอาหาร, ผลข้างเคียง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยของเวลาการเคลื่อนของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (CTT) จากการประเมินโดยการวัดทางรังสี มีค่าเท่ากับ 15.7 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดพืช และ 42.3 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (p<0.001) และจำนวนครั้งในการขับถ่ายต่อวันมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่สองของการรักษา (p <0.001) และนอกจากนี้ผู้ป่วยมีการรับรู้ในการเคลื่อนไหวของการทำงานของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น (p< 0.01) แต่คุณภาพชีวิตไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกในช่วงของการรักษา ยกเว้นว่ามีการลดลงเล็กน้อยของระดับโพแทสเซียมในเลือด ในระหว่างที่ได้รับสารสกัดพืช และไม่พบผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นของทั้งสองกลุ่มในช่วงของการรักษา สรุปว่าสารสกัดผสมของพืชดังกล่าวข้างต้นมีประสิทธิภาพในการเป็นยาระบาย และมีความปลอดภัยซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาอาการท้องผูกได้ (Picon, et al., 2010)
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย H. pyroli
การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย H.Pyroli 15 สายพันธุ์ โดยพบว่าเชื้อ H.Pyroli มีความสัมพันธ์กับการเกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น โดยทำการสกัดสารจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ ด้วยเมทานอล และทำการทดสอบความไวของเชื้อต่อสารทดสอบโดยใช้เทคนิค agar dilution method ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์สามารถยับยั้งเชื้อ H.Pyroli โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (Mahady, et al., 2005)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
เอกสารอ้างอิง:
1. Mahady GB, Pendland SL, Stoia A, Hamill FA, Fabricant D, Dietz BM, et al. In Vitro susceptibility of Helicobacter pylori to botanical extracts used traditionally for the treatment of gastrointestinal disorders. Phytother Res. 2005;19:988-991.
2. Picon PD, Picon RV, Costa AF, Sander GB, Amaral KM, Aboy AL, et al. Randomized clinical trial of a phytotherapic compound containing Pimpinella anisum, Foeniculum vulgare, Sambucus nigra, and Cassia augustifolia for chronic constipation. BMC Complementary and Alternative Medicine. 2010;10(1):1-9.
ข้อมูลตำรับยาธาตุบรรจบ : www.thai-remedy.com
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
เทียนสัตตบุษย์ ภาพวาดใน ค.ศ. 1897[1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ เคลด: แอสเทอริด อันดับ: อันดับผักชี วงศ์: วงศ์ผักชี สกุล: Pimpinella
L. สปีชีส์: Pimpinella anisum ชื่อทวินาม Pimpinella anisum
L. ชื่อพ้อง[2] ชื่อพ้อง Anisum odoratum Raf. Anisum officinale DC. Anisum officinarum Moench Anisum vulgare Gaertn. Apium anisum (L.) Crantz Carum anisum (L.) Baill. Pimpinele anisa St.-Lag. Ptychotis vargasiana DC. Selinum anisum (L.) E.H.L. Krause Seseli gilliesii Hook. & Arn. Sison anisum (L.) Spreng. Tragium anisum (L.) Link
เทียนสัตตบุษย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pimpinella anisum) เป็นพืชล้มลุกปีเดียวในวงศ์ผักชี (Apiaceae) ความสูง 30-75 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบอาจหยักลึกเป็นแฉกแบบขนนก หรือเป็นรูปไข่ ดอกเป็นช่อแบบก้านซี่ร่มหลายชั้น กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง ผลเป็นผลแห้งรูปไข่ สีน้ำตาลอมเขียวปนเทา มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ การนำไปใช้
ผลเทียนสัตตบุษย์ น้ำมันเทียนสัตตบุษย์
เทียนสัตตบุษย์มีกลิ่นหอมและรสหวาน ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน ลูกกวาด ขนมปัง และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ผลยังใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลม ขับเหงื่อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและใช้แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อในคนที่เป็นหอบหืด[3] ในประเทศอินเดียจะใช้ใบและรากเป็นเครื่องเทศ โดยเข้าเป็นเครื่องแกงแบบอินเดีย และใช้เมล็ดในการเพิ่มรสชาติให้กับซุป ซอสต่าง ๆ ขนมปัง เค้ก เป็นต้น[4]
ผลเทียนสัตตบุษย์มีน้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 1.9 – 3.1 เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันเทียนสัตตบุษย์ (anise oil) ซึ่งมีสารสำคัญคืออเนโทล (anethole) ร้อยละ 80-90 น้ำมันนี้ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม น้ำยาบ้วนปาก สบู่ เครื่องหอมอื่น ๆ และบุหงา[5] ใช้แต่งกลิ่น อาหาร เครื่องดื่ม ลูกกวาด สุรา ใช้เป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก สุราที่ปรุงด้วยน้ำมันชนิดนี้เรียกสุราอาหนี[6] อ้างอิง
↑ from Franz Eugen Köhlae, Köhlae's Medizinal-Pflanzen, 1897 ↑ The Plant List, Pimpinella anisum L. ↑ เทียนสัตตบุษย์ -- ไทยเกษตรศาสตร์ ↑ สรรพคุณทางยาของเทียนสัตตบุษย์ | ThaiHerbal.org ↑ คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 421, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548. หน้า 189 - 190 อ่านเพิ่ม
Baynes, T. S., บ.ก. (1878), "Anise" , Encyclopædia Britannica, vol. 2 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, pp. 57–58 Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Anise" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 2 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 55. แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เทียนสัตตบุษย์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pimpinella anisum ที่วิกิสปีชีส์ ดคกสมุนไพรและเครื่องเทศสมุนไพร แอนเจลิกา กะเพรา โหระพา ใบกระวาน แกง (กระวานอินเดีย) โบลโด Borage เชอร์วิล กุยช่าย กุยช่ายฝรั่ง ซิเซอลี ผักชี Coriander, Bolivian ผักแพว ผักชีฝรั่ง เทียนแดง หอมแขก (ใบกะหรี่) ผักชีลาว เอปาโซเต กัญชง โอฆาซานตา คาวทอง หุสบ Jimbu ผักเลือนขน ลาเวนเดอร์ สะระแหน่ ตะไคร้ Lemon myrtle Lemon verbena ผักแขยง โกฐเชียง มาร์เจอรัม มินต์ มักเวิร์ต มิตสึบะ ออริกาโน พาร์สลีย์ งาขี้ม่อน โรสแมรี อีหรุด เซจ เซเวอรี ซันโช (ใบ) ชิโซะ ซอเริล Tarragon ไทม์ วุดรัฟ ตังกุย เครื่องเทศ อาโอโนริ เทียนเยาวพาณี ออลสไปซ์ อัมจูร เทียนสัตตบุษย์ โป๊ยกั้ก มหาหิงคุ์ การบูร เทียนตากบ กระวาน/กระวานเทศ กระวานไทย อบเชยจีน ขึ้นฉ่าย มะม่วงหัวแมงวัน เฉินผี อบเชย กานพลู ผักชี พริกหาง ยี่หร่า เทียนดำ Bunium persicum ผักชีลาว ยี่หร่าฝรั่ง ลูกซัด กระชาย ข่า ข่าตาแดง กระเทียม ขิง เปราะหอม โกลแพร์ Grains of Paradise Grains of Selim ฮอร์สแรดิช Juniper berry โกกัม Korarima มะนาวแห้ง ชะเอมเทศ ตะไคร้ต้น จันทน์เทศ ขมิ้นขาวป่า แมสติก Mahlab มัสตาร์ด มัสตาร์ดดำ มัสตาร์ดน้ำตาล มัสตาร์ดขาว เทียนดำ Njangsa Pepper, alligator Pepper, Brazilian พริก พริกเคเยน Paprika ตาบัสโก ฆาลาเปญโญ ชิโปตเล ดีปลี Pepper, Peruvian Pepper, East Asian พริกเสฉวน ซันโช (ผล) Pepper, Tasmanian พริกไทย ทับทิม เมล็ดฝิ่น ผักชีไร่ กุหลาบมอญ หญ้าฝรั่น เกลือ ซาร์ซาปาริยา Sassafras งา Shiso (seeds, berries) Sumac มะขาม ถั่วตองกา ขมิ้น Uzazi วานิลลา Voatsiperifery วาซาบิ ยูซุ ขมิ้นอ้อย Zereshk Zest การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q28692 Wikispecies: Pimpinella anisum APDB: 27062 BioLib: 40287 EoL: 581422 EPPO: PIMAN FoC: 200015767 GBIF: 5371877 GRIN: 28395 iNaturalist: 166878 IPNI: 846658-1 IRMNG: 11029312 ITIS: 29822 NBN: NBNSYS0200002887 NCBI: 271192 NZOR: b3d6b080-74a4-4d5f-ac4f-038b6b0304e0 Plant List: kew-2402426 PLANTS: PIAN3 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:846658-1 Tropicos: 1700194 WOI: 2605 การควบคุมรายการหลักฐาน: หอสมุดแห่งชาติ เยอรมนี อิสราเอล สหรัฐ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=เทียนสัตตบุษย์&oldid=10266619"
.
ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่
ฤทธิ์ต้านภาวะไขมันพอกตับของเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์ต้านภาวะไขมันพอกตับของเทียนสัตตบุษย์การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver disease; NAFLD) ที่มีความผิดปกติในการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อตับ ของเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisum L.) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ NAFLD ด้วยการให้กินอาหารที่ไม่มีสารโคลีน (choline-deficient diet) เป็นเวลา 90 วัน จากนั้นจึงป้อนหนูด้วยสารสกัดน้ำ-เอธานอล (hydroethanolic extract; AE) ขนาด 25, 50, 100, และ 200 มก./กก./วัน หรือน้ำมันหอมระเหยของเมล็ดเทียนสัตตบ...
ฤทธิ์ปกป้องไตของสารสกัดเอทานอลจากเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์ปกป้องไตของสารสกัดเอทานอลจากเทียนสัตตบุษย์การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดินของเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisum L.) ในการป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยา gentamicin ในหนูแรท โดยฉีดยา gentamicin ขนาด 100 มก./กก./วัน เข้าทางช่องท้อง และป้อนทางปากด้วยสารสกัดเทียนสัตตบุษย์ ขนาด 300 มก./กก./วัน ติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลานาน 8 วัน พบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับยา gentamicin เพียงอย่างเดียวมีระดับของ creatinine, blood urea nitrogen, และ malondialdehyde ในเลือดเพิ่มขึ้น การขับออกของ Na+และ K+ เพิ...
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง มีกลุ่มควบคุมเป็นยามาตรฐานและยาหลอก (A randomized double-blinded active and placebo controlled clinical trial) เพื่อทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisumJ Evid Based Complementary Altern Med 2017;22(1):41-6. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ ...
ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ จากการทดลองฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ ( Pimpinella anisum Linn. )โดยใช้หลอดลมของหนูที่ถูกทำให้ตีบตัวด้วย methacholineเมื่อให้สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทานอล น้ำมันหอมระเหยและtheophylline ( 1mM ) จะแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมอย่างมีนัยสำคัญ โดยน้ำมันหอมระเหยแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมได้น้อยกว่า theophylline ส่วนสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ theophylline กลไกในการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องก...
กล้วยดิบ
กล้วยดิบ ชื่อเครื่องยากล้วยดิบ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลกล้วยห่ามหรือดิบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากล้วยน้ำว้า หรือกล้วยไข่ กล้วยตีบ กล้วยหักมุก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Musa sapientum Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Musaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลดิบ เนื้อสีขาว เมื่อหั่น ฝานตากแดด ให้แห้ง แล้วบดเป็นผง เครื่องยา กล้วยดิบ ...
โกฐก้านพร้าว
โกฐก้านพร้าว ชื่อเครื่องยาโกฐก้านพร้าว ชื่ออื่นๆของเครื่องยาโกฐก้านมะพร้าว ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้ ชื่อวิทยาศาสตร์Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong ชื่อพ้องPicrorhiza scrophulariiflora ชื่อวงศ์Plantaginaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เหง้าแห้ง มีลักษณะกลมยาว ยาวประมาณ ...
ส้มจีน
ส้มจีน ชื่อเครื่องยาส้มจีน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มเกลี้ยง ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มจีน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มตรา ส้มเกลี้ยง น้ำผึ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus sinensis Osbeck. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลกลม เปลือกติดเนื้อ ไม่ล่อน ผิวเปลือกหนา ไม่เรียบ สีเหลือง พบต่อมน้ำมันที่ผิวด้านนอก พบรอยที่เคยมีก้านผลติดอยู่ เนื้อผลชั้นกลางสีขาวเหลือง หรือส...
กลอย
กลอย ชื่อเครื่องยากลอย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากลอย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มันกลอย กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก (เหนือ) กลอยไข่ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Dioscorea hispida Dennst. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Dioscoreaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ลำต้นกลมมีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป และมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีรากเจริญเป็นหัวสะสม...
มะดูก
มะดูก ชื่อเครื่องยามะดูก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากแก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะดูก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บักดูก (อีสาน), บักโคก (เขมร), ยายปลวก (ใต้) ดูกหิน ชื่อวิทยาศาสตร์Siphonodon celastrineus Griff. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Celastraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เนื้อไม้บริเวณแก่น เรียบ สีขาว หรือออกสีเหลืองอ่อนๆ เครื่องยา มะดูก เครื่องยา มะดู...
บุนนาค
บุนนาค ชื่อเครื่องยาบุนนาค ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบุนนาค ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สารภีดอย (เชียงใหม่) นากบุต (ใต้) ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน) ปะนาคอ (ปัตตานี) ชื่อวิทยาศาสตร์Mesua ferrea L. ชื่อพ้องMesua nagassarium (Burm. f.) Kosterm. ชื่อวงศ์Calophyllaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 5-10 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ ซ้อน...
มังคุด
มังคุด ชื่อเครื่องยามังคุด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผลแก่ ยางจากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามังคุด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Garcinia mangostana Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Guttiferae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลกลมแป้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง เปลือกหนาแข็ง เมื่อแก่มีสีม่วงอมน้ำตาล ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แยกเป็น 4-...
กวาวเครือขาว
กวาวเครือขาว ชื่อเครื่องยากวาวเครือขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากหัว ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว ชื่อวิทยาศาสตร์Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่...
ขิงแห้ง
ขิงแห้ง ชื่อเครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา- ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)- ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber ligulatum Roxb. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ ขนาดยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในมีสีขาวแกมม่วงอ่อนๆ เน...
ประโยชน์ของโป๊ยกั๊ก หรือ จันทร์แปดกลีบ | Chinese Star Anise | กินผักเป็นยา
Viewเทียนหยด : สมุนไพรสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ห้ามเลือด และแก้แผลอักเสบ
Viewi HERB monice' mouth spray ชุ่มคอ เสียงใส สมุนไพรช่วยได้ byTGG
Viewคนจีนอยากได้มากทุกวันนี้หายาก ทุ่งเศรษฐี หรือชุนเช่า ว่านมงคลที่ช่วยเรื่องความรักและค้าขายดี
Viewเล็ก ๆ เปลี่ยนโลก [by Mahidol] ยาสมุนไพรที่ควรมีไว้ในตู้ยา
View