ข้อมูลสมุนไพร หอยแครง รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ หอยแครง, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ หอยแครง, สรรพคุณทางยาของ หอยแครง และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | หอยแครง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เปลือกหอยแครง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Anadara granosa Schenk et Reinhart. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Arcidae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ไม่มีข้อมูลเป็นหอยปากคู่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกหนา ด้านนอกของเปลือกเป็นเส้นโค้งด้านละ 20 สัน ด้านบนของสันจะสูงแล้วค่อนข้างลาดลงไปถึงฝาปิดเปิด โดยปกติเปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ แต่ถ้าอยู่ที่น้ำตื้นและน้ำแห้ง ฝาด้านบนจะมีสีขาว เปลือกที่เผาแล้วมีรสเค็มกร่อย
เครื่องยา เปลือกหอยแครง
เครื่องยา เปลือกหอยแครง
เครื่องยา เปลือกหอยแครง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
เปลือก ขับลมในลำไส้ ล้างลำไส้ แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก เปลือกที่เผาแล้ว มีสรรพคุณ ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ
ตำรายาไทย: หอยแครง จัดอยู่ใน “พิกัดเนาวหอย” คือการจำกัดจำนวนเปลือกหอย 9 ชนิดที่ใช้ในการปรุงยา คือ เปลือกหอยกาบ เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยพิมพการัง เปลือกหอยตาวัว เปลือกหอยจุ๊บแจง เปลือกหอยมุก และเปลือกหอยสังข์หนาม สรรพคุณ หอยทั้งเก้า เอามาเผาไฟให้สุกดี จะได้ “ปูนหอย” ใช้เป็นยาแก้กรดในกระเพาะอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้มีลมผายและลมเรอ ล้างลำไส้ แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก
ในคัมภีร์กระษัย: กล่าวถึงโรคกระษัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของร่างกาย คือ “กระษัยล้น” เกิดเพราะน้ำเหลือง ให้ใช้กระดูกโคเผา หอยกาบเผา หอยแครงเผา หอยขมเผา หอยอีรมเผา หอยมือเสือ หอยพิมพการังเผา หอยนมนางเผา เบญจกูล สิ่งละ 1 ส่วน พริกไทย 25 ส่วน ทำเป็นผง บดทำแท่งไว้ สรรพคุณแก้กระษัยล้น ให้ธาตุปูน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับลม แก้จุกเสียดแน่น บำรุงไฟธาตุ
ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์: มียาแก้เส้นเอ็นกำเริบและพิการ ดังนี้ เอาเปลือกหอยโข่ง เปลือกหอยขม เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยกาบ กาบหอยแครง กาบหอยตาวัว กาบหอยพิมพการัง หอยสังข์ หอยมุก กระดูกวัว กระดูกเสือ กระดูกแพะ กระดูกเลียงผา ยาทั้งหมดนี้เผาให้ไหม้ เอาสิ่งละ 1 ส่วน
นอกจากนี้ยังมีการใช้เปลือกหอยแครง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ อีกหลายขนานเช่น รักษา “กระษัยปู” (ปวดท้องน้อยเป็นกำลัง) มีหอยแครงเป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก มีสรรพคุณขับพยาธิ ขับลม ฝาดสมาน รักษา “กระษัยจุก” มีหอยแครงเป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก สรรพคุณ ขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ รักษา “กระษัยไฟ” มีหอยแครงเป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก มีสรรพคุณ แก้ไจ้ บำรุงกำลัง ขับลม ขับปัสสาวะ ล้างลำไส้ แก้ท้องร่วง สมานลำไส้
ในคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา: ยาแก้โทษสันทฆาตหรือภาวะอาการโลหิตจาง มีหอยแครง หอยขม หอยจุ๊บแจง ร่วมกับส่วนประกอบพืชวัตถุ ธาตุวัตถุอื่นๆ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
การปรุงยาจากเปลือกหอย ต้องทำการ “สะตุหอย” โดยการนำเปลือกหอยที่ใช้เป็นยามาใส่ในหม้อดินแล้วตั้งไฟ ตั้งไฟไปเรื่อยๆ จนเปลือกหอยสุกเป็นสีขาว เผาจนเป็นผง หรือนำมาตำให้ละเอียด แล้วร่อนเอาผงที่ละเอียดมาปรุงเป็นยา
องค์ประกอบทางเคมี:
ที่เปลือกมี Calcium carbonate (CaCO3) เปลือกที่เผาแล้วจะเกิดเป็น แคลเซียมออกไซด์ (CaO)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
...
ข้อมูลเพิ่มเติม
หอยแครง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Mollusca ชั้น: Bivalvia ชั้นย่อย: Pteriomorphia อันดับ: Arcoida วงศ์: Arcidae สกุล: Tegillarca สปีชีส์: T. granosa ชื่อทวินาม Tegillarca granosa
(Linnaeus, 1758) ชื่อพ้อง[ 1] Anadara bisenensis Schrenck & Reinhart, 1938 Anadara granosa (Linnaeus, 1758) Anadara thackwayi Airedale, 1927 Anomalocardia pulchella Dunker, 1868 Arca aculeata Bruguière, 1789 Arca corbicula Gmelin, 1791 Arca corbula Dillwyn, 1817 Arca granosa Linnaeus, 1758 Arca granosa kamakuraensis Noda, 1966 Arca nodulosa Lightfoot, 1786 Arca obessa Kotaka, 1953 Tegillarca granosa bessalis Iredale, 1939
หอยแครง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tegillarca granosa) เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ถิ่นอาศัย: พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว ในน่านน้ำไทยพบมากที่จังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี อาหาร: พวกไดอะตอม, แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด ความสำคัญทางเศรษฐกิจ[ แก้ ]
หอยแครงเป็นหอยสองฝาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเนื้อใช้รับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีน นิยมนำไปปรุงด้วยการเผาหรือลวก ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับของชำร่วย หรือ บดผสมลงในอาหารไก่ และยังทำเป็นปูน[ 2] รวมถึงทำเป็นวัสดุสังเคราะห์ทดแทนกระดูกมนุษย์ได้ด้วย[ 3]
กรมประมงจึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงกันอยู่ที่แถบจังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล และปัตตานี นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ[ แก้ ]
สันนิษฐานว่าคำว่า "แครง" หรือ "คราง" นั้นมาจากภาษาชวา-มลายู ที่เรียกหอยจำพวกหอยแครงและหอยครางว่า "เกอรัง" หรือ "กรัง" (kerang, krang) จึงเพี้ยนเป็นแครงกับครางในที่สุด[ 4] [ 5] [ 6] ดูเพิ่ม[ แก้ ] หอยคราง วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ หอยแครง อ้างอิง[ แก้ ] ↑ WoRMS taxon details (อังกฤษ) ↑ "การทำปูนจากเปลือกหอย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-28. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16 . ↑ มช. เจ๋งนำเปลือกหอยแครงทดแทนกระดูกมนุษย์ จากเดลินิวส์ ↑ จอม ปัทมคันธิน. แฟนหอยพันธุ์แท้. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ชบาเงิน, 2555. 185 หน้า. หน้า 108. ISBN 978-616904682-0 ↑ หอยแครงจากสนุกดอตคอม ↑ "การเลี้ยงหอยแครง จากเว็บไซต์กรมประมง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16 . เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หอยแครง&oldid=10515958"
.
ส้มโอ
ส้มโอ ชื่อเครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกรัยตะลอง มะขุน มะโอ ส้มมะโอ ลีมาบาลี สังอู ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus grandis (L.) Osbeck ชื่อพ้องC.maxima (Burm.f.) Merr., Citrus aurantium L. var. grandis L., C. pamplemos Risso., Aurantium maxima ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่า...
เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต ชื่อเครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้น (เถา) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพชรสังฆาต ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด ชื่อวิทยาศาสตร์Cissus quadrangularis L. ชื่อพ้องCissus bifida Schumach. & Thonn., C. edulis Dalzell, C. quadrangula L., C. succulenta (Galpin) Burtt-Davy, C. tetragona Harv., C. tetraptera Hook.f., C. triandra Schumach. & Thonn., Vitis quadrangularis (L.) Wall. ex Wight...
กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...
กะเพราแดง
กะเพราแดง ชื่อเครื่องยากะเพราแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ และยอด, ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากะเพราแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพรา กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง) ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Ocimum tenuiflorum L. ชื่อพ้องGeniosporum tenuiflorum (L.) Merr., Lumnitzera tenuiflora (L.) Spreng., Moschosma tenuiflorum (L.) Heynh., Oci...
ตานหม่อน
ตานหม่อน ชื่อเครื่องยาตานหม่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาตานหม่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตานหม่น ตานค้อน ตาลขี้นก ช้าหมากหลอด ชื่อวิทยาศาสตร์Tarlmounia elliptica (DC.) ชื่อพ้องCacalia elaeagnifolia Kuntze, Strobocalyx elaeagnifolia (DC.) Sch.Bip., Strobocalyx elliptica (DC.) Sch.Bip., Vernonia elaeagnifolia DC., Vernonia elliptica ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &nb...
สมอพิเภก
สมอพิเภก ชื่อเครื่องยาสมอพิเภก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาผล ได้จาก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอพิเภก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลัน สมอแหน แหน แหนขาว แหนต้น สะคู้ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลรูปกลมหรือรี แข็ง กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีสัน 5 สัน ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดเดี่ยวแข็ง ผลอ่อน...
ขิง
ขิง ชื่อเครื่องยาขิง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก สะเอ ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber officinale Roscoe ชื่อพ้องAmomum zingiber L., Curcuma longifolia Wall., Zingiber cholmondeleyi (F.M.Bailey) K.Schum., Zingiber majus Rumph., Zingiber missionis Wall., Zingiber sichuanense ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &...
ขิงแห้ง
ขิงแห้ง ชื่อเครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา- ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)- ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber ligulatum Roxb. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ ขนาดยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในมีสีขาวแกมม่วงอ่อนๆ เน...
บัวเผื่อน
บัวเผื่อน ชื่อเครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวเผื่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัวแบ้ ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea stellata Willd. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมต...
สรรพคุณว่านกาบหอยแครงดีอย่างไร พร้อม(รีวิว)Thai herbs/เกษตรบ้านนา channel
Viewคนชอบทานหอยแครงควรรู้! "4 ประโยชน์" จาก "หอยแครง" นอกจากอร่อย ยังได้ทั้งความสวยและสุขภาพ
Viewยำหอยแครง รสแซ่บ ใช้หอยแครงสุก หอมสมุนไพร เครื่องแน่นค่ะ - แม่ต้น
View#สูตรยำหอยแครงสมุนไพรใส่ตะไคร้เยอะๆอร่อยหอมสมุนไพรEP.60
Viewเปลือกหอยแครง หอยขม กินแล้วไม่ไร้ค่า เก็บไว้ทำยา ยาอะไรมาดูกัน ???
Viewแจกสูตรยำหอยแครง ยำขายสร้างอาชีพ ยำยังใงให้อร่อยคนรุม/ครัวกัณฐมณี channel
View