Menu

หอยขม

ชื่อเครื่องยา

หอยขม

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

หอยจุ๊บ

ได้จาก

เปลือกหอยขม

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Filopaludina sumatrensis Dunker.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Viviparidae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        
           เป็นหอยน้ำจืดชนิดฝาเดียวขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร รูปร่างเป็นกระเปาะเกือบเป็นทรงกลม มีเปลือกเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่ จงอยปากสั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด หอยขมมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูกเป็นตัว เปลือกที่เผาแล้วมีรสกร่อย

 

เครื่องยา เปลือกหอยขม

 

เครื่องยา เปลือกหอยขม

 

เครื่องยา เปลือกหอยขม

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
            ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           เปลือก ขับลมในลำไส้ ล้างลำไส้ แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก
           ตำรายาไทย: หอยขม จัดอยู่ใน “พิกัดเนาวหอย” คือการจำกัดจำนวนเปลือกหอย 9 ชนิดที่ใช้ในการปรุงยา คือ เปลือกหอยกาบ เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยพิมพการัง เปลือกหอยตาวัว เปลือกหอยจุ๊บแจง เปลือกหอยมุก และเปลือกหอยสังข์หนาม สรรพคุณ หอยทั้งเก้า เอามาเผาไฟให้สุกดี จะได้ “ปูนหอย” ใช้เป็นยาแก้กรดในกระเพาะอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้มีลมผายและลมเรอ ล้างลำไส้  แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก
           ในคัมภีร์กระษัย: กล่าวถึงโรคกระษัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของร่างกาย คือ “กระษัยล้น” เกิดเพราะน้ำเหลือง ให้ใช้กระดูกโคเผา หอยกาบเผา หอยแครงเผา หอยขมเผา หอยอีรมเผา หอยมือเสือ หอยพิมพการังเผา หอยนมนางเผา เบญจกูล สิ่งละ 1 ส่วน พริกไทย 25 ส่วน ทำเป็นผง บดทำแท่งไว้ สรรพคุณแก้กระษัยล้น ให้ธาตุปูน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับลม แก้จุกเสียดแน่น บำรุงไฟธาตุ
           ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์: มียาแก้เส้นเอ็นกำเริบและพิการ ดังนี้ เอาเปลือกหอยโข่ง เปลือกหอยขม เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยกาบ กาบหอยแครง กาบหอยตาวัว กาบหอยพิมพการัง หอยสังข์ หอยมุก กระดูกวัว กระดูกเสือ กระดูกแพะ กระดูกเลียงผา ยาทั้งหมดนี้เผาให้ไหม้ เอาสิ่งละ 1 ส่วน
           นอกจากนี้ยังมีการใช้เปลือกหอยขม ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ อีกหลายขนานเช่น รักษา “กระษัยจุก” มีหอยขมเผา เป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก สรรพคุณ ขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ รักษา “กระษัยไฟ” มีหอยขม เป็นส่วนประกอบร่วมกับพืชวัตถุ และหอยชนิดอื่นๆอีก มีสรรพคุณ แก้ไจ้ บำรุงกำลัง ขับลม ขับปัสสาวะ ล้างลำไส้ แก้ท้องร่วง สมานลำไส้
           ในคัมภีร์อติสารและยาแก้บิด: ว่าด้วยอาการไข้ และยาแก้ไข้ ชื่อ “ยามหานิลแท่งทอง” มีส่วนผสมของเปลือกหอยขม ร่วมกับ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุอื่นๆ
           ในคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา: ยาแก้โทษสันทฆาตหรือภาวะอาการโลหิตจาง มีหอยขม ร่วมกับส่วนประกอบพืชวัตถุ ธาตุวัตถุอื่นๆ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           การปรุงยาจากเปลือกหอย ต้องทำการ “สะตุหอย” โดยการนำเปลือกหอยที่ใช้เป็นยามาใส่ในหม้อดินแล้วตั้งไฟ ตั้งไฟไปเรื่อยๆ จนเปลือกหอยสุกเป็นสีขาว เผาจนเป็นผง หรือนำมาตำให้ละเอียด แล้วร่อนเอาผงที่ละเอียดมาปรุงเป็นยา

องค์ประกอบทางเคมี:
           ที่เปลือกมี Calcium carbonate (CaCO3) เปลือกที่เผาแล้วจะเกิดเป็น แคลเซียมออกไซด์ (CaO)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
            ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
            ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
            ไม่มีข้อมูล



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ หอยขม

...

Other Related หอยขม

ข้อมูล หอยขม จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


วงศ์หอยขม ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: แอฟเทียน-ปัจจุบัน[1] ชนิด Viviparus contectus การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Animalia ไฟลัม: Mollusca ชั้น: Gastropoda วงศ์: Viviparidae Gray, 1847[2] วงศ์ย่อย: Bellamyinae Lioplacinae Viviparinae ชนิด[3] พบราว 125-150 ชนิด หอยขม หรือภาษาในบางท้องถิ่นเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป เป็นหอยฝาเดียวที่พบเฉพาะในแหล่งน้ำจืดเท่านั้น นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยส่วนมากจะพบจากแหล่งธรรมชาติ โดยชาวบ้านในท้องที่เก็บมาขาย หรือพบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้สำหรับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา แต่ในปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยขมในกระชังโดยเฉพาะ หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว ชีววิทยาของหอยขม

หอยขม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Pond snail, Marsh snail, River snail มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Viviparidae ในประเทศไทยพบว่ามีความหลากหลายของหอยในวงศ์หอยขมมากพอสมควร เช่น ชนิด Filopaludina martensi ลักษณะภายนอก

หอยขมเป็นหอยในกลุ่มหอยฝาเดียว มีเปลือกเป็นรูปกรวยรูปไข่ ลักษณะเป็นเกลียวเวียนขวาเรียวขึ้นไปถึงยอดปลายแหลม หอยขมแต่ละชนิดจะมีความหนาของเปลือก ความสูง ความโค้งและร่องลึกที่ผิวเปลือกที่แตกต่างกันไป เกลียววงยอดสุดมีขนาดเล็กเรียกว่า apex เป็นวงที่เกิดก่อนวงอื่น ถัดลงมา 2 วง เรียกว่า spire วงล่างสุดเรียกว่า body whorl บริเวณนี้มีช่องเปิดขนาดใหญ่ให้ส่วนหัวและส่วนเท้ายื่นออกมาได้ เรียกว่า aperture ขอบในของช่องเปิดเรียกว่า inner lip ขอบนอกของช่องเปิดเรียกว่า outer lip แกนกลางของเปลือกเป็นท่อกลวงบิดโค้งเป็นเกลียวเรียกว่า columella มีช่องเปิด umbellicus ส่วนของฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นบาง ๆ เรียกว่า operculum มีลายรูปวงรีอยู่ตรงกลางฝาปิดเป็นวงการแสดงการเจริญเติบโต สีของเปลือกขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เปลือกหอยขมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้น Periostracum เป็นชั้นนอกสุดประกอบด้วยสารอินทรีย์พวกโปรตีน cochiolin ชั้น Prismatic อยู่ชั้นกลางของเปลือก มีความหนาและแข็ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินปูน และชั้นในสุดคือ Nacreous ประกอบด้วยสารอินทรีย์จำพวกโปรตีนลักษณะเป็นสีมุขมันวาว ซึ่งเป็นสารประกอบ calcite ในรูปผลึกหินปูน ลักษณะภายใน

มีการแบ่งลำตัวออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนก้อนอวัยวะภายในเรียกว่า visceral mass และส่วนของเท้า ส่วนหัว มีหนวด 1 คู่ สามารถยืดหดได้ ติดกับโคนหวดหนวดมีตาสีดำ 1 คู่อยู่บนก้านตา ปากมีลักษณะคล้ายท่อกลวงหรืองวงอยู่ตรงกลางระหว่างหนวด เรียกว่า siphon ส่วนก้อนอวัยวะ เป็นส่วนที่รวมอวัยวะไว้เป็นก้อน ขดเป็นเกลียวตามรูปของเปลือก อวัยวะภายในประกอบไปด้วยต่อมน้ำลาย หัวใจ เหงือก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น ส่วนเท้า กล้ามเนื้อเท้าจะยึดติดกับฝาปิดเปลือก กล้ามเนื้อเท้าเป็นแผ่นแบน ๆ กว้าง ๆ จะเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นคลื่นแบบตัวหนอน การทำงานของกล้ามเนื้อเท้าจะทำงานไล่จากส่วนหน้าไปยังส่วนท้ายติดต่อกัน เวลาหอยขมเคลื่อนที่ไปจะยื่นส่วนหัว ส่วนเท้า และ siphon ออกมาจากเปลือก การกินอาหาร

หอยขมมีปาก ระบบทางเดินอาหารเริ่มจากปาก อาหารที่ลอยอยู่ในน้ำ เช่น แพลงก์ตอนเล็ก ๆ สามารถถูกดูดเข้าไปในช่องใต้ปากได้ นอกจากนี้ภายในปากก็จะมี redula ซึ่งมีลักษณะแข็งทำหน้าที่คล้ายเป็นฟันใช้ขูดแทะอาหารที่ติดอยู่กับวัสดุ เช่น ตะไคร่น้ำ ภายในช่องปากมีท่อเปิดจากต่อมน้ำลาย ต่อจากช่องปากคือหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ และทวาร ตามลำดับ อาหารของหอยขมได้แก่ ตะไคร่น้ำ พืชน้ำ แพลงก์ตอน และอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย การหายใจ

หอยขมหายใจด้วยเหงือก เหงือกจะอยู่ในช่อง mantle cavity โดยน้ำจะไหลผ่านช่องนี้ไปทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างน้ำกับเส้นเลือดบริเวณเหงือก การสืบพันธุ์

หอยขมมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน สามารถผสมตัวเองหรือผสมข้ามโดยการมาประกบกันได้ และการผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองจะทำได้เมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละ ประมาณ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ ๆ จะมีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจนแตกเพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่ ระยะที่จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม มีอายุขัยตั้งแต่ 3-11 ปี[4] แหล่งอาศัย

หอยขมมักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไป เช่น คู หนอง คลอง บึง และในนาข้าว ที่เป็นพื้นดินหรือโคลน ที่ระดับน้ำตั้งแต่ 10 ซม. ถึง 2 ม. โดยใช้เท้ายึดเกาะอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ เช่น เสา สะพาน ตอไม้ พันธุ์ไม้น้ำ หรือจมอยู่ในโคลน หอยขมมักอยู่ในน้ำที่ไม่ไหลแรงนักหรือเป็นน้ำนิ่งในที่ร่ม มีการแพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปในทุกจังหวัด และมีการแพร่กระจายทั่วไปในประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา รวมถึงในจีน และ ญี่ปุ่น และแอฟริกา พยาธิจากหอยขม

ในธรรมชาติหอยเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะในการนำพยาธิมาสู่ผู้บริโถคในห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากวงจรชีวิตของพยาธิในระยะตัวอ่อนจะเข้ามาฝังตัวในหอย โดยเฉพาะในหอยน้ำจืด สำหรับในหอยขมมีชนิดพยาธิที่ตรวจพบดังต่อไปนี้ - Echinostoma malayanum - Echinostoma revolutum - Echinostoma malayanum - Echinostoma ilocanum - Angiostrongylus cantonensis[5] อ้างอิง

↑ Kear B. P., Hamilton-Bruce R. J., Smith B. J. & Gowlett-Holmes K. L. (2003). "Reassessment of Australia's oldest freshwater snail, Viviparus (?) albascopularis Etheridge, 1902 (Mollusca : Gastropoda : Viviparidae), from the Lower Cretaceous (Aptian, Wallumbilla Formation) of White Cliffs, New South Wales". Molluscan Research 23(2): 149-158. doi:10.1071/MR03003, PDF. ↑ Gray J. E. (November 1847) (1833). "A list of genera of Recent Mollusca, their synonyma and types". Proceedings of the Zoological Society in London, 15: 129-182. Viviparidae at page 155. ↑ Strong E. E., Gargominy O., Ponder W. F. & Bouchet P. (2008). "Global Diversity of Gastropods (Gastropoda; Mollusca) in Freshwater". Hydrobiologia 595: 149-166. http://hdl.handle.net/10088/7390 doi:10.1007/s10750-007-9012-6. ↑ Heller J. (1990) "Longevity in molluscs". Malacologia 31(2): 259-295. ↑ ศักดิ์ชัย ชูโชติ. 2533. การเลี้ยงหอยขม. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วงศ์หอยขม แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Viviparidae เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=วงศ์หอยขม&oldid=9877727"
.

สมุนไพรอื่นๆ

202

เทียนกิ่ง
เทียนกิ่ง ชื่อเครื่องยาเทียนกิ่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนกิ่ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เทียนต้น เทียนไม้ เทียนกิ่งดอกขาว เทียนกิ่งดอกแดง เทียนย้อม เทียนย้อมมือ เทียนป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์Lawsonia inermis L. ชื่อพ้องAlcanna spinosa (L.) Gaertn., Casearia multiflora Spreng., Lawsonia speciosa L., Lawsonia spinosa L., Rotantha combretoides ชื่อวงศ์Lythraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:     &n...

21

กำแพงเจ็ดชั้น
กำแพงเจ็ดชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเจ็ดชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตาไก้ ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia chinensis L. ชื่อพ้องSalacia prinoides ชื่อวงศ์Celastraceae (Hippocrateaceae) ลักษณะภายนอก...

192

ย่านาง
ย่านาง ชื่อเครื่องยาย่านาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี ชื่อวิทยาศาสตร์Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ชื่อพ้องCocculus triandrus Colebr., Limacia triandra ชื่อวงศ์Menispermaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

68

เทียนดำ
เทียนดำ ชื่อเครื่องยาเทียนดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนดำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Nigella sativa L. ชื่อพ้องNigella cretica Mill. ชื่อวงศ์Ranunculaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ถึงห้าเหลี่ยม สีดำ เนื้อในสีขาว ขนาดกว้าง 1.4-1.8 มิลลิเมตร ยาว 2.5-3.0 มิลลิเมตร   เมล็ดแก่แห้ง มีสีดำสนิท ผิวนอกขรุขระ ไม่ม...

201

แห้วหมู
แห้วหมู ชื่อเครื่องยาแห้วหมู ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหญ้าแห้วหมู ได้จากหัวใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาแห้วหมู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) หญ้าแห้วหมู หัวแห้วหมู หญ้ามะนิ่วหมู ชื่อวิทยาศาสตร์Cyperus rotundus L. ชื่อพ้องChlorocyperus rotundus (L.) Palla, Chlorocyperus salaam (L.) Hayek, Schoenus tuberosusensis Palla, Cyperus agrestis Willd. ex Spreng. & Link, Cyperus arabicus Ehrenb. ex Boeckeler, Cyperus bicolor Vahl, Cyperus bifax C.B.Clarke,...

105

มะนาว
มะนาว ชื่อเครื่องยามะนาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล น้ำในผล เมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะนาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มมะนาว(ภาคกลาง) ส้มนาว(ภาคใต้) โกรยซะม้า(เขมร-สุรินทร์) หมากฟ้า(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle ชื่อพ้องCitrus × acida Pers., C. × davaoensis (Wester) Yu.Tanaka, C. depressa var. voangasay Bory, C. × excelsa Wester, C. hystrix subsp. acida Engl., C. × javanica Blume, C. × lima Macfad....

11

กระวานไทย
กระวานไทย ชื่อเครื่องยากระวานไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี, เมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระวานไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์Amomum krervanh Pierre ex Gagnep ชื่อพ้องAmomum verum ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:    &nbs...

85

เปล้าน้อย
เปล้าน้อย ชื่อเครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปล้าน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เปล้าท่าโพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Croton fluviatilis Esser ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ใบก้านใบยาว 1-3.5 มิลลิเมตร  มีขนสั้นนุ่มประปราย แผ่นใบตรงแคบยาว กว้าง 1.5 -2.44 เซนติเมตร ยาว 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้...

91

พริกไทยล่อน
พริกไทยล่อน ชื่อเครื่องยาพริกไทยล่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพริกล่อน พริกไทยขาว ได้จากผลสุกตากแห้งที่ร่อนเปลือกออกแล้ว ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพริกไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พริกน้อย พริกขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์Piper nigrum L. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            พริกไทยล่อนได้จากผลสุกของของพริกไทยเมื่อผลสุกแล้วจะเก็บเอามาใส่รวมกันไว้ในกระสอบ แช่น้ำไว้ อาจใช้ไม้ทุบเบาๆจ...

เปลือกหอยแครง หอยขม กินแล้วไม่ไร้ค่า เก็บไว้ทำยา ยาอะไรมาดูกัน ???

เปลือกหอยแครง หอยขม กินแล้วไม่ไร้ค่า เก็บไว้ทำยา ยาอะไรมาดูกัน ???

เปลือกหอยแครง หอยขม กินแล้วไม่ไร้ค่า เก็บไว้ทำยา ยาอะไรมาดูกัน ???

View
เคล็ดลับอาหารและการเลี้ยงหอยขมโตเร็ว ทันขาย ขยายไว ตัวใหญ่เท่าเหรียญสิบ มีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย!!!

เคล็ดลับอาหารและการเลี้ยงหอยขมโตเร็ว ทันขาย ขยายไว ตัวใหญ่เท่าเหรียญสิบ มีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย!!!

เคล็ดลับอาหารและการเลี้ยงหอยขมโตเร็ว ทันขาย ขยายไว ตัวใหญ่เท่าเหรียญสิบ มีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย!!!

View
กินหอยขมต้มสมุนไพร EP6 | ทำอาหารแบบบ้านๆ

กินหอยขมต้มสมุนไพร EP6 | ทำอาหารแบบบ้านๆ

กินหอยขมต้มสมุนไพร EP6 | ทำอาหารแบบบ้านๆ

View
วิธีทำแกงหอยขมใส่ข้าวคั่ว ใบชะพลู สมุนไพร แซ่บมาก | Thai Curry Freshwater Snail |ครัวนิกะก้อง

วิธีทำแกงหอยขมใส่ข้าวคั่ว ใบชะพลู สมุนไพร แซ่บมาก | Thai Curry Freshwater Snail |ครัวนิกะก้อง

วิธีทำแกงหอยขมใส่ข้าวคั่ว ใบชะพลู สมุนไพร แซ่บมาก | Thai Curry Freshwater Snail |ครัวนิกะก้อง

View
เลี้ยงหอยขม ในถุงตาข่าย ลงทุนน้อยรายได้ดี

เลี้ยงหอยขม ในถุงตาข่าย ลงทุนน้อยรายได้ดี

เลี้ยงหอยขม ในถุงตาข่าย ลงทุนน้อยรายได้ดี

View
นครปฐม อาชีพสร้างเงิน "งมหอยขม" แค่ลงแรงไม่ลงทุน | 03-05-61 | ตะลอนข่าวเช้านี้

นครปฐม อาชีพสร้างเงิน "งมหอยขม" แค่ลงแรงไม่ลงทุน | 03-05-61 | ตะลอนข่าวเช้านี้

นครปฐม อาชีพสร้างเงิน "งมหอยขม" แค่ลงแรงไม่ลงทุน | 03-05-61 | ตะลอนข่าวเช้านี้

View
หอยขม เทคนิคต้มหอยให้จิ้มออกได้ทั้งตัวทุกส่วน ออกถึงส่วนก้นของหอย

หอยขม เทคนิคต้มหอยให้จิ้มออกได้ทั้งตัวทุกส่วน ออกถึงส่วนก้นของหอย

หอยขม เทคนิคต้มหอยให้จิ้มออกได้ทั้งตัวทุกส่วน ออกถึงส่วนก้นของหอย

View
จ้ำข้าวเหนียว2สีหอยขมต้มสมุนไพร

จ้ำข้าวเหนียว2สีหอยขมต้มสมุนไพร

จ้ำข้าวเหนียว2สีหอยขมต้มสมุนไพร

View
หอยขมผัดสมุนไพร

หอยขมผัดสมุนไพร

หอยขมผัดสมุนไพร

View