Menu

หอมแดง

ชื่อเครื่องยา

หอมแดง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

หอมหัวแดง

ได้จาก

ลำต้นใต้ดิน

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

หอมแดง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

หอมแกง (ภาคกลาง ภาคใต้) หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว (ภาคกลาง) หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (พายัพ) ผักบั่ว (อีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Allium ascalonicum L.

ชื่อพ้อง

Allium carneum Willd., Allium fissile Gray, Allium hierochuntinum Boiss., Porrum ascalonicum

ชื่อวงศ์

Amaryllidaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน รูปไข่ สีแดงหรือสีขาว กว้าง 1-4 ซม.  ยาว 1.5-5 ซม. เป็นโคนใบสะสมอาหาร พองออกเรียงซ้อนกันเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงอมม่วงบางๆหุ้ม เนื้อภายในสีม่วงอ่อน ลำต้นเป็นเหง้าเล็กๆติดที่ฐานใบ หัวหนึ่งมี 1-2 กลีบ หัวมีกลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน

 

เครื่องยา หอมแดง

 

เครื่องยา หอมแดง

 

เครื่องยา หอมแดง

 

เครื่องยา หอมแดง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
          ปริมาณความชื้นไม่เกิน 87% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 1% w/w 

สรรพคุณ:
           ตำรายาแผนโบราณ: ใช้หัวแก่จัดๆ กินเป็นยาขับลมในลำไส้  แก้ปวดท้อง  บำรุงธาตุ  แก้หวัดคัดจมูก  ใช้หัวตำสุมหัวเด็กแก้หวัด  ตำผสมพิมเสนและเปราะหอมพอกกระหม่อมเด็กไว้ราว 1 ชม.  แก้หวัดคัดจมูกขยี้ดมแก้ซางชัก  สลบ แก้ไข้เพื่อเสมหะ  อันครืดคราดอยู่ในทรวงอก  แก้ไข้ลดความร้อน แก้ไอ  บำรุงผมให้งอกงาม  ทำเนื้อหนังให้สดชื่น  แก้ไข้ที่ทำให้ร้อนใน  ปวดกระบอกตา  แสบร้อนตา  น้ำตาไหล  ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้โรคปากคอ ฆ่าเชื้อโรค ใช้ภายนอกแก้ลมพิษ ทาแก้สิว แก้พิษแมลงกัด ทาแก้อาการปวดบวมตามข้อ ทำให้ระบบย่อยอาหารดี เจริญอาหาร ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ลดไขมันในเลือด แก้อาการอักเสบต่างๆ  น้ำหัวหอมใช้ดมเวลาเป็นลม  เป็นยาบำรุงหัวใจ  และหยอดหูแก้ปวดหู  เมื่อนำมาย่างไฟใช้พอกแผลฝี  แผลช้ำ  ใช้ได้ทั้งกินทั้งทาภายนอก   น้ำหัวหอมเป็นยาบำรุงกำหนัด
           ตำรายาไทย: ใช้หัวหอมสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ท้องอืดแน่น แก้บวมน้ำ ขับพยาธิ  ปวดหลังบริเวณเอว ปวดประจำเดือน แก้ไข้ ขับลม ทำให้ร่างกายอบอุ่น
           ตำรับยาสมุนไพรล้านนา: มีการใช้หัวหอมแดง ในตำรับ “ยาเลือดขึ้น” (ยารักษาโรคความดัน) ให้เอาเทียนทั้ง 5 (เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก และเทียนตาตั๊กแตน) ขิง หอมแดง พริกไทย ใบตาล นำมาคั่วให้เหลือง แล้วบดผสมกัน แล้วนำไปสูบ ถ้าสูบไม่ได้ ให้ทำหลอดพ่นเข้ารูจมูก จะหายค่าคำนับครูมี 5 บาทถ้วน

           บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้หัวหอมแดงในตำรับ "ยาประสะไพล" มีส่วนประกอบของหัวหอมแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน  และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร

รูปแบบ และขนาดวิธีใช้ยา:

           ขนาดยาทั่วไป ใช้ 15-30 กรัม ต้มน้ำ

           1.แก้หวัดคัดจมูก ใช้หัว 2-4 หัว ทุบพอบุบ ห่อผ้าขาวบางวางไว้บนหัวนอน
           2.แก้พิษแมลงสัตว์ กัดต่อย ใช้หัวประมาณ 1 หัว ขยี้หรือตำให้แหลกแล้วนำมาทา

องค์ประกอบทางเคมี:
           หัวหอมมีน้ำมันระเหยง่ายที่มีกำมะถัน diallyl disulphide เป็นองค์ประกอบ  มีธาตุฟอสฟอรัสสูง

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ต้านอักเสบ

       ทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของส่วนสกัดหัวหอมแดงในเอทานอลในหลอดทดลอง ทำการทดสอบความมีชีวิตรอดของเซลล์ด้วยวิธี 3-[4,5-dimethylthiazol-2-yl]-2,5-dyphenyl tetra-zolium bromide (MTT) ศึกษาผลของส่วนสกัดต่อการแสดงออกของยีนที่เป็นสื่อกลางการอักเสบได้แก่ inducible nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase (COX)-2, COX-1, tumor necrosis factor (TNF)-α, interleukin (IL)-1β และ IL-6 ในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ (RAW 264.7) ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยสาร Lipopolysaccharide (LPS) โดยวัดปริมาณยีนที่แสดงออกด้วยวิธี reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) วิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลรวม และฟลาโวนอยด์รวม ของส่วนสกัดโดยใช้ปฏิกิริยาการเกิดสีกับสาร Folin-Ciocalteu และสารอลูมิเนียมคลอไรด์ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าที่ความเข้มข้น 62.5, 125 และ 250 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ส่วนสกัดหอมแดงในเอทานอลไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และมีฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ iNOS, TNF-α, IL-1β และ IL-6 เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้น ส่วนสกัดหอมแดงไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีน COX-2 แต่ยับยั้งการแสดงออกของยีน COX-1 อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปริมาณสารฟีนอลรวมคิดเป็น 15.964±0.122 สมมูลกับกรดแกลลิก/กรัม และมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวม 11.742 ±0.012 มก. สมมูลกับสารเคอร์ซิทิน/กรัม (Werawattanachai, et al, 2015)

ฤทธิ์ปกป้องตับและไต

       การศึกษาความสามารถในการป้องกันความเสียหายของตับและไตจากการติดเชื้อมาลาเรีย โดยเตรียมสารสกัดหอมแดงอย่างหยาบด้วยน้ำ จากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ในหนูถีบจักร สายพันธุ์ ICR ที่ติดเชื้อมาลาเรีย Plasmodium berghei  ANKA ปริมาณ 6x106เซลล์ ต่อหนูทดลอง โดยให้หนูทดลองได้รับสารสกัดทางหลอดอาหารวันละครั้ง เป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน และทำการตรวจวัดค่าบ่งชี้ความเสียหาย ได้แก่ ระดับเอนไซม์ตับ aspartate aminotransferase (AST), alanine aminotransferase (ALT) และตัวบ่งชี้การทำงานของไต ได้แก่ blood urea nitrogen (BUN) และ creatinine โดยใช้ชุดตรวจสำเร็จรูป ผลการทดลองพบว่าความเข้มข้นสูงสุดของสารสกัดหอมแดงที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ คือ 3,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และในขณะที่มีการติดเชื้อมาลาเรียนั้นจะพบความเสียหายของตับ และไตเกิดขึ้นในวันที่ 10 หลังจากติดเชื้อโดยดูได้จากระดับของ AST, ALT, BUN และ creatinine ที่สูงที่สุด แต่สารสกัดหอมแดงที่ขนาด 3,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถป้องกันความเสียหายของตับและไต จากการติดเชื้อมาลาเรียได้โดยดูจากตัวบ่งชี้ที่มีระดับปกติ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดหอมแดงมีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของตับและไตจากการติดเชื้อมาลาเรียในหนูทดลองได้ (วรวุฒิ และคณะ, 2558)


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

 

อาการไม่พึงประสงค์:
           น้ำมันนี้มีรสเผ็ดร้อน  ทำให้เคืองตา  แสบจมูก  และอาจทำให้ผิวหนังปวดแสบปวดร้อน
           ตำรายาไทยกล่าวว่า หัวหอม ไม่ควรกินมากเกินไป หรือกินเป็นประจำ เพราะอาจทำให้ประสาทเสีย ทำให้หลงลืมได้ง่าย ทำให้มีกลิ่นตัว ฟันเสีย เลือดน้อย และตาฝ้ามัวไม่แจ่มใส


การศึกษาทางพิษวิทยา:

          ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง:

1. วรวุฒิ สมศักดิ์, สุกัญญา ชาชิโย, สมเดช ศรีชัยรัตนกูล, ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์. ฤทธิ์ของสารสกัดหอมแดงต่อความเสียหายของตับและไตจากการติดเชื้อมาลาเรีย Plasmodium berghei ในหนูทดลอง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, วันที่ 26 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จ.สงขลา.

2. Werawattanachai N, Kaewamatawong R, Junlatat J, Sripanidkulchai B. Anti-Inflammatory potential of ethanolic bulb extract of Allium ascalonicum. Journal of Science & Technology, Ubon ratchathani University. 2015;17(2):63-68.

 

ข้อมูลตำรับยาประสะไพล:  www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ หอมแดง

...

Other Related หอมแดง

ข้อมูล หอมแดง จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


หอมแดง หอมแดง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Liliopsida อันดับ: Asparagales วงศ์: Amaryllidaceae วงศ์ย่อย: Allioideae สกุล: Allium สปีชีส์: A.  oschaninii ชื่อทวินาม Allium oschaninii O. Fedtsch หอมแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Allium oschaninii) เป็นพืชในวงศ์พลับพลึง (Amaryllidaceae) โดยยึดเอา French grey challot หรือ griselle เป็นหอมที่แท้จริง จัดอยู่ในสปีชีย์นี้ มีการเพาะปลูกในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนความหลากหลายอื่นที่มีคือ Allium cepa var. aggregatum (หอมแบ่ง:multiplier onions) หรือ French red shallot หรือที่รู้จักกันในชื่อ A. ascalonicum เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ของประเทศในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยส่งออกหอมแดง ไปยังประเทศมาเลเซียเป็นจำนวนมาก การซื้อขายส่วนใหญ่เป็นหัวๆ ชั่งขายเป็นกิโลกรัม และมัดขายเป็นกำๆ แต่ก็ขายตามน้ำหนัก เช่นเดียวกัน[1] ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แต่หอมแดงที่มีชื่อเสียงว่าเป็นหอมแดงคุณภาพดีได้แก่หอมแดงจากจังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะสำคัญ

พืชที่มีลำต้นสั้นและฝังอยู่ใต้ดิน ขนาดสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กาบใบพองออกเพื่อสะสมอาหาร ดอกลักษณะเป็นช่อคล้ายร่ม ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวอมม่วงมีกลีบดอก 6 กลีบ ออกดอกในช่วงฤดูร้อน สรรพคุณ

หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ แก้บวมน้ำ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซุบผอม(ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม) ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม[2][3] หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้[4] นอกจากนี้ หอมแดงยังมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง สรรพคุณทางยา ฟลาโวนอยด์ในหอมแดง มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคหอมแดงเป็นประจำจึงสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ สามารถป้องกันการติดเชื้อ และช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ ทำให้เจริญอาหาร และช่วยย่อยอาหาร ทั้งนี้ ฟลาโวนอยด์ปริมาณสูงมากๆ นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจแล้ว ยังลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ด้วย สารต่างๆ ดังกล่าวในหอมแดงยังมีคุณสมบัติต้านหรือยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ศึกษาโดยใช้น้ำหอมหัวแดงถนอมเนื้อหมูสด โดยใช้เนื้อหมูขนาด 3x3x1 นิ้ว คั้นเอาน้ำหัวหอมประมาณ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร วางเนื้อหมูลงในภาชนะ เติมน้ำหัวหอมแดงให้ท่วมเนื้อหมู แล้วเก็บใส่กล่องพลาสติกปิดฝา หรือใช้ใบตอง หรือถุงพลาสติกห่อไว้ ผลที่ออกมาหอมแดงจะถนอมเนื้อหมูไม่ให้บูดเน่าได้ก่อนนำไปประกอบอาหารอย่างน้อย 5 วัน โดยไม่ต้องแช่เย็น แต่เนื้อหมูอาจมีสีซีดลงไปบ้าง ในหอมแดงยังมีธาตุฟอสฟอรัสปริมาณสูง ช่วยให้มีความจำดี นอกจากนี้หอมยังใช้บำรุงรักษาหน้าได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ ทุบหรือฝานหอมแดงให้เป็นแว่นบางๆ ทาบริเวณที่เป็นสิว ฝ้า หรือจุดด่างดำ เพียงไม่กี่สัปดาห์ก็เห็นผล การรับประทานหอมไม่มีอันตรายหรือผลข้างเคียง แต่เป็นผลดีกับร่างกายมากกว่าเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี ในหอมแดง 100 กรัม มีโปรตีน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม น้ำตาลหลายๆ ชนิดรวม 10.6 กรัม และมีพลังงานเพียง 50-60 แคลอรี[5] การใช้ประโยชน์

คนไทยนิยมนำหอมแดง มาเป็นส่วนประกอบเครื่องแกงเผ็ด เป็นส่วนประกอบของไข่เจียวหมูสับ ซุปหางวัว รับประทานสดโดยฝานเป็นแว่นบางๆ รับประทานร่วมกับแหนมสด เมี่ยงคำ ปลาเค็มทรงเครื่อง หอมแดงซอย กับพริกขี้หนูสวนหั่นฝอย เป็นส่วนประกอบของน้ำพริกกะปิ หอมแดงเผาตำผสมกับน้ำพริกปลาร้า และเป็นส่วนประกอบของหลนทุกอย่าง เป็นส่วนประกอบของขนมหวาน เช่น หอมแดงซอยเจียว ใส่ในข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ขนมหม้อแกงถั่ว และไข่ลูกเขย ( อาหารคาวหวาน ) ฯลฯ คุณค่าทางอาหาร

คุณค่าทางอาหารของหอมแดง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม คือ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 88 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9 กรัม ใยอาหาร 0.7 กรัม เถ้า ( ash ) 0.6 กรัม แคลเซี่ยม 36 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5 หน่วยสากล ( I.U. ) วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม พลังงาน 160 Kj คุณภาพของหอมแดงขึ้นอยู่กับของแข็ง ( Solids ) ที่ละลายน้ำได้ และให้กลิ่นหอม เมื่อนำไปทอด หอมแดงจะมี soluble solid อยู่ระหว่าง 15-20 Brix เป็นส่วนประกอบของกรดแอมิโน S-allkyl cysteine sulphoxides ที่ให้ทั้งรสชาติ และกลิ่นฉุนของหอม อ้างอิง

↑ "หอมแดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-16 . ↑ หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ กรกฎาคม 2539, หน้า 105 ↑ หนังสือผักไทย-ยาไทย มกราคม 2539, หน้า 1 ↑ หนังสือสมุนไพรอันดับที่ 01 โครงการศึกษาวิจัยสมุนไพร โดยคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2536, หน้า 205-7 ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06 . เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หอมแดง&oldid=10969233"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ หอมแดง

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1262

ฤทธิ์ปกป้องตับของข้าวเฉดสีแดงของไทย
ฤทธิ์ปกป้องตับของข้าวเฉดสีแดงของไทยในการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวเฉดสีของไทยจากสายพันธุ์สีแดง ได้แก่ ข้าวหอมแดง ข้าวหอมกุหลาบแดง และสายพันธุ์สีดำ ได้แก่ ข้าวหอมดำสุโขทัย และข้าวก่ำดอยสะเก็ด โดยทดสอบด้วยวิธ๊ ABTS radical scavenging, Hydroxyl radical scavenging, Metal-chelating และ lipid peroxidation assays พบว่าสารสกัดไฮโดรไกลโคลิก (hydroglycolic extract) จากรำข้าวหอมแดง ซึ่งมีปริมาณของสารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์สูงสุด มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ (IC50 เท่ากับ 36.50±0.46, 12.98...

1379

เปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัด
เปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัดการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มไปข้างหน้าและมีกลุ่มควบคุม (Randomized prospective controlled trial) เพื่อเปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัดจำนวน 37 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สูดดมยูคาลิปตัสจำนวน 19 คน และกลุ่มที่สูดดมหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนจำนวน 18 คน ให้ผู้ป่วยสูดดมยูคาลิปตัสหรือหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 10 นาที และประเมินอาการ...

633

การใช้หอมแดงรักษาหวัด
การใช้หอมแดงรักษาหวัดการศึกษาการใช้หอมแดงรักษาหวัดในกลุ่มเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี จำนวน 20 คน โดยนำหอมแดงแห้ง 3 - 4 หัว มาปอกเปลือกตัดรากทำความสะอาด ทุบหรือตำให้หยาบแล้วใช้ผ้าบางๆ ห่อเป็นกระจุก นำมาประคบหรือสุมไว้ตรงกระหม่อมเด็ก หรือวางไว้ห่างๆ เวลาเด็กนอน เพื่อสูดดมไอระเหยเข้าไปทางลมหายใจ เปรียบเทียบผลกับเด็กที่ใช้ยา chlorpheniramine syrup พบว่าหอมแดงสามารถรักษาหวัดในเด็กได้ดี ผู้ปกครองของเด็กมีความพึงพอใจ ร้อยละ 95.2 และไม่ปฏิเสธการรักษา ทำให้ลดต้นทุนการสั่งซื้อยารักษาโรคหวัดได้ คิดเป็นร้อยละ...

สมุนไพรอื่นๆ

56

ดองดึง
ดองดึง ชื่อเครื่องยาดองดึง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาดองดึง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คมขวาน บ้องขวาน หัวขวาน (ชลบุรี) ก้ามปู ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (กลาง) พันมหา (นครราชสีมา) มะขาโก้ง (เหนือ) ดองดึงหัวขวาน ด้ามขวาน หัวฟาน ชื่อวิทยาศาสตร์Gloriosa superba L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Colchicaceae (Liliaceae) ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็...

108

ม้ากระทืบโรง
ม้ากระทืบโรง ชื่อเครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาม้ากระทืบโรง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เดื่อเครือ(เชียงใหม่) ม้าทะลายโรง(อีสาน) ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร(ระนอง) พญานอนหลับ(นครสวรรค์) มาดพรายโรง(โคราช) ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus foveolata Wall. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:               ไม้เถาขนาดใหญ่ เป...

196

ชะเอมเทศ
ชะเอมเทศ ชื่อเครื่องยาชะเอมเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก และลำต้นใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะเอมเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชะเอมจีน (ทั่วไป), กำเช้า (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์Glycyrrhiza glabra L. ชื่อพ้องGlycyrrhiza brachycarpa Boiss., G. glandulifera Waldst. & Kit., G. hirsuta Pall., G. pallida Boiss. & Noe, G. pallida Boiss., G. violacea ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &...

131

สมอดีงู
สมอดีงู ชื่อเครื่องยาสมอดีงู ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอดีงู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สมอเหลี่ยม สมอหมึก ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia citrina Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกระสวยกลม หัวท้ายแหลม ผลสดสีแดงเข้ม ขนาดเล็กเรียว ผลแห้งสีดำเข้ม ผลมีรสขมฝาด   เครื่องยา สมอดีงู   เครื่องยา สมอดีงู...

93

พิมเสน
พิมเสน ชื่อเครื่องยาพิมเสน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน ได้จากสารสกัดจากเนื้อไม้พืชสกุล Dryobalanops. สารสกัดจากใบพิมเสนต้น ใบหนาด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชสกุล Dryobalanops, พิมเสนต้น, หนาดหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae), พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth (วงศ์ Lamiaceae) ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ...

84

เปราะป่า
เปราะป่า ชื่อเครื่องยาเปราะป่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตูบหมูบ ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปราะป่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตูบหมูบ (อุบลราชธานี ตะวันออกเฉียงเหนือ); เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี ชพ);เปราะเขา เปราะป่า ชื่อวิทยาศาสตร์Kaempferia marginata Carey ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            มีเหง้าสั้น ขนาดเล็ก เหง้าหลักทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องชัดเจ...

173

ข่า
ข่า ชื่อเครื่องยาข่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กฎุกโรหินี ข่าตาแดง (กลาง); ข่าหยวก ข่าใหญ่ ข่าหลวง (เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Alpinia galanga (L.) Willd. ชื่อพ้องAlpinia alba (Retz.) Roscoe, Alpinia bifida Warb., Alpinia carnea Griff., Alpinia pyramidata Blume, Alpinia rheedei Wight, Alpinia viridiflora Griff., Amomum galanga (L.) Lour. , Amomum medium Lour., Galanga officinalis Salisb., Hellenia alba (Ret...

187

ขิงแห้ง
ขิงแห้ง ชื่อเครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา- ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)- ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber ligulatum Roxb. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ ขนาดยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในมีสีขาวแกมม่วงอ่อนๆ เน...

52

ชะเอมไทย
ชะเอมไทย ชื่อเครื่องยาชะเอมไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะเอมไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชะเอมป่า(กลาง) ตาลอ้อย(ตราด) ส้มป่อยหวาน(พายัพ) อ้อยช้าง(สงขลา) นราธิวาส อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี) กอกกั๋น ย่านงาย ชื่อวิทยาศาสตร์Albizia myriophylla Benth. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เถา มีตุ่มหนามด้านๆขนาดเล็กตามลำต้นและกิ่งก้า...

สมุนไพรใกล้ตัว ว่านหอมแดง

สมุนไพรใกล้ตัว ว่านหอมแดง

สมุนไพรใกล้ตัว ว่านหอมแดง

View
ดีจนต้องบอกต่อ !! เพียงใช้หอมแดง เกิดสิ่งดีๆมากขนาดนี้ | shallot | พี่ปลา Healthy Fish

ดีจนต้องบอกต่อ !! เพียงใช้หอมแดง เกิดสิ่งดีๆมากขนาดนี้ | shallot | พี่ปลา Healthy Fish

ดีจนต้องบอกต่อ !! เพียงใช้หอมแดง เกิดสิ่งดีๆมากขนาดนี้ | shallot | พี่ปลา Healthy Fish

View
ว่านหอมแดง ว่านมงคล สมุนไพรบำรุงเลือดแก้กินผิด วรากรสมุนไพร โทร 0616498997

ว่านหอมแดง ว่านมงคล สมุนไพรบำรุงเลือดแก้กินผิด วรากรสมุนไพร โทร 0616498997

ว่านหอมแดง ว่านมงคล สมุนไพรบำรุงเลือดแก้กินผิด วรากรสมุนไพร โทร 0616498997

View
หอมแดง แก้คัดจมูก ไอ มีเสมหะ หายใจโล่ง บรรเทาหวัด เด็กก็ใช้ได้นะ | Shallot

หอมแดง แก้คัดจมูก ไอ มีเสมหะ หายใจโล่ง บรรเทาหวัด เด็กก็ใช้ได้นะ | Shallot

หอมแดง แก้คัดจมูก ไอ มีเสมหะ หายใจโล่ง บรรเทาหวัด เด็กก็ใช้ได้นะ | Shallot

View
น้ำหอมแดง แก้หวัด คัดจมูก : กินดี อยู่ดี กับหมอพรเทพ (18 ธ.ค. 63)

น้ำหอมแดง แก้หวัด คัดจมูก : กินดี อยู่ดี กับหมอพรเทพ (18 ธ.ค. 63)

น้ำหอมแดง แก้หวัด คัดจมูก : กินดี อยู่ดี กับหมอพรเทพ (18 ธ.ค. 63)

View
ทีเด็ด หอมแดงบำรุงกำลังท่านชาย ของดีที่หลายคนไม่รู้ สมุนไพรไทยรักษาโรค

ทีเด็ด หอมแดงบำรุงกำลังท่านชาย ของดีที่หลายคนไม่รู้ สมุนไพรไทยรักษาโรค

ทีเด็ด หอมแดงบำรุงกำลังท่านชาย ของดีที่หลายคนไม่รู้ สมุนไพรไทยรักษาโรค

View
รู้ไว้!! เกิดสิ่งนี้ขึ้นกับร่างกาย..หลังกินหอมแดงทุกวัน เพราะแบบนี้.| Nava DIY

รู้ไว้!! เกิดสิ่งนี้ขึ้นกับร่างกาย..หลังกินหอมแดงทุกวัน เพราะแบบนี้.| Nava DIY

รู้ไว้!! เกิดสิ่งนี้ขึ้นกับร่างกาย..หลังกินหอมแดงทุกวัน เพราะแบบนี้.| Nava DIY

View
ชัวร์ก่อนแชร์ : หอมแดงทุบสามารถนำมาใช้ป้องกันและรักษาโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : หอมแดงทุบสามารถนำมาใช้ป้องกันและรักษาโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : หอมแดงทุบสามารถนำมาใช้ป้องกันและรักษาโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

View
ชาสมุนไพร3แม่ทัพต้านไวรั*สด้วยกระเทียม,ขมิ้น,หอมแดงชะงัดนักแล@สมุนไพร #โจฮักนะสารคาม EP.1161

ชาสมุนไพร3แม่ทัพต้านไวรั*สด้วยกระเทียม,ขมิ้น,หอมแดงชะงัดนักแล@สมุนไพร #โจฮักนะสารคาม EP.1161

ชาสมุนไพร3แม่ทัพต้านไวรั*สด้วยกระเทียม,ขมิ้น,หอมแดงชะงัดนักแล@สมุนไพร #โจฮักนะสารคาม EP.1161

View
แก้ไอ ไอเรื้อรัง ครั้งเดียวหาย สมุนไพรไทยรักษาโรค หาง่ายๆกินง่ายๆ

แก้ไอ ไอเรื้อรัง ครั้งเดียวหาย สมุนไพรไทยรักษาโรค หาง่ายๆกินง่ายๆ

แก้ไอ ไอเรื้อรัง ครั้งเดียวหาย สมุนไพรไทยรักษาโรค หาง่ายๆกินง่ายๆ

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับหอมแดง
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่