Menu

หม่อน

ชื่อเครื่องยา

หม่อน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

หม่อน

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Morus alba L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Moraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม  ผิวใบสากคาย ใบ มีรสจืดเย็น ฝาดและขมเล็กน้อย มีกลิ่นอ่อนๆ

 

เครื่องยา ใบหม่อน

 

เครื่องยาื ใบหม่อน

 

เครื่องยา ใบหม่อน

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 5% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 4% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 17% w/w  
 
สรรพคุณ:
           ยาพื้นบ้าน: ใช้ ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก ใบ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะฝ้าฟาง ใบ ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ใบ น้ำต้มและยาชง มีฤทธิ์เป็นยาชะล้าง ใช้ล้างตาแก้ตาอักเสบ ใบอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าวใช้วางบนแผล หรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไอ ยาหล่อลื่นภายนอก น้ำต้มใบใช้กลั้วคอแก้เจ็บคอ ใช้ล้างตา แก้อาการติดเชื้อ ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอก รักษาแผลจากการนอนกดทับ
           ในจีน: ใช้ เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะ แก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ โรคปวดข้อ เปลือกต้น เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใบ 5-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้อาการปวดศีรษะ ตาลาย และเวียนศีรษะ

           ขนาดยาทั่วไป 5-10 กรัม ต่อวัน

องค์ประกอบทางเคมี:
          ใบ มี สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ rutin, quercetin, quercitrin, moracetin, morin, albafuran C, aromadendrin, astragalin, chalcomoracin, kaempferol, kuwanol, kuwanon  สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ได้แก่ fagomine, nojirimycin, calystegin B-2, 1-deoxy ribitol, zeatin riboside  สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ bergapten, marmesin, scopoletin, umbelliferone สารกลุ่มลิกแนน ได้แก่ broussonin A, broussonin B

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ลดน้ำตาลในเลือด ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต บำรุงผิว กำจัดหอยทาก
           ฤทธิ์ควบคุมภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกินหลังอาหาร

           สารสกัดใบหม่อนด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ disaccharidase ในลำไส้เล็ก ทั้งในหนูแรทปกติและหนูเบาหวาน โดยทำให้การย่อยสลายน้ำตาลเชิงซ้อนช้าลง และการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง เป็นผลให้ระดับกลูโคสหลังอาหารลดต่ำลง ใกล้เคียงกับการให้ยามาตรฐาน

 

การศึกษาทางคลินิก:
           ลดอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ และเจ็บคอ

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           เมื่อฉีดสารสกัดใบหม่อน 10% เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาด 60 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคนเป็นเวลาติดต่อกัน 21 วัน ไม่พบอาการพิษ และเมื่อให้ในขนาดสูงเกิน 250 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคน พบว่ามีพิษต่อตับ ไต และปอด สารสกัดใบหม่อน ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ไม่ทำลายเม็ดเลือด และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :            www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ หม่อน

...

Other Related หม่อน

ข้อมูล หม่อน จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


หม่อน ผลและใบหม่อน การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไฟลัม: Magnoliophyta ชั้น: Magnoliopsida อันดับ: Rosales วงศ์: Moraceae สกุล: Morus L. ดูในบทความ หม่อน หรือ มัลเบอร์รี (อังกฤษ: mulberry ) ภาคอีสานเรียก มอน ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก เก้ซิวเอียะ เป็นพืชอาหารตามธรรมชาติชนิดเดียวของหนอนไหม และเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปริมาณผลผลิตและคุณภาพรังไหมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพใบหม่อน หม่อนเป็นพืชที่มีอายุนาน 80-100 ปี ถ้าไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จากการเก็บเกี่ยวหรือโรค แมลงศัตรู สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน หม่อนที่เกิดในเขตอากาศหนาว จะหยุดพักไม่เจริญเติบโต นับตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ผลหม่อนสามารถรับประทานได้ สารสกัดด้วยเมทานอลจากกากหม่อนที่เหลือจากการทำน้ำผลไม้มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ[1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หม่อนเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว สรรพคุณ

ยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก ใบ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะฝ้าฟาง ใบ ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ราก ขับพยาธิ และเป็นยาสมาน ตากแห้งต้มผสมน้ำผึ้ง ยานี้จะมีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก กิ่งอ่อน ใบอ่อน แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ใบ น้ำต้มและยาชง มีฤทธิ์เป็นยาชะล้าง ใช้ล้างตาแก้ตาอักเสบ ใบอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าวใช้วางบนแผล หรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไอ ยาหล่อลื่นภายนอก น้ำต้มใบใช้กลั้วคอแก้เจ็บคอ ใช้ล้างตา แก้อาการติดเชื้อ ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอก รักษาแผลจากการนอนกดทับ ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น ต้มน้ำหรือเชื่อมกิน เป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้โรคปวดข้อ ใช้แก้โรคได้เช่นเดียวกับเปลือกราก ใช้แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน ช่วยย่อย และเพื่อความสดชื่น เมล็ด ใช้เพิ่มกากใยอาหาร เปลือก เป็นยาระบาย และยาถ่ายพยาธิ ในประเทศจีนใช้ เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะแก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ โรคปวดข้อ เปลือกต้น เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ องค์ประกอบทางเคมี

ใบ มี carotene, succinic acid, adenine, choline, วิตามินซี ผล มี citric acid, วิตามินซี เนื้อไม้ มี morin ลำต้น มี steroidal sapogenin เปลือก มี α-amyrin อ้างอิง

http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=125 http://www.piyasatreeproducts.com/Mulberry.htm เก็บถาวร 2006-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. หม่อน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 254 ↑ ศุทธินี ลีลาเหมรัตน์ และศศิธร ตรงจิตภักดี. 2554. องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของกากลูกหม่อน. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 548-555 แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Morus (Moraceae) ที่วิกิสปีชีส์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ม่อน บทความพีชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลดคก เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หม่อน&oldid=10378836"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ หม่อน

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

900

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของสารสเตียรอยด์ชนิดใหม่จากหม่อน
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของสารสเตียรอยด์ชนิดใหม่จากหม่อนหม่อนเป็นพืชที่เป็นที่รู้จักกันดีถึงคุณสมบัติทางการแพทย์ ในประเทศแถบเอเชียนิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับต้านการอักเสบ, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะไขมันในเลือดต่ำ และต้านการเกิดออกซิเดชั่น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านการเกิดแผลและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของสารสเตียรอยด์ชนิดใหม่จากหม่อน คอลัมน์โครมาโตกราฟฟีถูกนำมาใช้สำหรับแยกสารประกอบจากหม่อน และศึกษาลักษณะสูตรโครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบด้วยเทคน...

1569

ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของพืชสกุลหม่อน
ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของพืชสกุลหม่อนการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของพืชสกุลหม่อน ได้แก่ หม่อน Morus alba var. alba และ Morus alba var. rosa และต้นเรดมัลเบอรี (Morus rubra L.) ทำการทดสอบในเซลล์เยื่อบุผิวปอดของมนุษย์ (human embryonic pulmonary epithelial cells: L-132 cell) ที่ได้รับเชื้อไวรัสร่วมกับสารสกัดน้ำหรือสารสกัดไฮโดรแอลกอฮอล์ (1:1) จากส่วนใบหรือส่วนเปลือกต้น ความเข้มข้น 200 มคก./มล. พบว่าสารสกัดจากหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ลดค่า viral titer และลดการเปลี่ยนแปลงเซลล์จากการได้รับไวรัส (cytopa...

1030

หม่อนช่วยลดไขมันในเลือด
หม่อนช่วยลดไขมันในเลือดการศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของ mulberroside A (MUL) สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอลจากรากของหม่อน (Morus alba L.) และสาร oxyresveratrol (OXY) ซึ่งผลิตได้จากกระบวนการ enzymatic conversion ของ MUL ทำการศึกษาในหนูแรทที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจากการฉีด Triton WR-1339 พบว่าการป้อน MUL และ OXY ขนาด 1, 2.5 และ 5 มก./กก./วัน ที่เวลา 1 ชั่วโมงก่อนการฉีด Triton WR-1339 ขนาด 200 มก./กก.น้ำหนักตัว ช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดได้และประสิทธิภาพขึ้นกับขนาดของสารที่ได้รับ ในขณะเดียวกันปร...

1573

การสกัดด้วยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
การสกัดด้วยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและเอนไซม์ไฮยารูโรนิเดสของใบหม่อนการศึกษาเปรียบเทียบผลของการสกัดใบหม่อนด้วยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ (pulsed electric field:PEF) ที่ใช้ 95% เอทานอลเป็นตัวทำละลาย กับสารสกัดด้วยวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม (conventional maceration method) ต่อองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบหม่อน พบว่าการสกัดจากวิธี PEF มีปริมาณสารฟีนอลิค ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและเอนไซม์ไฮยารูโรนิเดสสูงกว่าสารสกัดแบบดั้งเด...

1123

ฤทธิ์ต้านเชื้อ
ฤทธิ์ต้านเชื้อ Ichthyophthirius multifiliis ในปลาของสารฟลาโวนอยด์จากหม่อนIchthyophthirius multifiliis หรือเชื้ออิ๊ค (Ich) เป็นเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคจุดขาวในปลาน้ำจืดและทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้ออิ๊คของสาร Kuwanon G และ Kuwanon O ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากเปลือกรากหม่อนในหลอดทดลองพบว่า Kuwanon G และKuwanon O ที่ความเข้มข้น 2 มก./มล. มีผลฆ่าเชื้อในระยะตัวเต็มวัย (theronts) ได้ 100% และมีค่าความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อร้อยละ 50 (EC50) เท่ากับ 0.8±...

768

สารสกัดจากใบหม่อนช่วยลดน้ำตาลในเลือด
สารสกัดจากใบหม่อนช่วยลดน้ำตาลในเลือดการศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดน้ำจากใบหม่อน (MWEs) และ 1-deoxynojirimysin (DNJ: สารสำคัญในใบหม่อน มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดโดยขัดขวางการดูดซึมกลูโคสในลำไส้) ต่อการดูดซึมน้ำตาลของลำไส้เล็ก พบว่าทั้ง MWEs และ DNJ ต่างออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidaseได้ดี และMWEsช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาล2-deoxyglucose ในเซลล์เยื่อบุลำไส้ (Caco-2)ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการให้สาร DNJ แก่เซลล์การทดสอบในหนูแรทพบว่าเมื่อป้อน MWEsขนาด 2 ก./กก.น้ำหนักตัว(มีสาร...

958

ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวของสารสกัดจากใบหม่อน
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวของสารสกัดจากใบหม่อนการศึกษาในกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวด้วยการกินอาหารที่มีไขมันสูง โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่กินอาหารปกติ กลุ่มที่กินอาหารไขมันสูง กลุ่มที่กินอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดน้ำจากใบหม่อน ขนาด 1% และ 2% ตามลำดับ เป็นเวลา 25 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ลดระดับของเอนไซม์ glutamic oxaloacetic transaminase และ glutamic pyruvic transaminase ทำให้การทำงานของตับดีขึ้น ลดระดับของคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ low-density lipoprotein (LDL)...

628

ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของผลหม่อนในหนูแรทที่ไขมันในเลือดสูง
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดและต้านการเกิดออกซิเดชั่นของผลหม่อนในหนูแรทที่ไขมันในเลือดสูงการศึกษาในหนูแรท 48 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติผสมกับสารสกัดแห้งด้วยความเย็นของผลหม่อนขนาด 5% และ 10% ลงในอาหาร ตามลำดับ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มที่ 5 และ 6 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงผสมกับสารสกัดแห้งด้วยความเย็นของผลหม่อนขนาด 5% และ 10% ลงในอาหาร ตามลำดับ นาน 4 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มที่...

1636

ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อน
ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อนการศึกษาฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน (Morus alba L.) การศึกษานี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบในหลอดทดลองถึงผลของสารสกัดจากต้นหม่อนต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนในเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ไขมัน (differentiated 3T3-L1 adipocyte cells) พบว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน ความเข้มข้น 10, 20 และ 40 มคก./มล. มีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน (adipogenesis) และการสร้างไขมันภายในเซลล์ (li...

181

ฤทธิ์ต้านไวรัสของหม่อน
ฤทธิ์ต้านไวรัสของหม่อน สารสกัดเฟลโวนอยด์ของเปลือกรากหม่อน ซึ่งมี moralbonone, kuwanone S, mulberroside C, cyclomorusin, eudraflavone B hydroperoxide, oxydihydromorusin, leachianone G และ alpha-acetyl amyrin มีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมอย่างแรง (IC50 = 1.0 mcg/ml) และ mulberroside C มีฤทธิ์อ่อน (IC50 = 75.4 mcg/ml) Phytochemistry 2003;62:1235-8. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1570

ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อน
ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อนการศึกษาฤทธิ์ของใบหม่อน (Morus alba L.) ต่อมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน (pancreatic β-cell mass) ของหนูเม้าส์เบาหวาน (obese/type 2 diabetes mellitus mouse) ในการศึกษาแบ่งสัตว์ทดลองเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (ป้อนด้วยอาหารปกติ) และกลุ่มทดลองที่ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของใบหม่อนแห้ง 5% โดยน้ำหนัก โดยเริ่มป้อนที่อายุ 7 สัปดาห์ไปจนถึง 10, 15 และ 20 สัปดาห์ ตามลำดับ จากนั้นทำการประเมินความทนต่อน้ำตาลของสัตว์ทดลองเมี่ออายุครบ 10, 15 และ 20 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำ...

26

ผลต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของสารฟลาโวนอยด์จากใบหม่อน
ผลต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของสารฟลาโวนอยด์จากใบหม่อน สารquercetin-3-o-Beta-D-glucopyranosideและสารquercetin-3,7-di-o-Beta-D-glucopyranoside เป็นสาร flavonoid ที่แยกได้จากใบหม่อน (Morus alba Linn.) มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงที่ความเข้มข้น 2x10-4 M สารquercetin-3,7-di-o-Beta-D-glucopyranoside ยังสามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งชนิดนี้ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติชนิด granulocyte และ monocyteBiol Pharm B...

สมุนไพรอื่นๆ

153

เนระพูสีไทย
เนระพูสีไทย ชื่อเครื่องยาเนระพูสีไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเนระพูสีไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ค้างคาวดำ, มังกรดำ (กลาง), ดีงูหว้า (เหนือ), เนียมฤาษี (เชียงใหม่), ม่านแผลน, ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช), นิลพูสี (ตรัง), ว่านพังพอน (ยะลา), ว่านหัวฬา, คุ้มเลีย(จันทบุรี), ดีปลาช่อน (ตราด), ม้าถอนหลัก (ชุมพร) ชื่อวิทยาศาสตร์Tacca chantrieri André ชื่อพ้องClerodendrum esquirolii H.Lév., Schizocapsa breviscapa (Ostenf.) H.Limpr., Sch...

109

เมื่อยขาว
เมื่อยขาว ชื่อเครื่องยาเมื่อยขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยามะม่วย ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเมื่อยขาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เมื่อย(ตราด) ม่วย(เชียงราย อุบลราชธานี) มะม่วย(เชียงใหม่) แฮนม่วย(เลย) เถาเอ็น ชื่อวิทยาศาสตร์Gnetum montanum Markgr. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Gnetaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้พุ่มรอเลื้อย  ไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งเป็นข้อต่อกันและข้อบวมพอง เปลือกเ...

120

ลิเภา
ลิเภา ชื่อเครื่องยาลิเภา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลิเภา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กูดเครือ กูดก้อง กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีน ต๊กโต (เหนือ); กระฉอก (ประจวบคีรีขันธ์); กะฉอด(ราชบุรี); ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์, ใต้); เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพมหานคร); หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครราชสีมา); หลีเภา (ใต้); ลิเภาย่อง กูดก๊อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี งอแง หมอยยายชี ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์Lygodium polystachyum Wall.ex Moore ...

104

มะตูม
มะตูม ชื่อเครื่องยามะตูม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะตูม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะปิน(เหนือ), กะทันตาเถร (ปัตตานี), ตูม(ใต้), บักตูม(อีสาน), ตุ่มตัง (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (กลาง), มะปีส่า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Aegle marmelos (L.) Corr. ชื่อพ้องBelou marmelos (L.) Lyons, Bilacus marmelos (L.) Kuntze, Crateva marmelos L., Feronia pellucida ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  &...

71

เทียนเยาวพาณี
เทียนเยาวพาณี ชื่อเครื่องยาเทียนเยาวพาณี ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนเยาวพาณี (ajowan) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Trachyspermum ammi (L.) Sprague ชื่อพ้องAmmi copticum L., Ammios muricata Moench, Athamanta ajowan Wall., Bunium copticum (L.) Spreng., Carum ajowan Benth. & Hook.f., Carum aromaticum Druce, Carum copticum (L.) Benth. & Hook. f., Carum panatjan Baill., Cyclospermum ammi (L.) Lag., Daucus anisodoru...

75

บวบลม
บวบลม ชื่อเครื่องยาบวบลม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาจุกโรหินี ได้จากใบ ราก ทั้งต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบวบลม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จุกโรหินี กล้วยไม้ (เหนือ) บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี) เถาพุงปลา (ภาคตะวันออก ระยอง) พุงปลาช่อน (กลาง) นมตำไร(เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Dischidia major (Vahl) Merr. ชื่อพ้องDischidia rafflesiana ชื่อวงศ์Asclepiadaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบเดี่ยวเรีย...

66

เทียนขาว
เทียนขาว ชื่อเครื่องยาเทียนขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยายี่หร่า ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนขาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยี่หร่า ชื่อวิทยาศาสตร์Cuminum cyminum L. ชื่อพ้องCuminia cyminum J.F.Gmel., Cuminum aegyptiacum Mérat ex DC., Cuminum hispanicum Mérat ex DC., Cuminum odorum Salisb., Cuminum sativum J.Sm., Cyminon longeinvolucellatum St.-Lag. ชื่อวงศ์Apiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:       &n...

91

พริกไทยล่อน
พริกไทยล่อน ชื่อเครื่องยาพริกไทยล่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพริกล่อน พริกไทยขาว ได้จากผลสุกตากแห้งที่ร่อนเปลือกออกแล้ว ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพริกไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พริกน้อย พริกขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์Piper nigrum L. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            พริกไทยล่อนได้จากผลสุกของของพริกไทยเมื่อผลสุกแล้วจะเก็บเอามาใส่รวมกันไว้ในกระสอบ แช่น้ำไว้ อาจใช้ไม้ทุบเบาๆจ...

94

เพกา
เพกา ชื่อเครื่องยาเพกา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพกา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลิ้นฟ้า(เลย) ลิ้นก้าง ลิ้นช้าง(ไทยใหญ่) เพกา (ภาคกลาง) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน ภาคเหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ด๊อกก๊ะ ดอก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเลย์ นราธิวาส) ชื่อวิทยาศาสตร์Oroxylum indicum (L.) Kurz ชื่อพ้องArthrophyllum ceylanicum Miq. Arthrophyllum reticulatum Blume ex Miq. Bi...

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของใบหม่อน จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของใบหม่อน จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณของใบหม่อน จริงหรือ?

View
รีบหามากิน ใบหม่อน สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพ | Mulbery Leaves | พี่ปลา Healthy Fish

รีบหามากิน ใบหม่อน สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพ | Mulbery Leaves | พี่ปลา Healthy Fish

รีบหามากิน ใบหม่อน สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพ | Mulbery Leaves | พี่ปลา Healthy Fish

View
ใบหม่อน : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ใบหม่อน : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ใบหม่อน : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
ประโยชน์ของใบหม่อน..จากประสพการณ์จริง

ประโยชน์ของใบหม่อน..จากประสพการณ์จริง

ประโยชน์ของใบหม่อน..จากประสพการณ์จริง

View
ยอดใบหม่อนสมุนไพรกินข้าวหมดหม้อ

ยอดใบหม่อนสมุนไพรกินข้าวหมดหม้อ

ยอดใบหม่อนสมุนไพรกินข้าวหมดหม้อ

View
วิธีทำชาใบหม่อนสด ชาใบหม่อน ลดความดันสูง ลดน้ำตาลในเลือด สุขภาพดีแบบง่ายๆ

วิธีทำชาใบหม่อนสด ชาใบหม่อน ลดความดันสูง ลดน้ำตาลในเลือด สุขภาพดีแบบง่ายๆ

วิธีทำชาใบหม่อนสด ชาใบหม่อน ลดความดันสูง ลดน้ำตาลในเลือด สุขภาพดีแบบง่ายๆ

View
แทบไม่เชื่อผล..!! หามากินด่วน "ใบหม่อน" สุขภาพดีแบบไม่ง้อยา.. | Nava DIY

แทบไม่เชื่อผล..!! หามากินด่วน "ใบหม่อน" สุขภาพดีแบบไม่ง้อยา.. | Nava DIY

แทบไม่เชื่อผล..!! หามากินด่วน "ใบหม่อน" สุขภาพดีแบบไม่ง้อยา.. | Nava DIY

View
แชร์เลย!!2วันหายแก้ปัญหาตาขุ่นมัวมองไม่เห็นตาฟ่าฟางมองไม่ชัดเห็นภาพเบลอๆแก้ด้วยสิ่งนี้จ้าแม่ก้อยพาทำ

แชร์เลย!!2วันหายแก้ปัญหาตาขุ่นมัวมองไม่เห็นตาฟ่าฟางมองไม่ชัดเห็นภาพเบลอๆแก้ด้วยสิ่งนี้จ้าแม่ก้อยพาทำ

แชร์เลย!!2วันหายแก้ปัญหาตาขุ่นมัวมองไม่เห็นตาฟ่าฟางมองไม่ชัดเห็นภาพเบลอๆแก้ด้วยสิ่งนี้จ้าแม่ก้อยพาทำ

View
สุดยอด แก้ตาฝ้าฟาง ตามัว จองคอม โทรศัพท์นานๆ น้ำยาล้างตาธรรมชาติตาใสปิ้ง สมุนไพรไทยรักษาโรค

สุดยอด แก้ตาฝ้าฟาง ตามัว จองคอม โทรศัพท์นานๆ น้ำยาล้างตาธรรมชาติตาใสปิ้ง สมุนไพรไทยรักษาโรค

สุดยอด แก้ตาฝ้าฟาง ตามัว จองคอม โทรศัพท์นานๆ น้ำยาล้างตาธรรมชาติตาใสปิ้ง สมุนไพรไทยรักษาโรค

View
เผยวิธี..!! ทำชาใบหม่อนไว้ดื่มเอง  ยอดเครื่องดื่มสมุนไพร สรรพคุณต้านโรค  | Nava DIY

เผยวิธี..!! ทำชาใบหม่อนไว้ดื่มเอง ยอดเครื่องดื่มสมุนไพร สรรพคุณต้านโรค | Nava DIY

เผยวิธี..!! ทำชาใบหม่อนไว้ดื่มเอง ยอดเครื่องดื่มสมุนไพร สรรพคุณต้านโรค | Nava DIY

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับหม่อน
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่