Menu

กลอย

ชื่อเครื่องยา

กลอย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้าใต้ดิน

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กลอย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มันกลอย กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก (เหนือ) กลอยไข่ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dioscorea hispida Dennst.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Dioscoreaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ลำต้นกลมมีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป และมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีรากเจริญเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวใต้ดินส่วนมากกลมรี บางทีเป็นพู มีรากเล็กๆกระจายทั่วทั้งหัว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวมี 2 ชนิดคือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว) และสีครีม (กลอยไข่ กลอยเหลือง) หัวมีรสเมาเบื่อ

 

เครื่องยา หัวกลอย

 

เครื่องยา หัวกลอย

 

เครื่องยา หัวกลอย

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ หัวใต้ดิน แก้เถาดาน (อาการแข็งเป็นลำในท้อง) หุงเป็นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้า กัดหนอง  ราก บดผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใบยาสูบ ใบลำโพงหรือพริก ใช้ทาหรือพอกฆ่าหนอนในแผลสัตว์เลี้ยง หัว ตากแห้ง ปรุงเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดตามข้อ ฝีมะม่วง โรคซิฟิลิส  
           ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้ หัวใต้ดิน หั่นเป็นแผ่นบางๆปิดบริเวณที่มีอาการบวมอักเสบ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           เหง้ามีแป้งมาก พบสาร dioscin เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมนหลายชนิด, น้ำยางจากเหง้ามีสารพิษแอลคาลอยด์ dioscorine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           หัวกลอยให้แป้งมาก ใช้รับประทานได้ แต่มีสารไดออสคอรีน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ ทำให้เมา คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ตาพร่า ใจสั่น วิงเวียน มึนงง เนื่องจากกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ต้องนำมาทำให้หมดพิษ โดยปอกเปลือกทิ้ง แล้วหั่นเป็นแผ่นบางๆ ใส่ชะลอมหรือตะกร้าแล้วนำไปแช่ทิ้งไว้ให้น้ำไหลผ่านหลายๆวัน เช่น น้ำทะเล น้ำตก น้ำห้วย สัก 2-3 วัน ล้างให้สะอาด หมดเมือก ไม่มียางสีขาว ตากแดดให้แห้ง จึงนึ่งรับประทานเป็นอาหารได้

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ กลอย

...

Other Related กลอย

ข้อมูล กลอย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


กลอย การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots อันดับ: Dioscoreales วงศ์: Dioscoreaceae สกุล: Dioscorea สปีชีส์: D.  hispida ชื่อทวินาม Dioscorea hispida กลอยขูดเส้นนึ่ง โรยหน้ามะพร้าว น้ำตาล อาหารอินโดนีเซีย กลอย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea hispida Dennst.) เป็นพืชไม้เถาเลื้อยอยู่ในวงศ์กลอย (Dioscoreaceae) ชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำหัวของมันมาทำเป็นอาหารมานาน หัวใต้ดินกลมรี มีรากเล็กๆกระจายทั่ว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกบาง สีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวสีขาวหรือสีเหลือง ลำต้นเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป มีขนนุ่มสีขาว[1] กลอย พบตามธรรมชาติในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวกินี ใช้เป็นอาหารในเอเชียและแอฟริกา ลักษณะทางพันธุศาสตร์ [ แก้ ] ไม้เถาล้มลุก ไม่มีมือเกาะ มีหัวใต้ดิน ลึกประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ลำต้นกลมมีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป และมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีรากเจริญเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวใต้ดินส่วนมากกลมรี บางทีเป็นพู มีรากเล็กๆกระจายทั่วทั้งหัว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวมี 2 ชนิดคือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว) และสีครีม (กลอยไข่ กลอยเหลือง) ใบประกอบ เรียงตัวแบบเกลียว ผิวใบสากมือ มีขนปกคลุม มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางแผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 15 เซนติเมตร ยาว 8 - 25 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบนูน ใบย่อย 2 ใบ แผ่นใบรูปไข่ รูปไข่กลับ ขนาดสั้นกว่าใบกลางแต่กว้างกว่า ปลายแหลม โคนกลม เส้นใบออกจากจุดเดียวกัน ก้านใบยาว 10 - 15 เซนติเมตร ดอกช่อแบบแยกแขนง แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก จำนวน 30 - 50 ดอกสีเขียว ออกตามซอกใบ ห้อยลง ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแยกแขนง 2 - 3 ชั้น ดอกตั้งขึ้น ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร เกสรเพศผู้จำนวน 6 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อชั้นเดียว ดอกชี้ลงดิน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ผลแก่แตกได้ มีสีน้ำผึ้ง มีครีบ 3 ครีบ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร แต่ละครีบมี 1 เมล็ด ผิวเกลี้ยง เมล็ดกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ด พบตามที่ลุ่มต่ำ ที่รกร้างทั่วไป ป่าเต็งรัง ป่าผสม และป่าดงดิบ ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน หัวกลอยให้แป้งมาก แต่มีสารไดออสคอรีน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ ทำให้เมา คันคอ อาเจียน เหงื่อออก ตาพร่า ใจสั่น วิงเวียน ต้องนำมาทำให้หมดพิษ โดยปอกเปลือกทิ้ง แล้วหั่นเป็นแผ่นบางๆ ใส่ชะลอมหรือตะกร้าแล้วนำไปแช่ทิ้งไว้ให้น้ำไหลผ่าน เช่นน้ำทะเล น้ำตก น้ำห้วย สัก 2 - 3 วัน ล้างให้สะอาด จึงจะรับประทานได้ สายพันธุ์ [ แก้ ] ในไทย กลอยมีชนิดย่อยหลายชนิด ได้แก่[1] แบ่งตามสีเนื้อในหัว สีขาวเรียกกลอยหัวเหนียว สีเหลืองเรียกกลอยไข่หรือกลอยเหลือง แบ่งตามลักษณะของเนื้อ ถ้าเนื้อสีขาวหยาบ ร่วน ลำต้นสีเขียวเรียกกลอยข้าวเจ้า เนื้อสีเหลือง เหนียว ลำต้นสีน้ำตาลอมดำ เรียกกลอยข้าวเหนียว กลอยบางชนิดเถาไม่มีหนามและไม่มีสารพิษ เรียกกลอยจืด ซึ่งหาได้ยาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 4 สายพันธุ์คือ[2] variety hispida ต้นโตเร็ว ช่อดอกตัวผู้ยาว ดอกห่าง ขนสีเหลืองทอง พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ variety mollissima เหมือน hispida แต่มีขนสีขาว พบมากในพม่า ชวา variety scaphoides ต้นเล็กกว่า hispida ผลเป็นแคบซูลเรียวแหลม ขนาดเล็ก พบในไทย variety daimona ช่อดอกตัวผู้เป็นดอกช่อเชิงลด ช่อแน่น ดอกปลายช่อมีขนาดเล็ก พบในอินเดียและพม่า ความเป็นพิษและการใช้ประโยชน์ [ แก้ ] กลอยบางชนิดมีแคลเซียมออกซาเลต ทำให้ระคายเคือง บางชนิดมีซาโปนิน มีฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือด มีสารไดออสโครีน (Dioscorine) ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เป็นอัมพาต ละลายน้ำได้ดี รสเบื่อเมา จึงต้องล้างสารนี้ออกจากกลอยก่อนนำไปบริโภค[1] นิยมนำไปแช่ไว้ในธารน้ำไหลเป็นเวลา 1 คืน หรือนานกว่านี้ ชาวซาไกใช้น้ำแช่หัวกลอยผสมกับยางของยางน่องใช้เป็นยาทาลูกธนู ในอินเดียใช้หัวกลอยเป็นยาฆ่าเหา และเบื่อปลา ใช้น้ำแช่หัวกลอยมาฉีดฆ่าแมลงจำพวกหนอน กลอยดิบตำให้ป่นใช้พอกแผลวัวควายเพื่อฆ่าหนอนในแผล หัวกลอยที่ล้างพิษหมดแล้ว ปรุงเป็นยาแก้เถาดานในท้อง นำหัวกลอยมาปรุงเป็นน้ำมันใส่แผลฝีหนอง[1] สารสกัดจากกลอยที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes[3] นอกจากนี้กลอยยังมีสารไดออสเจนิน diosgenin ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายไฟตอสโตรเจน phytoestrogen ผู้ป่วยมะเร็งที่ไวต่อเอสโตรเจน estrogen ควรระมัดระวังและศึกษาให้ดีก่อนรับประทานกลอย อ้างอิง [ แก้ ] ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "หัวมันหัวกลอย" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-09-09 . ↑ พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544 ↑ อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน เก็บถาวร 2013-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กลอย&oldid=10886690"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ กลอย

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1265

ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับของสารไดออสซิน
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับของสารไดออสซินสารไดออสซิน (Dioscin) เป็นสานในกลุ่มสเตียรอยด์ ซาโปนิน ที่พบได้ในพืชหลายชนิดโดยเฉพาะในพืชสกุลเดียวกับกลอย การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) ในหลอดทดลองพบว่า สารไดออสซินสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ เซลล์มะเร็งตับชนิด Bel-7402 และ HepG2 ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และเมื่อศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับชนิด Bel-7402 ก็พบว่าสารไดออสซินทำให้เซลล์เกิดการตายแบบอะพอพโตซิส (apoptosis) ...

สมุนไพรอื่นๆ

72

เทียนลวด
เทียนลวด ชื่อเครื่องยาเทียนลวด ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเทียนหลอด ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนลวด (bitter fennel) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์1.Foeniculum vulgare Mill subsp. piperatum (Ucr.)Beguinot , 2.Centraterum anthelminticum (Willd.) Kuntze ชื่อพ้อง1.Foeniculum piperatum ชื่อวงศ์1.Umbelliferae, 2.Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          เมล็ดรูปกรวย หรือทรงกระบอก รูป...

183

สะค้าน
สะค้าน ชื่อเครื่องยาสะค้าน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะค้าน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตะค้านเล็ก ตะค้านหยวก ชื่อวิทยาศาสตร์1. Piper interruptum Opiz , 2. Piper ribesioides Wall. 3. Piper wallichii (Miq.) Hand.-Mazz. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เถาแห้งสีน้ำตาล ทรงกระบอก ผิวขรุขระ มีข้อปล้อง หน้าตัดตามขวงมีลายเส้นเป็นแนวรัศมี เปลือกค่...

42

คำฝอย
คำฝอย ชื่อเครื่องยาคำฝอย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากกลีบดอก และเกสรแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคำฝอย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดอกคำ คำหยุม คำหยอง คำยุ่ง คำ คำยอง ชื่อวิทยาศาสตร์Carthamus tinctorius L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นกระจุก กลีบสีแดงถึงน้ำตาลแดง หลอดกลีบดอกยาว ผอม แบ่งเป็น ...

113

ย่านางแดง
ย่านางแดง ชื่อเครื่องยาย่านางแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ราก ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านางแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia strychnifolia Craib. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Caesalpinioideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้เถาเนื้อแข็ง เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง ผิว...

166

สารส้ม
สารส้ม ชื่อเครื่องยาสารส้ม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหินส้ม ได้จากธาตุวัตถุ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์ ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลึกก้อนใส หรือสีขาว มัวเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก หากสะตุแล้ว จะเป็นผงสีขาว (วิธีสะตุ นำสารส้มมาบดให้ละเอียด นำมาใส่หม้อดิน เอาตั้งไฟจนสารส้มละลายฟู ขาวดี จึงยกลงจากไฟ นำไปปรุงยาได้) &nbs...

192

ย่านาง
ย่านาง ชื่อเครื่องยาย่านาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี ชื่อวิทยาศาสตร์Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ชื่อพ้องCocculus triandrus Colebr., Limacia triandra ชื่อวงศ์Menispermaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

28

โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อเครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงเฮา, ชิงฮาว, แชเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์Artemisia annua L. ชื่อพ้องArtemisia chamomilla C.Winkl. ชื่อวงศ์Compositae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ประกอบด้วยส่วนของลำต้น ใบ และดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก...

17

กระทือ
กระทือ ชื่อเครื่องยากระทือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่สด หรือแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระทือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระทือ (ภาคกลาง) กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน) เฮียวดำ เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ชื่อพ้องAmomum silvestre Poir., A. spurium (J.Koenig) J.F.Gmel., A. zerumbet L., Cardamomum spurium (J.Koenig) Kuntze, Diete...

74

น้อยหน่า
น้อยหน่า ชื่อเครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ดจากผลสุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ มะออจ้า มะโอจ่า ลาหนัง หมักเขียบ ลาหนัง ชื่อวิทยาศาสตร์Annona squamosa L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แข็ง สีดำ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน ขนาดกว้าง 3-6 มม. ยาว 1 ซม. ในผลหนึ่งมีประมาณ ...

กลอย อร่อยแถมสรรพคุณเยอะ แก้ปวดข้อ รักษาฝี แก้ฝ้า พาขุดหัวจริงพร้อมสรรพคุณ

กลอย อร่อยแถมสรรพคุณเยอะ แก้ปวดข้อ รักษาฝี แก้ฝ้า พาขุดหัวจริงพร้อมสรรพคุณ

กลอย อร่อยแถมสรรพคุณเยอะ แก้ปวดข้อ รักษาฝี แก้ฝ้า พาขุดหัวจริงพร้อมสรรพคุณ

View
ใครที่ชอบกินกลอยต้องดูคริปนี้ก่อน

ใครที่ชอบกินกลอยต้องดูคริปนี้ก่อน

ใครที่ชอบกินกลอยต้องดูคริปนี้ก่อน

View
กลอย (Wild Yam) สมุนไพรมีพิษ แต่มีฤทธิ์ทางยาสูง

กลอย (Wild Yam) สมุนไพรมีพิษ แต่มีฤทธิ์ทางยาสูง

กลอย (Wild Yam) สมุนไพรมีพิษ แต่มีฤทธิ์ทางยาสูง

View
รางจืด แก้พิษ กลอย เบื้องต้น (แพ้กลอยหนักมาก)

รางจืด แก้พิษ กลอย เบื้องต้น (แพ้กลอยหนักมาก)

รางจืด แก้พิษ กลอย เบื้องต้น (แพ้กลอยหนักมาก)

View
กลอย สมุนไพรใกล้ตัว

กลอย สมุนไพรใกล้ตัว

กลอย สมุนไพรใกล้ตัว

View
ขุดกลอยในป่าและพาชมสมุนไพร

ขุดกลอยในป่าและพาชมสมุนไพร

ขุดกลอยในป่าและพาชมสมุนไพร

View
กลอยจืด

กลอยจืด

กลอยจืด

View
แพทย์เตือนกินกลอยช่วงหน้าฝน ล้างไม่ถูกวิธี กินแล้วมีพิษ อันตรายถึงชีวิต

แพทย์เตือนกินกลอยช่วงหน้าฝน ล้างไม่ถูกวิธี กินแล้วมีพิษ อันตรายถึงชีวิต

แพทย์เตือนกินกลอยช่วงหน้าฝน ล้างไม่ถูกวิธี กินแล้วมีพิษ อันตรายถึงชีวิต

View
กลอยสมุนไพรช่วยให้หน้าขาวใส ต้องสมุนไพรนี้ไปดูกันเลย และยังกินอร่อยมากด้วย

กลอยสมุนไพรช่วยให้หน้าขาวใส ต้องสมุนไพรนี้ไปดูกันเลย และยังกินอร่อยมากด้วย

กลอยสมุนไพรช่วยให้หน้าขาวใส ต้องสมุนไพรนี้ไปดูกันเลย และยังกินอร่อยมากด้วย

View
Ep156 #วิธีการทำกลอย

Ep156 #วิธีการทำกลอย

Ep156 #วิธีการทำกลอย

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับกลอย
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่