Menu

สีเสียดไทย

ชื่อเครื่องยา

สีเสียดไทย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

สีเสียดเหนือ สีเสียดลาว

ได้จาก

สารที่ได้จากการนำเนื้อไม้ไปต้ม

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ขี้เสียด (เหนือ) สะเจ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (กลาง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่) สีเสียดหลวง สีเสียดลาว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Acacia catechu (L.f.) Willd

ชื่อพ้อง

Acacia catechuoides (Roxb.) Benth., Acacia sundra (Roxb.) Bedd., Acacia wallichiana DC., Mimosa catechu L.f., Mimosa catechuoides

ชื่อวงศ์

Leguminosae-mimosoideae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ได้จากการนำแก่นต้นสีเสียด สับให้เป็นชิ้นๆ แล้วต้ม และเคี่ยว หลังจากนั้นระเหยน้ำที่ต้มได้ให้เหนียวข้น จะได้ของแข็งเป็นก้อน สีน้ำตาลดำ เป็นมัน แข็ง รูปร่างไม่แน่นอน ผิวนอกหยาบ มีด้านในด้านหนึ่งที่แตกจะมันวาว ไม่มีกลิ่น รสขม ฝาดจัด

 

เครื่องยา สีเสียดไทย

 

เครื่องยา สีเสียดไทย

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 12% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w  ปริมาณสิ่งสกัดที่ไม่ละลายในเอทานอล ไม่เกิน 40% w/w  ปริมาณสิ่งสกัดที่ไม่ละลายในน้ำ ไม่เกิน 25% w/w  ปริมาณแทนนิน ไม่น้อยกว่า 70% w/w  (เภสัชตำรับอินเดีย)

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้สีเสียด แก้ท้องเสียเรื้อรัง  ลำไส้อักเสบ  รักษาบาดแผล แก้ปากเป็นแผล ใส่แผลเปื่อย และริดสีดวง และอาการบาดเจ็บที่มีเลือดออก บด หรือต้มกินแก้ท้องร่วง  คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล สีเสียดไทยเป็นยาฝาดสมาน  แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดที่ออกจากจมูก แก้บิด ล้างแผลหัวนมแตก ล้างแผลถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็ว
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้สีเสียดไทย ในยารักษาอาการโรคในระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของเปลือกสีเสียดไทย และสีเสียดเทศ ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           แก้ท้องเสีย นำแก่นตากแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มน้ำเคี่ยวให้ข้น ระเหยน้ำให้หมด บดเป็นผง เรียกว่า “ผงสีเสียด” ใช้ผงสีเสียด 1/3 – 1/2 ช้อนชา (0.3-1 กรัม) ต้มน้ำดื่ม

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารกลุ่ม tannins ได้แก่ catechutannic acid 20-35% , catechin, catechu red, acacatechin 2-10% , epicatechin , phlobatannin , protocatechu tannins , pyrogallic tannins , epicatechin-3-O-gallate , epigallocatechin-3-O-gallate สารกลุ่ม flavonoids ได้แก่ quercetin , quercetagetin , fisetin flavanol dimers

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

       การทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์, คลอโรฟอร์ม, อะซิโตน, เอทานอล, น้ำ, ส่วนสกัดย่อยที่ละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำของสารสกัดเอทานอล ที่ได้จากเปลือกสีเสียดไทย ทำการศึกษาในหนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์  ทดสอบโดยป้อนสารสกัดชนิดต่าง ๆ ในขนาด 400 mg/kg แก่หนูแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้น 30 นาที ให้หนูได้รับสารละลายกลูโคส ขนาด 4 g/kg เพื่อทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง แล้วตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา 1/2, 1, 2 และ 3 ชั่วโมง ภายหลังจากได้รับกลูโคส  ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าสารมาตรฐาน ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1 โดยระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน glibenclamide, กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอล และกลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดย่อยที่ไม่ละลายน้ำของสารสกัดเอทานอล มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 150.60±4.01, 92.20±4.60, 87.20±5.09 และ 83.40±5.20 mg/dl (P<0.01)    ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูขาวปกติ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน glibenclamide 5mg/kg, กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลขนาด 200 และ 400 mg/kg จากนั้นเก็บเลือดที่บริเวณหาง ในชั่วโมงที่  1/2, 1, 2 และ 3 หลังได้รับสารทดสอบเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด ผลการทดสอบพบว่า ในชั่วโมงที่  2  ค่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด เท่ากับ  82.20±1.70,  33.20±1.39**, 71.20±2.28* และ 68.60±3.37** mg/dl ตามลำดับ (*P<0.05 และ **P<0.01 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม) แสดงว่าสารสกัดเอทานอลสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูได้ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาในการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางชีวเคมี ทำการศึกษาในหนูขาวปกติ และหนูขาวที่ได้รับ alloxan เพื่อกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน จากนั้นให้สารทดสอบเป็นเวลา 7 วันต่อเนื่องกัน ในวันที่ 7 หลังอดอาหาร 16 ชั่วโมง จึงวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ผลการทดสอบพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด, serum urea, serum creatinine, serum cholesterol, serum triglyceride, LDL, haemoglobin และ glylosylated haemoglobin ของหนูที่ได้รับสารสกัดเอทานอลมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่เป็นเบาหวาน (ไม่ได้รับสารสกัด และยามาตรฐาน) และระดับของ HDL ของหนูที่ได้รับสารสกัดเอทานอลมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่เป็นเบาหวาน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มควบคุม (หนูปกติ), กลุ่มเบาหวาน (ไม่ได้รับสารสกัด และยามาตรฐาน), กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอล 400 mg/kg และกลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide 5mg/kg เท่ากับ 81.4±3.2**, 512.0±15.3, 192.0±10.4** และ 124.4±7.8** ตามลำดับ  ระดับของ glylosylated haemoglobin เท่ากับ 1.9±0.2**, 5.7±0.4, 3.0±0.2**  และ 2.0±0.2**ตามลำดับ (glylosylated haemoglobin คือฮีโมโกลบิน หรือโปรตีนในเลือดที่มีน้ำตาลไปเกาะอยู่ จะบ่งบอกถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่แท้จริง ไม่ขึ้นลงเร็วตามปริมาณอาหารที่พึ่งรับประทานเข้าไป) สรุปได้ว่สารสกัดเอทานอลจากเปลือกสีเสียดไทยสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานได้ และทำให้ค่าพารามิเตอร์ทางชีวเคมีต่าง ๆ กลับสู่ระดับปกติได้ (Jarald, et al., 2009)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

        การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลที่ได้จากเปลือกสีเสียดไทย ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ด้วยวิธีทางเคมี ตรวจสอบโดยใช้วิธี DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) assay ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลจากเปลือกสีเสียดไทยสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ร้อยละ 50 (EC50) เท่ากับ 0.05±0.00 µg/µg DPPH ซึ่งเป็นผลจากการที่เปลือกสีเสียดไทยมีค่าปริมาณฟีโนลิครวม และสารสกัดฟลาโวนอยด์สูง ทำให้มีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระที่ดี  การทดสอบหาปริมาณสารฟีนอลรวม และปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวม ของสารสกัดเอทานอลที่ได้จากเปลือกสีเสียดไทย ทำการศึกษาในหลอดทดลอง โดยใช้วิธี Folin-Ciocalteu reagent ในการหาปริมาณทั้งหมดของสารฟีโนลิค รายงานผลในหน่วยมิลลิกรัมของกรดแกลลิคต่อกรัมของน้ำหนักพืชแห้ง (mg GAE/g dw) ใช้กรดแกลลิคเป็นตัวแทนของสารโพลีฟีนอลมาตรฐาน และใช้วิธี colorimetric assay ในการหาปริมาณทั้งหมดของสารฟลาโวนอยด์ รายงานผลในหน่วยมิลลิกรัมของรูตินต่อกรัมของน้ำหนักพืชแห้ง (mg RE/g dw) ใช้รูตินเป็นตัวแทนของสารฟลาโวนอยด์มาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าเปลือกสีเสียดไทยมีปริมาณสารฟีโนลิครวม และสารฟลาโวนอยด์รวม เท่ากับ 177.7±0.2 mg GAE/g dw และ 41.8±0.2 mg RE/g dw ตามลำดับ จากผลการทดสอบแสดงว่าเปลือกสีเสียดไทยมีปริมาณสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟีโนลิคอยู่สูงซึ่งทำให้มีฤทธิ์ฝาดสมาน (astringent) (Maisuthisakul, et al., 2007)

ผลต่อเภสัชจลนศาสตร์เมื่อใช้ร่วมกับยาtheophylline

       การทดสอบผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ ของสารสกัดน้ำที่ได้จากแก่นสีเสียดไทย เมื่อใช้ร่วมกับยา theophylline โดยยา theophylline เป็นยารักษาโรคหอบหืดที่มีการใช้มาก และมีขนาดยาที่ใช้ในการรักษา และขนาดยาที่ทำให้เกิดพิษใกล้เคียงกัน (therapeutic index แคบ) ยานี้ถูกออกซิไดส์ผ่านไซโตโครม P450 (CYP)1A ที่บริเวณตับ จึงมีการศึกษาผลของการใช้สมุนไพรสีเสียดไทยร่วมกับยาว่ามีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ และขนาดยา theophylline ในร่างกายอย่างไร  โดยทำการศึกษาในกระต่าย ป้อนสารสกัดน้ำที่ได้จากแก่นสีเสียดไทยขนาด 264 mg/kg เป็นเวลา 7 วัน ต่อเนื่องกัน ในวันที่ 8 ป้อนยา theophylline ขนาด 16 mg/kg ภายหลังจากได้รับสารสกัดแล้ว 1 ชั่วโมง  หลังจากนั้นเจาะเลือดที่บริเวณหูกระต่ายที่เวลา 0.5, 1,1.5, 2, 3, 4, 6, 8, 12, 24 และ 36 ชั่วโมง จากนั้นนำมาตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ได้แก่ ระดับความเข้มข้นสูงสุดของยาในเลือด (Cmax), ระยะเวลาที่ระดับยาในเลือดขึ้นสูงสุด (Tmax) และพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างระดับยาในเลือดกับเวลา (AUC) ซึ่งแสดงถึงปริมาณยาที่ถูกดูดซึม ผลการทดลองพบว่าค่าพารามิเตอร์ทั้งหมดที่ทดสอบมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.32, 35.71 และ 15.03 ตามลำดับ (P<0.05) แสดงว่าการใช้สารสกัดแก่นสีเสียดไทย ร่วมกับยา theophylline มีผลให้ระดับยาในเลือดสูง และลดการกำจัดทำลายยา ซึ่งเกิดจากการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP1A  อาจทำให้เกิดพิษจากยาได้ จึงควรระมัดระวังการใช้สารสกัดแก่นสีเสียดไทย ร่วมกับยาที่มีเมตาบอลิซึมผ่าน CYP1A  (Al-Mohizea, et al., 2015)


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
      การทดสอบพิษเฉียบพลัน ทดสอบในหนูขาวเพศเมีย สายพันธุ์วิสตาร์ ป้อนสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์, คลอโรฟอร์ม, อะซิโตน, เอทานอล, น้ำ, ส่วนสกัดย่อยที่ละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำของสารสกัดเอทานอล ที่ได้จากเปลือกสีเสียดไทย ขนาด 2,000 mg/kg เพียงครั้งเดียว แก่หนูแต่ละกลุ่ม แล้วสังเกตพฤติกรรม และอัตราการตายเป็นเวลา 14 วัน พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย (Jarald, et al., 2009)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Al-MohizeaAM, RaishM, Ahad A, Al-Jenoobi FI, Alam MA. Pharmacokinetic interaction of Acacia catechu with CYP1A substrate theophylline in rabbits. J Tradit Chin Med. 2015; 35(5):588-593.

2. Jarald E, Joshi SB, Jain DC. Biochemical study on the hypoglycaemic effects of extract and fraction of Acacia catechu Willd in alloxan-induced diabetic rats. Int J Diabetes & Metabolism. 2009;17:63-69.

3. Maisuthisakul P, Suttajit M, Pongsawatmanit R. Assessment of phenolic content and free radical-scavenging capacity of some Thai indigenous plants. Food Chemistry. 2007;100:1409-1418.

 

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  : www.thai-remedy.com

 



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ สีเสียดไทย

...

Other Related สีเสียดไทย

ข้อมูล สีเสียดไทย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


สีเสียดแก่น สถานะการอนุรักษ์ ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1)[1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: พืช เคลด: พืชมีท่อลำเลียง เคลด: พืชดอก เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ เคลด: โรสิด อันดับ: ถั่ว วงศ์: วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ เคลด: Mimosoid clade สกุล: Senegalia (L.f.) P.J.H.Hurter & Mabb. สปีชีส์: Senegalia catechu ชื่อทวินาม Senegalia catechu (L.f.) P.J.H.Hurter & Mabb. Varieties Senegalia catechu var. catechu (L.f.) P.J.H.Hurter & Mabb. Senegalia catechu var. sundra (L.f.) Willd.[2] ขอบเขตของสีเสียดแก่น ชื่อพ้อง[3] Acacia catechu (L.) Willd., Oliv. Acacia catechu (L.f.) Willd. var. catechuoides (Roxb.)Prain Acacia catechuoides (Roxb.) Benth. Acacia sundra (Roxb.) Bedd. Acacia wallichiana DC. Mimosa catechu L.f. Mimosa catechuoides Roxb. สีเสียดแก่น หรือชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สีเสียด สีเสียดไทย สีเสียดเหนือ สีเสียดเหลือง สีเสียดหลวง สีเสียดลาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia catechu) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว กระจายพันธุ์ในเอเชีย จีน, อินเดีย และบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย เมล็ดเป็นแหล่งของโปรตีน[4] แก่นต้นนำมาใช้เป็นยา โดยนำแก่นต้นสีเสียด สับให้เป็นชิ้น ๆ แล้วต้มและเคี่ยว หลังจากนั้นระเหยน้ำที่ต้มได้ให้เหนียวข้น จะได้ของแข็งเป็นก้อน สีน้ำตาลดำ เป็นมัน แข็ง รูปร่างไม่แน่นอน ผิวนอกหยาบ มีด้านในด้านหนึ่งที่แตกจะมันวาว ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มแทนนินที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อเกิดอาการท้องร่วง (Escherichia coli) Staphylococcus aureus ฤทธิ์ต้านเชื้อบิด มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้[5] เปลือกสีเสียดแก่น ดอกสีเสียดแก่น ฝักสีเสียดแก่น ในทางยาสมุนไพร ใช้สีเสียดแก่นแก้ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ รักษาบาดแผล แก้ปากเป็นแผล ใส่แผลเปื่อยและริดสีดวง และอาการบาดเจ็บที่มีเลือดออก บดหรือต้มกินแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดกำเดา แก้บิด ล้างแผลหัวนมแตก ล้างแผลถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็ว และเป็นส่วนผสมใน "ยาเหลืองปิดสมุทร" ที่ใช้รักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ[5] ดูเพิ่ม

รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด อ้างอิง

↑ Plummer, J. (2021). "Senegalia catechu". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T169300001A169300339. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022 . ↑ hear.org ↑ International Legume Database & Information Service (ILDIS) ↑ "World AgroForestry Database". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-10 . ↑ 5.0 5.1 สีเสียดไทย-ฐานข้อมูลเครื่องยา แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Senegalia catechu ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acacia catechu ที่วิกิสปีชีส์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Senegalia catechu ดคกพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ภาคเหนือ กาซะลองคำ (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่) กำลังเสือโคร่ง (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) จั่น (แม่ฮ่องสอน) กระเชา (ลำปาง) ก้ามปู (ลำพูน) สัก (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะหาด (กาฬสินธุ์) กัลปพฤกษ์ (ขอนแก่น) ขี้เหล็ก (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม) สาธร (นครราชสีมา) กาฬพฤกษ์ (บุรีรัมย์) พฤกษ์ (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) กระบาก (ยโสธร) กระบก (ร้อยเอ็ด) สนสามใบ (เลย) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) มะค่าแต้ (สุรินทร์) ชิงชัน (หนองคาย) พะยูง (หนองบัวลำภู) ตะเคียนหิน (อำนาจเจริญ) รัง (อุดรธานี) ยางนา (อุบลราชธานี) ภาคกลาง ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพมหานคร) สีเสียดแก่น (กำแพงเพชร) มะตูม (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก) จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (นครปฐม) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี) ทองหลางลาย (ปทุมธานี) หมัน (พระนครศรีอยุธยา) บุนนาค (พิจิตร) ปีบ (พิษณุโลก) มะขาม (เพชรบูรณ์) พิกุล (ลพบุรี) โพทะเล (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) พญาสัตบรรณ (สมุทรสาคร) ตะแบกนา (สระบุรี) มะกล่ำตาช้าง (สิงห์บุรี) มะค่า (สุโขทัย) มะเกลือ (สุพรรณบุรี) มะพลับ (อ่างทอง) สะเดา (อุทัยธานี) ภาคตะวันออก จัน (จันทบุรี) อะราง (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี) หูกวาง (ตราด) โพ (ปราจีนบุรี) กระทิง (ระยอง) มะขามป้อม (สระแก้ว) ภาคตะวันตก ขานาง (กาญจนบุรี) แดง (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) หว้า (เพชรบุรี) โมกมัน (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) มะเดื่ออุทุมพร (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) แซะ (นครศรีธรรมราช) ตะเคียนชันตาแมว (นราธิวาส) ตะเคียน (ปัตตานี) เทพทาโร (พังงา) พะยอม (พัทลุง) ประดู่บ้าน (ภูเก็ต) อโศกเหลือง (ยะลา) อบเชย (ระนอง) สะเดาเทียม (สงขลา) กระซิก (สตูล) เคี่ยม (สุราษฎร์ธานี) ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือจัน  · ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์คือแปะ  · ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธรคือยางนา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัยคือตาล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์คือกันเกรา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระยองคือประดู่  · จังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือสิรินธรวัลลี การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธานSenegalia catechu Wikidata: Q935632 Wikispecies: Senegalia catechu APDB: 198329 BioLib: 192554 EoL: 643770 FoC: 200011847 GBIF: 2980865 GRIN: 465184 iNaturalist: 68675 IPNI: 469951-1 IRMNG: 10169409 ITIS: 506363 IUCN: 169300001 NCBI: 138017 PfaF: catechu Acacia catechu Plant List: ild-33296 PLANTS: ACCA21 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:469951-1 Tropicos: 13023753 Mimosa catechu Wikidata: Q39105635 GBIF: 2980866 GRIN: 24351 IPNI: 507790-1 IRMNG: 11160998 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:507790-1 Tropicos: 13036202 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=สีเสียดแก่น&oldid=10741276"
.

สมุนไพรอื่นๆ

47

จอง
จอง ชื่อเครื่องยาจอง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่แห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาจอง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จอง (อุบลราชธานี), สำรอง (จันทบุรี ตราด), พุงทะลาย ชื่อวิทยาศาสตร์Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib. & Planch. ชื่อพ้องScaphium macropodum ชื่อวงศ์Sterculiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย เมล็ดรีสีน้ำตาลขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร เ...

161

ว่านกีบแรด
ว่านกีบแรด ชื่อเครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านกีบแรด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กีบม้าลม กีบแรด ว่านกีบม้า ชื่อวิทยาศาสตร์Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. ชื่อพ้องPolypodium evectum ชื่อวงศ์Marattiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             เหง้าใหญ่ มีกลีบแข็ง คล้ายกีบเท้าแรด หรือกีบเท้ากระบือ มีขนาดสั้น ผิวเป็นลูกคลื่น ผิวเหง้าด้า...

81

ปลาไหลเผือกน้อย
ปลาไหลเผือกน้อย ชื่อเครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ในภาษาอีสาน “เอียน” แปลว่าปลาไหล “ด่อน” คือสีขาว ตรึงบาดาล หยิกบ่ถอง ชื่อวิทยาศาสตร์Eurycoma harmandiana Pierre ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Simaroubaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว รากยาว สีขาวน...

150

อ้อยแดง
อ้อยแดง ชื่อเครื่องยาอ้อยแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาอ้อยดำ ได้จากลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอ้อยแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง ชื่อวิทยาศาสตร์Saccharum officinarum Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Graminae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละ...

20

กำแพงเก้าชั้น
กำแพงเก้าชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตากวง ตากวาง ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตากวง(นครพนม) ตากวาง กระดอเย็น(เกาะช้าง) ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia verrucosa Wight. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Celastraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ไม้เถา หรือไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล ผิวสีน้ำตาลมีกระด่างขาว เนื้อไม้สีชมพู มีวงปี...

127

ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน ชื่อเครื่องยาส้มเขียวหวาน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มเขียวหวาน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะขุน มะเขียว มะแง มะจุก มะบาง ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มแก้วโบราณ ส้มขี้ม้า ส้มจีนเปลือกล่อน ส้มจันทบูร ส้มจุก ส้มเชียงตุง ส้มตรังกานู ส้มแป้นกระดาน ส้มแป้นเกลี้ยง ส้มแป้นขี้ม้า ส้มแป้นหัวจุก ส้มแสงทอง ส้มเหม็น ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus reticulata Blanco ชื่อพ้องC. chrysocarpa Lushington. , C. crenatifolia Lushington. , C....

187

ขิงแห้ง
ขิงแห้ง ชื่อเครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา- ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขิงแห้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)- ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber ligulatum Roxb. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ ขนาดยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในมีสีขาวแกมม่วงอ่อนๆ เน...

57

ดีบัว
ดีบัว ชื่อเครื่องยาดีบัว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากต้นอ่อนในเมล็ดบัวหลวง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล, โช้ค (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อพ้องNelumbo caspica (Fisch.) Schipcz., Nelumbo komarovii Grossh., Nelumbo speciosa Willd., Nymphaea nelumbo ชื่อวงศ์Nelumbonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดีบัวมีรูป...

64

เถาเอ็นอ่อน
เถาเอ็นอ่อน ชื่อเครื่องยาเถาเอ็นอ่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาเอ็นอ่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตีนเป็ดเครือ เครือเจน เครือเถาเอ็น เมื่อย หมอนตีนเป็ด หญ้าลิเลน ชื่อวิทยาศาสตร์Cryptolepis buchanani Roem. & Schult. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Asclepiadaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ไม้เถา เนื้อแข็ง เถากลม เปลือกเถาเรียบ เปลือกมีผิวบางๆสีแดงเข้มหุ้มอยู่ เถาแ...

สีเสียดเหนือ สีเสียดไทย ใช้ต้มเคี่ยวทำก้อนสีเสียด ยางสีเสียด รสฝาดจัด แก้ท้องร่วง สมานแผลได้ดีมาก

สีเสียดเหนือ สีเสียดไทย ใช้ต้มเคี่ยวทำก้อนสีเสียด ยางสีเสียด รสฝาดจัด แก้ท้องร่วง สมานแผลได้ดีมาก

สีเสียดเหนือ สีเสียดไทย ใช้ต้มเคี่ยวทำก้อนสีเสียด ยางสีเสียด รสฝาดจัด แก้ท้องร่วง สมานแผลได้ดีมาก

View
สีเสียด 2 ชนิด สีเสียดแก่น8nvสีเสียดไทย สีเสียดเปลือกกินกับหมาก วรากรสมุนไพร โทร/ไอดีไลน์ 0616498997

สีเสียด 2 ชนิด สีเสียดแก่น8nvสีเสียดไทย สีเสียดเปลือกกินกับหมาก วรากรสมุนไพร โทร/ไอดีไลน์ 0616498997

สีเสียด 2 ชนิด สีเสียดแก่น8nvสีเสียดไทย สีเสียดเปลือกกินกับหมาก วรากรสมุนไพร โทร/ไอดีไลน์ 0616498997

View
13สมุนไพรที่นิยมใช้หมักปลากัด

13สมุนไพรที่นิยมใช้หมักปลากัด

13สมุนไพรที่นิยมใช้หมักปลากัด

View
ต้นสีเสียดเปลือก ต้นไม้หายาก ไม้เนื้อแข็ง ไม้สมุนไพร

ต้นสีเสียดเปลือก ต้นไม้หายาก ไม้เนื้อแข็ง ไม้สมุนไพร

ต้นสีเสียดเปลือก ต้นไม้หายาก ไม้เนื้อแข็ง ไม้สมุนไพร

View
สีเสียด พืชสมุนไพรในตำราพระโอสถพระนารายณ์

สีเสียด พืชสมุนไพรในตำราพระโอสถพระนารายณ์

สีเสียด พืชสมุนไพรในตำราพระโอสถพระนารายณ์

View
สมุนไพร/ต้นสีเสียด

สมุนไพร/ต้นสีเสียด

สมุนไพร/ต้นสีเสียด

View
สีเสียดแก้ปวดท้อง

สีเสียดแก้ปวดท้อง

สีเสียดแก้ปวดท้อง

View
สมุนไพร กับไทรอยด์ l อภัยภูเบศร  [2020]

สมุนไพร กับไทรอยด์ l อภัยภูเบศร [2020]

สมุนไพร กับไทรอยด์ l อภัยภูเบศร [2020]

View
สมุนไพรไทยอภัยภูเบศร สู่สากล วันที่ 16 กรกฎาคม 2560 ข่าวเที่ยง #NBT2HD

สมุนไพรไทยอภัยภูเบศร สู่สากล วันที่ 16 กรกฎาคม 2560 ข่าวเที่ยง #NBT2HD

สมุนไพรไทยอภัยภูเบศร สู่สากล วันที่ 16 กรกฎาคม 2560 ข่าวเที่ยง #NBT2HD

View
ต้นสาคูไทย : สมุนไพรแก้อาการท้องเสีย โรคตับอักเสบ พอกรักษาแผล ขับปัสสาวะ และรักษาเลือดกำเดา

ต้นสาคูไทย : สมุนไพรแก้อาการท้องเสีย โรคตับอักเสบ พอกรักษาแผล ขับปัสสาวะ และรักษาเลือดกำเดา

ต้นสาคูไทย : สมุนไพรแก้อาการท้องเสีย โรคตับอักเสบ พอกรักษาแผล ขับปัสสาวะ และรักษาเลือดกำเดา

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับสีเสียดไทย
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่