Menu

สิรินธรวัลลี

ชื่อเครื่องยา

สิรินธรวัลลี

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

สามสิบสองประดง

ได้จาก

เถา เนื้อไม้

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

สามสิบสองประดง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

สิรินธรวัลลี

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia sirindhorniae (K.Larsen & S.S.Larsen)

ชื่อพ้อง

Phanera sirindhorniae

ชื่อวงศ์

Leguminosae-Caesalpinioideae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ไม้เถา ยาวได้ถึง 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เถาแก่เกลี้ยง เปลือกเถาเรียบ ลักษณะเถาบิดตามแนวยาวเล็กน้อย เนื้อไม้ภายใน สีน้ำตาลเข้มออกแดง ภาคตัดขวางของเถาที่มีขนาดใหญ่ พบลวดลายที่เนื้อไม้ เป็นกลุ่มๆสีน้ำตาลอ่อนคล้ายรูปดอกไม้หยักไปมา มีลักษณะเฉพาะ

 

เครื่องยา สามสิบสองประดง

 

เครื่องยา สามสิบสองประดง

 


เครื่องยา สามสิบสองประดง

 

เครื่องยา สามสิบสองประดง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เนื้อไม้ใช้รักษาอาการประดงที่เกิดจากระบบโลหิตในร่างกายชนิดต่างๆ รวมเรียกว่า ประดงทั้งสามสิบสองประการ อาการโดยรวมคือเป็นเม็ด ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่างๆ

           ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร: ใช้ แก้โรคประดง บำรุงกำลัง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ข้อมูล สิรินธรวัลลี จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


สิรินธรวัลลี การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae สกุล: Bauhinia สกุลย่อย: Phanera สปีชีส์: P.  sirindhorniae ชื่อทวินาม Phanera sirindhorniae สิรินธรวัลลี หรือ สามสิบสองประดง[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phanera sirindhorniae) พืชตระกูลเสี้ยว (Bauhinia ) เป็นหนึ่งในสมาชิกพืชวงศ์ถั่ว (Leguminosae-Caesalpinioideae ) สิรินธรวัลลีเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งในสกุลชงโค วงศ์ถั่ว มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วโลกกว่า 300 ชนิด กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่ เปลือกเถาเรียบ บิดตามยาวเล็กน้อย เนื้อไม้เมื่อตัดตามขวาง สีน้ำตาลเข้มออกแดง มีลวดลายสีน้ำตาลอ่อนเป็นกลุ่มเหมือนกลีบดอกไม้[2] ดอกออกเป็นช่อสีน้ำตาล ออกดอกตลอดปี แต่ดอกจะบานมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม เมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 ที่ภูทอกน้อย จากบริเวณป่าภูทอกน้อย​ อำเภอบุ่งคล้า​​ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดบึงกาฬ) ดอกสิรินธรวัลลี ดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ[3] ชื่อของพืชชนิดนี้ตั้งตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และตีพิมพ์โดย​ ศาสตราจารย์​ ไค ลาร์เซน​ (Kai Larsen)​ และอาจารย์สุพีร์​ ศักดิ์สุวรรณ ลาร์เซน​ (Supee Larsen)​[4] โดยทั้งสองท่านร่วมกับกรมป่าไม้ ขอพระราชทานพระราชานุญาต ใช้พระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเทิดพระนามพระองค์ท่านที่ทรงสนพระทัย และให้การสนับสนุนงานทางพฤกษศาสตร์ตลอดมา โดยใช้ชื่อ Bauhinia sirindhorniae  K.& S.S. Larsen หรือ สิรินธรวัลลี อันหมายถึง วัลยชาติแห่งองค์สมเด็จพระเทพฯ ในปี พ.ศ. 2540[5][6] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

สิรินธรวัลลีเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ในวงศ์ถั่ว[7] เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย[8] พบขึ้นกระจายตามป่าดิบแล้ง[9]ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้น: กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมแดง กิ่งแก่ไม่มีขน กิ่งเกลี้ยงเรียบมีใบพัน ใบ: ใบเป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่จนเกือบกลม โดยใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน และใบแก่มีสีเขียวแก่ ปลายใบฉีก ฐานใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบพูมน มีขนบริเวณเส้นกลางใบ แผ่นของใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเข้มเป็นมัน เส้นใบข้างละ 9–11 เส้น จากโคนใบ ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ดอก: ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน ดอกมีสีน้ำตาลแดงหรือสีส้มเข้ม ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อ​ ดอกย่อยสีน้ำตาลหรือสีส้มแดง​ กลีบดอก​ 5 กลีบ ไม่สมมาตรและหลุดร่วงง่าย​ เกสรผู้​ 3 อัน​ ดอกตูมรี ช่อดอกยาวได้ถึงประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3 เซนติเมตร[10] ผล: เป็นฝักแบน กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 10 – 18 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุม ภายในมี 5 – 7 เมล็ด การขยายพันธุ์: ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด ชอบน้ำปานกลาง และชอบแสงแดดตลอดวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนระบายน้ำดี สรรพคุณทางยา

ตำรายาไทย: เนื้อไม้: ใช้รักษาอาการประดงที่เกิดจากระบบโลหิตในร่างกายชนิดต่าง ๆ รวมเรียกว่า ประดงทั้งสามสิบสองประการ อาการโดยรวมคือเป็นเม็ด ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่าง ๆ[11] ผลอ่อน: ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน กามโรค ขับพยาธิในเด็ก ทำให้แท้งได้[12] ใบ: เป็นยาขับพยาธิ ลำต้นและรากแห้ง: ทารักษาอาการฝีและหนอง[13] ตำรายาโบราณ: เนื้อไม้: เนื้อไม้ของสิรินธรวัลลีใช้รักษาโรคที่ในตำรายาโบราณเรียกว่า ประดงทั้งสามสิบสองประการ อาการโดยรวมคือเป็นเม็ด ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่าง ๆ ในจังหวัดมุกดาหารใช้แก้โรคประดง บำรุงกำลัง[2] ประโยชน์

สิรินธรวัลลีมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยหนา และแตกใบดก จึงปลูกเพื่อทำซุ้มสำหรับเป็นร่มเงาบังแดด ส่วนดอกสิรินธรวัลลีออกดอกเป็นช่อใหญ่ ตัวดอกมีสีน้ำตาลแดงสวยงาม จึงใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม[14] ระเบียงภาพ

สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี สิรินธรวัลลี ดูเพิ่ม

ภูมิพลินทร์ นครินทรา รักตสิริน จำปีสิรินธร ไอยริศ อ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 15 ↑ ฉายาชื่อพรรณไม้ ↑ 2.0 2.1 สามสิบสองประดง-ฐานข้อมูลเครื่องยา ↑ ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกสิรินธรวัลลี ดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ ↑ ชื่อพรรณไม้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ↑ Bauhinia sirindhorniae ตั้งชื่อ K.& S.S. Larsen ↑ ตั้งชื่อ สิรินธรวัลลี อันหมายถึง วัลยชาติแห่งองค์สมเด็จพระเทพฯ ↑ สิรินธรวัลลี สำนักพิมพ์บ้านและสวน ↑ สิรินธรวัลลี ถิ่นไม้ไทย[ลิงก์เสีย] ↑ สิรินธรวัลลี สภาพการปรับตัว ↑ สิรินธรวัลลี - สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ↑ สิรินธรวัลลี - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล ↑ สิรินธรวัลลี สมุนไพรไทย ↑ สิรินธรวัลลี ละโวยสมุนไพร ↑ สิรินธรวัลลี - โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น ดคกดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย ภาคเหนือ พวงแสด (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่, ลำพูน) เสี้ยวดอกขาว (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) บัวตอง (แม่ฮ่องสอน) พุทธรักษาญี่ปุ่น (ลำปาง) ประดู่บ้าน (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พะยอม (กาฬสินธุ์) ราชพฤกษ์ (ขอนแก่น) ปทุมมา (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม, สุรินทร์) สาธร (นครราชสีมา) สิรินธรวัลลี (บึงกาฬ) สุพรรณิการ์ (บุรีรัมย์) ลั่นทมขาว (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) บัวแดง (ยโสธร) อินทนิลบก (ร้อยเอ็ด) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) ชิงชัน (หนองคาย) บัวหลวง (หนองบัวลำภู) ทองกวาวเหลือง (อำนาจเจริญ) ทองกวาว (อุดรธานี) บัว (อุบลราชธานี) ภาคกลาง พิกุล (กำแพงเพชร, ลพบุรี) ชัยพฤกษ์ (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก, สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี, พิษณุโลก) บัวหลวง (ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย) โสน (พระนครศรีอยุธยา) มะขาม (เพชรบูรณ์) ดาวเรือง (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) ภาคตะวันออก เหลืองจันทบูร (จันทบุรี) นนทรี (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี, ระยอง) กฤษณาชนิด Aquilaria subintegra (ตราด) ปีบ (ปราจีนบุรี) แก้ว (สระแก้ว) ภาคตะวันตก กาญจนิการ์ (กาญจนบุรี) เสี้ยวดอกขาว (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) กัลปพฤกษ์ (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) พุทธรักษา (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) ราชพฤกษ์ (นครศรีธรรมราช) บานบุรี (นราธิวาส) ชบา (ปัตตานี) จำปูน (พังงา) พะยอม (พัทลุง) เฟื่องฟ้า (ภูเก็ต, สงขลา) พิกุล (ยะลา) เอื้องเงินหลวง (ระนอง) กาหลง (สตูล) บัวผุด (สุราษฎร์ธานี) กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเลย จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทองไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=สิรินธรวัลลี&oldid=10834887"
.

สมุนไพรอื่นๆ

60

ตะไคร้แกง
ตะไคร้แกง ชื่อเครื่องยาตะไคร้แกง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตะไคร้บ้าน ได้จากเหง้าและลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาตะไคร้แกง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (เหนือ) เซิดเกรย (เขมร สุรินทร์) ตะไคร้ (ภาคกลาง) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี) เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์) ไคร (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ชื่อพ้องAndropogon ceriferus Hack. Andropogon citratus DC. Andropogon fragrans C.Cordem. Andropo...

88

ฝาง
ฝาง ชื่อเครื่องยาฝาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากแก่น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาฝาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia sappan L. ชื่อพ้องBiancaea sappan (L.) Tod. ชื่อวงศ์Leguminosae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เนื้อไม้สีเหลืองส้ม แก่นมีสีแดง ถูกอากาศนานเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อแข็งละเอียด แก่นที่มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่าฝาง...

103

มะคำดีควาย
มะคำดีควาย ชื่อเครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยาประคำดีควาย ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะคำดีควาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Sapindus rarak DC. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Sapindaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลแก่จะแห้ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1.5-2 ...

45

งา
งา ชื่อเครื่องยางา ชื่ออื่นๆของเครื่องยางาขาว งาดำ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)งาขาว งาดำ ชื่อวิทยาศาสตร์Sesamum indicum L. ชื่อพ้องSesamum orientale ชื่อวงศ์Pedaliaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม  น้ำมัน รสฝาดร้อน &nbs...

128

ส้มจีน
ส้มจีน ชื่อเครื่องยาส้มจีน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มเกลี้ยง ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มจีน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มตรา ส้มเกลี้ยง น้ำผึ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus sinensis Osbeck. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           ผลกลม เปลือกติดเนื้อ ไม่ล่อน ผิวเปลือกหนา ไม่เรียบ สีเหลือง พบต่อมน้ำมันที่ผิวด้านนอก พบรอยที่เคยมีก้านผลติดอยู่ เนื้อผลชั้นกลางสีขาวเหลือง หรือส...

163

สมุลแว้ง
สมุลแว้ง ชื่อเครื่องยาสมุลแว้ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมุลแว้ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เชียกใหญ่ เฉียด ฝนแสนห่า พะแว มหาปราบ โมงหอม อบเชย ขนุนมะแว้ง จวงดง แสงแวง ระแวง มหาปราบตัวผู้ ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet ชื่อพ้องCinnamomum bazania (Buch.-Ham.) Nees, Cinnamomum obtusifolium (Roxb.) Nees, Cinnamomum sikkimense Lukman., Cinnamomum van-houttei Lukman., Laurus bejolghota Buch.-Ham., Laurus obtu...

21

กำแพงเจ็ดชั้น
กำแพงเจ็ดชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเจ็ดชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตาไก้ ได้จากลำต้น เนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia chinensis L. ชื่อพ้องSalacia prinoides ชื่อวงศ์Celastraceae (Hippocrateaceae) ลักษณะภายนอก...

12

กฤษณา
กฤษณา ชื่อเครื่องยากฤษณา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้กฤษณาที่มีราลง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากฤษณา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ไม้หอม พวมพร้าว จะแน กายูกาฮู กายูการู ชื่อวิทยาศาสตร์Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte. ชื่อพ้องAquilaria malaccensis Lamk. มีชื่อพ้องว่า Aquilaria agallocha Roxb. Aquilaria subintegra Hou. Aquilaria hirta ชื่อวงศ์Thymelaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &nb...

136

สะบ้า
สะบ้า ชื่อเครื่องยาสะบ้า ชื่ออื่นๆของเครื่องยาสะบ้ามอญ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะบ้า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า ชื่อวิทยาศาสตร์Entada rheedii Spreng. ชื่อพ้องAdenanthera gogo Blanco, Entada gogo (Blanco) I.M.Johnst., E. monostachya DC., E. pursaetha DC., E. pusaetha DC. [Spelling variant], E. rheedei Spreng. [Spelling variant], E. scheffleri Ridl., Mimosa entada ...

ไม่คิดว่าจะมาเจอ สมุนไพรสิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง ยาดียาแรงยาดองเหล้าบำรุงกำลังแก้ประดงที่1

ไม่คิดว่าจะมาเจอ สมุนไพรสิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง ยาดียาแรงยาดองเหล้าบำรุงกำลังแก้ประดงที่1

ไม่คิดว่าจะมาเจอ สมุนไพรสิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง ยาดียาแรงยาดองเหล้าบำรุงกำลังแก้ประดงที่1

View
32 ประดงหรือสิรินธรวัลลี แก้อาการภูมิแพ้ ผด ผื่น คัน และน้ำหนองไม่ดี

32 ประดงหรือสิรินธรวัลลี แก้อาการภูมิแพ้ ผด ผื่น คัน และน้ำหนองไม่ดี

32 ประดงหรือสิรินธรวัลลี แก้อาการภูมิแพ้ ผด ผื่น คัน และน้ำหนองไม่ดี

View
ทั้งประเทศมีเพียงไม่กี่จังหวัด สิรินธรวัลลี สมุนไพรแก้ประดงผื่นคันภูมิแพ้ที่ใครๆก็ตามหา

ทั้งประเทศมีเพียงไม่กี่จังหวัด สิรินธรวัลลี สมุนไพรแก้ประดงผื่นคันภูมิแพ้ที่ใครๆก็ตามหา

ทั้งประเทศมีเพียงไม่กี่จังหวัด สิรินธรวัลลี สมุนไพรแก้ประดงผื่นคันภูมิแพ้ที่ใครๆก็ตามหา

View
สมุนไพรแก้อาการภูมิแพ้ 32 ประดง สิรินธรวัลลี สมุนไพรช่วยบำรุงร่างกาย

สมุนไพรแก้อาการภูมิแพ้ 32 ประดง สิรินธรวัลลี สมุนไพรช่วยบำรุงร่างกาย

สมุนไพรแก้อาการภูมิแพ้ 32 ประดง สิรินธรวัลลี สมุนไพรช่วยบำรุงร่างกาย

View
ตามหา "สิรินธรวัลลี" หรือ ประดง 32 : สมุนไพร ไกลบ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

ตามหา "สิรินธรวัลลี" หรือ ประดง 32 : สมุนไพร ไกลบ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

ตามหา "สิรินธรวัลลี" หรือ ประดง 32 : สมุนไพร ไกลบ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

View
พาไปเก็บนับวันยิ่งหายากและแพง 32ประดงหรือสิรินธรวัลลี แก้อาการภูมิแพ้แถมบำรุงกำลังได้ดีมากๆ

พาไปเก็บนับวันยิ่งหายากและแพง 32ประดงหรือสิรินธรวัลลี แก้อาการภูมิแพ้แถมบำรุงกำลังได้ดีมากๆ

พาไปเก็บนับวันยิ่งหายากและแพง 32ประดงหรือสิรินธรวัลลี แก้อาการภูมิแพ้แถมบำรุงกำลังได้ดีมากๆ

View
มาแรงมากใครๆก็อยากได้ไปกินไปปลูก สิริธรวัลลี แก้ภูมิแพ้หายชะงักแถมบำรุงกำลังอย่างแรงสุดๆ

มาแรงมากใครๆก็อยากได้ไปกินไปปลูก สิริธรวัลลี แก้ภูมิแพ้หายชะงักแถมบำรุงกำลังอย่างแรงสุดๆ

มาแรงมากใครๆก็อยากได้ไปกินไปปลูก สิริธรวัลลี แก้ภูมิแพ้หายชะงักแถมบำรุงกำลังอย่างแรงสุดๆ

View
ผลิตภัณฑ์จากต้นสิรินธรวัลลี จ.บึงกาฬ (14 ก.ค. 63)

ผลิตภัณฑ์จากต้นสิรินธรวัลลี จ.บึงกาฬ (14 ก.ค. 63)

ผลิตภัณฑ์จากต้นสิรินธรวัลลี จ.บึงกาฬ (14 ก.ค. 63)

View
32 ประดง สมุนไพรแก้อาการภูมิแพ้ แก้ระบบน้ำเหลืองเสีย ช่วยบำรุงร่างกาย

32 ประดง สมุนไพรแก้อาการภูมิแพ้ แก้ระบบน้ำเหลืองเสีย ช่วยบำรุงร่างกาย

32 ประดง สมุนไพรแก้อาการภูมิแพ้ แก้ระบบน้ำเหลืองเสีย ช่วยบำรุงร่างกาย

View
กานต์สกาตามล่าสมุนไพรหายากชื่อเพราะ สิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง.

กานต์สกาตามล่าสมุนไพรหายากชื่อเพราะ สิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง.

กานต์สกาตามล่าสมุนไพรหายากชื่อเพราะ สิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง.

View