Menu

สมอพิเภก

ชื่อเครื่องยา

สมอพิเภก

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ผล

ได้จาก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

สมอพิเภก

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ลัน สมอแหน แหน แหนขาว แหนต้น สะคู้

ชื่อวิทยาศาสตร์

Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Combretaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลรูปกลมหรือรี แข็ง กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีสัน 5 สัน ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดเดี่ยวแข็ง ผลอ่อนรสเปรี้ยว ผลแก่รสเปรี้ยวฝาดหวาน(ฝาดสุขุม) เมล็ดในรสฝาด

 

เครื่องยา สมอพิเภก

 

เครื่องยา สมอพิเภก

 

เครื่องยา สมอพิเภก

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 5% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 0.6% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 17% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล(70%) ไม่น้อยกว่า 29% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 24% w/w  ปริมาณแทนนินไม่น้อยกว่า 16% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ผลอ่อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ และไข้เจือลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย ผลแก่ แก้เสมหะจุกคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาตุ  แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้ท้องร่วงท้องเดิน รักษาโรคท้องมาน  เมล็ดใน แก้บิด แก้บิดมูกเลือด
           ประเทศพม่า: ใช้ผลแห้งรักษาอาการไอ และโรคตา ในอินโดจีนใช้เป็นยาฝาดสมาน และยาบำรุง ผลสดเป็นยาถ่าย
           ตำรายาไทย สมอพิเภกจัดอยู่ใน “พิกัดตรีผลา” คือการจำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง มี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฎฐาน “พิกัดตรีสมอ” คือการจำกัดจำนวนสมอ 3 อย่างมี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกสมอเทศ สรรพคุณแก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้ ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้สมอพิเภกในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) มีส่วนประกอบของสมอพิเภกร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย)

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1. ยาระบายถ่ายท้อง ใช้ผลอ่อน 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
           2. แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน

องค์ประกอบทางเคมี:
           chebulagic acid, ellagic acid, gallic acid, chebulagic acid

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร

      การศึกษาผลของยาตรีสมอต่อการควบคุมและการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ซึ่งตำรับยาตรีสมอประกอบด้วยพืชทั้งสิ้น 3 ชนิด คือสมอพิเภก สมอไทย และสมอเทศ ในอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยทำการทดลองทั้งในหลอดทดลอง และในร่างกายหนูทดลอง ทำการทดสอบผลในร่างกายหนู โดยศึกษาผลของสารทดสอบในการทำให้กระเพาะอาหารว่าง และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ในหนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley และการทดสอบในหลอดทดลองโดยใช้ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ที่แยกมาจากหนูตะเภาเพศผู้ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดในขนาด 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลลดระยะเวลาในการขนส่งอาหารออกจากกระเพาะอาหาร และยังมีผลกระตุ้นการเคลื่อนไหวของระบบย่อยอาหาร  ส่วนการทดลองในลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภาที่แยกออกมา พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้นต่ำ (0.1 นาโนกรัม/มิลลิลิตร) ทำให้เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภาที่แยกออกมา แต่อย่างไรก็ตามผลในการกระตุ้นการหดตัวของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภาจะลดลงอย่างมากที่ความเข้มข้นของสารสกัดที่สูงขึ้น (0.2-1 นาโนกรัม/มิลลิลิตร) จากงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าตำรับยาตรีสมอสามารถนำไปใช้เป็นยาระบาย และแก้ท้องร่วงได้ (Wannasiri, et al., 2015)



การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,515 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ และเมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมพบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 6.156 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.

2. Wannasiri S, Jaijoy K, Chiranthanut N,Soonthornchareonnon N, Sireeratawong S.Effect of Tri-sa-maw recipe on gastrointestinal regulation and motility. J Med Assoc Thai. 2015;98(Suppl.2): S1-S7.



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ สมอพิเภก

...

Other Related สมอพิเภก

ข้อมูล สมอพิเภก จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


สมอพิเภก การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Magnoliopsida อันดับ: Myrtales วงศ์: Combretaceae สกุล: Terminalia สปีชีส์: T.  bellirica ชื่อทวินาม Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. สมอพิเภก (Terminalia bellirica) ผลไม้ สมอพิเภก ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia bellirica ภาษาสันสกฤตเรียก Vibhitaka विभितक[1] หรือ Aksha अक्ष [2] เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Combretaceae เปลือกต้นสีน้ำตาลอมแดง มีรอยแตกขนาดเล็ก บางและหลุดร่อนง่าย เปลือกชั้นในสีเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นดอกช่อโดยก้านดอกย่อยสั้นมากจนติดกับก้านดอกหลัก ช่อดอกชี้ขึ้น ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบเชื่อมติดกัน ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ผลเดี่ยว ทรงกลมรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ผิวเกลี้ยง เนื้อแข็งติดเมล็ด การใช้ประโยชน์

ผลรับประทานได้ ผลดิบรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย แก้ไข้ ผลสุกมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ แก้ไข้ ทำให้เจริญอาหาร ใบใช้รักษาแผลติดเชื้อ เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ รวมภาพ

อ้างอิง

↑ Cologne Digital Sanskrit Dictionaries - Monier Williams Sanskrit-English Dictionary page 978 ↑ Cologne Digital Sanskrit Dictionaries - Monier Williams Sanskrit-English Dictionary page 3 มัณฑนา นวลเจริญ. 2552. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง. กทม. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้า 69 เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. สมอพิเภก ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 20 - 21 แหล่งข้อมูลอื่น

Caldecott, Todd (2006). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 0-7234-3410-7. Contains a detailed monograph on Terminalia belerica (Bibhitaki) as well as a discussion of health benefits and usage in clinical practice. Available online at http://www.toddcaldecott.com/index.php/herbs/learning-herbs/389-bibhitaki เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=สมอพิเภก&oldid=9596768"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ สมอพิเภก

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

291

ฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับจากสารสกัดผลสมอพิเภก
ฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับจากสารสกัดผลสมอพิเภกสารสกัดผลสมอพิเภกด้วยเอทานอล ขนาด 200, 400 และ 800 มก./กก. และสารสกัด gallic acid จากผลสมอพิเภก ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. เมื่อป้อนให้หนูขาวหลังจากที่หนูขาวได้รับการฉีดสารคาร์บอนเตดตระคลอไรด์ที่ทำลายตับ ขนาด 1.5 มล./กก. เข้าทางช่องท้อง พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดผลสมอพิเภก ขนาด 400 และ 800 มก./กก. และหนูที่ได้รับสารสกัด gallic acid ขนาด 100 และ 200 มก./กก. ระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST), alanine aminotransferase (ALT) และ alka...

512

ผลของตำรับยาตรีผลาในการป้องกันลำไส้เล็กที่ถูกทำลายด้วยยา
ผลของตำรับยาตรีผลาในการป้องกันลำไส้เล็กที่ถูกทำลายด้วยยา methotrexateการศึกษาผลของตำรับยาตรีผลาในการป้องกันลำไส้เล็กของหนูแรทที่ถูกทำลายด้วยยา methotrexate ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งที่มีผลข้างเคียง คือ ทำให้ลำไส้อักเสบ ระบบการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ โดยป้อนหนูด้วยตำรับยาตรีผลา 2 สูตร คือ สูตรที่ผสมผลสมอไทย ผล สมอภิเภก และผลมะขามป้อม ในอัตราส่วนที่เท่ากัน (1:1:1) และไม่เท่ากัน (1:2:4) ขนาด 540 มก./กก./วัน 8 วันก่อน จึงเริ่มให้ยา methotrexate ขนาด 12 มก./กก. ควบคู่ไปกับตรีผลา เป็นเวลา 3 วัน เปรียบเ...

1217

ฤทธิ์ต้านภาวะอ้วนลงพุงของกรดแกลลิคจากสมอพิเภก
ฤทธิ์ต้านภาวะอ้วนลงพุงของกรดแกลลิคจากสมอพิเภกการศึกษากลไกการออกฤทธิ์บรรเทาภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ของสารสกัดน้ำร้อนของผลสมอพิเภก (Terminalia bellirica ) ในเซลล์พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ 3T3-L1 ซึ่งเป็นเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ไขมัน (preadipocyte cell) ให้กลายเป็นเซลล์ไขมันที่โตเต็มที่ (mature adipocytes) และสารสำคัญที่แยกได้จากสารสกัดน้ำร้อนของผลสมอพิเภกคือ กรดแกลลิค (gallic acid) การทดสอบกรดแกลลิคที่ความเข้มข้น 10 - 30 ไมโครโมลาร์ พบว่าสามารถกระตุ้นกา...

157

เปรียบเทียบสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก
เปรียบเทียบสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก alloxan มีการศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านของประเทศอินเดียชนิดต่างๆ 30 ชนิดที่มีการใช้เพื่อลดน้ำตาลในเลือด ศึกษาโดยใช้สารสกัดเอทานอล 95% ทำให้แห้ง นำมาศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเบาหวานด้วย alloxan เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยใช้สารสกัดขนาด 250 มก./กก. 1 ครั้ง, 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้งต่อวันจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงจนถึงระดับปกติเมื่อสัตว์ทดลองอดอาหาร พบว่าสมุนไพร 24 ชนิดที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเรียงลำดับ...

สมุนไพรอื่นๆ

141

หม่อน
หม่อน ชื่อเครื่องยาหม่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหม่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Morus alba L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้า...

54

ชุมเห็ดไทย
ชุมเห็ดไทย ชื่อเครื่องยาชุมเห็ดไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชุมเห็ดไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชุมเห็ดเขาควาย ชุมเห็ดควาย ชุมเห็ดเล็ก ชุมเห็ดนา พรมดาน ลับมืนน้อย เล็บหมื่นน้อย หญ้าลักลืน เล็นเค็ด ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia tora L. ชื่อพ้องSenna tora ชื่อวงศ์Leguminosae-Caesalpinoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใน1 ฝัก มีประมาณ 20-30 เมล็ด เมล็ดผิวเรียบ เงา...

34

ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน ชื่อเครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าสด เหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นชัน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นหัว(เชียงใหม่) ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa L. ชื่อพ้องAmomum curcuma Jacq., Curcuma brog Valeton, Curcuma domestica Valeton, Curcuma ochrorhiza Valeton, Curcuma soloensis Valeton, Curcuma tinctoria Guibourt, Stissera curcuma Giseke, Stissera curcuma ชื่อวง...

90

พริกไทยดำ
พริกไทยดำ ชื่อเครื่องยาพริกไทยดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแห้งแก่จัดแต่ยังไม่สุกทั้งเปลือก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพริกไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พริกน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์Piper nigrum L. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกลม ผลแห้งมีผิวสีดำ ผิวนอกหยาบ มีรอยย่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 4-6 มม. เปลือกนอกสีน้ำตาลเข้มออกดำ มีรอยย่นคล้ายร่างแห ที่ขั้วมีรอยก้...

12

กฤษณา
กฤษณา ชื่อเครื่องยากฤษณา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้กฤษณาที่มีราลง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากฤษณา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ไม้หอม พวมพร้าว จะแน กายูกาฮู กายูการู ชื่อวิทยาศาสตร์Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte. ชื่อพ้องAquilaria malaccensis Lamk. มีชื่อพ้องว่า Aquilaria agallocha Roxb. Aquilaria subintegra Hou. Aquilaria hirta ชื่อวงศ์Thymelaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &nb...

41

คำเงาะ
คำเงาะ ชื่อเครื่องยาคำเงาะ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาคำเงาะ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)คำแสด คำแงะ คำไทย คำยง มะกายหยุม ชาตี จำปู้ หมักซิตี ส้มปู้ ส้มบู๊ คำแฝด ดอกชาด แสด หมากมอง ชื่อวิทยาศาสตร์Bixa orellana L. ชื่อพ้องBixa americana Poir., B. katangensis Delpierre, B. odorata Ruiz & Pav. ex G.Do, B. purpurea Sweet, B. upatensis Ram.Goyena, Orellana americana ชื่อวงศ์Bixaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:   ...

120

ลิเภา
ลิเภา ชื่อเครื่องยาลิเภา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลิเภา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กูดเครือ กูดก้อง กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีน ต๊กโต (เหนือ); กระฉอก (ประจวบคีรีขันธ์); กะฉอด(ราชบุรี); ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์, ใต้); เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพมหานคร); หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครราชสีมา); หลีเภา (ใต้); ลิเภาย่อง กูดก๊อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี งอแง หมอยยายชี ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์Lygodium polystachyum Wall.ex Moore ...

18

กานพลู
กานพลู ชื่อเครื่องยากานพลู ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอกตูม (ดอกที่โตเต็มที่ แต่ยังไม่บาน) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากานพลู (Clove) ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จันจี่ (เหนือ) ดอกจันทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry) ชื่อพ้องCaryophyllus aromaticus L., Caryophyllus hortensis Noronha, Caryophyllus silvestris Teijsm. ex Hassk., Eugenia caryophyllata Thunb., Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S.G.Harrison, Jambosa caryophyllus (Thunb.)...

178

กุ่มน้ำ
กุ่มน้ำ ชื่อเครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากุ่มน้ำ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Crateva religiosa G.Forst. ชื่อพ้องCrateva brownii Korth. ex Miq., Crateva hansemannii K.Schum., Crateva macrocarpa Kurz, Crateva magna (Lour.) DC., Crateva membranifolia Miq. , Crateva speciosa ชื่อวงศ์Capparaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ...

สมอพิเภก สมุนไพรพื้นฐานในยาต้มตรีผลา

สมอพิเภก สมุนไพรพื้นฐานในยาต้มตรีผลา

สมอพิเภก สมุนไพรพื้นฐานในยาต้มตรีผลา

View
สมอพิเภกไม้ดีน่าปลูกทำยาสมุนไพร

สมอพิเภกไม้ดีน่าปลูกทำยาสมุนไพร

สมอพิเภกไม้ดีน่าปลูกทำยาสมุนไพร

View
สมอพิเภก แต่ละช่วงวัย เป็นอย่างไร?

สมอพิเภก แต่ละช่วงวัย เป็นอย่างไร?

สมอพิเภก แต่ละช่วงวัย เป็นอย่างไร?

View
ep23 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ :  สมอพิเภก

ep23 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : สมอพิเภก

ep23 ศึกษาสมุนไพร style ลุงอ่ำ : สมอพิเภก

View
สมอพิเภก ผลสด เตรียมส่งลูกค้าแบบนี้เลย ไม่ต้องล้าง

สมอพิเภก ผลสด เตรียมส่งลูกค้าแบบนี้เลย ไม่ต้องล้าง

สมอพิเภก ผลสด เตรียมส่งลูกค้าแบบนี้เลย ไม่ต้องล้าง

View
ตรีผลา : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ตรีผลา : สรรพคุณและข้อควรระวัง

ตรีผลา : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
สมุนไพรสูตรปรับสมดุลธาตุ อายุวัฒนะ ขจัดสารพิษ ( สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม)

สมุนไพรสูตรปรับสมดุลธาตุ อายุวัฒนะ ขจัดสารพิษ ( สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม)

สมุนไพรสูตรปรับสมดุลธาตุ อายุวัฒนะ ขจัดสารพิษ ( สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม)

View
สมอพิเภก ดกคั้ก ดกแน

สมอพิเภก ดกคั้ก ดกแน

สมอพิเภก ดกคั้ก ดกแน

View
สมอพิเภกปีนี้เริ่มมีผลผลิตแล้ว #ตรีผลา

สมอพิเภกปีนี้เริ่มมีผลผลิตแล้ว #ตรีผลา

สมอพิเภกปีนี้เริ่มมีผลผลิตแล้ว #ตรีผลา

View
ตำรับตรีผลา ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย/ครัวแม่น้อง

ตำรับตรีผลา ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย/ครัวแม่น้อง

ตำรับตรีผลา ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย/ครัวแม่น้อง

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับสมอพิเภก
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่