ข้อมูลสมุนไพร กฤษณา รายละเอียด ชื่อตามท้องถิ่นของ กฤษณา , ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ กฤษณา , สรรพคุณทางยาของ กฤษณา และอื่นๆ....
ชื่อเครื่องยา | กฤษณา |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เนื้อไม้กฤษณาที่มีราลง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | กฤษณา |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ไม้หอม พวมพร้าว จะแน กายูกาฮู กายูการู |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte. |
ชื่อพ้อง | Aquilaria malaccensis Lamk. มีชื่อพ้องว่า Aquilaria agallocha Roxb. Aquilaria subintegra Hou. Aquilaria hirta |
ชื่อวงศ์ | Thymelaeaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เนื้อไม้ปกติจะมีสีขาวนวล เสี้ยนตรง เนื้อหยาบปานกลาง หากมีน้ำมันสะสมอยู่บ้างเนื้อไม้จะเปลี่ยนสีจากเดิม เป็นสีเหลืองอ่อนๆ และจะมีสีเข้มมากขึ้นตามปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในเนื้อไม้ หรือบางครั้งอาจเห็นเป็นจุดเข้มๆ กระจายเป็นแผ่นบางๆ บริเวณผิวไม้ แต่ยังไม่แทรกลึกเข้าไปในเนื้อไม้ หากมีน้ำมันสะสม จะมีกลิ่นหอมซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อราบางชนิดเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้สร้างชันน้ำมัน (oleoresin) เนื้อไม้จึงมีสีเข้มขึ้น เมื่อหักกิ่งจะมีชันน้ำมันไหลเยิ้มออกมา มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสเผ็ดร้อน และขม
เครื่องยา กฤษณา
เครื่องยา กฤษณา
เครื่องยา กฤษณา
เครื่องยา กฤษณา
เครื่องยา กฤษณา
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม้กฤษณาที่มีคุณภาพดี เนื้อไม้จะเป็นสีดำ มีกลิ่นหอม และท่อนไม้จะจมได้ในน้ำ กฤษณาที่มีคุณภาพดีในต่างประเทศเรียกรวมๆกันว่า “ true agaru ” มีรสขมเล็กน้อย กลิ่นหอมชวนดมคล้ายกลิ่นจันทน์หิมาลัย (Sandal wood) หรืออำพันขี้ปลา (Ambergris) เมื่อเผาไฟจะให้เปลวไฟโชติช่วงและมีกลิ่นหอม ชาวอาหรับนิยมเอามาเผาไฟเพื่ออบห้องให้มีกลิ่นหอม และนิยมจำหน่ายเป็นชิ้นไม้ หากมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำเงิน ลอยปริ่มน้ำ เป็นคุณภาพขนาดกลาง ส่วนชนิดที่มีคุณภาพรองลงมา เรียกกันว่า “dhum” ซึ่งเมื่อนำมากลั่นจะให้น้ำมันระเหยง่ายที่เรียกว่า “agar attar” มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำมันดอกยี่สุ่น (rose oil) ในยุโรปเอามาใช้ทำน้ำหอมชนิดคุณภาพดี สำหรับท่อนที่ลอยน้ำ มักจะไม่มีกลิ่นหอม หรือไม่มีสารหอมสะสม เป็นเนื้อไม้ที่คุณภาพต่ำ
โบราณแบ่งชั้นคุณภาพของกฤษณาโดยใช้สีและน้ำหนักเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น
1) เนื้อไม้ (หรือไม้หอม) ชนิดนี้มีคุณภาพดีที่สุด มีสีดำเข้มตลอดกันหมด แข็งมาก และหนักมาก หนักกว่าน้ำ และมีชันอยู่ในปริมาณสูง ชนิดนี้มีหลักฐานบันทึกว่าไทยเราเคยส่งไปเป็นบรรณาการในประเทศอังกฤษ มักไม่นำไปกลั่นน้ำมัน แต่จะจำหน่ายเป็นชิ้นไม้ ใช้ในพิธีกรรม และประโยชน์ด้านอื่นๆ
2) กฤษณา เป็นชนิดที่มีคุณภาพรองลงมา มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ แข็ง และหนักกว่าน้ำ ชนิดนี้โบราณมักใช้ทำยา
3) ลูกผุด เป็นชนิดที่มีคุณภาพด้อยกว่า เนื้อไม้สีอ่อนกว่า มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำเฉพาะที่ หรือเป็นจุดๆ ชนิดนี้จะเบากว่าน้ำ ใช้นำมากลั่นเอาน้ำมัน
สรรพคุณ:
เนื้อไม้ซึ่งเป็นสีดำ และมีกลิ่นหอม รสขม ตามตำรายาไทย: ใช้ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น ใช้ผสมยาหอม แก้ลมวิงเวียนศีรษะ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงตับและปอดให้ปกติ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ต้มดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ โดยนำมาผสมกับยาหอมกิน หรือนำมาต้มน้ำดื่ม กรณีกระหายน้ำมาก
ในตำราพระโอสถพระนารายณ์: มีการนำแก่นไม้กฤษณาไปใช้หลายตำรับ โดยเป็นตัวยาผสมกับสมนุไพรชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดในตำรับเพื่อรักษาอาการของโรคต่างๆ เช่น ตำรับยาขี้ผึ้งบี้พระเส้น หรือยาถูนวดเส้น ตำรับยาน้ำมันมหาวิศครรภราชไตล ทำให้โลหิตไหลเวียนดี และเป็นยาคลายเส้น ตำรับยาทรงทาพระนลาฎ ใช้ทาหน้าผากแก้เลือดกำเดาที่ทำให้ปวดศีรษะ ยามโหสถธิจันทน์ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน และยังปรากฏเป็นส่วนประกอบในตำรับยาหอมเทพจิตร ซึ่งมีสมุนไพรชนิดอื่นๆร่วมอยู่ด้วยในตำรับ ตามบัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549 ประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยาของไทย
ในแหลมมลายู: ใช้กฤษณาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและใช้บำบัดโรคผิวหนังหลายชนิด ผงกฤษณาใช้โรยบนเสื้อผ้าหรือบนร่างกายเพื่อฆ่าหมัดและเหา
ในประเทศมาเลเซีย: นำเอากฤษณาผสมกับน้ำมันมะพร้าว นำมาทาบรรเทาอาการปวดเมื่อย หรือบรรเทาอาการของโรครูมาติซัม
ยาพื้นบ้านของอินเดียและหลายประเทศในเอเชีย: ใช้กฤษณาเป็นส่วนผสมในยาหอม ยาบำรุง ยากระตุ้นหัวใจ และ ยาขับลม นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อัมพาตและเป็นตัวยา รักษาโรคมาลาเรีย
ชาวอาหรับ: ใช้ผงไม้กฤษณาโรยเสื้อผ้า ผิวหนัง ป้องกันตัวเรือด ตัวไร และมีความเชื่อว่าน้ำมันหอมระเหยของกฤษณาเป็นยากระตุ้นทางเพศ
ชาวฮินดูนิยม: นำมาใช้จุดไฟ ให้มีกลิ่นหอมในโบสถ์
ประเทศจีน: ใช้แก้ปวดหน้าอก แก้อาเจียน แก้ไอ แก้หอบหืด
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
น้ำมันหอมระเหย : พบประมาณ 0.8% สารหลักคือ agoraspirol 16% กลุ่มสารอื่นๆคือ abietane ester , sesquiterpenes , sesquiterpene dehydrofukinone , isobaimuxinol
สารกลุ่ม resins : ประกอบด้วย benzylacetone , ?-methoxybenzylacetone , hydrocinnamic acid , ?-methoxyhydrocinnamic acid
สารกลุ่มอื่นๆ : benzylacetone , ?-methoxy-benzylacetone , anisic acid , ?-agarofuran
เนื้อไม้ที่เป็นแผล : ประกอบด้วย สารกลุ่ม chromones
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ยับยั้งอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน : สารสกัดน้ำจากแก่นกฤษณา สามารถยับยั้งอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน ที่แสดงออกทางผิวหนังในหนู โดยยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell
ฤทธิ์ลดความดันโลหิต : สารสกัดจากแก่นกฤษณามีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในแมวที่สลบ ซึ่งความดันโลหิตจะลดลงทันทีเมื่อให้สารสกัดทางหลอดเลือดดำ แต่ผลลดความดันโลหิตจะไม่เกิน 40-80 นาที
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
กฤษณาสายพันธุ์ Aquilaria agallocha Roxb. เมื่อนำสารสกัดแก่นด้วย อัลกอฮอล์:น้ำ (1:1) ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือกรอกให้หนูถีบจักร ในขนาด 10 ก./ก.ก. ไม่พบพิษ
ข้อมูลเพิ่มเติม
กฤษณา สามารถหมายถึง ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้สกุลกฤษณา โดยเฉพาะชนิด A. crassna Pierre ex Lecomte. และชนิด A. malaccensis Lam. วงศ์กฤษณา (Thymelaeaceae) สกุลกฤษณา (Aquilaria) ในวงศ์กฤษณา สกุลกฤษณาน้อย (Gyrinops) ในวงศ์กฤษณา หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน
ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กฤษณา&oldid=6240421"
.
พิษนาศน์
พิษนาศน์ ชื่อเครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องSophora violacea var. pilosa ชื่อวงศ์Fabaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้น...
เถาเอ็นอ่อน
เถาเอ็นอ่อน ชื่อเครื่องยาเถาเอ็นอ่อน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาเอ็นอ่อน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตีนเป็ดเครือ เครือเจน เครือเถาเอ็น เมื่อย หมอนตีนเป็ด หญ้าลิเลน ชื่อวิทยาศาสตร์Cryptolepis buchanani Roem. & Schult. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Asclepiadaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถา เนื้อแข็ง เถากลม เปลือกเถาเรียบ เปลือกมีผิวบางๆสีแดงเข้มหุ้มอยู่ เถาแ...
กำแพงเก้าชั้น
กำแพงเก้าชั้น ชื่อเครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาตากวง ตากวาง ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากำแพงเก้าชั้น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตากวง(นครพนม) ตากวาง กระดอเย็น(เกาะช้าง) ชื่อวิทยาศาสตร์Salacia verrucosa Wight. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Celastraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถา หรือไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล ผิวสีน้ำตาลมีกระด่างขาว เนื้อไม้สีชมพู มีวงปี...
สะแกนา
สะแกนา ชื่อเครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะแกนา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แก (อุบลราชธานี) แพ่ง(เหนือ) ขอนเเข้ จองแค่(แพร่) สะแก ซังแก ชื่อวิทยาศาสตร์Combretum quadrangulare Kurz. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ผลแห้ง ขนาด 1-2 เซนติเมตร รูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สัน ตามยาว เมล็...
เพกา
เพกา ชื่อเครื่องยาเพกา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเพกา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลิ้นฟ้า(เลย) ลิ้นก้าง ลิ้นช้าง(ไทยใหญ่) เพกา (ภาคกลาง) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน ภาคเหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ด๊อกก๊ะ ดอก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเลย์ นราธิวาส) ชื่อวิทยาศาสตร์Oroxylum indicum (L.) Kurz ชื่อพ้องArthrophyllum ceylanicum Miq. Arthrophyllum reticulatum Blume ex Miq. Bi...
ส้มโอมือ
ส้มโอมือ ชื่อเครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มมือ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus medica L. ชื่อพ้องAurantium medicum (L.) M. Gómez, Citrus alata (Tanaka) Yu.Tanaka, , C. balotina Poit. & Turpin, C. bicolor Poit. & Turpin, C. bigena Poit. & Turpin, C. cedra Link, C. cedrata Raf., C. crassa Hassk., C. fragrans Salisb., C. gongra Raf., C. hassaku Yu.Tanaka, C. hiroshimana Yu.Tanaka, C. kizu Yu.Tanak...
เทียนกิ่ง
เทียนกิ่ง ชื่อเครื่องยาเทียนกิ่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนกิ่ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เทียนต้น เทียนไม้ เทียนกิ่งดอกขาว เทียนกิ่งดอกแดง เทียนย้อม เทียนย้อมมือ เทียนป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์Lawsonia inermis L. ชื่อพ้องAlcanna spinosa (L.) Gaertn., Casearia multiflora Spreng., Lawsonia speciosa L., Lawsonia spinosa L., Rotantha combretoides ชื่อวงศ์Lythraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: &n...
ชุมเห็ดเทศ
ชุมเห็ดเทศ ชื่อเครื่องยาชุมเห็ดเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบสดและแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชุมเห็ดเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชุมเห็ดใหญ่ ลับหมื่นหลวง ชี้คาก หมากกะลิงเทศ ส้มเห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia alata L. ชื่อพ้องSenna alata (L.) Roxb., Cassia bracteata ชื่อวงศ์Leguminosae-Caesalpinoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ย...
ขมิ้นอ้อย
ขมิ้นอ้อย ชื่อเครื่องยาขมิ้นอ้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นอ้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้นอ้อย (กลาง),ขมิ้นขึ้น (เหนือ),แฮ้วดำ (เชียงใหม่), ละเมียด (เขมร) ขมิ้นเจดีย์ ว่านเหลือง ขมิ้นหัวขึ้น สากกะเบือละว้า ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe ชื่อพ้องAmomum latifolium Lam., Amomum zedoaria Christm., Costus luteus Blanco, Costus nigricans Blanco, Curcuma malabarica Velay., Amalraj & Mural., Curcuma pallida Lou...