Menu

ละหุ่ง

ชื่อเครื่องยา

ละหุ่ง

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

น้ำมันจากเมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ละหุ่ง

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ละหุ่งแดง (ภาคกลาง) ละหุ่งขาว มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) มะหุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ricinus communis L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Euphorbiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว หรือจุดสีน้ำตาลปนเทา เป็นลายคล้ายตัวเห็บ มีสีแตกต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์ เนื้อในสีขาว(มีโปรตีนที่มีพิษ) ภายในเนื้อในมีน้ำมันอยู่ภายใน น้ำมันจากเมล็ด  เป็นของเหลว ข้น เหนียว ใส ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นเล็กน้อย รสเฝื่อน เผ็ดเล็กน้อย มันเอียน

 

เครื่องยา เมล็ดละหุ่ง

 

เครื่องยา เมล็ดละหุ่งแดง

 

เครื่องยา เมล็ดละหุ่ง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           น้ำมันมีค่าความถ่วงจำเพาะ 0.958-0.969 ที่ 25?C จุดแข็งตัว -10 ถึง -18?C ค่าความหนืดอยู่ระหว่าง 935-1,033 ซีพี ที่ 20?C

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: น้ำมันจากเมล็ด รสมันเอียน มีฤทธิ์ระบายอุจจาระสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ (ต้องสกัดเอาแต่น้ำมันจากเมล็ดเท่านั้น ไม่ติดส่วนอื่นมาจะเป็นพิษได้ วิธีบีบน้ำมันจากเมล็ดต้องไม่ใช้ความร้อน ถ้าบีบโดยใช้ความร้อนจะมีโปรตีนที่เป็นพิษชื่อ “ricin” ติดมาด้วย ไม่ใช้ทำยา) เมล็ด นำเมล็ดมาทุบเอาเปลือกและดี (ใบอ่อน)ทิ้งไป นำไปต้มกับน้ำนมให้สุก  แล้วต้มกับน้ำอีกครั้งเพื่อทำลายพิษ เทน้ำนมและน้ำทิ้งไป ใช้เป็นยาพอกบาดแผล
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ น้ำมันจากเมล็ด เข้ายากับน้ำมันงา ทาแก้กระดูกหัก กระดูกแตก
           ทางเภสัชกรรม: ใช้น้ำมันละหุ่ง กินเป็นยาระบายหรือยาถ่ายอย่างอ่อนมีฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ให้บีบตัว ขับกากอาหารออกมา มักใช้ในผู้ป่วยโรคท้องเดินเฉียบพลันที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ เพื่อขับถ่ายอาหารที่เป็นพิษออกมา หรือใช้ทำความสะอาดลำไส้ก่อนการเอ็กซเรย์ลำไส้และกระเพาะอาหาร แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมวนท้องได้ นอกจากนี้ยาขี้ผึ้งน้ำมันละหุ่งความเข้มข้นร้อยละ 5-10 ใช้ทาแก้ผิวหนังอักเสบ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           กรดไขมัน ricinoleic มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย (cathartic effect) มักใช้ในขนาด 15-60 ml ก่อนการผ่าตัด หรือฉายรังสี บริเวณทวารหนัก หรือปลายลำไส้ใหญ่  นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรม การผลิตเรซิ่น และ lubricant grease, สบู่, น้ำมันหล่อลื่น

องค์ประกอบทางเคมี:
           ภายในเมล็ดประกอบด้วยน้ำมันระเหยยาก (fixed oil) ประมาณ 45-55% โปรตีน 15-20% ในน้ำมันมีองค์ประกอบสำคัญ คือ triricinoleoylglycerol ซึ่งสามารถถูก hydrolysed บริเวณลำไส้เล็กโดยน้ำย่อย lipase จากตับอ่อน ได้เป็น ricinoleic (hydroxylated C18 fatty acid) คิดเป็นประมาณ 90% ของกรดไขมันทั้งหมด ที่เหลือเป็น linoleic, oleic, stearic เล็กน้อย  ricinoleic มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย (cathartic effect)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

ข้อควรระวัง:    
           เมล็ด มีพิษมาก ถ้ากินเพียง 2-3 เมล็ด ปากและคอจะไหม้พอง เลือดออกในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระมีเลือด ตับและไตถูกทำลาย ความดันโลหิตลดลงอาจทำให้ตายได้ การสกัดเอาน้ำมันออกจากเมล็ดต้องบีบออกโดยไม่ใช้ความร้อน “บีบเย็น” (cold pressed) เพื่อไม่ให้โปรตีนที่เป็นพิษติดมา

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ ละหุ่ง

...

Other Related ละหุ่ง

ข้อมูล ละหุ่ง จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


ละหุ่ง ใบและดอกละหุ่ง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Malpighiales วงศ์: Euphorbiaceae วงศ์ย่อย: Acalyphoideae เผ่า: Acalypheae เผ่าย่อย: Ricininae[1] สกุล: Ricinus L. สปีชีส์: R.  communis ชื่อทวินาม Ricinus communis L. ละหุ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ricinus communis) เป็นพืชในวงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) และเป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Ricinus มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาตะวันออก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ละหุ่งเป็นไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 6 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบหยักเป็นแฉกแบบนิ้วมือ 5-12 แฉก เนื้อใบค่อนข้างบาง สีเขียว หรือสีเขียวแกมแดง หรือสีแดงเข้ม ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งตรง ดอกย่อยสีเขียวอมเหลืองหรือสีม่วงแดง แยกเพศแต่อยู่บนช่อเดียวกัน โดยดอกตัวผู้อยู่ส่วนบน ส่วนดอกตัวเมียอยู่ส่วนล่าง ผลรูปไข่มี 3 พู เมื่ออ่อนมีสีเขียวหรือสีเขียวแกมม่วง มีหนามอ่อน ๆ คลุม เมื่อแก่จะแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ด 1-3 เมล็ด[2] การนำไปใช้

เมื่อสกัดเมล็ดละหุ่งโดยไม่ใช้ความร้อน (หากใช้ความร้อนจะได้โปรตีนที่มีพิษร้ายแรงคือ ไรซิน)[3] จะได้น้ำมันละหุ่ง (castor oil) ที่มีสารสำคัญคือ กรดริซิโนเลอิก 85-95% ใช้รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์คินสัน ข้ออักเสบ และแก้อาการผมร่วงได้[4] นอกจากนี้ น้ำมันละหุ่งยังใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน[5] และใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและรถยนต์อย่างแพร่หลาย[6] อ้างอิง

↑ Rizzardo, RA; Milfont, MO; Silva, EM; Freitas, BM (December 2012). "Apis mellifera pollination improves agronomic productivity of anemophilous castor bean (Ricinus communis)". Anais da Academia Brasileira de Ciencias. 84 (4): 1137–45. doi:10.1590/s0001-37652012005000057. PMID 22990600. ↑ คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 594-596, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ ↑ "สารพิษจากเมล็ดละหุ่ง - ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา - กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15 . ↑ Health Benefits of Castor Oil - Home Remedies Web ↑ ยาถ่ายและยาระบาย | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ↑ Mutlu, H; Meier, MAR (January 2010). "Castor oil as a renewable resource for the chemical industry". European Journal of Lipid Science and Technology. 112 (1): 10–30. doi:10.1002/ejlt.200900138. แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ละหุ่ง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ricinus communis ที่วิกิสปีชีส์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ละหุ่ง&oldid=10447330"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ ละหุ่ง

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

289

เปลือกต้นตะบูนขาวช่วยลดอาการท้องเสีย
เปลือกต้นตะบูนขาวช่วยลดอาการท้องเสียเมื่อป้อนสารสกัดด้วยเมทานอลจากเปลือกต้นตะบูนขาว ขนาด 250 และ 500 มก./กก. ให้หนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้ท้องเสียด้วยน้ำมันละหุ่งและแมกนีเซียมซัลเฟต พบว่าสารสกัดสามารถลดอาการท้องเสียได้ โดยไปลดปริมาณอุจจาระที่ถ่ายทั้งหมด และปริมาณอุจจาระเหลว นอกจากนั้นยังช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ด้วยJ Ethnopharmacol 2007;199:539-42 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

446

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดเอทานอลจากรากละหุ่ง
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดเอทานอลจากรากละหุ่งการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่ง โดยการป้อนสารสกัดครั้งเดียวขนาด 125, 250, 500, 750, 1,000 และ 2,000 มก./กก. ให้กลุ่มหนูขาวเพศผู้ปกติและกลุ่มหนูขาวเพศผู้เป็นเบาหวานType1 โดยเทียบกับการป้อนยามาตรฐาน tolbutamide ขนาด 200 มก/กก และ 500 มก./กก. สำหรับหนูปกติและหนูเบาหวานตามลำดับ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood glucose) ที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6 และ 8 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่งขนาด 500 มก./กก. มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตา...

988

ฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้า
ฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้าการศึกษาฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้า (Polygonum chinense  Linn.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ท้องเสียด้วยน้ำมันละหุ่งและแมกนีเซียมซัลเฟต พบว่าสารสกัด 75% เอทานอลจากส่วนเหนือดินขนาด 1.117, 2.355 และ 4.710 ก./กก. มีฤทธิ์แก้ท้องเสียในหนูได้ เมื่อนำสารสกัด 75% เอทานอลมาทำการแยกและทดสอบฤทธิ์ พบว่าส่วนสกัดที่มีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ได้แก่ ส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอล ขนาด 462 มก./กก. และส่วนสกัดน้ำ ขนาด 1,159 มก./กก. ซึ่งเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสารสำคัญที่ออก...

23

ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ จากการทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินด้วยน้ำมันละหุ่ง พบว่าสารสกัด methanol จากรากของสบู่ดำ (Jatropha curcus L.) แสดงฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน โดยขนาดของสารสกัดที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญคือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กJ Ethnopharmacol 2000;70:183-7 ...

559

น้ำมันละหุ่งช่วยรักษาอาการเข่าอักเสบ
น้ำมันละหุ่งช่วยรักษาอาการเข่าอักเสบการศึกษาแบบ Randomized, double-blind, comparative clinical study เปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาอาการเข่าอักเสบ (Knee osteoarthritis) ระหว่างน้ำมันละหุ่ง (Castor oil) และยา Diclofenac Sodium ในผู้ป่วยที่มีอาการเข่าอักเสบจำนวน 100 คน (ชาย 32 คน หญิง 68 คน) อายุ 40-90 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน กลุ่มแรกให้รับประทานแคปซูลน้ำมันละหุ่งขนาด 0.9 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง กลุ่มที่สองรับประทานยา Diclofenac ขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ...

1029

คาโมมายล์ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย
คาโมมายล์ช่วยป้องกันอาการท้องเสียการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดท้องเสียของคาโมมายล์ (Matricaria recutita L.) ในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้มีอาการท้องเสียด้วยการป้อนน้ำมันละหุ่ง พบว่าเมื่อป้อนยาต้มจากดอกคาโมมายล์ (chamomile decoction extract) ขนาด 25, 50 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ที่เวลา 60 นาที ก่อนการป้อนน้ำมันละหุ่ง ช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องเสีย และลดการสะสมของของเหลวในลำไส้ (intestinal fluid accumulation) รวมทั้งช่วยลดการเกิด oxidative stress ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการท้องเสีย โดยคาโมมายล์ช่วยลดระดับ ...

13

สารสกัดจากสมุนไพรให้ผลต่อต้านอาการท้องเดิน
สารสกัดจากสมุนไพรให้ผลต่อต้านอาการท้องเดิน การศึกษาผลของสารสกัดเอธานอลจากสมุนไพร 4 ชนิดคือ นิโครธ (Ficus bengalensis) หว้า (Eugenia jamboland) มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa) และ Leucas lavandulaefolia พบว่าสมุนไพรทั้งสี่ชนิดให้ผลต่อต้านอาการท้องเดิน เมื่อทดลองในหนูขาวด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องเดินโดยใช้น้ำมันละหุ่ง PGE2 induced enteropooling และ charcoal meal testJ Ethnopharm 1998;60:85-9 ...

สมุนไพรอื่นๆ

69

เทียนแดง
เทียนแดง ชื่อเครื่องยาเทียนแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Lepidium sativum L. ชื่อพ้องArabis chinensis Rottler ex Wight, Cardamon sativum (L.) Fourr., Crucifera nasturtium E.H.L.Krause, Lepia sativa (L.) Desv., Lepidium hortense Forssk., Lepidium spinescens DC., Nasturtium crispum Medik., Nasturtium sativum (L.) Moench, Nasturtium spinescens (DC.) Kuntze, Thlaspi sativum (L.) Crant...

31

โกฐพุงปลา
โกฐพุงปลา ชื่อเครื่องยาโกฐพุงปลา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากก้อนแข็ง ปูด (gall) จากใบ และยอดอ่อนของสมอไทย ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กกส้มมอ สมอ มาแน่ สมออัพยา หมากแน่ะ ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia chebula Retz. var chebula ชื่อพ้องT. acuta Walp., T. gangetica Roxb., T. parviflora Thwaites, T. reticulata Roth, T. zeylanica Van Heurck & Müll. Arg., Buceras chebula (Retz.) Lyons, Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn., M. gangetica ชื่อว...

149

อบเชย
อบเชย ชื่อเครื่องยาอบเชย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้นชั้นใน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาอบเชย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมง โมงหอม เคียด กะทังหัน ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Lauraceae ชื่อวิทยาศาสตร์         Cinnamomum  spp.            1. อบเชยเทศ  หรือ  อบเชยลังกา  (Ci...

131

สมอดีงู
สมอดีงู ชื่อเครื่องยาสมอดีงู ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสมอดีงู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สมอเหลี่ยม สมอหมึก ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia citrina Roxb. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Combretaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกระสวยกลม หัวท้ายแหลม ผลสดสีแดงเข้ม ขนาดเล็กเรียว ผลแห้งสีดำเข้ม ผลมีรสขมฝาด   เครื่องยา สมอดีงู   เครื่องยา สมอดีงู...

164

สันพร้าหอม
สันพร้าหอม ชื่อเครื่องยาสันพร้าหอม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสันพร้าหอม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เกี๋ยงพาใย (เหนือ), พอกี่ (กะเหรี่ยง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz. ชื่อพ้องEupatorium caespitosum Migo, Eupatorium stoechadosmum ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม ปนแดง ผิวมัน แผ่นใบรูปใบหอกแคบ ป...

138

สีเสียดเทศ
สีเสียดเทศ ชื่อเครื่องยาสีเสียดเทศ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากการต้มเคี่ยวใบและกิ่ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสีเสียดเทศ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)สีเสียดแขก ชื่อวิทยาศาสตร์Uncaria gambir (Hunter) Roxb.. ชื่อพ้องNauclea gambir Hunter, Ourouparia gambir (Hunter) Baill., Uruparia gambir ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ได้จากการนำใบและกิ่งก้านของสีเสียดเทศ มาสกัดด้วยน้ำเดือด ...

8

กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...

3

กระชาย
กระชาย ชื่อเครื่องยากระชาย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า และราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระชาย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู ซีพู เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงกระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อพ้องBoesenbergia cochinchinensis ( Gagnep.) Loes., Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Curcuma rotunda L., Gastrochilus panduratus (Roxb.) Ridl....

11

กระวานไทย
กระวานไทย ชื่อเครื่องยากระวานไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี, เมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระวานไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์Amomum krervanh Pierre ex Gagnep ชื่อพ้องAmomum verum ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:    &nbs...

สมุนไพรใกล้ตัว ละหุ่ง

สมุนไพรใกล้ตัว ละหุ่ง

สมุนไพรใกล้ตัว ละหุ่ง

View
ละหุ่งทานผิดอาจถึงตาย แต่ประโยชน์ก็เยอะเช่นกัน

ละหุ่งทานผิดอาจถึงตาย แต่ประโยชน์ก็เยอะเช่นกัน

ละหุ่งทานผิดอาจถึงตาย แต่ประโยชน์ก็เยอะเช่นกัน

View
สมุนไพรข้างทางที่คนมองข้าม ละหุ่ง สรรพคุณดีถึงขั้นประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ3ของโลก

สมุนไพรข้างทางที่คนมองข้าม ละหุ่ง สรรพคุณดีถึงขั้นประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ3ของโลก

สมุนไพรข้างทางที่คนมองข้าม ละหุ่ง สรรพคุณดีถึงขั้นประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ3ของโลก

View
รีบหามาปลูกด่วน ละหุ่ง สุดยอดสมุนไพรที่แฝงไปด้วยอันตรายแต่น้ำมันสรรพคุณดีมากจนน่าตกใจ

รีบหามาปลูกด่วน ละหุ่ง สุดยอดสมุนไพรที่แฝงไปด้วยอันตรายแต่น้ำมันสรรพคุณดีมากจนน่าตกใจ

รีบหามาปลูกด่วน ละหุ่ง สุดยอดสมุนไพรที่แฝงไปด้วยอันตรายแต่น้ำมันสรรพคุณดีมากจนน่าตกใจ

View
เตือนภัยให้เด็กๆรู้ไว้ ต้นละหุ่งแดง เมล็ดมีพิษถึงกับชีวิต

เตือนภัยให้เด็กๆรู้ไว้ ต้นละหุ่งแดง เมล็ดมีพิษถึงกับชีวิต

เตือนภัยให้เด็กๆรู้ไว้ ต้นละหุ่งแดง เมล็ดมีพิษถึงกับชีวิต

View
ละหุ่ง (Castor oil ) มีประโยชน์เมล็ดสกัดเป็นน้ำมันส่วนเปลือกมีธาตุอาหารของพืช N P K

ละหุ่ง (Castor oil ) มีประโยชน์เมล็ดสกัดเป็นน้ำมันส่วนเปลือกมีธาตุอาหารของพืช N P K

ละหุ่ง (Castor oil ) มีประโยชน์เมล็ดสกัดเป็นน้ำมันส่วนเปลือกมีธาตุอาหารของพืช N P K

View
บักเหยา บักเยา ต้นละหุ่ง ลูกละหุ่ง

บักเหยา บักเยา ต้นละหุ่ง ลูกละหุ่ง

บักเหยา บักเยา ต้นละหุ่ง ลูกละหุ่ง

View
ประโยชน์ของละหุ่ง | Castor oil plant | กินผักเป็นยา

ประโยชน์ของละหุ่ง | Castor oil plant | กินผักเป็นยา

ประโยชน์ของละหุ่ง | Castor oil plant | กินผักเป็นยา

View
ชายวัย 66 ปี เผยสูตรยาสมุนไพรโบราณ ช่วยปึ๋งปั๋ง ยังดูหนุ่มแน่น ล่าสุดเพิ่งมีลูกเล็ก 2 ขวบ

ชายวัย 66 ปี เผยสูตรยาสมุนไพรโบราณ ช่วยปึ๋งปั๋ง ยังดูหนุ่มแน่น ล่าสุดเพิ่งมีลูกเล็ก 2 ขวบ

ชายวัย 66 ปี เผยสูตรยาสมุนไพรโบราณ ช่วยปึ๋งปั๋ง ยังดูหนุ่มแน่น ล่าสุดเพิ่งมีลูกเล็ก 2 ขวบ

View
อั้นฉี่ไม่อยู่ในผู้สูงอายุ ละหุ่งแดงช่วยได้ :สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

อั้นฉี่ไม่อยู่ในผู้สูงอายุ ละหุ่งแดงช่วยได้ :สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

อั้นฉี่ไม่อยู่ในผู้สูงอายุ ละหุ่งแดงช่วยได้ :สมุนไพร ใกล้บ้าน โดยอาจารย์เช้า(ดร.ตรีรัช ภูคชสารศีล)

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับละหุ่ง
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่